การดูเเลรักษาสุขภาพ
ความหมาย ความหมายของสุขภาพ สุขภาพ มีความหมาย 3 ประการ คือ 1. ความปลอดภัย (Safe) 2. ความไม่มีโรค (Sound) 3. ความ ปลอดภัย และไม่มีโรค (Whole) องค์กรอนามัยโลกได้ให้ค านิยามค าว่า สุขภาพ ในความหมายกว้างขึ้นว่า สุขภาพ หมายถึง สุขภาวะที่ สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต และทางสังคม ตามร่างพระราชบัญญัติ สุขภาพแห่งชาติ 2545 ให้ความหมายของคำว่า สุขภาพ คือ ภาวะที่มี ความพร้อมสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย คือ ร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง คล่องแคล่ว มีก าลัง ไม่เป็นโรค ไม่พิการ ไม่มีอุบัติเหตุอันตราย มี สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ ดังนั้น \"สุขภาพ\" จึงหมายถึง \"การมี ร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บในทุกส่วนของร่างกาย มี สุขภาพจิต ดี และสามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่าง ปกติสุข ผู้มีสุขภาพดีถือว่าเป็นก าไรของชีวิต เพราะท า ให้ผู้เป็น เจ้าของชีวิตดำรงชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขได้\"
ความสำคัญของสุขภาพ หลายคน อาจสงสัยว่า \"สุขภาพ\" นั้น มี ความส าคัญอย่างไร และท าไมคนเราจึงต้องดูแล รักษาสุขภาพ ในสื่อ การเรียนรู้นี้ จึงได้น าพระพุทธภาษิตทางพระพุทธศาสนา มาอธิบายความส าคัญของสุขภาพ ดังนี้ \"อโรคา ปรมา ลาภา\" \"ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ\" นับเป็นสัจธรรมที่ทุกคน สามารถสัมผัสได้ด้วย ตนเอง อย่างเวลาที่เราเจ็บป่วย ไม่สบาย ต้องทานยา เพื่อรักษา และบรรเทาอาการเป็นป่วยนั้น รวมทั้ง อารมณ์หงุดหงิด และร าคาญใจที่ไม่สามารถด าเนินกิจวัตรประ จ าวันได้ตามปกติเราก็จะเห็นได้ว่า เวลาที่เราไม่ เจ็บ ไม่ป่วยนั้น มันช่างเป็นเวลาที่มีความสุขยิ่งนัก พระพุทธสุภาษิตนี้ จึงเป็นที่ ยอมรับกันทั่วไป แม้แต่ชาว อารยประเทศทางตะวันตก ก็ยัง ยอมรับ และเห็นพ้องต้องกันว่า “สุขภาพ คือพรอันประเสริฐสุด\"
1. สุขภาพทางกาย คือ ไม่ขาดแคลนวัตถุปัจจัย ไม่เป็นโรค มี ร่างกายแข็งแรง ปลอดภัย ในชีวิตทรัพย์สิน มี สิ่งแวดล้อมที่ เหมาะสม สุขภาพทางกาย ประกอบด้วย 1) ร่างกายมีความสมบูรณ์และแข็งแรง 2) ระบบต่าง ๆ และอวัยวะทุกส่วนท างานเป็นปกติและมี ประสิทธิภาพ 3) ความเจริญเติบโตของร่างกายเป็นไปในอัตราปกติ และมี ความสัมพันธ์กับการเจริญด้านอื่น ๆ 4) ร่างกายมีความแข็งแรง สามารถท างานได้นาน ๆ ไม่เหนื่อย เร็ว และมีประสิทธิภาพ 5) การนอนหลับพักผ่อนเป็นไปตามปกติ เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว รู้สึกสดชื่น คืนสู่สภาพปกติ 6) ฟันมีความคงทนแข็งแรง หู ตา มีสภาพดี สามารถมองเห็น และได้ยินได้ดี
2. สุขภาพทางจิต คือ มีสุขภาพจิตดี เข้มแข็ง มีจิตพร้อมในกา รด าเนินชีวิต มีสมาธิหลุดพ้นความครอบงำ จากกิเลส สุขภาพ ทางจิต ประกอบด้วย 1) สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดี 2) มีความกระตือรือร้น ไม่เหนื่อยหน่ายท้อแท้ และหมดหวัง 3) มีอารมณ์มั่นคงและสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี มีอารมณ์ ขันบ้างพอสมควร ไม่ เครียดเกินไป 4) มองโลกในแง่ดีเสมอ 5) มีความตั้งใจและมีสมาธิในงานที่ก าลังท าอยู่ 6) รู้จักตนเองและเข้าใจบุคคลอื่นได้ดี 7) มีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างมีเหตุผล 8) สามารถแสดงออกอย่างเหมาะสมเมื่อประสบความล้มเหลว
3. สุขภาพทางสังคม หมายถึงสุขภาวะที่เกิดจากการอยู่ร่วมกัน ด้วยดีของกลุ่มคน ในขนาดและลักษณะต่างๆ เช่น ในครอบครัว ในชุมชน ในสถานที่ท างาน ในสังคมขนาดใหญ่หรือประเทศ และ การอยู่ร่วมกันด้วยดีทั้ง โลก ซึ่งประกอบด้วย 1) ความมีเมตตากรุณาหรือมีความรักในผู้อื่น และมีการให้เรียก ว่า ทาน 2) มีการอยู่ร่วมกันด้วยดี ไม่เบียดเบียนกันที่เรียกว่า ศีล 3) ท าใจให้บริสุทธิ์ที่เรียกว่า ภาวนา ทาน ศีล ภาวนา เป็นหลัก ปฏิบัติในทุกศาสนา เพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยดี หรือสุขภาวะทาง สังคม สังคมใดที่มีการอยู่ร่วมกันด้วยดี จะมีความสุขอย่างยิ่ง เช่น - ครอบครัว ที่มีการอยู่ร่วมกันด้วยดี มีความสุขทั้งครอบครัว - ชุมชน ที่มีการอยู่ร่มกันด้วยดี มีความสุขทั้งสังคม - สถานที่ทำงาน ทีมีการอยู่ร่วมกันด้วยดี มีความสุขและความ สร้างสรรค์อย่างยิ่ง - เมือง ที่มีการอยู่ร่วมกันด้วยดี เป็นเมืองที่น่าอยู่
4. สุขภาพปัญญา หมายความว่า ความรู้ทั่วรู้เท่าทัน และความเข้าใจ อย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดีความชั่ว ความมีประโยชน์และความ มีโทษ ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตใจอันดีงาม และเอื้อเฟื้ อเผื่อแผ่ สุขภาพทาง ปัญญา ช่วยให้ผู้คนบรรลุถึงความสุขที่แท้ คือความสุข ที่เกิดจากการ มีทัศนคติที่ถูกต้อง รู้เท่าทันความจริงของชีวิตและ โลก สามารถคิด ถูก คิดชอบ และรู้จักแก้ทุกข์ได้ด้วยปัญญา รวมทั้งมีความสุขจากกา รด าเนินชีวิต ถูกต้อง ดีงาม จากการเป็นผู้ให้ และการท าความดีเพื่อ คนอื่นหรือส่วนรวม การพัฒนาปัญญาทั้ง 3 ร่วมกัน จึงเกิดสุขภาวะที่ สมบูรณ์ ในที่นี้จะขยายความเฉพาะเรื่องปัญญา 4 ประการ คือ 1) ปัญญารู้รอบรู้เท่าทัน การรู้อะไรแจ่มแจ้งแทงทะลุท าให้เกิดความสุข เกิดความสุขจากการหลุดพ้นความบีบ คั้นของความไม่รู้ การมีปัญญา เห็นโดยรอบ รู้เท่าทันสิ่งต่างๆ ท าให้มีความสุข คนที่รู้รอบที่เรียกว่า เป็น พหูสูต จึงมีความสงบและมีความสุขอยู่ใน การรู้เท่าทันปัญหาแม้ ยังไม่ได้แก้ปัญหา ก็ท าให้ความเป็นปัญหาหมดไปได้ 2) ปัญญาทำเป็น หมายถึงปัญญาที่เกิดจากการลงมือท าและทำ เป็น การเรียนรู้จากการท า และเกิดปัญญาที่ ทำให้ทำได้ดี ทั้งเรื่อง ทำให้ร่างกายแข็งแรง ปลอดสารพิษ มีความปลอดภัย สร้าง สัมมาชีพ ที่มีความดี ความงาม ความสงบ และความมีสติ ปัญญา ในการทำเป็นนี้ย่อมก่อให้เกิดความสุขอย่างยิ่ง 3) ปัญญาอยู่ร่วมกันเป็น ได้แก่ปัญญาที่คำนึงถึงการอยู่ร่วมกัน สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทุกระดับ รวมตัวร่วมคิดร่วมทำ เป็นชุมชนเข้มแข็ง และประชาสังคม มีการเรียนรู้ร่วมกันในการ การที่มีความเสมอภาค และภราดรภาพจนสามารถรวมตัวร่วมคิด ร่วมทำได้ การอยู่ร่วมกันเป็นต้องสามารถสร้างสังคมยุติธรรม ความ ยุติธรรมในสังคมเป็นบ่อเกิดของความสุขอย่างยิ่ง การอยู่ ร่วมกันเป็นต้องสามารถสร้างสังคมสันติ สามารถแก้ ความขัดแย้ง ด้วยสันติวิธี
วิธีดูแลสุขภาพให้ดีได้ด้วยตัวเอง 1. เลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อาหารกับสุขภาพเป็นของคู่กัน การที่เราจะมีสุขภาพดีได้นั้น การกินถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักในการดูแลตัวเอง เป็นการดูแลจากภายในสู่ภายนอก เราจึงควรต้องกิน อาหารให้พอดีและหลากหลายในแต่ละวัน เลือกกินอาหารที่ มีคุณค่าทางโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ โดยเน้นไปที่โปรตีน และคาร์โบไฮเดตรที่มีประโยชน์เป็นหลัก เสริมผัก ผลไม้ที่ให้ เกลือแร่และวิตามิน ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกไข มันและอาหารที่มีคลอเรสเตอรอลสูง
2. ออกกำลังกาย เมื่อเลือกทานอาหารที่ดีแล้วสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันนั่นก็คือ การออกกำลังกาย ปัจจุบันการออกกำลังกายมีหลายรูป แบบขึ้นอยู่กับความชอบ ไลฟสไตล์ และสภาพร่างกายของ แต่ละคน แต่ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายชนิดไหน ก็มีส่วน ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพดีมากขึ้นทั้งนั้น การออกกำลังกาย ไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างอย่าง หนัก แต่การออกกำลังกายที่ดีควรทำเป็นประจำ สม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที และควรออกกำลังกายให้ได้ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยเลือกรูปแบบการออกกำลังกายให้ เหมาะสมกับ สภาพร่างกายช่วงวัยและความถนัด ไม่ว่าจะ เป็นการวิ่ง ว่ายน้ำ ปั่ นจักรยาน เต้นแอโรบิค บอดี้เวท หรือ โยคะ เพราะการได้ออกกำลังกายในรูปแบบที่เราชอบ จะช่วย ทำให้เราออกกำลังกายได้นานขึ้น และออกกำลังกายได้ อย่างไม่มีเบื่อ แถมได้ลดน้ำหนักไปในตัวอีกด้วย
3. ดื่มน้ำให้เยอะ เพื่อสุขภาพและผิวพรรณ การดื่มน้ำเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานการมีสุขภาพดีที่สำคัญขาดไม่ได้ เลยในชีวิตประจำวัน แต่กลับเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่มักมองข้าม การดื่มน้ำเปล่านอกจากจะช่วยให้เรารู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า แล้ว ยังช่วยปรับสมดุลย์ของร่างกาย บรรเทาความเมื่อยล้า ช่วย ในเรื่องระบบเผาผลาญและการขับถ่าย แถมยังช่วยให้สุขภาพผิว ของเราดีขึ้น ปริมาณน้ำที่เหมาะสมกับร่างกายในแต่ละวัน โดยประมาณคือ 2 ลิตร ดังนั้นเราจึงควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อ การดูแลสุขภาพที่สมบูรณ์ สำหรับคนที่ดื่มน้ำน้อย ลองกรอกน้ำ ใส่ขวดไว้แล้วตั้งเป้าหมายว่าต้องดื่มน้ำเรื่อยๆ ให้หมดขวดภายใน หนึ่งวัน แบบนี้ก็สามารถทำให้เราดื่มน้ำได้มากขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ แอลกอฮอล์ เพราะจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคความดัน โลหิตสูง โรคหัวใจ สมองฝ่อ โรคตับ อีกทั้งยังมีผลต่อกล้ามเนื้อ และกระดูกในระยะยาวอีกด้วย
4. พักผ่อนให้เพียงพอ ปัจจุบันเรา ใช้เวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ จนลืมไปว่าสิ่งที่ทำได้ ง่ายที่สุดและเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต้นๆ ในการดูแลตัวเองให้มี สุขภาพดีนั้นก็คือการนอนการนอนหลับให้เพียงพอ ซึ่งถือ เป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด เพราะในช่วงเวลาที่เรานอนหลับ อวัยวะต่างๆ จะได้หยุดพัก หรือทำงานน้อยลง เป็นช่วงเวลาที่ ระบบภูมิต้านทานจะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และสะสม พลังงานสำรองไว้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หากเรานอนครบ 8- 10 ชั่วโมงต่อคืน จะทำให้เราตื่นมาแล้วรู้สึกสดชื่นและสามารถ ทำกิจกรรมต่างๆ ในวันถัดไปได้อย่างไม่รู้สึกเหนื่อยล้า เปรียบ เสมือนการได้ชาร์ตแบตร่างกายให้เต็ม 100% ในทุกๆ วัน ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเข้าเข้านอนก็คือ ช่วงเวลา ระหว่าง 22.00-02.00 น. เพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะหลั่ง โกรทฮอร์โมน เพื่อทำให้ร่างกายได้ฟื้ นฟูระบบต่างๆ ได้อย่างเต็ม ที่ และทำให้คุณภาพการนอนได้รวมดีขึ้นอีกด้วย
5. วางแผนจัดการกับความเครียด ไม่ให้เสียสุขภาพจิต ความเครียดถือเป็นศัตรูตัวร้ายที่คอยบั่นทอนสุขภาพ เป็นสภาวะ อารมณ์ของคนที่ต้องเจอกับปัญหาต่างๆ จนเกิดความไม่สบายใจ วิตกกังวล และรู้สึกกดดัน หลายครั้งที่เรามักเรียกโดยที่เราไม่รู้ตัว แต่สิ่งเหล่านี้มักจะแสดงออกมาทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ หรือ พฤติกรรม บางคนเครียดแล้วทำให้หงุดหงิดง่าย บางคนเครียด แล้วป่วยบ่อย บางคนก็นอนไม่หลับ เราจึงควรต้องหาวิธีจัดการ และบรรเทาความเครียดที่เกิดขึ้น เพื่อให้เรามีทั้งสุขภาพกายและ สุขภาพใจที่ดีในเวลาเดียวกัน การจัดการกับความเครียดนั้นทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการไป ออกกำลังกาย การนั่งสมาธิฝึกจิตใจ ธรรมชาติบำบัด การอ่าน หนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ตลอดจนการจัดสรรเวลาในชีวิตไม่ให้ โฟกัสกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือ จมอยู่กับความเครียดมากจนเกิน ไป จนอาจกระทบต่อตนเองและคนรอบข้างได้
6. ปรับวิธีคิดเพื่อเพิ่มพลังบวก การจมอยู่กับความวิตกกังวล หรือปัญหาใดปัญหาหนึ่งมากจน เกินไป อาจทำให้กลายเป็นความเครียดสะสม ซึ่งเป็นสาเหตุของ ความทุกข์ในใจ ทำให้เกิดทัศนคติลบ จนส่งผลให้การตัดสินใจใน เรื่องต่างๆ เป็นไปในทิศทางที่แย่ลง ลองเอาตัวเองออกจาก ความกังวลเหล่านั้น และปรับมุมมองปัญหาต่างๆ อาจจะทำให้เรา มองเห็นสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ไขได้ง่ายขึ้น หากเรายอมรับ ข้อบกพร่องและพยายามทำความเข้าใจกับมันอย่างมีสติ ก็จะช่วย ให้เรามีสุขภาพใจที่แข็งแรง และมีความสุขกับสิ่งรอบตัวได้ง่าย ขึ้น หรือถ้าเรามองเห็นว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ลองมองข้าม ข้าม หรือปล่อยผ่านไปบ้างก็ได้
7. อย่าลืมไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ บางคนอาจมองว่าตัวเองอายุยังน้อยจึงไม่เห็นความจำเป็นใน การตรวจสุขภาพ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การตรวจสุขภาพ เป็นประจำก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะทำให้คุณใช้ชีวิตอย่างแข็ง แรง และมีสุขภาพดีในทุกๆ วัน เพราะการตรวจสุขภาพอย่าง สม่ำเสมอจะทำให้เรารู้ ว่าเรามีปัจจัยเสี่ยงอะไรและควรจะต้อง ดูแลสุขภาพไปในทิศทางไหนบ้างเพื่อป้องกันโรคต่างๆที่เกิด ขึ้นได้ ยิ่งไปกว่านั้นการตรวจพบโรคในระยะแรกแรกจะช่วยป้องกัน ภาวะแทรกซ้อน และความรุนแรงของโรค ซึ่งจะทำให้สามารถ รักษาได้อย่างทันท่วงที และมีโอกาสหายได้มากกว่าการตรวจ พบโรคเมื่อมีอาการปรากฏมาสักระยะหนึ่งแล้ว การตรวจสุขภาพประจำปีสามารถทำได้ทุกเพศ ทุกวัย ไม่ จำเป็นจะต้องเป็นผู้มีความเสี่ยง หรือเป็นผู้สูงวัยเท่านั้น
บริหารสมอง การบริหารสมองก็เป็น 1 ใน 5 วิธีดูแลสุขภาพที่จะช่วย เสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงได้ ลองหาเกมฝึกสมองมา เล่น เช่น เกมอักษรไขว้ เกมจำตำแหน่งภาพ เกมจับผิด เกมซูโดกุ หรือเกมหมากรุกจีน และควรหันมารับประทาน ผลไม้พวก ส้ม องุ่น เบอร์รี่ให้มากขึ้นด้วย เพราะผลไม้ จำพวกนี้มีสารช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดอาการหลง ๆ ลืม ๆ หรือการหัวเราะก็ช่วยให้เลือดไหลเวียนดียิ่งขึ้น เพราะ ร่างกายจะหลั่งสารเคมีในระบบประสาทที่ทำให้ผ่อนคลาย ซึ่งจะส่งผลดีทั้งร่างกาย จิตใจ อีกทั้งคนรอบข้างก็จะมี ความสุขตามไปด้วย
พักสายตาจากการเสพสื่อโซเชียล ทุกวันนี้ไม่ว่าจะหันไปทางไหนหรือทำอะไรก็ต้องถ่ายรูป แชร์ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ไม่ให้พลาดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ซึ่งถ้าใช้ใน ปริมาณที่เหมาะสมก็จะให้ผลดีแก่เรา แต่ถ้าใช้มากเกินไป นอกจากจะทำให้เป็นคนติดโซเชียลแล้ว ยังอาจทำให้กล้ามเนื้อ ดวงตาเมื่อยล้า หรือตาแห้งเพราะต้องคอยจ้องอยู่ที่หน้าจอ เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการเบลอ สายตาพร่ามัว หรือ สายตาสั้นได้ ทางที่ดีควรพักสายตา และบริหารดวงตาของเรา ด้วย เช่น กะพริบตา กลอกตาไปมาเพื่อป้องกันตาแห้ง หรือ มองไปยังวัตถุที่อยู่ไกล ก็จะช่วยให้ผ่อนคลายดวงตาลงได้ และ ถ้าลดโซเชียลลงบ้าง ก็จะทำให้ไม่ต้องเครียดจากการเสพข่าว สุขภาพจิตดีขึ้น
ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกไปที่สาธารณะ การใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกไปยังที่สาธารณะถือว่าเป็นการ รักษาสุขภาพโดยเริ่มที่ตัวเอง นอกจากกันฝุ่นละอองต่าง ๆ ได้ แล้ว ยังกันเชื้อโรคได้อีกด้วย อีกทั้งยังมีปัญหาฝุ่น PM 2.5 หากใครมีหน้ากาก N95 ก็ต้องเอาออกมาใช้กันด้วยล่ะ ถือ เป็นการดูแลสุขภาพเบื้องต้นทีทุกคนจะทำได้
หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด การไปสถานที่แออัดจะง่ายต่อการติดต่อหรือแพร่เชื้อโรคได้ง่าย มาก ๆ เพราะเราไม่รู้เลยว่าแต่ละคนป่วยหรือมีโรคประจำตัวอะไร อยู่บ้าง บางคนไอจามแบบไม่ปิดปาก เชื้อไวรัส เชื้อโรคที่เรามอง ไม่เห็นอาจจะมาเข้าตัวเราได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงไปตามที่แออัด หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
ทานอาหารเสริม ข้อนี้แล้วแต่ละคนเลย อาจเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งในการ ดูแลสุขภาพ อาจจะทานอาหารเสริมพวกวิตามินบี วิตามินซี จะช่วยเข้าไปซ่อมแซมและบำรุงภายในร่างกายของเรา แต่ จะหวังให้ร่างกายแข็งแรงเพราะทานอาหารเสริมเหล่านี้คง ไม่ได้ หากไม่นอนหลับให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ และดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน
Search
Read the Text Version
- 1 - 20
Pages: