Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore (E-book)เรื่องสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยไทย

(E-book)เรื่องสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยไทย

Published by จันจิรา ก้านแก้ว, 2022-03-14 19:31:40

Description: (E-book) เรื่องสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยไทย จัดทำขึ้นในรายวิชานวัตกรรม และสื่อการสอนภาษาไทยจัดทำขึ้นเพื่อเป็นการนำเสนอการเรียนการสอนและเสริมสร้างความคิด ความเข้าใจ ให้กับนักเรียน ที่มีความสนใจในด้านสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยของไทย โดยเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหลักภาษา มาตรฐาน ตัวชี้วัด ในระดับชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 4

Keywords: สำนวน สุภาษิต และคำพังเพยไทย

Search

Read the Text Version

รปะรดัะบถชัม้นปศีึทกี่ษ4า สำ น ว น สุ ภา ษิต ไ ท ย

คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เรื่อง สำนวน สุภาษิต ไทยเล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชา นวัตกรรม และสื่อการสอนภาษาไทยจัดทำขึ้นเพื่อเป็นการนำเสนอ การเรียนการสอนและเสริมสร้างความคิด ความเข้าใจ ให้ กับนักเรียน ที่มีความสนใจในด้านสำนวน สุภาษิต และคำ พังเพยของไทย โดยเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหลักภาษา มาตรฐาน ตัวชี้วัด ในระดับชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 4 เช่น ความหมายของสำนวน มูลเหตุการเกิดสำนวนเป็นต้น ซึ่งมีเนื้อหาที่กระชับ เข้าใจง่าย เหมาะกับผู้ศึกษาทุกเพศ ทุกวัย ท้ายนี้ผู้จัดทำขอขอบพระคุณอาจารย์ศิริพร งามขจิต อาจารย์ที่ปรึกษา ในรายวิชานวัตกรรมและสื่อการสอน ภาษาไทย ที่อนุเคราะห์ให้คำแนะนำ ตลอดจนกระทรวง ศึกษาธิการ เจ้าของเอกสาร ตำรา หนังสือ และงานวิจัย ที่ได้กรุ ณาเผยแพร่งานวิจัยในสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ จนทำให้ผู้จัดทำได้นำมาสู่กระบวนการนำเสนอได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อผู้ให้ความสนใจศึกษา ตามสมควรต่อไป จันจิรา ก้านแก้ว มีนาคม 2565

สารบัญ หน้า ก เรื่อง ข คำนำ 1 สารบัญ 7 สำนวน 13 สุภาษิ ต 19 คำพังเพย แบบฝึกหัด อ้างอิง

สำ น ว น

สำนวน คืออะไร สํานวน หมายถึง ถ้อยคําที่มีความ หมายไม่ตรงความหมาย มีความ หมายไปในเชิงเปรียบเทียบ เช่น ปอกกล้วยเข้าปาก มาเหนือเมฆ ดาบสองคม ก้างขวางคอ กาคาบพริก กลัวจนตัวสั่น

“ปอกกล้วยเข้าปาก” มีความหมายว่า เรื่องง่าย ๆ ที่สามารถ สะสางให้สำเร็จได้อย่างรวดเร็ว ที่มาของ “ปอกกล้วยเข้าปาก” มาจาก กล้วย ซึ่งเป็นผลไม้ที่ ปอกเปลือกได้ง่ายกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ ดังนั้น การกินกล้วย ก็ทำได้อย่างง่ายดายเช่นกัน ตัวอย่างการนำไปใช้งาน “เดี๋ยวนี้ต่อให้คนที่ไม่เคยทำ อาหาร ก็สามารถทำอาหารได้ง่าย ๆ เหมือนปอกกล้วยเข้า ปาก เพราะมีเครื่องปรุงอาหารสำเร็จรูปขายกันมากขึ้น”

“มาเหนือเมฆ” มีความหมายว่า คิดหรือทำการสิ่งใดด้วย ชั้นเชิงที่เหนือกว่าผู้อื่น ที่มาของ “มาเหนือเมฆ” มาจาก สำนวนที่มาจากความ เชื่อโบราณว่า ผู้ที่มีอิทธิฤทธิ์สามารถเหาะเหินเดิน อากาศเหนือเมฆได้ เป็นผู้มีสรรพวิชาความรู้เหนือกว่าผู้ อื่น ดังนั้น จึงใช้เปรียบเทียบกับคนที่มีสติปัญญา ความ คิด หรือแผนการที่มีชั้นเชิงเหนือความคาดหมาย ตัวอย่างการนำไปใช้งาน “โจรสมัยนี้มักจะมาเหนือเมฆ สรรหาวิธีการใหม่ ๆ ที่คาดไม่ถึงมาได้ตลอด เราจึงต้อง คอยระวังตัวเองให้มากขึ้น เพื่อลดช่องโหว่ที่อาจเป็น โอกาสให้โจรเข้ามาปล้นได้”

“ดาบสองคม” มีความหมายว่า สิ่งที่มีทั้งคุณและโทษในตัวเอง ที่มาของ“ดาบสองคม” มาจาก ดาบที่มีคมทั้งสองด้าน แม้จะ เป็นอาวุธที่ร้ายกาจ สามารถใช้ฟันแทงได้ดี แต่หากเกิดพลาด พลั้งหรือผู้ใช้ไม่มีความชำนาญเพียงพอ ก็อาจสร้างความบาด เจ็บให้กับผู้ใช้ได้เช่นกัน ตัวอย่างการนำไปใช้งาน “การสอนเรื่องเพศศึกษาให้กับเด็ก ก็เหมือนดาบสองคมที่ทำให้เด็กเข้าใจ และรู้จักป้องกันตัวเอง แต่อีกด้านหนึ่ งก็ทำให้เด็กเห็นช่องทางในการทำเรื่องที่ไม่ สมควรได้มากขึ้น”

“กาฝาก” มีความหมายว่า กินอยู่กับผู้อื่น โดยไม่ได้ทำประโยชน์ อะไรให้ ที่มาของ “กาฝาก” กาฝากเป็นต้นไม้เล็กๆ เกิดเกาะอยู่กับต้นไม้ ใหญ่ และอาศัยอาหาร ในต้นไม้ใหญ่เลี้ยงตัวเอง ตัวอย่างการนำไปใช้งาน ต้นไม้ที่มีกาฝากอยู่ ก็ต้องลดอาหารที่ ได้สำหรับเลี้ยงตนไปเลี้ยงกาฝาก ประเทศก็เหมือนกัน มีภาวะ การหาประโยชน์ได้มาก ก็ต้องเสียกำลังและทรัพย์ไปในทางนั้น มากมาจาก คนที่แอบแฝงเกาะกินผู้อื่นอยู่โดนไม่ได้ทำประโยชน์ อะไรให้เขา จึงเรียกว่ากาฝาก

สุ ภา ษิต

สุภาษิต คืออะไร สุภาษิต คือ ถ้อยคํา ที่เป็นคติสอน ใจมีความหมายสั่งสอนให้ประพฤติ ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี เช่น เข็นครกขึ้นภูเขา น้ำขึ้นให้รีบตัก ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน รักวัวให้รักลูกให้ตี รำไม่ดีโทษปี่ โทษกลอง

“เข็นครกขึ้นภูเขา” มีความหมายว่า ทำงานที่ยากลำบากอย่างยิ่ง ต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทนอย่างมาก ซึ่งบางทีอาจเกิน กำลังความสามารถหรือสติปัญญาของตน ที่มาของ “เข็นครกขึ้นภูเขา” มาจาก ครกที่ใช้ตำข้าวในสมัยก่อน มี ขนาดใหญ่และหนัก ทำจากไม้ทั้งต้น ขุดเอาเนื้อในออกให้เป็นหลุม ลึก อาจเรียกว่า ครกกระเดื่องหรือครกซ้อมมือ ขึ้นอยู่กับการนำไป ใช้ การเข็นครกขึ้นภูเขาที่มีความลาดชัน จึงเป็นสิ่งที่ยากลำบากเป็น อย่างมาก ตัวอย่างการนำไปใช้งาน “ก่อนคุณจะรับงานก็ควรดูให้ดีก่อน ไม่ใช่ รับมาแล้วกลายเป็นว่า เข็นครกขึ้นภูเขา สุดท้ายโดนครกกลิ้งทับตัว ตาย มันจะแย่เอา”

“น้ำขึ้นให้รีบตัก” มีความหมายว่า ให้รีบไขว่คว้าโอกาสที่กำลังมาถึง ที่มาของ “น้ำขึ้นให้รีบตัก” มาจาก วิถีชีวิตของคนไทยที่ผูกพันอยู่ กับสายน้ำ เนื่องจากสมัยก่อน เราจะใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลองในการ ดำเนินชีวิต ทั้งหุงหาอาหาร ดื่มกิน เวลาน้ำขึ้นเปี่ ยมฝั่ งก็จะใส สะอาด ผู้คนจึงมักฉวยโอกาสตักน้ำไปเก็บไว้ใช้สอย แต่เมื่อน้ำลงก็ จะขุ่นและตักได้ยาก ตัวอย่างการนำไปใช้งาน “ตอนนี้สินค้าของบริษัทเรากำลังเป็นที่ นิยม เป็นที่ต้องการของตลาดมาก โอกาสมาถึงแล้วน้ำขึ้นให้รีบตัก เพราะฉะนั้น เราต้องฉวยโอกาสนี้ไว้ด้วยการเพิ่มกำลังการผลิต สินค้าให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า”

“ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” มีความหมายว่า จะทำการใด ๆ พยายามทำด้วยตัวเองอย่างสุดความสามารถ ที่มาของ “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” มาจากพุทธสุภาษิตที่ว่า อัตตาหิ อัตตโน นาโถ มีความหมายว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน สอนให้เรารู้จักพึ่งพาตนเองรู้จักที่จะใช้ความรู้ความสามารถ ของตนเองออกมาช่วยเหลือตนเองและนำพาตนเองไปสู่สิ่ง ที่ดีสิ่งที่ถูกต้อง ตัวอย่างการนำไปใช้งาน สุนีย์บอกสุชาติว่า “อย่ามัวแต่ขอ ความช่วยเหลือจากฉัน นายควรทำตัวตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เสียบ้าง”

“เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน” มีความหมายว่า พยายามเก็บหอมรอมริบ เก็บเล็กผสมน้อย จนสำเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ที่มาของ “เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน” มาจาก “เบี้ย” ในที่นี้หมายถึง เบี้ย จั่น ซึ่งเป็นเงินตราในสมัยโบราณ เวลาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า กันตามตลาดอาจมีคนทำเบี้ยตกไว้แต่ไม่มีใครสนใจเพราะมีราคา ต่ำ ในทางกลับกันหากเก็บสะสมเบี้ยไว้จำนวนมาก ๆ ก็อาจกลาย เป็นสิ่งมีค่าขึ้นมาได้ ตัวอย่างการนำไปใช้งาน “ใครจะรู้ว่าธุรกิจเก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน แบบเคาน์เตอร์เซอร์วิสที่ให้บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการ ที่ เก็บค่าบริการทีละ 10-15 บาท สุดท้ายจะมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ ขนาดนี้”

คำ พัง เ พ ย

คำพังเพย คืออะไร คําพังเพย หมายถึง ถ้อยคําที่กล่าว ขึ้นมาเพื่อให้เข้ากับเรื่องราว เพื่อสื่อ ความหมายให้ชัดเจน เช่น ขี่ช้างจับตั๊กแตน คางคกขึ้นวอ โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ จระเข้ขวางคลอง เกลือเป็นหนอน กิ้งก่าได้ทอง

“ขี่ช้างจับตั๊กแตน” มีความหมายว่า ลงทุนลงแรงมาก แต่ได้รับ ผลตอบแทนเพียงน้อยนิด ที่มาของ“ขี่ช้างจับตั๊กแตน” มาจาก ตั๊กแตนเป็นแมลงตัวเล็ก ๆ ที่กระโดดได้ไกลและรวดเร็วมาก การขี่ช้างเพื่อไปจับตั๊กแตน จึง เป็นการลงทุนลงแรงอย่างมหาศาล ทำใหญ่โตเกินความจำเป็น แต่ผลประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนลงแรงนั้น ตัวอย่างการนำไปใช้งาน “เธอลงทุนเหมาร้านอาหารจัดงานวัน เกิด เพียงเพราะอยากเจอเพื่อน ๆ แค่นี้ ฉันว่าเธอกำลังขี่ช้างจับ ตั๊กแตนอยู่นะ”

“คางคกขึ้นวอ” มีความหมายว่า ผู้ที่มีฐานะต่ำต้อย พอได้ ดิบได้ดีแล้วมักแสดงกิริยาอวดดี ลืมตัว ที่มาของ“คางคกขึ้นวอ” มาจาก “วอ” คือ พาหนะลักษณะ รูปเรือนมีหลังคาทรงจั่ว มีคานอยู่ข้างใต้เพื่อให้คนหามใช้ สำหรับเจ้าขุนมูลนายหรือข้าราชการฝ่ายใน ถึงแม้คางคก จะขึ้นนั่งบนวอที่ทรงเกียรติ แต่ก็ไม่สามารถลบล้างความ อัปลักษณ์น่าเกลียดน่ากลัวของตัวมันได้ ตัวอย่างการนำไปใช้งาน “ดาราคนนี้ถูกมองว่าเป็นคางคก ขึ้นวอ เมื่อก่อนเคยอยู่ในสลัม พอได้มาเป็นดาราดัง ได้ ดีแล้วท่าทีก็เปลี่ยนไป ทำตัวเรื่องมาก ดูถูกคนอื่นเสมอ ๆ ”

“โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ” มีความหมายว่า ทำลายล้างสิ่งไม่ดี หรือสิ่งชั่วร้ายให้หมดสิ้น ที่มาของ “โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ” มาจากธรรมชาติของต้น กล้วยที่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ถึงจะตัดลำต้นทิ้ง ไป แต่หน่อของมันก็สามารถเจริญเติบโตขึ้นใหม่ได้ ถ้าหากจะ โค่นต้นกล้วยก็ควรขุดรากถอนโคน อย่าเหลือหน่อทิ้งไว้ ตัวอย่างการนำไปใช้งาน “พวกค้ายาเสพติดมักจะทำกันเป็น ขบวนการขนาดใหญ่ หากคิดจะกวาดล้างก็ต้องทำให้สิ้นซาก ถึงต้นตอผู้บงการและพรรคพวกทั้งหมด เหมือนโค่นกล้วย อย่าไว้หน่อ”

“จระเข้ขวางคลอง” มีความหมายว่า ผู้ที่คอยกันท่าหรือขัด ขวางไม่ให้ผู้อื่นทำสิ่งที่ปรารถนาได้โดยสะดวกราบรื่น ที่มาของ “จระเข้ขวางคลอง” มาจาก ในสมัยก่อน คนไทย นิยมเดินทางไปมาหาสู่กันโดยล่องเรือไปตามแม่น้ำลำคลอง หากระหว่างทางเกิดพบเห็นจระเข้ที่เป็นสัตว์ร้ายปรากฏตัว ขึ้น ก็กลัวเกรง ไม่กล้าที่จะเดินทางต่อไปให้ถึงจุดหมาย ตัวอย่างการนำไปใช้งาน “คนใช้รถสมัยนี้ทำอะไรเอาแต่ความ สะดวกของตัวเอง อยากจอดรถตรงไหนก็จอด ทำตัวเป็น จระเข้ขวางคลอง โดยไม่คิดว่ามันทำให้การจราจรติดขัด”

ชื่อ................................................ชั้น...............เลขที่............. คำชี้แจง จงลากคำศัพท์ในช่องว่างต่อไปนี้ไปเติมให้สมบูรณ์ ได้หวี สองมือ กระด้ง ทอง กะลา ยื่นแมว แก้ว เกลือ นาย หนอน 1. หัวล้าน 6. วานรได้ 2. ยื่นหมู 7. กบเลือก 3. เกลือจิ้ม 8. กบใน 4. เกลือเป็น 9. จับปูใ่ส่ 5. กิ้งก่าได้ 10. จับปลา





ชื่อ................................................ชั้น...............เลขที่............. คำชี้แจง จงบอกว่าคำต่อไปนี้เป็นสำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพย 1. บัวไม่ให้ช้ํา น้ำไม่ให้ขุ่น 2. ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว 3. แกว่งเท้าหาเสี้ยน 4. กิ่งทองใบหยก 5. ไก่อ่อน 6. ดินพอกหางหมู 7. ปิดทองหลังพระ 8. ใกล้แค่คืบ 9. รำไม่ดีโทษปี่ โทษกลอง 10. กำปั้ นทุบดิน

ชิดพงษ์ กวีวรวุฒิ. (2553). ๕๕๐ สำนวน สุภาษิต คำพังเพยไทย สอนใจเด็กดี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เอ็ม ปิยธิดา สังฆะโณ. (2550). การพัฒนาบทเรียนสําเร็จรูป การ์ตูน เรื่องสํานวน สุภาษิต และคําพังเพย ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมหาวชิราวุธ จ.สงขลา. สารนิพนธ์. สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook