Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore final ความเป็นมาของ วัดหลวงพ่อโอภาสี

final ความเป็นมาของ วัดหลวงพ่อโอภาสี

Published by Noptanat empty, 2021-12-28 06:26:11

Description: final ความเป็นมาของ วัดหลวงพ่อโอภาสี

Search

Read the Text Version

ค ว า ม เ ป็ น ม า ข อ ง วั ด ห ล ว ง พ่ อ โ อ ภ า สี

ความเป็นมาของ วัดหลวงพ่อโอภาสี ผู้เขียน: มินฑิตา ปีนะเก วัดหลวงพ่อโอภาสี เป็นวัดชื่อดังแห่งหนึ่ง ของย่านบางมด สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2536 เดิมทีใช้ชื่อว่าสำนักสงฆ์อาศรมบางมด ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดหลวงพ่อโอภาสี เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่หลวงพ่อโอภาสี ผู้ก่อตั้งวัด ข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ พบว่า วัดแห่งนี้สร้างขึ้นหลังจากที่หลวงพ่อโอภาสี ย้ายออกจากวัดบวรนิเวศวิหาร มาพำนัก ยังย่านบางมด ชื่อเดิมของหลวงพ่อโอภาสี คือพระ “มหาชวน” ขณะนั้นท่านประจำอยู่ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร และธุดงค์ไปเรียนรู้ศาสตร์ แห่งการเพ่งกสิณ จากหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

“มหาชวนมรณะภาพไปแล้ว ตอนนี้เหลืออยู่แต่โอภาสี” ภายหลังกลับมาวัดบวรนิเวศวิหาร ท่านก็มีท่าที เมื่อท่านทราบเรื่องจึงออก เปลี่ยนไปจากเดิม คือพูดจาโผงผาง และหากใคร เดินธุดงค์ไปยัง ย่านบางมด มาเรียกท่านว่า “มหาชวน” ซึ่งเป็นชื่อของท่าน โดยมาพำนักยังศาลเจ้าแม่ทับทิม เป็นอันต้องโดนว่ากล่าวกลับไป ครั้งหนึ่งท่านเคยแจ้ง ริมคลองบางมด ซึ่งในอดีต กับทุกคนว่า “มหาชวนมรณะภาพไปแล้ว ตอนนี้ เงียบสงบ ห่างไกลชุมชน เหลืออยู่แต่โอภาสี” นอกจากท่าทีที่เปลี่ยนไป ยังมี เหมาะแก่การทำพิธีตามคำแนะนำ การปฏิบัติที่ต่างไปจากเดิมด้วยนั่นคือ ท่านได้นำของมีค่า ขององค์พจนสุนทร บ๋าวเอิง ของตนออกมาเผา นั่งวิปัสสนาต่อหน้ากองไฟที่ลุกโชติช่วง เจ้าอาวาสวัดญวน สะพานแขวน ตลอดทั้งวัน สิ่งที่ท่านทำนี้เรียกว่า การเพ่งกสิณไฟ ผู้ที่ท่านเคารพนับถือกันมานาน นานวันเข้าทั้งพระลูกวัด และประชาชนต่างก็เริ่มเห็น ควันไฟลอยคลุ้งไปทั่วบริเวณกุฏิของท่าน จึงเกรงว่า จะทำให้ไฟไหม้วัดขึ้นได้

ผู้เขียนได้เคยพูดคุยกับคุณสมจิตร จุลมานะ ชาวบ้านที่อาศัยในย่านบางมด มาตั้งแต่เล็กแต่น้อย ซึ่งคุณสมจิตรได้เล่าให้ฟังว่า “...ท่านโดนไล่ออกมาจากวัดบวรนิเวศวิหาร เนื่องจากชาวบ้านหาว่า เป็นคน สติไม่ดี เผาไฟ เผาสิ่งของ ท่านจึงได้ธุดงค์มายังบริเวณที่ตั้งศาลเจ้าแม่ทับทิม ริมคลองบางมดในปัจจุบัน เมื่อชาวบ้านในแถบนั้นทราบข่าวว่ามีพระมาพำนัก อยู่ที่นี่ต่างก็มาถวายภัตตาหาร ขอพร ต่อมาแม่เล่าว่ามีคนรู้จักคนหนึ่งได้ถวายที่ดิน ที่เดิมทีเป็นสวนส้มจำนวน 6 ไร่ 3 งาน เพื่อให้สร้างเป็นสำนักสงฆ์อาศรมบางมด แก่หลวงพ่อโอภาสี ที่ในเวลาต่อมาสถานที่แห่งนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดหลวงพ่อโอภาสี...”

ข้อมูลจากทั้งเอกสารต่าง ๆ และการพูดคุยกับคุณสมจิตร จุลมานะที่กล่าวถึง การธุดงค์มายังพื้นที่บางมดของหลวงพ่อโอภาสีล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวข้อง กับการเพ่งกสิณไฟ หรือการเผาสิ่งของทั้งสิ้น จึงน่าสนใจว่าการเพ่งกสิณไฟคืออะไร และเมื่อท่านมาพำนักที่ย่านบางมดเกิดอะไรขึ้นบ้าง การเพ่งกสิณไฟ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานหรือการปฏิบัติธรรมประเภทหนึ่ง ที่มุ่งทำให้เกิดความสงบทางใจ และเกิดปัญญาซึ่งการเพ่งกสิณไฟเป็นกรรมฐาน กองที่มีพลังมากที่สุดในการปฏิบัติสมาธิภาวนา ผลที่ได้จากการเพ่งกสิณไฟ คือสามารถช่วยประคองจิตของผู้ปฏิบัติให้เกิดสมาธิจนเข้าสู่ทั้งรูปฌานและอรูปฌานได้ พลังแห่งกสิณไฟทำให้พลังจิตที่สามารถแทรกเข้าไปในร่างกายของมนุษย์บังคับ ธาตุทั้งสี่ ไปจนถึงสามารถควบคุมความคิดและจิตใจของมนุษย์ ทั้งนี้การเพ่งกสิณไฟ ของหลวงพ่อโอภาสีมีการจุดกองไฟไว้ตลอดทั้งวัน จนได้มีการบันทึกถึงเหตุผล ที่ต้องจุดไฟไว้ตลอดเวลาของท่าน ในหนังสือ “ประวัติหลวงปู่โอภาสี” ดังนี้ “...พระเพลิงเป็นธาตุไฟ เร่าร้อน เปรียบได้ ดังจิตใจของมนุษย์ที่เต็มไปด้วยกิเลส ตัณหา การจุดไฟตลอดเวลาแล้วพิจารณาแบบเตโชกสิณ นั้นก็เป็นการทำความเพียรอย่างหนึ่ง...”

เหตุผลของการเผาสิ่งของ นอกจากนั้น ในหนังสือยังอธิบายเหตุผลของการเผาสิ่งของที่ประชาชน นำมาถวายไว้เช่นกัน ดังนี้ “....การนำวัตถุปัจจัยทั้งหลายที่คนนำมาถวายให้นี้ มาเผาไปนั้น มิได้เป็น การกระทำอย่างที่ไม่มีเหตุผลอะไร แต่เป็นการบูชาสักการะแด่อำนาจพุทธานุภาพ ที่ได้เป็นการสักการบูชาของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลายกันมาแล้วในอดีต จงดลบันดาล ให้อานุภาพเหล่านั้นมาช่วยดับร้อน และผ่อนคลายจิตใจของมนุษย์บนโลกนี้ให้ บรรเทาเบาบางลงจากอำนาจแห่งความมืดมนของ โลภะ โทสะ โมหะ ราคะ อวิชชาต่าง ๆ ซึ่งเป็นการดับกิเลสให้หมดสิ้นไป...”

ขอพรให้ค้าขายเจริญรุ่งเรือง สำนักสงฆ์อาศรมบางมด มีพื้นที่กว้าง และห่างไกลจาก ชุมชน หลวงพ่อโอภาสีจึงสามารถ ทำพิธีเพ่งกสิณไฟได้สะดวก ต่อมาไม่นานมีการเล่ากัน ปากต่อปากว่า ผู้ที่มาขอพร กับหลวงพ่อโอภาสีได้รับพรจริง สมดังหวัง สิ่งนี้ยิ่งเพิ่มแรงศรัทธา ให้กับประชาชนผู้คนจึงหลั่งไหล มาพบท่านมากขึ้น และหลายคน เรียกพิธีเพ่งกสิณไฟว่า “การบูชาไฟ” โดยการขอพรที่เลื่องชื่อว่าขอแล้ว จะสัมฤทธิผลอย่างแน่นอน คือเรื่อง “การค้าขายรุ่งเรือง” คุณสมจิตร จุลมานะเล่าเพิ่มเติม ถึงสิ่งที่เคยได้ยินมาอีกว่า “...เพราะเคยมีพ่อค้าคนจีน ในเยาวราชเคยมาขอพรให้ค้าขาย เจริญรุ่งเรือง และผลสัมฤทธิ เป็นไปตามที่ขอ ผู้คนจึงนิยม มาขอพรในเรื่องนี้...”

ด้วยเหตุดังกล่าว วัดแห่งนี้จึงเลื่องชื่อ เรื่องการขอพรด้านการค้าขาย สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนอกจากการขอพร เรื่องการค้าขายแล้ว วัดนี้ยังขึ้นชื่อ ในเรื่องคำสอนเพื่อการละกิเลสดังสุภาษิตที่หลวงพ่อโอภาสีได้แต่งไว้ ดังนี้ ชวนงดเว้นบาปล้วน อกุศล ชวนเกียจชวนหน่ายจน บาปลี้ ชวนเว้นจากมัชชะดล เพราะดื่ม เทียวนา ชวนไม่ประมาทแม้นี้ เลิศล้นมงคล (ชวนภาษิตบทที่ 28)

สามารถนำน้ำมันก๊าดมาเผายังเตาเผาน้ำมันได้ ปัจจุบันแม้หลวงพ่อโอภาสี ได้ละสังขารไปแล้วเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2498 แต่ยังมีประชาชน มากราบสรีรสังขารของท่าน ณ ปราสาทจุฬามณีที่ตั้งอยู่ภายในวัด ทุกวันนี้การบูชาไฟเหลือเพียง การให้ประชาชนได้นำน้ำมันก๊าด มาเผายังเตาเผาน้ำมันก๊าดเท่านั้น ซึ่งประชาชนสามารถมาทำบุญ กราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน ศาลเจ้าฮก ลก ซิ่ว เสาพระเปิดโลก รวมทั้งมาเช่า วัตถุมงคล เครื่องรางเมตตามหานิยม หรือเครื่องรางเพื่อการอยู่ยง คงกระพัน

ทางวัดได้กำหนด เทศกาลเฉพาะของวัดหลวงพ่อโอภาสี เพื่อให้ประชาชนสามารถร่วมทำบุญ 1. วันขึ้น 15 เดือน 5 ของทุกปี จะมีประเพณีสรงน้ำ องค์หลวงพ่อโอภาสี 2. วันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี ทางวัดมีการเลี้ยงพระเพล เนื่องในโอกาศวันครบรอบ การละสังสารของหลวงพ่อโอภาสี 3. วันเพ็ญ เดือน 12 ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นวันทอดกฐิน ของทางวัด

เหตุการณ์ที่เล่ามาทั้งหมดเป็นเพียงเรื่องราวในอดีต ที่ถูกเล่าขานต่อ ๆ กันมาเท่านั้น ผู้เขียนเชื่อว่าวัดหลวงพ่อโอภาสีในปัจจุบันมีความแตกต่างจากในอดีตอย่างมาก ด้วยสิ่งก่อสร้าง และสิ่งสักการะที่เพิ่มขึ้น ผู้ที่สนใจสามารถเดินทางไปยังวัดหรือ ติดตาม ข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่เพจ Facebook: วัดหลวงพ่อโอภาสี ที่ตั้ง เลขที่ 72/3 ซอยพุทธบูชา 31 ถนนพุทธบูชา แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร วันเวลาเปิด - ปิด วันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 6.00 น. – 18.00 น. การเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ รถโดยสารประจำทางสาย 75 การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล สามารถจอดรถได้ภายในวัด *ข้อควรปฏิบัติ: ก่อนเข้าวัดต้องถอดรองเท้าทุกคน

บ ร ร ณ า นุ ก ร ม คณะศิษย์ยานุศิษย์. (ม.ป.ป). ประวัติหลวงพ่อโอภาสี วัดหลวงพ่อโอภาสี. ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์. วัดหลวงพ่อโอภาสี. (2556). เพจวัดหลวงพ่อโอภาสี. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/ Watophasi/ วิพิพีเดียสารานุกรมเสรี. (2556). วิพิพีเดียสารานุกรมเสรี กสิณไฟ. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/ wiki/กสิณไฟ โอภาสี บวรนิเวศ. (2550). ชวนภาษิต. กทม.แสงตะวันการพิมพ์ (1994) จำกัด. KomChadLuek Online. (2555). พระเครื่อง 'หลวงพ่อโอภาสี พระผู้สำเร็จเตโชกสิณ'. เข้าถึงได้จาก https://www.komchadluek.net/amulet/141504 108 พระเกจิ. (2563). หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด กรุงเทพฯ. เข้าถึงได้จาก https://www.108prageji.com/ หลวงพ่อโอภาสี-อาศรมบางมด


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook