Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore แผนปฏิบัติการดิจิทัล 2561.2565 แก้ไข 24.04.63

แผนปฏิบัติการดิจิทัล 2561.2565 แก้ไข 24.04.63

Published by IT NCCDE, 2020-10-07 05:00:00

Description: แผนปฏิบัติการดิจิทัล 2561.2565 แก้ไข 24.04.63

Keywords: แผนปฏิบัติการดิจิทัล

Search

Read the Text Version

สารบญั หนา้ ท่ี บทที่ 1 บทนำ 1-1 1.1 วตั ถุประสงคก์ ารจัดทำแผนปฏบิ ตั ิการดิจทิ ัลสำนกั งาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2561 - 2565 1-3 1.2 โครงสร้างของแผนปฏิบตั ิการดิจทิ ลั สำนกั งาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2561 - 2565 1-3 บทท่ี 2 ทิศทางขององคก์ รและนโยบายในภาพรวม 2-1 2.1 ภาพรวมความสมั พนั ธข์ องแผนปฏบิ ตั กิ ารดจิ ิทลั สำนกั งาน ป.ป.ส. และแผนท่ีเกี่ยวข้อง 2-1 2.2 ความสัมพันธข์ องแผนปฏิบัตกิ ารดจิ ทิ ัลสำนักงาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2561 - 2565 2-6 กบั แผนปฏบิ ัตกิ ารด้านดิจทิ ัลเพ่ือเศรษฐกิจและสงั คม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) บทที่ 3 ทิศทางของการใช้ระบบสารสนเทศ 3-1 3.1 ทิศทางของเทคโนโลยใี นอนาคต 3-1 3.2 ภาพรวมของเทคโนโลยที ่ใี ชข้ องสำนกั งาน ป.ป.ส. 3-7 บทท่ี 4 วิสยั ทัศน์ ยทุ ธศาสตร์ และโครงการ 4-1 4.1 แนวทางของแผนฯ เพือ่ ตอบสนองต่อภารกจิ ตา่ ง ๆ ของสำนกั งาน ป.ป.ส. 4-1 4.2 วิสัยทศั น์ ยุทธศาสตร์ ความสมั พนั ธ์ระหว่างยุทธศาสตร์ต่าง ๆ 4-2 บทที่ 5 รายละเอยี ดโครงการประกอบแผนดจิ ิทลั สำนักงาน ป.ป.ส. ประจำปีงบประมาณ 5-1 2561 - 2565 5-1 5.1 ยุทธศาสตร์ท่ี 1 : การพฒั นาโครงสร้างพน้ื ฐานเพื่อรองรบั การปฏบิ ัตงิ าน และการใหบ้ รกิ ารได้ทุกท่ี ทกุ เวลา อย่างม่นั คงและปลอดภัย แผนงาน 1 : พฒั นาโครงสรา้ งพืน้ ฐานเพื่อยกระดับการให้บริการ 5-1 5.1.1-1 โครงการจัดหาเครอ่ื งคอมพวิ เตอร์ลูกขา่ ยและอุปกรณค์ อมพิวเตอร์ 5-1 5.1.2-1 5.1.3-1 โครงการปรบั ปรุงประสทิ ธิภาพระบบเครือขา่ ย 5-5 5.1.4-1 โครงการปรบั ปรุงประสทิ ธิภาพระบบเครือขา่ ย (เพิ่มเตมิ ) 5-6 5.1.5-1 5.1.6-1 โครงการจัดหาเครอ่ื งคอมพวิ เตอร์แม่ข่ายเพอื่ เสริมประสิทธภิ าพ 5-9 5.1.7-1 ระบบสารสนเทศสำนกั งาน ป.ป.ส. โครงการจัดหาอปุ กรณ์คอมพิวเตอร์รองรับระบบงานด้านการสบื สวน สปป. 5-15 โครงการย้ายระบบขอ้ มูลเพือ่ ตดิ ตงั้ บนระบบ Cloud Computing 5-18 โครงการจัดหาเครอื ข่ายแบบไร้สาย (Wireless LAN) สำนักงาน 5-20 ปปส. ภาค 1 และ ปปส. ภาค 7 I

สารบญั หนา้ ที่ 5.1.8-1 โครงการทดสอบแผนการบรหิ ารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan 5-23 : BCP) 5-25 5.1.9-1 โครงการเสรมิ ประสทิ ธิภาพระบบสำรองข้อมลู 5-28 5.1.10-1 โครงการเสรมิ ประสทิ ธิภาพระบบสำรองขอ้ มูล (เพมิ่ เตมิ ) 5-31 5.1.11-1 โครงการเสรมิ ประสทิ ธิภาพระบบสำรองขอ้ มลู (ระยะที่ 2) 5-34 5.1.12-1 โครงการเสริมประสิทธิภาพระบบสำรองข้อมูลสำหรบั สพส. 5.2 ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 2 : การพฒั นาระบบบรหิ ารจดั การการใชเ้ ทคโนโลยีดิจิทลั 5-37 5-37 แผนงาน 1 : สรา้ งความน่าเชอ่ื ถอื ด้านความม่นั คงปลอดภยั เทคโนโลยีดิจิทัล 5-37 5.2.1-1 โครงการทบทวนนโยบายและแนวปฏิบัติระบบความมั่นคงปลอดภยั 5-38 ดา้ นเทคโนโลยีดิจทิ ัลและจัดทำนโยบายข้อมลู ส่วนบคุ คล 5-41 5.2.2-1 ใหเ้ ปน็ ไปตามข้อกำหนดของกฎหมายและมาตรฐานท่เี กยี่ วข้อง 5-43 5.2.3-1 โครงการจดั หาระบบป้องกนั การบกุ รกุ เครอื ขา่ ยคอมพวิ เตอร์ 5-45 5.2.4-1 สำนักงาน ป.ป.ส. (ทดแทน) 5-47 5.2.5-1 โครงการจัดหาระบบตรวจสอบภัยคุกคามบนเครอ่ื งคอมพวิ เตอร์ 5-50 5.2.6-1 ลูกข่าย (Endpoint Detection & Response) 5.2.7-1 โครงการจดั หาระบบตรวจสอบการเขา้ รหัสการส่อื สารขอ้ มลู 5-52 (SSL Inspection System) 5-52 โครงการจดั ซ้ืออุปกรณก์ ารตอ่ ตา้ นการทำสงครามไซเบอร์ 5-56 (Cyber Warfare Task Force) โครงการศกึ ษาและเตรยี มความพรอ้ มการบริหารจดั การ อุปกรณ์โมบาย (Mobile Device Management : MDM) โครงการจดั หาระบบป้องกันการสญู เสียไฟลส์ ำคัญขององคก์ ร ( Data Loss Prevention (DLP) แผนงาน 2 : เพิ่มขดี ความสามารถการบรหิ ารดา้ นเทคโนโลยีดิจทิ ลั 5.2.1-2 โครงการจัดทำสถาปตั ยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) 5.2.2-2 ของสำนักงาน ป.ป.ส. โครงการจดั ทำแผนปฏิบตั กิ ารดจิ ทิ ัล สำนกั งาน ป.ป.ส. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2570 II

สารบญั หนา้ ท่ี แผนงาน 3 : ผลักดันนโยบายการจัดทำมาตรฐานดา้ นเทคโนโลยดี ิจทิ ลั 5-58 5-58 5.2.1-3 โครงการจัดทำแนวปฏิบตั ิในการบริหารจัดการการใชง้ าน 5-59 5.2.2-3 ด้านเทคโนโลยดี จิ ทิ ลั อยา่ งคมุ้ ค่าและเกดิ ประโยชน์สูงสุด โครงการสรา้ งความตระหนกั ความเขา้ ใจ และการใช้งาน 5-62 5.2.3-3 ด้านเทคโนโลยีดจิ ิทัลของสำนกั งาน ป.ป.ส. ในการปฏิบตั ิงาน 5-64 5.2.4-3 ไดอ้ ยา่ งมีประสทิ ธิภาพ 5-67 5.2.5-3 โครงการจัดทำมาตรฐานการกำกบั ดแู ลข้อมลู (Data Governance) โครงการจ้างท่ปี รึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการตรวจรับรอง มาตรฐาน ISO2IEC 27001:2013 โครงการตรวจประเมินและรองรบั การตรวจรบั รองมาตรฐาน ISO2IEC 20000:2018 5.3 ยุทธศาสตร์ท่ี 3 : การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนบั สนนุ การบริหาร การปฏบิ ัติงาน 5-70 และการบรกิ ารเทคโนโลยดี จิ ทิ ลั แผนงาน 1 : พฒั นาระบบสารสนเทศอยา่ งบูรณาการ 5-70 5.3.1-1 โครงการพฒั นาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลดว้ ยเทคโนโลยี Web Service 5-70 แผนงาน 2 : ปรับเปลย่ี นการทำงานภาครฐั ดว้ ยเทคโนโลยีดจิ ทิ ัล 5-72 5.3.1-2 โครงการจดั หาและพัฒนาระบบสารสนเทศยาเสพติดอัจฉรยิ ะ 5-72 5.3.2-2 (Intelligent Narcotics Information Systems: INIS) 5.3.3-2 โครงการพัฒนาระบบบริหารจดั การวัสดคุ รุภัณฑ์ 5-74 5.3.4-2 โครงการพัฒนาระบบคลงั ข้อมลู อจั ฉริยะเพอื่ การวเิ คราะห์ขอ้ มูลยาเสพตดิ 5-76 5.3.5-2 5.3.6-2 (Intelligent Data Warehouse for Narcotic Analytics) 5.3.7-2 โครงการระบบบรหิ ารจัดการรหัสผ่านผใู้ ช้งานด้วยตนเอง 5-79 5.3.8-2 (Password Self-Service) โครงการพฒั นาระบบบรหิ ารบคุ ลากร 5-81 โครงการปรับปรงุ ประสทิ ธภิ าพระบบสนับสนุนการบริการ 5-82 เทคโนโลยีสารสนเทศทางโทรศพั ท์ (IT Call Center Support System) โครงการพฒั นาระบบการชำระเงินอเิ ล็กทรอนกิ ส์สำนักงาน ป.ป.ส. 5-84 (ONCB Payment) โครงการพัฒนาระบบศูนย์ประสานงานแมน่ ้ำโขงปลอดภยั 5-86 III

สารบญั หนา้ ท่ี 5.3.9-2 โครงการพฒั นาระบบเฝา้ ระวังการแพรร่ ะบาดยาเสพตดิ อาเซียน 5-88 5.3.10-2 โครงการพฒั นาระบบการบริหารจดั การสทิ ธิก์ ารใชง้ านเครือขา่ ยผา่ น 5-90 อปุ กรณเ์ คลอ่ื นท่ี 5-93 5.3.11-2 โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศูนยก์ ลางข้อมูล 5-95 สำนกั งาน ป.ป.ส. (ONCB Portal) 5-97 5.3.12-2 โครงการพฒั นาระบบบรหิ ารจัดการขอ้ มลู เจา้ พนักงาน ป.ป.ส. 5-99 5.3.13-2 โครงการปรบั ปรงุ ระบบสารสนเทศยาเสพติด (ระบบบังคบั โทษปรับ) 5.3.14-2 โครงการพฒั นาระบบการควบคมุ และกำกบั ดแู ลการปลูกเฮมพ์ (กัญชง) 5-100 5-102 เปน็ พืชเศรษฐกิจ 5.3.15-2 โครงการพัฒนาระบบการควบคมุ และกำกบั ตดิ ตามกญั ชา/กระทอ่ ม 5-106 5.3.16-2 โครงการพัฒนาระบบการข่าวสารยาเสพติด 5-109 5-111 (Drugs Information Analysis : DIA) 5-113 5.3.17-2 โครงการปรับปรงุ ระบบตรวจพสิ ูจนย์ าเสพตดิ (Drug Profile) 5-115 5.3.18-2 โครงการจดั หาระบบบรหิ ารจัดการกระบวนงาน (Workflow) 5.3.19-2 โครงการปรบั ปรุงระบบสารบรรณอิเลก็ ทรอนิกส์ 5-119 5.3.20-2 โครงการพฒั นาระบบแผนงานและงบประมาณ 5-120 5.3.21-2 โครงการพฒั นาระบบเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศรองรบั การปฏบิ ตั ิงาน 5-121 5-123 (GIS Portal) 5-125 5.3.22-2 โครงการพัฒนาระบบการติดตามผผู้ ่านการบำบัดดว้ ยอปุ กรณเ์ คลื่อนท่ี 5-125 5.3.23-2 โครงการปรบั ปรงุ ระบบกองทุนแม่ของแผน่ ดนิ 5.3.24-2 โครงการพฒั นาระบบแบบฟอรม์ อเิ ล็กทรอนกิ ส์ (e-Form) 5-126 5.3.25-2 โครงการพัฒนาระบบการลงทะเบยี นผา่ น QR Code 5-129 แผนงาน 3 : ยกระดบั การใหบ้ ริการประชาชนดว้ ยเทคโนโลยีดิจิทลั 5-130 5.3.1-3 โครงการพฒั นาระบบบรกิ ารค้นหาข้อมูลคดที ่ีส่งั ตรวจสอบทรัพย์สิน ยาเสพตดิ ของสำนกั งาน ป.ป.ส. 5.3.2-3 โครงการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับแจง้ เร่อื งรอ้ งเรยี นยาเสพติด (1386) 5.3.3-3 โครงการปรบั ปรงุ เว็ปไซต์ สำนักงาน ป.ป.ส. 5.3.4-3 โครงการพฒั นาการศกึ ษาและการเรียนรู้ดว้ ยเทคโนโลยีดิจทิ ัล (e-Learning) ดา้ นการป้องกันและปราบปรามยาเสพตดิ IV

สารบญั หนา้ ท่ี 5.4 ยทุ ธศาสตร์ที่ 4: การพฒั นาบุคลากรเพ่ือรองรับการทำงานในยคุ ดิจทิ ลั 5-133 แผนงาน 1 : พัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยดี จิ ิทัลสำหรบั ผ้บู ริหารของสำนักงาน ป.ป.ส. 5-133 5.4.1-1 โครงการพัฒนาดา้ นเทคโนโลยดี จิ ิทัลสำหรบั ผู้บริหาร 5-133 แผนงาน 2 : พฒั นาทกั ษะด้านเทคโนโลยดี ิจทิ ัลสำหรบั ผ้บู ริหารดา้ น 5-134 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Chief Information Office : CIO) ของสำนกั งาน ป.ป.ส. 5.4.1-2 โครงการพฒั นาดา้ นเทคโนโลยีดิจทิ ัลสำหรับผู้บริหารดา้ นเทคโนโลยีสารสนเทศ 5-134 แผนงาน 3 : พัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยดี จิ ิทลั สำหรับเจา้ หนา้ ทีด่ ้าน 5-136 เทคโนโลยดี จิ ทิ ลั ของสำนักงาน ป.ป.ส. 5.4.1-3 โครงการพฒั นาดา้ นเทคโนโลยีดจิ ิทลั สำหรบั ผปู้ ฏบิ ตั ิงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 5-136 แผนงาน 4 : พฒั นาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทลั สง่ เสริมการใชเ้ ทคโนโลยี 5-144 สำหรับผู้ปฏิบตั ิงานของสำนักงาน ป.ป.ส. 5.4.1-4 โครงการพัฒนาประสิทธภิ าพคณะทำงานผูป้ ระสานงาน 5-144 ดา้ นเทคโนโลยดี จิ ทิ ลั 5-145 5-147 5.4.2-4 โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งานระบบสารสนเทศ ภายในสำนักงาน ป.ป.ส. 5.4.3-4 โครงการสร้างความตระหนักในการใชเ้ ทคโนโลยีและการสื่อสาร อย่างปลอดภัย V

บทท่ี 1 บทนำ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีหนังสือถึงหน่วยงานของรัฐ อ้างถึงประกาศพระราชโองการให้ใช้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วย การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561-2580) โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2562 เป็นต้นไป และให้หน่วยงานของรัฐจัดทำหรือปรับปรุงแผนปฏิบัติการหรือแผนงานที่มีอยู่ ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติดังกล่าวโดยเร็ว ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ส. ได้จัดทำ “แผนปฏิบัติ การดิจิทัลสำนักงาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2560 – 2564” ตั้งแต่ปี 2560 และได้ดำเนินการตามแผนฯ มาถึง ปัจจุบัน (ปี 2563) ซึ่งมีโครงการที่ดำเนินการแล้ว และยังมีโครงการที่ยังไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจาก ไม่ได้รับงบประมาณ ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) จึงปรับปรุงแผนฯ ดังกล่าวเป็น “แผนปฏิบัติการดิจิทัลสำนักงาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2561 – 2565” โดยใช้ เค้าโครงเดิมของแผนฯ ปี 2560-2564 ที่ใช้กรอบนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลในการจัดทำแผนฯ อาทิ แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Thailand) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะที่ 3 ปี (พ.ศ. 2559 - 2561) แนวทางการบูรณาการข้อมูลภาครัฐ แผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2558 - 2561 แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2556 - 2559 แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรมแห่งชาติ (2559 - 2562) และแผนปฏิบัติการดิจิทัล กระทรวงยุติธรรม พ.ศ.2560-2564 เป็นต้น และให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) ภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัล เพอื่ เศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ.2561-2580) สำนักงาน ป.ป.ส. เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักเกี่ยวกับการป้องกัน การปราบปราม การบำบัดรักษา และการบริหารจัดการ โดยการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการสนับสนุน ภาครัฐบาล ภาคเอกชนและองค์กรภาคประชาชนในการดำเนินงานการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไป จากประเทศ ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ส. เป็นองค์กรภาครัฐ ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการ ดำเนินงานด้านการปราบปรามยาเสพติด งานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด งานด้านการ ต่างประเทศ ตลอดจนการบริหารจัดการภายในองค์กร และสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง และมีทิศทางที่ชัดเจน สำนักงาน ป.ป.ส. ได้มีการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อย่างต่อเนื่อง มาทั้งสิ้น 5 ฉบับ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 – 2559 และแผนปฏิบัติการดิจิทัลสำนักงาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2560 – 2564 (ใช้อยูใ่ นปจั จบุ นั ) หน้า 1-1

บทท่ี 1: บทนำ การดำเนินงานตามแผนฯ แต่ละฉบับนั้น สำนักงาน ป.ป.ส. ได้มีการกำหนดทิศทางการพัฒนา ที่ชัดเจนและต่อเนื่องมาโดยลำดับ โดยในระยะแรกสำนักงาน ป.ป.ส. ได้มุ่งเน้นการส่งเสริมและการพัฒนา ระบบสารสนเทศให้เกิดความครอบคลุมสามารถสนับสนุนงานได้ในทุกภารกิจหลัก ในระยะถัดมา เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลและเครื่องมือด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศมีการพัฒนาขึ้นจนเอื้ออำนวย ต่อการขยายผลการใช้งานระบบสารสนเทศ สำนักงาน ป.ป.ส. จึงได้มุ่งเน้นการพัฒนาต่อยอดให้เกิด การเชื่อมโยงเพื่อแลกเปลี่ยนบูรณาการข้อมูลสารสนเทศด้านยาเสพติดทั้งภายในหน่วยงาน และภายนอก หนว่ ยงาน ตลอดจนมกี ารม่งุ เน้นการพัฒนาระบบสารสนเทศท่สี ามารถใชง้ านไดจ้ ากภายนอกสำนักงาน ป.ป.ส. สำนักงาน ป.ป.ส. จะนำมาประยุกต์ใช้ เกิดความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของสำนักงาน ป.ป.ส. และเป็นไปตามนโยบายและแผนพัฒนา ด้านต่าง ๆ ทั้งในระดับนานาชาติ ระดับประเทศ และระดับองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้สอดคล้อง กับทิศทางและกรอบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) ภายใต้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วย การพฒั นาดจิ ทิ ัลเพ่ือเศรษฐกจิ และสังคม (พ.ศ. 2561-2580) อีกทัง้ ช่วยส่งผลดีต่อการแก้ไขปญั หายาเสพติด ของประเทศในภาพรวม ดังนั้น เพื่อให้สำนักงาน ป.ป.ส. มีแนวทางการดำเนินงานท่ีต่อเนื่องกับการดำเนินงาน ด้านเทคโนโลยดี จิ ิทัลในปัจจุบัน สำนักงาน ป.ป.ส. จึงปรบั ปรงุ “แผนปฏิบัตกิ ารดิจิทัลสำนักงาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2561 – 2565” ฉบับนี้ ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) และมุ่งเน้นการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านยาเสพติดที่ทันสมัย รวดเร็ว และถูกต้อง มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านยาเสพติดของอาเซียน โดยในภาพรวมแล้วเนื้อหา ของแผนปฏิบัติการดิจิทัลสำนักงาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2561 – 2565 ฉบับน้ี มีเป้าหมายเพื่อนำ สำนักงาน ป.ป.ส. ไปสแู่ นวคดิ ทเ่ี รยี กว่า ป.ป.ส. 4.0 โดยเปา้ หมายของแผนฯ ฉบับนเ้ี พอื่ ให้ “สำนักงาน ป.ป.ส. มีระบบข้อมูลที่ถูกต้องทันสมัย โดยใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัล รูปแบบใหม่ มุ่งเน้นการใช้งานที่สะดวก รวดเร็ว มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล ในรปู แบบตา่ ง ๆ ลดภาระการนำเข้าข้อมูล และนำเสนอข้อมลู ไดอ้ ยา่ งมีประสทิ ธิภาพ” ซึ่งระบบสารสนเทศทีพ่ ัฒนาข้ึนตามแผนฯ ฉบับนี้จะมีการนำแนวคิดของการสร้างระบบอัจฉรยิ ะ ที่ช่วยสนับสนุนผู้ใช้งานโดยใช้พื้นฐานของการพัฒนาระบบ Artificial Intelligence หรือ AI ร่วมกับ เทคโนโลยีทางด้าน Social Network และ Intelligent Analytic มาช่วยในการพัฒนาระบบด้วย ซึ่งเม่ือ นำเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งหมดมาใช้ร่วมกันในการพัฒนาระบบที่จะเกิดขึ้นในภาพรวมในแผนฯ นี้จะเรียก เทคโนโลยีแนวใหม่นี้ว่า Intelligent ONCB หรือ iONCB ทั้งนี้เพื่อนำสำนักงาน ป.ป.ส. ไปสู่การเป็น ป.ป.ส. 4.0 ภายในปี พ.ศ. 2565 ตามเป้าหมายทีต่ ง้ั ไว้ หน้า 1-2

บทที่ 1: บทนำ แผนปฏิบัติการดิจิทัลของสำนักงาน ป.ป.ส. ฉบับน้ี จะระบุถึง ทิศทางขององค์กร และนโยบาย ภาพรวม ทิศทางการใช้ระบบดิจิทัล วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ โดยแผนปฏิบัติการดิจิทัลสำนักงาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2561 – 2565 มีรายละเอียดของวัตถุประสงค์การจัดทำ และโครงสร้างของแผนปฏิบัติการดิจิทัล สำนกั งาน ป.ป.ส. ดังนี้ 1.1 วตั ถปุ ระสงค์การจัดทำแผนปฏบิ ัตกิ ารดจิ ิทลั สำนกั งาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2561 - 2565 1.1.1 เพื่อให้สำนักงาน ป.ป.ส. มีทิศทางที่เหมาะสมในการพัฒนา และการลงทุนระบบดิจิทัล โดยประเมินความเหมาะสม การวางแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาระบบสารสนเทศดิจิทัล เพื่อให้มีความสอดคล้อง สามารถรองรับการดำเนินงานตามภารกิจหลักทั้ง 4 แผนของสำนักงาน ป.ป.ส. และรองรบั ทิศทางการเปล่ยี นแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต 1.1.2 เพื่อให้สำนักงาน ป.ป.ส. มีแนวทางการพัฒนาระบบดิจิทัล จัดขั้นตอนของแผนปฏิบัติงาน ตามลำดับของความสำคัญของกิจกรรม ตลอดจนกำหนดแนวทาง หรือรูปแบบการพัฒนา ท่ีมีความเหมาะสม 1.2 โครงสร้างของแผนปฏิบัติการดจิ ทิ ัลสำนักงาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2561 - 2565 แผนปฏิบัตกิ ารดจิ ิทัลสำนกั ป.ป.ส. พ.ศ. 2561 - 2565 ประกอบด้วย 5 บท ซึง่ มเี นื้อหา โดยสังเขป ดังนี้ บทที่ 1 : บทนำ บทท่ี 2 : ทศิ ทางขององคก์ รและนโยบายในภาพรวม บทนี้กล่าวถึงสรุปผลทิศทาง และนโยบายของประเทศที่เกี่ยวข้อง อาทิ นโยบายและแผน ระดบั ชาตวิ า่ ด้วยการพัฒนาดิจทิ ัลเพ่ือเศรษฐกจิ และสังคม (พ.ศ. 2561-2580) แผนปฏิบตั ิ การด้านดิจิทัลเพ่ือเศรษฐกจิ และสังคม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) และแผนปฏิบตั ิ การดา้ นป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2563-2565 บทท่ี 3 : ทศิ ทางของการใช้ระบบสารสนเทศ บทนี้จะกล่าวถึงทิศทางของเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคตที่ทั้งสอดคล้องกับแผนปฏิบัติ การด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) และที่นำมา ประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานของสำนักงาน ป.ป.ส. ท่ีมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน เดิม การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับปรุงพฤติกรรมการใช้ระบบสารสนเทศดิจิทัล ในอนาคตที่ต้องมีการใช้งานที่ง่าย ยืดหยุ่น และการนำระบบการวิเคราะห์ข้อมูล มาใช้ เพ่อื มงุ่ สกู่ ารเปน็ iONCB (Smart, Safe, Secure and Social) หนา้ 1-3

บทที่ 1: บทนำ บทที่ 4 : วสิ ยั ทศั น์ ยทุ ธศาสตร์ และโครงการ บทนี้กล่าวถึงสถาปัตยกรรมหลักที่จะใช้เป็นแนวทางทางเทคนิคในการพัฒนา ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของสำนักงาน ป.ป.ส. ในอนาคต ให้เป็นไปอย่างมีทิศทาง และสามารถพัฒนารว่ มกนั ได้อยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ บทที่ 5 : รายละเอยี ดโครงการประกอบแผนปฏบิ ตั กิ ารดจิ ิทลั สำนกั งาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2561 - 2565 บทนี้กล่าวถึงรายละเอียดแผนงาน และโครงการภายในยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ซึ่งมีรายละเอียด วตั ถปุ ระสงค์ เปา้ หมาย ขอบเขต ตวั ชี้วดั ประมาณการงบประมาณและแผนการดำเนินงาน หนา้ 1-4

บทที่ 2 ทศิ ทางขององคก์ รและนโยบายในภาพรวม บทนี้กล่าวถึงสรุปผลทิศทาง และนโยบายของประเทศที่เกี่ยวข้อง อาทิ นโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 -2580) แผนปฏิบัติการด้านดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) และแผนปฏิบัติการด้านป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด พ.ศ. 2563-2565 2.1 ภาพรวมความสมั พันธข์ องแผนปฏบิ ัตกิ ารดจิ ิทัลสำนักงาน ป.ป.ส. และแผนที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะกำหนดทิศทางและจัดทำรายละเอียดของแผนปฏิบัติการดิจิทัลสำนักงาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2561-2565 สำนกั งาน ป.ป.ส. ขอสรุปเนื้อหาของแผนฯ ตา่ ง ๆ ทเ่ี กยี่ วขอ้ ง ดังนี้ 1) นโยบายและแผนระดบั ชาตวิ ่าดว้ ยการพัฒนาดิจทิ ัลเพอ่ื เศรษฐกจิ และสงั คม (พ.ศ. 2561-2580) นโยบายและแผนระดบั ชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทลั เพื่อเศรษฐกิจและสงั คม จะเป็นแผนแม่บทหลัก ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ที่กำหนดทิศทาง การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหง่ ชาติ โดยมีกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนา 6 ด้าน คือ • ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดจิ ิทลั ประสทิ ธิภาพสูงให้ครอบคลุมทว่ั ประเทศ จะสร้างให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ทันสมัย ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ซึ่งการเข้าถึง บรกิ ารจะสามารถทำได้ทกุ ท่ี ทกุ เวลา อยา่ งมีคุณภาพ ด้วยอนิ เทอรเ์ น็ตความเรว็ สงู ท่ีรองรบั ความตอ้ งการ • ยุทธศาสตร์ที่ 2 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เร่งส่งเสริมเศรษฐกิจ ด้วยเทคโนโลยดี ิจิทัล (Digital Economy Acceleration) โดยมุ่งเน้นการสรา้ งระบบนิเวศสำหรับธรุ กิจดจิ ทิ ลั (Digital Business Ecosystem) ควบคู่กับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และการใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยดี จิ ทิ ลั ในเชิงธุรกจิ • ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างสังคมคุณภาพที่ทั่วถึงเท่าเทียมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นการสร้าง สังคมดิจิทัลที่มีคุณภาพ (Digital Society) มุ่งหวังที่จะลดความเหลื่อมล้ำทางโอกาสของประชาชน ที่เกดิ จากการเข้าไม่ถึงโครงสรา้ งพนื้ ฐาน การขาดความรูค้ วามเขา้ ใจในเร่อื งเทคโนโลยดี จิ ิทัล • ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล เป็นการมุ่งเน้นการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการทำงานและการให้บริการภาครัฐ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปกระบวนการทำงาน และข้ันตอนการใหบ้ ริการใหม้ ปี ระสทิ ธิภาพ ถกู ตอ้ ง รวดเรว็ อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บรกิ าร หนา้ 2-1

บทท่ี 2: ทิศทางขององค์กรและนโยบายในภาพรวม • ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล มุ่งเน้นการ พัฒนากำลังคนดิจิทัล (Digital Workforce) ขึ้นมารองรับการทำงานในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเน้นทั้งกลุ่ม คนทำงานที่จะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างผลิตภาพการผลิต (Productivity) ในระบบเศรษฐกิจ และกลุ่มคน ทเ่ี ปน็ ผ้เู ชยี่ วชาญดา้ นดิจิทัล • ยุทธศาสตรท์ ี่ 6 สร้างความเชื่อม่ันในการใช้เทคโนโลยีดจิ ิทัล มุ่งเน้นการสรา้ งความมั่นคง ปลอดภัย และความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับผู้ประกอบการ ผู้ทำงานและผู้ใช้บริการ ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล และเป็นบทบาทหน้าที่หลัก ของภาครัฐในการอำนวยความสะดวกให้กับทุกภาคส่วน โดยภารกิจสำคัญยิ่งยวดของยุทธศาสตร์น้ี จะครอบคลุมเรื่องมาตรฐาน (Standard) การคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy) การรักษาความมนั่ คงปลอดภยั (Cyber Security) 2) แผนปฏิบัตกิ ารด้านดิจทิ ลั เพ่ือเศรษฐกิจและสงั คม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) แผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) จะเป็นเครื่องมือ ในการแปลงนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไปสู่การปฏิบัติ อย่างเป็นรูปธรรมใน 6 มิติ ที่สอดคล้องกับ 6 ยุทธศาสตร์ของนโยบายและแผนระดับชาติดังกล่าวข้างต้น ประเด็นขบั เคลอ่ื นใน 6 มติ ิ ไดแ้ ก่ 2.1) ขับเคล่อื นเศรษฐกจิ ประกอบด้วย 1) การพัฒนา SMEs ไทยบนฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital SMEs) 2) การเพม่ิ ประสทิ ธิภาพและผลิตภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยดี จิ ิทลั (Digital Manufacturing) 3) การพฒั นาเกษตรยคุ ใหม่ดว้ ยเทคโนโลยดี จิ ทิ ัล (Digital Agriculture) 4) การเพ่ิมมลู ค่าใหธ้ รุ กจิ บริการด้วยเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั (Digital Services) 5) การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลและดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Technology and Content Industries) 2.2) สรา้ งสังคมคุณภาพ ประกอบดว้ ย 1) การพฒั นาชมุ ชนชนบทดว้ ยเทคโนโลยีดจิ ิทลั (Digital Community) 2) การพฒั นาการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชวี ติ ด้วยเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั (Digital Learning & Knowledge) 3) การพัฒนาบริการสขุ ภาพด้วยเทคโนโลยดี จิ ิทัล (Digital Health) หนา้ 2-2

บทที่ 2: ทิศทางขององค์กรและนโยบายในภาพรวม 2.3) พฒั นารฐั บาลดิจิทัล ประกอบดว้ ย 1) การยกระดับบริการภาครัฐ (Government Transformation For Government Services) 2) ปฏิรูปการบริหารจัดการของภาครัฐ (Government Transformation For Government Management) 2.4) พฒั นาโครงสรา้ งพน้ื ฐาน ประกอบด้วย 1) การพฒั นาโครงสร้างพื้นฐานดิจทิ ัล (Digital Infrastructure) 2) การพัฒนาเมอื งอจั ฉริยะ (Smart City) 2.5) สรา้ งความเช่ือมัน่ ประกอบดว้ ย 1) การเสรมิ สร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) 2) ขับเคลือ่ นการพัฒนากฎหมายและมาตรฐานดิจทิ ัล (Digital Law & Regulation) 2.6) พฒั นากำลงั คนดิจิทัล ประกอบดว้ ย การพฒั นากำลงั คนและประชาชนสูย่ ุคดจิ ทิ ลั (Digital Manpower And Digital Literacy) 3) แผนปฏิบัตกิ ารด้านป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2563-2565 แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2563-2565 ประกอบด้วย 5 มาตรการ คือ ความร่วมมือระหว่างประเทศ การปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย การป้องกันยาเสพติด การบำบัดรักษายาเสพติด และการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ รวม 9 แนวทาง 19 แผนงาน เพื่อบรรลุ วิสยั ทศั น์ “ประเทศไทยมัน่ คง ปลอดภยั จากยาเสพติดอยา่ งย่ังยืน ดว้ ยการมีส่วนรว่ มจากทกุ ภาคส่วนในสังคม และความร่วมมือระหว่างประเทศ” เป็นแผนชี้นำการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด ลดระดับปัญหา ของการแก้ไขปัญหาได้อย่างน้อยร้อยละ 50 ภายใน 3 ปี และลดระดับของปัญหาจนไม่ส่งผลกระทบ ต่อการบริหารประเทศภายในปี 2580 และเป็นกรอบในการบริหารจัดการ ประสานการปฏิบัติ จัดสรรทรัพยากร และกำกับติดตามประเมินผล สำหรับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแปลงแผนปฏิบัติการ ดา้ นการปอ้ งกันและปราบปรามยาเสพตดิ พ.ศ. 2563-2565 ไปสกู่ ารปฏิบัตไิ ด้อย่างชัดเจนและเป็นรปู ธรรม แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2563-2565 ประกอบด้วย รายละเอยี ด ดงั นี้ 3.1) มาตรการความรว่ มมอื ระหวา่ งประเทศ แนวทางความรว่ มมือระหวา่ งประเทศเชิงรกุ - แผนงานการพัฒนาความร่วมมือระหวา่ งประเทศเชงิ รุก - แผนงานการพฒั นาความร่วมมือกบั ประเทศอาเซยี น - แผนงานการพฒั นาความร่วมมอื กบั ประเทศนอกภาคพืน้ อาเซยี น หนา้ 2-3

บทท่ี 2: ทศิ ทางขององคก์ รและนโยบายในภาพรวม 3.2) มาตรการการปราบปรามและบงั คับใชก้ ฎหมาย 1) แนวทางการสกดั กนั้ ยาเสพติด สารตัง้ ตน้ และเคมีภณั ฑ์ - แผนงานการสกดั ก้นั ยาเสพติด สารต้ังต้น และเคมีภัณฑ์ 2) แนวทางการปราบปรามกลุ่มการค้ายาเสพติด - แผนงานการปราบปรามและสลายโครงสร้างเครือข่ายการค้า ผู้มีอิทธิพลที่เกี่ยวข้อง กับยาเสพตดิ และเครอื ขา่ ยขา้ มชาติ - แผนงานการพัฒนางานการขา่ วและระบบฐานขอ้ มลู สนบั สนุน 3.3) มาตรการการป้องกนั ยาเสพติด 1) แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวชายแดนและการพฒั นา ทางเลอื ก - แผนงานการพัฒนาพื้นทีแ่ ละชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนตามแนวชายแดนและการพฒั นา ทางเลือกพ้ืนท่ใี นประเทศ - แผนงานการเสรมิ สร้างความเข้มแข็งของหมบู่ า้ น/ชมุ ชนตามแนวชายแดน 2) แนวทางการป้องกันยาเสพตดิ ในแต่ละกลุ่มเปา้ หมายอย่างเหมาะสมเป็นรปู ธรรม - แผนงานสร้างการรบั รู้และภมู ิค้มุ กันยาเสพติด 3) แนวทางการปรับสภาพแวดล้อมทเี่ หมาะสม - แผนงานการเสรมิ สรา้ งสภาพแวดลอ้ มเพอ่ื การปอ้ งกนั ยาเสพติด 3.4) มาตรการการบำบดั รักษายาเสพติด แนวทางการดูแลผู้ใช้ผู้เสพผู้ติดยาเสพติดให้เข้าถึงการบำบัดรักษาและการลดอันตราย หรอื ผลกระทบจากยาเสพติด - แผนงานการพฒั นาระบบการบำบัดรักษา - แผนงานการติดตามดูแลช่วยเหลือ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เข้ารับการบำบัดรักษา ยาเสพติด - แผนงานการบำบดั ผเู้ สพตดิ ที่อาจสง่ ผลกระทบตอ่ ชุมชน (จติ เวช) - แผนงานการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (Harm Reduction) 3.5) มาตรการการบรหิ ารจัดการอยา่ งบรู ณาการ 1) แนวทางกิจการพเิ ศษ - แผนงานการควบคมุ พชื เสพติด - แผนงานการใช้ประโยชนจ์ ากพชื เสพตดิ - แผนงานการพัฒนามาตรการทางเลือกรปู แบบใหม่ หนา้ 2-4

บทท่ี 2: ทศิ ทางขององค์กรและนโยบายในภาพรวม - แผนงานการขบั เคลอ่ื นแผนพ้ืนที่พเิ ศษ 2) แนวทางการบรหิ ารจัดการอยา่ งบูรณาการ - แผนงานการบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างเป็นระบบ และพฒั นานวัตกรรมสนับสนนุ การปฏิบัตงิ าน จากการศึกษาแผนปฏิบตั กิ ารดา้ นการปอ้ งกันและปราบปรามยาเสพตดิ พ.ศ. 2563-2565 พบวา่ มีแผนทเ่ี กีย่ วข้อง กับการพัฒนาดิจิทัลรองรับการปฏิบัติงาน คือ แผนงานการบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดอย่างเป็นระบบและพัฒนานวัตกรรมสนับสนุนการปฏิบัติงาน ซึ่งอยู่ในมาตรการการบริหารจัดการ อย่างบูรณาการ และแผนงานการพัฒนางานการข่าวและระบบฐานข้อมูลสนับสนุน ในมาตรการ การปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย เป็นต้น และเมื่อพิจารณาจากวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ พบว่า การที่จะนำ แผนฯ ฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ ต้องมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคม หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง และความร่วมมือระหว่างประเทศ ฉะนั้น แผนฯ นี้ต้องการการสนับสนุนที่มี “ประสิทธิภาพ” ซ่งึ โดยทว่ั ไปแล้วหมายถึง “รวดเรว็ ” ในการสนับสนนุ และปรับเปล่ยี นรับใหท้ ันกบั ความต้องการ นน่ั หมายถึง การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานด้วยการพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของสำนักงาน ป.ป.ส. มารองรับ การเปลย่ี นแปลงให้ทันกับความตอ้ งการทนั ต่อการเปล่ียนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล จะเห็นได้ว่า สำนักงาน ป.ป.ส. มีการนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติการอยู่แล้ว ซึ่งแผนปฏิบัติการดิจิทัลสำนักงาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2560-2564 สำนักงาน ป.ป.ส. ได้จัดทำแผนสอดคล้อง กับยุทธศาสตร์การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Thailand) โดยเฉพาะปีงบประมาณ 2561-2562 ทผ่ี ่านมา สำนกั งาน ป.ป.ส. มีโครงการตา่ ง ๆ และได้ดำเนนิ การเรยี บรอ้ ยแล้วหลายโครงการ ดังนั้น เมื่อนำแผนการพัฒนาดิจิทัลรองรับการปฏิบัติการในแผนปฏิบัติการด้านการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2563-2565 มาพิจารณาร่วมกับแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) แล้ว สำนักงาน ป.ป.ส. จะปรับปรุงแผนปฏิบัติการดิจิทัลสำนักงาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2560-2564 เป็น “แผนปฏิบัติการดิจิทัลสำนักงาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2561-2565” โดยจะปรับ โครงการต่าง ๆ ในปีงบประมาณ 2563-2565 เพื่อรองรับการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการด้านการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2563-2565 และให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสงั คม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) หน้า 2-5

บทที่ 2: ทิศทางขององคก์ รและนโยบายในภาพรวม 2.2 ความสมั พันธ์ของแผนปฏิบัตกิ ารดจิ ทิ ัลสำนกั งาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2561 - 2565 กบั แผนปฏิบตั ิ การด้านดจิ ิทลั เพอ่ื เศรษฐกิจและสงั คม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) เพ่ือให้ทราบถึงความเชอื่ มโยงของแผนปฏิบตั ิการดิจทิ ัลสำนกั งาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2561 - 2565 กบั แผนปฏิบัติ การดา้ นดิจทิ ลั เพือ่ เศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) โดยศกึ ษาจากประเดน็ การขับเคลื่อน ดงั นี้ ตาราง 2.2-1 ประเด็นขับเคลื่อนตามแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) แผนปฏบิ ตั กิ ารด้านดิจิทลั เพอื่ เศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) ประเดน็ ขบั เคลอ่ื น แนวทางการขบั เคลื่อน - ขับเคล่อื นเศรษฐกจิ ขับเคลอ่ื นเศรษฐกจิ ด้วยเทคโนโลยีดจิ ิทลั - สรา้ งสังคมคณุ ภาพ สรา้ งสงั คมคณุ ภาพด้วยเทคโนโลยดี ิจทิ ลั - พัฒนารัฐบาลดจิ ิทลั ปรับเปล่ยี นภาครัฐส่กู ารเป็นรฐั บาลดิจิทลั - พัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐาน พฒั นาโครงสรา้ งพ้ืนฐานดจิ ทิ ลั ประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมท่ัวประเทศ - สรา้ งความเชอ่ื ม่ัน สร้างความเช่ือมน่ั ในการใชเ้ ทคโนโลยีดจิ ิทลั - พัฒนากำลงั คนดิจิทลั พัฒนากำลังคนให้พรอ้ มเขา้ สยู่ ุคเศรษฐกจิ และสงั คมดจิ ิทัล จากตารางที่ 2.2-1 ประเด็นขับเคลื่อนตามแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) นั้น แผนปฏิบัติการดิจิทัลสำนักงาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2561 – 2565 มีความสอดคล้อง กับประเด็นการขับเคลอื่ น ดังนี้ 1) สรา้ งสงั คมคณุ ภาพ 2) พฒั นารัฐบาลดจิ ทิ ัล 3) พฒั นาโครงสร้างพ้นื ฐาน 4) สร้างความเชื่อมัน่ 5) พฒั นากำลงั คนดิจทิ ัล จากประเด็นการขับเคลื่อนและแนวทางการขับเคลื่อนตามแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) ซึ่งสามารถหาความเชื่อมโยงกับการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ของสำนักงาน ป.ป.ส. ดังตารางที่ 2.2-2 หน้า 2-6

บทที่ 2: ทศิ ทางขององคก์ รและนโยบายในภาพรวม ตาราง 2.2-2 ความเชื่อมโยงการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลสำนักงาน ป.ป.ส. กับแนวทางการขับเคลื่อน ตามแผนปฏิบัติการด้านดิจทิ ลั เพ่อื เศรษฐกจิ และสงั คม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) แผนปฏบิ ัติการดา้ นดจิ ิทลั เพอ่ื เศรษฐกิจและสงั คม ระยะ 5 ปี การพัฒนาเทคโนโลยดี จิ ิทลั (พ.ศ. 2561-2565) สำนักงาน ป.ป.ส. - 1) สรา้ งสงั คมคณุ ภาพ  การพฒั นาชุมชนชนบทด้วยเทคโนโลยดี จิ ิทัล (Digital Community) - การพัฒนาการศึกษาและการเรยี นรู้ตลอดชีวิตดว้ ยเทคโนโลยดี ิจิทัล  (Digital Learning & Knowledge)  การพัฒนาบริการสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดจิ ิทัล (Digital Health) 2) พฒั นารฐั บาลดจิ ทิ ลั  การยกระดับบริการภาครฐั (Government Transformation For Government Services)  ปฏิรปู การบรหิ ารจดั การของภาครฐั (Government Transformation For  Government Management) 3) พัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐาน  การพฒั นาโครงสร้างพื้นฐานดจิ ทิ ลั (Digital Infrastructure) การพฒั นาเมอื งอัจฉรยิ ะ (Smart City) 4) สรา้ งความเชอ่ื มน่ั การเสรมิ สร้างความมนั่ คงปลอดภยั ทางไซเบอร์ (Cyber Security) ขบั เคล่อื นการพัฒนากฎหมายและมาตรฐานดจิ ิทลั (Digital Law & Regulation) 5) พัฒนากำลังคนดจิ ิทัล การพัฒนากำลังคนและประชาชนสู่ยุคดิจิทัล (Digital Manpower And Digital Literacy) จากตารางที่ 2.2-2 ความเชื่อมโยงการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลสำนักงาน ป.ป.ส. กับแนวทางการขับเคลื่อน ตามแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) โดยมีกลไกการขับเคลื่อน ของสำนักงาน ป.ป.ส. ดังน้ี หนา้ 2-7

บทที่ 2: ทิศทางขององคก์ รและนโยบายในภาพรวม 1) สร้างสงั คมคุณภาพ การพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Learning & Knowledge) เชน่ โครงการปรบั ปรงุ เวป็ ไซต์ สำนกั งาน ป.ป.ส. และโครงการพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ ด้วยเทคโนโลยดี ิจทิ ัล (e-Learning) เพือ่ เป็นแหลง่ ขอ้ มลู ดา้ นยาเสพติดสำหรับประชาชนท่ัวไป 2) พัฒนารฐั บาลดิจิทัล 2.1) การยกระดับบริการภาครัฐ (Government Transformation For Government Services) ไดแ้ ก่ การพฒั นาระบบสารสนเทศใหบ้ ริการประชาชนทส่ี ะดวกและรวดเร็วในยุคดิจิทลั เป็นตน้ 2.2) ปฏิรูปการบริหารจัดการของภาครัฐ (Government Transformation For Government Management) ได้แก่ การพฒั นาเชื่อมโยงข้อมลู จากหน่วยงานภายนอกผ่านระบบ Web Service และอ่ืน ๆ เพื่อรองรับการเป็นรฐั บาลดิจทิ ัล (e-Government) เป็นต้น 3) พัฒนาโครงสรา้ งพ้ืนฐาน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructure) ได้แก่ การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพ การบริการโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงระบบเครือข่ายในการให้บริการอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ และจัดหาเครื่องมือและอุปกรณค์ อมพิวเตอร์ที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของสำนักงาน ป.ป.ส. เปน็ ตน้ 4) สรา้ งความเชอ่ื มัน่ 4.1) การเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) ได้แก่ การจัดทำนโยบาย และแนวปฏิบัติระบบความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย และมาตรฐานทเ่ี กยี่ วขอ้ ง เปน็ ต้น 4.2) ขบั เคลือ่ นการพฒั นากฎหมายและมาตรฐานดิจิทัล (Digital Law & Regulation) ได้แก่ การปรับปรุง กฎ/ระเบียบ/แนวทางในการปฏิบัตงิ านให้สอดคล้องกบั ระบบดจิ ิทัล การจัดทำมาตรฐานการกำกับดูแลข้อมลู (Data Governance) เป็นตน้ 5) พัฒนากำลงั คนดิจิทัล การพัฒนากำลังคนและประชาชนสู่ยุคดิจิทัล (Digital Manpower And Digital Literacy) ได้แก่ การพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้บริหาร ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เจ้าหน้าท่ี ด้านเทคโนโลยดี จิ ิทลั และผูป้ ฏิบัตงิ าน เปน็ ตน้ จากกลไกการขับเคลื่อนของสำนักงาน ป.ป.ส. จะมีรายละเอียดของแผนงาน โครงการ ตามยุทธศาสตร์ที่ สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) ในบทที่ 4 วิสัยทัศน์ ยทุ ธศาสตร์ และโครงการ ต่อไป หน้า 2-8

บทท่ี 3 ทิศทางของการใช้ระบบสารสนเทศ 3.1 ทิศทางของเทคโนโลยีในอนาคต แนวโน้ม และการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อการจัดทำแผนฯ มีส่วนสำคัญอย่างมาก ต่อการวางแผนการพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัล เนื่องจากสามารถคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ ในอนาคต ดังนั้น เพื่อให้การศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มเป็นไปอย่างมีทิศทางที่ชัดเจน และอ้างอิงได้ คณะท่ีปรึกษาฯ ขออ้างอิงเทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลสำนักงาน ป.ป.ส. พ.ศ.2561-2565 ดังน้ี 3.1.1 3rd Generation Platform เทคโนโลยีกลุ่มแรกที่มีการศึกษา คณะที่ปรึกษาฯ ได้อ้างอิงการศึกษาจากบริษัท IDC1 ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำที่ยอมรับทั่วโลกจากผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบนั ไดก้ า้ วเขา้ สูย่ คุ 3rd Generation Platform ดังภาพ 3.1-1 แสดงสภาพแวดลอ้ ม หรอื Platform ดังกล่าว ภาพ 3.1-1 การพฒั นาระบบเทคโนโลยีดจิ ิทลั เขา้ สูย่ ุค 3rd Platform2 1 http://www.idc.com/prodserv/3rd-platform/ 2 http://www.idc.com/prodserv/3rd-platform/ หนา้ 3-1

บทท่ี 3: ทิศทางของการใช้ระบบสารสนเทศ 3rd Generation Platform หรือ แพลตฟอร์มยุคที่ 3 น้ี คือ แพลตฟอร์มหรือสภาพแวดล้อม ที่เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของทั้งภาครัฐและเอกชน โดยที่ในยุค ท่ผี ่านมาทั้ง 2 ยคุ คือ • ยุคที่ 1 คือ ยุคของการใช้ระบบ Mainframe กล่าวคือ ในยุคที่ 1 นั้นระบบต่าง ๆ จะถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อ Run บนระบบ Mainframe เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจากมุมมองขององค์กร ยุคนี้ผู้ใช้งานต้องทำตามระบบ อยา่ งเดยี ว ระบบทำงานสลบั ซับซอ้ น • ยุคที่ 2 คือ ยุคของการใช้ระบบ Internet ในยุคนี้ระบบต่าง ๆ ส่วนใหญ่ของทั้งภาครัฐ และเอกชนจะ Run บนเครือข่าย Internet เป็นส่วนมาก ซึ่งจากมุมมองขององค์กร ยุคนี้ผู้ใช้งาน เริ่มที่จะสามารถมีอำนาจต่อรองในการที่จะให้ระบบต่าง ๆ ใช้งานได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม และใช้งานระบบได้ จากทั้งในและนอกองค์กรของตน ในปัจจุบันที่เข้าสู่แพลตฟอร์มยุคที่ 3 ผู้ใช้งานมีอำนาจต่อรองมากขึ้น ระบบจะต้องทำงานได้ อย่างรวดเร็ว ปรับเปลี่ยนได้ง่ายตามความต้องการ องค์กรส่วนใหญ่ยอมรับการพัฒนาที่รวดเร็ว และยอมเสี่ยงกับความปลอดภยั ที่ตอ้ งลดลง เทคโนโลยีหลกั ท่ีอยูใ่ นส่วนของ 3rd Generation Platform ประกอบไปด้วยเทคโนโลยหี ลกั ดงั น้ี 1) Cloud ในภาพรวมแล้วสื่อถึงการใช้เทคโนโลยี Cloud เป็นเทคโนโลยีหลักของการใช้งาน ระบบโดยมีตั้งแต่การใช้เป็น Software as a Service (SaaS), Platform as a Service (PaaS) ลงไปจนถึงระดับที่เช่าใช้ระบบพื้นฐานหรือที่เรียกว่า Infrastructure as a Service (IaaS) 2) Mobility ในที่นี้หมายถึงการที่การทำธุรกรรมของธุรกิจหรือองค์กรสมัยใหม่จะต้องคำนึงถึง ระบบที่ให้บริการของตนที่ต้อง Run บนระบบ Mobile ต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายหลายขนาด และหลากหลายระบบปฏิบัตกิ าร 3) Big Data/Analytics ในส่วนนี้จะหมายถึงการที่ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้ในปัจจุบันจะต้องคำนึงถึงการนำ ข้อมูลที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ธุรกิจของตนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการต่าง ๆ มาวิเคราะห์ เพื่อให้สามารถเข้าใจผู้ใช้งานของตนเพื่อการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาปรับปรุง การให้บริการของตนให้ดียงิ่ ขึ้น อกี ท้งั ยังสามารถนำไปสู่ผใู้ ช้หรอื ลกู ค้ารายใหม่ ๆ ได้ หน้า 3-2

บทท่ี 3: ทศิ ทางของการใช้ระบบสารสนเทศ 4) Social Business ในส่วนที่ 4 หรือ เทคโนโลยีที่ 4 ของ 3rd Generation Platform คือ ระบบ Social ต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับ และมีการใช้งานอย่างมาก จากผู้ใช้งานทั่วโลกตลอดเวลา ไม่ใช่เฉพาะช่วงทำงานหรือชว่ งหยุดงานเท่านั้น ในกรณีน้ีเทคโนโลยี Social ดังกล่าวน้ี ถูกมองว่าเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ผู้พัฒนาระบบสำหรับองค์กรควรให้ความสนใจ เพราะจะทำให้องค์กรเข้าถึงผู้ใช้งานได้ง่าย และการพัฒนาไม่ได้มีขั้นตอน ที่สลบั ซับซอ้ นสามารถทำได้เองโดยผใู้ ช้งาน ในบริบทของสำนักงาน ป.ป.ส. จะเห็นได้ว่า การเกิดขึ้นของแพลตฟอร์มยุคที่ 3 นี้เป็นความท้าทาย อย่างมากต่อการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เนื่องจากข้อมูลที่มีเป็นจำนวนมากของสำนักงาน ป.ป.ส. นั้นเป็นข้อมูลที่เป็นความลับ ระบบที่รองรับต้องมีความปลอดภัยสูง แต่จะขัดกับการทำงาน ของแพลตฟอร์มยุคที่ 3 ที่มุ่งเน้นที่ความรวดเร็ว ซึ่งประเด็นดังกล่าว จะมีผลกระทบโดยตรงกับ แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ของสำนกั งาน ป.ป.ส. แต่เพอ่ื ใชป้ ระโยชน์จากเทคโนโลยขี นั้ สูงเหล่าน้ี ในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลของสำนักงาน ป.ป.ส. แผนฯ ฉบับนี้ได้มีการกำหนดให้มีการนำ เทคโนโลยีทั้งหมดใน 3rd Generation Platform มาใช้กับโครงการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เพื่อทั้งเพิ่ม ประสิทธิภาพของการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าท่ี และเพื่อนำเสนอข้อมูลเพื่อการตัดสินใจแก่ผู้บริหาร ในทุก ๆ ระดับอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในรูปแบบของข้อมูลดิบ และข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยในภาพรวมแล้วเทคโนโลยีทั้งหมดใน 3rd Generation Platform ถูกนำมาใช้ในการสร้างระบบ ตามแนวคิดของ iONCB คือ การพัฒนาระบบที่ช่วยการทำงานของผู้ใช้งานลดปริมาณการนำเข้าข้อมูล สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้หลากหลายชนิดอย่างรวดเร็ว และสุดท้ายระบบที่พัฒนาขึ้นจะต้องถูกพัฒนา บนเทคโนโลยี Social Network ที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่คุ้นเคย โดยทั้งหมดต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ของขอ้ มูลเปน็ สำคัญ หรอื เปน็ หัวใจหลักของการพฒั นา 3.1.2 การให้บรกิ าร PROMPT PAY (พรอมเพย)์ การให้บริการ PROMPT PAY (พรอมเพย์) หรือ อีกชื่อคือ Any ID เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ ของ National e-Payment ของรัฐบาลไทย เพื่ออำนวยความสะดวกทั้งภาคประชาชนในการโอนเงิน และภาครัฐในการจ่ายสวัสดิการของรัฐ และการคืนเงินภาษีแก่ประชาชน เป็นการให้บริการโอนเงิน และรับเงนิ แบบใหม่ โดยผูกบัญชีเงินฝากธนาคารกับ หมายเลขบัตรประชาชน หรือเบอร์โทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะทำให้ การโอนเงินสะดวกและงา่ ยขึ้น โดยบริการน้ีดำเนนิ การโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ได้ร่วมมือพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนระบบการชำระเงินแบบ Any ID ภายใต้โครงการ National e-Payment ลดการใช้เงนิ สด เนน้ การใช้จ่ายเงินผา่ นทาง e-Payment มากขึ้น โดยมีเปา้ หมายปริมาณการใช้บริการการชำระ เงินทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อจำนวนประชากรไทย อยู่ที่ 150 ครั้ง/ปี/คน ในปี 2563 โดยเป้าหมายการเจริญเติบโต ของปรมิ าณการใชบ้ รกิ ารการชำระเงนิ ทางอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ต่อจำนวนประชากรไทย แสดงดงั ภาพ 3.1-2 หนา้ 3-3

บทที่ 3: ทศิ ทางของการใช้ระบบสารสนเทศ ภาพ 3.1-2 เป้าหมายปรมิ าณการใช้บรกิ ารการชำระเงนิ ทางอเิ ลก็ ทรอนิกส์ตอ่ จำนวนประชากรไทย ในบริบทของสำนักงาน ป.ป.ส. จะเห็นได้ว่า การให้บริการ PROMPT PAY (พรอมเพย์) จะมี ผลกระทบโดยตรงกับแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงาน ป.ป.ส. ที่จะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการให้บริการ PROMPT PAY (พรอมเพย์) ไม่ว่าจะเป็นทาง ภาคประชาชนโอนเงินใหแ้ ก่ สำนกั งาน ป.ป.ส. หรือ ทางสำนกั งาน ป.ป.ส. จา่ ยเงนิ ใหแ้ ก่ประชาชน 3.1.3 เทคโนโลยีการบรหิ ารจัดการอุปกรณ์เคล่ือนท่ี (Mobile Device Management) ที่ผ่านมาการเข้าถึงระบบสารสนเทศต่าง ๆ ขององค์กรจะเป็นการเชื่อมต่อจากเครื่อง คอมพิวเตอร์ตัง้ โตะ๊ ภายในองคก์ รผ่านระบบเครอื ข่ายท้องถน่ิ ระบบเครอื ขา่ ยทางไกล หรือระบบเครือขา่ ย ไรส้ ายขององคก์ ร ซง่ึ การบรหิ ารจดั การอปุ กรณค์ อมพิวเตอร์ การรกั ษาความปลอดภยั ของระบบเครือข่าย และการเข้าถึงแลกเปลี่ยนข้อมูลสามารถบริหารจัดการได้สะดวกและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเครื่อง คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศต่าง ๆ เชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่ายที่เป็นขององค์กรทั้งหมด แต่ใน ปัจจุบันการเข้าถึงระบบสารสนเทศมีการปรับเปลี่ยนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นการใช้งาน ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ อาทิ Smartphone และ Tablet และการใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวมีแนวโน้ม ขยายตัวมากขึ้นในอนาคต เพื่อตอบสนองการให้บริการในลักษณะทุกที่ทุกเวลา ทั้งน้ีการเข้าถึงระบบ สารสนเทศผ่านระบบเครือข่ายที่นอกเหนือจากระบบเครือข่ายขององค์กร อาทิ ผ่านระบบเครือข่าย ไร้สายสาธารณะหรือเครือขา่ ยมือถือ อาจส่งผลต่อความมัน่ คงและปลอดภัยของข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยน ระหว่างอุปกรณ์เคลื่อนที่และระบบสารสนเทศต่าง ๆ ดังนั้น การนำเอาเทคโนโลยีการบริหารจัดการ อุปกรณ์เคลื่อนท่ี (Mobile Device Management) ที่เหมาะสมมาใช้งานมีความจำเป็นยิ่งต่อองค์กร เทคโนโลยีการบรหิ ารจัดการอุปกรณเ์ คลือ่ นท่ี มี 3 องค์ประกอบหลกั แสดงดังภาพ 3.1-3 หน้า 3-4

บทที่ 3: ทศิ ทางของการใช้ระบบสารสนเทศ ภาพ 3.1-3 การบรหิ ารจัดการอุปกรณ์เคลอ่ื นที่ (Mobile Device Management) 1) Manage การจัดการ ซึ่งประกอบไปด้วยการลงทะเบียนอุปกรณ์เคลื่อนที่ การกำหนดนโยบาย การใช้งานและการเข้าถึงข้อมูล การติดตั้งโปรแกรมการใช้งาน ซึ่งการบริหารจัดการท่ี เหมาะสม จะช่วยให้องค์กรสามารถนำเอาอุปกรณ์เคลื่อนที่มาใช้เพื่อสนับสนุน การปฏิบตั งิ านได้อย่างมีประสทิ ธภิ าพ 2) Monitor การติดตามตรวจสอบ ซึ่งประกอบไปด้วยการติดตามการใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ การเรียกดูสถานะอุปกรณ์เคลื่อนที่ สามารถทำให้องค์กรทราบถึงสถานะในปัจจุบัน ของอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่มีการใช้งาน ว่าเป็นลักษณะ Active หรือ Inactive รวมถึง การจัดทำรายงานต่าง ๆ อาทิ รายงานสถานะของอุปกรณ์เคลื่อนที่ รายงาน การใชง้ าน 3) Secure ความปลอดภัย ซึ่งประกอบไปด้วยการกำหนดให้มีการใช้รหัสผ่านเพื่อเข้าใช้อุปกรณ์ เคลื่อนที่ การสั่งห้ามเข้าระบบ หรือ ปิดอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบ Remote การลบข้อมูล ทั้งหมดในอุปกรณ์เคลื่อนที่ หรือลบข้อมูลที่เป็นขององค์กร ในกรณีที่อุปกรณ์เคลื่อนท่ี สูญหายหรือถูกขโมย ความสามารถดังกล่าวเป็นการเพิ่มความมั่นคงความปลอดภัย ให้แก่อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่นำมาใช้ในองค์กร และเป็นการป้องกันข้อมูลรั่วไหล (Data Loss Prevention: DLP) หน้า 3-5

บทท่ี 3: ทิศทางของการใชร้ ะบบสารสนเทศ ดังนั้น การนำเอาเทคโนโลยีการบริหารจัดการอุปกรณ์เคลื่อนที่มาใช้งานในสำนักงาน ป.ป.ส. เป็นการเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบเครือข่ายในปัจจุบันให้สามารถรองรับการใช้งานผ่าน อุปกรณ์เคลือ่ นที่ได้อย่างปลอดภัย เป็นการใช้ทรัพยากรระบบเครือข่ายที่มอี ยู่ให้เกดิ ประโยชน์สูงสุด และ เปน็ การเพิม่ ความสะดวกให้แก่ผู้ใชง้ าน 3.1.4 ระบบเครอื ข่ายแบบ Software Defined Networking (SDN) ระบบเครือข่ายถือเป็นหัวใจสำคัญของการใช้งานระบบสารสนเทศภายในองค์กร การบริหารจัดการอุปกรณ์เครือข่ายที่เหมาะสมสามารถทำให้ระบบเครือข่ายทำงานได้อย่างเต็ม ประสิทธภิ าพ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ผูด้ ูแลระบบเครือขา่ ยจะพบอยู่เสมอ คือ การตั้งคา่ อุปกรณ์เครือข่าย ซึ่งมีความแตกต่างไปตามผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละราย ทำให้ผู้ดูแลระบบเครือข่ายมีภาระงาน ในการตั้งค่าอุปกรณ์ให้เหมาะสม เพื่อให้ระบบเครือข่ายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ หากระบบสารสนเทศต่าง ๆ ที่ใช้ในองค์กรมีความต้องการทรัพยากรระบบเครือข่าย ที่ไม่เหมือนกัน ส่งผลให้การตั้งค่าอุปกรณ์เครือข่ายมีความซับซ้อนมากขึ้น การตั้งค่าอุปกรณ์ที่ไม่ เหมาะสมเป็นการลดประสิทธิภาพการทำงานของระบบเครือข่าย เพื่อเป็นการแก้ปัญหานี้เทคโนโลยี เครือข่ายรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Software Defined Networking (SDN) ได้รับการพัฒนาและเร่ิม นำมาใช้ควบคุมจากระบบเครือข่าย แนวคิดของระบบเครือข่ายแบบ SDN เป็นสถาปัตยกรรมของระบบ เครือข่ายท่ีแยก Control Plane และ Data Plane ออกจากกัน โดยท่ี Control Plane เป็นการควบคุม การทำงานของอุปกรณ์เครือข่าย และการกำหนดเส้นทางในการรับส่งข้อมูล ให้มารวมอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ควบคุมและในสว่ นของ Data Plane ทอี่ ยใู่ น Infrastructure Layer เปน็ การทำงานของอุปกรณเ์ ครือขา่ ย ในการสง่ ขอ้ มลู จากต้นทางไปยังปลายทาง แสดงดงั ภาพ 3.1-4 ภาพ 3.1-4 สถาปัตยกรรมระบบเครือขา่ ยแบบ SDN3 3 www.opennetworing.org หน้า 3-6

บทท่ี 3: ทศิ ทางของการใช้ระบบสารสนเทศ การติดต่อระหว่าง Control Plane และ Data Plane เป็นไปตามมาตรฐาน OpenFlow® โดยที่อปุ กรณเ์ ครอื ข่ายท่ีนำมาใช้งานสามารถมาจากผผู้ ลิตทีแ่ ตกต่างกันได้ ระบบเครือข่าย SDN สามารถ แก้ไขปัญหาการตั้งค่าอุปกรณ์โดยที่ผู้ดูแลระบบเครือข่ายสามารถจัดการตั้งค่าอุปกรณ์ในจุดเดียว ผ่านซอฟต์แวร์ควบคุม เมื่อมีอุปกรณ์เครือข่ายใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาในระบบไม่จำเป็นต้องตั้งค่าหรือแก้ไข ค่าที่ตัวอุปกรณ์เครือข่าย แต่เป็นการตั้งค่า หรือ แก้ไขจากซอฟต์แวร์ควบคุม นอกจากน้ี ยังมี API ที่รองรับการร้องขอทรัพยากรเครือข่ายจากระบบสารสนเทศโดยตรง ทำให้การควบคุมระบบเครือข่าย และเส้นทางการสง่ ข้อมลู ท่ดี ที ่สี ดุ มคี วามยดื หยนุ่ สูง สามารถเปล่ยี นแปลงใหส้ อดรบั กับความหนาแนน่ ของ ระบบเครือข่าย การจัดสรรทรัพยากรระบบเครือข่ายในภาพรวมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น นอกจากน้ี ระบบเครือข่ายแบบ SDN เป็นเทคโนโลยีเปิดไม่ผูกติดกับผู้ผลิตรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น อุปกรณ์เครือข่าย ของผู้ผลิตรายใดก็ตาม สามารถควบคุมจัดการผ่านโปรโตคอลกลางที่เรียกว่า OpenFlow ทำให้ การจัดซื้ออุปกรณ์เครือข่ายและการปรับเปลี่ยนขนาดของระบบเครือข่ายสามารถทำได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังมตี ้นทุนในการจดั ซอ้ื อุปกรณเ์ ครือขา่ ยทลี่ ดลง เพราะไม่ถกู ผกู ขาดด้วยผผู้ ลิตรายใดรายหนงึ่ จะเห็นได้ว่าการนำเอาเทคโนโลยีเครือข่ายแบบ SDN มาใช้ เป็นการลดภาระการบริหารจัดการ และความผิดพลาดที่อาจเกิดจากผู้ดูแลระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายมีความยืดหยุ่นสูงสามารถ ตอบสนองต่อความต้องการการใชท้ รัพยากรที่เปล่ียนแปลงตลอดเวลา ต้นทุนในการจัดสร้างและการดูแล ระบบเครือข่ายลดลง เนื่องจากเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบ SDN เปน็ เทคโนโลยีใหม่ สำนกั งาน ป.ป.ส. ควรมีการศึกษา และมีการเตรียมความพร้อมในการนำเอาเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในองค์กร รวมถึงการเตรียมบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถนำเอาเทคโนโลยีดังกล่าว มาใชใ้ หเ้ กดิ ประสิทธิภาพสงู สุด 3.2 ภาพรวมของเทคโนโลยีทใ่ี ช้ของสำนกั งาน ป.ป.ส. การตอบสนองนโยบายของรัฐบาล โดยการมุ่งสู่การพัฒนารัฐบาลดิจิทลั (Digital Government) การออกแบบและปรับเปลี่ยนรูปแบบบริการของภาครัฐ โดยอาศัยข้อมูลดิจิทัลเพื่อสร้างบริการของรัฐ ในรูปแบบใหม่ ผ่านเทคโนโลยี Mobile Social Cloud Technology ในยุคอินเทอร์เน็ต โดยมีลักษณะ 3 ประการได้แก่ 1) Reintegration: การบรู ณาการการทำงานของหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ เขา้ ด้วยกนั เพือ่ ให้เกิด การกำกับควบคมุ การบริหารภาครฐั ที่มีประสิทธิภาพ 2) Needs-based holism: การปรับปรุงองค์กรภาครัฐเพื่อให้เกิดการให้บริการสาธารณะ ท่ีใหค้ วามสำคัญตอ่ การนำความต้องการของประชาชนเปน็ ศูนยก์ ลาง หน้า 3-7

บทที่ 3: ทิศทางของการใช้ระบบสารสนเทศ 3) Digitalization: การใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ในการนำระบบบริหารสารสนเทศมาใช้ รวมถึง การให้ความสำคัญต่อการสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตซึ่งจะเข้ามา แทนที่วิธีการทำงาน แบบเดิม (ที่มา: http://www.digitalthailand.in.th/glossary/glossary2) จากการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของสำนักงาน ป.ป.ส. มุ่งเน้นการเป็น iONCB ที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรปุ ได้ 4 ประเดน็ หลัก คอื Smart, Safe, Secure และ Social - Smart คือ การทำงานของระบบสารสนเทศที่ชาญฉลาดมากขึ้น ทำงานได้อย่าง คล่องตัว และสามารถทำงานได้จากทกุ ที่ ทุกเวลา - Safe คือ ความปลอดภยั ของระบบสารสนเทศ และการใช้ขอ้ มลู สารสนเทศ - Secure คือ การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความมั่นคงปลอดภัย ทั้งด้านการบริหาร จัดการ และการปอ้ งกันการเข้าถงึ ระดบั สูง - Social คือ การเชอื่ มโยงข้อมูลสู่สงั คม และประชารัฐ มีการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ปรับเข้าหาผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น มีการปรับปรุงกระบวนการทำงาน ที่กระชับ มีการนำเข้าข้อมูลจากที่เดียว ลดการนำเข้าข้อมูล ข้อมูลมาจากแหล่งเดียว ลดความซ้ำซ้อน เน้นการทำงานที่สะดวก ใช้งานง่าย สามารถใช้งานได้จากทุกที่ ทุกเวลา และมีการรักษาความปลอดภัย ที่เหมาะสม ตวั อย่างระบบสารสนเทศรปู แบบใหมข่ องสำนักงาน ป.ป.ส. ดงั ภาพ 3.2-1 ถึง ภาพ 3.2-2 ภาพ 3.2-1 ตวั อยา่ งหนา้ จอ ระบบสารสนเทศรปู แบบใหม่ของสำนกั งาน ป.ป.ส. หน้า 3-8

บทที่ 3: ทศิ ทางของการใช้ระบบสารสนเทศ ภาพ 3.2-2 ตวั อยา่ งหน้าจอ ระบบสารสนเทศรปู แบบใหมข่ องสำนกั งาน ป.ป.ส. ระบบสารสนเทศรูปแบบใหม่สามารถพิมพ์คำสั่ง อาทิ การจดรายงาน การบันทึกความคืบหน้าคดี การบันทึกแผนที่ และเวลา เพื่อจดรวบรวมเป็นรายงานตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ ณ เวลาปัจจุบัน รวมถึง การค้นหาข้อมูลได้จากระบบสารสนเทศเดียว อีกทั้งระบบยังสามารถนำเข้าข้อมูลได้เองในหลายส่วน เช่น ตำแหน่งของสถานที่ วันเวลา ถ้ามีการถ่ายรูปสถานที่ไว้ ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องใส่ข้อมูลเหล่านั้น อีก ระบบสามารถดึงข้อมูลของผู้ต้องสงสัยที่ผู้ใช้งานค้นหาโดยใช้ชื่อ จริงหรือชื่อเล่นได้ในหน้าจอเดียว ในระบบเดียว และท้ายสุดระบบสามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์ หรือ จัดทำรายงานได้ โดยไมต่ ้องนำเข้าขอ้ มูลที่ซำ้ ซ้อน หนา้ 3-9

บทท่ี 4 วสิ ยั ทศั น์ ยทุ ธศาสตร์ และโครงการ ในบทนี้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และโครงการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของสำนักงาน ป.ป.ส. เพื่อเป็นนโยบายในการกำหนดทิศทางด้านการพัฒนา การบริหารจัดการ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2565 ซึ่งการกำหนดวิสัยทศั น์ ยุทธศาสตร์ และโครงการนี้เปน็ ผล มาจากการศึกษาวิเคราะห์สภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของสำนักงาน ป.ป.ส. โดยการศึกษานโยบาย ของผู้บริหารระดับสูง ความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งการดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยสำนักงาน ป.ป.ส. ได้กำหนดวสิ ัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ 5 ดา้ น ดังนี้ 4.1 แนวทางของแผนฯ เพอ่ื ตอบสนองตอ่ ภารกจิ ตา่ ง ๆ ของสำนักงาน ป.ป.ส. ยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของสำนักงาน ป.ป.ส. ประกอบไปด้วยยุทธศาสตร์ 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ ด้านการปราบปรามยาเสพติด ด้านป้องกันยาเสพติด ด้านบำบัดรักษายาเสพติด ด้านการต่างประเทศ และดา้ นบรหิ ารจดั การ ซึง่ ภาพรวมยทุ ธศาสตรเ์ ทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สารแสดง ดังภาพ 4.1-1 ภาพ 4.1-1 ภาพรวมยทุ ธศาสตรเ์ ทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอื่ สาร หนา้ 4-1

บทที่ 4: วสิ ยั ทศั น์ ยทุ ธศาสตร์ และโครงการ 4.2 วิสัยทศั น์ ยุทธศาสตร์ ความสมั พนั ธ์ระหวา่ งยุทธศาสตรต์ ่าง ๆ 4.2.1 วิสยั ทศั น์เทคโนโลยีดจิ ิทลั iONCB พัฒนาระบบ ICT แบบอจั ฉรยิ ะ ทสี่ ามารถเขา้ ถงึ ได้อย่างปลอดภยั จากทกุ ทที่ ุกเวลา เพ่ือประสิทธิภาพการทำงาน และบริหารงานของสำนักงาน ป.ป.ส. 4.2.2 ยทุ ธศาสตรเ์ ทคโนโลยีดิจทิ ัลของสำนักงาน ป.ป.ส. ตาราง 4.2-1 ยทุ ธศาสตรเ์ ทคโนโลยีดจิ ทิ ัลของสำนกั งาน ป.ป.ส. ยทุ ธศาสตร์ ประเดน็ ยทุ ธศาสตร์ ยุทธศาสตรท์ ่ี 1 : การ เพ่ิมสมรรถนะของระบบโครงสรา้ งพื้นฐานด้านเทคโนโลยสี ารสนเทศ พัฒนาโครงสรา้ งพืน้ ฐาน และการส่อื สาร อาทิ ระบบเครอื ขา่ ย ระบบคอมพิวเตอร์ อปุ กรณค์ อมพิวเตอร์ เพอ่ื รองรบั การปฏิบตั ิงาน และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และการใหบ้ ริการไดท้ ุกที่ และการสื่อสาร ระบบสอื่ สารสารสนเทศ โดยการปรบั ปรุงทรัพยากรที่มีอยู่เดิม ทกุ เวลาอย่างมน่ั คงและ เพ่ือเพิ่มเติมประสิทธิภาพ จัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มสมรรถนะ ปลอดภยั รองรบั ระบบสารสนเทศที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต ยุทธศาสตรท์ ี่ 2 : การ เพิ่มขีดความสามารถการบริหารด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ผลักดันนโยบายการ พัฒนาระบบบริหารจดั การ จัดทำมาตรฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ให้มีความสอดคล้องสามารถรองรับการ การใชเ้ ทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ดำเนินงานตามภารกิจหลักทั้ง 4 แผนของสำนักงาน ป.ป.ส. และรองรับ ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอนาคต ตลอดจนการบริหารจัดการ การใช้งานด้านเทคโนโลยีดจิ ิทลั อย่างคมุ้ คา่ และเกิดประโยชนส์ ูงสดุ ยทุ ธศาสตร์ท่ี 3 : การ มุ่งเน้นการพัฒนาระบบอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเน้นการพัฒนาระบบ พฒั นาระบบสารสนเทศ ท่ีคำนึงถึงพฤติกรรมการใช้งานจริงของผู้ใช้งาน และการพัฒนาระบบ เพอ่ื สนับสนนุ การบริหาร ที่สามารถช่วยเหลือผู้ใช้งานในการเก็บและค้นหาข้อมูลที่ง่ายต่อการใช้งาน การปฏบิ ตั ิงาน และการ กำหนดแนวทางการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารควบคู่ บริการเทคโนโลยีดจิ ทิ ัล ไปกับการปฏบิ ัตงิ านตามภารกิจหลักของสำนกั งาน ป.ป.ส. อย่างบูรณาการ ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 4 : การ พัฒนาทุนมนุษย์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มุ่งเน้นให้บุคลากร พฒั นาบุคลากร สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รองรับการทำงาน เพ่ือรองรับการทำงาน ในยคุ ดจิ ทิ ลั ในยุคดจิ ิทัล หนา้ 4-2

บทที่ 4: วิสยั ทศั น์ ยทุ ธศาสตร์ และโครงการ 4.2.3 ความสัมพันธ์แผนปฏิบัติการดิจิทัลสำนักงาน ป.ป.ส. กับยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนา ดจิ ทิ ลั เพ่อื เศรษฐกจิ และสังคม (Digital Thailand) แผนพฒั นาดจิ ทิ ัลเพอื่ เศรษฐกิจและสังคม (Digital Thailand) ภาพ 4.2-1 วสิ ยั ทศั น์ “ปฏริ ปู ประเทศไทยสู่ยุคดจิ ิทลั ไทยแลนด”์ เพื่อให้วิสัยทัศน์และเป้าหมายในการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลบรรลุผล แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Thailand) จึงได้กำหนด กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนา 6 ด้าน คือ ภาพ 4.2-2 กรอบยทุ ธศาสตร์การพฒั นาดจิ ทิ ัลเพอื่ เศรษฐกจิ และสังคม (Digital Thailand) หนา้ 4-3

บทที่ 4: วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และโครงการ ตาราง 4.2-2 ยุทธศาสตรแ์ ผนพัฒนาดจิ ทิ ลั เพ่ือเศรษฐกจิ และสังคม (Digital Thailand) แผนพฒั นาดจิ ทิ ัลเพือ่ เศรษฐกิจและสงั คม (Digital Thailand) ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 1 พัฒนาโครงสรา้ งพื้นฐานดจิ ิทัลประสทิ ธภิ าพสูงให้ครอบคลุมท่ัวประเทศ ยทุ ธศาสตร์ที่ 2 ขบั เคลอ่ื นเศรษฐกิจดว้ ยเทคโนโลยดี จิ ทิ ลั ยทุ ธศาสตร์ที่ 3 สร้างสงั คมคณุ ภาพทท่ี ว่ั ถึงเท่าเทยี มด้วยเทคโนโลยีดิจทิ ลั ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรบั เปลยี่ นภาครฐั สู่การเปน็ รฐั บาลดิจิทัล ยุทธศาสตรท์ ่ี 5 พัฒนากำลังคนใหพ้ ร้อมเข้าสูย่ คุ เศรษฐกิจและสงั คมดจิ ิทัล ยทุ ธศาสตร์ที่ 6 สรา้ งความเช่ือมน่ั ในการใช้เทคโนโลยดี ิจทิ ัล เปา้ หมายและตัวชี้วดั ความสำเร็จ 1) เพิม่ ขีดความสามารถ ในการแขง่ ขนั ก้าวทนั เวทีโลก 2) สรา้ งโอกาสทางสังคม อย่างเท่าเทียม 3) พฒั นาทุนมนุษย์สยู่ ุคดจิ ิทลั 4) ปฏิรูปกระบวนทศั นก์ ารทำงาน และการให้บรกิ ารของภาครฐั จากการศกึ ษาแผนพัฒนาดิจิทัลเพ่อื เศรษฐกจิ และสังคม (Digital Thailand) พบวา่ ยทุ ธศาสตรท์ ี่ ควรนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกบั การจดั ทำแผนปฏบิ ัติการดจิ ิทลั สำนักงาน ป.ป.ส. ดงั ภาพ 4.2-3 หน้า 4-4

ภาพ 4.2-3 ความสัมพนั ธ์แผนปฏิบตั ิการดิจทิ ัลสำนกั งาน ป.ป.ส. กบั ยทุ ธศาสตร์ขอ แผนพฒั นาดิจิทลั เพือ่ เศรษฐกิจแ ยทุ ธศาสตร์ท่ี 1 ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 2 ยุทธศาสตรท์ ี่ 3 พัฒนาโครงสร้าง ขบั เคลอื่ นเศรษฐกจิ สรา้ งสังคมคุณภาพ พนื้ ฐานดิจิทลั ทท่ี ว่ั ถึงเทา่ เทยี ม ประสทิ ธิภาพสูงให้ ดว้ ยเทคโนโลยี ครอบคลุมทวั่ ประเทศ ดิจทิ ลั ดว้ ยเทคโนโลยี ดิจทิ ัล แผนปฏิบัติการด ยุทธศาสตรท์ ี่ 1 : การพัฒนาโครงสร้างพ้นื ฐานเพอื่ รองรบั การปฏิบัตงิ านและการให้บริการได้ทุกที่ ทุกเวลาอย่างมน่ั คงและปลอดภยั ยุทธศาสตรท์ ี่ 2 : การพัฒนาระบบบริหารจดั การ การใชเ้ ทคโนโลยดี ิจิทลั

บทที่ 4: วสิ ยั ทศั น์ ยุทธศาสตร์ และโครงการ องแผนพัฒนาดจิ ิทลั เพ่อื เศรษฐกิจและสังคม (Digital Thailand) และสงั คม (Digital Thailand) ยุทธศาสตรท์ ่ี 4 ยทุ ธศาสตร์ที่ 5 ยทุ ธศาสตร์ท่ี 6 ปรบั เปลีย่ นภาครัฐสู่ พัฒนากำลังคนให้ สร้างความเช่อื มั่นใน การเป็นรัฐบาลดิจิทลั พรอ้ มเขา้ สยู่ คุ การใช้เทคโนโลยี เศรษฐกจิ และสังคม ดิจิทัล ดจิ ิทลั ดิจิทลั สำนักงาน ป.ป.ส. ยทุ ธศาสตรท์ ่ี 3 : การพฒั นาระบบสารสนเทศเพอื่ สนบั สนนุ การบรหิ าร การปฏบิ ัติงาน และการ บรกิ ารเทคโนโลยีดจิ ิทลั ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 4 การพฒั นาบคุ ลากรเพอื่ รองรบั การ ทำงานในยคุ ดิจิทลั หนา้ 4-5

บทท่ี 4: วิสัยทัศน์ ยทุ ธศาสตร์ และโครงการ 4.2.4 ความสัมพันธ์แผนปฏิบัติการดิจิทัลสำนักงาน ป.ป.ส. กับ แผนปฏิบัติการดิจิทัล กระทรวงยตุ ิธรรม ตาราง 4.2-3 แผนปฏบิ ัติการดจิ ิทลั กระทรวงยตุ ธิ รรม แผนปฏิบัตกิ ารดิจิทัลกระทรวงยตุ ธิ รรม ยทุ ธศาสตร์ท่ี 1 ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการปฏิบัติงานและการให้บริการทั่วถึง มั่นคง และ ปลอดภยั ยุทธศาสตรท์ ่ี 2 เสรมิ สร้างมาตรฐานและผลกั ดันการใชเ้ ทคโนโลยีดจิ ิทัลเพอื่ ขับเคลื่อนกระทรวงยุตธิ รรม ยุทธศาสตร์ที่ 3 ม่งุ สู่การพัฒนาระบบสารสนเทศเพือ่ การบรหิ าร การปฏบิ ัติงาน และการบริการท่ีเป็นเลิศ ยทุ ธศาสตรท์ ่ี 4 พัฒนาบุคลากรเข้าสยู่ ุคดิจทิ ลั จากการศึกษาแผนปฏิบัติการดิจิทัลกระทรวงยุติธรรม พบว่า ยุทธศาสตร์ที่ควรนำมา ประยุกตใ์ ช้ร่วมกบั การจดั ทำแผนปฏบิ ตั ิการดจิ ทิ ัลสำนักงาน ป.ป.ส. ดังภาพ 4.2-4 แผนปฏบิ ัติการดิจิทัล กระทรวงยุติธรรม ยทุ ธศาสตร์ที่ 1 : ยทุ ธศาสตรท์ ่ี 2 : ยุทธศาสตรท์ ่ี 3 : ม่งุ สู่ ยุทธศาสตร์ท่ี 4 : ยกระดับโครงสรา้ ง เสริมสร้างมาตรฐาน การพัฒนาระบบ พัฒนาบคุ ลากรเข้าสยู่ ุค พื้นฐานสนบั สนนุ การ และผลักดนั การใช้ สารสนเทศเพ่ือการ ปฏิบตั ิงานและการ เทคโนโลยดี จิ ิทลั เพอ่ื ดิจทิ ัล ใหบ้ รกิ ารทั่วถึง มนั่ คง ขับเคลื่อนกระทรวง บรหิ าร การปฏบิ ัติงาน และการบรกิ ารทเ่ี ปน็ และปลอดภยั ยุติธรรม เลศิ แผนปฏบิ ัตกิ ารดจิ ิทลั สำนกั งาน ป.ป.ส. ยทุ ธศาสตร์ท่ี 1 : การพฒั นาโครงสร้างพื้นฐาน ยุทธศาสตรท์ ี่ 3 : การพฒั นาระบบสารสนเทศ เพือ่ รองรบั การปฏบิ ตั ิงานและการให้บริการไดท้ ุก เพ่อื สนบั สนนุ การบริหาร การปฏิบตั งิ าน และ ที่ ทกุ เวลาอย่างมนั่ คงและปลอดภยั การบรกิ ารเทคโนโลยดี ิจิทัล ยุทธศาสตรท์ ี่ 2 : การพัฒนาระบบบรหิ ารจดั การ ยทุ ธศาสตรท์ ่ี 4 : การพัฒนาบคุ ลากรเพอื่ การใชเ้ ทคโนโลยดี ิจิทลั รองรบั การทำงานในยคุ ดจิ ิทลั ภาพ 4.2-4 ความสมั พันธแ์ ผนปฏบิ ตั ิการดจิ ิทลั สำนักงาน ป.ป.ส. กบั ยุทธศาสตรข์ องแผนปฏิบตั ิการ ดจิ ิทลั กระทรวงยุตธิ รรม หนา้ 4-6

บทท่ี 4: วิสัยทศั น์ ยุทธศาสตร์ และโครงการ 4.2.5 รายละเอียดแผนงาน โครงการ จากการศึกษาความสัมพันธ์และความสอดคล้องของแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม (Digital Thailand) แผนปฏิบัติการดิจิทัลกระทรวงยุติธรรม และประเด็นการขับเคลื่อนและแนว ทางการขบั เคลอื่ นตามแผนปฏบิ ัตกิ ารดา้ นดจิ ิทัลเพอ่ื เศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) ดังกล่าว ในบทที่ 2 แล้ว สำนักงาน ป.ป.ส. ได้จัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลสำนักงาน ป.ป.ส. ปี พ.ศ. 2561-2565 ใน 4 ยุทธศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยแผนงานและโครงการต่าง ๆ ซึ่งจะแสดงรายละเอียดแยกตามยุทธศาสตร์ พรอ้ มทงั้ วัตถุประสงค์ ตัวช้ีวัด และระยะเวลาดำเนนิ การในแตล่ ะโครงการ แผนปฏิบัติการดิจิทัลสำนักงาน ป.ป.ส. ฉบับนี้ประกอบไปด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลักซึ่งภายใต้ แตล่ ะยทุ ธศาสตรม์ ีแผนงาน โครงการ และกรอบระยะเวลาการดำเนินงาน ดงั นี้ หนา้ 4-7

ตาราง 4.2-4 ยุทธศาสตรท์ ี่ 1 : การพฒั นาโครงสรา้ งพื้นฐานเพอ่ื รองรบั การปฏบิ ัตงิ านและการให แผนงาน 1 : พฒั นาโครงสรา้ งพ้นื ฐานเพ่อื ยกระดับการให้บรกิ าร ยุทธศาสตรท์ ่ี 1 : การพฒั นาโครงสรา้ งพ้ืนฐานเพอื่ รองรับการปฏบิ ตั ิงานและการให้บรกิ ารได้ทกุ ท แผนงาน 1 : พัฒนาโครงสรา้ งพนื้ ฐานเพือ่ ยกระดบั การใหบ้ ริการ วตั ถปุ ระสงค์ : 1. เพ่ือปรับปรุงและเพมิ่ ประสิทธภิ าพการบริการโครงสรา้ งพื้นฐานของสำนักงาน ป 2. เพื่อปรับปรุงระบบเครอื ข่ายในการให้บริการอย่างครอบคลมุ และมีประสิทธิภาพ 3. เพอื่ จัดหาเครอ่ื งมือและอุปกรณ์คอมพวิ เตอรท์ ท่ี นั สมยั มีประสทิ ธภิ าพในการปฏ 4. เพอ่ื ขยายและเพ่มิ รูปแบบการให้บริการโครงสรา้ งพืน้ ฐานในระบบ Cloud Com ลำดบั ชื่อโครงการ ตัว 1 โครงการจัดหาเครือ่ งคอมพวิ เตอร์ลูกข่ายและ ในระยะเวลา 5 ปี เคร่ืองคอมพิว อปุ กรณค์ อมพวิ เตอร์ กวา่ รอ้ ยละ 90 ถกู ทดแทนด้วยเ 2 โครงการปรับปรงุ ประสิทธภิ าพระบบเครือขา่ ย ระบบเครือข่ายของสำนกั งาน ป ประสิทธิภาพ และมีความพรอ้ ม ของเวลาทำการและประสทิ ธิภา 3 โครงการปรับปรงุ ประสทิ ธภิ าพระบบเครือขา่ ย ระบบเครอื ขา่ ยของสำนกั งาน ป (เพม่ิ เตมิ ) มคี วามพร้อมให้บริการอย่างต่อ ระดับ 10 Gbps 4 โครงการจัดหาเครือ่ งคอมพวิ เตอร์แมข่ ่ายเพ่ือเสริม ระบบสารสนเทศยาเสพตดิ จังหว ประสิทธิภาพระบบสารสนเทศสำนักงาน ป.ป.ส. ยาเสพติดจงั หวัด (PNARS) ของ ประสิทธภิ าพ และมคี วามสามา กว่า 5,000 ผู้ใชงาน และระบบเ

บทท่ี 4: วสิ ยั ทศั น์ ยทุ ธศาสตร์ และโครงการ ห้บริการไดท้ ุกที่ ทกุ เวลา อย่างมนั่ คงและปลอดภยั ที่ ทุกเวลา อยา่ งม่นั คงและปลอดภยั ป.ป.ส. พ ฏบิ ัติงาน mputing วชว้ี ัดความสำเรจ็ ระยะเวลาดำเนินการ 2561 2562 2563 2564 2565 วเตอร์ PC ท่ีมีอายุการใชง้ านเกนิ 5 ปี ไมน่ ้อย      เคร่ืองคอมพิวเตอร์ PC ทม่ี ปี ระสทิ ธิภาพสงู ป.ป.ส. สามารถให้บริการไดอ้ ยา่ งมี  มในการใหบ้ ริการไม่นอ้ ยกว่ารอ้ ยละ 90 าพการรับ-สง่ ข้อมลู ในระดับ 10 Gbps ป.ป.ส. สามารถให้บรกิ ารได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อเนอื่ ง และประสทิ ธิภาพการรบั -สง่ ขอ้ มลู ใน วดั (NISPA) และระบบเฝา้ ระวังการแพรร่ ะบาด  งสำนกั งาน ป.ป.ส. สามารถใหบรกิ ารไดอ้ ยา่ งมี ารถรองรบั การนำเข้าขอ้ มลู พรอมกันได้ไม่นอ้ ย หนา้ 4-8 เฝ้าระวังการแพรร่ ะบาดยาเสพติดอาเซยี น

ยทุ ธศาสตร์ท่ี 1 : การพฒั นาโครงสร้างพื้นฐานเพ่อื รองรบั การปฏิบัตงิ านและการให้บริการไดท้ ุกท แผนงาน 1 : พัฒนาโครงสรา้ งพ้ืนฐานเพอ่ื ยกระดบั การใหบ้ ริการ วัตถปุ ระสงค์ : 1. เพ่อื ปรับปรงุ และเพม่ิ ประสทิ ธภิ าพการบรกิ ารโครงสรา้ งพื้นฐานของสำนกั งาน ป 2. เพือ่ ปรับปรงุ ระบบเครอื ขา่ ยในการให้บริการอยา่ งครอบคลุมและมีประสทิ ธิภาพ 3. เพือ่ จดั หาเคร่อื งมอื และอปุ กรณค์ อมพวิ เตอรท์ ี่ทนั สมัยมปี ระสทิ ธิภาพในการปฏ 4. เพื่อขยายและเพ่มิ รปู แบบการใหบ้ รกิ ารโครงสร้างพน้ื ฐานในระบบ Cloud Com ลำดบั ช่ือโครงการ ตัว 5 โครงการจัดหาอุปกรณค์ อมพวิ เตอร์รองรับ ระบบบริหารจดั การวัสดุครภุ ัณฑ ระบบงานด้านการสืบสวน สปป. ป.ป.ส. ระบบสนบั สนุนการบรกิ Center Support System) ระ 6 โครงการย้ายระบบข้อมูลเพือ่ ตดิ ต้ังบนระบบ อุปกรณ์เคล่อื นที่ระบบบริหารจ Cloud Computing Self-Service) มคี วามพร้อมใช้ง ระบบสารสนเทศสำนักงาน ป.ป 7 โครงการจดั หาเครือขา่ ยแบบไร้สาย ป้องกันและปราบปรามยาเสพต (Wireless LAN) สำนกั งาน ปปส. ภาค 1 สำนกั งาน ป.ป.ส. สามารถบรหิ า และ ปปส. ภาค 7 แมข่ า่ ยและสามารถใชท้ รพั ยากร อยา่ งมีประสิทธิภาพ รองรบั การ อนาคต สำนักงาน ปปส.ภ.1 และ ภ.7 ส ใช้ระบบเทคโนโลยสี ารสนเทศได ดว้ ยเทคโนโลยี แบบเครอื ข่าย ไ

บทท่ี 4: วสิ ยั ทศั น์ ยทุ ธศาสตร์ และโครงการ ที่ ทุกเวลา อย่างม่นั คงและปลอดภยั ป.ป.ส. พ ฏิบัติงาน mputing วช้วี ดั ความสำเรจ็ ระยะเวลาดำเนินการ 2561 2562 2563 2564 2565 ฑอ์ เิ ล็กทรอนกิ ส์ ระบบสารสนเทศเจ้าพนักงาน การเทคโนโลยสี ารสนเทศทางโทรศพั ท์ (IT Call ะบบการบรหิ ารจดั การสิทธิ์การใชง้ านเครือข่าย จดั การรหัสผา่ นผู้ใชง้ านดว้ ยตนเอง (Password งาน ป.ส. สามารถสนับสนุนการดำเนนิ งานการ  ตดิ ได้อย่างมปี ระสิทธภิ าพ ารจดั การทรัพยากรของเคร่อื งคอมพวิ เตอร์      รเครื่องคอมพวิ เตอร์แม่ขา่ ยรว่ มกนั ได้ รขยายตวั ของระบบสารสนเทศทจ่ี ะเกิดขนึ้ ใน สามารถเชื่อมต่อระบบอินเตอรเ์ นต็ และสามารถ  ด้บนทุกอปุ กรณ์ และทุกทภี่ ายในสำนักงาน ไร้สาย (Wireless LAN) ท่ีมคี วามปลอดภัย หนา้ 4-9

ยุทธศาสตรท์ ่ี 1 : การพัฒนาโครงสรา้ งพ้นื ฐานเพ่ือรองรับการปฏิบัติงานและการใหบ้ รกิ ารไดท้ กุ ท แผนงาน 1 : พัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานเพือ่ ยกระดบั การใหบ้ ริการ วตั ถปุ ระสงค์ : 1. เพอ่ื ปรับปรุงและเพมิ่ ประสิทธิภาพการบริการโครงสรา้ งพ้นื ฐานของสำนกั งาน ป 2. เพือ่ ปรับปรงุ ระบบเครือขา่ ยในการใหบ้ ริการอยา่ งครอบคลุมและมีประสทิ ธิภาพ 3. เพือ่ จดั หาเครือ่ งมอื และอุปกรณ์คอมพิวเตอรท์ ี่ทนั สมยั มีประสทิ ธิภาพในการปฏ 4. เพอื่ ขยายและเพ่ิมรูปแบบการใหบ้ ริการโครงสรา้ งพื้นฐานในระบบ Cloud Com ลำดับ ช่อื โครงการ ตวั 8 โครงการทดสอบแผนการบริหารความตอ่ เนอ่ื ง จำนวนชวั่ โมงกคู้ ืนระบบและกา (Business Continuity Plan : BCP) ในการดำเนินงาน (Business C ต้องไมเ่ กิน 12 ชว่ั โมง 9 โครงการเสรมิ ประสทิ ธิภาพระบบสำรองข้อมลู พน้ื ทีส่ ำหรับการจดั เก็บข้อมูลสำ ขอ้ มูลลดลง 10 โครงการเสริมประสทิ ธภิ าพระบบสำรองขอ้ มูล มีการถ่ายโอนข้อมลู ระหว่างศนู ย (เพ่ิมเตมิ ) ไดร้ วดเร็วขนึ้ ทำให้การก้คู ืนระบ ความต่อเนือ่ งพร้อมให้บรกิ ารตร การสำรองขอ้ มลู ทมี่ ีความใกล้เค คอมพิวเตอรแ์ ม่ขา่ ยรองรับการก ได้ และเมื่อมภี าวะฉกุ เฉิน สำนกั (ระบบงานสารสนเทศยาเสพติด ระบบงานการบรหิ ารจดั การบัญ ในเวลา 3 ชม. และรองรบั ข้อมลู

บทท่ี 4: วสิ ยั ทศั น์ ยุทธศาสตร์ และโครงการ ท่ี ทกุ เวลา อย่างมน่ั คงและปลอดภัย ป.ป.ส. พ ฏบิ ัติงาน mputing วชว้ี ดั ความสำเรจ็ ระยะเวลาดำเนินการ 2561 2562 2563 2564 2565 ารทดสอบแผนการบริหารความตอ่ เนอื่ ง  Continuity Plan : BCP) ของสำนักงาน ป.ป.ส. ำรองมขี นาดลดลงและเวลาทใ่ี ชใ้ นการสำรอง  ย์คอมพวิ เตอรห์ ลักกับศนู ยค์ อมพิวเตอร์สำรอง  บบสารสนเทศทสี่ ำคญั เปน็ ไปตามแผนบริหาร รงตามเปา้ หมายที่กำหนดไว้ รวมถึงรองรบั คียงข้อมูลปัจจบุ นั มากทสี่ ดุ และมรี ะบบ กคู้ นื ระบบสารสนเทศทสี่ ำคัญเพิม่ ข้นึ ในอนาคต กงาน ป.ป.ส. มีระบบงานสามารถเปดิ ใชง้ านได้ ด (NIS) ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (EDF) ญชีผูใ้ ช้ (AD) และรองรบั ระบบเพิ่มใหม่ทีส่ ำคัญ) ลย้อนหลงั ภายใน 30 นาที ถึง 1 วัน หน้า 4-10

ยทุ ธศาสตรท์ ่ี 1 : การพฒั นาโครงสรา้ งพื้นฐานเพ่อื รองรับการปฏิบัตงิ านและการใหบ้ ริการไดท้ กุ ท แผนงาน 1 : พัฒนาโครงสรา้ งพืน้ ฐานเพือ่ ยกระดับการใหบ้ รกิ าร วตั ถปุ ระสงค์ : 1. เพอ่ื ปรับปรุงและเพ่มิ ประสิทธิภาพการบริการโครงสร้างพ้ืนฐานของสำนักงาน ป 2. เพอื่ ปรับปรงุ ระบบเครอื ขา่ ยในการใหบ้ รกิ ารอย่างครอบคลมุ และมปี ระสิทธภิ าพ 3. เพือ่ จัดหาเครื่องมือและอปุ กรณค์ อมพิวเตอร์ที่ทันสมัยมปี ระสทิ ธภิ าพในการปฏ 4. เพอ่ื ขยายและเพิ่มรูปแบบการให้บริการโครงสรา้ งพ้นื ฐานในระบบ Cloud Com ลำดบั ช่ือโครงการ ตัว 11 โครงการเสริมประสิทธภิ าพระบบสำรองขอ้ มูล พน้ื ท่สี ำหรบั การจัดเกบ็ ขอ้ มลู สำ (ระยะท่ี 2) ในการสำรองข้อมลู ขึ้นเทปลดลง สพส. มรี ะบบสำรองข้อมลู ที่มีป 12 โครงการเสริมประสทิ ธภิ าพระบบสำรองข้อมูล สำหรบั สพส.

ที่ ทุกเวลา อย่างม่ันคงและปลอดภัย บทท่ี 4: วิสัยทัศน์ ยทุ ธศาสตร์ และโครงการ ป.ป.ส. ระยะเวลาดำเนินการ พ 2561 2562 2563 2564 2565 ฏบิ ัตงิ าน mputing   วชีว้ ัดความสำเรจ็ ำรองมขี นาดลดลงและระยะเวลาท่ีใช้ งไมน่ อ้ ยกวา่ รอ้ ยละ 50 ประสทิ ธิภาพ หนา้ 4-11

ตาราง 4.2-5 ยุทธศาสตรท์ ่ี 2 : การพฒั นาระบบบรหิ ารจัดการการใช้เทคโนโลยีดจิ ิทัล แผนงาน 1 : สร้างความน่าเชือ่ ถือด้านความม่ันคงปลอดภยั เทคโนโลยีดจิ ิทลั ยุทธศาสตรท์ ่ี 2 : การพฒั นาระบบบริหารจัดการการใชเ้ ทคโนโลยดี ิจทิ ัล แผนงาน 1 : สรา้ งความนา่ เช่อื ถอื ด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยดี ิจิทลั วัตถุประสงค์ : 1. เพือ่ จัดทำนโยบายและแนวปฏบิ ตั ริ ะบบความม่ันคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีด 2. เพื่อสรา้ งความเช่อื มั่นในการใช้เทคโนโลยดี จิ ิทลั ด้วยความมัน่ คงและปลอดภัย ลำดบั ช่อื โครงการ ตวั 1 โครงการทบทวนนโยบายและแนวปฏิบตั ริ ะบบ สำนักงาน ป.ป.ส. มนี โยบายแล ความมนั่ คงปลอดภยั ด้านเทคโนโลยดี ิจทิ ัล และ ดา้ นเทคโนโลยีดิจิทัลและขอ้ มลู จัดทำนโยบายขอ้ มลู ส่วนบุคคล ให้เป็นไปตาม และสอดรบั กับการดำเนินการใ ข้อกำหนดของกฎหมายและมาตรฐานท่เี กย่ี วขอ้ ง ป.ป.ส. รอ้ ยละ 100 2 โครงการจัดหาระบบป้องกันการบุกรุกเครอื ข่าย - สำนักงาน ป.ป.ส. มี ระบบป้อ คอมพวิ เตอร์ สำนกั งาน ป.ป.ส. (ทดแทน) การทำงานปกติและการเข้าไป หรอื เปลี่ยนแปลงการทำงานขอ - สำนักงาน ป.ป.ส. สามารถปอ้ จากการใชง้ านปกตแิ ละจากกา ร้อยละ 100 - สำนักงาน ป.ป.ส. มี ระบบจดั ของระบบการส่อื สารบนเครอื ข Management : SIEM) ท่รี อง คอมพวิ เตอร์ พ.ศ. 2550 และ

บทที่ 4: วสิ ยั ทัศน์ ยุทธศาสตร์ และโครงการ ดิจิทลั ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายและมาตรฐานท่เี กีย่ วขอ้ ง ย วชว้ี ดั ความสำเร็จ ระยะเวลาดำเนินการ 2565 2561 2562 2563 2564 ละแนวปฏบิ ัติระบบความมั่นคงปลอดภยั  ลส่วนบคุ คล ที่รองรับ กฎหมายที่เกี่ยวขอ้ ง ให้บรกิ ารระบบสารสนเทศของ สำนักงาน องกันการโจมตรี ะบบสารสนเทศท้งั ในระดับ  ปเปลยี่ นแปลงเงื่อนไขของระบบ องระบบ ท่ีมีประสทิ ธิภาพสูงสุด องกนั การเปลี่ยนแปลงขอ้ มูลขอ้ สนเทศ ารโจมตขี องผ้ไู มป่ ระสงค์ดี ได้ไม่นอ้ ยกวา่ ดเก็บและวิเคราะหข์ ้อมลู ความปลอดภัย ขา่ ย (Security Information and Event งรับกับ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผดิ ทาง พ.ศ. 2560 อยา่ งแทจ้ ริง หนา้ 4-12

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพฒั นาระบบบริหารจัดการการใชเ้ ทคโนโลยดี จิ ทิ ัล แผนงาน 1 : สร้างความน่าเช่อื ถอื ด้านความมัน่ คงปลอดภยั เทคโนโลยดี ิจทิ ลั วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อจดั ทำนโยบายและแนวปฏบิ ตั ิระบบความมน่ั คงปลอดภยั ดา้ นเทคโนโลยีด 2. เพื่อสร้างความเช่ือมน่ั ในการใชเ้ ทคโนโลยีดจิ ิทัลด้วยความม่ันคงและปลอดภยั ลำดับ ชอ่ื โครงการ ตัว - สำนักงาน ป.ป.ส. สามารถพสิ ละเมดิ ในการใชง้ านระบบสารส ความสมบรู ณ์ของขอ้ มูลสำหรับ 3 โครงการจดั หาระบบตรวจสอบภัยคกุ คามบน สำนักงาน ป.ป.ส. มี ระบบตร เครื่องคอมพวิ เตอร์ลกู ขา่ ย (Endpoint ลูกขา่ ย (Endpoint Detection Detection & Response) ตลอดจนสำนักงาน ป.ป.ส. สาม ใหก้ บั เคร่ืองคอมพิวเตอร์ลูกข่า กว่าร้อยละ 90 4 โครงการจัดหาระบบตรวจสอบการเขา้ รหัสการ สำนกั งาน ป.ป.ส. มรี ะบบตรวจ สื่อสารขอ้ มลู (SSL Inspection System) (SSL Inspection System) แ ระบบสารสนเทศ สำนกั งาน ป ขนั้ สูงสุด ในการทำธรุ กรรมทาง 5 โครงการจดั ซือ้ อุปกรณก์ ารต่อต้านการทำสงคราม สำนักงาน ป.ป.ส. มีระบบปอ้ ง ไซเบอร์ (Cyber Warfare Task Force) ทางไซเบอรบ์ นระบบเครือขา่ ย 6 โครงการศึกษาและเตรียมความพรอ้ มการบริหาร สำนักงาน ป.ป.ส. มรี ะบบการบ จัดการอปุ กรณ์โมบาย (Mobile Device (Mobile/Smart Phone) ทม่ี

บทท่ี 4: วิสยั ทัศน์ ยทุ ธศาสตร์ และโครงการ ดจิ ิทลั ให้เป็นไปตามขอ้ กำหนดของกฎหมายและมาตรฐานทเี่ กี่ยวขอ้ ง ย วชีว้ ัดความสำเรจ็ ระยะเวลาดำเนินการ 2565 2561 2562 2563 2564  สูจนห์ ารอ่ งรอยผกู้ ระทำผดิ เมื่อเกดิ เหตุ สนเทศ ของสำนักงาน ป.ป.ส. ได้ ซึง่ มี บพิสจู น์ ไมน่ ้อยกว่าร้อยละ 90 รวจสอบภยั คุกคามบนเครอ่ื งคอมพิวเตอร์ n & Response) ท่ีมปี ระสิทธิภาพขั้นสงู สดุ มารถปกปอ้ งข้อมลู และรักษาความปลอดภัย าย ของ จา้ หน้าที่ สำนกั งาน ป.ป.ส ไดไ้ มน่ อ้ ย จสอบการเข้ารหัสการสือ่ สารข้อมลู  และระบบกระบวนการเขา้ รหัสข้อมูล ป.ป.ส. ทม่ี ปี ระสทิ ธภิ าพ และมีความปลอดภยั  งอิเลก็ ทรอนิกส์กบั หนว่ ยงานท่เี กี่ยวข้อง  งกนั ภัยคุกคามและความเสีย่ งจากภัยคกุ คาม ยคอมพวิ เตอร์ สำนักงาน ป.ป.ส. บริหารจัดการอปุ กรณ์เคล่ือนที่ มีประสิทธภิ าพ และมคี วามปลอดภัยในการ หน้า 4-13

ยทุ ธศาสตร์ท่ี 2 : การพัฒนาระบบบริหารจดั การการใชเ้ ทคโนโลยดี ิจทิ ลั แผนงาน 1 : สร้างความนา่ เชอ่ื ถือดา้ นความมน่ั คงปลอดภยั เทคโนโลยดี ิจิทัล วตั ถุประสงค์ : 1. เพ่ือจัดทำนโยบายและแนวปฏบิ ตั ิระบบความมัน่ คงปลอดภัยดา้ นเทคโนโลยีด 2. เพือ่ สรา้ งความเชื่อมน่ั ในการใช้เทคโนโลยดี ิจทิ ัลด้วยความม่ันคงและปลอดภยั ลำดบั ชอ่ื โครงการ ตวั Management : MDM) เขา้ ถึงระบบสารสนเทศ ของ ส สำนกั งาน ป.ป.ส สามารถใช้อ ขอ้ สนเทศ ด้านการปราบปราม สนบั สนุนการปฏบิ ัติงาน ไดร้ ว 7 โครงการจดั หาระบบป้องกนั การสญู เสยี ไฟลส์ ำคัญ สำนกั งาน ป.ป.ส. มีกระบวนกา ขององคก์ ร ( Data Loss Prevention (DLP) สารสนเทศและการสอื่ สาร รอง ๒๕๖๒ และพระราชกฤษฎกี าก ธรุ กรรมทางอเิ ล็กทรอนกิ สภ์ าค ครอบคลุ่มพ้ืนที่ หอ้ งเครอ่ื งคอม ถ่ายโอนแลกเปลี่ยนขอ้ มลู ของ เกี่ยวข้อง แบบผา่ นอปุ กรณเ์ ก็บ เหมาะสมและยอมรับไดต้ ามมา

บทที่ 4: วสิ ยั ทศั น์ ยทุ ธศาสตร์ และโครงการ ดิจทิ ัล ใหเ้ ปน็ ไปตามขอ้ กำหนดของกฎหมายและมาตรฐานท่ีเกยี่ วขอ้ ง ย วช้วี ดั ความสำเร็จ ระยะเวลาดำเนินการ 2565 2561 2562 2563 2564  สำนักงาน ป.ป.ส. ตลอดจน เจ้าหนา้ ท่ี อปุ กรณเ์ คล่อื นทขี่ องส่วนตวั เข้าถึงข้อมูล มยาเสพตดิ และข้อมลู ท่ีจำเปน็ ในการ วดเรว็ และทนั ทีรอ้ ยละ 90 ารตรวจสอบความมน่ั คงปลอดภัยระบบ งรบั พรบ.คมุ้ ครองข้อมูลสว่ นบุคคล พ.ศ. กำหนดหลักเกณฑ์และวธิ ีการในการทำ ครฐั พ.ศ. ๒๕๔๙ ในลกั ษณะการปอ้ งกนั มพิวเตอรแ์ ม่ข่าย (Data Centre) และการ เจ้าหนา้ ท่ี สำนกั งาน ป.ป.ส. กบั หนว่ ยงานท่ี บขอ้ มูลภายนอกให้มคี วามปลอดภยั ในระดับที่ าตรฐานสากล รองรับจำนวน ๑,๖๐๐ นาย หน้า 4-14

ตาราง 4.2-6 ยุทธศาสตรท์ ี่ 2 : การพฒั นาระบบบริหารจัดการการใชเ้ ทคโนโลยดี จิ ทิ ลั แผนงาน 2 : เพ่ิมขดี ความสามารถการบริหารดา้ นเทคโนโลยีดิจทิ ัล ยทุ ธศาสตร์ท่ี 2 : การพฒั นาระบบบริหารจัดการการใชเ้ ทคโนโลยดี จิ ทิ ลั แผนงาน 2 : เพม่ิ ขีดความสามารถการบรหิ ารดา้ นเทคโนโลยีดจิ ิทัล วัตถุประสงค์ : 1. เพ่อื จัดทำแผนปฏบิ ตั กิ ารดจิ ทิ ัลของสำนักงาน ป.ป.ส. ปี พ.ศ. 2561-2565 และ ภารกจิ หลกั ทง้ั 4 แผนของสำนกั งาน ป.ป.ส. และรองรับทศิ ทางการเปลย่ี นแปลงของเ 2. เพ่อื จัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) ใหส้ อดคล้องกับภา ลำดบั ชอ่ื โครงการ ตัว 1 โครงการจัดทำสถาปตั ยกรรมองค์กร (Enterprise สำนักงาน ป.ป.ส. มสี ถาปตั ยกร Architecture) ของสำนกั งาน ป.ป.ส. อยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ 2 โครงการจา้ งทีป่ รึกษาจดั ทำแผนปฏิบตั กิ ารดจิ ิทลั สำนักงาน ป.ป.ส. มีแผนปฏบิ ตั ิก สำนกั งาน ป.ป.ส. ปี พ.ศ. 2566-2570 2570 ท่มี ีประสิทธิภาพ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook