Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บันเทิงคดี

บันเทิงคดี

Published by Guset User, 2022-07-13 12:55:40

Description: บันเทิงคดี นวนิยาย เรื่องสั้น

Keywords: บันเทิงคดี

Search

Read the Text Version

บันเทิงคดี

จากองค์กรภาควิชาการคือราชบัณฑิตยสถาน และจากความเห็นของ ศิลปินแห่งชาติ พบว่า ลักษณะร่วมของบันเทิงคดีว่าเป็นเรื่องแต่งหรือ เรื่องสมมุติขึ้นมา จากจินตนาการเช่นเดียวกัน แต่กลับแตกต่างในข้อที่ว่า ด้วยการประพันธ์ให้ถึงขั้น กล่าวคือ แม้จะเป็นเรื่องแต่ง ที่ให้ความสนุก หรือเป็นเรื่องบันเทิงอารมณ์ หากสามารถเขียนได้มีคุณภาพ งาน สร้างสรรค์นั้นก็ควรค่าที่จะ ได้รับการกล่าวถึง ฉะนั้นนักหัดเล่าเรื่องหรือ นักเขียนหน้าใหม่แม้ตัดสินใจเลือกทางเดินหรือเลือกวิธีในการเล่า เรื่อง เป็นแบบบันเทิงคดีแล้ว หากต้องการสร้างสรรค์งานให้มีคุณภาพก็ควร ต้องจะเรียนรู้และฝึกฝนการเขียนเล่าเรื่องให้มีคุณภาพ โดยต้องรู้เกี่ยว กับกลวิธีการเขียน ส่วนประกอบต่างๆของบันเทิงคดีครบทุกองค์ประกอบ นักหัดเล่าเรื่องหรือนักเขียนหน้าใหม่สามารถศึกษา และนำไปใช้เป็น แนวการเขียนบันเทิงคดีได้ทั้งในรูปแบบเรื่องสั้นและนวนิยาย

นวนิยาย (Novel) หมายถึง เรื่องเล่าประเภทร้อยแก้วขนาดยาวที่เกิดจากจินตนาการ (พจนานุกรม ศัพท์วรรณกรรมอังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. 2545. น. 288-289) เรื่องสั้น (Short Story) หมายถึง เรื่องเล่าบันเทิงคดีร้อยแก้ว มีความยาวตั้งแต่ประมาณ 500 คำไป จนถึง 15,000 คำ มักจำกัดอยู่แต่เพียงตัวละคร 2-3 ตัว ฉากเดียว และเหตุการณ์เดียว เอดการ์ แอลลัน โพ นิยามเรื่องสั้นว่า “เรื่องเล่าร้อยแก้วขนาดสั้น ใช้เวลาอ่านอย่างตั้งใจตั้งแต่ ครึ่งชั่วโมงถึง 1 หรือ 2 ชั่วโมง” (พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมอังกฤษ-ไทย ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน. 2545. น. 398) 24 จากคำนิยามเกี่ยวกับลักษณะของเรื่องสั้นและนวนิยาย ข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีเพียงความยาวของเนื้อเรื่องเท่านั้นที่เป็นจุดสังเกตถึงความแตกต่างกันของ เรื่องเล่าทั้งสองอย่างนี้ และด้วยการมีความยาวเป็น ตัวกำหนดนี้เอง ทำให้นวนิยายมีองค์ ประกอบที่ซับซ้อนกว่าเรื่องสั้น ผู้ที่สนใจอยากเขียนเรื่องเล่าบันเทิงคดีจึง ควรเริ่มจากการเขียน เรื่องสั้นเสียก่อน เพราะโอกาสในการรักษาเอกภาพในการเล่าเรื่องย่อมมีมากกว่าการเล่า เรื่อง ยาวแบบนวนิยาย สำหรับองค์ประกอบของบันเทิงคดีโดยทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ คือ 1. โครง เรื่อง 2. ตัวละคร 3. บทสนทนา 4. ฉาก และ 5. ท่วงทำนองการแต่ง

นวนิยายและเรื่องสั้นมีส่วนประกอบและกลวิธีเช่นเดียวกับบันเทิงคดีทั่วไป แต่ เรื่องสั้นเสนอให้รู้จักตัวละครโดยใช้เหตุการณ์สำคัญที่เป็นหัวใจของเรื่องเพียง เหตุการณ์เดียว ส่วนนวนิยายจะพัฒนาตัวละครโดย อาศัยเหตุการณ์เป็นชุดใน ช่วงเวลานาน (พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมอังกฤษ-ไทย ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน. 2545. น. 398) วนิดา บำรุงไทย (2544) ได้อธิบายถึง กลวิธีเกี่ยวกับองค์ประกอบของบันเทิงคดีทั้ง 5 ประการ อัน ได้แก่ โครงเรื่อง ตัว ละคร ฉาก บทสนทนา และท่วงทำนองการเขียนไว้อย่างน่าสนใจซึ่งนักเขียน หน้าใหม่หรือผู้ เริ่มหัดเขียนเล่าเรื่องสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการเขียน เรื่องสั้นและนวนิยายได้ดังนี้ 1. โครงเรื่อง (Plot) โครงเรื่องในเรื่องสั้น นวนิยาย และวรรณกรรมประเภทเรื่องเล่าทั้งหลาย มี ลักษณะและบทบาทหน้าที่ เช่นเดียวกัน กล่าวคือเป็นองค์ประกอบสําคัญที่สุด ส่วนหนึ่งในฐานะที่เป็นโครงสร้างของเรื่อง ในโครงเรื่องจะ ประกอบด้วยลําดับ ของเหตุการณ์ที่เกี่ยวพันต่อเนื่องและเป็นเหตุเป็นผลกัน

รูปแบบของโครงเรื่อง ค่อนข้างเป็นแบบแผนที่นิยม ประกอบด้วยความเคลื่อนไหว ของเรื่อง อย่างเป็นขั้นตอน ดังนี้ 1.1 จุดเริ่มเรื่อง (Exposition) เป็นส่วนเกริ่นนําหรือปูพื้นเรื่องให้รู้จักกับ ตัวละครตลอดจน สถานการณ์ขั้นต้นที่จะนําไปสู่ความเคลื่อนไหวขั้นต่อไป เช่น นวนิยายเรื่อง นันทวัน ของ ดอกไม้สด จุดเริ่ม เป็นการเสนอ “บันลือ” ตัวเอกของเรื่องพร้อมกับสถาน การณ์ความเป็น พ่อหม้ายมีลูกติดสองคนที่ไม่มีมารดา อบรมเลี้ยงดู 1.2 จุดเริ่มต้นของปัญหา (Complication) คือการนําเข้าสู่ปัญหาของเรื่อง โดยบันลือ ได้ รับการชักนําให้ได้แต่งงานกับ “ภรณี” หญิงสาวผู้ซึ่งต้องการหนีจากสถานการณ์บีบคั้นใน ครอบครัว แม้จะ ต่างมีใจต่อกัน ก็เผอิญบันลือเข้าใจผิดคิดว่าภรณีมีคู่รักแล้ว ทําให้เกิด ความผิดหวังไม่พอใจโดยที่กรณีไม่ทราบ ต้นสายปลายเหตุ 1.3 จุดวิกฤต (Crisis) ความขัดแย้งเข้มข้นเข้าสู่จุดวิกฤต หรือจุดหักเห คือ กรณีไม่เข้าใจ ใน ปฏิกิริยามีนชาเฉยเมยของสามีทําให้ความขัดแย้งทวีขึ้น และความขัดแย้ง นั้นเข้าขั้น สูงสุด เมื่อหญิงที่เคยเป็น ภรรยาเก่าของบันลือเข้ามาสมทบในสถานการณ์ 1.4 ปัญหาเริ่มคลี่คลาย (Falling action) คือสถานการณ์ตึงเครียดของ เรื่องเริ่มคลี่คลาย โดยบันลือมีความเข้าใจภรณีดีขึ้น ในขณะที่ภรณีจะแก้ปัญหา ด้วยการหนีจาก บันลือ

1.5 จุดจบของปัญหา (Resolution) คือการนําเข้าสู่การคลี่คลายปัญหา อย่าง สมบูรณ์คือ บันลือทําความเข้าใจภรณีได้ทัน และลงเอยด้วยความสุขสมหวังของ คนทั้งสอง ทั้งนี้รูปแบบความเคลื่อนไหวของโครงเรื่องทั้ง 5 ขั้นนี้ใช้ได้ดีมากใน เรื่องสั้น ดังปรากฏใน เรื่องสั้นที่ถือกันว่าเป็นเรื่องคลาสสิกเป็นส่วนใหญ่ก็ดำเนิน เรื่องในลักษณะนี้ ในขณะที่นวนิยายอาจมีความ ขัดแย้งและจุดวิกฤตลอดทั้งเรื่อง ก็ได้โดยเฉพาะนวนิยายประเภทตื่นเต้นผจญภัยที่ตัวเอกมักต้องไปพบ เหตุการณ์ ต่อสู้ผจญภัยอยู่เสมอนั่นเอง 2. ตัวละคร (Character) คือ ผู้ทำให้เกิดเหตุการณ์ในเรื่อง หรือเป็นผู้แสดง พฤติกรรมต่าง ๆ ในเรื่อง ตัวละครนี้นับเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของ นวนิยาย เพราะถ้าไม่มีตัวละครแล้ว เรื่องราวต่าง ๆ ในนวนิยายก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ ตัวละครของนวนิยาย มี 2 ประเภท คือ ตัวละครเอก (the major character) คือตัวละครซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดำเนินเรื่องโดยตลอด หรือ เป็นศูนย์กลาง ของเรื่อง และ ตัวละครประกอบหรือตัวละครย่อย (the minor character) คือตัว ละครซึ่งมีบทบาทในฐานะเป็นส่วนประกอบของการดำเนินเรื่องเท่านั้น แต่ก็ต้องมี ส่วนช่วยเสริมเนื้อเรื่องและตัวละครสำคัญให้เด่นขึ้นด้วย

3. บทสนทนา (Dialogue) คือ การสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละครในนวนิยาย เป็นส่วน ที่ทำให้ นวนิยายมีลักษณะคล้ายความจริงมากที่สุด บทสนทนาที่ดีต้องเหมาะสมกับ บุคลิกภาพของตัวละคร ต้องสอดคล้องกับบรรยากาศในเรื่องและที่สำคัญต้องมีลักษณะ สมจริง คือ มีคำพูดที่เหมือนกับบุคคลในชีวิตจริงใช้พูดจากัน 4. ฉาก (Setting) คือ เวลาและสถานที่รวมทั้งสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่ช่วยบอกให้ผู้อ่านรู้ว่า เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อใดที่ไหน ที่นั้นมีลักษณะอย่างไร นวนิยายโดยทั่วไปจะสร้างฉาก ให้เป็นส่วนประกอบของเรื่อง เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในเหตุการณ์และเวลาที่ กำหนดไว้ในเนื้อเรื่อง หรือช่วยกำหนดบุคลิกลักษณะของตัวละคร ช่วยสื่อความคิดของผู้ แต่ง หรือช่วยให้เรื่องดำเนินไปได้ดี 5. ทำนองแต่ง (Style) คือ แบบแผนและลักษณะท่วงทำนองในการแต่ง ซึ่งเป็น ลักษณะเฉพาะตัวของผู้ประพันธ์ เช่น การเลือกใช้คำ ท่วงทำนองโวหาร และน้ำเสียงของ ผู้แต่ง (แต่งแบบแสดงอารมณ์ขัน อ่อนโยน ล้อเลียน )

บันเทิงคดี คือ เรื่องเล่าร้อยแก้วที่แต่งขึ้นจากจินตนาการที่อาศัยพื้นฐานจากข้อมูล ที่เป็นจริง แม้เรื่อง เล่าหลายอย่างจะมีลักษณะเดียวกันนี้ แต่บันเทิงคดีโดยทั่วไป จะหมายถึงงานเขียนประเภทเรื่องสั้นและนวนิยายเท่านั้น สำหรับองค์ประกอบ ของบันเทิงคดีมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ คือ 1. โครงเรื่อง 2. ตัวละคร 3. บท สนทนา 4. ฉาก และ 5. ท่วงทำนองการแต่ง นักหัดเล่าเรื่องหรือนักเขียนหน้า ใหม่ควรศึกษากลวิธีเกี่ยวกับองค์ประกอบทั้ง 5 ประการด้วยการลงมือสร้างสรรค์ เรื่องเล่าบันเทิงคดีขึ้นมาสักเรื่อง อาจเริ่มที่การเขียนเรื่อง สั้นก่อน เพราะมีความ ยาวไม่มาก หากสามารถรักษาเอกภาพในการเล่าเรื่องไว้ได้ ก็นับเป็นความสำเร็จ เบื้องต้น ในการเข้าสู่ถนนสายวรรณกรรมแล้ว

มาเล่นกันเถอะๆ

เอกสารประกอบการเรียน บทที่2 บันเทิงคดี อ.ภาณุวัฒน์ สกุลสืบ ออนไลน์เข้าถึงจาก https://sites.google.com/site/reuxngsannwniy ay/xngkh-prakxb-khxng-nwniyay



จัดทำโดย นางสาวพรนภัสร์ เสนอจิตร 64123010108


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook