ข้อมูล Information การฟ้อน นกกิ่งกะหร่า และการเต้นโต โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เรื่อง การวิจัยหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วมของมนุษยชนสำหรับสถานศึกษา ชุมชนป่าตุ้มดอน ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
ข้อมูล หน้า 1Iกnารfฟo้อrนmนaกtกิi่งoกnะหร่าและการเต้นโต ที่มา..https://Flickr.com/hiddenrhino คำว่า “กิ่งกะหร่า” เป็นคำในภาษาไทใหญ่ที่ กลายเสียงมาจากภาษาบาลีในคำว่า “กินรี” ส่วนคำว่า กินนร โดยความหมายตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2556 หมายถึง อมนุษย์ในนิยาย ที่มีความหมายอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดชนิดหนึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งนก อีกชนิดหนึ่งมี รูปร่างเหมือนคน คำว่า กินนร ต่อมาจึงเพี้ยนมา เป็นสำเนียงของคนไทยว่า “กิ่งกะหร่า” ส่วนชาว ไทใหญ่ในอดีตมักใช้คำว่า “นางนก” แทนคำว่า “กิ่งกะหร่า” โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เรื่อง การวิจัยหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วมของมนุษยชนสำหรับสถานศึกษา
ข้อมูล หน้า 2กI nารfฟo้อrนmนaกtกิi่งoกnะหร่าและการเต้นโต เขา คล้าย กวาง ตา คล้าย พญานาค หู คล้าย วัว รูปร่าง คล้าย ราชสีห์ หัว คล้าย กระต่าย }หลัง คล้าย อูฐ คาง คล้าย แพะ หงอน คล้าย ไก่ } ท่าทาง คล้าย ม้า ในพจนานุกรมไทยบอกว่าเป็นคำโบราณ หมายถึง “สิงโต” แต่โตที่เป็นการแสดงของชาวไทใหญ่ เป็นสัตว์ที่ เกิดจากการผสมของสัตว์มงคล 9 ชนิด ในป่าหิมพานต์ ได้แก่ เขา คล้าย กวาง ตา คล้าย พญานาค หู คล้าย วัว รูปร่าง คล้าย ราชสีห์ หัว คล้าย กระต่าย ท่าทาง คล้าย ม้า หงอน คล้าย ไก่ หลัง คล้าย อูฐ คาง คล้าย แพะ โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เรื่อง การวิจัยหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วมของมนุษยชนสำหรับสถานศึกษา
ข้อมูล หน้า 3Iกnารfฟo้อrนmนaกtกิi่งoกnะหร่าและการเต้นโต ประวัติความเป็นมา นกกิ่งกะหร่าและโตเป็นการจำลองเหตุการณ์ ที่มา..https://Flickr.com/hiddenrhino เมื่อคราที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากโปรดพุทธมารดา ที่มา..https://Flickr.com/hiddenrhino บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในครั้งนั้นเกิดปาฏิหาริย์ทั้ง 3 โลก คือ โลกสวรรค์ โลกมนุษย์ และนรก สามารถเห็นทะลุกัน ได้ทั้งหมด เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ที่เมืองสังกัสสนคร สัตว์ป่าหิมพานต์ต่างแสดง ความยินดีปรีดา ในตำนานกล่าวว่า..นกกิ่งกะหร่าและโตต่างกระโดด โลดเต้น ฟ้อนรำ เฉลิมฉลองการกลับมาของ พระพุทธองค์ ดังนั้นชาวไทใหญ่ยึดเอาคตินี้ ในเทศกาลออกพรรษา ชาวไทใหญ่จึงมีการแสดงฟ้อนนกกิ่งกะหร่าและเต้นโต เพื่อรำลึกเหตุการณ์เฉลิมฉลองเมื่อคราวพระพุทธเจ้า เสด็จกลับมาในครั้งนั้น โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เรื่อง การวิจัยหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วมของมนุษยชนสำหรับสถานศึกษา
ข้อมูล หน้า 4Iกnารfฟo้อrนmนaกtกิi่งoกnะหร่าและการเต้นโต เครื่องแต่งกาย หาง ลำตัว ปีก ที่มา..https://Flickr.com/hiddenrhino องค์ประกอบของเครื่องแต่งกายนกกิ่งกะหร่าเพื่อการแสดงฟ้อนนกกิ่งกะหร่านั้น จะมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ หาง ปีก และลำตัว ดนตรีที่ใช้บรรเลง “กลองปู่เจ่” เป็นกลองหน้าเดียวรูปร่างคล้ายกลองยาวมีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น อุเจ่ อู่เจ่ ปุ๊ดเจ่ และปั๊ดเจ่ เป็นต้น เดิมนิยมเล่นในหมู่ชาวไทใหญ่ ซึ่งเรียกกลองชนิดนี้ว่า \"กลองก้นยาว” ส่วนชาวไทลื้อเรียกกลองชนิด นี้ว่า \"กลองตีนช้าง” การประสมวงใช้กลองปู่เจ่ใบเดียว ฉาบขนาดกลาง 1 คู่และฆ้องโหม่ง ประมาณ 3-5 ใบ จังหวะและลีลา การตี จังหวะของวงกลองปู่เจ่นั้นค่อนข้างจะเร่งเร็ว โดยมีฆ้องโหม่งตียืนจังหวะด้วยความพร้อมเพรียง สำหรับการ ตีกลองนั้น ผู้ตีจะต้องมีลีลาประกอบ คือสะพายกลองย่อตัวขึ้นลงตามจังหวะขาข้างหนึ่งมักเหยียดไปข้างหลังขนานคู่กับ ตัวกลองส่วนท้าย ทำอาการยักไหล่ เอียงศีรษะให้ดูน่าชม ลูกเล่นการตีที่เรียก \"ลีลาหน้ากลอง” โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เรื่อง การวิจัยหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วมของมนุษยชนสำหรับสถานศึกษา
ข้อมูล หน้า 5กI nารfฟo้อrนmนaกtกิi่งoกnะหร่าและการเต้นโต ที่มาและความเชื่อเกี่ยวกับการฟ้อนนกกิ่งกะหร่า ที่มา..https://Flickr.com/hiddenrhino การ “ฟ้อนนกกิ่งกะหร่า” ถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม ในเทศกาลวันออกพรรษาของชาวไทใหญ่ ที่ปฏิบัติ สืบทอดกันมาหลายร้อยปี ซึ่งตรงกับวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 จึงเหมือนเป็นประเพณีที่ชาวไทใหญ่ให้ความสำคัญเป็น อย่างมาก ดังเรื่องราวพุทธประวัติที่เล่าขานกันไว้ว่า ในวันออกพรรษา เป็นวันที่สมเด็จองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ ลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรมเทศนาโปรด พุทธมารดา ครั้นถึงวันปวารณาออกพรรษา วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 พระพุทธองค์จึงเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ทางบันไดทิพย์ทั้ง 3 ได้แก่ บันไดเงิน บันไดทอง และ บันไดแก้ว จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สู่โลกมนุษย์ เหล่าบรรดาสิงสาราสัตว์น้อยใหญ่ ในป่าหิมพานต์แดนไกล และนักสิทธิ์วิทยาธรรูปร่างแปลก ๆ รวม ถึงมนุษย์ต่างก็ยินดีที่จะได้พบกับพระพุทธองค์ จึงมี การเตรียม การแสดงไว้คอยต้อนรับด้วยพากันมาฟ้อนรำแสดงความยินดี ในการเสด็จกลับมาของพระพุทธเจ้า โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เรื่อง การวิจัยหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วมของมนุษยชนสำหรับสถานศึกษา
ข้อมูล หน้า 6กI nารfฟo้อrนmนaกtกิi่งoกnะหร่าและการเต้นโต เครื่องแต่งกาย คนไทใหญ่จำลองชุดเครื่องแต่งกายขึ้นมา สวมใส่และฟ้อนรำคล้ายกับเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า จนกลายเป็นประเพณีของ ชาวไทใหญ่ที่นิยมแต่งกายด้วย เครื่องแต่งกายที่มี ส่วนปีก ส่วนหาง และลำตัว แบบนกกิ่งกะหร่าหรือ กินนร แล้วร่ายรำเลียนแบบอากัปกิริยาตามจินตนาการ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ในเทศกาลวันออกพรรษาของ ทุกปี ที่มา..https://oer.learn.in.th/ นก “กิ่งกะหร่า” หรือกินนร หรือ กินนรี เป็นอมนุษย์เป็นครึ่งคนครึ่งนก หรือ นัยว่ามีรูปร่างเหมือนคน เมื่อจะไปไหนมาไหน ก็จะใส่ปีกใส่หางบินไป ชาวไทใหญ่ได้จำลอง ชุดนกกิ่งกะหร่าขึ้นมาสวมใส่ ประกอบด้วยชุดที่ มีส่วนปีก ส่วนหาง และลำตัว มีท่วงท่ารำที่ อ่อนช้อย นับจากในอดีตจวบจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะทำรูปร่างลักษณะแตกต่างกัน ออกไปและมีชื่อเรียกต่างกันไป ที่มา..https://Flickr.com/hiddenrhino โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เรื่อง การวิจัยหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วมของมนุษยชนสำหรับสถานศึกษา
ข้อมูล หน้า 7Iกnารfฟo้อrนmนaกtกิi่งoกnะหร่าและการเต้นโต ศิลปะการแสดงฟ้อนนกกิ่งกะหร่าที่สะท้อนถึงวิถีแห่งชาวไทใหญ่ ความสำคัญของการฟ้อนนกกิ่งกะหร่า อยู่ที่ ลักษณะของท่าฟ้อนของการฟ้อนนกกิ่งกะหร่าที่สำคัญ ผู้ฟ้อนที่จะต้องมีทักษะความชำนาญใช้ปีก ใช้หางเพื่อ มีการสื่อความหมาย 3 ลักษณะคือ สามารถแสดงศิลปะการฟ้อนได้อย่างมีชั้นเชิง มีลีลาที่ ลักษณะที่หนึ่ง งดงาม และฟ้อนให้สอดคล้องกับทำนอง จังหวะของ กลองด้วย แสดงถึงความเคารพบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยท่าไหว้ ลักษณะที่สอง ส่วนท่ารำ จะเป็นท่าที่เลียนแบบอากัปกิริยาของ นกเช่น ขยับปีก ขยับหาง บิน กระโดดโลดเต้นไปมา เป็นการเลียนแบบธรรมชาติของนก ได้แก่ ท่าแถบ ตามจังหวะของกลอง ซึ่งกลองก็เป็นเครื่องดนตรีสำคัญ (การโฉบถลา) ท่านกขยับตัว ท่านกเดิน ท่านกอวดปีก ท่า ในการกำหนดท่าการฟ้อนกิงกะหร่า นกเล่นน้ำ ฯลฯ ลักษณะที่สาม แสดงถึงความรื่นเริงสนุกสนานในการฟ้อนของนกด้วย การแสดงลีลาการขยับปีกหางได้อย่างพริ้วไหวสวยงาม การขยับส่วนมือเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็วสื่อถึงกิริยา ของนกได้อย่างเป็นธรรมชาติ ที่มา..https://Flickr.com/hiddenrhino โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เรื่อง การวิจัยหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วมของมนุษยชนสำหรับสถานศึกษา
ข้อมูล หน้า 8Iกnารfฟo้อrนmนaกtกิi่งoกnะหร่าและการเต้นโต กระบวนท่าของการฟ้อนนกกิ่งกะหร่าที่สำคัญมีอยู่ 5 ท่ารำ ที่มา..https://Flickr.com/hiddenrhino ท่านั่งกราบไหว้ แสดงออกถึง การเคารพพระพุทธเจ้า ในการเสด็จกลับจากสรวงสวรรค์ของพระพุทธองค์ หรือ เป็นการทำความเคารพแขกผู้ชมด้วย ท่ากระโดดและดีดขา ทั้งซ้าย-ขวา และก้มหัวขึ้น-ลง แสดงถึงกิ่งกะหร่ากำลังจัดแต่งขน ปีก และหาง ท่าเกี้ยวพาราสี นางนกจะย่อตัวลงและเต้นไปตามจังหวะดนตรี โดยนกตัวผู้จะร่ายรำรอบนกตัวเมีย ซึ่งแสดงออกถึงความรักใคร่ในตัวเมีย ท่ากระพือปีกและร่ายรำ แสดงออกถึงการสนุกสนาน ร่าเริง และดีใจ และยังมีท่ารำต่าง ๆ ที่ครูผู้สึกสอนอาจจะคิดค้น หรือประยุกต์ขึ้นมาใช้เอง เพื่อปให้มีท่ารำมากยิ่งขึ้น และสวยงาม โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เรื่อง การวิจัยหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วมของมนุษยชนสำหรับสถานศึกษา
ข้อมูล หน้า 9กI nารfฟo้อrนmนaกtกิi่งoกnะหร่าและการเต้นโต การแสดงฟ้อนนกกิ่งกะหร่าและเต้นโต ในชุมชนบ้านป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ การแสดงฟ้อนนกกิ่งกะหร่าและเต้นโต เป็นหนึ่งในการแสดงที่ชาวไทใหญ่ในบ้านป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ที่ยังคงรักษาไว้ และมีการถ่ายทอดทั้งในรูปแบบรุ่นสู่รุ่นและการถ่ายทอดในสถานศึกษา ซึ่งแต่ เดิมในอดีตการแสดงฟ้อนนกกิ่งกะหร่าจะใช้สุภาพบุรุษเป็นผู้แสดงและสวมหน้ากาก แต่ปัจจุบันการฟ้อน นกกิ่งกะหร่ามีทั้งสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีในการแสดง โดยการฟ้อนนั้นจะมีวงดนตรีที่ประกอบไปด้วย กลองก้นยาว ฆ้อง และฉาบ ดนตรีมีจังหวะที่ค่อนข้าง เร็ว คนพื้นเมืองเรียกกันว่า “วงกลองปู่เจ่” ที่มา..https://Flickr.com/hiddenrhino โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เรื่อง การวิจัยหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วมของมนุษยชนสำหรับสถานศึกษา
ข้อมูล หน้า 10กI nารfฟo้อrนmนaกtกิi่งoกnะหร่าและการเต้นโต ในปัจจุบันการแสดงฟ้อนนกกิ่งกะหร่าและเต้นโต ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแค่ในช่วงเทศกาลออกพรรษาเท่านั้น แต่ยังมีการใช้ในโอกาสงานมงคลต่าง ๆ หรือการแสดงทางวัฒนธรรมของชาวไทใหญ่ ซึ่งจะนำการฟ้อนนกกิ่งกะหร่า และเต้นโตเพื่อมานำเสนออัตลักษณ์ความเป็นไทใหญ่ของชุมชน โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เรื่อง การวิจัยหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วมของมนุษยชนสำหรับสถานศึกษา
ข้อมูล หน้า 11กI nารfฟo้อrนmนaกtกิi่งoกnะหร่าและการเต้นโต วิทยากรชุมชน นายวีนัส ทองเผือก นายคำ นันติ นายสมัย ลือชา โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เรื่อง การวิจัยหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วมของมนุษยชนสำหรับสถานศึกษา
Search
Read the Text Version
- 1 - 12
Pages: