Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore งานวัฒนธรรม

งานวัฒนธรรม

Published by frong blur, 2021-12-13 16:55:11

Description: งานวัฒนธรรม

Search

Read the Text Version

วิชา ภาษากับ วัฒนธรรม ความสัมพันธ์ ระหว่าง วรรณคดีกับ นาฏศิลป์ไทย นส.ฐิติชญา เขื่อนแก้ว ม.4/7 no.35

หัวข้อในการทำงาน มีดังนี้ 1.ความหมาย 2.ความรู้อื่นๆในหัวข้อที่ได้รับ 3.ให้วิเคราะห์ความสัมพั นธ์ ระหว่างวรรณคดีต่อหัวข้อที่ นักเรียนได้รับ 4.วิธีการอนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่

ความหมาย วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียน ที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทาง วรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมิน ค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกา ตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6 วรรณคดีเป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มี คุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มี ความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การ ให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะสามารถยกระดับจิตใจให้สูง ขึ้น รู้ว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร เเละทรงคุณค่า นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะการฟ้อนรำ หรือความรู้ แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ด้วยความประณีตงดงาม ให้ความบันเทิง อันโน้มน้าว อารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตาม ศิลปะ ประเภทนี้ต้องอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้อง เข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น หรือเรียก ว่า ศิลปะของการร้องรำทำเพลง

ความรู้ในหัวข้อที่ได้รับ นาฏศิลป์ เป็นศิลปะการแสดงประกอบดนตรีของ ไทย เช่น ฟ้อน รำ ระบำ โขน แต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อ เรียกและมีลีลาท่าการแสดงที่แตกต่างกันไป สาเหตุ หลักมาจากภูมิประเทศ ภูมิอากาศของแต่ละท้องถิ่น ความเชื่อ ศาสนา ภาษา นิสัยใจคอของผู้คน ชีวิต ความเป็นอยู่ของแต่ละภาคนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนาและ กลุ่มชนเผ่าต่างๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาว เขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิมและแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคง มีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่า รำที่แช่มช้า อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรม ท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้อง ด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันใน งานประเพณีหรือต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง

ความสัมพันธ์ระหว่าง วรรณคดีและนาฏศิลป์ไทย ทั้งสองอย่างคือศิลปะที่ต่างแขนงกันแต่สามารถ ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว วรรณคดีไทยไม่ใช่วัฒนธรรมทางหนังสือฝ่ายเดียว แต่เป็นศิลปะซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคีตศิลป์ และนาฏศิลป์ยากที่จะสามารถแยกออกจากกันได้ ส่วนนาฏศิลป์การแสดงดนตรี รำ-เต้นเป็นการแสดง ตามขนบแบบแผน มีการประยุกต์เปลี่ยนแปลง และ การแสดงร่วมสมัยการแสดงที่เกิดขึ้นเป็นการแสดง สดต่อหน้าผู้ชม และมีจุดมุ่งหมายเพื่อความงาม ความบันเทิงและเป็นงานแสดงที่ก่อให้เกิดการคิด วิพากษ์ นำสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสังคม เหมือนกับวรรณคดี

วิธีการอนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ 1.การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่น ตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระความสำคัญของภูมิปั ญญา 2.ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและ วัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่น นั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ ภูมิปัญญาที่เป็น เอกลักษณ์ของท้องถิ่น 3.สนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือ พิพิธภัณฑ์ชุมชน ขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อัน จะสร้างความ รู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นด้วย