Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์

ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์

Published by JIRAPHAT NAMKAEW, 2022-03-14 13:15:17

Description: ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์

Search

Read the Text Version

1 ใบความรู้ที่ 2 เรือ่ ง โครงสร้างและหนา้ ทข่ี องเซลล์ เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีรูปร่างแตกต่างกัน เซลล์พืชส่วนใหญ่มีรูปร่างเหลี่ยม ส่วนเซลล์สัตว์มีรูปร่าง ค่อนข้างกลม แต่ทั้งเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ต่างมีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมือนกัน ได้แก่ เยื่อหุ้มเซลล์ ( cell membrane) ไซโทพลาซึม (cytoplasm) และนิวเคลียส (nucleus) ส่วนในเซลล์พืชพบโครงสร้างบางอย่าง แตกต่างออกไปจากเซลลส์ ตั ว์ คอื ผนังเซลล์ (cell wall) และคลอโรพลาสต์ เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีออร์แกเนลล์ (organelle) เป็นโครงสร้างทำหนา้ ทีเ่ ฉพาะอยูใ่ นไซโทพลาซมึ และ มีความสำคัญต่อการทำหน้าที่ในกิจกรรมต่าง ๆ ของเซลล์ ทำให้เซลล์สามารถดำรงชีวิตได้ เช่น คลอโรพลาสต์ ไมโทคอนเดรีย แวคิวโอล เปน็ ต้น สว่ นประกอบสำคญั ของเซลล์ - ผนงั เซลล์ (cell wall) เปน็ ส่วนทหี่ ่อหุ้มเซลล์ อยู่ด้านนอกของเย่ือหุ้มเซลล์ของเซลล์พืช เป็นโครงสร้าง ที่ไม่พบในเซลล์สัตว์ ผนังเซลล์มเี ซลลโู ลสเปน็ ส่วนประกอบหลักช่วยให้เซลลพ์ ืชแข็งแรงและคงรูปอยู่ได้ ผนังเซลล์ มกั จะยอมใหส้ ารส่วนใหญ่ผา่ นเขา้ และออกได้ - เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) เป็นส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ กั้นส่วนที่อยู่ภายในกับเซลล์กับสิ่งแวดล้อม ภายนอกเซลล์มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบสารประเภทลิพิดและโปรตีน เยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติเป็น เยื่อเลือกผ่าน (semipermeable membrand) นั่นคือยอมให้สารบางชนิดผ่านได้ เช่น น้ำ แก๊สออกซิเจน กรด ไขมนั และไมย่ อมให้สารบางชนดิ ผ่านอยา่ งอิสระ เชน่ น้ำตาลกลโู คส โปรตนี ซ่งึ สมบัตนิ ช้ี ว่ ยในการคุมปริมาณและ ชนดิ ของสารทผ่ี ่านเขา้ และออกจากเซลล์ - นิวเคลียส (nucleus) มีรูปร่างค่อนข้างกลม มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นส่วนที่แบ่งนิวเคลียสออกจาก ไซโพลาซึม เซลล์ทั่วไปมีนิวเคลียสเพียง 1 นิวเคลียส ภายในมีสารพันธุกรรม ซึ่งกำหนดลักษณะทางพันธุกรรม ที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกได้ นิวเคลียสมีหน้าที่ควบคุมการทำงานและกิจกรรมต่าง ๆ ของเซลล์ เช่น การเจริญเติบโตของเซลล์ การสงั เคราะห์สารภายในเซลล์ - ไซโทพลาซึม (cytoplasm) เป็นส่วนที่อยู่ภายในเซลล์ถัดจากเยื่อหุ้มเซลล์ มีลักษณะกึ่งเหลว ประกอบด้วยน้ำและสารต่าง ๆ เช่น น้ำตาล โปรตีน เป็นต้น ไซโทพลาซึมเป็นบรเิ วณที่มกี ิจกรรมของเซลล์เกิดขน้ึ มากมาย ในไซโทพลาซึมมีออร์แกเนลล์ (organelle) ซึ่งงเปรียบเหมือนกับอวัยวะของเซลล์ที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ ออร์แกเนลล์มีหลายชนิดแต่ละชนิดมีโครงสร้างและหน้าที่เฉพาะแตกต่างกัน ซึ่งจะทำงานประสานกันใน กระบวนการตา่ ง ๆ ของเซลล์ ออรแ์ กเนลล์ที่ควรรจู้ กั เบ้ืองตน้ ไดแ้ ก่ คลอโรพลาสต์ ไมโทคอนเดรีย แวควิ โอล - คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นออรแ์ กเนลล์ท่ีพบเฉพาะในพชื และสาหร่ายบางชนิด มรี ปู ร่างกลมรี ภายในมีโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นถุงแบน ๆ เรียงซ้อนกันเป็นกลุ่ม และมีสารสี (pigment) สีเขียว เรียกว่า คลอโรฟิลล์ (chlorophyll) คลอโรพลาสต์ทำหน้าทเ่ี กย่ี วกบั การสงั เคราะหด์ ้วยแสงของพืช

2 - ไมโทคอนเดรีย (mitichondria) เป็นออร์แกเนลล์ที่มีรูปร่างกลมรี ภายในมีเยื่อพับซ้อนกัน พบทั้งใน เซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ทำหน้าที่สลาบสารอาหารเพื่อให้พลังงานซึ่งจะนำไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของเซลล์ เช่น ใช้ในการเจรญิ เติบโต กาลำเลียงสารบางชนิด - แวคิวโอล (vacuole) เป็นออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเปน็ ถุงบรรจุสารต่าง ๆ พบทั้งในเซลลพ์ ืชและเซลล์ สัตว์ แวคิวโอลในพชื มีขนาดใหญ่ ทำหน้าที่เก็บสะสมน้ำและสารต่าง ๆ ที่พืชสรา้ งขึ้น เช่น สารสี น้ำตาล กรดและ แร่ธาตุ รวมทั้งของเสียต่าง ๆ ที่เก็บไว้ในรูปแบบผลึก ส่วนแวคิวโอลในสัตว์มีขนาดเล็กกว่าและมีจำนวนมากกว่า ทำหน้าทเ่ี กบ็ สะสมน้ำและอาหาร พืชและสัตว์แต่ละชนิดประกอบด้วยเซลล์หลายชนิด เซลล์แต่ละชนิดจะมีรูปร่างลักษณะที่มีความ เหมาะสมกับหน้าที่ของเซลล์นั้น รูปร่างลักษณะของเซลล์ต่าง ๆ ในสัตว์ มีความสัมพันธ์กับหน้าที่ของเซลล์นั้น ๆ เช่น เซลล์ประสาทส่วนใหญ่มีเส้นใยประสาทเป็นเส้นแขนงยาว เพื่อนำกระแสประสาทไปยังเซลล์อื่น ที่อยู่ไกล ออกไป เซลลเ์ มด็ เลอื ดแดงมีรูปร่างกลมแบนตรงกลางท้งั 2 ดา้ นเวา้ เขา้ หากันเพราะไม่มีนวิ เคลียส จงึ ช่วยเพ่ิมพื้นท่ี ในการลำเลียงออกซิเจนและทำให้เคลื่อนที่ในหลอดเลือดได้ง่าย ส่วนเซลล์สเปริ ์มมีหางเพราะช่วยในการเคลื่อนท่ี ไปหาเซลลไ์ ข่ ส่วนรปู รา่ งลักษณะของเซลล์พชื มคี วามหลากหลายเชน่ เดียวกัน เชน่ เซลล์ขนรากซึ่งเปน็ เซลลผ์ วิ ของ รากพืชทม่ี ีผนังเซลลแ์ ละเยือ่ หุม้ เซลลย์ ืน่ ออกมาเป็นหลอดคล้ายขนเสน้ เล็ก ๆ เพือ่ เพ่ิมพื้นท่ีผิวในการดดู นำ้ และธาตุ อาหาร เซลล์เนื้อเยื่อในการลำเลียงน้ำ มีลักษณะเป็นท่อกลวงยาวเพื่อใช้ในการลำเลียงน้ำจากรากไปส่วนต่าง ๆ ของพืช เซลล์คุม (guard cell) มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วหรือรูปไต มีผนังเซลล์หนาบางไม่เท่ากัน มีคลอโรพลาสต์ เซลล์คุมมหี นา้ ทใ่ี นการเปิดปิดปากใบเพือ่ ควบคุมการคายนำ้ ส่งิ มชี วี ติ มหี ลายชนิด ถ้าเปน็ สิ่งชีวติ เซลลเ์ ดียวจะสามารถดำรงชวี ติ ไดแ้ ละดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้ภายใน เซลล์เดียวนั้น แต่ถ้าเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์จะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนมากขึ้น ร่างกายของส่ิงมีชีวิตหลายเซลล์จึง ตอ้ งมกี ารจดั ระบบร่างกายเพ่ือใหส้ ามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ การจัดการระบบรา่ งกายของสิ่งมชี ีวิตเร่ิมจากเซลล์ เซลล์ มีหลายชนิด แต่ละชนิดอาจมีรูปร่างและหน้าที่เหมือนหรือแตกต่างกัน เซลล์ที่มีรูปร่างและหน้าที่เหมือนกัน จะมี การรวมกลุ่มกันเพื่อทำหน้าที่อย่างเดียวกัน เรียกกลุ่มเซลล์เหล่านี้ว่า เนื้อเยื่อ (tissue) เนื้อเยื่อหลายชนิดรวมกัน เกิดเป็นอวัยวะ (organ) ซึ่งมีรูปร่างลักษณะที่เหมาะสมกับหน้าที่ เมื่ออวัยวะรวมกันเกิดเป็นระบบอวัยวะ (organ system) และระบบอวยั วะทำงานสมั พันธ์กนั เปน็ ผลใหส้ ิ่งมีชีวติ (organism) สามารถดำรงชีวิตอย่ไู ด้

3 ภาพท่ี 1 สว่ นประกอบของเซลลพ์ ืช ทมี่ า : https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/66976/-blo-scibio-sci- สืบคน้ เม่ือ 9 มีนาคม 2564 ภาพที่ 2 สว่ นประกอบของเซลลส์ ัตว์ ทีม่ า : https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/66976/-blo-scibio-sci- สบื ค้นเม่ือ 9 มีนาคม 2564

4 ตารางที่ 1 เปรียบเทยี บความแตกต่างของเซลล์พืชและเซลล์สตั ว์ เซลลพ์ ืช เซลล์สัตว์ 1. เซลล์พชื มีรปู ร่างเป็นเหลย่ี ม 1. เซลลส์ ัตวม์ รี ปู รา่ งกลม หรอื รี 2. มีผนังเซลลอ์ ยู่ด้านนอก 2. ไมม่ ผี นังเซลล์ แตม่ ีสารเคลือบเซลล์อยดู่ า้ นนอก 3. มีคลอโรพลาสตภ์ ายในเซลล์ 3. ไมม่ ีคลอโรพลาสต์ 4. แวควิ โอลมีขนาดใหญ่ มองเหน็ ไดช้ ัดเจน 4. แวควิ โอลมีขนาดเลก็ มองเหน็ ไดไ้ ม่ชดั เจน


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook