๔๙ 3. การสร้างทางสายเหนอื ศรี ษะ 3.1 กล่าวทั่วไป ทางสายควรวางเหนือศีรษะ ณ ที่บังคับการบริเวณท่ีมีหน่วยทหาร หนาแน่น ตามถนน ณ ตำบลซึ่งการจราจรจะเปลี่ยนเส้นทางแยกจากถนนและตำบลท่ีถนนสายหลักและ รองตดั กัน การสรา้ งทางสายเหนือศีรษะขา้ มแม่น้ำลำธาร หุบเขา ซ่งึ อยู่ในแผนการบนิ หรือเส้นทางอากาศ ของอากาศยานปีกหมุน จะต้องทำเครื่องหมายไว้ด้วยแถบสีขาวเป็นห้วงๆ ตรงช่วงท่ีข้าม ทางสายเหนือ ศรี ษะในชว่ งท่ีอยใู่ กลก้ บั ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ จะตอ้ งทำเคร่อื งหมายไว้ในลักษณะเดียวกัน 3.2 การผูกสาย ในการสร้างสายเหนือศีรษะจะต้องผูกสายท่ีปลายท้ังสองของช่วงที่อยู่ เหนือศีรษะน้ันให้แน่น แบบของการผูกสายที่ใช้น้ันขึ้นอยู่กับความยาวของช่วง และสภาพอากาศใน ทอ้ งถน่ิ การผูกสายนัน้ กระทำท่ียอดและที่โคนสิ่งค้ำจุน ทางสายน้ันควรจะผูกป้ายสายติดไว้เหนือจุดท่ีผูก ทโ่ี คนของสิ่งค้ำจนุ 3.3 การตกท้องชา้ งในทางสาย การตกท้องชา้ งในทางสายน้นั เป็นปจั จัยสำคัญอนั หนึ่งของ การสร้างทางสายเหนือศีรษะ พลสร้างสายอาจจะทำให้ตกทอ้ งช้างนอ้ ยที่สุดตามต้องการตามช่วงทางสาย เหนือศีรษะได้ โดยการดึงสายให้ตึงเท่าที่จะทำได้ตามลำพังแรงแขนของตนเท่าน้ัน กฎเกณฑ์อย่างง่ายๆ คือ ให้ตกท้องช้างได้ 6 นิ้ว ทุกๆ ช่วงยาว 25 ฟุต เมื่อทำตกท้องช้างในทางสายท่ีข้ามถนนทุกสาย จำเป็นตอ้ งให้มีชอ่ งวา่ งทางสงู พ้นจากผวิ ถนนอยา่ งนอ้ ยทส่ี ุด 18 ฟตุ รปู ที่ 51 วิธีผกู สายทโี่ คนและยอดของส่ิงค้ำจุน
๕๐ 3.4 เสาจ่ายกระแสกำลังและเสาไฟฟ้าแสงสว่าง เม่ือใชเ้ สาจ่ายกระแสไฟฟ้ากำลังสูงเป็น ส่ิงค้ำจุนในการสร้างสายเหนือศีรษะ จะต้องผูกสายสนามให้ต่ำกว่าสายไฟกำลังสูงน้ัน 4 ถึง 6 ฟุต ท้ังน้ี ขึ้นอยู่กับศักย์ไฟฟ้าของทางสาย ระยะเหล่าน้ีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเสียงฮัมจากการชักนำบนทางสายและ เพ่ือความปลอดภยั ของพลสร้างสายด้วย ข้อควรระวัง บรรดาสายไฟกำลังสูงและสายไฟให้แสงสว่างท้ังหมด เราต้องถือว่ามี ศักย์ไฟฟ้าที่เป็นอันตรายอยู่ อย่าผูกสายสนามเข้ากับตัวหม้อแปลง ก้านโคมไฟฟ้าให้แสงสว่าง หรือ กางเขนของสายไฟกำลังสูง เม่ือทำงานอยู่ใกล้สายไฟกำลังสูง น้ันต้องระมัดระวังอย่างที่สุด ให้สังเกตดูข้อ ควรระมัดระวงั เพ่ือความปลอดภัยทกุ อยา่ ง และให้ปฏิบตั ติ ามวธิ ีสร้างสายท่ีปลอดภัย 3.5 ทางสายบนเสาสายโถง เม่ือเอาสายโทรศัพท์สนาม ผูกเข้ากับเสาของสายโถงจะต้อง ผูกต่ำกว่าลูกถ้วยของสายโถงอย่างน้อย 2 ฟุต ช่องว่างนี้จะลดโอกาสเกิดการรบกวนทางการชักนำหรือ ลดการสัมผัสระหวา่ งสายโทรศพั ทส์ นามและวงจรสายโถงให้น้อยทีส่ ุด 4. การสรา้ งเสาค้ำสายสำหรับชว่ งสายเหนอื ศรี ษะ 4.1 กล่าวทัว่ ไป เม่อื ไมม่ ีเสา ต้นไมห้ รือสง่ิ ค้ำยนั ทางสายเหนอื ศรี ษะ วธิ ที ี่สะดวกใหใ้ ช้เสา ค้ำสาย PO–2 เพื่อค้ำยันสายเหนือศีรษะได้ เสาค้ำสายท่ีทำด้วยไม้เหล่านี้มี ความยาว 14 ฟุต เส้นผ่าศนู ย์กลาง 2 นิ้ว เสี้ยมให้แหลมท่โี คนเสา มหี มุดฉนวนอันหนึ่งสอดอยู่กับฉนวน IN–12 หรอื IN-15 และตดิ อยู่ท่ยี อดเสา 4.2 การสร้างเสาค้ำสายบนถนน ทางสายทข่ี า้ มถนน จะตอ้ งมชี ่องว่างทางสงู จากผิวถนน 18 ฟุต แต่เน่ืองจากเสาค้ำสายยาวเพียง 14 ฟุตเท่านั้น ความยาวส่วนที่เหลือจึงได้จากการมัดเสา 2 ต้น เข้าด้วยกัน (รูปท่ี 53) ให้มัดเสาด้วยสายสนามโดยให้เสาเหล่ือมกันอย่างน้อย 5 ฟุต การสร้างเสาแบบนี้ อาจจะค้ำจนุ ทางสายสนามได้ถึง 10 เสน้ ในช่วงสั้นๆ เช่น การสรา้ งถนนเป็นต้น 4.3 การต้ังเสาและการรงั้ เสาในช่วงสายเหนอื ศีรษะ ช่วงสายเหนือศีรษะซ่ึงใช้เสาค้ำสาย จะต้องผูกร้ังใหม้ นั่ คง การจัดและผูกรัง้ ชว่ งสายเหนอื ศีรษะให้ถูกต้อง ให้กระทำดังนี้ 4.3.1 มัดเสาค้ำสายเข้าด้วยกัน (ตามข้อ 4.2 ข้างต้น) แล้ววางเสาค้ำสายลงบนพื้นให้ ขนานกบั ถนน 4.3.2 ผูกสายเขา้ ท่ีฉนวนบนเสาคำ้ สาย (ใช้เงอ่ื นตะกรุดเบ็ด) 4.3.3 ผูกปลายขา้ งหน่งึ ของสายหนวดพราหมณ์แตล่ ะเส้นใกล้ๆ ยอดเสาค้ำสาย (สายสนามเหมาะสำหรบั จะใช้เปน็ สายหนวดพราหมณ์) 4.3.4 ยกเสาคำ้ สายข้ึนตัง้ และจัดให้อยู่ในแนวเดียวกัน 4.3.5 ผูกสายหนวดพราหมณ์เข้ากับสิ่งที่ยึดมั่น เช่น เสา ต้นไม้หรือหลัก ให้ทำมุม 45 องศากบั ทางสาย 4.3.6 เอาทางสายผกู เขา้ กบั หลักที่โคนเสาค้ำสาย 4.3.7 ผกู ปา้ ยสายเหนอื เง่อื นทผี่ กู กับหลักตรงโคนเสาค้ำสาย
๕๑ รูปที่ 52 การสร้างสายข้ามถนนโดยใช้เสาคำ้ สาย รปู ท่ี 53 การผูกมดั เสาค้ำสายเข้าด้วยกนั การรั้งเสาค้ำสายท่ีค้ำจุนสายเหนือศีรษะ เสาค้ำสายที่ใช้ค้ำทางสายสนามเหนือศีรษะ แต่ละตน้ จะต้องผูกรัง้ ด้วยสายหนวดพราหมณ์ เสาแต่ละต้นจะมีสายหนวดพราหมณ์ 2 เส้นทำมุมฉากกับ ทางสายทุกเสา ทุกต้นที่ 10 จะร้ังด้วยสายหนวดพราหมณ์ 4 เส้น โดยผูกข้างละ 2 เส้น ทำมุม 45 องศา กบั ทางสาย ความยาวของแต่ละช่วงจะเปลี่ยนแปลงไปตามความแรงของพายุในพ้ืนทนี่ ้ันๆ ปกติจะมคี วาม ยาวช่วงละ 100 ฟุต
๕๒ 5. การสรา้ งทางสายขา้ มถนน 5.1 กลา่ วท่ัวไป ในระหว่างการสร้างทางสายสนามบางทีจำเป็นต้องสรา้ งทางสายข้ามถนน ในกรณีเช่นนี้อาจทำได้โดยการวางทางสายลอดท่อ วางทางสายเหนือศีรษะหรือฝังทางสายใต้ดิน สำหรับ ถนนทีม่ ผี ิวพืน้ แข็งซึ่งเป็นทางจราจรของยานล้อ และห้ามไม่ให้ฝังสายอาจทำได้โดยวางเป็น“รปู ขั้นบันได” ท้ังนี้กระทำได้โดยตัดทางสายสนามออก แล้วแยกปลายสายแต่ละเส้นต่อเข้ากับสายโทรศัพท์ที่ยังเป็น เกลียวคอู่ ยู่ ซ่งึ ตัดออกมาต่างหากเป็นท่อนๆ การต่อน้ันอาจใช้ท่อนเดยี วหรือหลายท่อน แล้ววางท่อนสาย เหล่านี้ข้ามถนนให้ขนานกัน โดยมีระยะห่างมากกว่าความยาวท่ีมากท่ีสุดของยานพาหนะที่คาดว่า จะผ่านถนนนั้น ปลายสายอีกข้างหนึ่งของท่อนสายท่ีจัดเป็นรูปข้ันบันไดน้ีนำไปต่อเข้ากับทางสายเดิม ซ่ึงอยู่อีกข้างหนึ่งของถนนในทำนองเดียวกัน เม่ือได้ตรึงทางสายเรียบร้อยแล้วสายข้ันบันไดเหล่านี้ (แต่ละท่อนจะทำหน้าที่เหมือนส่ือเส้นเดียว) จะใช้ทำการสื่อสารในข้ันต้นได้ แต่ควรเปล่ียนเป็นการวาง สายขา้ มถนนเหนือศีรษะ เมอ่ื ได้จัดทางสายเรียบร้อยแลว้ 5.2 การวางลอดทอ่ การวางสายลอดท่อ เป็นวิธที เ่ี ร็วทีส่ ุดทจ่ี ะเอาสายผ่านจากขา้ งหน่ึงไป ยงั อกี ขา้ งหนง่ึ ของถนน สายท่ีผ่านท่อนั้นใหผ้ กู ยึดให้แนน่ และผูกป้ายสายไว้ทีป่ ากทอ่ ท้ัง 2 ด้าน (รูปท่ี 54) ตรงท่ีสายแตะกับท่อควรจะใช้ผา้ พนั สายพนั เพื่อป้องกนั ฉนวนชำรดุ 5.3 ทางสายเหนือศีรษะ การวางสายข้ามถนนเหนือศีรษะน้ัน อาจอาศัยต้นไม้ เสา หรือ ส่ิงค้ำจุนอ่ืนๆ ทางสายจะต้องผูกที่ระดับพ้ืนดินเช่นเดียวกับที่เหนือศีรษะ ผูกป้ายสายเข้ากับสายเหล่าน้ี ทีโ่ คน สง่ิ ค้ำจุนท้ัง 2 ด้าน เสาคำ้ สายสำหรบั ขา้ มถนนแสดงไว้ใน รปู ที่ 52 5.4 ทางสายใตด้ ิน การวางสายขา้ มถนนโดยการฝงั ใตด้ ิน (รูปที่ 55) กระทำดงั นี้ 5.4.1 ขุดรอ่ งให้ลึก 6 ถงึ 12 นิ้ว ผ่านถนน รอ่ งที่ขุดควรจะยาวเลยขอบถนนออกไป อย่างน้อยข้างละ 2 ฟุต ถ้าถนนนั้นเป็นดินซุย ดินปนทราย ก็จำเป็นต้องขุดร่องให้ลึกอย่างน้อย 3 ฟุต เพอ่ื ให้สามารถป้องกนั อนั ตรายจากรถสายพาน 5.4.2 วางสายอยา่ งหย่อนๆ ในร่องนั้น 5.4.3 ผกู ป้ายสายและมัดสายเขา้ ที่ปลายร่องแต่ละข้าง 5.4.4 กลบร่อง อย่าให้กอ้ นหินหรือสิง่ มีคมทบั สายในขณะที่กลบร่อง เพราะส่ิงเหลา่ น้ี จะไปบดทบั ทำให้ฉนวนชำรดุ ในขณะทีย่ านพาหนะผ่าน 5.4.5 หยอ่ นสายไว้ให้พอทางด้านใดด้านหน่งึ ของถนน เพ่อื ให้เปลี่ยนสายในร่องได้เม่ือ เกิดชำรุดขึ้น เทคนิคที่เปน็ ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งเพื่อใช้ในการเปลี่ยนสายก็คอื ให้วางสายอะไหลไ่ ว้ในร่อง อีกเส้นหนึ่งพร้อมๆ กับสายท่ีใช้งาน ให้ผูกป้ายสายและผูกทางสายอะไหล่กับหลักและให้มีความหย่อน เพยี งพอทีจ่ ะต่อสายได้
๕๓ รปู ที่ 54 การวางสายลอดทอ่ รูปที่ 55 สายฝังในร่องเพือ่ ข้ามถนน 6. การสร้างสายข้ามทางรถไฟ เม่ือจะต้องสร้างสายสนามข้ามทางรถไฟ จะต้องระวังอย่างมากในการเลือกที่ข้ามถ้าทำได้ ทางสายควรจะลอดใต้ทางรถไฟ ผ่านท่อ หรือข้ามศีรษะบนสะพาน ถ้าไม่มีส่ิงเหล่าน้ีให้วางสายใต้ทาง รถไฟ ดังใน รปู ที่ 56 โดยกระทำดังน้ี 6.1 ใหด้ งึ สายจากลอ้ สายให้หย่อนพอท่ีจะใช้ข้ามทางรถไฟได้ 6.2 ตดั สายออกจากลอ้ แล้วดงึ ปลายของสายลอดใต้รางรถไฟ 6.3 ผูกสายเขา้ กบั หลกั ทางดา้ นไกล แล้วดงึ สายให้ตึงและผูกกับหลักอกี ด้านหนงึ่ 6.4 ฝงั ทางสายส่วนที่อยูบ่ นไหล่ทางรถไฟทงั้ 2 ขา้ ง 6.5 ต่อปลายสายที่ตดั ไวเ้ ข้ากบั ปลายสายที่ล้อ แล้ววางสายต่อไป
๕๔ รปู ที่ 56 สายลอดทางรถไฟ 7. การวางสายขา้ มลำน้ำ เมื่อวางทางสายสนามข้ามลำนำ้ นนั้ กระทำไดโ้ ดยการวางสายบนสะพาน สร้างช่วงทางสาย เหนอื ศรี ษะและวางสายใตน้ ้ำ 7.1 การวางสายบนสะพาน เม่อื ใช้วางสายบนสะพานแล้ว ให้เกาะทางสายสนาม เข้ากบั สะพานเพ่ือไม่ให้ทางสายเป็นอันตรายจากการจราจร ถ้าทำได้ให้ทำเป็นสายรวมสายสนามหลายคู่ โดย รวมทางสายทขี่ ้ามลำน้ำทั้งหมดเข้าดว้ ยกัน แลว้ ยึดสายรวมน้นั เขา้ กบั ส่งิ ค้ำจุนสะพานใต้พน้ื ถนน 7.2 การวางสายเหนอื ศีรษะข้ามลำธาร การวางสายข้ามลำธารแคบๆ ทำไดเ้ ช่นเดยี วกบั การวางสายเหนอื ศีรษะข้ามถนน ทางสายจะมคี วามสูงต่างๆ กัน แต่จะต้องให้สงู พอท่ีการจราจรทางนำ้ จะ ผ่านไปไดส้ ะดวก สำหรบั การวางสายข้ามลำธารช่วงยาวๆ นน้ั จะตอ้ งมสี ายลวดเหลก็ กลา้ เกลยี วสำหรับ แขวนทางสายด้วย เรอ่ื งนี้อาจต้องการเทคนิคในการสร้างเป็นพเิ ศษซงึ่ กล่าวไวใ้ น TM 11 – 2262 7.3 การวางสายใตน้ ้ำข้ามลำธาร ทางสายสนามอาจวางใตน้ ้ำข้ามลำธารได้ (รปู ที่ 57) ถา้ ทางสายอยู่ในน้ำมากเท่าไร การเส่ือมคุณภาพของวงจรก็จะเร็วมากข้ึนเท่าน้ัน และระยะในการพูดของ สายสนามที่อยู่ใต้น้ำจะลดลง การเลือกท่ีข้ามที่เหมาะนั้นเป็นปัจจัยสำคัญท่ีสุด เม่ือจะวางสายข้ามลำธาร ทข่ี ้ามควรจะเป็นตำบลซ่ึงมีการจราจรของยานพาหนะเพียงเล็กน้อย และกระแสน้ำในลำธารค่อนข้างช้า เม่ือเลือกทีข่ ้ามได้แลว้ ให้กระทำดังน้ี 7.3.1 วางสายไปจนถงึ ฝงั่ ลำธารแล้วผูกมัดเข้ากับต้นไม้หรือหลักให้มัน่ คง 7.3.2 ผูกป้ายสายตรงจุดที่มดั สาย 7.3.3 ฝงั สายไปจนถึงรมิ ฝั่งน้ำ ให้แน่ใจว่ามีสายที่ไม่มีรอยต่ออยู่ในลอ้ ยาวพอท่ีจะข้าม ลำธารได้ถ้ามไี มพ่ อให้ตดั ทางสายแล้วต่อเขา้ กับสายในล้อใหม่ 7.3.4 วางสายข้ามลำธาร และถ่วงน้ำหนักหลายๆ แห่ง กล่าวคือ ควรถ่วงน้ำหนักทั้ง 2 ฝ่ังของลำธารและอีกหลายๆ แห่งตรงกลาง ทั้งนี้ข้ึนอยู่กับความกว้างของลำธาร การวางสายข้ามลำธาร น้ันมหี ลายวิธี (ใชแ้ พ ใช้รถบรรทุก ใช้เครอ่ื งบนิ ปกี หมนุ ใช้ยงิ ดว้ ยลูกระเบดิ ยงิ จากปนื เลก็ หรอื เรือ) 7.3.5 บนฝั่งตรงข้ามใหฝ้ ังทางสายจากฝง่ั นำ้ ไปจนถึงตน้ ไม้หรือหลักบนฝงั่ ของลำธาร 7.3.6 ผูกสายเขา้ กับตน้ ไมห้ รือหลัก 7.3.7 ผูกปา้ ยสายตรงจดุ ทผี่ กู สายแล้ววางสายต่อไป
๕๕ รปู ที่ 57 การวางสายใต้น้ำ 8. การสรา้ งทางสายช่วงยาว 8.1 ในการสร้างทางสายช่วงยาวโดยใชส้ าย WD - 1/TT จะต้องพิจารณาถงึ ความยาวของ ชว่ งจำนวนของคู่สาย การตกท้องช้างและสภาพลมฟา้ อากาศของพน้ื ท่ีนนั้ ๆ ตามปกติทางสายสนามช่วง ยาวๆ จะตอ้ งหอ้ ยแขวนอย่บู นสายลวดเกลยี วเหล็กกล้า (ดู TM 11 – 2262) 8.2 เมือ่ ใชส้ ายคเู่ ดยี ววางเป็นชว่ งยาวโดยไมแ่ ขวนอยูก่ บั สายลวดเกลียวเหล็กกล้าแลว้ วธิ ีใช้ ในการตรึงสายท้ัง 2 ด้าน จะยง่ิ มีความสำคัญมากข้ึน การตรึงปลายสายท่ีถูกต้องจะป้องกันมิให้น้ำหนัก ของสายไปทำให้ฉนวนตรงจุดที่ผูกมัดสายน้ันชำรดุ (รปู ที่ 58) แสดงให้เห็นถึงวิธีทถี่ ูกในการตรงึ ปลายสาย ช่วงยาวของสาย WD–1/TT พึงสังเกตว่าปลายสายว่ิง (Running end) จะพันเสา 3 รอบ และใช้ผ้าพัน สายพันเขา้ กบั ส่วนทเ่ี ป็นสายยืน รูปท่ี 58 การตรึงปลายสาย WD – 1/TT ในการสร้างทางสายช่วงยาว
๕๖ 9. การผกู ป้ายสายสนาม 9.1 กลา่ วทัว่ ไป วธิ ีทจี่ ะใช้ในการทำเครอ่ื งหมายและการจำแนกทางสาย และวงจรน้ันมี ปรากฎอยู่ในคำแนะนำปฏบิ ตั ิการส่อื สาร (นปส.) และในคำแนะนำส่ือสารประจำ (นสป.) ของหนว่ ย 9.2 การจำแนกทางสาย การกำหนดวงจรต่าง ๆ นั้น กระทำได้โดยให้หมายเลขวงจร ให้ชื่อ หรือรวมท้ัง 2 อย่างของแต่ละวงจร ตัวอย่าง เช่น 101 - 36 (รูปที่ 59) เป็นการผสมตัวเลข เพ่ือ จำแนกวงจรใดวงจรหนึ่ง หมายเลขวงจรคือ 101 และ 36 คือ ประมวลท่ีกำหนดให้แก่หน่วยท่ีทำการ ติดตั้ง (การกำหนดวงจรน้ันคงเป็นเช่นเดียวกันตลอดไปตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงปลายวงจร) ทางสายสนาม จะกำหนดด้วยตวั เลขเรียงตามลำดบั กัน และจะไมม่ ีทางสายท่มี หี ลายเลขซำ้ กัน 9.3 ความสำคัญของการผกู ปา้ ยสาย การผกู ปา้ ยสายสนาม เป็นสงิ่ จำเปน็ เพราะการผูก ป้ายสายเป็นวิธีเดียวเท่านั้นท่ีจะจำแนกทางสายออกจากกันได้ การผูกป้ายสายทำให้การมอบระบบ ทางสายให้กับหน่วยที่มาผลัดเปลี่ยนง่ายข้ึน ทำให้การไล่สายง่าย โดยเฉพาะในเวลาค่ำมืดและง่ายแก่ การซ่อมบำรุง ตามปกติถ้าไม่มีป้ายสาย หน่วยจะต้องจัดทำป้ายสายขึ้นเอง ทุกหน่วยต้องรับผิดชอบให้ เป็นทีแ่ นใ่ จวา่ ทางสายของตนนั้นได้ผูกป้ายสายไวอ้ ย่างพอเพียง 9.4 ตำบลท่ตี ้องผกู ปา้ ย ขณะวางสายต้องผูกป้ายสายตรงจดุ ตา่ งๆ ดังต่อไปนี้ 9.4.1 ตรงทขี่ า้ มถนน ขา้ มเสน้ ทางตา่ งๆ ในภูมิประเทศ ข้ามทางรถไฟฟ้า และ รถไฟขา้ มชมุ ทางรถไฟและสะพาน 9.4.2 ศูนยก์ ารส่ือสาร (ทง้ั ในศูนย์และนอกศูนย์) 9.4.3 เครอื่ งโทรศัพท์ เคร่ืองซำ้ สัญญาณ เคร่ืองสลับสายและตรงจุดตรวจสาย 9.4.4 ท้ัง 2 ดา้ นของสายทฝี่ ังดินหรือที่ข้ามศรี ษะ 9.4.5 ณ ทซี่ ึ่งเทคนคิ ในการวางสายเปลย่ี นไปจาก 9.4.5.1 การวางบนพน้ื ดินเปน็ ใต้ดิน 9.4.5.2 การวางบนพื้นดนิ เปน็ เหนือศีรษะ 9.4.6 ณ ตำบลทซ่ี ่งึ ทางสายแยกออกจากเสน้ ทางหลกั 9.4.7 ใหผ้ กู เป็นระยะถี่ขน้ึ เมือ่ มีหลายทางสายมาวางรว่ มบนเส้นทางเดยี วกัน 9.4.8 ตรงจุดต่างๆ ในเส้นทางซงึ่ อาจเกิดข้อขดั ข้องข้นึ ได้ในภายหนา้ 9.5 รูปร่าง วัสดุ และการทำเครื่องหมายป้ายสาย ป้ายสาย ที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จะต้องทำด้วยวัสดุที่ป้องกันความช้ืนและน้ำได้ ป้ายสายจะต้องตัด บาก ให้สี หรือทำเคร่ืองหมายตามที่ กำหนดไว้ใน นปส. หรือ นสป. ของหน่วย การทำเคร่ืองหมายจะต้องไม่เป็นการเปิดเผยให้ทราบหน่วย ตวั อย่างของการตัดทำรอยบาก และทำเครื่องหมายนนั้ (ให้ดูรปู ท่ี 59) 9.6 การผูกป้ายสายจะต้องผูกป้ายสายเข้ากับทางสายให้แน่น ณ จดุ ต่าง ๆ ซ่ึงทางสาย หลายๆ เส้นมปี ้ายสายผูกไว้ (เช่น จุดท่ีเป็นแผงตรวจสาย) ควรจะจัดป้ายสายให้เป็นแถวเฉียงหรือเหล่ือม กัน ท้งั นเ้ี พ่อื มใิ หป้ า้ ยสายบงั กนั
๕๗ รูปท่ี 59 ตัวอยา่ งการตัด การบาก การทำเครื่องหมายแก่ป้ายสนาม 10. การจัดตง้ั ศนู ยส์ ร้างสาย ศูนย์สร้างสาย คือ สถานที่แห่งหนึ่งประกอบด้วยทางสายสนาม แผงหมุดปลายสายและ เครื่องสลับสายตรวจสอบ ต้ังข้ึน ณ จุดซึ่งทางสายใหญ่และทางสายย่อยระยะไกลเข้ามารวมกัน ณ ท่ีบัญชาการหรือเคร่ืองสลับสายกลาง (ในบางหน่วยเรียกศูนย์เหล่าน้ีว่า ท่ีรวมสาย (Wire head) หรือ แผงศูนย์ (Zero boards) อย่างไรก็ตาม ที่รวมสายและแผงศูนย์ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของศูนย์สร้างสายท่ี สมบูรณ์เท่านั้น ที่รวมสายเป็นส่วนของศูนย์สร้างสายเข้าไปสู่หรือออกจากศูนย์ ส่วนแผงศูนย์ (Zero board) นั้น คือเคร่ืองสลบั สายท่ใี ช้สำหรบั ตรวจทางสาย) ศูนย์สร้างสายจะต้ังอย่ใู กลก้ ับบรเิ วณท่ี บงั คับการ เพ่อื ทำใหก้ ารตดิ ต้ังและบำรุงรักษาทางสายสะดวกขึน้ 10.1 ศูนยส์ ร้างสาย จะตัง้ อยู่ ณ ท่ซี ึ่งอาจจะนำทางสายมาต่อเข้าหมุดปลายสายได้งา่ ย 10.2 ทางสายจะยดึ เขา้ กับแผงหมุดปลายสาย หรอื เครอ่ื งสลับสายตรวจสอบ ซง่ึ ชุดสรา้ งสายไดต้ ิดตั้งไว้ 10.3 จากแผงหมุดปลายสาย หรือเครื่องสลับสายตรวจสอบนั้น ทางสายจะต่อเข้ากับ เครื่องสลับสาย ในที่บังคับการหรือเครื่องสลับสายกลางด้วยสายรวมหรือสายรวมสนาม สายรวมอาจฝัง ดินหรอื สรา้ งเหนือศรี ษะ เพือ่ ป้องกันอนั ตรายจากการจราจรของยานพาหนะทีเ่ ขา้ ออกจากทีบ่ งั คบั การ
๕๘ 11. การตั้งสถานตี รวจสอบ 11.1 ตามปกติจะตัง้ สถานตี รวจสายขึ้นทช่ี มุ ทางสายสำคัญๆ เพือ่ ให้งา่ ยต่อการคน้ หาและ แก้ไขข้อขดั ขอ้ งของทางสายสนาม ในการสรา้ งสายสนาม สถานตี รวจสายเหล่านมี้ ักประกอบด้วยแผงหมดุ ปลายสายหน่ึงหรือหลายแผง 11.2 สถานีตรวจสาย อาจมีหรือไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำก็ได้ สถานีตรวจสายที่มีเจ้าหน้าที่ ประจำ อาจประสานงานกับพลซ่อมสาย เพื่อให้ตรวจค้นหาข้อขัดข้องทางสายได้เร็วขึ้น สัญญาณหรือ คำแนะนำท่ีจะให้พลตรวจสาย ทำการเฝ้าฟังวงจรเฉพาะวงจรหนึ่งน้ัน พลสร้างสายควรจะได้จัด เตรียมการไว้ล่วงหน้า ถ้าจำเป็นก็อาจจัดต้ังวงจรทางเดียว (Simplex) หรือวงจรรอรูป (Phantom) ขึ้น ใช้ช่ัวคราวเพ่ือช่วยเหลือการปฏิบตั งิ านน้ี ตอนที่ 3 การสร้างทางสายสนามในสภาวะท่ผี ดิ ปกติ 1. กล่าวท่ัวไป สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศจะกระทบกระเทือนต่อความเร็ว และแบบของการสร้าง ทางสายสนาม อย่างไรก็ตามอย่าให้ความเร็วในการสร้างเป็นเคร่ืองบ่ันทอนคุณภาพของทางสาย ทางสาย ท่ีสร้างข้ึนในสภาพของภูมิประเทศและภูมิอากาศ ที่ผิดปกติ ควรจะกระทำด้วยความระมัดระวังกว่า การสร้างในสภาพปกติ ข้อปฏบิ ัติในการสรา้ งบางอย่างท่ีควรจะเน้นน้ันมีดังต่อไปน้ี 1.1 ควรผูกปา้ ยสายใหถ้ ขี่ น้ึ เพ่ือให้หมายจำไดใ้ นระหวา่ งการซอ่ มบำรงุ 1.2 ควรตัง้ สถานีตรวจสายขึ้นหลายๆ แห่ง เพอื่ สะดวกในการซ่อมบำรงุ 1.3 การผูกมัดสาย ควรให้เหมาะกับสภาพของลมฟ้าอากาศ และกับแบบของการสร้าง การผูกสาย ควรทำด้วยความระมดั ระวงั เพอ่ื ยึดทางสายให้อยกู่ ับท่ี 1.4 เทคนิคของการสร้างที่กล่าวไว้ในตอนที่ 2 นั้น ก็นำมาใช้ในการสร้างภายใต้สภาพ ภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศที่ผิดปกติได้อีกด้วย ปัจจัยบางประการท่ีเหมาะโดยเฉพาะกับสภาพ ภูมิประเทศและภมู ิอากาศแตล่ ะอย่างนน้ั จะได้กล่าวไว้ในขอ้ ต่อๆ ไป 2. การสร้างสายสนามบนภูเขา โดยปกติแล้วการสร้างและบำรุงรักษาทางสายสนามในภูมิประเทศท่ีเป็นภูเขาจะยากกว่า ในพ้ืนท่ีอื่นๆ ความขาดแคลนถนน อาจทำให้ต้องวางสายด้วยเครื่องบิน หรือเครื่องวางสายติดหลัง นอกจากนั้น ทางสายที่วางแล้วยังต้องให้มีการซ่อมบำรุงบ่อยๆ เน่ืองจากน้ำแข็ง หินท่ีตกมาทับและหิมะ ถล่ม เม่ือจะวางสายทางอากาศบนภูเขานั้น จะได้ประโยชน์มากถ้าวางไปบนยอดไม้และพุ่มไม้ ถ้าทำได้ และวางให้หา่ งจากถนน ทางเดนิ เพื่อป้องกันทางสายชำรดุ เสยี หายจากการจราจรหรือจากหนิ ถลม่ 2.1 ในการเลือกเสน้ ทางวางสาย อาจจำเป็นต้องลาดตระเวนพน้ื ที่โดยทางอากาศก็ได้ ถนน และทางเดนิ จะเหน็ ไดช้ ดั จากทางอากาศ
๕๙ 2.2 ถา้ จะต้องวางสายด้วยเครือ่ งบนิ แลว้ ควรทำการลาดตระเวนพ้นื ท่โี ดยทางอากาศ เพื่อ พิจารณาพนื้ ทีท่ ่ีควรหลกี เลี่ยง 2.3 เม่ือเห็นว่าจะวางสายบนพ้ืนดิน ก็จำเป็นต้องตั้งตำบลส่งกำลังไว้ตามเส้ นทาง ส่ิงอุปกรณ์อาจส่งมอบโดยการท้ิงทางอากาศ โดยเคร่ืองบนปีกหมุน หรือโดยขบวนสัมภาระท่ีใช้คนหรือ สตั วต์ า่ งๆ 2.4 ถ้าจะต้องวางทางสายเหนอื แนวหมิ ะ หรอื ในระหวา่ งฤดูหนาว ทางสายควรตอ้ งสร้าง เหนือศรี ษะบนตน้ ไมห้ รือใช้ค้ำสาย เพือ่ สะดวกในการคน้ หาสายเพื่อการซ่อมบำรงุ 3. การสรา้ งทางสายสนามในเขตหนาวจัด เทคนิคการสร้างสายสนามที่กล่าวไว้ในตอนท่ี 2 จะต้องมีการดัดแปลงเพื่อนำมาใช้ในเขต หนาวจดั ทางสายในเขตหนาวจัดน้ีควรสร้างเหนือศีรษะเพ่ือป้องกันอันตรายจากหมิ ะทห่ี นามาก และจาก การจราจรของยานพาหนะและการเดินเท้า เนื่องจากขาดแคลนต้นไม้และเสาโทรศัพท์จึงต้องใช้เสาค้ำ สายในการสร้างทางเหนือศีรษะ เทคนิคอน่ื ๆ ในการสร้างท่ีเหมาะโดยเฉพาะกบั เขตหนาวจดั มีดงั ต่อไปนี้ 3.1 ควรจะจัดท่ีพัก ซึ่งให้ความอบอุ่นแก่พลสร้างสาย ตู้ประทุนสำหรับเจ้าหน้าท่ีในเขต หนาวจัด ซ่ึงติดต้ังบนรถ 2 1/2 ตัน หรือรถสายพานจะเป็นอุปกรณ์ที่ดีในการวางสายควรเก็บสายสนาม ให้อบอุ่นและมคี วามออ่ นตวั ได้ เมอ่ื ทำการต่อสายและคล่สี ายออกทางประตูหลงั ของตู้ประทุน 3.2 ในท่ีซึ่งมีหิมะหนามาก ควรจะติดต้ังตู้ประทุนบนรถสายพานที่มีท้องสูงเพ่ือสะดวกใน การเคลื่อนทีไ่ ปบนหิมะ 3.3 ในการวางสายเหนือศีรษะให้กระทำดงั ต่อไปน้ี 3.3.1 ผูกมัดปลายเสาค้ำสาย 3 อนั เข้าดว้ ยกันใหเ้ ป็นรูปขาหยัง่ 3.3.2 ใชเ้ งอ่ื นสานกระจาด หรือการผูกแบบถักเพอ่ื ผกู ทางสายเขา้ กบั ยอดของขาหย่งั นี้ อย่าผูกทางสายในลักษณะธรรมดาในเขตหนาวจัด การหักงอสายจะทำให้ฉนวนร้าวหรือแตก เป็นเหตุให้ เกดิ วงจรลดั ได้ 3.4 ถ้ าจ ะต้ อ งพั น ส าย ด้ ว ย เห ตุ ใด ๆ ก็ ต าม ให้ ใช้ แ ถ บ ฉ น ว น ไฟ ฟ้ า TL–600/U (Polyethylene) แถบพนั สายชนิดนจ้ี ะรักษาความเหนยี วไวไ้ ด้ในสภาพอากาศหนาว 4. การสร้างสายสนามในเขตแห้งแลง้ จัด พื้นท่ีแห้งแล้งเป็นสภาพภูมิอากาศที่เหมาะท่ีสุดในการติดต้ังและบำรุงรักษาทางสายสนาม เพราะเมื่อทางสายสนามได้ติดต้ังและบำรุงรักษาอยา่ งเหมาะสมแล้วจะใช้งานได้ดีเป็นเวลานาน อย่างไรก็ ตาม ยังมีปัจจัยบางประการซึ่งเหมาะสมโดยเฉพาะแก่พื้นที่ท่ีแห้งแล้งจัดท่ีจะต้องนำมาพิจารณาในการ สร้างทางสายสนาม คือ
๖๐ 4.1 เนื่องจากไม่มีต้นไม้หรือเสาในพื้นท่ีแห้งแล้งจัด จึงต้องใช้เสาค้ำสายหรือสิ่งค้ำจุนอ่ืนๆ ที่ยกต้ังขึ้นเพื่อวางสายเหนือศีรษะ อย่างไรก็ตามทางสายเหนือศีรษะนั้นเห็นได้ง่ายจากทางอากาศและ ยากแก่การพราง 4.2 การฝังทางสายจะใช้การได้ดีในพ้ืนที่แห้งแล้งจัด เพ่ือให้สะดวกต่อการหมายจำ และ ซ่อมบำรุงสายที่ฝังควรจะผูกยึดและผูกป้ายสายเมื่อจะต่อสายของล้อใหม่เข้ากับทางสายน้ัน แนวทาง ในการฝังสายจะต้องเขียนไว้บนแผนทโี่ ดยประณตี เพื่อให้บำรงุ รักษาได้สะดวก 4.3 ทางสายสนามที่วางบนพ้ืนดินตอ้ งยดึ และผูกปา้ ยสายเป็นช่วงถ่ีๆ เพราะทรายท่ีเล่ือน ไหลจะกลบทางสายทำใหย้ ากแก่การค้นหาทางสาย 5. การสร้างทางสายสนามในเขตร้อน ความช้ืนท่ีมีอยู่ประจำและความเจริญของเช้ือราในพื้นท่ีท่ีเป็นป่า จะลดประสิทธิผลในการ ทำงานของทางสายสนามลงอย่างมาก เพราะฉะนั้นจะต้องใช้เทคนิคในการสร้างดังได้กล่าวไว้ข้างล่างนี้ เพือ่ ดำรงรักษาไวเ้ พอ่ื ประสทิ ธผิ ลของระยะทางและยืดอายุของทางสายสนามออกไปอีก คือ 5.1 การเลือกเส้นทางทีด่ ีทส่ี ดุ สำหรับทางสาย เปน็ เรอื่ งสำคัญย่งิ ในการสรา้ งและบำรงุ รกั ษา การลาดตระเวนทางพื้นดิน จะได้ผลกว่าทางสายอากาศ เพราะป่าทึบจะปิดบังทางเดิน และถนนจากการ ตรวจการณท์ างอากาศ 5.2 การใช้เคร่ืองซ้ำสัญญาณ และโทรศัพท์ขยายกำลัง อาจช่วยเพิ่มระยะการทำงานของ วงจรทางสายสนามขึ้น และการวางทางสายสนาม 2 ทางสายโดยใช้สาย 2 เส้นในแต่ละด้านของวงจร ก็จะชว่ ยเพิ่มระยะของวงจรสายสนามได้ดว้ ย เม่ือใช้ 2 ทางสายเป็น 1 วงจรแล้วสายเสน้ หน่ึงของแต่ละคู่ ก็จะต่อรวมกันเป็นด้านหน่ึงของวงจรและสายอีกเส้นหน่ึงของคู่สายก็จะต่อรวมกันเป็นอีกด้าน หนึ่งของ วงจร เพื่อป้องกันเสียงแทรกต่างวงจรและเสียงรบกวนอน่ื ๆ (เว้นแต่วา่ ทางสายเหลา่ น้ันจะแยกห่างกันและ ไขว้กนั บนลกู ถว้ ยเช่นเดียวกับสายโถง) 5.3 ถ้าเป็นไปได้ ควรวางทางสายสนามเหนือศีรษะบนลูกถ้วยแบบท่ีใช้ในป่า (ลูกถ้วย IL-3/G) การสร้างทางสายแบบน้ีจะได้ผลดีกว่าและลดภาระในการบำรุงรักษาลงกว่าการวางทางสายบน พน้ื ดิน 5.4 เมอื่ การบำรุงรักษาทำได้ยาก อาจจัดชุดซ่อมบำรงุ ไวต้ ามแนวทางสาย เปน็ ระยะไมห่ า่ ง กันนัก การซ่อมบำรุงสามารถทำให้ง่ายเข้าด้วยการต้ังสถานีตรวจสายหลายๆ จุดทางสายก็ควรจะมี การผูกปา้ ยสายให้บอ่ ยเข้า เพือ่ จะไดค้ ้นหาสายได้งา่ ย
๖๑ ตอนที่ 4 การเก็บสายสนาม 1. กลา่ วทว่ั ไป 1.1 ถ้าทำได้ควรมีการเก็บสายสนามเพื่อนำไปใช้อีก เร่ืองน้ีสำคัญเพราะเป็นการประหยัด เน่ืองจากการเก็บสายสนามเท่ากับเป็นแหล่งส่งกำลังสายไปด้วย ควรเก็บสายสนามในทันทีท่ีหมดความ ตอ้ งการแล้ว ควรจะทำการซ่อม ตรวจ และเตรยี มสายไว้ในสภาพที่จะให้ใชไ้ ดต้ ่อไป 1.2 ในการเก็บสายควรจะส่งพลสายไปล่วงหน้าเพื่อปลดป้ายสาย แก้ทางสายท่ีจะผูกมัดไว้ และจัดสาย ให้อยู่ข้างถนนบนเส้นทางท่ีจะใช้เครื่องมือเก็บสาย (บทที่ 5) ได้สะดวก ในการเก็บสายพล สร้างสาย จะเดินไปตามสายที่วางไว้ และม้วนเก็บสายไปตามทาง ในบางกรณีอาจจำเป็นท่ีจะต้องให้ เคร่ืองมือเก็บสายอยู่กับท่ี แล้วใช้มือดึงสายเข้าหา วิธีนี้ควรจะหลีกเล่ียงถ้าสามารถทำได้เพราะจะทำให้ ฉนวนถลอกและอาจทำใหส้ ายขาดได้ 1.3 ตามปกติ พลสร้างสายควรจะสวมถุงมอื หนงั หรอื ส่ิงรองมอื เพอ่ื ป้องกันมอื ระหวา่ งที่เก็บ สาย 2. การซ่อมแซมสายสนาม เมอ่ื เกบ็ สายสนามมาแล้ว ควรจะฟ้ืนฟูสภาพ (ซอ่ มแซม) เพื่อใชง้ านอีกดงั นี้ 2.1 ติดล้อสายเปล่าเข้ากับเคร่ืองม้วนสายเครื่องหน่ึง และติดต้ังล้อสายท่ีต้องการจะฟื้นฟู เข้ากับเคร่ืองม้วนสายอีกเคร่ืองหน่ึง ตั้งเครื่องม้วนสายทั้งสองให้สามารถม้วนสาย จากล้อเต็มไปเข้าล้อ เปลา่ ได้ (รูปที่ 60) 2.2 นำปลายสายสอดเข้าในช่องของแกนของล้อเปล่า ผูกสายและปล่อยให้ปลายสายย่ืน ออกมาทางข้างของลอ้ สาย ปลายสายเหล่านเ้ี หลอื ไวเ้ พ่ือการตรวจในภายหน้า 2.3 จัดพลสร้างสายไว้ท่ีล้อสายแต่ละล้อ และอีกคนหน่ึงอยู่ตรงกลางระหว่างล้อเพื่อตรวจ สายในขณะท่มี ว้ นสายช้าๆ เขา้ ล้อเปลา่ 2.3.1 พันฉนวนหมุ้ สายทกุ แหง่ ท่ีถลอกหรอื ชำรดุ 2.3.2 ตอ่ สายทุกแหง่ ที่ตัวนำชำรดุ ดว้ ยความระมัดระวัง 2.3.3 ตรวจรอยต่อเดมิ ทุกแหง่ ถา้ ต่อไว้ไมด่ ใี หต้ ัดออกแลว้ ต่อใหม่ใหเ้ รยี บร้อย 2.3.4 ถา้ ฉนวนชำรุดเปน็ ตอนยาวๆ หรือมรี อยต่อหลายแหง่ อยู่ใกล้ๆ กนั ให้ตัดตอนน้ัน ออกหมด แลว้ ตอ่ ใหม่ 2.4 หลังจากต่อสายทกุ แห่งและม้วนสายเขา้ ล้อเรียบรอ้ ยแล้ว ให้ตรวจสายที่ม้วนนั้นแล้วว่า ขาดหรอื ไม่ ลดั วงจรหรือไม่ ความต้านทานของสายทั้งล้อสงู เกินไปหรือไม่ ถ้าวัดแลว้ ความต้านทานสูงกว่า ปกติหมายถึงว่ารอยต่อต่างๆ ไม่เรียบร้อย การปฏิบัติเหล่าน้ีให้ทำตามระเบียบการตรวจที่ได้กล่าวไว้ใน บทที่ 8
๖๒ 2.5 ทีป่ ลอ่ ยสาย MX – 306 A/G นน้ั สำหรบั หน่วยระดบั ต่ำไมอ่ าจจะเก็บสายคืนเข้าท่ีได้ แตอ่ ยา่ งไรกต็ ามสายทว่ี างจากทปี่ ล่อยสายนั้นอาจจะเกบ็ ทำให้คืนสภาพและม้วนเขา้ ลอ้ สายที่เป็นโลหะได้ รปู ท่ี 60 การซอ่ มแซมสายสนาม
๖๓ ตอนที่ 5 การบันทกึ เกย่ี วกับสายสนาม 1. คำสง่ั สรา้ งสาย คำส่ังสร้างสาย ท่ีส่ังไปยังชุดสร้างสาย ซง่ึ กำหนดการจดั ชุด และเคร่ืองมอื โดยอาศัยมลู ฐาน ของข่าวสารที่ได้จากการลาดตระเวนน้ัน ควรจะกล่าวถึงจำนวนของวงจรท่ีจะต้องติดตั้ง ลำดับความ เร่งด่วนในการติดตั้ง เวลาที่จะให้วงจรต่างๆ ใช้งานได้และการปฏิบัติท่ีจะต้องกระทำเม่ือสร้างเสร็จแล้ว ส่วนมากของเรื่องเชน่ น้ีจะรวมอยู่ในแผนที่เสน้ ทางสายและแผนผังวงจรทางยุทธวิธี 2. แผนท่ีเส้นทางสาย 2.1 แผนท่ีเส้นทางสาย เป็นแผนที่ ส่ิงที่แทนแผนที่ หรือแผ่นบริวาร ซ่ึงแสดงเส้นทางสาย ทแี่ ทจ้ รงิ ใหพ้ ลสร้างสายและกองบญั ชาการหนว่ ยเหนอื ทราบ (รปู ท่ี 61) 2.2 แผนท่เี สน้ ทางสาย มีเสน้ ทางอยู่ไม่กเ่ี ส้น สัญลักษณ์ และเครื่องหมายท่ีจำเป็น เพ่ือให้ ชดั เจนแสดงให้เหน็ ถงึ เสน้ ทางของสาย เครื่องสลับสาย เครื่องสลับสายกลาง สถานีตรวจสาย จำนวนวงจร ตามเสน้ ทางและแบบของการสรา้ งสาย แผนที่เสน้ ทางสาย จะไมแ่ สดงใหท้ ราบถงึ การเช่ือมต่ออนั แท้จรงิ หรือ แบบของเคร่ืองมือ ณ เครื่องสลับสายกลางหรือตำบลตรวจสาย 2.3 แผนท่ีเส้นทางสายของหน่วย ตามปกติจะทำขึ้นจากข่าวสาร ท่ีได้จากชุดสร้างสาย ต่างๆ ที่ได้ปฏิบัติงานสร้างจริง ๆ การรวบรวมข่าวสารการสร้างสายเช่นน้ี จะดำรงและรักษาให้ทันสมัย อยเู่ สมอ เพอ่ื ใชเ้ ป็นขอ้ มลู อ้างองิ สำหรับการเคลื่อนย้ายหน่วยและการซอ่ มบำรุงในอนาคต 2.4 คำอธบิ ายเกยี่ วกับสัญลกั ษณ์ที่ใช้ในแผนทเ่ี สน้ ทางสายน้ัน ได้กลา่ วไว้ใน ภาคผนวก ค 3. แผนผงั วงจร 3.1 แผนผังวงจร เป็นภาพแสดงอย่างหนึ่ง (ในรูปของสัญลักษณ์) ของการจัดทางเทคนิค และการต่อระบบทางสาย แผนผงั วงจรนแ้ี สดงให้ทราบถงึ สง่ิ ตา่ งๆ ดงั ตอ่ ไปนี้ 3.1.1 เครอ่ื งสลบั สายกลาง ณ ทบี่ ังคับการและท่ีตั้งหน่วยต่างๆ ซ่งึ มีระบบทางสายใช้ อยู่เครื่องสลับสายกลางทางพาณิชย์ สถานีตรวจสายและวงจรโทรศัพท์สายย่อยไกลสิ่งเหล่านี้แสดงด้วย การลากเสน้ สัญลักษณ์พิเศษและเครื่องหมายท่ีจำเป็นเพ่ือความชัดเจน ที่ตงั้ ต่างๆ อาจแสดงดว้ ยพิกัดแผน ที่หรือลักษณะภูมิประเทศ (ผู้บังคับบัญชาหน่วยทางยุทธวิธีอาจห้ามใช้ท่ีต้ังบนแผนท่ี นามหน่วยหรือ สัญลกั ษณใ์ นเม่อื เหน็ ว่าจะเสย่ี งต่อความปลอดภยั ) 3.1.2 จำนวนวงจรระหว่างทบ่ี ังคับการตา่ งๆ หรือทต่ี ้งั หนว่ ยทต่ี ้องการแสดง 3.1.3 หมายเลขท่ีกำหนดใหแ้ ตล่ ะวงจร 3.1.4 ลักษณะการต่อแต่ละวงจรเข้ากับหรือผ่านเครื่องสลับสายกลาง และสถานี ตรวจสาย รวมทง้ั การต่อบริการโทรศัพท์และโทรพิมพแ์ บบแยกหรือรวมกัน
๖๔ 3.1.5 แบบของการสรา้ งทางสายทใี่ ช้แต่ละทางสาย เช่น สายสนาม สายโถง สายรวม และวงจรพาณิชย์ 3.2 ตามปกตแิ ล้วแผนผงั วงจร จะทำข้ึน ณ ทท่ี ำการของฝ่ายส่ือสาร โดยอาศยั ขอ้ มลู จาก แผนทเี่ ส้นทางสาย และขา่ วสารทไี่ ดจ้ ากพลสรา้ งสายนัน่ เอง แผนผงั วงจร ใช้เป็นหลักฐานอ้างองิ เกยี่ วกบั วิศวกรรมระบบทางสาย และการซอ่ มบำรงุ ของหน่วย 3.3 คำอธิบายเกีย่ วกับสญั ลกั ษณท์ ใี่ ช้ในแผนผังวงจรได้กลา่ วไวใ้ น ภาคผนวก ค 4. การรักษาความปลอดภัย แผนท่ีเส้นทางสายและแผนผังวงจรฉบับสมบูรณ์ จะต้องไม่นำติดตัวไปในพ้ืนท่ีข้างหน้า ชุดซ่อมและสร้างสายแต่ละชุดจะได้รบั จ่ายแผนที่ หรอื แผนผังฉบับตดั ตอน ท่ีตัดตอนไปเฉพาะทจี่ ะอำนวย ให้ดำเนินการตามภารกิจ โดยเฉพาะได้อย่างเหมาะสมเท่าน้ัน ส่วนที่ตัดตอนให้ไปนั้นต้องไม่แสดง นามหนว่ ย
๖๕
๖๖
๖๗
๖๘ บทที่ 8 การบำรงุ รักษาทางสายสนาม 1. กล่าวทั่วไป การบำรุงรักษาทางสายสนาม หมายรวมท้ังการป้องกันและการแก้ไขข้อบกพร่องของวงจร การป้องกันขอ้ ขัดขอ้ งทางสายสนามและเคร่ืองมือ เร่ิมตน้ ด้วยการวางแผนและการเลอื กเสน้ ทางสายอยา่ ง รอบคอบ ตลอดจนการติดตั้งระบบซ่ึงใช้วิธีการสร้างท่ีได้รับอนุมัติแล้ว อย่างไรก็ตาม ข้อขัดข้องย่อม จะเกิดข้ึนได้ แม้ว่าจะได้มีการระมัดระวังในการติดต้ังวงจรเพียงใดก็ตาม การวินิจฉัยและการแก้ไข ข้อบกพร่องของวงจรอย่างมีประสิทธิภาพน้ัน เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงควรจะทราบข้อขัดข้องต่างๆ ที่มัก จะเกิดข้ึนกบั ทางสายสนามและผลทม่ี ีตอ่ คุณภาพของวงจรและการสง่ เป็นคำพดู 2. ข้อขดั ขอ้ งตามธรรมดาของทางสายสนาม ข้อขัดข้องอาจจะเกิดข้ึนกับทางสาย หรือเคร่ืองปลายทาง ที่ต่อกับทางสายน้ันก็ได้ ข้อ บกพร่อง ของวงจรทางสายได้แก่ วงจรเปิด วงจรลัด วงจรแตะดิน วงจรก่ายหรือหลายอย่างผสมกับ ณ จุดใดจุดหนึ่งหรือหลายจุดในวงจร ข้อบกพร่องธรรมดาเหล่าน้ีได้แสดงไว้ใน รูปที่ 63 และให้คำจำกัด ความดังต่อไปน้ี 2.1 วงจรลัดหรือลัดทาง เกิดขึ้นเมื่อตัวนำของคู่สายเกิดสัมผัสทางไฟฟ้า ซ่ึงกันและกัน การลดั ทางมกั จะเกิดฉนวนฉีกขาด 2.2 วงจรเปิดหรือปิด คือ ตัวนำเส้นเด่ียวหรือคู่ ที่ขาดหรือถูกตัดออกจากกัน มักจะเกิด เสมอๆ กบั การสร้างสายเหนอื ศีรษะชว่ งยาวๆ หรือตรงจุดอื่นๆ ท่มี ีความตึงมาก 2.3 วงจรแตะดิน เกิดข้ึนเมื่อตัวนำหน่ึงเส้นหรือทั้ง 2 เส้นของวงจร ต่อสัมผัสกับดินทาง ไฟฟ้า หรือวัตถุที่ต่อลงดิน การลงดินเกิดจากฉนวนถลอกหรือการต่อสายไม่เรียบร้อย การลงดินน้ีมักจะ เกดิ บอ่ ยท่ีสุดในเมื่อฝนตกหรือเมื่อติดตง้ั ทางสายในพ้ืนทเ่ี ปียกช้นื 2.4 วงจรก่ายเกิดข้ึนเม่ือตัวนำ 2 เส้นของต่างวงจรสัมผัสกันทางไฟฟ้า มักจะเกิดขึ้นบ่อย ที่สุดในสายรวมสายสนาม ท่ีถูกค้ำยันอยู่บนช่วงเหนือศีรษะ หรือ ณ จุดต่างๆ ซึ่งทางสายหลายคู่มา บรรจบกันหรือวางไปในทางสายเดยี วกนั
๖๙ รปู ท่ี 63 ข้อขัดข้องตามธรรมดาในทางสายสนาม 3. อาการขัดขอ้ งของทางสายสนาม ข้อขัดข้องของทางสายสนามอาจจะเกิดขึ้นในลักษณะหนักเบาต่างๆ กัน ตัวอย่างเช่น การเปิด และลัดทางของวงจร อาจเป็นเหตุให้เกิดขัดข้องที่เป็นๆ หายๆ ทำให้ยากแก่การค้นหา ในกรณี เช่นน้ี พลสรา้ งสาย จะต้องใช้ความรู้ในการใช้เคร่ืองตรวจและใช้ระเบียบปฏิบตั ิการค้นหาข้อขัดข้องอย่าง สมเหตสุ มผล ท่จี ะวินิจฉัยลกั ษณะและหาจดุ ท่ขี ัดข้อง 3.1 การเปดิ ของวงจรจะทำให้การสอ่ื สารขัดข้องโดยสิ้นเชิง วงจรที่เปิดเปน็ ๆ หายๆ ซง่ึ เกิด จากการต่อสายที่ไม่เรียบร้อยหรือไม่แน่น จะทำให้เกดิ ความตา้ นทานสูงในวงจร ซ่ึงการส่ือสารอาจกระทำ บนวงจรที่มคี วามต้านทานสูงนไ้ี ด้ แตก่ ารส่งสัญญาณมักจะออ่ นและมีเสียงรบกวน 3.2 วงจรลัดทางอย่างเต็มที่ (ความต้านทางต่ำ) จะทำให้การสื่อสารขัดข้องโดยสิ้นเชิง การลัดทางเพยี งบางส่วน (ความตา้ นทางสงู ) มกั ทำให้การสง่ และสญั ญาณเรยี กออ่ น 3.3 การแตะดินของวงจรท้ัง 2 ข้าง จะทำให้เกิดผลเช่นเดียวกับการลัดทางตามปกติ การแตะดินท่ีเกิดขึ้นกับวงจรเพียงข้างเดียว จะไม่ทำให้การส่ือสารขัดข้อง แต่จะทำให้เกิดเสียงครวญ (hum) หรือเสียงรบกวนในวงจร 3.4 การก่ายกนั ของวงจร มักทำใหเ้ กดิ เสียงแทรกต่างวงจรหรอื การรบกวนระหวา่ ง 2 วงจร ที่ก่ายกัน เสยี งแทรกตา่ งวงจรหรอื การรบกวนนี้อาจจะทำใหก้ ารสนทนาของวงจรท้ัง 2 นัน้ ฟงั ไม่รู้เร่ือง
๗๐ 4. วธิ กี ารตรวจสอบทางสายสนาม 4.1 การตรวจสอบระหว่างการสร้างสาย ควรจะตรวจสอบสายสนามเสียก่อนที่จะทำ การติดต้ัง เพื่อให้ทราบถึงสภาพและการใช้งานได้ ในขณะทำการสร้างสาย จะต้องตรวจสอบทุกครั้ง หลังจากวางสายฝังดิน ทุกคร้ังหลังจากท่ีวางเหนือศีรษะ เม่ือสุดปลายสายของแต่ละล้อ และก่อนที่จะต่อ สายเข้ากับเครื่องปลายทาง การตรวจสอบระหว่างการสร้างสายจะทำให้พบข้อขัดข้อง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้น ไดใ้ นระหวา่ งปฏบิ ตั ิการวางสาย 4.2 การตรวจสอบเป็นประจำ การปรนนิบัติบำรุงที่ถูกต้อง จะต้องมีการตรวจสอบวงจร และเครื่องมือท่ีใช้งานท้ังหมดเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมออยู่เป็นประจำ การตรวจสอบเป็นประจำเหล่าน้ี จะกระทำบ่อยเพยี งใดยอ่ มขน้ึ กับลักษณะและความสำคญั ของวงจร เครื่องมือ แบบของการติดต้ัง ปรมิ าณ ของข่าวที่รับส่งกันและความมากน้อยของข้อขัดข้องที่ได้ประสบมา การตรวจสอบเป็นประจำจะไม่ทำให้ การส่ือสารต้องชะงัก เจ้าหน้าที่บำรงุ รักษาควรจะทำการตรวจสอบในช่วงเวลาที่การรับส่งข่าวเบาบางลง การตรวจสอบเหล่าน้ีรวมทงั้ พนั ธกจิ ทต่ี อ้ งปฏบิ ตั ิท้ังหลายซึ่งวงจรและเครื่องมอื นั้นต้องการ 4.3 การคน้ หาข้อขดั ข้อง เมอ่ื ได้รบั รายงานหรอื ค้นพบข้อขดั ข้องของวงจรแลว้ จะตอ้ งทำ การตรวจสอบ พลสร้างสายต้องวิเคราะหข์ ้อขัดขอ้ ง พจิ ารณาถงึ ตำบลท่ีขัดขอ้ งโดยเร็วและขจดั ข้อขัดข้อง โดยให้การใช้งานหยุดชะงักน้อยท่สี ุดเทา่ ทจ่ี ะทำได้ วงจรท่ีมีความเร่งดว่ นสูงจะตอ้ งเปลี่ยนทางใหมห่ รือใช้ ทางสายอะไหลท่ ่ีไปในเส้นทางเดยี วกันโดยนำมาต่อเขา้ กับแผงต่อสายหรอื ตำบลตรวจสายเพอื่ ใช้งาน 4.4 การตรวจสอบทางสายสนาม ตามปกติการตรวจจะกระทำจากศูนย์สร้างสาย สถานีตรวจสายหรือเคร่ืองสลับสายกลาง เคร่ืองมือตรวจสายท่ีใช้กับการสร้างสายสนามนั้นได้กล่าวไว้ใน บทท่ี 9 ถ้าไม่มีเคร่ืองมือตรวจสาย ก็อาจใช้เคร่ืองโทรศัพท์สนามในการตรวจหาข้อขัดข้องของวงจร สายสนามและเครือ่ งมอื ไดห้ ลายชนิด ดังตอ่ ไปนี้ 4.4.1 การตรวจวงจรเปิด ต่อปลายของวงจรท่ีจะตรวจเข้าหมุดต่อสายของโทรศพั ท์ที่ จะใช้ตรวจ หมุนเคร่ืองเรียกของโทรศัพท์อย่างเร็ว ถ้าสามารถหมุนคันหมุนได้คล่องโดยไม่มีความฝืดเลย หมายความวา่ วงจรเปิด 4.4.2 การตรวจวงจรลัดทาง ต่อปลายของวงจรเข้ากับหมุดต่อสายของโทรศัพท์ที่ใช้ ตรวจหมุนเครื่องเรียกของโทรศัพท์อย่างเร็วๆ ถ้ารู้สึกว่า คันหมุนหนักมือและมีความฝืดมาก หมายความ ว่ามกี ารลัดทางหรือแตะดนิ ทั้งสองขา้ งของวงจร 4.4.3 การตรวจการแตะดนิ ตอ่ ตัวนำเส้นหนึ่งของวงจรเข้าหมดุ ต่อสายของโทรศัพทท์ ี่ ใช้ตรวจต่ออีกหมุดหน่ึงของโทรศัพท์เข้ากับหลักดิน ถ้ามีการแตะดินทางข้างน้ันของวงจรแล้วเคร่ืองเรียก จะหมุนหนักเชน่ เดียวกับการลัดวงจร แล้วตรวจอีกด้านหนึ่งของวงจรด้วยวธิ ีเดียวกนั 4.4.4 การตรวจการก่าย ต่อตัวนำทงั้ สองของวงจรแรกเขา้ กบั หมุดต่อสายของโทรศัพท์ หมุดหนึ่งและตอ่ ตัวนำท้ังสองของวงจรที่ 2 เข้ากับหมดุ ต่อสายของโทรศัพท์อีกหมุดหน่ึง หมนุ เครื่องเรียก ควรจะหมนุ เบามอื เช่นเดยี วกับวงจรเปดิ ถ้าไม่เปน็ อย่างนนั้ หมายความวา่ วงจรก่าย
๗๑ 5. การคน้ หาและการขจัดขอ้ ขดั ข้อง 5.1 การคน้ หาจุดที่ขัดข้อง หลังจากทไี่ ด้รับการยนื ยันวา่ มีข้อขัดข้องเกิดขึ้นบนทางสายก็ จำเป็นทจ่ี ะต้องตรวจสอบและค้นหาจุดขดั ข้องทเี่ กดิ ขึ้น เครอ่ื งมือหรอื ส่วนใดส่วนหนึ่งของวงจรโดยเฉพาะ ตอ่ ไปใหต้ รวจภายในสว่ นนน้ั จนพบตำแหน่งท่ีขัดขอ้ ง กอ่ นท่ีจะตรวจทางสายใหส้ อบวงจรเสียก่อนว่ากำลัง ใช้งานหรอื ไม่ อยา่ ตดั วงจรซ่ึงกำลังใช้งานอยู่ 5.2 ข้อขดั ข้องต่างๆ ของทางสาย 5.2.1 กล่าวทั่วไป ถ้าตรวจพบว่า ข้อขัดข้องเกิดขึ้นในทางสาย คนสร้างสายควรจะ พิจารณา ถึงลักษณะของข้อขัดข้องให้ถูกต้อง และจุดที่ขัดข้องโดยประมาณ ข่าวสารเกี่ยวกับลักษณะ ภูมิประเทศที่ใช้ในการวางสาย ลักษณะการปฏิบัติทางทหารที่ผิดปกติ หรือตำบลกระสุนปืนใหญ่ตกใน พน้ื ทีน่ นั้ มักจะช่วยให้พลซอ่ มสายคน้ หาจุดขัดขอ้ งไดบ้ ่อยครั้ง 5.2.2 การตรวจสอบขัน้ ต้น ตามปกติแล้วชุดสร้างสายจะตรวจเส้นทางสายจริงๆ โดยใช้เครื่องมือซ่อมบำรุง สาย ควรจะสำรวจทางสายให้ถถ่ี ้วนเป็นพเิ ศษในเร่อื งเหล่าน้ี 1) สภาพของฉนวนและรอยต่อ 2) การวางสายขา้ มทางโดยฝังดินและเหนอื ศรี ษะ 3) การผกู กับต้นไม้ทแ่ี กว่งไกว 4) ที่ซงึ่ ยวดยานพาหนะว่ิงทับหรอื เก่ียวสายออกมา ฉนวนถลอก การตอ่ สายไม่เรียบรอ้ ยและจุดขดั ข้องท่ีเป็นไปได้อน่ื ๆ ใหซ้ ่อม และ ตรวจไปตามเส้นทางนั้น ถ้าไม่พบข้อขัดข้องที่เดน่ ชัดแลว้ ให้ตรวจเปน็ ระยะๆ ตามทางสายจนถึงจุดตรวจ สายปลายทาง 5.2.3 การตรวจสอบ ถ้าทำไดใ้ ห้ตัดวงจรตรงรอยต่อ หรือ ณ ตำบลตรวจสายที่ใกล้กับ ปลายทางมากที่สุดอยู่เสมอ ให้พันสายทุกแห่งท่ีฉนวนถูกเจาะหรือปอกในระหว่างทำการตรวจ ถ้าการ ตรวจแต่ละครั้งพสิ ูจน์ได้วา่ ทางสายน้ันใช้งานได้จนถึงจดุ ตรวจปลายทาง ก็หมายความว่าข้อขัดข้องอยู่เลย ตรงนั้นออกไป ถ้าพลซ่อมสายไม่อาจทำการส่ือสารกับจุดตรวจสายปลายทางได้ หมายความว่าเขาผ่าน เลยจุดท่ีขัดข้องมาแล้ว ฉะน้ันควรตรวจสอบถอยหลังไปตามทางสาย โดยแบ่งคร่ึงระยะทางระหว่างจุด ตรวจตามลำดับเนอื่ งจากวงจรท่ีชำรดุ อาจมขี ้อขดั ขอ้ งเกิดขึ้นมากกว่าหน่ึงจุด จึงจำเป็นต้องให้พลซอ่ มสาย ทำการตรวจวงจรตลอดหลงั จากได้แกไ้ ขข้อขดั ขอ้ งแต่ละแหง่ ไปแล้ว 1) ในการทดสอบวงจรเปิด อาจตอ่ เคร่ืองมือตรวจคร่อมวงจร โดยไมต่ ้องตัด ทางสาย 2) ในการทดสอบการแตะดินหรือลัดทางนนั้ จำเปน็ ต้องตดั ทางสาย
๗๒ 5.2.4 การตรวจด้วยตา การตรวจเป็นระยะถ่ีมากเกินไป ต้ังแต่เริ่มระเบียบปฏิบัติ ค้นหาข้อขดั ข้องนั้น อาจทำให้การค้นหาข้อขัดข้องของทางสายล่าช้าได้ อีกทั้งต้องใช้เวลานานพอสมควร ในการต่อสาย หลังจากการตรวจสอบการลัดทางและการแตะดิน การตรวจทางสายด้วยสายตามักจะพบ ขอ้ ขัดข้องได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ถ้าทางสายตอนใดยาวมาก จนไม่อาจตรวจด้วยสายตาได้ ก็ควรตรวจที่ แต่ละปลายของสายตอนนัน้ 5.3 ขอ้ ขดั ขอ้ งของเคร่ืองมอื ถ้าพิจารณาไดว้ า่ ข้อขัดข้องเกิดข้ึนกับเคร่อื งปลายทางแลว้ การตรวจสอบ กใ็ ห้กระทำตามระเบียบปฏบิ ตั ิ ท่ไี ดก้ ำหนดไวใ้ นคูม่ ือทางเทคนคิ ประจำเครื่องน้นั ๆ การ ซ่อมเครื่อง จะต้องใชเ้ จา้ หน้าที่ที่มีความรูเ้ ปน็ ผู้กระทำตามขัน้ การซ่อมอันเหมาะสม 5.4 การลาดตระเวนเส้นทางสาย ในพื้นท่ีสำคัญบางแห่ง โดยเฉพาะการตรวจสอบ การซ่อมบำรงุ ตามปกติต่อทางสายนั้น ตามธรรมดาจะใชช้ ุดลาดตระเวนทำการตรวจในช่วงทางสายท่ีอาจ จะเกิดอันตรายได้มากที่สุดเป็นการเพิ่มเติม เมื่อทำได้พลสร้างสายซ่ึงเป็นผู้สร้างทางสายตอนน้ัน ควรจะ รับมอบภารกิจให้ทำการลาดตระเวนทางสายตอนนั้นด้วย ชุดลาดตระเวนทางสายจะซ่อมทางสายที่ ขัดข้องเมื่อจำเป็น แก้ไขรอยต่อทางสายท่ีชำรุด หรือเปลีย่ นทางสายตอนน้ันเสียใหม่ พันสายตอนท่ีฉนวน ชำรุดและปรับปรุงทางสาย 6. การใชส้ ถานีตรวจในการตรวจทางสายสนาม 6.1 กล่าวท่ัวไป สถานีตรวจสาย จะตั้งอยู่ตามแนวทางสาย เพ่ือความสะดวกในการ ตรวจสายและจัดวงจรเสียใหม่ ตามปกติสถานีตรวจสายจะได้รับการกำหนดชื่อ ตามลักษณะทาง ภมู ิศาสตร์ เคร่ืองมอื ท่ีใช้ตามจุดเหล่าน้คี ือ แผงหมุดปลาย TA-125/GT ตามปกติสถานีตรวจสายจะต้ังอยู่ ณ ทีต่ ่างๆ ดงั ต่อไปนี้ 6.1.1 ณ จดุ ตา่ งๆ ซ่งึ วงจรแยกจากกนั 6.1.2 ณ ปลายทางสายซงึ่ ไมไ่ ปสุดทางทีเ่ คร่ืองสลบั สาย 6.1.3 ใกลก้ บั จุดซง่ึ วงจรอาจจะเกดิ อนั ตราย 6.1.4 ณ ทีท่ ีค่ าดว่าจะใช้เปน็ ที่ตั้งที่บญั ชาการในอนาคต 6.1.5 ณ จุดอื่นๆ ทเ่ี หมาะสมตามเสน้ ทางสาย 6.2 การสร้างสถานีตรวจสาย ท่ีต้ังที่เลือกไว้สำหรับสถานีตรวจสาย ควรจะให้ความ ซ่อนเร้นและกำบัง จากการตรวจการและการยิงของข้าศึก นอกจากนั้นแล้วควรจะให้เข้าไปทำการตรวจ สายได้ง่าย สถานีตรวจสายประกอบด้วยแผงหมุดปลายสายหนึ่งหรือหลายแผง ยึดติดกับต้นไม้ เสาร้ัว หรอื สิ่งค้ำจุนอน่ื ๆ วงจรทางสาย ณ สถานตี รวจสาย ตอ้ งผกู ปา้ ยสายและมดั ไว้ กอ่ นที่จะต่อเขา้ กบั หมดุ ต่อ สายของแผงหมุด ปลายสายจะต้องต่อวงจรตามลำดับหมายเลข คือ เร่ิมจากบนด้วยวงจรท่ีมีหมายเลข ต่ำสุด อาจติดต้ังสถานีตรวจสาย หลังจากได้ติดต้ังทางสายขั้นต้นแล้ว แต่ควรจะกระทำโดยไม่ให้ การส่ือสารชะงัก
๗๓ 6.3 การถอนสถานีตรวจสาย เมื่อจะเลิกสถานีตรวจสาย ในทางปฏิบัติ ตามปกตแิ ล้วปลอ่ ย ให้แผงหมุดปลายสายยังคงเชื่อมกับวงจรอยู่ เมื่อจะถอนสถานีตรวจสายต้องต่อวงจรต่างๆ เข้าด้วยกัน เสียกอ่ น การถอนสถานีตรวจสายควรกระทำโดยไมใ่ ห้การสื่อสารต้องหยุดชะงกั 6.4 การเปลี่ยนจากสถานีตรวจสายเป็นโทรศัพทก์ ลาง ทบี่ ัญชาการ มักจะตัง้ ข้นึ ณ ท่ีตง้ั ซ่ึงเปน็ สถานตี รวจสายมาก่อน เมื่อจะเปล่ียนจากสถานตี รวจสายมาเปน็ โทรศัพทก์ ลาง ความสำคัญมีอยู่ว่า จะต้องยกทางสายเหนือศีรษะหรือฝังดินและเครื่องสลับสายจะต้องต้ังให้ใกล้กับสถานีตรวจสายเท่าที่ จะทำได้ เพื่อให้มีการตัดต่อสายแต่น้อยท่ีสุด แผงหมุดหลายสาย ซ่ึงแต่เดิมใช้กับสถานีตรวจสายน้ัน อาจ ใช้เป็นโครงหลักแยกทางสาย สำหรับเคร่ืองสลับสายหรือใช้เป็นส่วนหน่ึงของศูนย์การสร้างสาย สำหรับ เคร่ืองสลับสายกลาง เมอื่ การเปลย่ี นเรียบรอ้ ยแล้ว พนักงานประจำเคร่ืองควรจะทดสอบและแจ้งให้หนว่ ย ทเ่ี กีย่ วข้องได้ทราบ 6.5 วงจรต่อผ่าน – ข้าม (Cross – Patching Circuit) การต่อผ่าน – ข้ามวงจร ที่สถานีตรวจสายหรือเครื่องสลับสายกลาง มักจะอำนวยให้การส่ือสารคงดำรงอยู่ได้ในระหว่างห้วงเวลาที่ ค้นหาข้อขัดข้อง ตัวอย่างเช่น มีการต่อวงจร 2 วงจร ระหว่างโทรศัพท์กลาง 2 แห่ง ผ่านสถานีตรวจสาย รว่ มกัน วงจรหนึ่งเกิดขัดข้องขึน้ ขา้ งๆ สถานีตรวจสายและอีกวงจรหนึ่งเกิดขดั ข้องข้ึนทางด้านหา่ งออกไป เพ่ือจะทำให้วงจรหน่ึงใช้งานได้ ให้นำสายช่วงท่ีดีของแต่ละด้านของสถานีตรวจสายมาต่อเข้าด้วยกัน (ต่อผา่ น - ข้าม) หลงั จากซอ่ มสายเสร็จแลว้ จงึ ตอ่ เข้าตามเดมิ 7. บนั ทกึ ที่ใชใ้ นการค้นหาขอ้ ขดั ขอ้ ง เป็นเร่ืองสำคัญท่ีจะต้องบันทึกการติดตั้งและการซ่อมบำรุงต่างๆ ไว้ บันทึกเหล่านี่รวมถึง แผนท่ีเส้นทางสาย แผนผังวงจร และแผนผังการส่ือสาร ต้องแสดงส่ิงท่ีเปล่ียนแปลงท้ังหมดในทางสาย ตลอดเวลาที่ปฏิบัติการ นอกจากนั้นรายงานข้อขัดข้องบันทึกการตรวจสายและประวัติสถานีก็จะต้อง กระทำไว้ดว้ ยตามความจำเป็น
๗๔ บทท่ี 9 เครือ่ งมือสอ่ื สารท่ีใช้ในระบบสายสนาม ตอนท่ี 1 คำนำ 1. กล่าวท่วั ไป บทน้ีเป็นการกล่าวถึงเคร่ืองมือสื่อสาร ท่ีใช้ในระบบสายสนาม คำอธิบายจะจำกัดเพียง รายการที่กล่าวถึงลักษณะโดยย่อของเครื่องมือแต่ละอย่าง สำหรับรายละเอียดของเคร่ืองมือแต่ละชนิด โดยเฉพาะนน้ั ได้กลา่ วไวใ้ นคมู่ อื ทางเทคนคิ หรอื ส่ิงพมิ พอ์ ่ืนๆ ทเ่ี กยี่ วกบั เครือ่ งมือนั้นแลว้ 2. เครอื่ งจา่ ยกำลังไฟฟ้า 2.1 กล่าวท่วั ไป เครื่องมอื สื่อสารชนิดหอบหิ้วได้ ท่ีกล่าวในบทน้ีส่วนมากต้องการแหล่งจ่าย กำลังไฟฟ้า ในบางกรณีแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าอาจจะเป็นหม้อไฟฟ้า หรือมิฉะนั้น ก็เป็นเคร่ืองยนต์กำเนิด ไฟฟา้ ทีใ่ ชแ้ กสโซลนี หรือแหลง่ จ่ายกำลงั ไฟฟา้ รว่ ม 2.2 หม้อไฟฟ้า ถา้ เคร่อื งมือส่ือสารท่ีใชก้ ำลังจากหม้อไฟฟ้าแล้ว ต้องตรวจสอบคู่มอื ประจำ เครื่อง ให้แน่ใจว่าได้ใช้หม้อไฟฟ้าทม่ี ีคุณลักษณะท่ีถูกต้อง เมื่อไม่มีหม้อไฟฟ้าใช้โดยเฉพาะ ให้พิจารณาถึง ปัจจัยตา่ งๆ ก่อนท่จี ะเลือกหมอ้ ไฟฟา้ ชนดิ อื่นมาแทน คือ 2.2.1 ศกั ย์ไฟฟ้าทีต่ ้องการ 2.2.2 ความตอ้ งการกำลังอยา่ งตำ่ ทส่ี ุด (อายุการใช้งานของหมอ้ ไฟฟ้านั้น ข้ึนอยู่กับ การกินกระแสของเครอื่ งมอื แต่ละชนิด) 2.2.3 ขนาดของหม้อไฟฟ้าจะเหมาะกบั ชอ่ งวา่ ง สำหรับใส่หม้อไฟฟา้ ของเครื่องนัน้ หรือไม่ 2.2.4 แบบของการตอ่ หม้อไฟฟา้ เข้ากับเครื่องมือ 2.3 แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าอื่นๆ ตามปกติแล้ว เคร่ืองมือที่ต้องการการจ่ายกำลังไฟฟ้า สม่ำเสมอเป็นระยะเวลานาน จะใช้แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าร่วม หรือเคร่อื งยนต์กำเนิดไฟฟ้า ท่ีใช้แกสโซลีน ภาระของเครื่องมือ ต้องไม่เกินขีดความสามารถของแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้า ก่อนท่ีจะต่อเข้ากับเครื่องมือ ใดๆ ให้ตรวจสอบความต่างศักด์ิไฟฟ้าของแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้า เทียบกับความต่างศักดิ์ไฟฟ้าท่ีต้องการ ของเครอ่ื งมือนนั้ ๆ เสียก่อน
๗๕ ตอนที่ 2 โทรศพั ท์สนาม 1. กลา่ วทว่ั ไป ชุดโทรศัพท์สนาม เป็นชนิดหอบหิ้วได้ เป็นเครื่องมือท่ีสมบูรณ์ในตัว ซ่ึงออกแบบไว้ สำหรับใช้ในสนาม เคร่ืองโทรศัพท์เหล่านี้ สร้างไว้ให้มีความทนทาน และนำไปได้สะดวก การจะเลือกใช้ โทรศพั ทส์ นามชนิดใด ยอ่ มแล้วแตค่ วามยาวและแบบของวงจร ตลอดจนแบบของเครื่องสลับสายทใ่ี ชด้ ว้ ย 1.1 เครือ่ งโทรศัพท์สนาม ที่ใช้งานเป็นหลัก มีอยู่ 2 แบบ คือ โทรศัพท์กำลังงานเสียง และ โทรศพั ทก์ ำลงั งานหมอ้ ไฟฟา้ 1.1.1 สำหรับโทรศัพท์กำลังงานเสียงน้ัน ตลับปากพูด เป็นเคร่ืองกำเนิดกำลังไฟฟ้า คล่ืนเสียงที่เกดิ ข้ึนจากเสียงของผูพ้ ูด จะไปกระทบตลับปากพดู แล้วจะถูกแปลงใหเ้ ป็นกำลังไฟฟ้าโดยตรง ตลับหูฟังของเคร่ืองโทรศัพท์ปลายทาง จะเปล่ียนกำลังงานไฟฟ้าน้ี กลับมาเป็นคลื่นเสียงอีกตามเดิม โทรศัพท์กำลังงานเสียง ซ่ึงมีระยะทางใช้งานสั้นกว่าเคร่ืองโทรศัพท์ท่ีใช้กำลังงานหม้อไฟฟ้า อาจจะใช้ ร่วมกันกับหรือใช้แทนโทรศัพท์หม้อไฟฟ้าประจำเครื่อง (LB) ก็ได้ อย่างไรก็ตามโทรศัพท์กำลังงานเสียง ไมอ่ าจใชก้ ับระบบหม้อไฟฟ้ารว่ ม (CB) ได้ 1.1.2 โทรศัพท์กำลังงานหม้อไฟฟ้า จะมีหม้อไฟฟ้าแห้งขนาดเล็กบรรจุอยู่ภายใน โทรศัพท์ เพ่ือใช้เป็นแหล่งกำลังส่ง เม่ือใช้โทรศัพท์กำลงั หมอ้ ไฟฟา้ ในระบบหม้อไฟฟ้าร่วม (CB) แล้ว อาจ ไม่จำเป็นต้องใช้หม้อไฟฟ้าแห้งบรรจุไว้ในเครื่องโทรศัพท์ (ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่อง) โทรศัพท์สนามมี เครื่องแม่เหล็กกำเนิดไฟฟ้าสลับ (MAGNETO) หรือเคร่ืองกร่ิงท่ีหมุนด้วยมือ เพื่อให้สัญญาณเรียก สัญญาณท่ีเรียกเข้ามาจะทราบได้ด้วยการได้ยินกร่ิงหรือเครื่องอืด หรือเห็นจากแสงหรือสัญญาณท่ีไม่มี เสียง 1.2 ระยะการพูดของโทรศพั ท์สนาม ไดส้ รุปไว้ในตารางดังต่อไปนี้ โทรศัพทส์ นาม ระยะพูดโดยใชส้ าย WD – 1/TT (ไมม่ ีขดภาระ) สภาพชนื้ แฉะ (เปน็ ไมล์) สภาพแหง้ แล้ง (เป็นไมล์) TA – 1/PT 4 7.5 TA – 312/PT 14 22 TA – 264/PT มเี ครอ่ื งขยาย……………… 38 60 ไม่มเี ครื่องขยาย…………... 12 18 ระยะตามตารางนี้ เป็นระยะโดยประมาณ เพราะว่าระยะพดู ยงั ต้องขน้ึ อยู่กับปัจจยั ตอ่ ไปนี้ คือ จำนวนและคุณภาพของการต่อสาย สภาพลมฟ้าอากาศ จำนวนเครอ่ื งสลบั สายกลาง และสถานี ตรวจสาย เสียงรบกวนจากเสียงแทรกตา่ งวงจร และการรบกวนอน่ื ๆ ในวงจร
๗๖ 2. เครอ่ื งโทรศพั ท์ TA – 1/PT 2.1 เคร่ืองโทรศัพท์ TA – 1/PT (รูปท่ี 64 ) เป็นเครื่องโทรศัพท์กำลังงานเสียง ใช้พูดและ เรยี ก โดยไม่ต้องอาศยั หมอ้ ไฟฟ้า ระยะการตดิ ตอ่ สื่อสารโดยประมาณในการพูดและเรยี กของ TA – 1/PT ต้ังแต่ 4 – 7.5 ไมล์ เมื่อใช้สาย WD – 1/TT เครื่องโทรศัพท์นี้สามารถใช้เป็นประโยชน์ในพื้นที่ข้างหน้า ในข่ายงานสลับสายท่ีมีเคร่ืองสลับสาย ซึ่งให้สัญญาณเรียกแบบเครื่องแม่เหล็กกำเนิดไฟฟ้าสลับ MAGNETO ในวงจรข่ายปดิ และวงจรเครอ่ื งตอ่ เคร่ือง 2.2 ปากพดู หูฟงั ชุดมือถือของโทรศัพท์ ประกอบดว้ ย ตลบั ปากพูดกำลงั งานเสียงและ ตลบั หูฟงั เคร่ืองเรียกใช้มือกดไกไฟฟา้ แบบกระเด่ือง และกดไกไฟฟา้ เพ่ือพดู ผใู้ ชจ้ ะรับสัญญาณเรียก ทางทศั นะ หรือไม่ก็โสตทศั นะในระหว่างใช้งาน 2.3 ในการติดตั้งโทรศัพท์ ให้ต่อตัวนำของสายสนาม เข้ากับหมุดต่อสาย ที่อยู่บนแท่ง ปลายสาย ของเคร่อื งโทรศพั ท์ 2.4 ในการเรียกเครื่องโทรศัพทป์ ลายทาง ให้กดและปล่อยกระเดื่องเครื่องเรยี ก การระงบั เสยี งสญั ญาณเรยี ก ให้หมุนไกไฟฟา้ ทางดา้ นหลงั ของเคร่อื งไปทต่ี ำแหน่งตดั (OFF) ความดังของเสียง สัญญาณเรยี ก สามารถควบคุมได้ โดยหมุนไกไฟฟ้าไปยงั ตำแหน่งตา่ งๆ ระหวา่ งตำแหนง่ ตัดกับดงั (OFF – LOUD) 2.5 การพดู กับสถานปี ลายทาง ให้กดไกไฟฟา้ กด – เพื่อ – พูด จะได้ยนิ คูส่ นทนา ปลายทางเพยี งแผ่วเบา ถา้ เขาพดู สวนข้ึนมา ในขณะท่เี รากำลังกดไกไฟฟ้า กด – เพ่ือ – พูด อยู่ แต่ถ้า จำเป็นกใ็ ห้ปล่อยไกไฟฟ้าเพ่ือไดย้ นิ ชดั เจนขึ้น 2.6 สำหรับรายละเอยี ดเพิ่มเติมให้ดู TM 11 – 5 – 805 –243 –12 รูปท่ี 64 เครอื่ งโทรศพั ท์ TA – 1 /PT
๗๗ 3. เครื่องโทรศพั ท์ TA – 312/PT 3.1 เคร่ืองโทรศัพท์ TA-312/PT (รูปที่ 65) ใช้เป็นโทรศัพท์ธรรมดาชนิดหม้อไฟฟ้าประจำ เครื่อง (LB) หรือหม้อไฟฟ้าร่วม (CB) ทั้งยังอาจจัดให้เป็นโทรศัพท์หม้อไฟฟ้าประจำเครื่องท่ีใช้สัญญาณ เรยี กจากหมอ้ ไฟฟา้ ร่วม (CBS) 3.2 เครือ่ งโทรศพั ทน์ ี้ ใช้ได้ทงั้ นอกอาคาร หรอื ใช้เปน็ เคร่ืองโทรศัพทต์ ง้ั โต๊ะ หรอื ตดิ ขา้ งฝา กไ็ ด้ มชี ่องเสียบไวส้ ำหรับต่อชุดมอื ถือ ชุดสวมศีรษะ ซ่งึ อาจใช้แทนชดุ มอื ถือทจ่ี ดั ไวเ้ ดมิ ได้ นอกจากนั้น เครอื่ งโทรศัพทน์ ี้ อาจใช้ควบคุมการทำงานของวิทยุจากระยะไกลได้อีกดว้ ย 3.3 ระยะการติดตอ่ สื่อสาร ประมาณ 14 - 22 ไมล์ เมื่อใช้สาย WD – 1/TT 3.4 สญั ญาณเรยี ก ไดจ้ ากแหล่งผลิตสัญญาณชนดิ มือหมนุ ขนาด 90 VAC 20 Hz 3.5 สำหรบั รายละเอยี ดเพิ่มเติมให้ดู TM 11 – 2155 รูปท่ี 65 เครือ่ งโทรศพั ท์ TA – 312/PT
๗๘ 4. เครอ่ื งโทรศัพท์ ETP-1 4.1 เครื่องโทรศัพท์ ETP–1 (รปู ท่ี 66) เปน็ เครอ่ื งโทรศัพท์แบบ Analogue ชนิดหม้อไฟฟ้า ประจำเคร่ือง (LB) และ หม้อไฟฟ้าร่วม (CB) ระยะโดยประมาณในการพูดและเรยี กของ ETP-1 ประมาณ 12.5 ไมล์ หรอื 20 กิโลเมตร เม่ือใชส้ าย WD – 1/TT 4.2 สามารถเลือกโหมดการทำงานได้ 2 โหมด คือ LB Mode และ CB Mode 4.3 การทำงานใน LB Mode ใชห้ มอ้ ไฟฟา้ ประจำเครื่อง ขนาด 4.5 VDC. Standard 3 “C” Size จำนวน 3 ก้อน เพื่อติดต้ังใช้งานแบบจุดต่อจุด โดยไม่ใช้เคร่ืองสลับสายโทรศัพท์ทางทหาร ETE การเรียกคสู่ ถานี ให้กดปุม่ Signaling/Flash เพอื่ สง่ สัญญาณกระดง่ิ ไปยังเครื่องปลายทาง 4.4 การทำงานใน CB Mode จะใช้งานร่วมกับเคร่ืองสลับสายโทรศัพท์ทางทหาร ETE-X โดยการเรยี กคสู่ นทนา ใหก้ ดเลขหมายปลายทางทต่ี ้องการได้โดยตรง 4.5 ในการติดตั้งเครื่องโทรศัพท์ใช้งาน ให้ต่อตัวนำ 2 เส้น ของสายโทรศัพท์สนาม WD-1/TT เขา้ ทห่ี มดุ ต่อสายชนิด Binding post ของเครอื่ งโทรศพั ท์ 4.6 ป่มุ ปรับความดงั ของสญั ญาณเรียกเข้า ปรบั ได้ 3 ระดับ คือ Off/MID/HIGH) 4.7 สำหรบั รายละเอยี ดเพม่ิ เติมใหด้ ู เทคนคิ การตดิ ตัง้ ใช้งานระบบการส่ือสารทางยุทธวธิ ี รปู ท่ี 66 เครือ่ งโทรศพั ท์ ETP-1
๗๙ 5. เครอื่ งโทรศัพท์ ETP-3 5.1 เครอื่ งโทรศัพท์ ETP–3 (รูปท่ี 67) เป็นเคร่ืองโทรศัพท์แบบ IP Phone ตดิ ตง้ั ใช้งาน รว่ มกบั เครื่องสลบั สายทางทหาร ETE-X มคี วามแขง็ แรงทนทาน ทำงานบนเครอื ข่าย IP เพอื่ การส่อื สาร แบบ VoIP โดยใช้ SIP Protocol 5.2 มีพอรท์ Ethernet ให้ใช้งาน จำนวน 2 พอร์ท โดยพอรท์ ที่ 1 (PC) สำหรบั การปรับ ต้ังคา่ ตวั เคร่ืองโทรศัพท์ และพอรท์ ท่ี 2 ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการส่ือสาร LAN / WAN ไปยงั เครื่อง สลบั สายทางทหาร ETE-X 5.3 กำลงั งานไฟฟา้ ไดจ้ าก Power Supply AC/DC 24 VDC. โดยใช้สาย (CX-4177) 5.4 ใน การติดตั้งเครื่องโท รศั พ ท์ ใช้งาน ให้ ต่อสาย ETE TO SINGLE IP PHONE (CX-4142) เพ่ือเช่ือมต่อสัญญาณจาก Port LAN Connector ของ ETP-3 ไปยัง Port LAN ของเครื่อง สลับสายทางทหาร ETE-X 5.5 สำหรบั รายละเอียดเพิ่มเติมใหด้ ู เทคนิคการตดิ ตัง้ ใช้งานระบบการสื่อสารทางยทุ ธวธิ ี รปู ที่ 67 เครื่องโทรศพั ท์ IP PHONE ETP-3
๘๐ ตอนท่ี 3 เครื่องสลับสายโทรศพั ทใ์ ชพ้ นกั งาน 1. กลา่ วท่ัวไป 1.1 เคร่ืองสลับสายโทรศัพท์ใช้พนักงาน ออกแบบไว้เพื่อให้สามารถใช้งานได้หลายอย่าง เช่น ระบบหม้อไฟฟ้าร่วม (CB) ระบบหม้อไฟฟ้าประจำเครื่อง (LB) และระบบสัญญาณเรียกจาก หม้อไฟฟ้าร่วม – หม้อไฟฟ้าประจำเครื่อง (CBS) เคร่ืองสลับสายสนามบางชนิดออกแบบไว้สำหรับ ปฏิบัติงานแบบใดแบบหน่ึงโดยเฉพาะ แต่ส่วนมากแล้วมักออกแบบไว้เพ่ือให้ใช้งานได้ท้ัง 3 แบบที่กล่าว มาแล้ว 1.2 เครื่องสลับสายโทรศัพท์ใช้พนักงาน เป็นเคร่ืองท่ีปฏิบัติงานด้วยมือ ได้สร้างไว้ให้ ทนทานต่อการใช้ท่ีสมบุกสมบัน ท้งั ได้ออกแบบไว้ใหต้ ดิ ตง้ั ง่ายและรวดเรว็ อีกด้วย 1.3 ในระบบหมอ้ ไฟฟา้ รว่ ม (CB) กำลงั งานไฟฟ้าท่ีใชใ้ นการพูดและสัญญาณเรยี ก อยู่ท่ี ศูนยส์ ลบั สายโทรศัพท์ 1.4 ในระบบหม้อไฟฟ้าประจำเครื่อง (LB) แหล่งกำลังงานไฟฟ้า เป็นส่วนประกอบของ เครื่องโทรศัพท์ 1.5 ในระบบอ่ืน (เรียกด้วย CB – พูดด้วย LB) แหล่งกำลังในการพูดได้มาจาก เคร่อื งโทรศัพท์ ส่วนกำลังของเคร่อื งเรยี กไดม้ าจากเครื่องสลบั สาย 2. เครอ่ื งสลบั สายฉุกเฉนิ SB – 993 /GT 2.1 เคร่ืองสลับสายฉุกเฉิน SB–993/GT (รูปท่ี 68) เป็นเคร่ืองสลับสายชนิดหม้อไฟประจำ เคร่ือง ซ่ึงห้ิวไปมาได้ มีน้ำหนักเบา ตามปกติใช้ในหน่วยระดับ กองร้อย ประกอบด้วย ท่ีเก็บตัวเสียบ 1 กลอ่ ง และตวั เสียบสมาส ชนดิ 2 ขา U–184/GT จำนวน 7 ตัว ซึ่งบรรจุอยใู่ นซอง ต้องมโี ทรศัพท์สนาม 1 เคร่ือง สำหรับให้พนักงานใช้เคร่ืองสลับสาย SB–993/GT อาจใช้แทนเคร่ืองสลับสายหม้อไฟฟ้าประจำ เครอื่ งใดๆ กไ็ ด้ ในสนามเม่ือฉุกเฉนิ 2.2 ตัวเสียบสมาส U–184/GT แต่ละตัว (รูปท่ี 69) ประกอบด้วยหลอดนีออนเรืองแสง 1 หลอด หมุดต่อสาย 2 หมุด ขาเสียบ 2 ขา และช่องเสียบ 2 ช่อง ท้ังหมดนี้หลอมหล่อเข้าด้วยกัน เป็น แท่งพลาสติกใส ขาเสียบใช้เป็นหมุดต่อสาย ทำปลายไว้ให้ขันเกลียวได้ด้วยมือ ซึ่งจะนำสายเข้ามาต่อ อาจจะเสียบตัวเสียบนี้เข้ากับช่องเสียบของตัวเสียบสมาส U–184/GT อีกอันหน่ึงเพื่อต่อทางสาย 2 ทาง เขา้ ดว้ ยกนั ก็ได้ 2.3 ตวั เสยี บสมาส U–184/GT หลายๆ ตัว สามารถนำมาต่อเรียงซ้อนกัน สำหรบั การต่อ ประชุมได้ดว้ ย (คสู่ นทนาท่ีอยู่แยกกนั หลายๆ คู่สามารถจะพูดกนั ไดใ้ นเวลาเดียวกัน)
๘๑ รปู ท่ี 68 เคร่ืองสลบั สายฉุกเฉิน SB – 993/GT รปู ที่ 69 ตัวเสียบสมาส U – 184/GT 2.4 เมอ่ื มสี ัญญาณเรยี กเขา้ มาน้ัน จะจดุ หลอดนอี อนในตัวเสยี บของเครื่องสลบั สายทต่ี ่ออยู่ กับทางสาย จะไม่ได้ยนิ เสียงสัญญาณเมื่อหลอดนีออนกำลังติดอยู่ เวน้ แต่โทรศัพทป์ ระจำพนักงานเครื่อง สลบั สาย จะต่ออยู่กับทางสายนั้น ดงั นั้น พนกั งานจะต้องเฝ้าดูสญั ญาณเรยี กอยู่ตลอดเวลา
๘๒ 3. เครอ่ื งสลบั สายโทรศัพท์ SB–22/PT 3.1 เคร่ืองสลับสายโทรศัพท์ SB–22/PT (รูปท่ี 70) เป็นเครื่องสลับสายโทรศัพท์สนาม มุ่งหมายเพื่อใช้กับระบบสายสนาม เป็นเคร่ืองขนาดเล็ก, น้ำหนักเบา, หอบห้ิวไปได้, จุ่มน้ำได้ และไม่ ตอ้ งการอปุ กรณ์ติดตัง้ พิเศษใดๆ ขณะปฏิบัติ 3.2 เครื่องสลับสายโทรศัพท์นี้ จัดข้ึนสำหรับเช่ือมต่อทางสายโทรศัพท์หม้อไฟประจำ เครื่อง วงจรเครื่องโทรพิมพ์ความถีเ่ สยี งและวงจรเคร่ืองบงั คบั ไกลสำหรับการสื่อสารทางวิทยุ เครื่องสลับ สาย แต่ละเครื่องมีความสามารถสูงสุดสำหรับสลับสายโทรศัพท์สนาม 12 เคร่ือง หรือวงจรโทรพิมพ์ ความถ่ีเสียง 12 วงจร หรือวงจรเครื่องบังคับไกล 12 วงจร หรือหลายอย่างผสมกัน (แต่ต้องไม่เกิน 12 วงจร) แต่เม่ือเอาเครื่องสลับสาย 2 เคร่ือง มาซ้อนกันเข้าแล้วจะมีขีดความสามารถถึง 29 วงจร โดยการ นำเอาซองทางสาย (Line pack) 5 ซอง มาใส่แทนซองพนกั งาน (Operator pack) 3.3 เครือ่ งสลับสายโทรศัพท์ SB–22/PT ใช้กำลังไฟจากหม้อไฟฟ้า BA–30 จำนวน 4 หม้อ 3.4 สำหรบั รายละเอยี ดเพม่ิ เติมให้ดูใน TM 11 – 2202 รปู ที่ 70 เคร่อื งสลบั สายโทรศัพท์ SB - 22/PT
๘๓ 4. เครอ่ื งสลับสายโทรศัพท์ SB – 86/P 4.1 เครือ่ งสลับสายโทรศัพท์ SB–86/P (รูปท่ี 71) เป็นเคร่ืองชนิดหอบหวิ้ ได้ มงุ่ หมายเพ่ือ ใช้กับระบบสายสนาม เคร่ืองสลับสายน้ีประกอบด้วยส่วนต่างๆ ซ่ึงสามารถที่จะประกอบหรือถอดออกได้ รวดเร็วในระหว่างทใี่ ชง้ านทางยทุ ธวธิ ี และสามารถใช้ตอ่ เช่อื มกับวงจรโทรพิมพค์ วามถีเ่ สยี งได้ดว้ ย 4.2 เคร่ืองสลับสายโทรศัพท์ SB–86/P ประกอบด้วย ส่วนช่องเสียบที่ห้ิวได้ เคร่ืองให้ สัญญาณ TA–207/P ส่วนเครอ่ื งสลับสายโทรศพั ท์ SB–248/P และเครื่องใหก้ ำลังไฟฟา้ PP–990/G 4.2.1 ส่วนช่องเสียบจุวงจรทางสายได้ 30 วงจร นอกจากน้ันแล้ว ยังมีเคร่ืองให้ สัญญาณประจำทางสาย แผ่นป้ายชื่อ ไฟส่องหน้าปัด และไกไฟฟ้าต่างๆ ท่ีใช้สำหรับการปฏิบัติงาน ของเครือ่ งสลับสาย อาจใช้ส่วนช่องเสยี บอนั ท่ี 2 ต้ังซอ้ นบนสว่ นชอ่ งเสียบอันท่ี 1 เพอ่ื เพ่ิมความจขุ อง เครอ่ื งสลับสายให้เป็น 60 วงจรทางสาย 4.2.2 ส่วนเคร่ืองสลับสาย ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนท่ีเปลี่ยนได้ 8 ช้ิน ซ่ึงมีสายต่อ 16 สาย และสายเรียก 16 สาย 4.3 อาจจะเลือกใชเ้ คร่ืองเรยี กหม้อไฟฟา้ ประจำเคร่ืองหรอื หม้อไฟฟ้าร่วม โดยใช้ไกไฟฟ้า ทต่ี ่อร่วมกับวงจรทางสายแตล่ ะทาง มีวงจรทางสายหม้อไฟฟา้ รว่ มอยู่สองวงจร เพ่ือใช้กับเครอื่ ง สลบั สายหมอ้ ไฟฟ้าร่วม 4.4 วงจรสายต่อของเครื่องสลบั สาย จะไม่จา่ ยกำลังไฟฟ้าไปยังโทรศพั ท์ปลายทางเพ่ือการ ส่งเปน็ คำพูด เพราะฉะนั้นโทรศพั ท์หม้อไฟฟ้าประจำเคร่ืองหรอื โทรศพั ท์ทอี่ อกแบบให้ใชห้ ม้อไฟฟ้าร่วม เฉพาะสัญญาณเรยี กเทา่ นนั้ ท่ีสามารถใช้กับเครื่องสลบั สายชนิดนี้ 4.5 สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมให้ดู TM – 11 - 2134 รูปที่ 71 เคร่อื งสลบั สายโทรศพั ท์ SB – 86/P
๘๔ ตอนที่ 4 เครื่องสลับสายโทรศพั ท์ทางทหาร ETE-X 1. กล่าวท่วั ไป 1.1 ETE-X เปน็ เครื่องสลบั สายโทรศัพท์ทางทหาร รุ่นใหม่ มจี ำนวน 3 รุ่น ประกอบด้วย ETE-C, ETE-S และ ETE-M โดยรุ่น ETE-C จะนำมาใช้งานทดแทนเครื่องสลับสาย SB-993/GT, ETE-S จะใชง้ านทดแทนเครือ่ งสลบั สาย SB-22/PT และรุน่ ETE-M จะใชง้ านทดแทนเครอ่ื งสลับสาย SB-86/P 1.2 การทำงานของเคร่ืองสลับสายโทรศัพท์ทางทหาร ETE-X เป็นแบบอัตโนมัติ สามารถใช้งานร่วมกบั เคร่ืองโทรศัพท์ Analogue ระบบ CB โดยวางเครื่องโทรศัพท์ได้ไกลจาก ETE-X ถึง 20 กิโลเมตร โดยใช้สายโทรศัพท์สนาม WD1/TT และเคร่ืองโทรศัพท์ Digital ระบบ SIP Phone รองรับ ได้ 20 – 100 อปุ กรณ์ ผ่านระบบเครอื ขา่ ย LAN หรอื ใช้ Application SIP Phone บนมอื ถอื รว่ มด้วยได้ 1.3 การติดตั้งใช้งาน เครื่อง ETE-X นั้นเราสามารถติดต้ังใช้งานแบบ Standard Alone หรือให้ ทำงานเป็นแบบ Network ก็ได้ ซ่ึงถ้าให้เคร่ืองทำงานในแบบ Network นั้น การเช่ือมโยงก็จะใช้ การเช่ือมโยงแบบ Single channel โดยใช้สาย WD1/TT หรือแบบ Multi channel โดยใช้มาตรฐาน การเชือ่ มตอ่ แบบ Ethernet Protocol (LAN) 1.3.1 การใช้งานแบบ Stand Alone หมายถึง การตดิ ตั้งใช้งานเครอื่ ง ETE-X เพยี ง เคร่ืองเดียว ซ่ึงการใช้งานในลักษณะน้ี เราสามารถใช้ค่าเริ่มต้นจากโรงงานที่ได้จัดเตรียมเอาไว้ได้เลย ไมต่ ้องกำหนดคา่ ใหม่ โดยจะมหี มุดตอ่ ทต่ี ัวเคร่อื ง ดงั น้ี 1) ETE-C (หมุด T1- T8) จะมหี มายเลขโทรศพั ท์เป็น หมายเลข 101 – 108 2) ETE-S (หมดุ T1 – T12) จะมหี มายเลขโทรศัพท์เป็น หมายเลข 101 – 112 3) ETE-M (หมุด T1 – T36) จะมหี มายเลขโทรศัพท์เป็น หมายเลข 101 – 136 1.3.2 การทำงานแบบ Network หมายถึง การนำเอาเครื่อง ETE-X มาต่อใช้งาน รว่ มกันตั้งแต่ 2 เคร่ืองขนึ้ ไป ซ่งึ สามารถทำได้ใน 2 ลักษณะ คอื 1) เช่ือมต่อถงึ กนั ด้วยสาย WD1/TT ผา่ นทาง FXO Port , FXS Port 2) เชอื่ มตอ่ ถึงกนั ด้วยมาตรฐานการเช่ือมต่อแบบ Ethernet Protocol ผา่ นทาง LAN Ports
๘๕ 2. เครอื่ งสลับสายโทรศัพท์ทางทหาร ETE-C เคร่ืองสลับสายโทรศัพท์ทางทหาร ETE-C (รูปท่ี 72) เป็นเคร่ืองสลับสายโทรศัพท์ทาง ยุทธวิธีแบบอัตโนมัติ ใช้งานในหน่วยระดับ กองร้อย สามารถใช้งานร่วมกับเคร่ืองโทรศัพท์ Analogue ระบบ CB และเครื่องโทรศัพท์ Digital ระบบ SIP Phone โดยมีส่วนประกอบตัวเครื่อง ETE-C (รูปท่ี 73) ดงั ต่อไปนี้ 2.1 รองรับเครอ่ื งโทรศัพทแ์ บบ Analogue ระบบ CB ได้ 8 ค่สู าย หรอื 8 FXS Port โดยนำเครอ่ื งโทรศพั ท์มาตอ่ ใชง้ านท่หี มุด (T1 - T8) จะมีหมายเลขโทรศพั ท์เปน็ หมายเลข 101 – 108 2.2 รองรับเครื่องโทรศัพท์ แบบ Digital ระบบ SIP Phone จำนวน 20 IP Phone เชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่าย LAN จะมีหมายเลขโทรศัพท์เป็น หมายเลข 200 – 219 และยังสามารถใช้ เครอื่ งโทรศัพทม์ อื ถือ Smart Phone ตดิ ตง้ั แอพลเิ คชัน SIP Phone นำมาลงทะเบียนใชง้ านร่วมกนั ได้ 2.3 ไมม่ ี FXO Port ท่จี ะใช้ในการเชื่อมต่อออกไปตู้ชุมสายโทรศัพท์อื่นๆ 2.4 มี LAN Ports 2 Port ใช้สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องโทรศัพท์ ETP-3 และสามารถใช้ ขยายเครือขา่ ย LAN ให้มากขึ้น รวมถึงใช้ตอ่ กับเคร่ืองคอมพิวเตอร์ ETE-EMS ในการตงั้ ค่าตา่ งๆ ดว้ ย 2.5 แหล่งพลังงานไดท้ ้งั จาก Lithium Ion battery ชนดิ TLI-9380E และ 24 VDC. Power connector 2.6 สำหรับรายละเอียดเพิ่มเตมิ ให้ดู เทคนิคการติดตง้ั ใชง้ านระบบการส่ือสารทางยทุ ธวิธี รูปท่ี 72 เคร่ืองสลบั สายโทรศพั ท์ทางทหาร ETE-C FXS OUT T1-T8 LAN1 Connector: WAN • LAN • Serial console • Power connector 24VDC LAN2 Connector: LAN • รูปท่ี 73 Port เชื่อมต่อ เคร่อื งสลับสายโทรศพั ทท์ างทหาร ETE-C
๘๖ 3. เครือ่ งสลับสายโทรศัพท์ทางทหาร ETE-S เครื่องสลับสายโทรศัพท์ทางทหาร ETE-S (รูปที่ 74) เป็นเครื่องสลับสายโทรศัพท์ทาง ยุทธวิธีแบบอัตโนมัติ ใช้งานในหน่วยระดับ กองพัน สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องโทรศัพท์ Analogue ระบบ CB และเครอ่ื งโทรศัพท์ Digital ระบบ SIP Phone โดยมีส่วนประกอบตวั เคร่ือง ETE-S (รูปท่ี 75) ดงั ตอ่ ไปนี้ 3.1 รองรับเครอ่ื งโทรศัพทแ์ บบ Analogue ระบบ CB ได้ 12 คสู่ าย หรอื 12 FXS Port โดยนำเคร่ืองโทรศพั ทม์ าต่อใชง้ านทีห่ มุด (T1 – T12) จะมีหมายเลขโทรศัพท์เป็น หมายเลข 101 – 112 3.2 รองรับเคร่ืองโทรศัพท์ แบบ Digital ระบบ SIP Phone จำนวน 40 IP Phone เชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่าย LAN จะมีหมายเลขโทรศัพท์เป็น หมายเลข 200 – 239 และยังสามารถใช้ เคร่ืองโทรศัพท์มือถือ Smart Phone ติดต้ังแอพลิเคชัน SIP Phone นำมาลงทะเบียนใชง้ านร่วมกนั ได้ 3.3 มี FXO Port 4 Port ทจี่ ะใช้ในการเชือ่ มต่อออกไปตชู้ มุ สายโทรศัพท์อนื่ ๆ โดยใน แตล่ ะ PORT จะมหี มายเลขตัดออกไปตู้ชุมสายโทรศพั ท์ภายนอก คือ FXO OUT F1 = 91 , F2 = 92 , F3 = 93 และ F4 = 94 3.4 มี LAN Ports 2 Port ใช้สำหรับเช่ือมต่อกับเครื่องโทรศัพท์ ETP-3 และสามารถใช้ ขยายเครอื ขา่ ย LAN ให้มากขนึ้ รวมถงึ ใช้ต่อกับเครอ่ื งคอมพิวเตอร์ ETE-EMS ในการตัง้ คา่ ตา่ งๆ ดว้ ย 3.5 แหล่งพลงั งานไดท้ ง้ั จาก Lithium Ion battery ชนิด TLI-9380E และ 24 VDC. Power connector 3.6 สำหรับรายละเอียดเพ่มิ เติมให้ดู เทคนิคการติดตง้ั ใชง้ านระบบการสอื่ สารทางยุทธวิธี รูปที่ 74 เคร่ืองสลับสายโทรศัพทท์ างทหาร ETE-S
LAN1 Connector: ๘๗ WAN • LAN • FXO OUT F1-F4 FXS OUT T1-T12 Serial console • Power connector 24VDC LAN2 Connector: LAN • Serial console • รูปที่ 75 Port เช่ือมต่อ เครอื่ งสลับสายโทรศพั ท์ทางทหาร ETE-S
๘๘ 4. เครื่องสลับสายโทรศัพทท์ างทหาร ETE-M เครื่องสลับสายโทรศัพท์ทางทหาร ETE-M (รูปที่ 76) เป็นเคร่ืองสลับสายโทรศัพท์ทาง ยุทธวิธีแบบอัตโนมัติ ใช้งานในหน่วยระดับ กรมข้ึนไป สามารถใช้งานร่วมกับเคร่ืองโทรศัพท์ Analogue ระบบ CB และเครอื่ งโทรศัพท์ Digital ระบบ SIP Phone โดยมีส่วนประกอบตัวเคร่ือง ETE-M (รูปที่ 77) ดังต่อไปนี้ 4.1 รองรับเคร่ืองโทรศัพท์แบบ Analogue ระบบ CB ได้ 36 คู่สาย หรือ 36 FXS Port โดยนำเครอ่ื งโทรศพั ทม์ าตอ่ ใชง้ านทห่ี มุด (T1–T36) จะมีหมายเลขโทรศพั ท์เป็น หมายเลข 101–136 4.2 รองรับเครื่องโทรศัพท์ แบบ Digital ระบบ SIP Phone จำนวน 100 IP Phone เชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่าย LAN จะมีหมายเลขโทรศัพท์เป็น หมายเลข 200 – 299 และยังสามารถใช้ เครอ่ื งโทรศพั ทม์ ือถือ Smart Phone ติดตั้งแอพลเิ คชัน SIP Phone นำมาลงทะเบยี นใช้งานร่วมกันได้ 4.3 มี FXO Port 4 Port ที่จะใช้ในการเชื่อมต่อออกไปตชู้ มุ สายโทรศัพท์อน่ื ๆ โดยใน แตล่ ะ PORT จะมหี มายเลขตัดออกไปตู้ชมุ สายโทรศพั ท์ภายนอก คือ FXO OUT F1 = 91 , F2 = 92 , F3 = 93 และ F4 = 94 4.4 มี LAN Ports 3 Port ใช้สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องโทรศัพท์ ETP-3 และสามารถใช้ ขยายเครือข่าย LAN ให้มากข้นึ รวมถงึ ใช้ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ETE-EMS ในการตั้งค่าตา่ งๆ ด้วย 4.5 แหล่งพลังงานไดจ้ าก 24 VDC. Power connector 4.6 สำหรับรายละเอียดเพม่ิ เตมิ ให้ดู เทคนคิ การตดิ ตง้ั ใช้งานระบบการสอ่ื สารทางยุทธวธิ ี รปู ที่ 76 เครื่องสลับสายโทรศพั ท์ทางทหาร ETE-M
๘๙ LAN1 Connector: FXO OUT F1-F4 - WAN FXS OUT T1-T12 - LAN - Serial console LAN2 Connector: - LAN - Serial console LAN3 Connector: FXS OUT - Serial console T13-T24 - LAN (To LDF) FXS OUT T25-T36 (To LDF) LDF T25-T36 LDF T13-T24 รูปท่ี 77 Port เชื่อมต่อ เครอ่ื งสลบั สายโทรศพั ท์ทางทหาร ETE-M
๙๐ ตอนที่ 5 เคร่ืองโทรพิมพ์สนาม 1. กล่าวทวั่ ไป เครื่องโทรพิมพ์ เป็นเครื่องจักรกลไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับส่งและรับแรงกระตุ้นไฟฟ้า ซ่ึง เปน็ ประมวลสญั ญาณทเ่ี ปล่ียนกลบั มาเปน็ ขา่ วทบี่ ันทกึ ได้ 2. การบันทกึ ขา่ ว 2.1 เครอื่ งโทรพมิ พ์ สามารถบันทึกข่าวได้ 2 วิธี คือ พมิ พ์สำเนาเป็นหน้าๆ หรือประมวล สัญญาณปรุแถบ (เคร่ืองปรกุ ระดาษแถบ) เครื่องโทรพมิ พบ์ างชนดิ ที่บนั ทกึ ข่าวด้วยประมวลสญั ญาณปรุ บนแถบ ก็สามารถบันทึกตัวพิมพ์ลงบนแถบได้ดว้ ย (เครอ่ื งปรกุ ระดาษแถบและพมิ พ์) 2.2 ข่าวโทรพิมพ์จะสง่ ไป ต้องพมิ พข์ ่าวลงบนแป้นตัวอกั ษรด้วยมือหรือโดยการสง่ อตั โนมตั ิ จากกระดาษ และแถบปรดุ ว้ ยเครื่องส่งกระดาษแถบปรุ (TRANSMITTER DISTRIBUTOR) 2.3 เครอื่ งโทรพมิ พ์ ทำงานดว้ ยกระแสไฟฟ้าสลับและกระแสไฟตรงท้ังสองอยา่ ง กลา่ วคือ กระแสไฟตรง ใช้เป็นกระแสทส่ี ่งไปในทางสาย สว่ นกระแสไฟสลับน้ัน ใช้สำหรบั เครือ่ งโทรพมิ พท์ ำงาน เมอื่ ไมม่ แี หล่งกำลังไฟฟ้าใชเ้ ป็นส่วนรวมแลว้ ก็ใหใ้ ชเ้ คร่อื งยนต์กำเนดิ ไฟฟ้าขนาดเลก็ ๆ ก็ได้ 2.4 ชุดโทรพิมพ์ทางยุทธวิธี มหี บี ใส่ มแี หลง่ จา่ ยกำลงั และส่วนประกอบท่ีจำเป็น เช่น กระดาษแถบ กระดาษปรุ ผ้าพมิ พ์ และชน้ิ ส่วนอะไหล่ ตอนที่ 6 เคร่ืองซำ้ สญั ญาณโทรศัพท์ 1. กล่าวท่ัวไป 1.1 เครื่องซ้ำสัญญาณโทรศัพท์ เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ท่ีใช้เพิ่มความแรงของสัญญาณที่ ลดลง เนื่องจากการสูญเสียในทางสาย ประกอบด้วย เคร่ืองขยายท่ีใช้หลอดสุญญากาศ เป็นส่วนสำคัญ และส่วนประกอบอ่ืนๆ อีก เช่น ขดลวดซ้ำสัญญาณ ซ่ึงใช้เป็นข่ายงานปรับสมดุล และขดลวดมิสสกะ (HYBRID COIL) เครื่องขยายจะเพ่ิมสัญญาณในทางเดียวเท่าน้ัน แต่เน่ืองจากระบบโทรศัพท์ต้องทำให้มี การส่ือสารได้ 2 ทาง ดังนั้นเคร่ืองซ้ำสัญญาณส่วนมาก จึงใช้วงจรเคร่ืองขยายสำหรับการส่งและการรับ แยกจากกัน 1.2 เครอ่ื งซ้ำสัญญาณท่ีใช้ ณ ปลายทางของการสง่ เรียกวา่ เครื่องซำ้ สญั ญาณปลายทาง ส่วนท่ีใช้ระหวา่ งปลายท้ังสอง เรยี กวา่ เคร่อื งซำ้ สญั ญาณกลางทาง 1.3 ระยะห่างระหวา่ งเคร่ืองซ้ำสัญญาณท่ีพอเหมาะ ข้ึนอยู่กับคุณลักษณะของทางสายท่ใี ช้ ส่ง และขดี ความสามารถในการขยายของเครื่องซ้ำสญั ญาณ
๙๑ 2. เครอื่ งซำ้ สญั ญาณโทรศพั ท์ TP - 14 2.1 เครอื่ งซ้ำสัญญาณโทรศัพท์ TP – 14 (รปู ท่ี 78) เป็นเครื่องที่หอบหิ้วได้ ซึ่งใช้ยืดระยะ ของการส่ือสารทางโทรศัพท์ ในเครื่องมือที่ใช้กับทางสาย 2 เส้น ชนิดต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง ท้ังยังอาจ ใช้ ณ ตำบลปลายทาง และตำบลกลางทาง ณ ชุมทางของทางสายแบบต่างๆ กัน และ ณ ตำบลที่เป็น ทางเขา้ ของสายรวม 2.2 เมื่อต้องการ เครื่องซ้ำสัญญาณโทรศัพท์ TP – 14 ก็อาจใช้เพ่ือต่อเคร่ืองมือใช้สาย 2 เส้น เข้ากับเครื่องมือที่ใช้สาย 4 เส้น หรือใช้เป็นเคร่ืองซ้ำสัญญาณชนิด 4 สาย แบบพิเศษก็ได้ เครอ่ื งซ้ำสัญญาณ มีหมดุ ต่อสายแบบทำงานทางเดยี ว สำหรบั ใช้ทำงานกับโทรเลขกระแสไฟตรง สัญญาณ เรียก 20 รอบต่อวนิ าที สามารถผ่านเครอื่ งซ้ำสญั ญาณได้ 2.3 เคร่อื งซ้ำสญั ญาณนีใ้ ช้ไดท้ ง้ั แหล่งจา่ ยกำลังกระแสสลับ หมอ้ ไฟฟา้ ประเภทสองหรือ หมอ้ ไฟฟา้ ประเภทหนึ่ง 2.4 สำหรับรายละเอยี ดเพิม่ เติมให้ดู TM 11 – 2007 รปู ท่ี 78 เครอื่ งซ้ำสัญญาณโทรศัพท์ TP - 14
๙๒ 3. กล่องหมดุ ปลายสาย TA – 125/GT 3.1 กล่องหมุดปลายสาย TA – 125/GT (รูปท่ี 79) เป็นกล่องเล็กๆ มีน้ำหนักเบา ใช้ ณ ท่ี รวมสายและตำบลตรวจสาย ซ่ึงการต่อจำเป็นต้องป้องกันลมฟ้าอากาศ เพ่ือมิให้เป็นอุปสรรคต่อ การส่อื สาร กล่องหมดุ ต่อสายจะใช้ ณ ทซ่ี ่ึงต้องการสร้างวงจรสายสนามหรือสายรวมอย่างรีบด่วน ยงั อาจ ใชเ้ ปน็ โครงหลักแยกทางสาย สำหรับเครื่องสลบั สายโทรศพั ท์ SB – 22/PT และ SB – 86/P อกี ดว้ ย 3.2 กล่องหมุดปลายสาย TA–125/GT ประกอบด้วย ส่วนประกอบของหมดุ ตอ่ สายจำนวน 48 หมุด และช่องเสียบหมุด จำนวน 48 ชอ่ ง ในการสอดปลายสายสนามท่ีปอกแล้ว ให้กดหมุดตอ่ สายลง มีทางเข้าของคู่สาย เรยี งเป็นแถวอยู่ข้างกล่องข้างละ 12 ช่อง มีไกไฟฟ้าท่ีเป็นรอ่ งบิดด้วยไขควงเรียงเป็น แถว 24 ไก อยตู่ รงกลางของกล่อง ไกไฟฟ้าเหล่านี้มีไว้สำหรับบิดเพื่อตัดหรือต่อทางไฟฟ้าระหวา่ งหมุดต่อ สายเป็นคๆู่ ไป ช่องเสยี บหมุด มีไว้ใชส้ ำหรับเสยี บหมุดของชุดซอ่ มบำรุง MX – 842/GT 3.3 สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมใหด้ ู TM 11 – 2138 รปู ที่ 79 กล่องหมุดปลายสาย TA – 125/GT
๙๓ ตารางเปรยี บเทียบเครอื่ งโทรศพั ทส์ นาม ระยะพดู โดยใช้สาย WD-1/TT โหมด การทำงาน โทรศัพท์สนาม สภาพชนื้ แฉะ สภาพแหง้ แล้ง ประเภทโทรศัพท์ - 1. TA-1/PT (เป็นไมล)์ (เปน็ ไมล์) กำลงั งานเสียง LB , CB , CBS 2. TA-312/PT กำลังงานไฟฟ้า 3. TA-264/PT 4 7.5 กำลังงานไฟฟ้า LB มเี คร่ืองขยาย 14 22 กำลงั งานไฟฟ้า LB , CB ไม่มีเครื่องขยาย IP PHONE TCP/IP 4. ETP-1 38 60 5. ETP-3 12 18 - 12.5 ตามระยะสาย LAN ตามระยะสาย LAN ตารางเปรียบเทยี บเคร่ืองสลับสายโทรศพั ท์สนาม เครอื่ งสลับสาย จำนวนคู่สาย จำนวนคสู่ าย โหมดการทำงาน ระดับหน่วยใช้งาน โทรศพั ท์ Analog Digital (IP PHONE) รว่ มกบั โทรศัพท์ 7 กองร้อย 1. SB-993/GT 12 - LB กองพัน 2. SB-22/PT 36 - LB กรมข้ึนไป 3. SB-86/P 8 - LB กองร้อย 4. ETE-C 12 20 CB/ SIP Phone กองพัน 5. ETE-S 36 40 CB/ SIP Phone กรมขน้ึ ไป 6. ETE-M 100 CB/ SIP Phone ขอ้ มูลอา้ งองิ FM 24-20
๙๔ บทที่ 10 การทำงานแบบเป็นโครงข่าย 1. กลา่ วทว่ั ไป การใช้งานเครื่องสลับสายโทรศัพท์ทางทหาร ETE-X น้ัน เราสามารถติดตั้งใช้งานได้ท้ัง แบบ Standard Alone หรอื ใหท้ ำงานเป็นแบบโครงขา่ ย Network กไ็ ด้ ขนึ้ อยู่กบั ลกั ษณะการใช้งาน 2. การทำงานแบบเป็นโครงข่าย หมายถึง การนำเอาเครอื่ ง ETE-X มาต่อใช้งานร่วมกัน ต้ังแต่ 2 เคร่ือง ขน้ึ ไป ซ่ึงสามารถทำไดใ้ น 2 ลักษณะ คือ 2.1 แบบ Single channel หมายถึง การนำสายโทรศัพท์ WD-1/TT มาเชื่อมต่อระหว่าง FXO Port ของ ETE-X เคร่ืองท่ี 1 ไปยัง FXS Port ของ ETE-X เคร่ืองท่ี 2 โดยจำนวนคู่สายที่สามารถ โทรข้ามระหว่างตู้ชุมสายได้น้ัน ข้ึนอยู่กับจำนวนคู่สายโทรศัพท์ ที่วางเช่ือมต่อระหว่างกัน เช่น ถ้าเรา เช่ือมต่อระหว่างตู้ชุมสายโทรศัพท์โดยใช้สายโทรศัพท์สนาม WD-1/TT จำนวน 1 คู่สาย จะสามารถ สนทนาข้ามระหว่างตู้ชุมสายได้เพียงครั้งละ 1 คู่สนทนาเท่าน้ัน ถ้าเราต้องการให้มีช่องทาง การเชื่อมต่อมากกว่านั้น เราก็จะต้องเช่ือมต่อระหว่างตู้โดยใช้สาย WD-1/TT ให้มากกว่า 1 คู่สายโดย สามารถทำไดส้ ูงสุด 4 ค่สู าย ตามจำนวน FXO Port (รปู ท่ี 80) 2.1.1 พอร์ตเชื่อมต่อ ท่ี FXO Port ท้ัง 4 ของเครื่อง ETE-S และ ETE-M จะมี หมายเลขประจำอยแู่ ล้ว คือ F1 (FXO1) หมายเลข 91, F2 (FXO2) หมายเลข 92, F3 (FXO3) หมายเลข 93 และ F4 (FXO4) หมายเลข 94 ดังน้ันการเรียกออกผ่านทาง FXO Port ก็จะต้องพิจารณาว่า เชื่อมผ่านทาง FXO Port อะไร และใชห้ มายเลขประจำ Port ใหถ้ กู ตอ้ ง รปู ที่ 80 การเชอ่ื มตอ่ เคร่ืองสลบั สายโทรศัพท์ทางทหาร ETE-X 2 เครือ่ ง
๙๕ 2.1.2 การเชื่อมต่อ ETE 2 เครื่อง จาก (รูปท่ี 80) เป็นการเชื่อมต่อระหว่าง ETE-C กับ ETE-S จำนวน 2 คู่สาย (วงจร) โดยที่เครื่อง ETE-S จะเชื่อมต่อผ่านทาง FXO Ports ซึ่งมีอยู่จำนวน 4 Port และท่ีเครื่อง ETE-C จะเชือ่ มตอ่ ผา่ นทาง FXS Port 1) เคร่ืองโทรศัพท์หมายเลข 112 ท่ีต่อใช้งานอยู่ที่เคร่ือง ETE-S สามารถเรียก ออกไปหาเครื่องโทรศัพท์เครื่องอื่นๆ ที่อยู่ในตู้ ETE-S เคร่ืองเดียวกันได้ โดยกดหมายเลขโทรศัพท์ ปลายทางภายในเครอ่ื งได้โดยตรง 2) ถ้าเคร่ืองโทรศัพท์หมายเลข 112 ต้องการเรียกไปหาโทรศัพท์หมายเลข 108 ท่ีต่ออยู่ที่ ETE-C การเรียกน้ันจะต้องกดหมายเลข Prefix คือ 91,92,93 หรือ 94 ก่อนเสมอ และเมื่อได้ Second Dial tone แลว้ กใ็ หก้ ดหมายเลขปลายทางคอื 108 3) ถ้าหมายเลข 108 ต้องการเรียกไปยังหมายเลข 112 การเรียกจะต้องกด หมายเลข Prefix ก่อนเช่นเดียวกัน แต่หมายเลข Prefix จะเป็นเลข 3 หลัก (หรือเป็นไปตามการกำหนด หมายเลขโทรศัพท์) เนื่องจากเราเชื่อมผ่านทาง FXS Port ซึ่งหมายเลข Prefix ก็จะเป็นหมายเลขประจำ FXS Port น้ันๆ ในตวั อย่าง เราใช้ T5 และ T7 ดังนนั้ หมายเลข Prefix กค็ ือ 105 และ 107 2.1.3 การเชื่อมต่อ ETE มากกว่า 2 เคร่ือง การเชื่อมต่อ ETE-X ทั้งสามรุ่นเข้าหากัน นั้นกใ็ ชแ้ นวทางเดยี วกนั ดังที่ได้กลา่ วมาแล้ว คอื เชือ่ มผ่านทาง FXO Port และ FXS port รปู ที่ 81 การเช่ือมตอ่ เครื่องสลบั สายโทรศัพท์ทางทหาร ETE-X มากกว่า 2 เคร่ือง
๙๖ 1) จาก (รูปที่ 81) จะเห็นว่าท่ีเคร่ือง ETE-M จะเชื่อมต่อผ่านทาง FXO2 และ FXO4 และจะเชื่อมกับเครื่อง ETE-S ที่ T1 และ T3 ดังน้ัน การเรียกจากโทรศัพท์หมายเลข 111 ไปหา โทรศัพท์หมายเลข 112 สามารถกระทำได้โดยการกด Prefix หมายเลข 92 หรือ 94 และเม่ือได้รับ Second dial tone แล้ว ก็กดหมายเลข 112 2) การเรียกจากโทรศัพท์หมายเลข 112 ไปหาโทรศัพท์หมายเลข 111 น้ัน สามารถกระทำได้โดยการกด Prefix หมายเลข 101 หรือ 103 และเม่ือไดร้ ับ Second dial tone แล้วก็ กดหมายเลข 111 3) การเช่ือมต่อจากเครื่อง ETE-S ไปยังเคร่ือง ETE-C เนื่องจากเครื่อง ETE-C ไม่ มี FXO Port ดังนั้นที่เครื่อง ETE-C จะต้องเชื่อมต่อออกทาง FXS Port เสมอ และท่ีเครื่อง ETE-S ก็ จะต้องเป็น FXO Port และจากรูปท่ีเครื่อง ETE-C ใช้ T1 และ T3 ในการเชื่อมต่อ และที่เครื่อง ETE-S ใช้ FXO2 และ FXO4 4) การเรียกจากโทรศัพท์หมายเลข 108 ไปหาโทรศัพท์หมายเลข 112 สามารถ กระทำได้โดยการกด Prefix หมายเลข 101 หรือ 103 และเม่ือได้รับ Second dial tone แล้ว ก็กด หมายเลข 112 และสามารถเรียกไปหาโทรศัพท์หมายเลข 111 ได้ โดยการกด Prefix หมายเลข 101 หรือ 103 และเม่ือได้รับ Second dial tone แล้วกด Prefix หมายเลข 101 หรือ 103 อีกครั้ง และเม่ือ ไดร้ ับ Third dial tone แล้ว กก็ ดหมายเลข 111 5) ส่วนการเรียกจากโทรศัพท์หมายเลข 111 ไปหาโทรศัพท์หมายเลข 108 น้ัน สามารถกระทำได้โดยการกด Prefix หมายเลข 92 หรือ 94 และเมื่อได้รับ Second dial tone แล้วกด Prefix หมายเลข 92 หรือ 94 อกี คร้งั และเม่ือได้รบั Third dial tone แลว้ ก็กดหมายเลข 108 2.1.4 เช่ือมต่อกับโครงข่ายหมายเลขของ TOT (รูปท่ี 82) เราก็จะใช้หลักการ เดียวกัน โดยสัญญาณของ TOT จะได้เปน็ หมายเลขโทรศัพท์ หรอื FXS มาให้ ดังนน้ั เราจะต้องต่อเข้ากับ Port ที่เป็น FXO ของเคร่ือง ETE-X ซ่ึงก็จะมีอยู่ด้วยกัน 2 รุ่น ประกอบด้วย ETE-S และ ETE-M ส่วนใน รุ่น ETE-C น้นั ไมส่ ามารถเช่อื มตอ่ กับโครงขา่ ยของ TOT ได้ รูปท่ี 82 การเชื่อมตอ่ เคร่อื งสลบั สายโทรศัพท์ทางทหาร ETE-X กบั โครงข่ายหมายเลขโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์ TOT
๙๗ 2.1.5 การเช่ือมต่อ ETE-X กับระบบการส่ือสารอ่ืนๆ ในแบบ Single channel ก็ให้ ยึดหลักการตามท่ีกล่าวมาแล้ว เพียงแต่ปรับให้เหมาะสมกับแต่ละรุ่นของ ETE-X และให้สอดคล้องกับ ระบบที่จะเข้ามาเชื่อมต่อ แต่ทั้งนี้ท้ังน้ัน ให้พิจารณาถึงความง่ายและความเพียงพอท่ีจะสนองตอบ ในความตอ้ งการของผู้ใชง้ านเปน็ หลัก 2.1.6 ข้อจำกัดการเชื่อมในแบบ Single channel 1) จำนวนคู่สายในการเช่ือมต่อ ซ่ึงสามารถทำได้สูงสุดอยู่ท่ี 4 คู่สาย หรือ 4 วงจรเท่าน้ัน และเม่ือเรานำ FXS Port ของเครื่องใดๆ มาใช้งานเพื่อเช่ือมต่อแล้ว จะทำให้จำนวนวงจร ทีจ่ ะใชต้ อ่ โทรศัพท์ภายในลดลงตามไปดว้ ย 2) การเรียกจากตู้ ETE-X ไปยังตู้ ETE-X เครื่องอ่ืนๆ จำเป็นจะต้องมีหมายเลข Prefix นำ ดังนั้นถ้าเราเชื่อมต่อเคร่ือง ETE-X เข้าหากันจำนวนมากเท่าใด การเรียกก็จะยุ่งยากมากข้ึน ดังนั้นการเชื่อมต่อในลักษณะแบบนี้ จึงไม่เหมาะสมมากนัก แต่ถ้าต้องการเช่ือมต่อเพ่ือแก้ปัญหา หรือ เพอ่ื เสรมิ ระบบกส็ ามารถทำได้ 2.2 แบบ Multi channel หมายถึง การนำเคร่ืองสลับสายโทรศัพท์ทางทหาร ETE-X มา เชื่อมต่อกันผ่านทาง LAN Port ของ ETE-X โดยใช้มาตรฐานการเช่ือมต่อแบบ Ethernet Protocol โดยต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ระบบเครือข่ายเพมิ่ เติม เพ่ือเป็นเส้นทางให้สัญญาณของเคร่ืองสลบั สายแต่ละ เครื่อง สามารถส่ือสารข้อมูลถึงกันได้ การเช่ือมต่อลักษณะนี้จะส่งผลให้ผู้ใช้งานหมายเลขภายในแต่ละตู้ สามารถโทรข้ามหากันระหว่างตู้พร้อมๆ กันได้ทงั้ หมด ผา่ นทาง LAN Port เดียว โดยจะตอ้ งพจิ ารณาการ ต้ังหมายเลข Prefix และหมายเลข IP Address ของแต่ละเครอื่ งในระบบเครอื ขา่ ย ไมใ่ หซ้ ำ้ กัน 2.2.1 การออกแบบระบบเครือข่าย LAN สามารถเลือกติดต้ังได้หลายวิธี ข้ึนอยู่กับ ความต้องการของระบบ ว่าต้องการวางระบบเครือข่ายที่เชื่อมตอ่ ถงึ กันไดร้ ะยะทางไกลแค่ไหน (รปู ที่ 83) รูปที่ 83 การเชือ่ มต่อเครื่องสลับสายโทรศพั ท์ทางทหาร ETE-X ผา่ นทาง LAN Port
๙๘ 2.2.2 โครงสร้างภายในของเครื่องแต่ละรุ่น จะประกอบไปด้วยจำนวน Card ที่ แตกต่างกนั โดย ETE-X แตล่ ะรุน่ มีหมายเลข IP Address ซง่ึ เป็นค่าเดิมโรงงาน ตามตารางดงั น้ี ร่นุ ตารางหมายเลข IP Address ค่าโรงงาน ของ ETE-X ETE-C จำนวน Card หมายเลข IP Subnet Mask Default gateway ETE-S Card ใบท่ี 1 192.168.0.1 255.255.255.0 192.168.0.254 ETE-M Card ใบท่ี 1 192.168.0.1 255.255.255.0 192.168.0.254 Card ใบท่ี 2 192.168.0.2 255.255.255.0 Card ใบที่ 1 192.168.0.1 255.255.255.0 192.168.0.254 Card ใบท่ี 2 192.168.0.2 255.255.255.0 Card ใบที่ 3 192.168.0.3 255.255.255.0 1) จากตาราง เครื่อง ETE-X ทุกรุ่น ทุกเคร่ืองท่ีมาจากโรงงาน จะถูกกำหนด หมายเลข IP Address ให้เป็นไปตามตารางข้างต้น ดงั น้ันเม่ือเรามีความต้องการที่จะนำเอาเครือ่ ง ETE-X มาเช่ือมต่อเข้าหากันด้วย Ethernet protocol เราจำเป็นจะต้องเปลี่ยนหมายเลข IP ของเครื่องให้อยู่ใน Subnet หรอื ในวง LAN เดียวกนั และต้องไมซ่ ำ้ กัน 2) ถา้ เราตอ้ งการนำเอาเคร่ือง ETE-X จำนวน 3 เครือ่ ง 3 รุน่ มาตอ่ ใชง้ านร่วมกัน เราอาจพจิ ารณาเปลี่ยนหมายเลข IP และหมายเลข Prefix ไดด้ งั น้ี รปู ที่ 84 ตัวอย่างการกำหนดหมายเลข IP Address และ หมายเลข Prefix
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119