Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore องค์ความรู้นางสาวมลฤดี คำจันทร์

องค์ความรู้นางสาวมลฤดี คำจันทร์

Published by araya.nuda2526, 2021-08-17 03:52:55

Description: องค์ความรู้นางสาวมลฤดี คำจันทร์

Search

Read the Text Version

แบบบนั ทึกองคค์ วามรู้ 1.ช่ือองค์ความรู้ “เทคนิคการสง่ เสริมกองทนุ ชุมชนให้เกิดการบริหารงานตามหลกั ธรรมาภบิ าล” 2. ชื่อเจ้าขององคค์ วามรู้ นางสาวมลฤดี คาจนั ทร์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชานาญการ สงั กดั สานักงานพัฒนาชุมชนอาเภอกดุ ชุม จงั หวัดยโสธร 3. องคค์ วามรู้ทบ่ี ง่ ช้ี  หมวดที่ 1 เทคนคิ การสร้างและพฒั นาผู้นาในการขับเคลอ่ื นสัมมาชพี ชุมชน  หมวดท่ี 2 เทคนคิ การพัฒนาหม่บู า้ นเศรษฐกิจพอเพียง  หมวดที่ 3 เทคนิคการแก้ไขปัญหาความยากจน  หมวดท่ี 4 เทคนคิ การเพ่ิมศักยภาพผผู้ ลติ ผูป้ ระกอบการหนงึ่ ตาบลหนงึ่ ผลิตภณั ฑ์ (OTOP) สกู่ ารพัฒนายกระดับมาตรฐานผลิตภณั ฑ์  หมวดที่ 5 เทคนคิ การส่งเสริมช่องทางการตลาดหนง่ึ ตาบลหน่งึ ผลิตภณั ฑ์ (OTOP)  หมวดที่ 6 เทคนคิ การเช่ือมโยงเส้นทางการท่องเท่ยี ว OTOP นวัตวถิ ี หมวดท่ี 7 เทคนิคการส่งเสรมิ กองทนุ ชมุ ชนใหเ้ กิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภบิ าล หมวดที่ 8 เทคนิคการเสริมสรา้ งองค์กรให้มสี มรรถนะสูง (เปน็ บคุ ลากรทันสมัย พฒั นาองค์กร) 4. ทม่ี าและความสาคัญในการจดั ทาองคค์ วามรู้ ปัจจุบันการเข้าถึงแหล่งทุนในการประกอบอาชีพของคนในชุมชนเป็นเรื่องง่ายเพราะมีแหล่งทุนใน หมู่บ้านหลายกองทุน เช่น กองทุนหมู่บ้าน กองทุน กข.คจ. กองทุนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ศูนย์สาธิต การตลาด กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สมาชิกกองทุนต่างๆ สามารถกู้ยืมเงินมาใช้ประโยชน์ในการประกอบ อาชีพหรืออ่ืนๆ ได้ง่าย แต่จากการดาเนินงานที่ผ่านมาหลายๆกองทุนประสบกับปัญหาหนี้ค้างชาระ คณะกรรมการฯ ยกั ยอกเงนิ การบริหารไม่โปร่งใสนาไปสู่การฟ้องร้อง ร้องเรียนเกิดเป็นคดีความขึ้นอยู่เป็นนิจ ซ่งึ ก่อให้เกดิ ผลเสียกบั ทกุ ฝา่ ยท้ังผูฟ้ ้องร้องผ้ถู ูกฟ้องร้องและทางราชการ ทาให้เสียเวลาและงบประมาณในการ แก้ไขปัญหา เช่น เรื่องความไม่โปร่งใสในการบริหารกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และศูนย์ สาธติ การตลาด คณะกรรมการสว่ นใหญ่จะมีตาแหนง่ ในกองทุนหลายกองทุน ปัญหาเกิดจากการท่ีคนในชุมชน ไมม่ จี ติ อาสาและไมก่ ล้าเสนอตนเองคดิ วา่ ตนเองไมม่ ีความสามารถท่จี ะเขา้ ร่วมเป็นกรรมการได้ จากปัญหาการ บริหารจัดการดังกล่าวจึงนาไปสู่การหาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยการส่งเสริมให้กองทุนใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบรหิ ารจดั การ การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคงและการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งอย่างย่ังยืนเป็น ภารกิจที่เจ้าหน้าท่ีพัฒนาชุมชนจะต้องช่วยกันคิดและหาวิธีส่งเสริมชาวบ้านให้สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ การบริหารจดั การกองทนุ ชุมชนเป็นแนวทางหนง่ึ ทีจ่ ะนามาแก้ไขปัญหาในชุมชนได้หากมีการบริหารจัดการท่ีดี มีการดาเนินการเป็นระบบมีประสิทธิภาพและใช้ทุนอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด กองทุนชุมชนจะเข้มแข็ง จะต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ ดังน้ัน การส่งเสริมกองทุนชุมชน ให้เกิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลจึงเป็นหน้าที่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่ต้องเข้ าไปส่งเสริมให้ผู้นา ชมุ ชนคณะกรรมการกองทุนชมุ ชนและสมาชกิ กองทุนชมุ ชนเข้าใจและร่วมกันบริหารจัดการกองทุนชุมชนน้ันๆ โดยยึดหลักธรรมาภบิ าลมาบรหิ ารจดั การอยา่ งเคร่งครัด ปญั หาที่พบและแนวทางการแก้ไขปัญหา การดาเนินงานกองทุนชุมชนแต่ละกองทุนมีปัญหาแตกต่าง กนั แตส่ ิง่ ท่ีเหมือนกันคือปัญหาท่ีเกิดขึ้นนั้นเกิดจากการบริหารจัดการท่ีขาดธรรมาภิบาล ตัวอย่างของปัญหาท่ี พบจากการบริหารจัดการกองทุน ได้แก่ คณะกรรมการท่ีได้รับแต่งต้ังให้บริหารจัดการไม่ปฏิบัติหน้าท่ีตามท่ี ได้รับมอบหมายความรับผิดชอบในการบริหารจัดการจึงตกอยู่ที่คนเพียงไม่ก่ีคนไม่แบ่งหน้าท่ีความรับผิดชอบ ให้ชัดเจน สมาชิกไมม่ กี ารตรวจสอบขอ้ มูลความเคลื่อนไหวทางการเงนิ อย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการไม่มีการ

-2- ประชุมช้ีแจงรายงานผลการดาเนินงานให้สมาชิกทราบ และที่สาคัญคณะกรรมการไม่มีทักษะและศักยภาพ ทางการบรหิ ารจดั การกองทนุ จงึ เกดิ ปัญหาหนีค้ า้ งชาระ ปญั หาเงินขาดบัญชี การบรหิ ารผลประโยชน์ไมล่ งตวั เป็นสาเหตุให้เกิดการร้องเรียน แนวทางการแก้ไขโดยส่งเสริมให้กองทุนมีการบริหารจัดการโดยใช้ หลักธรรมาภิบาล ความหมายของหลักธรรมาภิบาล(Good Governance) คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุมดูแลกิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากน้ียังหมายถึงการบริหารจัดการ ที่ดีซ่ึงสามารถนาไปใช้ได้ท้ังภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน หลักธรรมาภิบาลที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หากได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่าน้ัน แต่รวมถึงศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมท้ังปวงซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความ โปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองคก์ รภายนอก เปน็ ต้น ความสาคญั ของหลกั ธรรมาธบิ าล ดังนี้ - เปน็ หลกั การพน้ื ฐานในการสร้างความเป็นธรรมในสังคม - การมธี รรมาภบิ าลในทกุ ระดบั จะทาใหเ้ กดิ การพฒั นาท่ยี ่งั ยนื โดยมคี นเป็นศูนย์กลางที่แท้จริง - หลกั ธรรมาภิบาล ชว่ ยลด บรรเทา หรือแกป้ ญั หา ความขัดแยง้ ในองค์กร - ธรรมาภบิ าลจะชว่ ยใหส้ งั คมมีความเขม้ แขง็ ในทกุ ด้าน ทัง้ ทางคณุ ค่าและจิตสานกึ ทางสงั คม - ธรรมาภิบาลจะช่วยลดปญั หาการฉอ้ ราษฎร์บังหลวง หรือฉ้อโกงและยกั ยอก - เป็นแนวคิดที่เกื้อหนุนสังคมประชาธิปไตย จะทาให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและมีการ ตรวจสอบการทางานของผูท้ ีเ่ กี่ยวข้อง - ช่วยให้ระบบบริหารของรฐั มีความยตุ ธิ รรมเปน็ ท่ีน่าเชอ่ื ถอื - หลักธรรมาภบิ าล กลายเป็นมาตรฐานสากลท่ีบ่งช้ีถึงระดับการพัฒนาของประเทศ ท้ังด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมอื ง - หลักธรรมาภบิ าลเป็นกุญแจสาคญั ในการฟนื้ ฟแู ละพฒั นาเศรษฐกจิ ของประเทศ - หลกั ธรรมาภิบาลเป็นแนวทางในการจดั ระเบียบสงั คมใหส้ ามารถอยูร่ ว่ มกันอยา่ งสงบสุข 5. การจัดการความรู้ ได้นาเทคนิควิธกี ารส่งเสรมิ หลกั ธรรมาธบิ าล ให้ชาวบ้านได้นาไปบริหารจดั การกองทนุ ชุมชน ดังน้ี 5.1. หลักนิติธรรม กองทุนชุมชนจะมีการตรวจสอบกฎระเบียบภายในกองทุนอยู่เสมอ และคอย ปรับปรุงให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยเมื่อมีการแก้ไขกฎระเบียบของกองทุน คณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกบั สมาชิกเรียนเชญิ สมาชิกเพ่ือให้กฎที่ได้ต้ังข้ึนน้ันเป็นท่ียอมรับของทุกฝ่าย โดยการต้ังกฎแต่ละคร้ังจะเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสาคัญ ซึ่งจะทาให้สมาชิกในกองทุนอยู่ร่วมกันได้ อย่างสงบสขุ ไมก่ อ่ ใหเ้ กิดความขดั แย้งกนั ภายในชมุ ชน 5.2. ด้านหลักความโปร่งใส มีการให้ข่าวสารและข้อมูลต่างๆแก่สมาชิกอย่างตรงไปตรงมาและสามารถ ตรวจสอบความถูกต้องจากระบบคอมพิวเตอร์และเอกสารได้ นอกจากนี้ทางคณะกรรมการกองทุนได้เชิญ เจ้าหน้าที่ท่ีเกี่ยวข้องเข้ามาร่วมตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและบัญชีการเงินต่างๆ พร้อมท้ังช้ีแจง รายละเอยี ดต่างใหก้ บั สมาชิกได้เข้าใจ 5.3. ด้านการมีส่วนร่วม กองทุนชุมชนส่งเสริมให้สมาชิกมีความรู้สึกเป็นเจ้าของกองทุนร่วมกัน โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดาเนินงานต่างๆ และสมาชิกสามารถแสดงความ คิดเห็นในเร่ืองต่างๆของกองทุนได้อย่างเสรี ซึ่งคณะกรรมการจะนาความคิดเห็นเหล่าน้ันมาปรับแก้ไข นอกจากน้ีสมาชิกยังได้รับผลประโยชน์ร่วมกันจากการแบ่งปันผลกาไรมาให้แก่สมาชิกไม่ว่าจะเป็นเงินปันผล สวัสดกิ ารตา่ งๆทาใหเ้ กิดความรว่ มกนั ช่วยเหลือกัน 5.4. ด้านหลักความรับผิดชอบ คณะกรรมการของกองทุนแต่ละคนต่างจะทาหน้าที่ของตนเองตามท่ี ไดร้ ับมอบหมายอย่างเปน็ ระบบและมคี วามมุง่ มนั่ ในการให้บริการแกส่ มาชิกดว้ ยความเต็มใจอานวยความ

-3- สะดวกแก่สมาชิกในด้านต่างๆ เช่น การรับฝากเงินสัจจะแก่สมาชิกรวมไปถึงการสนับสนุนช่วยเหลือใ นด้าน สวัสดิการ การให้คาแนะนาทางด้านการเงิน นอกจากน้ีแล้วยังมีการส่งเสริมให้สมาชิกได้รู้จักความรับผิดชอบ โดยการมอบรางวัลให้แก่ผู้ท่ีมีความรับผิดชอบในการชาระเงินกู้ และส่งฝากเงินได้ตรงเวลาเพื่อเป็นการสร้าง แรงจูงใจและรกั ษาความดที ี่ได้ประพฤติปฏิบตั อิ ยูใ่ หเ้ ป็นแบบอย่างแก่สมาชิกคนอน่ื ๆต่อไป 5.5. ดา้ นหลกั คุณธรรม กองทุนชุมชนจะต้องมีการยึดถือและเช่ือม่ันในความถูกต้องโดยการรณรงค์เพ่ือ สร้างค่านิยมที่ดีงามให้กับคณะกรรมการและสมาชิกของสังคมได้ยึดถือปฏิบัติได้แก่ความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความอดทน ขยันหมั่นเพียร ความมีระเบียบวินัย โดยการจัดอบรมคุณธรรมจริยธรรมภายใน ชุมชนเองโดยไม่ใช้งบประมาณจากทางหน่วยงานราชการ ตลอดจนอบรมจริยธรรมแก่เด็กเยาวชนในหมู่บ้าน โดยให้มีจิตสานกึ และประพฤตติ นอยู่ในสิง่ ท่ดี ีงามไมเ่ อารัดเอาเปรียบผู้อ่นื 5.6. ด้านหลกั ความคุ้มค่า คณะกรรมการจะประชมุ หารือกนั ทกุ ครั้งในการจะดาเนินการในส่ิงต่างๆ เพื่อ วิเคราะห์ถึงข้อดี ข้อเสีย และผลกระทบที่ส่งผลถึงต่อกองทุนต่อคณะกรรมการ หรือต่อตัวสมาชิกซ่ึง คณะกรรมการจะนึกถึงเสมอว่าเงินทุนต่างๆน้ันมีอยู่อย่างจากัดการจะลงทุนทาส่ิงใดจะต้องได้ประโยชน์ต่อ ส่วนรวมมากทส่ี ดุ โดยใชง้ บประมาณน้อยทีส่ ุดเท่าทเ่ี ป็นไปได้ 6. เทคนิคในการปฏบิ ัติงาน 6.๑. ประชุมหรือจัดเวทีประชาคมคณะกรรมการและสมาชิกเพ่ือสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักการ บริหารจัดการ และสร้างความตระหนักร่วมกันให้เกิดกระบวนการสร้างสรรค์กลไกการบริหารจัดการโดยนา หลกั ธรรมาภิบาลมาเป็นเครื่องมือในการดาเนินงาน โดยใชห้ ลักธรรมาธิบาล 6 ด้าน มาใช้ในการบริหารจัดการ 6.๒. ส่งเสริมให้กองทุนชุมชน สร้างกฎระเบียบ กติการ่วมกันในเร่ืองการบริหารจัดการ การแบ่งปัน ผลประโยชน์ให้ความสาคัญและให้เกียรติทุกคนท่ีเป็นสมาชิกในกองทุนน้ันๆ และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ของกรรมการแตล่ ะคนให้ชดั เจน กรรมการทุกคนตอ้ งปฏบิ ัตติ ามท่ีได้รบั มอบหมายอยา่ งเคร่งครัด 6.๓. ส่งเสริมให้กองทุนชุมชนมีการจัดโครงสร้างและกระบวนการบริหารจัดการกองทุน โดยนา หลักการมีความรับผิดชอบ หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม และการยึดหลักนิติธรรม มาใช้การ ดาเนนิ งานทุกอย่างต้องทาเอกสารหลักฐานสามารถตรวจสอบได้ตลอดจนนาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหาร จัดการกองทุน เพื่อให้สมาชิกรับทราบความเคล่ือนไหวของกองทุน เช่นการจัดให้มีไลน์กลุ่มเพ่ือการแจ้ง ประสานหรือรายงานผลการดาเนินงานใหส้ มาชิกทราบได้อยา่ งรวดเรว็ 6.๔. ส่งเสริมให้กองทุนมีการประชุมทุกเดือน เพื่อชี้แจงสร้างความเข้าใจชี้แจงผลการดาเนินงาน รายงานปัญหาให้กับสมาชิกทราบทุกเดือน จัดสรรผลกาไรเพ่ือจัดสวัสดิการแก่สมาชิกและชุมชนเพ่ิมขึ้น เพ่ือสร้างแรงจูงใจในการออมหรือชาระหนี้ได้มากขึ้น ทาให้ลดความไม่ไว้วางใจลงได้ทาให้สมาชิกเกิดความ เชือ่ มนั่ มากยง่ิ ขนึ้

-4- ผลลัพธ์จาการองค์ความรู้เร่ืองเทคนิคการส่งเสริมกองทุนชุมชน ให้เกิดการบริหารงานตาม หลกั ธรรมาภิบาล มดี ังนี้ ๑. สามารถแก้ปัญหาข้อขัดแย้งข้อร้องเรียนได้เน่ืองจากกระบวนการบริหารจัดการที่ทุกคนมีความ รบั ผิดชอบในการดาเนินงานหากทกุ คนรจู้ ักหน้าท่ี มีวินัยในการใช้จ่าย ทุกคนมีความรับผิดชอบการดาเนินงาน ก็จะราบร่ืน การดาเนินงานทุกข้ันตอนมีการประชุมช้ีแจงสร้างความเข้าใจด้วยความโปร่งใสความขัดแย้ง ก็จะไม่เกดิ ข้ึน ๒. กองทุนชุมชนมีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพเน่ืองจากการส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนเข้ามา มสี ่วนร่วมในการดาเนนิ งานทุกขัน้ ตอนไม่วา่ จะเปน็ ร่วมรบั ร้รู ว่ มแกไ้ ขปญั หาร่วมรับผลประโยชน์การรับรู้ปัญหา ร่วมกันและร่วมกนั หาทางออกในการแก้ไขปัญหาคนในชุมชนเกิดความรักความสามัคคชี ว่ ยเหลือเก้ือกลู กัน ๓. ลดปัญหาความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกนั แก้ไขปญั หาหนคี้ ้างชาระหนี้เสียเงินขาดบัญชีได้ เนื่องจาก สมาชกิ มีความรับผดิ ชอบต่อหน้าที่ มวี นิ ัยในการชระหนีม้ ากข้ึน


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook