Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 4 วิชาภาษาไทย เรื่องการเขียน

การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 4 วิชาภาษาไทย เรื่องการเขียน

Published by pinky25102529, 2021-12-24 08:20:16

Description: การเรียนการสอนสัปดาห์ที่ 4 วิชาภาษาไทย เรื่องการเขียน

Keywords: กศน.ตำบลหาดเจ้าสำราญ

Search

Read the Text Version

การเรยี นการสอนสปั ดาหท์ ่ี 4 นางสาวชญาณี ณ ถลาง ครู กศน.ตาบลหาดเจา้ สาราญ ศนู ยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั อาเภอเมอื งเพชรบรุ ี

การจัดการเรยี นการสอนสปั ดาหท์ ี่ 4 ประจาภาคเรียนท่ี 2 ปีการศึกษา 2564 กศน.ตาบลหาดเจ้าสาราญ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั อาเภอเมืองเพชรบุรี ******************************************************************************** คาอธิบาย 1. การจดั การเรียนการสอนประจาสัปดาห์ที่ 4 เรื่องการเขียน 2. ศึกษาคลปิ การสอนเร่อื ง การเขียน ( ตาม QR CODE ด้านลา่ งนี้ ) แสกน QR CODE เพ่ือชมคลิปเรอ่ื งเทคนิคการเขียน 3. ทาแบบทดสอบกอ่ นเรียน วิชาภาษาไทย เร่อื งการเขยี น โดยแสกน QR CODE ดา้ นลา่ งนี้ 4. ศึกษาใบความรู้ที่ 1 เรื่องการเขียน และใบความรู้ที่ 2 เรื่องการเขียนแผนภาพความคิด หรือแผนที่ ความคิด ( Mind Map ) และทาแบบฝึกหัดท้ายบท ( วิธีดาเนินการ : ลอกโจทย์ลงในสมุด และ ถ่ายภาพช้นิ งานสง่ ครทู าง Line / ทาง FB ) 5. ทาแบบทดสอบหลังเรยี น วชิ าภาษาไทย เร่ืองการเขยี น โดยแสกน QR CODE ดา้ นล่างน้ี

การเรยี นการสอนสัปดาห์ท่ี 4 ใบความรู้ท่ี 1 วิชาภาษาไทย เร่อื งการเขยี น กศน.ตาบลหาดเจ้าสาราญ ศูนยก์ ารศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัยอาเภอเมอื งเพชรบรุ ี การเขียน คอื การแสดงความรู้ ความคิด อารมณค์ วามรสู้ ึกและความต้องการของผูส้ ่งสารออกมา เป็นลายลักษณ์อักษร เพ่ือให้ผู้รับสารอานเข้าใจได้รับความรู้ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการ ต่างๆ เหล่านั้น การเขียนเป็นพฤติกรรมของการส่งสารของมนุษย์ ซึ่งมีความสาคัญไม่ย่ิงหย่อนไปกว่าการส่ง สารดว้ ยการพูดและการอ่าน เพราะการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือตวั หนังสือจะคงทนถาวรและกวา้ งขวาง กว่าการพดู และการอา่ น การทีเ่ ราไดท้ ราบความรูค้ วามคิดและวิทยาการตา่ งๆ ของบุคคลในยคุ กอ่ นๆ กเ็ พราะ มนุษยร์ ู้จกั การเขียนสัญลักษณ์แทนคาพูดถ่ายทอดให้เราทราบ การเขียนเพ่ือส่งสารมีประสิทธภิ าพมากน้อยแค่ ไหนน้ันย่อมข้ึนอยู่กับผู้ส่งสารหรือผู้เขียนซึ่งจะต้องมีความสามารถในหลายด้าน ท้ังกระบวนการคิด กระบวนการเขยี นความสามารถในดา้ นการใช้ภาษาและอน่ื ๆ ดงั น้ี 1. เป็นผู้มีความรูในเรื่องท่ีจะเขียนเป็นอย่างดี มีจุดประสงค์ในการถายทอดเพ่ือจะให้ผู้อ่านได้รับสิ่งใดและ ทราบพืน้ ฐานของผูรับสารเป็นอย่างดีดว้ ย 2. สามารถเลือกรูปแบบและกลวิธีในการเขียนได้เหมาะสมกับเนื้อหาและโอกาส เช่น การเขียนคาชี้แจง ก็เหมาะท่ีจะเขียนแบบร้อยแก้ว หากเขียนคาอวยพรในโอกาสต่างๆ อาจจะใช้การเขียนแบบรอยกรอง เปน็ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน จะเหมาะสมกวา่ เปน็ ต้น 3. มีความสามรถในการใช้ภาษาโดยเฉพาะภาษาเขียนทั้งการเขียนคาและข้อความตามอักขรวิธี รวมท้ังการ เลือกใช้ถ้อยคาสานวนต่างๆ 4. มคี วามสามารถในการศึกษาคน้ คว้าและการฝึกฝนทกั ษะการเขียน 5. มีศิลปะในการใช้ถอ้ ยคาได้ไพเราะเหมาะสมกับเนื้อหาหรือสารทตี่ อ้ งการถา่ ยทอด หลกั การเขียนที่ดี 1. เขียนตวั หนังสือชัดเจน อา่ นง่าย เป็นระเบียบ 2. เขียนได้ถกู ตอ้ งตามอักขรวิธี สะกดการนั ต์ วรรณยกุ ต์ วางรปู เครอ่ื งหมายต่างๆ เวน้ วรรคตอนไดถ้ ูกต้อง เพอื่ จะสอ่ื ความหมายไดต้ รงและชัดเจน ช่วยใหผ้ ู้อ่านเขา้ ใจสารได้ดี 3. เลือกใช้ถ้อยคาได้เหมาะสม สอ่ื ความหมายได้ดี กะทัดรดั ชดั เจนเหมาะสมกบั เนอ้ื หา เพศ วยั และระดบั ของผู้อ่าน 4. เลือกใชส้ านวนภาษาได้ไพเราะ เหมาะสมกบั ความรู้ ความคิด อารมณ์ ความรสู้ กึ ทต่ี ้องการถา่ ยทอด

การเขียนรูปแบบต่างๆ รูปแบบการเขียน งานเขียนในภาษาไทยมี 2 รูปแบบคือ งานเขียนประเภท ร้อยกรองกับงานเขียน ประเภทร้อยแก้ว ซึ่งผู้เรียนได้เคยศึกษามาบ้างแล้วในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในที่นี้จะพูดถึงงานเขียน ประเภทรอ้ ยแก้วทผ่ี ู้เรยี นจาเปน็ ต้องใช้ในชวี ิตประจาวัน เชน่ การเขยี นจดหมาย การเขยี นเรียงความ การเขียน ยอ่ ความ การจดบนั ทึกและการเขยี นแสดงความคิดเหน็ และงานเขยี นประเภทร้อยกรองบางประเภทเทา่ นน้ั การเขียนจดหมาย การเขียนจดหมายเป็นวิธีการที่นิยมใช้เพื่อการสื่อสารแทนการพูด เมื่อผู้ส่งสารและผู้รับสารอยู่ ห่างไกลกัน เพราะประหยัดค่าใช้จ่าย มีลายลักษณ์อักษรเปนหลักฐานส่งถึงกันได้สะดวกทุกพื้นที่ จดหมายที่ เขียนติดต่อกันมหี ลายประเภทเป็นต้นว่า จดหมายส่วนตัว เป็นจดหมายที่เขียนถึงกันระหว่างญาติมิตร หรือครูอาจารย์ เพื่อส่งข่าวคราว บอก กล่าวไต่ถามถึงความทุกข์สขุ แสดงถึงความรัก ความปรารถนาดี ความระลึกถึงต่อกัน รวมทั้งการเล่าเรื่องหรือ เหตุการณท์ ส่ี าคัญ การขอความช่วยเหลอื ขอคาแนะนาซึง่ กนั และกนั จดหมายกิจธุระ เป็นจดหมายที่บุคคลเขียนติดต่อกับบุคคลอื่น บริษัท ห้างร้านและหน่วยงานอื่นๆ เพอ่ื แจ้งกจิ ธุระ เป็นตน้ วา่ การนัดหมายขอสมัครงาน ขอความช่วยเหลอื และขอคาปรึกษาเพื่อประโยชนใ์ นด้าน การงานต่างๆ จดหมายธุรกิจ เปนจดหมายที่เขียนติดต่อกันในเร่ืองธุรกิจ และการเงินระหว่างบริษัท หางร้านและ องค์การตา่ งๆ จดหมายราชการหรอื หนงั สือราชการ เปน็ จดหมายทต่ี ิดต่อกนั เปน็ ทางราชการจากส่วนราชการหน่ึงถึง อีกส่วนราการหนึ่งข้อความในหนังสือถือว่าเป็นหลักฐานทางราชการและมีสภาพผูกมัดถาวรในราชการ จดหมายราชการจะมเี ลขทข่ี องหนงั สอื มีการลงทะเบียนรับ-สง่ ตามระเบยี บของงานสารบรรณ การเขยี นจดหมายแตล่ ะประเภทจะมีลักษณะแตกต่างกันไป แตโ่ ดยทัว่ ไปจะมแี นวโน้มในการเขียนดงั น้ี 1. ส่วนประกอบของจดหมายท่ีสาคัญคือ ที่อยู่ของเจาของจดหมาย วัน เดือน ปีที่เขียนข้อความ ที่ต้องการ สื่อสาร คาขน้ึ ต้น และคาลงทาย 2. ใช้ภาษาทีส่ อ่ื ความหมายตรง ชดั เจน ส้นั กะทัดรดั ไดใ้ จความ เพือ่ ใหผ้ ู้รบั จดหมายได้ทราบอย่างรวดเรว็ การ เขียนแบบนม้ี ักใช้ในการเขียนจดหมาย กจิ ธรุ ะ จดหมายธรุ กจิ และจดหมายราชการ 3. ใช้ถ้อยคาภาษาในเชิงสร้างสรรค์ เลือกเฟ้นถ้อยคาให้น่าอ่าน ระมัดระวังในการใช้ถ้อยคา การเขียนลักษณะ นเี้ ป็นการเขียนจดหมายส่วนตวั 4. จดหมายท่ีเขียนติดต่อเป็นทางการต้องศึกษาว่าควรจะส่งถึงใคร ตาแหน่งอะไร เขียนช่ือ ชื่อสกุล ยศ ตาแหน่ง ใหถ้ กู ต้อง 5. ใช้คาขึ้นตน้ และคาลงทา้ ยให้เหมาะสมกบั ผรู้ ับตามธรรมเนียม

6. กระดาษและซองเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของจดหมาย ถ้าเป็นจดหมายท่ีส่งทางไปรษณีย์ จะต้อง เขยี นนามผู้ส่งไวม้ ุมซองบนดา้ นซ้ายมือ พรอมทอ่ี ยู่และรหัสไปรษณีย์ การจา่ หน้าซองใหเ้ ขยี นหรือพิมพ์ช่ือที่ อยู่ของผู้รับให้ชัดเจนและอย่าลืมใส่รหัสไปรษณีย์ด้วย ส่วนดวงตราไปรษณีย์ให้ปิดไว้มุมบนขวามือ คาไปรษณียากรต้องใหถ้ ูกต้องตามกาหนด การเขยี นเรยี งความ การเขียนเรียงความเป็นรูปแบบการเขียนอย่างหนึ่ง ซ่ึงจะต้องใช้ศิลปะในการเรียบเรียงถ้อยคาภาษา ให้เป็นเนื้อเรื่อง เพ่ือถ่ายทอดข้อเท็จจริง ความรู้ ความรู้สึก จินตนาการและความเข้าใจด้วยภาษาที่ถูกต้อง สละสลวยการจะเขียนเรียงความได้ดีผ้เู ขยี นจะต้องศึกษารูปแบบ กฏเกณฑ์ใหเ้ ข้าใจและฝึกเขยี นเปน็ ประจา การเขยี น “เรยี งความ” มสี ว่ นสาคญั 3 ส่วน คือ สว่ นที่ 1 ความนาหรอื คานา ความนาเปนสว่ นแรกของการเขยี นเรียงความ ซึ่งผรู้ ู้ได้แนะนาให้เขียนหลังจากเขยี นสว่ นอน่ื ๆ เสรจ็ เรยี บรอ้ ยแล้ว และจะไม่ซ้ากับขอ้ ความลงท้ายหรือสรุป ความนาของการเขียนเรยี งความจะทาหนา้ ท่ีดังน้ี 1. กระตุ้นให้ผูอ้ ่านเกดิ ความสนใจต่อเน่ืองของเรื่องนน้ั ๆ 2. ปพู ้ืนฐานความเข้าใจใหก้ บั ผู้อา่ น หรือชีใ้ ห้เหน็ ความสาคัญของเรื่องก่อนทจี่ ะอ่านตอไป 3. บอกขอบข่ายเน้อื เร่ืองนนั้ ๆ วา่ มีขอบ่ข่ายอยา่ งไร สว่ น 2 เน้ือเร่อื งหรือตัวเร่ือง การเขียนเนื้อเรื่อง ผู้เรียนจะต้องดูหัวข้อเรื่องที่จะ เขียนแล้วพิจารณาว่าเป็นเรื่องลักษณะใด ควรตั้ง วัตถุประสงค์ของการเขียนเรียงความอย่างไร เพ่ือให้ข้อเท็จจริงแก่ผู้อ่านเพ่ือโน้มน้าวใจให้ผอู้ ่านเช่ือหรือคล้อย ตาม เพื่อให้ความบันเทิงหรอื เพ่ือส่งเสริมให้ผ้อู ่านใชค้ วามคิดของตนให้กวา้ งขวางข้ึน เมื่อได้จุดประสงค์ในการ เขยี น ผู้เรยี นจะสามารถกาหนดขอบข่ายของหัวข้อเร่ืองท่จี ะเขียนได้ ส่วนที่ 3 บทสรุปหรือความลงทา้ ย การเขยี นบทสรุปหรือความลงทา้ ย ผรู้ ู้ไดแ้ นะนาให้เขยี นหลังจากเขียนโครงเร่ืองเสรจ็ แลว้ เพราะความ ลงท้ายจะทาหน้าท่ีย้าความสาคัญของเร่ือง ช่วยให้ผู้อ่านจดจาสาระสาคัญในเร่ืองนไ้ี ด้ หรือชวยใหผู้อ่านเข้าใจ จุดประสงคข์ องผเู้ ขยี นอีกดว้ ย วธิ ีการเขียนความลงทา้ ยอาจทาไดด้ ังน้ี 1. สรุปความท้งั หมดที่นาเสนอในเรือ่ ง ใหไ้ ด้สาระสาคัญอย่างชดั เจน 2. นาเรอ่ื งท่ีเป็นส่วนสาคัญที่สดุ ในเนื้อเรื่องมากล่าวยา้ ตามจุดประสงคข์ องเรื่อง 3. เลือกคากล่าวที่นา่ เชื่อถือ สภุ าษิต คาคมทีส่ อดคล้องกับเร่อื งมาเปน็ ความลงทา้ ย 4. ฝากข้อคิดและแนวปฏิบัตใิ ห้กบั ผอู้ า่ น เพ่ือนาไปพิจารณาและปฏิบตั ิ 5. เสนอแนวคดิ หรือขอ้ ใครค่ รวญลักษณะปลายเปดิ ใหผ้ ้อู ่านนาไปคดิ และใคร่ครวญต่อ ลักษณะของเรียงความที่ดี ควรมลี ักษณะทีเ่ ป็นเอกภาพ สัมพนั ธภาพ และสารัตถภาพ เอกภาพ คอื ความเปน็ อันหน่ึงอันเดียวกันของเร่ืองไม่เขียนนอกเร่ือง

สัมพันธภาพ คือ มีความสัมพันธ์กันตลอดเร่ือง หมายถึงข้อความแต่ละข้อความหรือแต่ละย่อหนา จะต้องมคี วามสัมพันธเ์ ก่ยี วเนอื่ งกันโดยตลอด สารัตถภาพ คือ การเน้นสาระสาคัญของย่อหน้าแต่ละย่อหน้าและของเร่ืองทั้งหมดโดยใชถ้อยคา ประโยค ข้อความทีก่ ระชับ ชัดเจน ส่ือความเรอ่ื งท้งั หมดได้เปน็ อย่างดีย่งิ การเขยี นยอ่ ความ การยอ่ ความ คอื การนาเรื่องราวต่างๆ มาเขยี นใหม่ด้วยสานวนภาษาของผู้ยอเอง เมอื่ เขียนแลว้ เน้ือความเดิมจะสัน้ ลง แต่ยังมใี จความสาคัญครบถ้วนสมบูรณ์ การยอ่ ความนี้ ไม่มขี อบเขตวา่ ควรจะสัน้ หรอื ยาวเท่าใดจงึ จะเหมาะ เพราะบางเร่ืองมพี ลความมากก็ย่อลงไปได้มาก แต่บางเร่ืองมใี จความสาคัญมาก ก็อาจ ยอ่ ได้ 1 ใน 2 หรอื 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 ของเรื่องเดิมตามแต่ผู้ยอ่ จะเห็นสมควร ใจความสาคัญ คอื ข้อความสาคัญในการพดู หรือการเขียน พลความ คือข้อความท่ีเปน็ รายละเอยี ด นามาขยายใจความสาคญั ให้ชดั เจนยิ่งขึน้ ถา้ ตดั ออกผูฟังหรือผู้อา่ นกย็ ังเขา้ ใจเรื่องน้นั ได้ หลักการย่อความ จากสงิ่ ที่ได้อ่าน ได้ฟัง 1. อ่านเน้ือเรื่องทจ่ี ะย่อให้เข้าใจ อาจมากกว่า 1 เทีย่ วกไ็ ด้ 2. เม่อื เข้าใจเรอ่ื งดีแลว้ จงึ จับใจความสาคญั ทลี ะย่อหน้าเพราะ 1 ยอ่ หน้าจะมีใจความสาคัญอยา่ งเดียว 3. นาใจความสาคัญแตล่ ะยอหนา มาเขยี นใหม่ดว้ ยภาษาของตนเอง โดยคานึงถงึ ส่งิ ต่างๆ ดังนี้ 3.1 ไมใ่ ช้อักษรย่อในข้อความทีย่ อ่ 3.2 ถ้ามคี าราชาศัพท์ในเรื่องให้คงไว้ไมต่ ้องแปลออกเปนคาสามญั 3.3 จะไม่ใชเครือ่ งหมายตา่ งๆ ในข้อความทีย่ ่อ เช่น อัญประกาศ 3.4 เนือ้ เร่ืองท่ีย่อแล้ว โดยปกติเขียนตดิ ต่อกนั ในยอหนา้ เดียวและควรมีความยาว ประมาณ 1 ใน 4 ของเรอื่ งเดิม 4. คานาในการอ่านยอความ ให้ใช้แบบคานาย่อความ ตามประเภทของเร่ืองท่ีจะยอโดยเขียนคานาไว้ย่อหน้า แรก แลว้ จงึ เขยี นขอ้ ความทยี่ อ่ ในยอ่ หน้าต่อไป การเขยี นบันทึก การเขียนบันทึกเป็นวิธีการเรียนรู้และจดจาที่ดี นอกจากน้ีข้อมูลท่ีถูกบันทึกไว้ยังสามารถนาไปเป็น หลักฐานอ้างองิ เพอื่ ประโยชนอ์ นื่ ต่อไป เชน่ การจดบนั ทึกจาการฟงั การบันทึกจากการฟังหรือการประสบพบเหน็ ดว้ ยตนเอง ย่อมกอ่ ให้เกดิ ความรู้ ในท่ีน้ีใครข่ อแนะนาวิธี จดบันทึกจากการฟังและจากประสบการณ์ตรง เพ่ือผู้เรียนจะสามารถนาไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาด้วย ตนเองไดว้ ธิ ีหน่ึง

วิธีจดบันทกึ จาการฟัง การจดบันทึกจาการฟงั จะได้ผลดเี พียงใดข้นึ อยู่กับสมรรถภาพในการฟงั ของผู้จดบันทึกในขณะท่ีฟังอยู่ นั้น เราไม่สามารถจดจาคาพูดได้ทุกคา ดังน้ันวิธีจดบนั ทึกจากการฟังจึงจาเป็นต้องรู้จักเลือกจดเฉพาะประเด็น สาคญั ใช้หลกั การอย่างเดียวกบั การย่อความน่ันเอง กลา่ วคอื ต้องสามารถแยกใจความสาคัญออกจากพลความ ได้ ขอ้ ความตอนใดท่ีไม่สาคญั หรือไมเ่ กี่ยวข้องกบั เร่ืองน้ันโดยตรงก็ไม่จาเป็นต้องจดและวธิ ีการจดอาจใช้อักษร ยอ่ หรือเคร่ืองหมายทใี่ ชก้ ันทัว่ ไปเพอ่ื บันทึกไวไ้ ด้อยา่ งรวดเร็ว เช่น ร.ร. แทน โรงเรียน

ใบความร้ทู ี่ 2 วิชาภาษาไทย เรอื่ งการเขยี นแผนภาพความคิด หรือแผนทคี่ วามคดิ ( Mind Map ) กศน.ตาบลหาดเจ้าสาราญ ศนู ย์การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัยอาเภอเมอื งเพชรบรุ ี การเขียนแผนภาพความคิด คือ การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมองลง กระดาษ โดยการใชภ้ าพ สี เสน้ และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดมิ ท่ีเปน็ บรรทดั ๆ เรียงจากบนลงล่าง ซง่ึ ในขณะเดียวกันมันก็ช่วยเป็นส่ือนาข้อมูลจากภายนอก เช่น หนังสือ คาบรรยาย การประชุม ส่งเข้าสมองให้ เก็บรักษาไว้ได้ดีกว่าเดิม ซ้ายังช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายเข้า เน่ืองจะเห็นเป็นภาพรวม และเปิด โอกาสให้สมองให้เชื่อมโยงต่อข้อมูลหรือความคิดต่าง ๆ เข้าหากันได้ง่ายกว่า “ใช้แสดงการเช่ือมโยงข้อมูล เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิด รอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน” ซ่ึง ลักษณะการเขียนผังความคดิ เทคนิคการคิดคือ นาประเด็นใหญ่ ๆ มาเป็นหลัก แล้วต่อด้วยประเด็นรองในชนั้ ถัดไป ข้ันตอนการสร้าง แผนภาพความคดิ ๑. เขยี น/วาดมโนทัศนห์ ลักตรงกึง่ กลางหน้ากระดาษ ๒. เขยี น/วาดมโนทศั นร์ องท่สี ัมพนั ธก์ ับมโนทัศน์หลักไปรอบ ๆ ๓. เขยี น/วาดมโนทศั น์ยอ่ ยทส่ี มั พนั ธ์กับมโนทัศนร์ องแตกออกไปเร่ือย ๆ ๔. ใชภ้ าพหรอื สัญลักษณ์ส่ือความหมายเป็นตัวแทนความคิดใหม้ ากทสี่ ุด ๕. เขยี นคาสาคัญ (Key word) บนเส้นและเสน้ ต้องเชือ่ มโยงกนั ๖. กรณีใช้สี ทัง้ มโนทศั นร์ องและย่อยควรเป็นสเี ดยี วกนั ๗. คดิ อย่างอสิ ระมากท่ีสดุ ขณะทาเขยี นคาหลัก หรือข้อความสาคญั ของเร่ืองไวก้ ลาง โยงไปยงั ประเด็นรองรอบ ๆ ตามแต่วา่ จะมีกีป่ ระเดน็ กฏการสร้าง แผนภาพความคิด ๑. เร่ิมด้วยภาพสตี รงก่ึงกลางหน้ากระดาษ ๒. ใช้ภาพใหม้ ากที่สดุ ใน Mind Map ของคุณ ตรงไหนท่ีใชภ้ าพไดใ้ ห้ใช้กอ่ นคา หรือรหสั เป็น การช่วยการทางานของสมอง ดึงดูดสายตา และช่วยความจา ๓. ควรเขยี นคาบรรจงตัวใหญ่ๆ ถ้าเป็นภาษาองั กฤษให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ จะช่วยให้เราสามารถ ประหยัดเวลาได้ เมื่อย้อนกลับไปอา่ นอีกคร้ัง ๔. เขยี นคาเหนือเสน้ ใต้ แตล่ ะเสน้ ตอ้ งเชื่อมต่อกบั เสน้ อนื่ ๆ เพื่อให้ Mind Map มีโครงสร้างพื้น ฐานรองรบั ๕. คาควรมลี ักษณะเปน็ \"หน่วย\" เปิดทางให้ Mind Map คลอ่ งตัวและยืดหยุ่นได้มากขน้ึ ๖. ใช้สที วั่ Mind Map เพราะสีชว่ ยยกระดับความคดิ เพลินตา กระตุ้นสมองซกี ขวา ๗. เพ่อื ให้เกดิ ความคดิ สร้างสรรคใ์ หม่ ควรปลอ่ ยใหส้ มองคดิ มีอสิ ระมากที่สดุ เท่าท่จี ะเป็นไปได้

วิธีการเขียน ๑. เตรยี มกระดาษเปลา่ ท่ไี มม่ เี ส้นบรรทัดและวางกระดาษภาพแนวนอน ๒. วาดภาพสีหรอื เขยี นคาหรอื ข้อความทสี่ อื่ หรอื แสดงถึงเร่อื งจะทา Mind Map กลาง หน้ากระดาษ โดยใชส้ ีอย่างน้อย 3 สี และตอ้ งไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณติ ๓. คิดถงึ หัวเรอ่ื งสาคญั ทีเ่ ปน็ สว่ นประกอบของเรื่องท่ีทา Mind Map โดยให้เขียนเป็นคาที่มี ลกั ษณะเป็นหน่วย หรือเปน็ คาสาคัญ (Key Word) ส้ัน ๆ ทีม่ ีความหมาย บนเส้นซึ่งเส้นแต่ละเสน้ จะต้องแตก ออกมาจากศนู ย์กลางไม่ควรเกิน 8 กง่ิ ๔. แตกความคิดของหัวเร่ืองสาคัญแต่ละเร่ืองในข้อ 3 ออกเป็นกิ่ง ๆ หลายกิ่ง โดยเขียนคาหรือ วลีบนเสน้ ท่แี ตกออกไป ลักษณะของกิง่ ควรเอนไม่เกิน 60 องศา ๕. แตกความคดิ รองลงไปทีเ่ ปน็ ส่วนประกอบของแตล่ ะกิง่ ในขอ้ 4 โดยเขียนคาหรอื วลีเสน้ ท่ีแตก ออกไป ซ่งึ สามารถแตกความคดิ ออกไปเรอื่ ย ๆ ๖. การเขยี นคา ควรเขยี นดว้ ยคาที่เปน็ คาสาคัญ (Key Word) หรือคาหลกั หรือเป็นวลที ม่ี ี ความหมายชดั เจน ๗. คา วลี สัญลักษณ์ หรือรปู ภาพใดทตี่ อ้ งการเน้น อาจใชว้ ิธกี ารทาใหเ้ ด่น เช่น การลอ้ มกรอบ หรอื ใสก่ ลอ่ ง เปน็ ต้น ๘. ตกแต่ง Mind Map ทีเ่ ขยี นด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิดทเี่ ชื่อมโยงต่อกัน การนาไปใช้ ๑. ใชร้ ะดมพลงั สมอง ๒. ใช้นาเสนอข้อมูล ๓. ใชจ้ ัดระบบความคิดและชว่ ยความจา ๔. ใชว้ เิ คราะห์เน้อื หาหรืองานต่าง ๆ ๕. ใช้สรุปหรอื สรา้ งองค์ความรู้

การเรียนการสอนสัปดาห์ท่ี 4 ใบงานท่ี 1 วชิ าภาษาไทย เรือ่ ง การเขียนแผนภาพความคิด กศน.ตาบลหาดเจา้ สาราญ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัยอาเภอเมืองเพชรบุรี ช่อื – สกุล .................................................................. ระดบั ชัน้ ............................................... รหัสประจาตวั นกั ศกึ ษา ...................................................... วนั /เดือน/ปี................................. ************************************************************************* คาชแี้ จง : ใหน้ ักศึกษาเขียนผงั ความคดิ ( Mind Map ) เกี่ยวกับ “การบรู ณาการการเรียนรู้ รายวิชาภาษาไทยที่สอดคล้องกบั แหล่งเรียนรู้ในตาบลของทา่ น”

การเรยี นการสอนสปั ดาห์ที่ 4 ใบงานที่ 2 วชิ าภาษาไทย เรือ่ ง การเขยี นเรยี งความ กศน.ตาบลหาดเจ้าสาราญ ศูนยก์ ารศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัยอาเภอเมืองเพชรบุรี ชอ่ื – สกุล .................................................................. ระดับชน้ั ............................................... รหัสประจาตัวนกั ศกึ ษา ...................................................... วัน/เดอื น/ป.ี ................................ ************************************************************************* คาชแี้ จง : ใหน้ กั ศกึ ษาเขียนเรยี งความ โดยเลือกสถานการณ์สาคัญของประเทศไทยในปจั จุบัน มา 1 หัวขอ้ เพ่ือเขียนเรียงความตามหลกั การเขยี นเรยี งความทถ่ี ูกตอ้ ง ( ในเชงิ สร้างสรรค์ ) ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................