Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา

ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา

Published by natchaphon2562, 2023-03-01 00:40:35

Description: 718B9DC1-00FD-4F75-991E-FDB9921260AE

Search

Read the Text Version

ข้อ มูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยากับการใช้ประโยช น์

คำนำ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จัดทำขึ้นโดยจุดประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยากับการใช้ประโยขน์ เนื้อหาภายใน รายงานฉบับนี้ประกอบด้วยเนื้อหา 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลสารสนเทศทาง อุตุนิยมวิทยา ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาอื่นๆ และการใช้ประโยชน์ จากข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา ผู้จัดทำได้ศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยากับการใช้ ประโยชน์เนื่องจากความสนใจผู้จัดทำต้องขอขอบคุณ คุณครู จุฑามาต ทองด้วง ผู้ให้ความรู้และแนวทางการศึกษา ทางผู้จัดทำหวังว่ารายงาน ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้อ่านและผู้สนใจหากมีข้อบกพร่องประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ คณะผู้จัดทำ

สารบัญ หน้า เรื่อง 1 ข้อมูลและสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา แผนที่อากาศผิวพื้น 1 ภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา 2-3 เรดาร์ตรวจอากาศ 4 ความหมายและสัญลักษณ์ลมฟ้าอากาศในแผนที่ 5-6 การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา 7-8

1 ข้อมูลและสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา นักอุตุนิยมวิทยารวบรวมข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศจาก สถานีตรวจอากาศทั่วโลกมาแสดงผลในรูปแบบของสารสนเทศทาง อุตุนิยมวิทยาเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ในการพยากรณ์อากาศ ใน ประเทศไทยมีการใช้สารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาหลายประเภทเพื่อ ช่วยในการพยากรณ์อากาศเป็นแผนที่อากาศชนิดต่างๆข้อมูล เรดาร์ตรวจอากาศภาพดาวเทียมโดยสารสนเทศแต่ละประเภท แสดงข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศแตกต่างกัน แผนที่อากาศผิวพื้น ที่อากาศผิวพื้นแผนที่อากาศผิวพื้น เป็นแผนที่อากาศชนิด หนึ่งซึ่งแสดงข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศที่ได้จากการตรวจ วัดจากสถานีตรวจอากาศผิวพื้นหรือจากแบบจำลองพยากรณ์ อากาศเชิงตัวเลขข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศ ณ ตำแหน่ง ต่างๆบนพื้นผิวโลก แผนที่อากาศผิวพื้น ภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศ

2 ภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เป็นอีกเครื่องมือสำคัญที่ให้ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา เช่น ชนิด และปริมาณของเมฆที่ปกคลุมท้องฟ้า ความรุนแรง และความเร็วลม ที่ใกล้ศูนย์กลางของพายุหมุนเขตร้อนภาพถ่ายดาวเทียมประกอบ ด้วยภาพถ่ายดาวเทียมใน 2 ช่วงคลื่นสำคัญที่เผยแพร่ในสื่อต่างๆ คือ ภาพถ่ายดาวเทียมช่วงคลื่นอินฟราเรดและภาพถ่ายดาวเทียม ช่วงคลื่นแสง ทั้งสองมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้ 1. ภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่นอินฟราเรด เป็นภาพที่ได้จากการตรวจวัดปริมาณของรังสีอินฟราเรดที่แผ่ออกมา จากวัตถุสามารถตรวจวัดได้ทุกช่วงเวลา ภาพที่ได้จะเป็นภาพที่มีเฉดสีเท่า ไล่ระดับสีแตกต่างกันตามอุณหภูมิพื้นผิวของวัตถุถ้าภาพมีเฉดสีขาวถึง เทาอ่อนแสดงว่าวัตถุมีนั้นมีอุณหภูมิต่ำถ้าภาพมีเฉดเทาเข้มแสดงว่าวัตถุ นั้นมีอุณหภูมิสูงดังนั้นภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่น อินฟราเรดเมฆจึงมีสีแตกต่างกันออกไปตามอุณหภูมิของเมฆต่างๆเมฆที่ อยู่สูงมีอุณหภูมิต่ำ ภาพจะปรากกฎเป็นสีขาวสว่าง ส่วนเมฆที่อยู่ในระดับ ต่ำลงมาใกล้ผิวโลก มีอุณหภูมิสูงขึ้นตามระดับจะมีสีเทาเข้มถึงดำข้อเสีย การแปลความหมายภาพภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่น อินฟราเรดยังมีข้อจำกัดคือถ้าวัตถุมีอุณหภูมิใกล้เคียงกันมากสีของภาพ จะแตกต่างกันน้อยทำให้แปลความหมายได้ยาก

3 2.ภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่นแสง เป็นภาพที่ได้จากการสะท้อนรังสีของวัตถุดังนั้นการใช้ประโยชน์จาก ข้อมูลของภาพถ่ายของดาวเทียมในช่วงคลื่นนี้จึงใช้เฉพาะภาพถ่ายดาวเทียม ในช่วงที่มีแสงซึ่งภาพที่ได้จะมีเฉดสีเท่าไล่ระดับสีตามอัตราส่วนรังสีสะท้อน ของวัตถุ ถ้าเมฆที่มีความหนามากจะมีอัตราส่วนรังสีสะท้อนสูงกว่าเมฆที่ มีความหนาน้อยนอกจากสังเกตสีแล้วภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วง คลื่นแสงยังแสดงรูปทรงและลักษณะพื้นผิวของเมฆทำให้ระบุได้ว่าเมฆดัง กล่าวเป็นเมฆก้อนหรือเมฆแผ่น

เรดาร์ตรวจอากาศ 4 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามข้อมูลหยาดน้ำฟ้าขณะ ทำการเครื่องตรวจวัดซึ่งยังไม่ใช่ปริมาณฝนหรือหยาดน้ำฟ้าที่ตก ถึงพื้นดินโดยรัศมีการตรวจหลายร้อยกิโลเมตรและตรวจค่าความ เข้มของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สะท้อนกลับมายังเรดาร์ตรวจอากาศ เรดาร์ตรวจอากาศจะตรวจวัดหยาดน้ำฟ้าโดยการปล่อยคลื่น ไมโครเวฟออกไปกระทบกับเมฆฝนฟ้าคะนองเพื่อให้คลื่นสะท้อน กลับมายังสู่ตัวรับสัญญาณซึ่งความเข้มของคลื่นที่สะท้อนกลับมา มี หน่วยเป็นเดซิเบล dbz ตรวจวัดค่าการสะท้อนกลับของคลื่น โดยกำหนดค่ามุมเงยเพียงค่าเดียวในระดับที่ใกล้พื้นโลกมากที่สุด ที่คลื่นสามารถข้ามสิ่งกีดขวางต่างๆได้

5 ความหมายและสัญลักษณ์ลมฟ้าอากาศในแผนที่

6

7 การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศ ทางอุตุนิยมวิทยา 1.วางแผนการประกอบอาชีพ เช่น การเกษตร บริหารจัดการน้ำ การเพาะปลูกเมล็ดพืช 2.การท่องเที่ยว ตรวจสอบบริเวณที่ไปเที่ยว เพื่อความปลอดภัยต่อการท่องเที่ยว 3.วางแผนเตรียมความพร้อมกับภัยพิบัติทาง ธรรมชาติ ป้องกันความปลอดภัยต่อการเกิดภัยพิบัติ ธรรมชาติ เช่น อุทกภัย ไฟป่า แผ่นดินไหว วาตภัย

8 4.วางแผนการปฏิบัติการนอกชายฝั่ ง ป้องกันความ ปลอดภัยจากลม ฝน ฟ้าคะนอง พายุ ที่เกิดจากนอก ชายฝั่ ง มหาสมุทร 5.นำมาวิเคราะห์สภาพอากาศในแต่ละวัน

จัดทำโดย น.ส.พิมพิศา พึ่งเพ็ง เลขที่ 29 น.ส.ณัฐชาภรณ์ กลิ่นหอม เลขที่ 32 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.1


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook