กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง (ตอน พรรณนาสัตว์ในป่า)
วรรณคดีไทย เรื่อง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ตอน พรรณนาสัตว์ในป่า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ผู้เรียบเรียง นางสาวอภิภาวดี มาระเพ็ชร สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ตอน พรรณนาสัตว์ในป่า เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษา ความเป็นมา ผู้แต่ง ผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ เนื้อเรื่อง และ คุณค่าของวรรณดีเรื่องนี้ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาด้านการเรียนรู้ที่ดีขึ้นของนักเรียน และสามารถนำไป ต่อยอดในการเรียนที่สูงขึ้นในอนาคตได้ ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จะเป็นประโยชต์ต่อนักเรียนและผู้ที่มี ความสนใจที่จะศึกษา และการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ต่อไป หากมีข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง หนังสือเรียน ผู้จัดทำขอน้อมรับด้วยความขอบคุณและจะนำไปพัฒนาคุณภาพของหนังสือเรียนเล่มนี้ต่อ ไป อภิภาวดี มาระเพ็ชร
เรื่อง สารบัญ หน้า คำนำ ก สารบัญ ข คำแนะนำการใช้หนังสือ ๖ ความเป็นมา ๗ ผู้แต่ง ๘ ประวัติผู้แต่ง ๙ จุดมุ่งหมายในการแต่ง ๑๐ สาระสำคัญ ๑๑ ลักษณะคำประพันธ์ ๑๒ แผนผังกาพย์ห่อโคลง ๑๓ เรื่องย่อ ๑๔ เนื้อเรื่อง ๑๕
เรื่อง สารบัญ (ต่อ) หน้า บทวิเคราะห์ ๒๗ ความรู้จากวรรณคดี ๓๖ ข้อคิดนำชีวิต ๓๗ คำศัพท์ที่ควรรู้ ๓๘ เว็บไซต์แนะนำ ๓๙ กิจกรรมท้าทาย ๔๐ บรรณานุกรม ๔๑
คำแนะนำการใช้หนังสือ ๖ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ตอน พรรณนาสัตว์ในป่า เล่มนี้ แบ่งออกเป็น ๑๖ หัวข้อ ไดแก่ ความเป็นมา ผู้แต่ง ประวัติผู้แต่ง จุดมุ่งหมายในการแต่ง สาระสำคัญ ลักษณะคำประพันธ์ แผนผัง กาพย์ห่อโคลง เรื่องย่อ เนื้อเรื่อง บทวิเคราะห์ ความรู้จากวรรณคดี ข้อคิดนำชีวิต คำศัพท์ เว็บไซต์แนะนำ และกิจกรรม ท้าทาย ซึ่งในส่วนของคำศัพท์ที่ควรรู้ จะมี QR Code ให้แสกนเพื่อเข้าไปศึกษา นักเรียนสามารถใช้ โทรศัพท์ แท็บเล็ต หรือไอแพด แสกน QR Code เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ควรรู้ได้
ความเป็นมา ๗ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์งพระนิพนธ์กาพย์ห่อโคลงประพาส ธารทองแดงขึ้น ในโอกาสตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระราชบิดาไป นมัสการพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยเสด็จทางชลมารคออกจากอยุธยาไปตาม แม่น้ำลพบุรีไปขึ้นที่ท่าเจ้าสนุก แล้วเสด็จทางสถลมารค ไปตามถนนส่องกล้อง จนถึงพระพุทธบาท ขณะที่ประทับอยู่ที่พระพุทธบาทได้เสด็จประพาสธารทองแดง พระนิพนธ์ที่ เกี่ยวกับการเสด็จไปพระพุทธบาทของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรจึง มี ๒ ตอน คือ ตอนที่ ๑ เป็น กาพย์เห่เรือ เป็นการพรรณนาช่วงที่เสด็จทาง ชลมารค และกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง เป็น การพรรณนาช่วงที่เสด็จ ประพาสธารทองแดง ซึ่งเป็นธารน้ําในบริเวณเขาพระพุทธบาท
ผู้แต่ง ๘ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ พระนามที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ เจ้าฟ้ากุ้ง
ประวัติผู้แต่ง ๙ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง ทรงเป็นพ ระโอรสองค์ที่ ๑ ในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กับหลวงอภัยนุชิตพระมเหสี ใหญ่ (สมเด็จพระพันวัสสาใหญ่) มีบทพระราชนพนธ์ที่โดดเด่น ได้แก่ เพลงยาวบางบท บทเห่เรื่องกากี ๓ ตอน กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง พระมาลัยคําหลวง กาพย์เห่เรือ และนันโทปนันทสูตรคําหลวง เป็นต้น
จุดมุ่งหมายในการแต่ง ๑๐ เพื่อความเพลิดเพลินในการชมธรรมชาติระหว่างการเดินทาง ไปพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี เกร็ดความรู้ : พระพุทธบาท เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสระบุรี
๑๑ สาระสำคัญ ตอนต้นกล่าวถึงกระบวนเสด้จ และต่อด้วย พรรณนาสัตว์ป่า พรรณนานก พรรณนาพันธุ์ไม้ พรรณนาลําธารและปลา และพรรณนา ความ สนุกรื่นรมย์ที่ธารทองแดง
ลักษณะคำประพันธ์ ๑๒ กาพย์ห่อโคลง เป็นชื่อบทประพันธ์ที่แต่งขึ้นโดยใช้กาพย์ยานี ๑๑ แต่งสลับ กับโคลงสี่สุภาพอย่างละ ๑ บท โดยขึ้นต้นด้วยกาพย์ยานี ๑๑ และตามด้วย โคลงสี่สุภาพที่มีเนื้อความอย่างเดียวกัน คือ ให้วรรคที่ หนึ่งของกาพย์ยานี ๑๑ กับบาทที่หนึ่งของโคลงสี่สุภาพบรรยายข้อความ อย่างเดียวกัน
แผนผังกาพย์ห่อโคลง ๑๓ ที่มา : https://sites.google.com/site/natnarin002/khwam-ru-thawpi-kaphy-hx-kholng
เรื่องย่อ ๑๔ กล่าวถึงการเที่ยวไปในป่า มีสัตว์ต่าง ๆ เช่น เลียงผา กระจง ฝูงลิง ชะนี ฝูงค่าง งูเขียว ตุ๊กแก ยูงทอง ไก่ฟ้า หนู นก ต่าง ๆ เช่น นกแก้ว นกกระตั้ว นกแขกเต้านกโนรี นกสัตวา พืช ต่าง เช่น ช้องนาคลี่ สไบนางสีดา หัวลิง กระไดลิง พอถึงที่ธาร น้ำใสสะอาด เห็น นานาชนิดกำลังกินไคล (ตะไคร่น้ำ) จอก สาหร่าย ว่ายไปมาน่ารืื่นรมย์
เนื้อเรื่อง ๑๕ เที่ยวเล่นเป็นเกษมสุข แสนสิ่งสนุกปลุกใจหวัง เร่ร่ายผายผาดผัง หัวริกรื่นชื่นชมไพร สนุกเกษมเปรมหน้าเหลือบ ลืมหลัง แสนสนุกปลุกใจหวัง วิ่งหรี้ เดินร่ายผายผันยัง ชายป่า หัวร่อรื่นชื่นชี้ ส่องนิ้วชวนแล ถอดคำประพันธ์ : การเที่ยวเล่นในครั้งนี้ช่างมีความสุข สนุกสนาน เหลือเกิน เดินเข้าไปอย่างรวดเร็วเข่าไปในป่า หัวเราะกระซิกอย่าง สดชื่นร่าเริง โดยการชี้ชวนให้ชมธรรมชาติต่าง ๆ
เลียงผาอยู่ภูเขา หนวดพรายเพราเขาแปล้ปลาย รูปร่างอย่างแพะหมาย ขนเหม็นสาบหยาบเหมือนกัน ภูเขา เลียงผาอยู่พ่างพื้น ไปล่ท้าย หนวดพู่ดูเพราเขา มาเปรียบ รูปร่างอย่างแพะเอา กลิ่นกล้าเหมือนกัน ขนเหม็นสาบหยาบร้าย ถอดคําประพันธ์ : เลียงผาอยู่บนภูเขา มีรูปร่างคล้ายแพะ มีหนวดงาม ปลายเขาโค้งไป ข้างหลัง ขนหยาบและมีกลิ่นเหม็นสาบ เช่นเดียวกับ แพะ
๑๗ กระจงกระจิดเตี้ย วิ่งเรี่ยเรี่ยน่าเอ็นดู เหมือนกวางอย่างตาหู มีเขี้ยวน้อยสร้อยแนมสอง เอ็นดู กระจกกระจิดหน้า กระจ้อย เดินร่องเรีี่ยงามตรู ตีนกีบ เหมือนกวางอย่างตาหู แนบข้างเคียงสอง มีเคี่ยวขาวน้อยช้อย ถอดคําประพันธ์ : กระจงเป็นสัตว์ที่มีตัวขนาดเล็ก มองดูน่ารักน่าเอ็นดู มีตาหูและตีนกีบเหมือนกวางมีเขี้ยวน้อยสีขาวสองเขี้ยว แต่ไม่มีเขา
๑๘ ฝูงลิงใหญ่น้อยกระจุ้ย ชะนีอุ่ยอุ้ยร้องหา ฝูงค่างหว่างพฤกษา ค่างโจนไล่ไขว่ปลายยาง ฝูงลิงยวบยาบต้น พวาหนา ฝูงชะนีมี่กู่หา เปล่าข้า ฝูงค่างหว่างพฤกษา มาสู่ ครอกแครกไล่ไขว่คว้าง โลดเลี้ยวโจนปลิว ถอดคำประพันธ์ : ฝูงลิงทั้งตัวเล็กตัวใหญ่พากันขย่มต้นมะม่วงอยู่ยวบยาบ ฝูง ชะนีร้องกู่หาคู่ของมัน ฝูงค่างก็กระโดดไปมาระหว่างต้นไม้ ฝูงลิงต่างพากันร้อง ตะคอกเสียงครอกแครก พร้อมทั้งกระโดดไล่ไขว่คว้ากันบนปลายต้นยาง
๑๙ งูเขียวรัดตุ๊กแก ตุ๊กแกแก่คางแข็งขยัน กัดงูงูยิ่งพัน อ้าปากง่วงล้วงตับกิน พิษพลัน งูเขียวแลเหลื้อมพ่น คาบไว้ ตุ๊กแกคางแข็งขยัน ขนดเครียด กัดงูงูเร่งพัน ลากล้วงตับกิน ปากอ้างูจึงได้ ถอดคำประพันธ์ : งูเขียวตัวเป็นเงามันแสดงท่าเหมือนพ่นพิษ ถูก ตุ๊กแกคาบไว้ ในขณะเดียวกันงูเขียวก็รัดตุ๊กแกจนต้องอ้าปาก และ เข้าไปล้วงตับตุ๊กแกกินเป็นอาหาร
๒๐ ยูงทองย่องเยื้องย่าง รำรางชางช่างฟ่ายหาง ปากหงอนอ่อนสำอาง ช่างรำเล่นเต้นตามกัน รำฉวาง ยูงทองย่องย่างเยื้อง เฉิดหน้า รายร่ายฟ่ายเฟื่องหาง ลายเลิศ ปากหงอนอ่อนสำอาง ปีกป้องเป็นเพลง รำเล่นเต้นงามหง้า ถอดคำประพันธ์ : นกยูงทองย่องเยื้องย่าง แล้วรำแพนหางเชิดหน้าขึ้น เห็นปากงอนอ่อนช้อย แสดงอาการรำเล่นด้วยการยกปีกขึ้นป้องตามเพลง
๒๑ ไก่ฟ้าอ้าสดแสง หัวสุกแดงแทงเดือยแนม ปีกหางต่างสีแกม สีแต้มต่างอย่างวาดเขียน ปากแหลม ไก่ฟ้าหน้าก่ำกล้า เนื่องแข้ง หัวแดงเดือยแนม ลายลวด ปีกหางต่างสีแกม แต่งแต้มขีดเขียน ตัวด่างอย่างคนแกล้ง ถอดคำประพันธ์ : ไก่ฟ้าหน้าสุกใสมีปากแหลม หัวมีสีแดง กำลังแทงเดือย ขึ้นมา ปีกหางและลำตัวมีลวดลายงามเหมือนอย่างคนแกล้งแต่งสีให้มัน
๒๒ ดูหนูสู่รูงู งูสุดสู้หนูสู้งู หนูงูสู้ดูอยู่ รูปงูทู่หนูมูทู พรูพรู ดูงูขู่ฝูดฝู้ สุดสู้ หนูสู่รูงูงู งูอยู่ งูสู้หนูหนูสู้ รูปถู้มูทู หนูรู้งูงูรู้ ถอดคำประพันธ์ : มองเห็นหนูจะเข้าไปในรูงู งูจึงขู่หนูเสียงฟู่ ๆ งูจึงสู้กับ หนู หนูก็สู้กับงู อย่างเต็มกำลัง สัตว์ทั้งสองต่างก็รู้เชิงซึ่งกันและกัน ขณะต่อสู้ ต่างทำหน้ามู่ทู่ใส่กัน
๒๓ นกแก้วแจ้วเสียงใส คลอไคล้คู่หมู่สาลิกา นกตั้วผัวเมียคลา ฝ่าแขกเต้าเหล่าโนรี เร่หา นกแก้วแจ้วรี่ร้อง แวดเคล้า ใกล้คู่หมู่สาลิกา สมสู่ นกตั้วผัวเมียมา พวกพ้องโนรี สัตวาฝ่าแขกเต้า ถอดคำประพันธ์ : นกแก้วร้องแจ้ว ๆ เร่หาคู่ โดยเข้าไปใกล้หมู่นกสาลิกา ส่วนนกกระตั้ว ๒ ตัวผัวเมียกำลังสมสู่กันอยู่ ในขณะที่นกสัตวาจะต้องฝ่านก แขกเต้าเข้าไปหานกโนรี ซึ่งเป็นพวกพ้องของมัน
๒๔ กระจายสยายซร้องนาง ผ้าสไบบางนางสีดา ห่อห้อยย้อยลงมา แต่ค่าไม้ใหญ่สูงงาม นงพงา กระจายสยายคลี่ซร้อง ห่อห้อย สไบบางนางสีดา โบยโบก ยื่นเลื้อยเฟื้อยลงมา แกว่งเยื้องไปมา แต่ค่าไม้ใหญ่น้อย ถอดคำประพันธ์ : ต้นซ้องนางคลี่ และสไบนางสีดา ต่างก็ยื่นเลื้อยห้อยลงมา แต่ค่าคบไม้น้อยใหญ่ เมื่อยามลมพัดจะแกว่งไปมาดูสวยงามนัก
๒๕ หัวลิงหมากลางลิง ต้นลางลิงแลหูลิง ลิงไต่กระไดลิง ลิงโลดคว้าประสาลิง ลางลิง หัวลิงหมากเรียกไม้ หลอกขู้ ลางลิงหูลิงลิง ลิงห่ม ลิงไต่กระไดลิง ฉีกคว้าประสาลิง ลิงโลดฉวยชมผู้ ถอดคำประพันธ์ : เถาหัวลิง ต้นหมากลิง และลิงบางตัวก็ขั้นต้นหู ลิงทำหน้าหลอกคู่ของมัน บ้างก็ขึ้นไต่กระไดลิงขย่มเล่น บ้างก็ ตะโกนฉวยชมพู่คว้ามาฉีกเล่นตามภาษาลิง
๒๖ ธารไหลใสสะอาด มัจฉาชาติดาษนานา หวั่นว่ายกินไคลคลา ตามกันมาให้เห็นตัว รินมา ธารไหลใสสะอาดน้ำ หวั่นหว้าย มัจฉาชาตินานา เชยหมู่ จอกสร่ายกินไคลคลา ผุดให้เห็นตัว ตามคู่มาคล้ายคล้าย ถอดคำประพันธ์ : น้ำในลำธารใสสะอาดไหลรินมา หมู่ปลานานาชนิด ต่าง หากันว่ายไปมา กินจอกและสาหร่าย โดยว่ายตามกันมาเป็นหมู่ ๆ และผุดให้ เห็นตัวด้วย
บทวิเคราะห์ ๒๗ ๑. คุณค่าด้านเนื้อหา กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงมีเนื้อหาเชิงประวัติศาสตร์เป็นการ บันทึกเรื่องการเดินทาง ไปพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในสมัยเจ้าฟ้าธรรมธิเบ ศร กวีได้บันทึกภาพความงดงามตามธรรมชาติของธารทองแดง ซึ่งเป็นลําน้ําแห่ง หนึ่ง กล่าวกันว่า น้ําใสจนแลเห็นตัวปลา วรรณคดีเรื่องนี้พรรณนา ชม ธรรมชาติ ชมนก ชมไม้ และสัตว์ต่าง ๆ ทําให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของ ธรรมชาติในสมัยนั้น
๒๘ การกล่าวถึงสัตว์ต่าง ๆ เช่น ลิง เลียงผา ไก่ฟ้า นกยูง ปลา ทําให้ได้ความรู้ เกี่ยวกับธรรมราช ของสัตว์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการบรรยายธรรมชาติทําให้ อ่านแล้วเพลิดเพลิน ธารไหลใสสะอาดมัจฉา ชาติดาษนานา หวั่นว่ายกินไคลคลา ตามกันมาให้เห็นตัว
๒๘ เนื้อเรื่องฉบับเต็มกล่าวถึงขบวนเสด็จพยุหยาตราทางสถลมารค (ทางบก) พรรณนาถึง ช้าง เครื่องสูง นางกํานัล ชมสัตว์บกต่าง ๆ เช่น ช้างพัง ช้างพลาย หมีดํา เสือโคร่ง ระมาด (แรด) ละมัง เลียงผา ชมนก เช่น นกยูง นกเขา นกแก้ว ชมไม้ เช่น ชงโค กล้วยไม้ ละมุด มังคุด มะม่วง ลําไย มะไฟ ชมปลาต่าง ๆ เช่น ปลากระดี่ ปลาดุกอุย ปลา ตะเพียน นับว่าเป็นแหล่งความรู้เกี่ยวกับสัตว์ และพืชนานาชนิดได้เป็น อย่างดี
๓๐ ๒. คุณค่าด้านเแนวคิด กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงมีคุณค่าด้านแนวคิด ที่ สะท้อนผ่านการบรรยายและ พรรณนาเหตุการณ์ที่ปรากฏในเรื่อง โดยแนวคิดสําคัญของวรรณคดีเรื่องนี้ คือ ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากจะให้ความรื่นรมย์แก่มนุษย์แล้ว ยังช่วยทําให้ระบบนิเวศ เกิดความสมดุลอีกด้วย
๓๑ ๓. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๑. การเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงร้องของสัตว์ต่าง ๆ ฝูงลิงใหญ่น้อยกระจุ้ย ชะนีอุ่ยอุ้ยร้องหา ฝูงค่างหว่างพฤกษา ค่างโจนไล่ไขว่ปลายยาง ฝูงลิงยวบยาบต้น พวาหนา ฝูงชะนีมี่กู่หา เปล่าข้าง ฝุงค่างหว่างพฤกษา มาสู่ ครอกแครกไล่ไขว่คว้าง โลดเลี้ยวโจนปลิว
๓๒ ๒. การใช้คําที่แสดงการเคลื่อนไหว เช่น ยวบยาบ โจน ไล่ไขว่ คว้าง โลด เลี้ยว ปลิว อ้าปาก ลากล้วง รัด กัด พัน พ่น เป็นต้น งูเขียวรัดตุ๊กแก ตุ๊กแกแก่คางแข็งขยัน กัดงูงูยิ่งพัน อ้าปากง่วงล้วงตับกิน งูเขียวแลเหลื้อมพ่น พิษพลัน ตุ๊กแกคางแข็งขยัน คาบไว้ กัดงูงูเร่งพัน ขนดเครียด ปากอ้างูจึงได้ ลากล้วงตับกิน
๓๓ ๓. การเล่นเสียงสัมผัสสระและซ้ําคํา ลักษณะเป็นกลบทเรียกว่า กาพย์บาทเลื่อนล้า หรือเลื่อนลำ ดูหนูสู่รูงู งูสุดสู้หนูสู้งู หนูงูสู้ดูอยู่ รูปงูทู่หนูมูทู ๔. การใช้คำที่ทำให้เกิดจินตภาพโดยปรากฏทั้งสีและเสียง เช่น ไก่ฟ้าอ้าสดแสง หัวสุกแดงแทงเดือยแหนม ปีกหางต่างสีแกม สีแต้มแต่งอย่างวาดเขียน นกแก้วแจ้วเสียงใส คลอไคล้คู่หมู่สาลิกา นกตั้วผัวเมียคลา ฝ่าแขกเต้าเหล่าโนรี
๓๔ ๔. คุณค่าด้านสังคม กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงมีคุณค่าด้านสังคม ทั้งด้าน ประเพณีโบราณ และด้านธรรรมชาติวิทยา ดังนี้ ๑. ให้ความรู้เกี่ยวกับประเพณีการเสด็จทางสถลมารค (ทางบก) ของพระมหากษัตริย์ไทย ในสมัยอยุธยา ที่เดินทางไปพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
๓๕ ๒. ให้ความรู้ด้านธรรมชาติวิทยา กล่าวคือ ทําให้รู้ว่าผืนป่าในสมัยนั้นมี ความอุดมสมบูรณ์ สัตว์หลายชนิดที่ปรากฏในคําประพันธ์ ปัจจุบัน กลายเป็นสัตว์หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ วรรณคดี เรื่องนี้จึงช่วย บันทึกสังคม ให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ และทําให้เกิด ความตระหนักในการอนุรักษ์ธรรมชาติมากขึ้น
ความรู้จากวรรณคดี ๓๖ ๑. ได้ความรู้เรื่องสภาพธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ที่ธารทองแดง ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระตำหนักธารเกษมในสมัยเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ๒. ได้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของสัตว์และพรรณไม้ต่าง ๆ ภาพโบราณสถานตำหนักธารเกษม ที่มา : https://www.m-culture.go.th/saraburi/ewt_dl_link.php?nid=538
ข้อคิดนำชีวิต ๓๗ ๑. มนุษย์ควรพักผ่อนหย่อนใจกับธรรมชาติ เพื่อให้เกิความสุขใจ ใน ขณะเดียวกันควรรักษาธรรมชาติให้คงอยู่ตลอดไป ๒. การเดินทางเป็นการเพิ่มประสบการณ์ในชีวิตที่ดีทางหนึ่ง
๓๘ คำศัพท์ที่ควรรู้ แสกน QR Code เพื่อศึกษาคำศัพท์และรูปภาพเพิ่มเติม
๓๙ เว็บไซต์แนะนำ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง http://www.education.kapook.com.view104577.html
๔๐ กิจกรรมท้าทาย ๑. ให้นักเรียนเขียนคำประพันธ์ตอนที่ประทับใจมา ๑ บท ถอดคำประพันธ์ พร้อม เขียนบอกเหตุผลที่ประทับใจ ๒. ให้นักเรียนอธิบายลักษณะกาพย์ห่อโคลงในกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ว่ามีลักษณะอย่างไร พร้อมทั้งเขียนแผนผังประกอบ ๓. ให้นักเรียนยกตัวอย่างผลงานของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร มา ๓ เรื่อง ที่นอกเหนือจากกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ที่มา : หนังสือเรียนวรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
๔๑ บรรนานุกรม จิตต์นิภา ศรีไสย์, ประนอม วิบูลย์พันธ์, อินทร์ วุธ เกษตระชนม์.(๒๕๖๒). วรรณคดีและวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว). เพจภาษาไทยไม่จั๊กเดียม. (๒๕๖๓). กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก : https://web.facebook.com/search/top?q=ภาษาไทยไม่จั๊กเดียม. [๒๕๖๕, สิงหาคม ๙] ไพรฑูรย์ ศรีสุขา. (๒๕๕๘). ถอดคำประพันธ์กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก : https://sites.google.com/a/nonghanwit.ac.th. [๒๕๖๕, สิงหาคม ๙] อรรถผล แสงทอง และคณะ. (๒๕๕๗). กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก : http://elsd.ssru.ac.th/kwanjira_ph/pluginfile.php.pdf. [๒๕๖๕, สิงหาคม ๑๐] kapook education. (๒๕๖๔). กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ยอดแห่งวรรณศิลป์. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก : https://education.kapook.com/view104577.html. [๒๕๖๕, สิงหาคม ๑๐] ที่มาของภาพสัตว์ที่ปรากฏในบทประพันธ์ : https://www.pinterest.com
Search
Read the Text Version
- 1 - 42
Pages: