บทสรุปสำหรับผู้บรหิ าร โครงการประเมินแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2561-2580) ระยะที่ 1 (พ.ศ.2561-2565) และแผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ของกรมสขุ ภาพจิต ในวาระแรก ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2563-2565) รองศาสตราจารย์ ดร.พชิ าย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผูอ้ ำนวยการหลกั สตู รปรัชญาดษุ ฎบี ัณฑติ สาขาวชิ าการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา คณะพฒั นาสงั คมและยุทธศาสตร์การบรหิ าร สถาบันบณั ฑิตพฒั นบรหิ ารศาสตร์ ดร.แพทย์หญงิ เบ็ญจมาส พฤกษ์กานนท์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตรแ์ ละแผนงาน ผอู้ ำนวยการสำนกั งานเลขานุการคณะกรรมการสุขภาพจติ แห่งชาติ กรมสขุ ภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ดร.ธนั ภัทร โคตรสิงห์ นักวิจยั โครงการ ศูนย์บริการวิชาการ สถาบนั บัณฑติ พฒั นบรหิ ารศาสตร์
คำนำ แผนพฒั นาสุขภาพจติ แห่งชาตฉิ บับที่ 1 (พ.ศ. 2561 – 2580) เกดิ ขึ้นภายใต้แนวคดิ ของการขบั เคล่ือน ไปสู่ประเทศไทย 4.0 ในมิติของการเตรียมคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21 โดยอาศัยอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตของคณะกรรมการพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ ในการจัดทำแผนเพื่อดูแล สุขภาพจิตของประชาชนอย่างครอบคลุมทั้งในด้าน การสร้างเสริมสุขภาพจิต การป้องกันและการควบคุม ปัจจัยที่คุกคามสุขภาพจิต การคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต การเข้าถึงบริการด้าน สุขภาพจิต และการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยระยะเวลาของแผนถูกออกแบบให้สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ขณะเดียวกันกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 5 ปี กรม สุขภาพจิต (พ.ศ. 2561 -2565) ซึ่งปรับปรุงมาจากแผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิต (พ.ศ. 2560 – 2564) โดย แผนถูกนำมาดำเนินการในปี 2563 – 2565 เพื่อให้สอดรับกับระยะที่ 1 (พ.ศ. 2561 -2565) ของแผนพัฒนา สขุ ภาพจิตแหง่ ชาตฉิ บับท่ี 1 ในปงี บประมาณ 2565 ได้ดำเนนิ มาถึงระยะสนิ้ สุดของแผนพัฒนาสุขภาพจิตแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 1 (พ.ศ. 2561-2580) ระยะที่ 1 (พ.ศ.2561-2565) และแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ของกรม สุขภาพจิต ในวาระแรก ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2563-2565) จึงต้องมีการประเมินผลแผนดังกล่าว เพื่อให้ทราบถึง ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของยุทธศาสตร์ กระบวนการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ความเชื่อมโยงของ แผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติกับแผนปฏิบัติราชการกรมสุขภาพจิต ความคาดหวังความต้องการของ ผรู้ บั บรกิ ารและผมู้ สี ว่ นไดส้ ว่ นเสยี ของกรมสุขภาพจิต ตลอดจนความคมุ้ ค่าของโครงการสำคัญตามยุทธศาสตร์ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนางานสุขภาพจิต อันจะเป็นข้อมูลสำคัญในการ ประกอบการตดั สินใจของผู้บรหิ ารและใชเ้ ปน็ แนวทางในการพฒั นางานสุขภาพจิตในระยะต่อไป เมษายน 2565 -1-
สารบัญ คำนำ ......................................................................................................................................................... - 0 - สารบัญ ...................................................................................................................................................... - 2 - หลกั การและเหตผุ ล ................................................................................................................................... - 3 - วัตถปุ ระสงค์การประเมนิ ........................................................................................................................... - 4 - ขอบเขตการประเมิน.................................................................................................................................. - 4 - 1. ขอบเขตด้านเนือ้ หา........................................................................................................................... - 4 - 2. ขอบเขตด้านกลมุ่ เป้าหมายในการประเมนิ ........................................................................................ - 5 - 3. ขอบเขตด้านพ้ืนท่ี.............................................................................................................................. - 6 - วธิ ีการประเมิน........................................................................................................................................... - 6 - สรุปผลการประเมนิ ตามวัตถุประสงค์ ......................................................................................................... - 7 - 1. ความสอดคล้องของแผนพัฒนาสุขภาพจติ แห่งชาติ ฉบบั ท่ี 1 (พ.ศ.2561-2580) ระยะท่ี 1 (พ.ศ.2561- 2565) และแผนปฏบิ ัตริ าชการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ของกรมสขุ ภาพจิตในวาระแรก ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2563-2565).................................................................................................................................. - 7 - 2. ผลการประเมินประสิทธภิ าพและประสทิ ธผิ ลของกระบวนการแปลงแผนยุทธศาสตร์ไปส่กู ารปฏบิ ตั ิ . - 8 - 3. ความตอ้ งการและความคาดหวงั ของผูร้ บั บรกิ ารและผูม้ ีสว่ นได้สว่ นเสียของกรมสุขภาพจิต ............... - 9 - 1) ความต้องการและความคาดหวงั ของประชาชนต่อการพัฒนางานสุขภาพจิต ................................. - 9 - 2) ความต้องการและความคาดหวงั ของเครือขา่ ยต่อการให้บริการของกรมสุขภาพจิต .....................- 10 - 3) ความต้องการและความคาดหวงั ต่อแผนยุทธศาสตรใ์ นระยะต่อไป ..............................................- 11 - 4. ประสทิ ธภิ าพ ประสทิ ธผิ ลของยุทธศาสตร์ และความคุ้มคา่ ของแผนงาน / โครงการสำคัญ .............- 13 - ขอ้ เสนอแนะต่อการจดั ทำแผนยุทธศาสตร์ในระยะต่อไป..........................................................................- 23 - ข้อเสนอแนะต่อแผนพัฒนาสุขภาพจติ แหง่ ชาติ ....................................................................................- 23 - ขอ้ เสนอแนะต่อแผนพัฒนาสุขภาพจติ แห่งชาติและแผนปฏิบตั ริ าชการกรมสุขภาพจิต.........................- 28 - -2-
หลกั การและเหตผุ ล ตงั้ แตป่ ี 2560 เป็นต้นมาประเทศไทยได้เริ่มตน้ ขับเคล่ือนการพัฒนาประเทศภายใตโ้ มเดลประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ตามกรอบแนวทางของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 12 โดยมีวิสัยทศั น์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการ พัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มีเป้าหมายในการยกระดับศักยภาพของประเทศใน หลากหลายมิติ ทั้งการพัฒนาคนในทุกช่วงวัยใหเ้ ป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความเสมอภาค ทางสงั คม สรา้ งการเติบโตบนคุณภาพชวี ิตท่ีเป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อม และมภี าครัฐของประชาชนเพ่ือประชาชน และประโยชนส์ ่วนรวม (ยุทธศาสตรช์ าติ พ.ศ. 2561 – 2580, 2561) การทจ่ี ะทำใหป้ ระเทศไทยขบั เคลื่อนไปสู่ เป้าหมายดงั กล่าวได้นั้น ส่งิ สำคญั อยา่ งหนงึ่ ก็คือการเตรียมคนไทยใหเ้ ปน็ มนุษย์ทีส่ มบรู ณใ์ นศตวรรษท่ี 21 ด้วย การบ่มเพาะให้คนไทยมี ปัญญาเฉียบแหลม มีทักษะที่เห็นผล มีสุขภาพที่แข็งแรง และมีจิตใจที่งดงาม ซึ่งถือ เป็นภารกิจสำคัญของทุกภาคส่วน ขณะเดียวกันในภาคส่วนสาธารณสุขก็ได้มีนโยบายในการพัฒนาคนไทยให้ เป็นมนษุ ยท์ สี่ มบรู ณ์ทง้ั ทางรา่ งกาย จติ ใจ และสตปิ ัญญา ผ่านโมเดล “สาธารณสุขไทย 4.0” ทัง้ นก้ี รมสขุ ภาพจติ ได้ตอบสนองต่อยทุ ธศาสตรแ์ ละนโยบายระดับประเทศดังกลา่ ว โดยขบั เคลอ่ื นผา่ น แผนพัฒนาสขุ ภาพจิตแหง่ ชาติฉบบั ท่ี 1 (พ.ศ.2561 - 2580) ที่มีกระบวนการจดั ทำต้งั แต่ เดือนธนั วาคม 2559 โดยมกี ารแตง่ ตงั้ คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ คณะทำงาน และคณะอนกุ รรมการ ผ่านกระบวนการมีส่วน ร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในและนอกระบบบริการสาธารณสุข ตลอดจนเครือข่ายภาคประชาสังคม เพ่ือ ดำเนินงานร่วมกันใน 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและป้องกันปัญหาสขุ ภาพจิตตลอดช่วงชีวิต 2) ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวช 3) ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนและผลักดันมาตรการทาง กฎหมายสังคมและสวัสดิการ และ 4) ยุทธศาสตร์พัฒนาวิชาการและกลไกการดำเนินงานด้านสุขภาพจิต อัน จะนำไปสเู่ ป้าหมายหลัก คือ “คนไทยมีปญั ญา อารมณด์ ี และมคี วามสขุ อยใู่ นสงั คมอยา่ งทรงคณุ ค่า” นอกจากแผนระยะยาวแล้วนั้น ขณะเดียวกันกรมสุขภาพจิตก็ได้มีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติ ราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561 - 2565) ของกรมสุขภาพจิตในวาระแรก ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2563 - 2565) โดยมี วิสัยทัศน์ คือ “เป็นองค์กรหลักด้านสุขภาพจิต ด้วยระบบสุขภาพจิตดิจิทัลเพื่อประชาชนสุขภาพจิตดี และ เจ้าหน้าที่มีความสุข” ผ่านยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน 4 ประเด็นได้แก่ 1) ส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันและ ควบคุมปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตตลอดช่วงชีวิต 2) พัฒนาคุณภาพระบบบริการและวิชาการ สุขภาพจิตและจิตเวช 3) สร้างความตระหนักและความเข้าใจต่อปัญหาสุขภาพจิต และ 4) พัฒนาระบบการ บริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล เพื่อบรรลุเป้าประสงค์ของวิสัยทัศน์เมื่อสิ้นแผนฯ ใน 3 ประการคือ 1) งานสุขภาพจิตของประเทศไทยก้าวหน้าสู่การเป็น Mental Health 4.0 2) ประชาชนมี สุขภาพจิตดี มีสตปิ ัญญาดี มคี วามรอบรดู้ า้ นสขุ ภาพจติ และ 3) บคุ ลากรกรมสุขภาพจิตมคี วามสขุ จากการดำเนนิ งานภายใต้แผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ ฉบบั ท่ี 1 (พ.ศ.2561-2580) ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2561-2565) และแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ของกรมสุขภาพจิต ในวาระแรก ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2563-2565) จนถึงปีงบประมาณ 2565 ซึ่งเป็นระยะสิ้นแผนของแผนยุทธศาสตร์ทั้งสอง จึงได้มีการ -3-
ดำเนินโครงการวิจัยประเมินผลแผนดังกล่าว เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของยุทธศาสตร์ กระบวนการแปลงแผนไปสกู่ ารปฏบิ ตั ิ ความเช่ือมโยงของแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติกับแผนปฏบิ ัตริ าชการ กรมสุขภาพจิต ความคาดหวังความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกรมสุขภาพจิต ตลอดจนความคุม้ คา่ ของโครงการสำคญั ตามยทุ ธศาสตร์ เพอื่ จัดทำเปน็ ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา งานสุขภาพจิต อันจะเป็นข้อมูลสำคัญในการประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารและใช้เป็นแนวทางในการ พฒั นางานสุขภาพจติ ในระยะต่อไป วัตถปุ ระสงค์การประเมนิ 1) เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการแปลงแผนยุทธศาสตรไ์ ปสู่การปฏบิ ตั ิ 2) เพ่ือประเมินประสทิ ธภิ าพ ประสิทธิผลของยุทธศาสตร์ และความคุ้มคา่ ของแผนงาน / โครงการสำคัญ 3) เพ่อื ศกึ ษาความคาดหวัง ความตอ้ งการของผูร้ ับบรกิ ารและผู้มีสว่ นไดส้ ว่ นเสยี ของกรมสขุ ภาพจิต 4) เพื่อศกึ ษาความเช่ือมโยง และความสอดคล้องของแผนพฒั นาสุขภาพจติ แห่งชาติ ฉบบั ที่ 1 (พ.ศ.2561- 2580) ระยะที่ 1 (พ.ศ.2561-2565) และแผนปฏิบตั ิราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ของกรม สุขภาพจิตในวาระแรก ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2563-2565) ขอบเขตการประเมิน 1. ขอบเขตด้านเน้อื หา 1) การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการแปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบตั ิ ของกรมสุขภาพจิตท้ังในระดบั กรมและระดับเขตสุขภาพท้ังในและนอกระบบบรกิ ารสาธารณสุข ประกอบด้วย ประเด็น (1) ภาวะผู้นำในการบริหารยุทธศาสตร์ ของผู้บริหารระดับกรมสุขภาพจิตและระดับเขตสุขภาพ (2) การบริหารแผนยทุ ธศาสตร์ภายใต้แผนพฒั นาสุขภาพจิตแหง่ ชาติ ฉบบั ท่ี 1 (พ.ศ.2561-2580) ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2561-2565) และแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ของกรมสุขภาพจิต ในวาระแรก ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2563-2565) (3) ผลสำเร็จของการบริหารยุทธศาสตร์/แผนงาน/โครงการตามเป้าหมายที่กำหนด (พิจารณาถึงสนิ้ ปีงบประมาณ 2563) และ (4) ข้อเสนอในการปรบั ปรุง/พฒั นากระบวนการแปลงยุทธศาสตร์สู่ การปฏิบตั ิ 2) การประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของยุทธศาสตร์ และแผนงาน/โครงการสำคัญ ใน แผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2561 - 2580) โดยมีประเด็นย่อยสำหรบั การประเมนิ ในแตล่ ะ ประเด็นยทุ ธศาสตรด์ ังตอ่ ไปน้ี -4-
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมและป้องกันปัญหาสขุ ภาพจิตตลอดชว่ งชีวิต ได้แก่ประเด็น 1) การจัดบริการ ส่งเสริมสุขภาพจิตกบั เครือข่ายสุขภาพจิตท้ังในและนอกระบบบริการสาธารณสุข และ 2) ปัจจัยที่มีผลตอ่ การ ยอมรบั /ใหโ้ อกาสผู้ทีม่ ีปญั หาสขุ ภาพจิตและการสรา้ งความตระหนกั ความเขา้ ใจเรื่องสขุ ภาพจิตของประชาชน ยุทธศาสตร์ท่ี 2 พัฒนาระบบบริการสุขภาพจติ และจิตเวช ได้แก่ประเด็น 1) ศึกษาทัศนคติของผู้ป่วย และญาติเกี่ยวกับระบบบรกิ ารสขุ ภาพจิต 2) ความเชื่อม่ันของเครือขา่ ยสขุ ภาพจติ ทั้งในและนอกระบบบริการ สาธารณสุขต่อการบริหารจัดการของกรมสุขภาพจิต และ 3) ปัจจัยสนับสนุนและพัฒนาระบบบริการ สุขภาพจิตกบั เครอื ข่ายสุขภาพจติ ทัง้ ในและนอกระบบบรกิ ารสาธารณสขุ ยุทธศาสตร์ท่ี 3 ขับเคลื่อนและผลักดันมาตรการทางกฎหมาย สังคมและสวัสดิการ ได้แกป่ ระเด็น 1) การ รับรู้ และความเข้าใจต่อ พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ของเครือข่ายสุขภาพจิตทั้งในและนอกระบบบริการ สาธารณสุข 2) ปจั จัยท่ีมีผลต่อการขับเคล่ือน ผลักดนั บังคบั ใชก้ ฎหมายสุขภาพจิตและมาตรการทางกฎหมาย ที่สนับสนุนให้ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการคุ้มครองสิทธิ ส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันปัญหาสุขภาพจิตได้รับการ บำบัดรักษาและฟ้นื ฟูสมรรถภาพอยา่ งถูกต้องเหมาะสม ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาวิชาการและกลไกการดำเนินงานด้านสุขภาพจิต ได้แก่ประเด็น 1) ความ ต้องการ/ความคาดหวังของผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกรมสุขภาพจิต ประกอบด้วย ประเด็น ความเชื่อมั่นและความเข้าใจต่อประเด็นความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตและจิตเวช และประเด็นการรับรู้และ การยอมรับศูนย์ความเชี่ยวชาญ (Excellence Center) ของกรมสุขภาพจิต และ 2) การยอมรับและความ เชื่อมั่นของเครือข่ายสุขภาพจิตทั้งในและนอกระบบบริการสาธารณสุขต่อองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้าน สุขภาพจติ ที่กรมสขุ ภาพจิตผลิต/พฒั นาขึ้น 2. ขอบเขตดา้ นกลุ่มเป้าหมายในการประเมนิ กลุ่มเป้าหมายในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยบุคลากรทั้งในระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในสังกัด กรมสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผน ประสานแผน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในและนอกระบบบริการ สาธารณสขุ ในชว่ งปี 2561-2564 จำแนกเป็นกลมุ่ เปา้ หมายในการเกบ็ ข้อมูลในเชงิ คุณภาพ และในเชิงปรมิ าณ ดงั ต่อไปนี้ 1) กลมุ่ เป้าหมายทใี่ ช้ในการสัมภาษณ์เชงิ ลกึ 50 คน ประกอบด้วย ผ้บู รหิ ารแผนยทุ ธศาสตรร์ ะดับสูง 3 คน ผู้บริหารระดับกลาง (ผู้อำนวยการ ศูนย์สุขภาพจิต/กอง/สำนัก/โรงพยาบาลจิตเวช) 15 คน คณะอนุ กรรมการฯ จากหน่วยงานภายนอกกรมสุขภาพจิต 5 คน ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิต จำนวน 15 คน และ ผู้ปฏิบตั งิ านจากหน่วยงานทม่ี สี ว่ นไดส้ ่วนเสยี นอกระบบบรกิ ารสาธารณสขุ จำนวน 12 คน 2) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ 400 คน ประกอบด้วย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งใน และนอกระบบบริการสาธารณสุข 200 คน ประชาชนผู้รับบริการจากระบบบริการสุขภาพจิตและประชาชนท่ี เขา้ ร่วมโครงการตามประเดน็ ยุทธศาสตร์ จำนวน 200 คน -5-
3. ขอบเขตด้านพ้นื ที่ พื้นที่เป้าหมายในการประเมิน มีการสุ่มตัวอย่างครอบคลุมทั้ง 12 เขตบริการสุขภาพและ กรงุ เทพมหานคร วิธีการประเมิน การประเมินแผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิตในครั้งนี้ได้ใช้ระเบียบวิธีการประเมินแบบผสม (Mixed method) ระหว่างระเบียบวิธีเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีการเก็บข้อมูลจากหน่วยงานและผู้มีส่วนได้ส่วน เสยี รวมถงึ ประชาชนทเี่ กยี่ วขอ้ ง ใน 13 เขตสขุ ภาพทว่ั ประเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา โดยใช้การเปรียบเทียบ ระหว่างเป้าหมายกับผลการปฏิบัติจริง การวิเคราะห์และเชื่อมโยงโดยใช้ตรรกะ รวมทั้งการใช้สถิติพรรณนา และสถิติอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ด้วยสถิติ สหสัมพันธ์ (Pearson’s Correlation) การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) และ การวิเคราะหป์ จั จัยประกอบเชงิ ยนื ยัน (Confirmatory Factor Analysis) สรปุ ผลการเก็บขอ้ มลู ผูใ้ หก้ ารสัมภาษณ์เชิงลึก 50 คน ประกอบด้วย 1) ที่ปรึกษาและรองอธิบดกี รมสุขภาพจติ 3 คน 2) ผู้อำนวยการหนว่ ยงานในสงั กัดกรมสุขภาพจิต จำนวน 15 คน 3) บคุ ลากรในสังกดั กรมสุขภาพจติ จำนวน 15 คน 4) เครือข่ายผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานจากหนว่ ยงานในระบบบริการสาธารณสุข จำนวน 6 คน จาก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สขุ ภาพ (สสส.) สำนกั งานสาธารณสขุ จงั หวัด 5) ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงานภายนอกระบบบริการสาธารณสุข จำนวน 6 คน จาก กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ กรมกจิ การเด็กและเยาวชน กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว 6) ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานจากเครือข่ายภาคประชาสังคม 5 คน ประกอบด้วย สมาคมเพื่อผู้ บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย (สวท) มูลนิธิออทิ สติกไทย สมาคมสายใยครอบครวั สรปุ ผลการเก็บข้อมลู ผู้ตอบแบบสอบถาม 400 ชดุ ประกอบดว้ ย 7) เครือข่ายผู้ดำเนินงานด้านสุขภาพจิตจำนวน 200 คน ผู้อำนวยการ/ผู้บริหาร นักวิชาการ สาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ/บุคลากรทางการแพทย์ นักพัฒนาสังคม/นักจิตวทิ ยา ชมรม/กลุ่ม/ ชุมชน/อสม./นกั ศึกษาฝึกงาน นักสังคมสงเคราะห์ นักสถิติ/คอมพิวเตอร์/นโยบาย/แผน/นิติกร/ -6-
บคุ คล จากหนว่ ยงานตา่ ง ๆ ท้งั ในสังกัดกรมสุขภาพจิต เครือข่ายในระบบบริการสาธารณสุข และ ภายนอกระบบบริการสาธารณสุข อาทิ สำนักงานพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนษุ ย์จงั หวดั สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ศูนย์สุขภาพจิต หน่วยบริการ สุขภาพจิต หน่วยบริหารในกรมสุขภาพจิต ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง หน่วยงานปกครองส่วน ท้องถน่ิ มลู นิธิ/สมาคม โรงพยาบาลชมุ ชน โรงพยาบาลสง่ เสรมิ สุขภาพระดบั ตำบล เปน็ ตน้ 8) ประชาชนที่เข้ารับบริการจากหน่วยบริการสุขภาพจิต จำนวน 100 คน จากสถาบันพัฒนา สุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ โรงพยาบาลจิตเวช สงขลาราชนครินทร์ และสถาบันกลั ยาณร์ าชนครินทร์ 9) ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการสำคัญตามยุทธศาสตร์ 100 คน ประกอบด้วย โครงการเสริมสร้าง ความรอบรู้และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพจิตที่พึงประสงค์แก่ประชาชน และ โครงการสร้างสุข ภาวะทางใจ เพอื่ เป็นผสู้ ูงวัยทมี่ คี ุณคา่ และความสุข สรุปผลการประเมนิ ตามวตั ถุประสงค์ 1. ความสอดคล้องของแผนพฒั นาสุขภาพจิตแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2561-2580) ระยะที่ 1 (พ.ศ.2561-2565) และแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ของกรมสุขภาพจิต ในวาระแรก ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2563-2565) พบว่าทั้งสองแผนมีความสอดคล้องกันในระดับตัวชี้วัดเป้าประสงค์ โดยมีตัวชี้วัดที่เหมือนกัน 3 ตวั ช้วี ัดไดแ้ ก่ เดก็ มีความฉลาดทางสติปัญญาเด็ก (IQ) เด็กมคี วามฉลาดทางอารมณ์ (EQ) และ อัตราการฆ่าตัว ตายสำเร็จ ส่วนตัวชี้วัดครอบครัวเข้มแข็งและมีความอบอุ่นของแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ สอดคล้องใน ระดับกิจกรรมของกรมสุขภาพจิต และตัวชี้วัดอำเภอที่บูรณาการงานสุขภาพจิตแล้วคนไทยมีความสุขของ แผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติสอดคล้องกับระดับกลยุทธ์ในการดำเนินงานของกรมสุขภาพจิต ส่วนตัวชี้วัด ความสุข (World Happiness) ในแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ เป็นคนละมิติกับตัวชี้วัดของกรมสุขภาพจิต ทใี่ ชต้ วั ชวี้ ัดคนไทยมีสขุ ภาพจิตดี ในระดับยุทธศาสตร์พบว่ายุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติมีความสอดคล้องกับ ยทุ ธศาสตรข์ องกรมสขุ ภาพจิตทัง้ 4 ยุทธศาสตรไ์ ด้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ของแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรม สขุ ภาพจิต ในสองยทุ ธศาสตร์ ไดแ้ ก่ ยทุ ธศาสตรท์ ่ี 1 ด้านสง่ เสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต และ ยุทธศาสตร์ท่ี 3 ดา้ นสร้างความตระหนกั และความเข้าใจตอ่ ปัญหาสุขภาพจติ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ของแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของแผนกรม สขุ ภาพจติ เป็นหลัก โดยเนน้ การพฒั นาระบบบรกิ ารสุขภาพจติ และจติ เวช -7-
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ของแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 2 ของแผนปฏิบัติ ราชการกรมสุขภาพจิต โดยเน้นเรื่องการคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยจิตเวช ตาม พ.ร.บ. สุขภาพจิต ให้ได้รับการ บำบดั รกั ษา และฟื้นฟูอย่างถูกตอ้ งเหมาะสม ยุทธศาสตร์ที่ 4 ของแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ จะสอดคล้องกับแผนของกรมสุขภาพจิตใน 2 ยุทธศาสตร์ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 เกี่ยวกับหน่วยบริการสุขภาพจิตมีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล และ ยทุ ธศาสตร์ที่ 4 เก่ียวกบั การพฒั นาองคค์ วามรแู้ ละวชิ าการ 2. ผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการแปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่ การปฏบิ ัติ จากการประเมินพบว่ากระบวนการจัดทำแผนของแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ และแผนปฏิบัติ ราชการกรมสุขภาพจิต พบว่าทั้งสองแผนมีการทบทวนสถานการณ์ปัญหาที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์และนำมา เปน็ ประเดน็ ในการวางแผน มีการทบทวนแผนระดบั ชาตหิ ลายแผน เช่น แผนยทุ ธศาสตร์ชาติ แผนยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับการ สนับสนุนจากเครือข่าย ทั้งภายในและภายนอกระบบบริการสาธารณสุขมาเป็นประเด็นในการวางแผน โดย ประเด็นที่นำมาสู่การกำหนดยุทธศาสตร์มคี วามสอดคล้องกบั สภาพปัญหาสขุ ภาพจิต นโยบายและแผนต่าง ๆ ทั้งในระดับชาติระดับกระทรวง และระดับกรมสุขภาพจิต ตลอดจนมีการเชื่อมโยงแผนกับการดำเนินงานของ เครือข่ายทั้งในและนอกระบบบริการสาธารณสุข อย่างไรก็ตามในกระบวนการจัดทำแผนของแผนพัฒนา สุขภาพจิตแหง่ ชาติใช้กระบวนการแบบเร่งด่วนในช่วงเวลาของการจัดทำแผน โดยเนน้ ใช้ข้อมลู เดิมจากผลการ วิเคราะห์ในช่วงการจัดทำแผนของกรมสุขภาพจิต และใช้วิธีการประชุมคณะกรรมการเป็นหลัก โดยยังไม่ได้มี ช่วงของการทำประชาพิจารณ์ จึงทำให้แผนยังไม่สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ สว่ นเสียเทา่ ทีค่ วร สำหรับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนแปลงแผนยุทธศาสตร์ในภาพรวม มีความแตกต่าง กันระหว่างแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ กับแผนปฏิบัติราชการกรมสุขภาพจิต โดยแผนปฏิบัติราชการฯ มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง พิจารณาจาก 6 ประเด็นได้แก่ 1) ผู้บริหารส่วนใหญ่มีการใช้ภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลง โดยพบภาวะผู้นำกระตุ้นทางปัญญามากที่สุด 2) มีการแปลงแผนสู่การปฏิบัติ ในรูปแบบ แปลง จากตัวชี้วัดของกลยุทธไ์ ปสู่ระดับโครงการ/กิจกรรม และบูรณาการเข้ากับงานประจำบางส่วน 3) มีการจัดต้ัง คณะกรรมการขบั เคลือ่ นยุทธศาสตร์และ หนว่ ยงานทร่ี ับผิดชอบตวั ช้วี ดั (PM) 4) มีการวางแผนบรหิ ารงานตาม ยุทธศาสตร์และตวั ช้วี ัดชัดเจน 5) ระบบควบคุม กำกับ ติดตามงาน มรี ะบบการสื่อสารชัดเจน และเชอ่ื มโยงเข้า กับการประเมินคุณภาพมาตรฐานการปฏิบัติงาน และ 6) มีการประเมินผลตามตัวชี้วัดและวิจัยประเมินผล สว่ นแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบางระดับ โดยประเด็นที่ยังดำเนินการได้ ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ มี 3 ประเด็นได้แก่ 1) ผู้บริหารมีการภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง แต่ยังไม่เพียงพอในด้าน ความชดั เจน การส่อื สาร และการมีสว่ นร่วม 2) มจี ุดทข่ี าดหายไปของกระบวนการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ท่ี เชื่อมโยงระหว่างโครงการ ไปสู่กลยุทธ์ และจากตัวชี้วัดเป้าประสงค์ไปสู่เป้าหมายของยุทธศาสตร์ยังทำได้ไม่ -8-
ครอบคลุม และ 3) ขาดระบบการควบคุม กำกับ ติดตามงานตามตัวชี้วัด การสื่อสารไม่เพียงพอ แผนการ ตดิ ตามไม่ชดั เจนผ้ปู ฏบิ ตั สิ ่วนใหญ่ไมร่ ับร้ถู ึงระบบการตดิ ตาม 3. ความตอ้ งการและความคาดหวังของผรู้ บั บริการและผมู้ สี ว่ นได้ส่วนเสียของกรมสขุ ภาพจติ 1) ความต้องการและความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนางานสุขภาพจติ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกรมสุขภาพจิตเกี่ยวกับความต้องการและ ความคาดหวังของประชาชนต่อการพัฒนางานด้านสุขภาพจิต พบว่ามีประเด็นหลักๆ ที่กล่าวถึงมากที่สุด ตามลำดับดงั ต่อไปนี้ ประการแรก ระบบบริการสุขภาพจติ ทเ่ี ขา้ ถึงได้ง่ายและหลายช่องทาง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคิดว่าประชาต้องการระบบบริการสุขภาพจิตที่เข้าถึงง่าย สะดวก รวดเร็ว มีหลาย ช่องทาง ทั้งระบบการเข้าถึงบริการ ณ สถานที่จริง ระบบบริการทางไกล และระบบบริการแบบออนไลน์ กล่าวคือเมื่อใดก็ตามที่ประชาชนต้องการความช่วยเหลือ จะต้องมีทางเลือกให้แก่ประชาชนในหลายรูปแบบ โดยแบง่ ประเด็นของความตอ้ งการในการเข้าถงึ ไดแ้ ก่ ประชาชนกลุ่มที่เป็นผู้ใช้บริการเดิม เมื่อต้องการพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ สามารถได้รับบริการทาง สขุ ภาพจติ ไดโ้ ดยอาจไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลจิตเวช แต่สามารถไปโรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลที่ อย่ใู กล้บ้านได้ ในขณะเดยี วกันหากเปน็ ประชาชนท่ีมีความรรู้ ะดบั หนึ่ง อาจใช้ระบบการพบแพทย์ออนไลน์เพ่ือ นดั รับคำปรกึ ษาและสามารถรบั สง่ ยารักษาโรคผา่ นระบบบรกิ ารทางไกลได้ ประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือแบบเร่งด่วน สามารถปรึกษาหน่วยบริการใดก็ได้ที่ใกล้ตัว ระบบ ออนไลน์ที่มีเสถียรภาพ ระบบสายด่วนที่ใช้งานได้จริง แล้วมีบุคลากรที่สามารถแนะนำการแก้ไขปัญหาใน เบ้อื งต้น ตลอดจนสามารถแนะนำหรือส่งมอบบรกิ ารตอ่ ไปยังหน่วยงานท่ีเชี่ยวชาญมากขึ้นได้ ประชาชนทั่วไปกลุ่มที่ต้องการข้อมูลความรู้ หรือปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพจิต สามารถประเมิน สุขภาพจิตของตนเอง ค้นคว้า หาความรู้ เข้าถึงข้อมูลสุขภาพจิตได้ง่าย มีหลายช่องทาง ทั้งระบบบริการ สุขภาพใกลบ้ า้ น ครอบคลมุ ทุกระดับในหน่วยบรกิ ารปฐมภูมติ ้องมีบุคลากรที่มีความรู้ด้านสุขภาพจิต ตลอดจน ระบบการเข้าถึงแบบออนไลน์ มีเทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ต่อการทำความเข้าใจของประชาชนทั่วไปโดย ปัจจุบัน กรมสุขภาพจิตได้พัฒนา แอปพลิเคชัน Mental health check in และสายด่วน 1323 ขึ้นมาเพื่อ ตอบสนองความต้องการของประชาชนในลกั ษณะดังกล่าว แตเ่ ครือข่ายผูม้ ีส่วนไดส้ ่วนเสียยังเหน็ ความจำเป็นท่ี ต้องมีการพัฒนาใหม้ ากย่งิ ข้ึน ประการทีส่ อง ระบบสขุ ภาพจิตที่สามารถช่วยเหลือ พึ่งพาได้ ในภาวะวิกฤต ประชาชนต้องการให้กรมสุขภาพจิตสามารถดูแลประชาชนได้ในทุกสถานการณ์ เป็นที่พึ่งของ ประชาชน เมื่อเกิดปัญหาวิกฤตในชีวิตจะตอ้ งการได้รับความชว่ ยเหลือโดยเรว็ กรมสุขภาพจิตมกั ถูกตั้งคำถาม ถงึ บทบาทหนา้ ท่ใี นสถานการณว์ ิกฤตในสังคม ท่กี อ่ ใหเ้ กดิ ความเครียดแกป่ ระชาชนท่วั ไป เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาความรุนแรง ปัญหาความขัดแย้ง ปัญหาน้ำท่วม ภัยพิบัติ รวมถึงวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 การสร้าง ขวญั กำลังใจ การผ่อนคลายความกังวล การสือ่ สารสู่สาธารณะเปน็ เร่ืองที่กรมสุขภาพจิตจำเป็นต้องดำเนินการ -9-
เพือ่ ใหป้ ระชาชนทราบถงึ ช่องทางท่จี ะสามารถพึ่งพาได้ การตอบสนองตอ่ ประชาชนที่เกิดปัญหาในชวี ิตได้อย่าง เร่งด่วน ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาความรุนแรง อาชญากรรม ฆ่าตัวตาย เป็นสิ่งที่ประชาชนคาดหวังและให้ ความสนใจโดยมองว่ากรมสุขภาพจิตในฐานะรฐั บาล จะตอ้ งดำเนินการเพื่อบรรเทาความทุกข์ยากในจิตใจของ ประชาชน ประการท่สี าม ระบบการรกั ษาฟื้นฟูท่ีสามารถดแู ลผูป้ ว่ ยให้หาย ทเุ ลา และกลบั มามีชีวติ เปน็ ปกติ ในด้านระบบบริการสุขภาพจิตซึ่งมีหน้าที่หลักในการดูแล รักษา ฟื้นฟูผู้ป่วย เครือข่ายมีความคิดว่า ประชาชนคาดหวงั ใหม้ ีระบบบรกิ ารที่มีคณุ ภาพมาตรฐาน เทา่ เทยี ม สามารถรกั ษาใหห้ ายทุเลาลง จนกลับไปมี ชีวิตเป็นปกติ สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพ ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขเหมือนกับบุคคลอื่น ๆ ทั่วไปในสังคม มี ระบบสวสั ดกิ ารสนบั สนุนช่วยเหลอื ไม่กลับมาเป็นภาระของครอบครวั ประการที่สี่ ระบบที่ชว่ ยสนับสนุนใหป้ ระชาชนอยู่ดีมคี วามสขุ ในดา้ นการส่งเสริมสุขภาพจิตทด่ี ี เปน็ ความคาดหวังในงานด้านการส่งเสริมให้ประชาชนมีความสมดุล เกิดขึ้นในจิตใจ มีความรู้ในการสร้างความสุขให้กับตนเอง ความรู้สึกมีศักดิ์ศรี ความภาคภูมิใจในตนเอง ความสามารถในการฟื้นตัวจากภาวะวิกฤตต่าง ๆ ที่เกดิ ขนึ้ ในชวี ิต พร้อมเผชญิ ต่อการเปลย่ี นแปลงโดยส่งเสริม ไปพรอ้ มกนั ทัง้ ทางรา่ งกายและจิตใจ ประการสุดทา้ ย ประชาชนต้องการความปลอดภัย สำหรับปัญหาความรุนแรงที่เกดิ ขึ้นบางส่วนที่เกิดจากผู้มีปัญหาสุขภาพจิต มักกลายเป็นประเด็นทาง สังคมที่ได้รับความสนใจในวงกว้าง สิ่งที่ประชาชนต้องการและคาดหวังจากหน่วยปฏิบัติการด้านสุขภาพจิต รวมถึงหน่วยงานที่สามารถดูแลความปลอดภัยให้แก่ประชาชนจากผู้ป่วย หรือผู้มีปัญหาทางจิต รวมถึงผู้ที่มี อาการคลุ้มคล่ังจากปัญหาสุราและยาเสพติด ดงั นั้น อาจต้องมีการพฒั นาบุคลากรเจ้าหนา้ ที่ตำรวจ ที่มีความรู้ ในการจัดการเม่อื บุคคลทมี่ ปี ญั หามีพฤตกิ รรมเส่ยี งต่ออนั ตรายท้งั แก่ตนเอง และประชาชน 2) ความตอ้ งการและความคาดหวังของเครือขา่ ยตอ่ การใหบ้ ริการของกรมสุขภาพจติ จากการศึกษาความต้องการและความคาดหวังของเครือข่ายโดยการจัดลำดับ ความต้องการในแต่ละ ประเดน็ พบวา่ เครือข่ายสุขภาพจิตมีความตอ้ งการในแต่ละประเด็นตอ่ ไปนี้ เปน็ อันดบั แรก 1) ด้านบุคลากรทางการแพทย์ พบว่ามากท่ีสดุ คือ ต้องการแพทย์ทคี่ วามรคู้ วามเชี่ยวชาญ 2) ด้านเจ้าหน้าที่/พยาบาล พบว่ามากที่สุดคือ ต้องการเจ้าหน้าที่/พยาบาลดูแลเอาใจใส่มีใจรักใน บรกิ าร 3) ด้านระบบบริการด้านสุขภาพจิต พบว่ามากที่สุดคือ ต้องการบริการที่เข้าถึงง่าย สะดวกและ รวดเร็ว 4) ดา้ นการให้บริการข้อมูลด้านสุขภาพจิต พบว่ามากท่ีสุดคือ ตอ้ งการการใหบ้ ริการข้อมูลที่ทันสมัย สอดคล้องกบั สถานการณ์ปัจจบุ นั อยา่ งทันท่วงที 5) ดา้ นองค์ความรดู้ ้านสุขภาพจิต พบว่ามากท่สี ุดคือ ต้องการองค์ความรู้ด้านสุขภาพจิตที่เหมาะกับ ประชาชนทวั่ ไป - 10 -
3) ความตอ้ งการและความคาดหวงั ต่อแผนยทุ ธศาสตรใ์ นระยะต่อไป ผู้มีสว่ นเสยี มีความต้องการและความคาดหวงั ตอ่ แผนยุทธศาสตรใ์ นระยะต่อไปดังน้ี แผนพัฒนาสขุ ภาพจติ แหง่ ชาติ ประการแรก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการเห็นแผนพัฒนาสุขภาพจิต เป็นแผนที่ไม่ใช่ถือโดยกรม สขุ ภาพจิต แต่เปน็ แผนร่วมของคนในชาติ โดยรัฐบาลสามารถนำแผนฉบับน้ีเปน็ ฐานในการกำหนดประเด็นเชิง นโยบาย เพื่อส่งเสริมความสุข ลดความขัดแย้ง สร้างความสมานฉันท์ ของคนในสังคมด้วยสุขภาพจติ ทีด่ ี หาก ทุกภาคส่วนให้ความสนใจในประเด็นด้านสุขภาพจิต และรับรู้ได้ว่า ปัญหาสังคมมากมายที่เกิดขึ้นเกิดจาก ปัญหาสขุ ภาพจิตที่ไมด่ ี เชน่ ปญั หาความขดั แย้ง ความรนุ แรง ผคู้ นทะเลาะกันดว้ ยความคดิ ท่แี ตกต่าง อย่างไร ก็ตาม หากคนมีสุขภาพจิตดี จะสามารถจัดการกับอารมณ์และความคิดที่แตกต่างได้ ดังนั้นให้มองว่า แผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติจะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่ต้องอาศัยการ ดำเนินงานร่วมกันจากหลากภาคส่วน หากรัฐบาลรัฐบาลเข้ามาหยิบยกประเด็นด้านสุขภาพจิตอย่างจริงจังก็ และดำเนินการให้เป็นแบบอย่าง จะช่วยให้ลดความขัดแย้งของผู้คนในสังคม เกิดเป็นสังคมที่สงบสุขแล้ว เดินหน้าพัฒนาประเทศต่อไปอยา่ งยั่งยนื ได้ ประการที่สอง เนื้อหาภายในแผนต้องมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของทุกภาคส่วน ทั้งจาก ภาครฐั หลายหนว่ ยงานและรวมถึงภาคเอกชน ประชาสงั คมด้วย เน้อื หาภายในแผนต้องประกอบด้วยเน้ืองานท่ี ทุกภาคสว่ นสามารถเปน็ เจา้ ของรว่ มกัน สามารถเช่อื มโยงกบั เครือข่ายได้มากขึน้ มกี ารนิยามความสุขท่ีทุกภาค ส่วนมองร่วมกัน ไม่ใช่เพยี งความสุขในมิติท่ีคนไขส้ ุขภาพจติ ลดลง แต่เปน็ ความสุขที่คนไทยคาดหวังเพ่ือให้เกิด แผนท่มี ีเปา้ หมายเดียวกนั ดงั นั้นระดับของการมีสว่ นร่วมจงึ ตอ้ งเข้มขน้ มากขนึ้ ประการทส่ี าม สร้างการมีสว่ นร่วมให้มากข้ึนทงั้ ในระดับกรมสุขภาพจิต และกับเครือข่ายภายนอก กรมสุขภาพจิต เพื่อไม่ใหเ้ กดิ ภาพท่เี รยี กว่า “คนเขียนไมไ่ ด้ทำ คนทำไม่ไดเ้ ขียน” โดยหากเปน็ หนว่ ยงาน ภายนอกกรมสขุ ภาพจติ จำเป็นต้องมีการระบชุ ื่อหนว่ ยงานท่ีมีส่วนร่วมใหช้ ัดเจนถึงหนว่ ยงานท่ปี ฏิบตั จิ รงิ เนื่องจากหากระบุไวเ้ พยี งช่ือกระทรวงหน่วยงานทีป่ ฏิบัติจริงจะไมท่ ราบว่าแผนปฏบิ ัติการ แนวทางดำเนินงาน เหลา่ นน้ั มีความเกยี่ วข้องโดยตรงกบั หนว่ ยงานของตนเองหรือไม่ ในระยะตอ่ ไป ผู้มสี ว่ นได้ส่วนเสยี จึงตอ้ งการ ใหค้ ณะกรรมการสขุ ภาพจิตแหง่ ชาติ ระบบุ ทบาทถึงระดบั หน่วยปฏิบัติงานด้วย ประการที่ส่ี การสื่อสารที่ชัดเจนของประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ กล่าวคือต้องเพิ่มการสื่อสารเกี่ยวกับ จุดเน้นของงานด้านสุขภาพจิตเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนที่หลากหลาย ควรมีการสื่อสารประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ กับ หน่วยงานต่าง ๆ ให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน การสื่อสารเชิงประเด็น เช่น การพัฒนาเด็ก ครอบครวั การปอ้ งกนั และแก้ไขปญั หาการฆ่าตัวตาย ปญั หายาเสพติด ปัญหาความรุนแรงในสงั คม ทุกประเดน็ ลว้ นแต่เป็นปญั หาท่ีหลายภาคสว่ นให้ความสนใจ ดงั นน้ั แผนพัฒนาสขุ ภาพจติ แห่งชาตติ ้องสื่อสารให้ได้ว่างาน สุขภาพจิตเกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้ โดยอาจจะปรับวิธีการเขียนยุทธศาสตร์ใหเ้ ป็นเชิงประเด็น เพื่อให้เกิด การสอ่ื สารท่ีหนว่ ยงานเครือข่ายอ่ืนๆ สามารถเข้าใจง่ายยิง่ ข้ึน และกรมสุขภาพจติ เองกจ็ ะบูรณาการกับพื้นท่ีได้ ง่ายขนึ้ ดว้ ย - 11 -
ประการที่ห้า ปรับโครงสร้างการดำเนินงานภายในแผนเพือ่ มุ่งไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ใหม้ ากขึ้น โดย ไม่ยึดติดกับพันธกิจของกรมสุขภาพจิต จัดลำดับความสำคัญของโครงการในแผน และปรับค่าเป้าหมายให้ สอดคล้องกับสถานการณ์จากฐานข้อมูลเชิงประจักษ์มากขึ้น เนื้อหาในแผนจะต้องมีจุดเน้นที่เกี่ยวข้องกับ พัฒนาสุขภาพจิตของประชาชนในชาติ ไม่ใช่แผนที่เน้นรักษาอาการเจ็บป่วย ดังนั้นประเด็นรักษาอาการ เจ็บปว่ ยตอ้ งนำไปไว้ในแผนของกรมฯ เปน็ หลัก และประการสดุ ทา้ ย คาดหวังให้เปน็ แผนทม่ี ีทรพั ยากรสนบั สนนุ การขับเคลือ่ นแผนพัฒนาสุขภาพจิต แห่งชาติต้องประสานหน่วยงานในระดับพื้นที่หลายภาคส่วน โดยเฉพาะงบประมาณสำหรับการประชุมเป็น ปัจจัยสำคัญ ลักษณะของการบูรณาการงานกับพื้นที่ส่วนใหญ่มักจะขาดเจ้าภาพ จึงจำเป็นต้องมีงบประมาณ สนับสนุนเพื่อให้เกิดการประชุมอันเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือ ส่วนในระดับปฏิบัตพิ ื้นที่สามารถไปบูรณา การกับงานตามพันธกิจได้ นอกจากนั้นหลายหน่วยงานยังต้องการบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต ซึ่งมีสองประเด็นในส่วนของบุคลากรคือ เพิ่มอัตรากำลังของบุคลากรด้านสุขภาพจิต และ เพิ่มศักยภาพของ บุคลากรในด้านสุขภาพจิตให้บุคลากรจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่ดำเนินงานเกี่ยวข้อง มีความรู้ในด้านสุขภาพจิต ดว้ ย แผนปฏบิ ัติราชการกรมสุขภาพจติ ประการแรก ยุทธศาสตร์ที่กระชับและมีจุดเน้น เนื้อหาภายในแผนปฏิบัติราชการกรมสุขภาพจิตมี ลักษณะที่เข้าใกล้งานประจำ มีการทำงานที่ครอบคลุม แต่ขาดจุดเน้นและไม่สั้นกระชับ ประกอบกับตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายที่ยงั คงลักษณะเดิมมาจำนวนหน่ึง อาจต้องทบทวนเพ่ือเปลี่ยนแปลงให้มีทศิ ทางทีช่ ดั เจนมาก ขึ้น เช่น การเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ที่ยังเป็นปัญหา และการสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อปัญหาท่ี เกดิ ขึ้นเหล่านนั้ ประการที่สอง ปรับระดับของตัวชี้วัด ปัจจุบันตัวชี้วัดของกรมสุขภาพจิตหลายตัวยังอยู่ที่ระดับ ผลผลิต (Output) ทำให้เกิดตัวชี้วัดจำนวนมาก แผนจึงขาดความสั้นกระชับ และหลายตัวชี้วัดที่ตอบไม่ได้ว่า เมื่อทำสำเร็จแล้วนำไปสู่ผลลัพธ์อย่างไร จึงต้องการเห็นตัวชี้วัดของกรมสุขภาพจิต ที่ไปสู่ระดับ ผลลัพธ์ (Outcome) มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ตัวชี้วัดน้อยลง และแผนมีความกระชับมากขึ้นได้ ส่วนเป้าหมายที่ผู้ปฏิบัติ จำนวนหนึ่งไม่ต้องการให้มีคือการวัดในระดับกระบวนการ เพราะทรัพยากร และบริบทแต่ละพื้นที่มีความ ตา่ งกนั อาจจะใชก้ ารบรรลเุ ป้าหมายโดยกระบวนการอื่นได้นอกเหนือจากทสี่ ว่ นกลางกำหนด และประการที่สาม ค่าเป้าหมายที่สอดคล้องกับพื้นที่ เครือข่ายผู้ปฏิบัติงานคาดหวังว่าแผนระยะ ต่อไป จะมีการกำหนดค่าเป้าหมายที่แตกต่างกันในระดับพื้นที่ แล้วให้ผู้จัดการตัวชี้วัด เฉลี่ยเป็นภาพรวม ระดับประเทศแทนที่จะกำหนดให้ทุกพื้นที่ดำเนินงานตามเป้าหมายเดียวกัน เพราะปัญหาแต่ละพื้นที่มีความ แตกต่างกัน บางพื้นที่ไม่สามารถบรรลุตัวช้ีวดั บางประการได้แม้จะพยายามอย่างเต็มท่ีแล้ว ขณะที่มีบางพื้นท่ี ผา่ นตัวชวี้ ัดบางประการตงั้ แตย่ ังไมไ่ ดข้ บั เคล่ือนงาน - 12 -
ภาพรวมท้ังสองแผน ประการแรก ตอ้ งการเห็นเป้าหมายทีท่ ้าทายแตย่ ังสามารถบรรลุได้จรงิ บางเปา้ หมายที่ไกลเกนิ ไปอาจ ต้องปรับลดลง แตเ่ ปา้ หมายบางประเดน็ ก็ตัง้ น้อยกวา่ ที่สามารถทำได้แลว้ ดังน้ัน จงึ ควรต้องพิจารณาเป้าหมาย ในแต่ละตัวชว้ี ดั ใหย้ งั คงความทา้ ทาย แต่ไมไ่ กลเกินกวา่ ทจ่ี ะบรรลไุ ดใ้ นระยะต่อไป โดยอาศัยข้อมูลเชงิ ประจักษ์ ที่มีอยู่เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดแผน อีกทั้งยังต้องทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ อีกดว้ ย ประการที่สอง สามารถติดตามความสำเร็จได้ กล่าวคือ นอกจากจะต้องมีกระบวนการกำกับติดตาม งานที่ชัดเจนแลว้ ควรมรี ะบบติดตามความสำเร็จของยุทธศาสตร์ดว้ ยวา่ ณ ขณะปัจจบุ ันมเี รื่องใดดำเนินการไป ถึงระดับใดแล้ว มีเรื่องใดที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ประเมินสถานการณ์ได้ว่าเมื่อดำเนินงานตามแผนมาระยะหน่ึง แล้ว การดำเนินการเหลา่ นั้นถกู ทิศทางหรือไม่ เข้าใกลเ้ ป้าหมายแลว้ มากนอ้ ยเพียงใด เป็นตน้ ประการที่สาม ความชัดเจนของความเชื่อมโยงไปสู่ความสำเร็จตามเป้าประสงค์และวิสัยทัศน์ได้ บุคลากรและผูม้ ีสว่ นได้ส่วนเสียต้องการแผนที่สามารถชีแ้ จงรายละเอียดให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งท่ี ทำไปสู่ วิสัยทัศน์ที่จะบรรลุได้อย่างชัดเจนว่ามีความเชื่อมโยงอย่างไร เมื่อทำประเด็นใดสำเร็จแล้วจะนำไปสู่ เป้าประสงค์ และวิสัยทัศน์ในเรื่องใดบ้าง เป็นต้น โดยคาดหวังให้แผนยุทธศาสตร์จะต้องมีความชัดเจนในทุก รายละเอียด ตั้งแต่ระดับยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด ดังที่ผู้ปฏิบัติงานจากเครือข่ายนอกกรมสุขภาพจิตกล่าว สั้นๆว่า “แผนที่วางออกมาจะต้องวัดง่าย ไม่เพิ่มภาระงาน มีความเป็นหมวดหมู่เดียวกัน ไม่ซ้ำซ้อนและ สอดคล้องกบั งานของกระทรวงอื่นด้วย” และประการสุดทา้ ย สรา้ งการมสี ว่ นร่วมกับภาคสว่ นอื่นในสงั คมมากข้นึ การมีส่วนร่วมต่อแผนในระยะเวลาที่ผ่านมา ยังเน้นในระบบบริการสาธารณสุขเป็นส่วนใหญ่ แผนใน ระยะถัดไปอาจต้องพยายามปรับมุมมองต่อปัญหาสุขภาพจิตในเชิงสังคมมากยิ่งขึ้น ขยายการมีส่วนร่วมจาก หลายภาคสว่ นมากข้ึน โดยคาดหวงั วา่ เครือขา่ ยหนว่ ยงานทางสงั คม และภาคประสังคมอาจจะช่วยปรับมุมมอง ของประเด็นสุขภาพจิต ให้มีความเป็นสุขภาพจิตสังคมได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ยังสอดรับกับมุมมองที่ต้อง ขยายงานสุขภาพจิตใหม้ ีขอบเขตที่กว้างไปสู่ระดับชุมชน ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิที่ประกอบด้วยองค์การ สว่ นท้องถน่ิ ชมรม มูลนิธิ สถาบันการศึกษา ศาสนา หน่วยงานพฒั นาสังคม หนว่ ยงานภาคประชาสังคมอ่ืน ๆ ด้วย 4. ประสทิ ธิภาพ ประสทิ ธิผลของยทุ ธศาสตร์ และความคมุ้ คา่ ของแผนงาน / โครงการสำคัญ สำหรับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของยุทธศาสตร์ และความคุ้มค่าของโครงการ ในด้านภาพรวม ของการประเมินซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณา 2 ระดับคือ การบรรลุประสิทธิผลตามตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ และ ความคุ้มค่าของโครงการ - 13 -
การบรรลปุ ระสทิ ธิผลตามตวั ชวี้ ดั ของยทุ ธศาสตร์ การบรรลปุ ระสิทธิผลตามตวั ชี้วัดในภาพรวมของทั้ง 4 ยทุ ธศาสตร์ พบว่า ณ วนั ที่ 23 เมษายน 2565 มตี ัวช้ีวัดเปา้ ประสงค์ในแผนพฒั นาสุขภาพจติ แหง่ ชาติ จำนวน 21 ตวั ชีว้ ดั มตี วั ชว้ี ดั ทบ่ี รรลแุ ล้ว 11 ตัวช้วี ัดคิด เป็นรอ้ ยละ 52.38 อยู่ในระดับคอ่ นขา้ งตำ่ สว่ นแผนปฏิบัตริ าชการกรมสุขภาพจิต มีตวั ชี้วัดในระดบั กลยุทธ์ปรากฏใน 4 ยทุ ธศาสตร์ จำนวน 52 ตัวชี้วัด บรรลุแล้ว 41 ตัวชี้วัด คิดเป็น ร้อยละ 78.84 อยู่ในระดับค่อนข้างสูง มีรายละเอียดการบรรลุตัวชี้วัด จำแนกตามยทุ ธศาสตร์ดงั ตอ่ ไปน้ี 1) แผนพัฒนาสุขภาพจติ แหง่ ชาติ จากตารางที่ 1 จะเห็นรายละเอียดของผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดในแต่ละเป้าประสงค์ ของแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ จำแนกตามยุทธศาสตร์ พบว่า ยุทธศาสตร์ที่ 1 มีประสิทธิผล ในการบรรลุตัวชี้วัดสูง คือ จากทั้งหมด 6 ตัวชี้วัด บรรลุตัวชี้วัด 5 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 83.33 รองลงมาคือ ยุทธศาสตร์ท่ี 3 บรรลุประสิทธิผล ปานกลาง โดยบรรลุ 2 ตัวชี้วดั จาก 3 ตัวชี้วัด คิด เปน็ รอ้ ยละ 66.67 ส่วนยทุ ธศาสตรท์ ่ี 2 และ 4 บรรลุตัวชีว้ ัดในระดับตำ่ (ไมถ่ งึ รอ้ ยละ 50) ตารางที่ 1 การบรรลปุ ระสทิ ธผิ ลตามตวั ช้ีวดั ของแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ ยทุ ธศาสตร์ จำนวนตัวชวี้ ดั จำนวนตวั ชีว้ ัด ผลการบรรลุ แผนพัฒนาสขุ ภาพจิตแห่งชาติ ทัง้ หมด ท่บี รรลุ (รอ้ ยละ) 1. ส่งเสรมิ และปอ้ งกนั ปัญหาสขุ ภาพจติ ตลอดชว่ งชวี ิต 2. พัฒนาระบบบริการสขุ ภาพจติ และจิตเวช 6 5 83.33 3. ขับเคล่อื นและผลกั ดนั มาตรการทางกฎหมาย สังคม และ 7 3 42.86 สวสั ดิการ 3 2 66.67 4. พฒั นาวิชาการและกลไกการดำเนนิ งานด้านสขุ ภาพจิต 5 1 20.00 รวม 21 11 52.38 ดูผลการดำเนินงานในแต่ละตัวช้วี ดั ของแผนพัฒนาสขุ ภาพจติ แห่งชาติ ดังตารางท่ี 2 - 14 -
ตารางที่ 2 การบรรลุประสิทธิผลในแตล่ ะตัวช้วี ัดของแผนพัฒนาสุขภาพจิตแหง่ ชาติ ตัวชว้ี ดั เป้าหมาย ผลงานจริง ยุทธศาสตร์ที่ 1 ร้อยละ 40 ตัวชี้วัดเป้าประสงค์ที่ 1.1.1 ร้อยละของคน รอ้ ยละ 97 (ผลจากการวิจยั ประเมนิ ฉบบั น)้ี ไทยที่มีความตระหนักและเข้าใจเรื่อง ร้อยละ 80 สขุ ภาพจิต ร้อยละ 88 ร้อยละ 75 ตัวชี้วัดเป้าประสงค์ที่ 1.1.2 ร้อยละของคน รอ้ ยละ 85 รอ้ ยละ 70.12 ไทยยอมรับและให้โอกาสต่อผู้มีปัญหา สุขภาพจิตและจติ เวช ร้อยละ 70 รอ้ ยละ 94.73 ของเด็กวัยเรียนกลมุ่ เสย่ี งตอ่ ระดบั สติปญั ญาตำ่ กว่ามาตรฐาน ปญั หาการเรยี นรู้ ตัวชี้วัดเป้าประสงค์ที่ 1.1.3 ร้อยละของคน ร้อยละ 85 ออทสิ ตกิ และปญั หาพฤติกรรม อารมณ์ ไดร้ ับการ ไทยได้รบั การพฒั นาทกั ษะชีวติ ตามช่วงวัย ดแู ลช่วยเหลือจนดขี ึน้ ตามเป้าหมาย ร้อยละ 87.74 รอ้ ยละของผสู้ งู อายุทมี่ ีปญั หา ตัวชี้วัดเปา้ ประสงค์ที่ 1.2.1 ร้อยละของเด็กท่ี ร้อยละ 15 สุขภาพจติ ไดร้ บั การดแู ลทางสงั คม จติ ใจ มคี ะแนน IQ ตำ่ กว่า 100 ได้รับการพัฒนา ร้อยละ 15 รอ้ ยละ 70 ไม่มรี ายงานผลการดำเนนิ งาน ตัวชี้วัดเป้าประสงค์ท่ี 1.2.2 รอ้ ยละของ รอ้ ยละ 74 ผูส้ งู อายทุ ี่มารับบรกิ ารในคลนิ ิกผสู้ ูงอาย/ุ บรรลุ คลินิกโรคไมต่ ดิ ต่อเร้ือรัง ได้รับการคดั กรอง ภาวะซึมเศรา้ รอ้ ยละ 46.72 รอ้ ยละ 32.36 ตัวชว้ี ดั เป้าประสงค์ที่ 1.2.3 ร้อยละของคน ร้อยละ 83.54 ไทยอายุ 15 ปขี น้ึ ไปท่ีมคี วามสขุ เทา่ กบั หรอื รอ้ ยละ102.23 สูงกวา่ คา่ เฉลย่ี ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 2 ตัวช้วี ดั เปา้ ประสงค์ที่ 2.1.1 อตั ราการเขา้ ถงึ บริการของโรคทส่ี ำคัญทางจติ เวช - โรคออทิสติก (Autistic) - โรคสมาธสิ ้นั (ADHD) - โรคซมึ เศรา้ (Depressive disorder) - โรคจติ เภท (Schizophrenia) - 15 -
ตัวช้ีวัด เป้าหมาย ผลงานจริง รอ้ ยละ 2 ไม่มรี ายงานผลการดำเนินงาน ตวั ชว้ี ดั เป้าประสงค์ท่ี 2.1.2 ชว่ งเวลาของ อาการโรคจติ เภททีไ่ มไ่ ดร้ ับการรกั ษา รอ้ ยละ 50 ร้อยละ 64.3 (Duration of Untreated Psychosis: DUP) ลดลงจากปเี รม่ิ ตน้ แผน ร้อยละ 96 ร้อยละ 99.12 รอ้ ยละ 94 ยกเลิกตัวชวี้ ดั ตวั ชว้ี ัดเป้าประสงค์ที่ 2.1.3 ร้อยละของศูนย์ ร้อยละ 70 ไม่มรี ายงานผลการดำเนนิ งาน แพทยเ์ วชศาสตรค์ รอบครวั (Primary Care ร้อยละ 40 ไม่ได้ดำเนนิ โครงการ (ไมไ่ ดร้ บั งบประมาณ) Cluster : PCC) ในชมุ ชนมีระบบในการดแู ล สุขภาพจติ และจติ เวช ร้อยละ 85 รอ้ ยละ 87.62 ร้อยละ 70 ไมม่ รี ายงานผลการดำเนินงาน ตวั ชี้วัดเป้าประสงค์ท่ี 2.1.4 รอ้ ยละของผูป้ ่วย จติ เวชทม่ี คี วามเส่ยี งสูงตอ่ การก่อความรุนแรง รอ้ ยละ 50 ร้อยละ 70.25 ไมก่ ่อความรนุ แรงซ้ำ ภายใน 1 ปี ตัวชี้วดั เปา้ ประสงค์ที่ 2.2.1 รอ้ ยละของผูป้ ่วย จิตเวชยาเสพติดทีห่ ยดุ เสพตอ่ เนอ่ื ง 3 เดอื น หลงั จำหน่ายจากการบำบดั รกั ษา ตวั ชี้วัดเป้าประสงคท์ ี่ 2.2.2 ร้อยละของผปู้ ว่ ย จติ เวชที่รับการรักษาแบบผปู้ ่วยในมีอาการ ทางจติ หายทุเลา ตวั ช้วี ัดเป้าประสงคท์ ี่ 2.2.3 ร้อยละของผูป้ ว่ ย โรคทีส่ ำคัญทางจิตเวชทไ่ี ด้รบั การบำบดั รกั ษา แลว้ มีคณุ ภาพชวี ิตทีด่ ขี ้นึ ยทุ ธศาสตรท์ ่ี 3 ตัวชีว้ ัดเป้าประสงคท์ ่ี 3.1.1 รอ้ ยละของผู้ป่วย จติ เวชที่ไดร้ ับการดแู ลตาม พ.ร.บ. สขุ ภาพจิต ได้รบั การตดิ ตามอยา่ งตอ่ เนอื่ ง ตัวชี้วัดเปา้ ประสงคท์ ี่ 3.1.2 รอ้ ยละของผปู้ ว่ ย จิตเวชในชมุ ชนท่ีไดร้ ับการดแู ลจาก ผูร้ บั ดแู ล ผปู้ ่วยจติ เวช (Caregiver) อย่างถูกตอ้ งและมี มาตรฐาน ตัวชี้วัดเป้าประสงค์ท่ี 3.1.3 ร้อยละของสถาน บริการทไ่ี ด้ขนึ้ ทะเบยี นเปน็ สถานบำบดั รกั ษา ตาม พ.ร.บ.สขุ ภาพจติ - 16 -
ตัวชว้ี ดั เป้าหมาย ผลงานจริง มากกว่าหรอื ไม่มรี ายงานผลการดำเนินงาน ยุทธศาสตร์ท่ี 4 ตวั ชี้วัดเปา้ ประสงค์ที่ 4.1.1 รอ้ ยละคา่ ใชจ้ า่ ย เท่ากับ รอ้ ยละ 92.39 ด้านสขุ ภาพจิต ต่อคา่ ใช้จา่ ยด้านสขุ ภาพ 3.5 (Proportion of Mental Health ร้อยละ 45 ไมม่ ีข้อมลู ในสว่ นของสดั ส่วนบุคลากรสายงานหลัก Expenditure per Health Expenditure) ดา้ นสุขภาพจติ ตอ่ ประชากรแสนคนมีแต่โครงการ ตามเปา้ หมาย พัฒนาบคุ ลากรอยา่ งต่อเน่อื ง (Continuous ตัวชี้วัดเป้าประสงค์ที่ 4.1.2 รอ้ ยละของหน่วย Training) บรกิ ารดา้ นสขุ ภาพจิตที่มผี ลการประเมิน 20 เร่อื ง ระดับคณุ ธรรม 7 เร่อื ง และความโปร่งใสในการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ 25 เรือ่ ง 2 เรอ่ื ง ตัวชี้วดั เปา้ ประสงคท์ ่ี 4.1.3 สัดสว่ นบุคลากร สายงานหลกั ด้านสขุ ภาพจิตตอ่ ประชากรแสน คน - จิตแพทยท์ ัว่ ไป 1.0 - พยาบาลจติ เวช 7.5 - นกั จติ วทิ ยาคลินิก 0.8 - นกั สงั คมสงเคราะห์ 1.0 - นักกจิ กรรมบำบดั 1.0 ตวั ช้ีวัดเปา้ ประสงคท์ ่ี 4.2.1 จำนวน นวัตกรรม/องค์ความรทู้ ี่สามารถปอ้ งกันแกไ้ ข ปัญหาสขุ ภาพจิตและจติ เวชของประเทศ (เปา้ หมายสะสม) ตวั ชี้วดั เปา้ ประสงคท์ ี่ 4.2.2 จำนวนประเดน็ ความรทู้ ีใ่ ชเ้ ปน็ แหลง่ อา้ งอิงในระบบ สารสนเทศสขุ ภาพจติ (เปา้ หมายสะสม) 2) แผนปฏบิ ตั ิราชการกรมสขุ ภาพจติ จากตารางที่ 3 จะเห็นรายละเอียดของผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดในแต่ละเป้าประสงค์ของ แผนปฏิบัติราชการกรมสุขภาพจิต จำแนกตามยุทธศาสตร์ พบว่า ยุทธศาสตร์ที่ 4 มีประสิทธิผลในการบรรลุ ตวั ชว้ี ัดสงู คอื จากทัง้ หมด 10 ตัวชวี้ ัด บรรลุตัวชีว้ ดั 9 ตวั ชวี้ ัด คดิ เปน็ รอ้ ยละ 90 รองลงมาคอื ยุทธศาสตร์ท่ี 1 บรรลุ 14 ตัวชี้วัด จาก 18 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 77.78 และยุทธศาสตร์ที่ 2 บรรลุ 16 ตัวชี้วัดจาก 21 ตัวชีว้ ัด คิดเปน็ รอ้ ยละ 76.19 ถอื วา่ บรรลุประสิทธิผล คอ่ นขา้ งสูง สว่ นยทุ ธศาสตรท์ ่ี 3 บรรลุตัวชี้วัดในระดับ ปานกลาง โดยบรรลุ 2 ตวั ชวี้ ดั จาก 3 ตัวชีว้ ัด คดิ เป็นร้อยละ 66.67 - 17 -
ตารางที่ 3 การบรรลตุ ัวชวี้ ดั จำแนกตามประเด็นเป้าประสงคข์ องแผนปฏบิ ัติราชการ แผนปฏิบัติราชการกรมสขุ ภาพจติ 18 14 77.78 21 16 76.19 1. สง่ เสรมิ สุขภาพจิต ป้องกันและควบคมุ ปัจจยั ท่กี อ่ ใหเ้ กดิ 3 2 66.67 ปัญหาสขุ ภาพจิตตลอดช่วงชวี ิต 10 9 90.00 2. พัฒนาคณุ ภาพระบบบรกิ ารและวชิ าการสุขภาพจิตและจติ 52 41 78.84 เวช 3. สรา้ งความตระหนักและความเข้าใจตอ่ ปัญหาสุขภาพจติ 4. พัฒนาระบบการบรหิ ารจดั การให้มีประสทิ ธภิ าพและมี ธรรมาภบิ าล รวม สรปุ ผลการดำเนินงานในแตล่ ะตวั ชว้ี ดั ตามประเดน็ ยุทธศาสตร์ของแผนปฏิบตั ิราชการดังตารางที่ 4 ตารางท่ี 4 ผลการดำเนนิ งานตามตวั ช้ีวดั ตามประเดน็ ยทุ ธศาสตรข์ องแผนปฏบิ ตั ิราชการ ชอื่ ตวั ช้ีวดั เปา้ หมาย ผลงานจรงิ (ปี 2565) (ปี 2563-2564) ยทุ ธศาสตร์ที่ 1 ร้อยละ 35 ตวั ชีว้ ดั ที่ 6 รอ้ ยละของเดก็ ปฐมวยั ทีไ่ ดร้ ับการคดั กรองแลว้ พบว่ามพี ฒั นาการ เขตสุขภาพที่ 1-12 ลา่ ชา้ แล้วได้รบั การกระตุ้นพัฒนาการดว้ ย TEDA4I หรือเครือ่ งมอื มาตรฐาน ร้อยละ 90 รอ้ ยละ 33.02 อนื่ จนมีพัฒนาการสมวยั ร้อยละ 80 เขตสขุ ภาพท่ี 13 ร้อย ตัวช้วี ัดท่ี 7 รอ้ ยละของเดก็ วยั เรยี นกลมุ่ เส่ยี งตอ่ ระดับสตปิ ญั ญาตำ่ กวา่ (ปี 2564) ละ 53.85 มาตรฐาน ปญั หาการเรยี นรู้ ออทสิ ติกและปัญหาพฤติกรรม - อารมณ์ ไดร้ ับ ร้อยละ 85 การดูแลชว่ ยเหลือจนดีข้นึ รอ้ ยละ 94.73 ตวั ชี้วดั ท่ี 8 รอ้ ยละของวยั ร่นุ กลมุ่ เสยี่ งทมี่ ปี ญั หาพฤติกรรม-อารมณ์ ไดร้ บั การ ดูแลชว่ ยเหลือจนดีขึ้น รอ้ ยละ 93.75 ตัวชว้ี ดั ที่ 9 ร้อยละของประชาชนวัยทำงานทม่ี ีสขุ ภาพจติ ดี 85.49 ตวั ช้ีวดั ท่ี 10 รอ้ ยละของผู้สูงอายมุ สี ขุ ภาพจติ ดี ร้อยละ 85 ยกเลกิ ตัวชีว้ ัด - 18 -
ชื่อตวั ชี้วัด เป้าหมาย ผลงานจรงิ (ปี 2565) (ปี 2563-2564) ตัวชว้ี ดั ท่ี 11 ร้อยละของเด็กปฐมวัยกลุ่มเส่ียง (Birth Asphyxia : BA, Low รอ้ ยละ 85 รอ้ ยละ 99.16 Birth Weight : LBW และแม่วัยรนุ่ ) ท่ไี ดร้ ับการคัดกรองแลว้ พบวา่ สงสยั ร้อยละ 70 เขตสขุ ภาพท่ี 1-12 (ปี 2564) ร้อยละ 70.12 ลา่ ช้าแลว้ ไดร้ บั การกระตนุ้ จนมีพัฒนาการสมวยั ร้อยละ 90 เขตสุขภาพที่ 13 ร้อย ตัวชว้ี ัดที่ 12 ร้อยละของเดก็ ปฐมวยั ที่ไดร้ บั การคดั กรองแล้วพบวา่ มี ละ 37.16 พัฒนาการล่าช้าแลว้ ไดร้ ับการกระต้นุ พัฒนาการดว้ ย TEDA4I หรอื เครอื่ งมือ ร้อยละ 80 มาตรฐานอ่นื รอ้ ยละ 80 ร้อยละ 92.94 รอ้ ยละ 85 ตัวชี้วัดที่ 13 รอ้ ยละของเดก็ วยั เรยี นกลุม่ เส่ียงต่อระดับสตปิ ญั ญาตำ่ กว่า รอ้ ยละ 91.36 มาตรฐาน ปญั หาการเรยี นรู้ออทสิ ติก และปญั หาพฤติกรรม - อารมณ์ ไดร้ บั รอ้ ยละ 45 ร้อยละ 87.74 การดแู ลชว่ ยเหลือ ร้อยละ 60 85.49 ตวั ชว้ี ัดที่ 14 ร้อยละเดก็ และเยาวชนในอำเภอตน้ แบบมที กั ษะชีวติ อยใู่ น รอ้ ยละ 100 เกณฑด์ ี ร้อยละ 100 45.58 รอ้ ยละ 100 ตัวชี้วดั ที่ 15 ร้อยละเดก็ และเยาวชนทมี่ ีความเส่ยี งต่อการเป็นผู้กลน่ั แกล้ง ร้อยละ 87.74 รงั แกในโรงเรียนคเู่ ครอื ข่ายไดร้ ับการดแู ลชว่ ยเหลอื จนดขี ึ้น รอ้ ยละ 100 รอ้ ยละ 100 ตวั ชว้ี ดั ท่ี 16 รอ้ ยละของประชาชนวยั ทำงานไดร้ บั การสง่ เสรมิ สขุ ภาพจติ และ ร้อยละ 100 ป้องกนั ปัญหาสขุ ภาพจติ ผ่านโปรแกรมสรา้ งสุขวยั ทำงานในชมุ ชนและสถาน ประกอบการมคี วามสขุ ตามเกณฑ์ ตัวชว้ี ัดที่ 17 ร้อยละของอำเภอท่ีมีการจัดโปรแกรมสร้างสุขวัยทำงานในชมุ ชน และสถานประกอบการ ในเขตสขุ ภาพ ตวั ชว้ี ดั ที่ 18 รอ้ ยละของผูส้ ูงอายทุ ม่ี ปี ัญหาสุขภาพจิตไดร้ ับการดูแลทางสังคม จิตใจ ตัวช้ีวดั ท่ี 19 รอ้ ยละของอำเภอทมี่ ีการบูรณาการงานสุขภาพจติ เข้ากบั คณะกรรมการพฒั นาคณุ ภาพชีวิตระดบั อำเภอ ตวั ชว้ี ัดท่ี 20 ร้อยละของหน่วยบรกิ ารสุขภาพปฐมภมู มิ ีการจัดบรกิ าร สุขภาพจติ ทม่ี ีคุณภาพ ตวั ช้ีวดั ที่ 21 รอ้ ยละของอำเภอทม่ี ีตำบลจัดการสุขภาพมกี ารดแู ล เฝา้ ระวัง และบรู ณาการการดำเนนิ งานสุขภาพจิตตามประเดน็ สขุ ภาพท่ีสำคญั ของกล่มุ วัยร่วมกบั ภาคีเครือขา่ ยอย่างตอ่ เนือ่ ง - 19 -
ชือ่ ตวั ช้ีวดั เป้าหมาย ผลงานจริง (ปี 2565) (ปี 2563-2564) ตัวชี้วัดที่ 22 รอ้ ยละของพืน้ ทที่ ีม่ ีการจดั บรกิ ารส่งเสรมิ สุขภาพจติ และป้องกัน ปญั หาสุขภาพจิตตามเกณฑม์ าตรฐานท่กี ำหนดในเขตสขุ ภาพ รอ้ ยละ 60 ร้อยละ 74.72 รอ้ ยละ 45 รอ้ ยละ 83.59 ระดบั ตำบล 2 เรื่อง (ปี 2564) 2 เรือ่ ง ระดบั อำเภอ รอ้ ยละ 85 101.63 ตัวชี้วัดที่ 23 จำนวนข้อเสนอเชงิ นโยบายด้านสุขภาพจิตท่ีสามารถผลักดันให้ รอ้ ยละ 74 ร้อยละ 83.54 เปน็ นโยบายสาธารณะในพน้ื ที่ ร้อยละ 55 46.72 ยุทธศาสตรท์ ่ี 2 (ปี 2564) 32.36 ตัวชี้วัดที่ 24 ร้อยละของผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการสุขภาพจิตที่ได้มาตรฐาน ร้อยละ 30 รอ้ ยละ 91.12 (โรคจติ เภท : Schizophrenia) ร้อยละ 88.80 รอ้ ยละ 70 97.65 ตัวชี้วัดที่ 25 ร้อยละของผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการสุขภาพจิตที่ได้มาตรฐาน ร้อยละ 99.14 (โรคซมึ เศร้า : Depression) รอ้ ยละ 60 ร้อยละ 98.42 ตัวชี้วัดที่ 26 ร้อยละของผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการสุขภาพจิตที่ได้มาตรฐาน รอ้ ยละ 95 ร้อยละ 65.52 (โรคออทิสตกิ : Autistic Spectrum Disorder : ASD) รอ้ ยละ 47.18 ร้อยละ 85 ตัวชี้วัดที่ 27 ร้อยละของผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการสุขภาพจิตที่ได้มาตรฐาน (โรคสมาธสิ น้ั : Attention Deficit Hyperactive Disorder : ADHD) ร้อยละ 90 ตัวชี้วัดที่ 28 ร้อยละของผู้ป่วยโรคจิตเภทได้รับการรักษาต่อเนื่องภายใน 6 รอ้ ยละ 70 เดือน ร้อยละ 35 ตวั ชว้ี ดั ที่ 29 รอ้ ยละของผูป้ ว่ ยจติ เวชยาเสพติดที่บำบัดครบตามเกณฑ์ของแต่ ละระบบและไดร้ บั การตดิ ตามดแู ลต่อเนอื่ ง 1 ปี (Retention Rate) ตัวชี้วัดที่ 30 ร้อยละของผู้พยายามฆ่าตัวตายไม่กลับมาทำร้ายตัวเองซ้ำใน ระยะเวลา 1 ปี ตัวชี้วัดที่ 31 ร้อยละของผู้ประสบภาวะวิกฤตที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้รับการ เยียวยาจิตใจตามมาตรฐานกรมสขุ ภาพจิต ตัวชี้วัดที่ 32 ร้อยละของสถานบริการทุกระดับในกระทรวงสาธารณสุข สามารถดแู ลผู้ป่วยจติ เวชฉกุ เฉิน (Acute care) ไดต้ ามมาตรฐาน ตัวชี้วัดที่ 33 ร้อยละของสถานบริการทุกระดับในกระทรวงสาธารณสุข มี บรกิ ารสขุ ภาพจิตและจิตเวชทม่ี ี คณุ ภาพมาตรฐานในระดับ 1 ทกุ ดา้ น - รพศ./รพท. (A และ S ไมร่ วม M1) - รพช. (M1-F3) - 20 -
ชื่อตวั ชว้ี ัด เปา้ หมาย ผลงานจริง (ปี 2565) (ปี 2563-2564) ตัวชว้ี ัดที่ 34 ร้อยละของศูนยแ์ พทยเ์ วชศาสตร์และครอบครัว (Primary Care ร้อยละ 50 รอ้ ยละ 64.30 Cluster : PCC) ในชมุ ชนมรี ะบบการดแู ลสขุ ภาพจิตและจติ เวช รอ้ ยละ 70 รอ้ ยละ 70.25 ตัวชี้วัดที่ 35 ร้อยละของสถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสถานบำบัดรักษา (ปี 2564) ตามพระราชบญั ญตั ิสุขภาพจติ ร้อยละ 70 87.62 ตวั ช้ีวดั ที่ 36 ร้อยละของผปู้ ่วยจิตเวชทเี่ ข้ารับการบำบดั รกั ษา และจำหน่าย รอ้ ยละ 94 96.97 ตามพระราชบญั ญัตสิ ขุ ภาพจิต ไดร้ ับการตดิ ตามตอ่ เน่ืองครบ 1 ปี ร้อยละ 70 ไม่ไดร้ ับงบประมาณ ตัวชว้ี ัดที่ 37 ร้อยละคนพกิ ารทางจติ ใจหรือพฤตกิ รรม ไดร้ ับการดแู ลฟ้นื ฟจู น ในการดำเนินงาน มคี ณุ ภาพชีวติ ที่ดีขน้ึ ร้อยละ 95 ไมไ่ ดร้ บั งบประมาณ ตัวชว้ี ดั ที่ 38 ร้อยละของหน่วยบรกิ ารในสังกดั กรมสุขภาพจิตมรี ะบบ 19 แหง่ 20 แห่ง สนบั สนนุ อาชพี สำหรับบคุ คลบกพร่องทางสตปิ ัญญาและออทิสตกิ 20 แห่ง 20 แหง่ ตัวชี้วัดท่ี 39 ร้อยละของบุคคลบกพร่องทางสตปิ ญั ญาและออทิสตกิ ที่ผา่ น ระบบเตรียมความพรอ้ มได้รบั การจ้างงาน ร้อยละ 75 รอ้ ยละ 88.83 ตัวช้ีวัดที่ 40 จำนวนหน่วยบรกิ ารจติ เวช มบี รกิ ารเฉพาะทางสขุ ภาพจติ และ ร้อยละ 96 99.20 จิตเวช (Super Specialist Service) ทมี่ ีคณุ ภาพมาตรฐาน 3 เรื่อง/ 3 เร่อื ง ตวั ชวี้ ัดที่ 41 จำนวนหนว่ ยบรกิ ารจิตเวชท่ีพัฒนาไปส่กู ารเป็น Smart ประเดน็ / Hospital นวตั กรรม ไม่ได้มกี ารวดั ผล เนือ่ งจากกำหนด ตัวชว้ี ดั ที่ 42 ร้อยละของผปู้ ่วยท่เี ข้ารบั บริการจติ เวชเฉพาะทางมีการ รอ้ ยละ 45 วดั ผล ปี 2565 เปล่ียนแปลงที่ดขี น้ึ ตวั ชี้วดั ที่ 43 รอ้ ยละของผ้ปู ว่ ยจติ เวชทม่ี คี วามเสยี่ งสงู ตอ่ การก่อความรนุ แรง (SMI-V) ทีไ่ ดร้ บั การติดตามเฝ้าระวงั จากหน่วยบริการจติ เวชในสงั กดั กรม สุขภาพจติ และเครอื ขา่ ยในเขตสุขภาพไม่กอ่ ความรุนแรงซำ้ ภายใน 1 ปี ตวั ชว้ี ัดท่ี 44 จำนวนเร่อื ง/ประเดน็ /นวัตกรรมด้านสุขภาพจติ ทไ่ี ดร้ บั การ แลกเปลย่ี นเรยี นรู้ และถ่ายทอดวชิ าการรว่ มกบั เครอื ขา่ ยสุขภาพจิต ระดับประเทศ หรือระดับนานาชาติ ยุทธศาสตรท์ ี่ 3 ตัวชวี้ ัดท่ี 45 รอ้ ยละของประชาชนทมี่ คี วามตระหนกั และเข้าใจตอ่ ปัญหา สขุ ภาพจติ - 21 -
ชือ่ ตวั ชว้ี ัด เปา้ หมาย ผลงานจริง (ปี 2565) (ปี 2563-2564) ตัวชี้วดั ที่ 46 รอ้ ยละของประชาชนมคี วามรอบรู้ด้านสุขภาพจติ และมี รอ้ ยละ 59 74.80 พฤตกิ รรมสขุ ภาพจติ ท่พี ึงประสงค์ รอ้ ยละ 69 ร้อยละ 99.38 - ความรอบร้ดู า้ นสุขภาพจติ ร้อยละ 88 - พฤติกรรมสขุ ภาพจติ ท่ีพงึ ประสงค์ 92.39 คะแนน ตวั ชวี้ ัดที่ 47 รอ้ ยละของประชาชนกล่มุ เปา้ หมายยอมรบั และให้โอกาสตอ่ ผ้ทู ่ี ร้อยละ 85 อยกู่ ับปญั หาสขุ ภาพจติ ร้อยละ 100 ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 4 90 คะแนน รอ้ ยละ 100 ตัวช้วี ดั ท่ี 48 ผลการประเมินระดบั คุณธรรมและความโปรง่ ใสในการ ดำเนินงานของกรมสุขภาพจติ ร้อยละ 100 ตัวช้วี ัดท่ี 49 รอ้ ยละของหน่วยงานในสงั กดั กรมสขุ ภาพจิตมกี ารดำเนินงาน ร้อยละ 90 97.59 ตามแผนพัฒนาดจิ ิทลั กรมสขุ ภาพจิต รอ้ ย 100 ตัวชว้ี ัดท่ี 50 รอ้ ยละหนว่ ยงานในสังกัดกรมสุขภาพจติ มีชดุ ข้อมลู มาตรฐาน รอ้ ยละ 90 ไม่ไดด้ ำเนินการ แลกเปลยี่ นกนั ไดอ้ ย่างไรร้ อยตอ่ รางวัล PMQA 4.0 ตวั ชี้วดั ท่ี 51 รอ้ ยละของบคุ ลากรในสังกดั กรมสุขภาพจติ ได้รับการพัฒนาให้มี ร้อยละ 90 ระดบั กา้ วหนา้ ความรู้ และทักษะ ด้านการใช้ข้อมลู ส่อื และเทคโนโลยีดิจิทลั 93.30 คะแนน ตัวชี้วัดที่ 52 ร้อยละของบุคลากรในสังกัดกรมสุขภาพจิตได้รับการพัฒนา รอ้ ยละ 95 100 ทักษะและสมรรถนะในหลกั สูตรทีจ่ ำเป็นในการปฏบิ ัติงานในแตล่ ะระดบั ตัวชว้ี ัดที่ 53 ร้อยละของหน่วยงานทเ่ี ปน็ องคก์ รแหง่ ความสขุ ร้อยละ 95 ตัวชี้วัดที่ 54 กรมสุขภาพจิตผ่านการประเมินตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการ รางวัลดีเด่น บรหิ ารจดั การภาครัฐ (PMQA) ตัวชี้วัดที่ 55 กรมสุขภาพจิตผ่านการประเมินสถานการณ์เป็นระบบราชการ ระดบั พัฒนาจน 4.0 (PMQA 4.0) เกิดผล ตัวชี้วัดที่ 56 ร้อยละของหน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิตผ่านเกณฑ์ค่า 90 คะแนน คะแนนตามเกณฑ์การประเมิน คุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ปี 2564) ของหนว่ ยงานในสังกัดกรมสุขภาพจติ (ITA) ในระดบั 5 ตวั ชว้ี ัดที่ 57 ร้อยละของหนว่ ยงานในสงั กัดกรมสุขภาพจิต (หนว่ ยเบกิ จ่าย) มี รอ้ ยละ 90 การดำเนินการตามเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานด้านบัญชีของส่วน ราชการ - 22 -
ผลการประเมินความคุ้มค่าของโครงการสำคญั ตามยุทธศาสตร์ การประเมินผลโครงการโดยใช้การประเมินความคุ้มคา่ ทางสังคม แบบอัตวสิ ัยร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องใน 4 ประเดน็ ได้แก่ ความสำเรจ็ ของโครงการ ความคุม้ คา่ ของโครงการและ โครงการทค่ี วรปรบั ปรงุ และโครงการ ทคี่ วรยุติ ผใู้ ห้ขอ้ มลู ประกอบดว้ ยบุคลากรระดับผ้บู ริหาร และระดับปฏบิ ัติงานในกรมสุขภาพจิต ท้ังจากหน่วย บริหารสว่ นกลางของกรมสุขภาพจิต หน่วยบรกิ ารสขุ ภาพจิต และศูนย์สขุ ภาพจิต จากการวเิ คราะห์ข้อมูลจาก ฐานราก (Grounded) โดยใช้โปรแกรมวิเคราะหข์ ้อมลู เชงิ คุณภาพ ATLAS พบวา่ เมื่อนึกถึงโครงการสำคัญตามยุทธศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสงู อันดับแรก ผู้ตอบคำถาม ส่วนใหญ่ นึกถึง “โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า” และ มากที่สุด รองลงมา คือ “โครงการเพิม่ ประสิทธิภาพการดแู ลผู้ป่วยโรคจติ เภท” เมื่อนึกถึงโครงการที่คุ้มค่าในเชิงประโยชน์ต่อสังคม อันดับแรก ผู้ตอบคำถามส่วนใหญ่ นึกถึง 3 โครงการ เท่า ๆ กัน คือ โครงการเสริมสร้างความรอบรู้และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพจิตที่พึงประสงค์แก่ ประชาชน โครงการเพิ่มประสิทธภิ าพการดูแลผูป้ ่วยโรคจิตเภทและ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผ้ปู ่วย โรคซมึ เศร้า เม่ือนึกถึงโครงการท่ีควรปรับปรุง อันดับแรก ผู้ตอบคำถามส่วนใหญ่ นึกถงึ “โครงการเสริมสร้างความ รอบรู้และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพจิตที่พึงประสงค์แก่ประชาชน” รองลงมามีโครงโครงการคือ “โครงการ พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตครบวงจรด้วยกลไกทางกฎหมาย” และ “โครงการพัฒนาระบบดิจิทัลเพ่ือ สนบั สนุนงานสขุ ภาพจติ ” เมอ่ื นึกถงึ โครงการท่ีควรยุติ ผู้ตอบคำถามส่วนใหญ่คิดวา่ ไม่มีโครงการใดทส่ี มควรจะยุติ อย่างไรก็ตาม มีผู้ตอบแบบสอบถามบางส่วน เสนอมุมมอง ของคำว่า ยุติ ในที่นี้ว่า ไม่ได้หมายความว่าโครงการไม่ดี แต่บาง โครงการมีระดับความสำเร็จที่สูงเพียงพอแล้ว หรือบางโครงการอาจไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบของโครงการ เชิงยุทธศาสตร์ เพราะผนวกเข้าไปกับงานประจำได้แล้ว ยกตัวอย่างเช่น โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแล ผู้ป่วยโรคจิตเภท โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และโครงการประเมินคุณธรรมและ ความโปรง่ ใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน ข้อเสนอแนะต่อการจดั ทำแผนยทุ ธศาสตร์ในระยะต่อไป ข้อเสนอแนะต่อแผนพฒั นาสขุ ภาพจติ แห่งชาติ 1. ดา้ นกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ ควรมีการดำเนินงานจัดทำแผนให้ครบถ้วนตามกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ และ ใช้กระบวนการ จัดทำแผนปฏิบัติการแบบองค์รวมแทนกระบวนการจัดทำแผนแบบตัดต่อผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมท่ี ครอบคลุมผูแ้ ทนจากหนว่ ยงานทเ่ี ก่ียวข้อง โดยเฉพาะหนว่ ยงานที่เคยเสนอโครงการเข้ามาบรรจุในแผนพัฒนา สุขภาพจติ แห่งชาตฉิ บบั ที่ 1 ระยะท่ี 1 และใหม้ บี คุ ลากรจากระดบั กรม กอง หรอื ระดับสำนักงาน ทดี่ ำเนินงาน - 23 -
ในประเด็นสุขภาพที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำแผนด้วย โดยมีกระบวนการ 7 ขั้นตอน สำคญั ทตี่ อ้ งทำ ได้แก่ 1) การริเริ่มและตกลงในการวางแผนยุทธศาสตร์ ในขั้นนี้ผู้ริเริ่มในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ต้องมี ความชดั เจนถงึ เปา้ ประสงค์ของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ นอกจากจะมกี ารจัดตงั้ คณะกรรมการชุดต่าง ๆ แล้ว นั้นแล้วควรได้มีการเจรจาและตกลงให้ชัดเจนระหว่างคณะกรรมการ เพื่อกำหนดขั้นตอนและกระบวนกา ร วางแผนยุทธศาสตร์รวมท้งั รูปแบบและเวลาในการทำรายงาน 2) การระบุอาณัติพนั ธกิจ และค่านิยม โดยควรระบคุ วามจำเป็นด้านสังคมและการเมอื งทีต่ อ้ งบรรลุ เพอ่ื นำไปสู่การอภิปรายถึงกิจกรรมท่ีต้องทำ และยงั เป็นแหล่งสร้างแรงดลใจให้กับแกนหลักของกลุ่มเครือข่าย ผมู้ ีสว่ นได้ส่วนเสยี การมีวสิ ัยทัศน์ร่วมเพ่ือเป็นการตอบคำถามวา่ “อะไรคอื สิ่งที่แผนต้องการสร้าง” จะช่วยให้ เกิดแรงจูงใจในการวางแผนยุทธศาสตร์ร่วมกัน ค้นหาพันธกิจยุทธศาสตร์พื้นฐาน เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน แนวทางและหลักการในการตัดสินใจ และมาตรฐานทางจริยธรรมที่คาดหวังของเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนนั้ วสิ ัยทัศน์ควรไดร้ ับการถา่ ยทอดไปยังสมาชิกและกลุ่มผู้มีส่วนได้สว่ นเสียสำคัญขององค์การทั้งหมด ด้วย 3) การประเมินสถานการณ์ในการตอบสนองอย่างมีประสทิ ธผิ ลตอ่ การเปลี่ยนแปลงของส่ิงแวดล้อม โดยเครือข่ายจะต้องเข้ามาร่วมประเมินสถานการณ์ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับจุดแข็งและ จุดอ่อน ขององค์การและคณะกรรมการทีจ่ ะร่วมในการจดั ทำแผน รวมทั้งโอกาสและการคุกคามจากภายนอก องคก์ ารดว้ ย 4) การระบุประเด็นยุทธศาสตรแ์ ละทางเลือกยุทธศาสตร์ กำหนดบทบาทหน้าทข่ี องเครือข่ายจากแต่ ละหน่วยงานทีเ่ ขา้ มามสี ว่ นร่วม องค์ประกอบของประเด็นยุทธศาสตร์ ควรมี 3 ประการ ประการแรก ประเด็น ควรได้รับการอธิบายให้กะทดั รัด กระชบั ภายในหนึง่ ย่อหน้าและไม่ควรเป็นประเดน็ ที่ไม่อาจสำเร็จได้ ประการ ท่ีสองควรเขียนปัจจัยหรือสาเหตุท่ีทำให้ประเด็นเหล่านัน้ เป็นประเดน็ ที่มีความท้ายทาย โดยเฉพาะการระบุให้ เหน็ ถึงการเช่อื มโยงสมั พนั ธ์ระหว่างตัวประเด็นกับอาณตั ิ พันธกิจ และคา่ นยิ ม จดุ แขง็ จุดอ่อน โอกาส อปุ สรรค และ ประการที่สาม คณะทำงานวางแผนควรระบุผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้น หากประเด็นดังกล่าวไม่ได้รับการหยิบ ยกขึ้นมาพิจารณาเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้นำองค์การตัดสินใจเกี่ยวกับความสำคัญของ ประเดน็ ยทุ ธศาสตรใ์ นแต่ละประเด็น 5) การพัฒนาทางเลือกและการเขียนแผนยุทธศาสตร์ เมื่อได้ประเด็นยุทธศาสตร์แล้วขั้นต่อมาคือ การพัฒนาทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์หรอื แนวทางทีใ่ ช้ในการจัดการกับประเด็นยุทธศาสตร์ โดยระบุวา่ ประเด็น ยุทธศาสตร์แต่ละประเด็นมีทางเลือกหรือแนวทางในการดำเนินการอย่างไรบ้าง จากนั้นนำมาจัดกลุ่มว่ามี แนวทางใดบ้างที่เคยดำเนินการมาก่อน มีแนวทางใดบ้างเป็นแนวทางใหม่ เมื่อจัดกลุ่มเสร็จก็นำมาวิเคราะห์ และประเมิน ระดับความยอมรับของทางเลือกในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของทางเลือก ประเด็นยุทธศาสตร์ ความสอดคลอ้ งตอ้ งกันของทางเลอื กกับพันธกิจ วิสัยทศั น์ ค่านิยมปรัชญาและวัฒนธรรม องค์การ สมรรถภาพของแนวทางในการแก้ไขปญั หาและพัฒนาประเด็นยุทธศาสตร์ ความเปน็ ไปไดท้ างเทคนิค - 24 -
และงบประมาณ ความต้องกรในการอบรมบุคลากรและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ และผลกระทบของ ทางเลือกในระยะยาว เป็นตน้ 6) การนำแผนยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ เป็นขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านระหว่างแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การ จัดการเชิงยุทธศาสตร์ โดยนำยุทธศาสตร์ที่องค์การกำหนดในแผนปฏิบตั ผิ ่านระบบขององค์การ ยุทธศาสตร์ท่ี นำไปปฏิบัติจะอยู่ในรูปของแผนงาน โครงการและแผนปฏิบัติการ ภายใต้การมีงบประมาณที่เหมาะสม กระบวนการปฏิบัติควรมีความยืดหยุ่นเพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้และปรับตัวเมื่อสถานการณ์ในการ ปฏิบัติแตกต่างจากการคาดการณ์แผนยุทธศาสตร์ การเรียนรู้ระหวา่ งการปฏิบัติ จะช่วยให้การนำยุทธศาสตร์ ไปปฏบิ ตั ิมปี ระสิทธผิ ลยิง่ ขึน้ และยังอาจกอ่ ให้เกดิ ยุทธศาสตรใ์ หมท่ สี่ อดคล้องกับสถานการณ์ใหม่อีกด้วย 7) การกำกับติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ การวางแผนยุทธศาสตร์เป็นกระบวนการที่มีความ เป็นพลวัต ดังนั้นจึงเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนกระบวนการกำกับติดตาม แผนยุทธศาสตร์เพื่อประเมินว่ากระบวนการปฏิบัติบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายมากน้อยเพียงใด และเพื่อ ปรับปรุงในกรณที ่มี คี วามจำเปน็ (Bryson, 1995 อ้างใน พิชาย รตั นดิลก ณ ภเู กต็ , 2552: 115-135) 2. ดา้ นเนอื้ หายุทธศาสตร์ สำหรับกระบวนการจัดทำแผนในระยะต่อไปมีประเด็นเนื้อหายุทธศาสตร์ ที่ควรนำมาพิจารณา ดงั ตอ่ ไปน้ี 1) ประเด็นเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic goal): จากเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของ แผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติซึ่งมี 6 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านความฉลาดทางสติปัญญาเด็ก (IQ) ด้านความฉลาด ทางอารมณ์เด็ก (EQ) ด้านครอบครัวเขม้ แข็งและมีความอบอุ่น ด้านความสุขของคนไทย (World Happiness Index) ด้านอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ และด้านร้อยละของอำเภอที่บูรณาการงานสุขภาพจิตแล้วประชาชนมี ความสขุ มคี ณุ ภาพชีวติ ท่ดี ี แต่ละตัวช้วี ัดมปี ระเดน็ ทเ่ี สนอให้พจิ ารณาดังตอ่ ไปน้ี ตัวชี้วัด IQ และ EQ: เป็นตัวชี้วัดที่กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส่วนใหญ่คิดว่ามีความเหมาะสมและ สำคัญ โดยเสนอให้ควบรวมตัวชี้วัดทั้งสองตัวชี้วัดดังกล่าวเข้าด้วยกัน เป็นหนึ่งตัวชี้วัดเพื่อที่จะ สอดคลอ้ งกบั แนวทางปฏิบตั ิงานจริงที่เป็นการดำเนนิ งานในด้านการพฒั นาเด็กปฐมวัยเพื่อให้เกิด IQ และ EQ ท่ดี ีในวยั เรียน ตัวช้วี ัดครอบครัวเข้มแขง็ : ตวั ชี้วัดครอบครวั เข้มแข้งและมีความอบอุ่นมีขอบเขตของความหมายที่ กว้างเกินไป จึงควรกำหนดตัวชว้ี ัดให้เจาะจง โดยกรมกจิ การสตรีและสถาบนั ครอบครวั เสนอให้ใช้ ตัวชี้วัดด้านสัมพันธภาพของครอบครัว ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่เหมาะสมต่อแผนพัฒนาสุขภาพจิต แห่งชาติ และยงั สัมพนั กบั ปัญหาการฆ่าตัวตายดว้ ย ตัวช้วี ัดด้านความสุข (World Happiness Index) ควรเปล่ียนไปใช้ใช้ตวั ช้วี ัดความสุขที่เหมาะสม กับแผนพฒั นาสุขภาพจติ แห่งชาติ โดยมีทางเลือกคือ อาจใชต้ ัวชว้ี ัดคนไทยมสี ุขภาพจิตดีของกรม สุขภาพจิต หรือ สร้างแบบประเมินความสุขที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติเป็น การเฉพาะขน้ึ มาใหม่ - 25 -
ตัวชี้วัดด้านอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ: ประเด็นที่ต้องนำมาพิจารณาคือ ควรจะนำแผน ยุทธศาสตร์ป้องกันการฆ่าตัวตายมาผนวกไว้เป็นยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ หรือไม่ ข้อดีของการนำยุทธศาสตร์การฆ่าตัวตายมารวมไว้ โดยให้เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งใน แผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ จะทำให้แผนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกรมสุขภาพจิตไม่หลายแผน จนเกินไป แต่มีข้อควรระวังคอื ต้องบูรณาการกลยุทธ์ต่าง ๆ ให้มีความกระชับ มิเช่น นั้นจะทำให้ แผนมีรายละเอียดเทอะทะมากเกนิ ไป ส่วน ข้อดีของการแยกออกไปเป็นยุทธศาสตร์เฉพาะทำให้ เกิดความชัดเจนของยุทธศาสตร์ แต่ข้อเสียคือ หน่วยงานที่รับผิดชอบแผนอาจแบกรับงานที่ต้อง ประสานความรว่ มมอื จากตา่ งกระทรวงไดย้ ากกวา่ การขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการระดับชาติ ตัวชี้วัดร้อยละของอำเภอที่บูรณาการงานสุขภาพจิตแล้วคนไทยมีความสุขมีคุณภาพชีวิตที่ดี: มี ขอ้ พจิ ารณาสามประการสำหรบั ตวั ช้วี ัดนี้ ประแรก คอื พิจารณานำออกจากแผนเน่ืองจากประสบ ความสำเร็จในระดับสูงแล้ว ประการที่สอง เปลี่ยนระดับจากตัวชี้วัดในระดับวิสัยทัศน์ ไปเป็น ตวั ชี้วดั ในระดบั เป้าประสงค์ และประการที่สาม ควรปรบั ตวั ช้ีวัดไปเปน็ ระบบการบรู ณาการระบบ บริการสุขภาพปฐมภูมิ กำหนดประเด็นตัวชี้วัดใหม่เพิ่มเติม ท่ีเน้นการส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตให้ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ทุกช่วงวยั ยกตัวอย่าง เช่น คนไทยได้รับการพัฒนาทักษะชีวิตตาม ชว่ งวยั หรอื คนไทยมคี วามรอบร้ดู ้านสุขภาพจติ 2) ประเดน็ ความสอดคล้องกลมกลนื ของแผนปฏบิ ัติการ: มีรายละเอียดบางประเด็นในแผนพัฒนา สุขภาพจิตแห่งชาตทิ ี่สมควรพจิ ารณาปรับแกเ้ พ่ือใหเ้ กดิ ความสอดคลอ้ งกลมกลืนกัน โดยหลักมีดงั ต่อไปน้ี ชื่อเป้าประสงค์ที่ 1.2 ในยุทธศาสตร์ที่ 1 ระบุว่า “ภาคีเครือข่ายเสริมสร้างการมีส่วนร่วมให้คน ไทยมีปัญญาอารมณ์ดี และมีความสุข” แต่ตัวชี้วัดภายในเป้าประสงค์ สอดคล้องกับคำว่า “คน ไทยมีปัญญาอารมณ์ดี และมีความสุข” แต่ไม่สอดคล้องกับประเด็น “ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม” จึงอาจต้องเปลี่ยนชื่อเป้าประสงค์ให้สอดคล้องกับลักษณะของตัวชี้วัดและโครงการภายใน เป้าประสงค์นี้ โครงการในตัวชี้วัดที่ 1.1.2 จากประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ควรพิจารณานำโครงการท่ีเกี่ยวข้องกบั การสนับสนุนให้ครอบครัว/ชุมชน ยอมรับและให้โอกาสกับผู้ที่อยู่กับปัญหาสุขภาพจิตมาไว้ตาม ตวั ช้ีวัดนี้ แลว้ ย้ายโครงการที่เก่ยี วกับการฟื้นฟูสมรรถนะของผู้ปว่ ยสขุ ภาพจติ ไปไว้ในยุทธศาสตร์ ท่ี 2 ประสงค์ที่ 3.1 ในยุทธศาสตร์ที่ 3 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิ การติดตามดูแลรักษาฟื้นฟู ผู้ป่วยจิตเวช แต่ยังไม่ครอบคลุมประเด็นในเชิงขับเคลื่อนการดำเนินงาน จึงอาจพิจารณาเพิ่ม ประเดน็ ตัวช้ีวดั หรอื เปา้ ประสงค์ทส่ี นบั สนุนการขับเคล่อื นงานตาม พรบ. สุขภาพจติ ทปี่ รบั ปรงุ - 26 -
ใน พ.ศ. 2562 เพื่อให้ครอบคลุมการขับเคลื่อนและผลักดันแผนสุขภาพจิตระดับชาติด้วย ยกตัวอย่างการกำหนดตัวชี้วัด เช่น ร้อยละ 90 ของอนุกรรมการประสานงานเพื่อการบังคับใช้ กฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตระดับจังหวัดมีการประชุม (อาจกำหนดปีละ 2 ครั้ง) ทั้งน้ีส่วนกลาง จำเป็นต้องมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวแก่ระดับพื้นที่ ด้วย 3) การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์: ในการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาสุขภาพจิต แห่งชาติ มีทางเลือกในการเขียนแผนว่าจะกำหนดแบบเดิมรายพันธกิจ หรือจะปรับใหม่เป็นรายประเด็น มี รายละเอียดดงั นี้ การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์เป็นรายพันธกิจ (แบบเดิม) มีข้อดีคือ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ของกรมสุขภาพจติ ทำใหผ้ ูป้ ฏบิ ตั งิ านในสงั กัดของกรมสุขภาพจิตมคี วามคุ้นเคย และขบั เคลือ่ นไป พรอ้ มกบั แผนปฏบิ ตั ิราชการของกรมสขุ ภาพจิตได้ ส่วนจดุ ออ่ นของการเขียนในลกั ษณะตามพันธ กิจของกรมสุขภาพจิต คือ หน่วยงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนอกกรมสุขภาพจิตจะมีส่วนร่วมได้น้อย ในฐานะผู้ใช้บริการจากกรมสขุ ภาพจิต (User) เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นพันธกิจของกรมสขุ ภาพจิต เป็นหลักในทั้ง 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ แล้วมีหน่วยงานอื่น ๆ เข้ามามีส่วนเสริม ในบางประเด็น เช่น การส่งเสริมสุขภาพจิตตามกลุ่มวัยในยุทธศาสตร์ที่ 1 การร่วมฟื้นฟูดูแลผู้ป่วยในชุมชนตาม ยุทธศาสตร์ที่ 2 และการส่งเสริมสวัสดิการการเข้าถึงสิทธิในการฟื้นฟูดูแลกลุ่มผู้บกพร่องทางจติ ในยุทธศาสตร์ที่ 3 เป็นต้น การกำหนดประเดน็ ยุทธศาสตร์เปน็ รายประเด็น (แบบใหม)่ มีข้อดีคือ ความชดั เจนในการแสวงหา ผู้มีส่วนร่วมในประเด็นด้านสุขภาพจิตซ่ึงมีความเป็นรูปธรรม หนว่ ยงานผมู้ สี ่วนได้ส่วนเสียจะมอง บทบาทของตนเองได้ชัดเจน ในฐานะเจ้าของรว่ ม (Co-owner) ยกตัวอย่างประเด็นยุทธศาสตรท์ ี่ มีผู้เสนอวา่ สามารถกำหนดได้ภายใต้แนวคดิ นี้ เช่น ยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆา่ ตัว ตาย ยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย ยุทธศาสตร์เสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและจิต เวช ยุทธศาสตร์พัฒนาทักษะชีวิตของคนไทยทุกช่วงวัย ด้านการกำหนดตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับ สมรรถนะในการบรรลุ 4) การถา่ ยทอดประเดน็ ยุทธศาสตร์ สำหรับแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติควรมีการเพิ่มความถี่ และความครอบคลุมในการถ่ายทอด ยุทธศาสตร์ โดยอาจเพิ่มเติมผู้มีส่วนร่วมในเชิงประเด็นมากขึ้นเพื่อให้ระดับปฏิบัติงาน ได้มีโอกาสทำความ เข้าใจแลกเปลี่ยนประเด็นด้านสุขภาพได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริหารของกองยุทธศาสตร์ ของกรมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น เสนอว่าควรมีบคุ ลากรจากกองสาธารณสุขท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมด้วย ในลักษณะ เดียวกัน ผู้บริการจากกองยุทธศาสตร์และแผนงานของสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มนั่ คงของมนุษย์ เสนอวา่ ควรมีหนว่ ยงานท่เี กยี่ วข้องในเชงิ ประเดน็ เขา้ มามสี ว่ นรว่ มได้แก่ ดา้ นการพัฒนาเด็ก ให้มีตัวแทนมาจากกรมกิจการเด็กและเยาวชน ด้านครอบครัว ให้มีตัวแทนจากกรมกิจการสตรีและสถาบัน ครอบครัว ด้านผู้สูงวัย ให้มีตัวแทนจากกรมกิจการผู้สูงอายุ ด้านสวัสดิการผู้ด้อยโอกาส ให้มีตัวแทนจากกรม - 27 -
พัฒนาสังคมและสวัสดิการ เข้ามามีส่วนร่วม จะก่อให้เกิดการวางแผน แลกเปลี่ยน และการแปลงยุทธศาสตร์ ท่นี ำไปส่เู ปา้ หมายรว่ มของต่างกระทรวงได้ 3. ดา้ นการแปลงประเดน็ ยทุ ธศาสตร์ไปสแู่ ผนปฏิบัติ จากโครงสร้างในการเขียนแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ ซึ่งเชื่อมโยงจากประเด็นเป้าประสงค์ ไปสู่ ตัวชี้วัดเป้าประสงค์ แล้วข้ามไปเป็นโครงการ ทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างโครงการที่จะนำไปตอบตัวชี้วัด ตามเป้าประสงค์ และขาดภาพของความเชื่อมโยงว่า โครงการที่ปรากฏในแผน ได้ตอบความต้องการของ เป้าประสงค์นั้นมากนอ้ ยเพยี งใด ในการเขียนแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติระยะต่อไปจึงควรเพิม่ ระดบั ความ เชื่อมโยง ให้ครบถ้วนตามองค์ประกอบของการเขียนแผนยุทธศาสตร์ และวางแผนความเชื่อมโยงตามแผนท่ี ยุทธศาสตร์เพื่อให้สามารถประเมินความเป็นไปได้ของแผนในเบื้องต้นว่ากลยุทธ์ที่วางไวเ้ พียงพอต่อการบรรลุ เป้าประสงค์ และเปา้ หมายเชงิ ยุทธศาสตร์ของแผนแล้วหรือไม่ ขอ้ เสนอแนะต่อแผนพัฒนาสขุ ภาพจิตแหง่ ชาติและแผนปฏิบตั ริ าชการกรมสุขภาพจิต ทัง้ แผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติและแผนปฏบิ ตั ิราชการกรมสขุ ภาพจิตมปี ระเดน็ สำคัญทค่ี วรนำไป พิจารณาดังต่อไปนี้ 1. เน้อื หายทุ ธศาสตร์ 1) ดา้ นโครงการตามประเดน็ ยุทธศาสตร์ พิจารณาปรับรายละเอียดของโครงการตามแต่ละประเด็นเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ให้สอดคล้อง กับความสามารถในการบรรลุเป้าหมายได้จริง โดยมีแนวทางคือ การจัดโครงการให้สมดุลและจำเป็นเป็น เพียงพอตอ่ การบรรลเุ ปา้ ประสงค์ของแผน โดยมแี นวทางคือ อาจจำแนกตามกลุ่มเปา้ หมายเชิงยุทธศาสตร์เป็น กลุ่มวัย ตามตัวชี้วัดเป้าประสงค์ หรือจำแนกตามหน่วยงานที่รับผิดชอบ นอกจากนั้นยังควรมีการจัดลำดับ ความสำคัญของโครงการทขี่ ับเคลอ่ื นไปส่กู ารบรรลุเป้าหมายเชงิ ยทุ ธศาสตร์ เพ่ือใหเ้ กดิ ทิศทางการดำเนินงานที่ ชดั เจน 2) ดา้ นตัวชี้วัดค่าเปา้ หมายตา่ ง ๆ ในแผน ทบทวนตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่ปรากฏในแผน ปรับค่าเป้าหมายบางตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ ยกตัวอย่าง เช่น ตัวชี้วัดอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จที่ตัวเลขต่ำเกินสมรรถนะ ตัวชี้วัดร้อยละของ อำเภอบูรณาการงานสุขภาพจติ หรือ ร้อยละของเด็กลุ่มเสีย่ งไดร้ บั การพัฒนา ที่บรรลุค่าเป้าหมายไปมากแล้ว เปน็ ตน้ 3) ด้านเนื้อหาในการพฒั นางานสขุ ภาพจิต ประเด็นการยอมรับและการให้โอกาสต่อผู้มีปัญหาสุขภาพจิต เป็นประเด็นที่กรมสุขภาพจิตได้ ดำเนินการอยา่ งต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เครือข่ายผูป้ ฏิบัตงิ านด้านสุขภาพจิตรบั รู้ ได้ว่ามีความก้าวหน้ากว่าในอดีตมาก อย่างไรก็ตาม ประเด็นความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักต่อผู้มี - 28 -
ปัญหาสุขภาพจิต ยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่ยังต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะคือให้มีการขยาย โครงการสเู่ ครือข่ายกลุ่มใหม่ ๆ ทง้ั ท่ีเปน็ การพัฒนาประชาชนท่วั ไป และพฒั นาแกนนำเครือข่ายที่จะทำหน้าที่ ขยายความรู้ต่อในระดับพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตเมืองซึ่งยังเป็นจุดอ่อนของการพัฒนางานสุขภาพจิต ยกตัวอย่างแนวทางในการดำเนินงานคือ การเข้าไปเสริมสร้างภาคีเครือข่ายในสถานที่อยู่อาศัยเขตเมือง เช่น หอพัก คอนโด หมู่บ้าน ผ่านคณะกรรมการหมู่บ้าน/นิติบุคคลหมู่บ้าน สมาคมอาชีพต่าง ๆ ชมรมต่าง ๆ เป็น ตน้ 2. กระบวนการแปลงแผนไปสู่การปฏบิ ตั ิ 1) ดา้ นภาวะผ้นู ำท่ีขบั เคลอื่ นยทุ ธศาสตรใ์ ห้ประสบความสำเรจ็ ควรมกี ารพัฒนาภาวะผูน้ ำเชิงยุทธศาสตรแ์ กภ่ าคเี ครอื ข่ายและบุคลากรผู้ทนี่ ำยทุ ธศาสตร์ไปสู่การ ปฏิบตั ิเป็นหลกั ยกตวั อย่างเชน่ จดั ทำโครงการพฒั นาภาวะผนู้ ำในการขับเคลือ่ นยทุ ธศาสตร์ 2) ด้านการถ่ายทอดวิสยั ทัศน์ เสนอให้มีโครงการในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์และเนื้อหายุทธศาสตร์ให้แก่องค์การ เครือข่ายที่ต้อง นำยทุ ธศาสตร์ไปปฏบิ ตั ิ โดยจัดให้มีการสัมมนาเปน็ การเฉพาะในแตล่ ะปี 3) ด้านการแปลงคา่ เปา้ หมายเชงิ ยุทธศาสตร์ นอกจากจะมีการแปลงคา่ เป้าหมายเชงิ ยุทธศาสตร์สรู่ ะดบั ภาพรวมแล้ว ควรแปลงคา่ เปา้ หมายใน ระดับพ้นื ทด่ี ว้ ย ยกตวั อยา่ งเชน่ พื้นทที ่มี ปี ัญหามาก กับพื้นที่ท่ีมีปญั หาน้อย ให้กระจายค่าเปา้ หมายตวั ชี้วดั ไว้ ใหเ้ หมาะสมกับบริบทของพืน้ ที่ แล้วใช้คะแนนเฉลี่ยในภาพรวมระดับประเทศ 3. การบรหิ ารแผนยทุ ธศาสตร์ 1) ด้านการสื่อสาร การสื่อสารประเด็นสุขภาพจิตให้มีความเป็นรูปธรรมเพื่อเพิ่มความรู้สึกร่วมถึงความเกี่ยวข้องใน แต่ละประเด็นสุขภาพจติ เนื่องจากการมีส่วนร่วมของแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ ต้องใช้สรรพกำลงั ในการ ขับเคลื่อนทางสังคมจากหลายด้าน ดังนั้น บุคลากรที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่นอกเหนือจากสายงานด้านสุขภาพจิต จำนวนมากมองรูปธรรมของงานสุขภาพจติ ไม่ออก อาจคิดว่าเปน็ งานที่เกีย่ วข้องกบั ผปู้ ว่ ยสุขภาพจติ เพียงอย่าง เดียว จึงทำ ให้ความรู้สึกร่วมในแผนน้อย และคิดว่าตนเองไม่ชำนาญเท่ากับแพทย์ที่อยู่ในกรมสุขภาพจิต จึง ควรมีการพัฒนาศักภาพบุคลากรด้านสขภาพจิตให้หน่วยงานเครือข่าย ด้วย เพื่อให้เกิดความร่วมมือและการ สอ่ื สาร ตลอดจนการบรหิ ารงานร่วมกันแบบบูรณาการ 2) ด้านการประสานงาน การทำงานในรูปแบบคณะกรรมการจะต้องมีสำนักเลขาธิการที่เข้มแข็ง ในการทำหน้าที่ประสาน หน่วยงานทห่ี ลากหลาย ปญั หาคอื สำนักงานเลขาฯ เพง่ิ จดั ตงั้ ขนึ้ ใหม่ มีบุคลากรนอ้ ย หมนุ เวยี นบอ่ ย และส่วน ใหญ่เป็นบุคลากรใหม่ที่ได้รับการถ่ายโอนมาจากภาคส่วนอื่น ๆ ซึ่งยังไม่ชำนาญงาน การบริหารบางอย่างจึง ขาดความตอ่ เนอ่ื ง ดังนน้ั การพัฒนาศกั ยภาพของบคุ ลากร หรอื การเพิม่ อตั รากำลงั ใหม้ ีตำแหน่งของบคุ ลากรท่ี ชำนาญการ ให้แก่สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการฯ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยโครงสร้างอัตรากำลังที่สำคัญ - 29 -
ของสำนักงานเลขาธิการ ควรประกอบด้วย ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญดา้ นกฎหมายสขุ ภาพจิต ด้านยุทธศาสตร์และ แผนงาน และด้านการบริหารองคก์ าร เปน็ หลกั 3) ด้านการกำกบั ตดิ ตามประเมินผล ควรมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานกำกับติดตามการดำเนินงานของยุทธศาสตร์ สุขภาพจิตแห่งชาติและควรมีการจัดทำแผนการกำกับติดตามอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดโครงการสัมมนา ประเมินผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคีเครือข่ายระหว่างคณะทำงานที่อยู่ในคณะอนุกรรมการจัด นโยบายและยุทธศาสตร์สขุ ภาพจิต โดยมีลักษณะเป็นวาระเฉพาะไม่ใช่การประชุมคณะกรรมการทีเ่ ป็นทางการ แต่เป็นเวทีให้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างกระทรวง ซึ่งโครงการนี้ นอกจากจะเป็นการทบทวนแผน และประเมินสถานการณ์หลังนำแผนไปปฏิบัติแล้ว ยังช่วยสร้างความเข้าใจและสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง คณะกรรมการจดั ทำยุทธศาสตรส์ ขุ ภาพจติ แหง่ ชาติ และบุคลากรผ้ปู ฏิบัตงิ านของแตล่ ะหนว่ ยงานไดด้ ว้ ย 4) ด้านงบประมาณและบคุ ลากร การขับเคลือ่ นแผนพฒั นาสขุ ภาพจิตแห่งชาติต้องประสานหน่วยงานในระดับพื้นที่หลายภาคส่วน โดยเฉพาะงบประมาณสำหรบั การประชุมเป็นปจั จัยสำคัญ ลักษณะของการบูรณาการงานกบั พื้นท่ีซ่ึงส่วนใหญ่ มักขาดแคลนงบประมาณในการจัดประชมุ เป็นการเฉพาะ นอกจากนั้นหลายหน่วยงานยังต้องการบุคลากรที่มี ความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต ซึ่งมีสองประเด็นในด้านการผลักดันให้เกิดการพัฒนาบุคลากรคือ (1) คณะกรรมการควรมีมาตรการในการผลักดันเพื่อเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านสุขภาพจิต ให้ครอบคลุมในระบบ บรกิ ารสขุ ภาพปฐมภมู ิ โดยใช้หลกั อา้ งองิ เหตุผลทว่ี ่า สถานการณ์สุขภาพจิตหลงั การแพรร่ ะบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรน่า 2019 จะยงั ทวคี วามรุนแรงข้นึ อยา่ งต่อเนือ่ ง จากผลการทรุดตัวทางเศรษฐกิจระยะยาว กอ่ ให้เกิด กลุ่มเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิตมากยิ่งขึ้น และ (2) เพ่ิมศักยภาพของบุคลากรในด้านสุขภาพจิตให้ เครอื ข่ายจากภาคสว่ นต่าง ๆ ท้งั ภายในและภายนอกระบบบริการสาธารณสขุ ทีด่ ำเนนิ งานในพ้ืนที่ ใหม้ ีความรู้ ความสามารถในด้านส่งเสริมป้องกนั ปัญหาสุขภาพจิต โดยเน้นขยายไปยังกลุ่มเครือข่ายกลุ่มใหม่ ซึ่งเป็นระดับ ปฏิบัติการในหน่วยงานท่ีมีรายชื่อเป็นคณะกรรมการพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการจัดทำ นโยบายและยุทธศาสตร์สขุ ภาพจิต เช่น จัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรจากเครือข่ายของกระทรวงการพัฒนา สงั คมและความมนั่ คงของมนษุ ยท์ ี่ทำงานเกยี่ วขอ้ งกบั กลุ่มเส่ยี งท่จี ะมีปญั หาสุขภาพจติ เป็นต้น - 30 -
คณะทำงาน 1. นางสาวพันทิวา แกว้ สวัสดิ์ เจ้าหน้าทบี่ รหิ ารงานท่วั ไปปฏบิ ตั กิ าร คณะพฒั นาสังคมและยทุ ธศาสตรก์ ารบรหิ าร สถาบนั บัณฑิตพฒั นบรหิ ารศาสตร์ 2. นางสาวชญานิศ อนุสกุลโรจน์ ผชู้ ่วยนักวิจยั คณะพฒั นาสงั คมและยทุ ธศาสตรก์ ารบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 3. ธณฐั ฐา คำบุญ ผชู้ ว่ ยนักวจิ ัย คณะพัฒนาสังคมและยทุ ธศาสตรก์ ารบริหาร สถาบนั บณั ฑิตพฒั นบรหิ ารศาสตร์ 4. นางชนันรตั น์ นวพลพฒั น์ นกั วชิ าการสถิติชำนาญการพเิ ศษ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการสขุ ภาพจิตแหง่ ชาติ 5. นายธนกร เทาศริ ิ นกั วิชาการสาธารณสขุ ปฏิบตั กิ าร สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ 6. อาจารย์ ดร.ณัฐพงษ์ เพชรละออ สถาบันสหสรรพศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยรี าชมงคลอสี าน 7. ดร.ทิพยป์ ริญญ์ ปัญญามี 8. ดร.ศราวุฒิ อนิ ทพนม
Search
Read the Text Version
- 1 - 34
Pages: