Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore AR5Ethnics Articles

AR5Ethnics Articles

Published by Jaruwan Pengsiri, 2022-08-15 06:14:30

Description: หนังสือรวมเล่มบทความ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของภาคเหนือตอนบน จัดทำขึ้นภายใต้โครงการพัฒนาสื่อ AR เพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและเชื่อมโยงความหลากหลายทางชาติพันธุ์และเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย รับผิดชอบโครงการโดย อาจารย์จารุวรรณ เพ็งศิริ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ งบประมาณสนับสนุนในการดำเนินโครงการโดย กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

Search

Read the Text Version

ประวัตศิ าสตรท์ ้องถิ่น และความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของภาคเหนือตอนบน จารุวรรณ เพ็งศิริ ธิตินัดดา จนิ าจันทร์ ฐาปนีย์ เครือระยา ประไพ สุขดำรงวนา โครงการพัฒนาสอ่ื AR เพอื่ การอนุรักษ์และส่งเสรมิ ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ และเชอื่ มโยงความหลากหลายทางชาตพิ ันธุ์ และเส้นทางทอ่ งเทีย่ วทางวฒั นธรรม ของภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย สนบั สนุนโดย มหาวทิ ยาลัยราชภฏั เชียงใหม่ และ กองทนุ พฒั นาสอ่ื ปลอดภยั และสรา้ งสรรค์

ประวตั ศิ าสตร์ท้องถิ่น และความหลายหลายทางชาติพนั ธุข์ องภาคเหนือตอนบน ภายใตโ้ ครงการพฒั นาสือ่ AR เพอ่ื การอนุรักษแ์ ละสง่ เสรมิ ประวตั ิศาสตรท์ ้องถ่ิน และเชอื่ มโยง ความหลากหลายทางชาติพันธ์ุ และเสน้ ทางท่องเที่ยวของภาคเหนอื ตอนบนของประเทศไทย สนับสนนุ โดย : มหาวิทยาลยั ราชภฏั เชียงใหม่ และ กองทนุ พฒั นาสอ่ื ปลอดภยั และสร้างสรรค์ ISBN (e- book) : 978-616-593-781-8 จดั ทำโดย อาจารย์จารุวรรณ เพง็ ศิริ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ท่ีปรกึ ษา มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั เชยี งใหม่ อาจารย์ ดร.ธรรศ ศรรี ัตนบัลล์ คณะกรรมการผทู้ รงคุณวุฒิ มหาวิทยาลยั เชียงใหม่ รองศาสตราจารย์เรณู วชิ าศลิ ป์ มหาวิทยาลยั แมโ่ จ้ ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนทร คำยอด ผู้เขียน เพง็ ศิริ มหาวทิ ยาลัยราชภัฏเชยี งใหม่ อาจารย์จารุวรรณ จินาจันทร์ มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่ คุณธติ ินดั ดา เครือระยา มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม่ คุณฐาปนีย์ สขุ ดำรงวนา ผู้ชว่ ยนักวจิ ัย / ศิลปิน / นักวิชาการอสิ ระ คณุ ประไพ คณะทำงาน เพง็ ศิริ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏเชียงใหม่ อาจารย์จารวุ รรณ จินาจนั ทร์ มหาวิทยาลยั เชียงใหม่ คุณธติ ินดั ดา เครอื ระยา มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม่ คณุ ฐาปนีย์ สขุ ดำรงวนา ผู้ชว่ ยนกั วจิ ัย / ศิลปนิ / นักวิชาการอิสระ คณุ ประไพ โตคำนชุ มหาวทิ ยาลัยราชภัฏเชยี งใหม่ นางสาวปนดั ดา

คำนำ หนังสือรวมเล่มบทความ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของภาคเหนือ ตอนบน จัดทำขึ้นภายใต้โครงการพัฒนาสื่อ AR เพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและ เชื่อมโยงความห ลากหล าย ทางชาติพันธ ุ์แล ะเส้นทางท่ องเที่ยวทางวัฒนธร รมภ าคเหน ือตอน บ น ข อง ประเทศไทย รับผิดชอบโครงการโดย อาจารย์จารุวรรณ เพ็งศิริ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ งบประมาณสนับสนุนในการดำเนินโครงการโดย กองทุนสื่อปลอดภัยและ สร้างสรรค์ บทความเล่มนี้นำเสนอเนื้อหาองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติพันธุ์ 5 ชาติพันธ์ุ ในภาคเหนือตอนบน ได้แก่ ชาติพันธุ์ไทยวน ไทใหญ่ ไทลื้อ ลีซู และปกาเกอะญอ ด้วยการรวบรวมข้อมูล และเขียนบทความทางวิชาการ โดยนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญ นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการศกึ ษาได้ ขอขอบพระคุณกองทุนส่ือปลอดภัยและสร้างสรรค์ มหาวิทยาลยั ราชภฏั เชียงใหม่ ท่ีให้การสนับสนุน การดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ขอขอบพระคุณคณะกรรมการดำเนินโครงการท่ีมิได้เอ่ยนาม และนักวิชาการ ผู้เขยี นบทความ และขอขอบพระคณุ ผทู้ รงคุณวุฒิท่ีได้ใหค้ ำปรึกษาและข้อเสนอแนะทเ่ี ปน็ ประโยชน์ จารวุ รรณ เพง็ ศริ ิ 2565

สารบญั 1 13 กลมุ่ ชาตพิ ันธ์ไุ ทใหญ่ และประเพณปี อยส่างลอง 23 ธิตินัดดา จนิ าจันทร์ 37 กลมุ่ ชาตพิ ันธไ์ุ ทยวน และประเพณสี งกรานต์หรือปีใหมเ่ มอื งของลา้ นนา 49 ฐาปนยี ์ เครอื ระยา กลุ่มชาตพิ ันธุไ์ ทลือ้ วฒั นธรรมการทอผา้ และประเพณตี านตุง ฐาปนยี ์ เครอื ระยา กลมุ่ ชาตพิ ันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านพระบาทหว้ ยตม้ ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และประเพณีตกั บาตรผกั จารวุ รรณ เพง็ ศิริ ประไพ สุขดำรงวนา กลมุ่ ชาติพันธุ์ลซี ู และความเชอ่ื เร่ืองผี ธิตินดั ดา จินาจนั ทร์

1 I ประวตั ศิ าสตร์ทอ้ งถิ่นและความหลากหลายทางชาตพิ ันธ์ุของภาคเหนือตอนบน : ไทยวน กลมุ่ ชาติพนั ธ์ไุ ทใหญ่ และประเพณีปอยสา่ งลอง ประเพณีปอยสา่ งลอง ท่ีมา: https://mgronline.com/travel/detail/9620000033228 ธติ นิ ดั ดา จินาจนั ทร์ นกั วิจัย ศนู ยว์ จิ ยั วัฒนธรรมตัวเขยี นคตชิ นวิทยาลา้ นนา สถาบันวจิ ัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 I ประวัตศิ าสตร์ท้องถิ่นและความหลากหลายทางชาติพนั ธข์ุ องภาคเหนือตอนบน : ไทยวน ประวตั ิความเปน็ มา และพืน้ ที่ของกลมุ่ ชาตพิ นั ธใุ์ นประเทศไทย ชาวไทใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่ใช้ภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได มีถิ่นที่อยู่อยู่ทางด้านตะวันตก ของแม่น้ำสาละวิน โดยตงั้ ชมุ ชนกระจายกันไปนับตั้งแตม่ ณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจนี ถ่นิ กำเนดิ ของ ชาวไทใหญ่ตั้งอยู่ที่รัฐฉาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประกอบด้วยเมืองไทใหญ่จำนวนมาก เช่น เมือง แสนหวี เมืองสีป้อ เมืองน้ำคำ เมืองปั่น เมืองนาย เมืองยองห้วย เมืองตองจี เป็นต้น และนอกเหนือจากพื้นที่ ในรัฐฉานแล้ว ชาวไทใหญ่ยังกระจัดกระจายอาศัยอยู่ในพื้นที่อื่น ๆ เช่น ประเทศจีน ประเทศอินเดีย ประเทศ ลาว และในประเทศไทยนั้น ชาวไทใหญ่อาศัยอยู่จำนวนมากในพื้นที่จังหวดั แม่ฮ่องสอน ซึ่งมีตำนานของเมือง แม่ฮ่องสอนได้เลา่ ขานเก่ยี วกับการสรา้ งเมืองแม่ฮ่องสอน ดงั นี้ ปีพ.ศ. 2374 เชยี งใหม่ ซ่งึ เป็นเมืองประเทศราชของสยามมีพระเจา้ มโหตรประเทศเป็นเจ้าผู้ครองนคร ไดบ้ ญั ชาให้ เจ้าแกว้ เมืองมา เป็นแมก่ องนำไพร่พลนำช้างต่อและควาญช้างไปสำรวจความเป็นไปของชายแดน ด้านตะวันตกซึ่งเป็นบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนในปัจจุบัน และจับช้างป่ามาฝึกสอนใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมาได้ นำขบวนช้างต่อออกจากเชียงใหม่มุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนบ้านป่าที่ไม่มี ผู้ใด ปกครองดแู ล ขบวนของเจ้าแก้วเมืองมาเดินทางไปถึงหมู่บ้านเวียงปาย และได้หยุดอยู่ชั่วเวลาหนึ่งก่อนจะเดินทาง ต่อไปทางทิศใต้ โดยลัดเลาะตามลำน้ำปายไปตามทางจนพบชุมชนเล็ก ๆ ที่มีชาวไทใหญ่อาศัยอยู่ ซึ่งบริเวณหมู่บ้านนั้นมีพื้นที่ราบว่างจำนวนมากเหมาะสมกับการตั้งเป็นหมู่บ้าน ด้วยติดกับลำน้ำปาย ดังน้ัน เจ้าแก้วเมืองมาจึงได้รวบรวมชาวไทใหญ่ท่ีอยู่กระจัดกระจายตามพื้นที่ต่าง ๆ ให้มาอยู่รวมกัน และคัดเลือก นายบ้านท่ีมีชื่อเรยี กตำแหน่งว่า “เหง” ซึ่งมีหนา้ ท่ีคล้ายกำนัน โดยได้คัดเลือกให้ นายพะก่าหม่อง เป็นเหงคน แรก และให้ชื่อหมู่บ้านว่า บ้านโป่งหมู เพราะในพื้นที่นั้นมีดินโป่งอยู่เป็นจำนวนมาก โดยอยู่อย่างกระจัด กระจาย และจะมีหมูป่าลงมากินดินโป่งเป็นประจำ และเรียกเพี้ยนมาเป็น บ้านปางหมู ตำบลปางหมู อำเภอ เมอื ง จงั หวดั แม่ฮ่องสอน ในปจั จบุ นั จากนั้นเจ้าแก้วเมืองมา และพะก่าหม่อง ได้เดินทางไปทางใต้จนไปถึงพื้นที่ที่เป็นตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ในปัจจุบันนี้ พบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสม เนื่องด้วยมีลำน้ำไหลขนาบ เหมาะสำหรับ การเป็นพื้นที่ในการฝึกสอนช้าง ดังนั้น เจ้าแก้วเมืองมาจึงได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ โดยเป็นหมู่บ้านของ ชาวไทใหญ่ อีกแหง่ หน่งึ และไดต้ ัง้ แสนโกม บตุ รเขยของพะก่าหม่อง เป็นผใู้ หญ่บ้านเพ่ือปกครองดูแลลูกบ้าน และตง้ั ช่ือหมบู่ ้านนีว้ า่ แมร่ ่องสอน ซงึ ต่อมาไดเ้ รยี กเพ้ียนเปน็ แมฮ่ อ่ งสอน จนถงึ ปจั จุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2399 เกิดจลาจลในหัวเมืองไท ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน ทำให้ชาวไทใหญ่ อพยพเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2409 เกิดสงครามในหัวเมืองไทใหญ่ระหว่างเจ้าฟ้า เมืองนาย และเจ้าฟ้าโกหล่านแห่งเมืองหมอกใหม่ เมื่อเจ้าฟ้าโกหล่านสู้ไม่ได้ จึงได้หนีมาอาศัยอยู่กับแสนโกม ท่ีบา้ นแมร่ อ่ งสอน พรอ้ มกับครอบครัว ซ่งึ ตอ่ มาเจ้านางเม๊ียะ หลานสาวของเจ้าฟา้ โกหลา่ นท่ีติดตามมาด้วยนั้น ได้เปน็ ภรรยาของชานกะเล เจ้าเมืองคนแรกของบา้ นแม่ร่องสอน และปกครองเมืองต่ออีก 7 ปี หลังจากที่ชาน กะเลถงึ แก่กรรมไปในปี พ.ศ. 2427 เมื่อสยามปฏิรูประบอบการปกครอง จึงได้จัดระเบียบการปกครองใหม่โดยรวมเอาเมืองแม่ฮ่องสอน เมืองขุนยวม และเมืองปายเข้าเป็นหน่วยการปกครองเดียวกันเรียกว่า บริเวณเชียงใหม่ตะวันตก ต่อมา ได้ เปลี่ยนชื่อเป็น บริเวณพายัพเหนือ เมื่อสยามยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล และแบ่งเขตการ ปกครองออกเป็นจังหวัด บริเวณพายัพเหนือจึงถูกเปลี่ยนเป็น จังหวัดแม่ฮ่องสอน มาจนถึงปัจจุบัน (ธิตินัดดา มณีวรรณ์ และยุทธการ ขันชัย, 2552: น. 21-23) และจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้กลายเป็นถิ่นที่อยู่หลักของชาว

3 I ประวัตศิ าสตรท์ ้องถ่ินและความหลากหลายทางชาตพิ ันธข์ุ องภาคเหนือตอนบน : ไทยวน ไทใหญ่ ในประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพราะสภาพภูมิประเทศที่มีเขตติดต่อกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพ เมียนมา จึงมีการอพยพโยกย้ายของชาวไทใหญ่เข้ามาอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนนับต้ังแต่อดีต หรือแม้แต่ใน ปจั จุบนั ยังคงมีชาวไทใหญ่จากรฐั ฉานท่ีอพยพเข้ามาอยู่ในจงั หวดั แม่ฮ่องสอนอย่เู ป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มชาวไท ใหญ่ที่อพยพเข้ามาในช่วงหลังจากทุกท้องถิ่นถูกรวมเข้าเป็นประเทศไทยแล้วนั้น จะเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับสิทธิ พลเมืองเหมือนกบั กล่มุ ท่ีอพยพเขา้ มาอยกู่ ่อนหน้า โดยมักถูกเรียกวา่ เปน็ กลมุ่ “ไทนอก” หรือ “ไตนอก” และ เรียกกลุ่มชาวไทใหญ่ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมาเป็นเวลานาน ได้รับสิทธิพลเมืองเป็นประชาชนไทย อย่างสมบูรณ์แล้วว่า “ไทใน” หรือ “ไตใน” ซึ่งการเรียกไทนอกหรือไทในนั้น นักวิชาการหลายฝ่ายได้กังวล เก่ยี วกับการใช้คำเรียกน้เี นือ่ งจากเป็นประเดน็ ออ่ นไหวในทางชาติพันธ์ุสัมพันธ์ (สถาบันไทใหญ่ศึกษา วิทยาลัย ชุมชนแม่ฮอ่ งสอน, 2559) แม้จะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ที่มีรากเหง้าวัฒนธรรมเดียวกัน แต่เนื่องจากการเป็นพลเมืองของรัฐ ที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านการเมืองการปกครอง วิถีชีวิต และวัฒนธรรม จึงทำให้รายละเอียดของวัฒนธรรม ประเพณี และพิธีกรรมของชาวไทใหญ่ทั้งสองกลุ่มทั้งไทในและไทนอกมีความแตกต่างกัน เช่น วัฒนธรรม อาหารของชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างไปจากไทใหญ่ในพื้นที่อื่น ๆ กล่าวคือ อาหารของชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้รบั อิทธิพลอาหารมาจากพม่า และได้ดัดแปลงมาเป็นอาหารไท ใหญ่ของ ชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเท่านั้น ดังนั้น วัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ในจังหวัด แม่ฮ่องสอนจึงไม่เหมือนกับวัฒนธรรมของชาวไทใหญใ่ นพื้นท่ีอื่น ๆ หรือแม้แต่วัฒนธรรมดา้ นศิลปะการแสดง โดยชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้รับอิทธิพลศิลปะการแสดงจากวัฒนธรรมข้างเคียงมาผสมผสานจน กลายมาเป็นศลิ ปะการแสดงเฉพาะของชาวไทใหญ่ในจงั หวัดแมฮ่ ่องสอน ในขณะทช่ี าวไทใหญใ่ นพ้นื ที่อืน่ ๆ ซึ่ง เป็นชาวไทใหญ่นอกประเทศที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยในฐานะของแรงงานข้ามชาติ หรือผู้ถือบัตรต่าง ด้าวจึงมรี ายละเอียดของวัฒนธรรมท่ีสืบทอดมาแตกต่างกันไป นอกจากพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนแล้ว ชาวไทใหญ่ได้เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในล้านนาอีกหลายพื้นที่ ด้วยกัน โดยการเข้ามาของไทใหญ่ในล้านนานั้นเกิดขึ้นหลายระลอก เช่น ในช่วงการเกิดสงครามเชียงตุง (ปี พ.ศ. 2393-2393) สงครามกวาดล้างของพม่าในปี พ.ศ. 2484 ทำให้ชาวไทใหญ่อพยพเข้ามาอยู่ในล้านนา เป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ในช่วงที่สยามทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2398 ได้ สง่ ผลกระทบต่อล้านนาในหลายด้าน โดยประเด็นสำคัญประเด็นหน่ึง คอื การเข้ามาทำปา่ ไม้ของบริษัทอังกฤษ ทำให้ชาวพม่า และชาวไทใหญ่บางส่วนมารับเช่าทำป่าไม้ ส่งผลให้มีฐานะร่ำรวย และมั่นคง จึงได้ลงหลักปัก ฐานในล้านนา เกดิ เป็นชุมชนต่าง ๆ และสง่ ตอ่ วัฒนธรรมไทใหญ่ให้กบั หลาย ๆ พนื้ ที่ในล้านนามาจนถงึ ปจั จุบัน วถิ ีชีวิตความเปน็ อยู่ ชาวไทใหญ่มีชื่อเสียงในเรื่องการค้าทางไกล หรือพ่อค้าวัวต่าง มาตั้งแต่อดีต ซึ่งพ่อค้าวัวต่าง เป็นการเดินทางค้าขายจากรัฐหนึ่งสู่รัฐอื่น ๆ ข้างเคียงด้วยขบวนวัวต่างท่ีเหล่าพ่อค้าพากันเดินทางเป็นขบวน ใหญ่ ซึ่งในขณะที่พ่อค้าในแถบล้านนาจะใช้วัวเป็นพาหนะ แต่กลุ่มพ่อค้าจีนฮ่อจากยูนนานจะใช้ม้า ลา หรือ ล่อเป็นพาหนะ ซึ่งการเดินทางของพ่อค้าวัวต่างชาวไทใหญ่จะเดินทางค้าขายไปถึงเขตยูนนานลงมาถึงล้านนา (วราภรณ์ เรืองศร,ี 2564: น. 69-71) ดว้ ยอาชพี ทเ่ี ป็นพ่อค้าวัวตา่ ง จงึ ทำให้คนไทใหญห่ รือท่เี รยี กกันในล้านนา ว่า “เงี้ยว” นั้น มีภาพจำว่า เป็นคนที่ฉลาดแกมโกง เจ้าเล่ห์ และไม่ควรคบหา (ธิตินัดดา จินาจันทร์ และ วราภา เลาหเพญ็ แสง, 2547: น. 223)

4 I ประวัตศิ าสตรท์ อ้ งถน่ิ และความหลากหลายทางชาติพันธ์ุของภาคเหนือตอนบน : ไทยวน การค้าทางไกลของพ่อค้าวัวต่างชาวไทใหญ่นั้นเกิดขึ้นเพราะความจำเป็น เนื่องจากถิ่นฐานที่ชาวไท ใหญ่พำนักอาศัยอยู่นั้นเป็นพื้นที่สูง มีพื้นที่ในการทำการเกษตรจำกัด จึงทำให้ไม่สามารถผลิตข้าวปลาอาหาร ใหเ้ พยี งพอแก่คนในพนื้ ท่ี จงึ ต้องออกเดนิ ทางค้าขายเพ่ือแลกเปล่ียนสินค้าทจี่ ำเปน็ โดยจดุ หมายสำคัญอยู่ท่ีดิน แดนล้านนาที่มีพื้นที่เพาะปลูกกว้างใหญ่ไพศาล จึงทำให้เกิดขบวนพ่อค้าวัวต่างชาวไทใหญ่ เพื่อนำสินค้าจาก พนื้ ทขี่ องตนไปแลกเปล่ียนกบั สนิ คา้ จำเป็นอืน่ ๆ ในลา้ นนา และเมอื งรายทาง สินค้าที่พ่อค้าวัวต่างชาวไทใหญ่นำไปจำหน่าย และแลกเปลี่ยน คือ อัญมณี ทองคำ และชะมดเรียง รวมถึงการนำทาสไปขายด้วย โดยจะนำสินค้าหรือทาสเหล่านี้ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่น ๆ ในล้านนา เช่น ข้าวสาร ปลาแหง้ หรอื สินค้าอื่น ๆ ทข่ี าดแคลนในดนิ แดนไทใหญ่ (ลัดดาวลั ย์ แซเ่ ซยี ว, 2551) ปัจจุบันชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และอาชีพอื่น ๆ เช่น ข้าราชการ พนกั งานบริษทั คา้ ขาย และรับจ้าง เชน่ เดยี วกบั กลุม่ ชาติพนั ธ์ไุ ทกลมุ่ อ่นื ๆ ในพื้นทใี่ นลา้ นนา วฒั นธรรมดา้ นภาษา ภาษาและอกั ษรไทใหญ่ กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่มีวัฒนธรรมภาษาทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ภาษาไทใหญ่ถูกจัดอยู่ในตระกูล ภาษาไท กลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ ภาษาไทใหญ่ที่ใช้พูดในรัฐฉานมภี าษาถิน่ ย่อย 3 ภาษาถิ่น ได้แก่ ภาษาถิ่นฉาน เหนือ อยู่ในเมืองล่าเสี้ยว ภาษาถ่ินฉานใต้ อยู่ในเมืองตองจี และภาษาถิ่นฉานตะวันออก อยู่ในเมืองเชียงตุง นอกจากนภี้ าษาไทใหญ่ในประเทศไทยยงั มสี ำเนียงถ่นิ ยอ่ ยตามพ้นื ที่ เชน่ แม่ฮอ่ งสอน เชียงใหม่ ลักษณะสำคัญของการออกเสียงภาษาไทใหญ่ คือ ชาวไทใหญ่ไม่สามารถออกเสียง ด บ และ ฝ / ฟ ได้ เพราะไม่มีเสียงพยัญชนะเหล่านี้ ชาวไทใหญ่จึงออกเสียง ด เป็น ล เช่น ดาว ออกเสียงเป็น หลาว เดือน ออกเสยี งเป็น เหลิน บัตร ออกเสยี งเปน็ หวดั บาท ออกเสียง หวาด และ ฟา้ ออกเสยี งเปน็ พ้า เป็นต้น ส่วนเสียงสระนั้น ภาษาไทใหญ่ไม่มีเสียง เอีย เอือ และ อัว โดยเสียงสระเอียจะออกเสียงเป็น เอ เช่น เมีย จะออกเสียงว่า เม เสียงสระเอือจะออกเสียงเป็น เออ เช่น เสือ ออกเสียงเป็น เสอ และเสียงสระ อัว จะออก เสยี งเปน็ โอ เชน่ ผัว ออกเสียงเป็น โผ และ ตัว จะออกเสยี งเป็น โต คล้ายกบั ภาษาไทลอื้ และภาษาไทขึน สำหรับภาษาเขียนนั้น ชาวไทใหญ่มีอักษรไทใหญ่ในการบันทึก เรียกว่า ลิ่ก ซึ่งคำว่า ลิ่ก มีหลายความหมาย เช่น ตัวอักษร ภาษา หรือหนังสือ อักษรไทใหญ่ในปัจจุบันมีลักษณะกลมมนคล้ายอักษร พม่า และอักษรธรรมล้านนา แต่มีความแตกต่างในรายละเอียด และไวยากรณ์ ซึ่งมีทฤษฎีที่กล่าวถึงที่มาของ อักษร ไทใหญ่หลายทฤษฎีด้วยกัน เช่น บ้างว่ารับอิทธิพลมาจากอักษรพมา่ บ้างว่ามีต้นกำเนดิ มาจากอักษรเท วนาครี แต่ รองศาสตราจารย์เรณู วิชาศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญอักษรไท ให้ความเห็นว่า อักษรไทใหญ่รับเอารูปแบบ ของอักษรมอญโบราณมาพร้อม ๆ กับที่พม่า และล้านนารับเอาอิทธิพลอักษรมอญโบราณมาสร้างเป็นอักษร ของตนเชน่ กัน แต่เดมิ อักษรไทใหญ่อาจจะมีลกั ษณะยาว และมีเหลย่ี มเหมือนอักษรมอญโบราณ แต่ต่อมาเม่ือ รับอิทธิพลอักษรพมา่ เขา้ มาจึงดัดแปลงใหม้ ีลักษณะกลมมนมากขึน้ เพราะอยใู่ นพน้ื ที่ใกล้เคียงกับพม่า อักษรไทใหญ่โบราณมีตัวอักษรไม่ครบตามเสียงพูดและไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับ ทำให้คนที่ไม่ได้บวช เรียนไม่สามารถอ่านได้ หรือแม้แต่นักวิชาการในปัจจุบันเมื่ออ่านเอกสารอักษรไทใหญ่โบราณ จะต้องคาดเดา ความหมายตามบริบทขา้ งเคยี ง ด้วยเหตนุ ชี้ าวไทใหญ่ในพม่าและจนี จึงไดป้ รับปรุงระบบการเขยี นภาษาไทใหญ่ ขึ้นมาใหมเ่ พ่ือให้เยาวชนและผูส้ นใจสามารถอ่านภาษาไทใหญไ่ ด้ เช่น รฐั บาลทอ้ งถนิ่ ของจนี สนับสนนุ ให้นำเอา วรรณกรรม ไทใหญ่โบราณมาพิมพ์ดว้ ยระบบการเขยี นใหม่ ในรฐั ฉานมกี ารจัดพิมพ์แบบเรียนไทใหญ่ที่เรียกว่า

5 I ประวัตศิ าสตรท์ อ้ งถนิ่ และความหลากหลายทางชาตพิ ันธขุ์ องภาคเหนือตอนบน : ไทยวน ลิกไทหัวเสือ ออกเสยี งว่า “ลก่ิ ไตโหเสอ” คอื หนงั สอื แบบเรยี นอักษรไทใหญ่ระบบใหม่ เพ่ือให้เยาวชนไทใหญ่ ไดเ้ รียน สำหรับกลุ่มชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนนั้น เยาวชนรุ่นใหม่มีจำนวนน้อยที่สามารถอ่านเขียน อักษรไทใหญ่ได้ไม่ต่างจากคนล้านนาหรือคนเมืองที่มีเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่สามารถอ่านเขียนอักษรธรรม ลา้ นนาได้ แต่วัดไทใหญ่ในจงั หวัดแม่ฮ่องสอน และเชยี งใหมน่ ้ันจะเปน็ แหล่งเก็บรวบรวมเอกสารโบราณสำหรับ นกั วชิ าการ และนักศึกษาทีต่ ้องการศึกษาภาษาไทใหญ่ได้เปน็ อย่างดี เอกสารโบราณไทใหญ่ ในขณะทเ่ี อกสารโบราณของชาวไทยวนหรือชาวลา้ นนาเป็นใบลาน แตเ่ อกสารโบราณของชาวไทใหญ่ จะเปน็ กระดาษท่ีผลิตมาจากเปลือกต้นสา หรือหนอ่ ไม้ เหมือนทช่ี าวไทยวนเรียกว่า พบั สา แต่ในภาษาไทใหญ่ เรียกเอกสารประเภทนว้ี ่า “เจ้” หมายถงึ กระดาษ หากทำมาจากเปลือกไมส้ า จะเรียกวา่ “เจส้ า” หากผลิตมา จากหน่อไม้ไผ่จะเรียกว่า “เจ้หน่อ” หรือ “เจ้ไม้ซาง” โดยนำกระดาษมาพับทบเป็นเล่ม เรียกว่า “พับทบ” และเมื่อนำมาซ้อนกันแล้วเย็บเป็นเล่ม จะเรียกว่า “พับผืน” ซึ่งใช้กันในกลุ่มชาวไทใหญ่เป็นปกติ ส่วนใบลาน นั้นมีใชจ้ ารบา้ งแต่มีจำนวนน้อย เครื่องมือที่ใช้เขียนอักษรไทใหญ่ลงบนเจ้ เรียกว่า “กำ” ออกเสียงว่า “ก๋ำ” ทำมาจากวัสดุหลาย ประเภท โดยมีชื่อเรียกท่ีแตกต่างกันไปตามประเภทของวัสดุ เช่น หากใช้ก้านกูดมาเป็นเครื่องมือใช้เขียน จะเรียกว่า กำกูด หากใช้ก้านอ้อ จะเรียกว่า กำก้านอ้อ และสำหรับเหล็กจารที่ใช้จารบนใบลาน จะเรียกว่า กำเหล็ก ส่วนพู่กันที่ใช้เขียนอักษรไทเหนือ จะเรียกว่า กำปี่ เป็นต้น สำหรับหมึกที่ใช้เขียนบนเจ้ นิยมใช้สีต่าง ๆ เพื่อวาดรูปให้สวยงาม แตท่ ี่นยิ มใช้ในการบนั ทกึ อกั ษร จะใชห้ มกึ สีดำ (เรณู วชิ าศลิ ป์, ม.ป.ป) คำเรยี กช่อื ชาวไทใหญ่ กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ หรือ Shan เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่เรียกตนเองว่า “ไท” ออกเสียงว่า “ไต” และจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ของตน ด้วยการเพิ่มคำขยายเข้าไปเป็น ไทโหลง หรือ ไตโหลง (ไทหลวง) ในขณะท่ี ชนชาตอิ ่ืนจะเรียกชาวไทใหญ่ ดว้ ยชอื่ เรยี กที่แตกตา่ งกนั ออกไป เชน่ พม่าเรยี กว่า “ชาน” หรือ “ฉาน” ชาวคะ ฉ่นิ เรยี กวา่ “อะซาม” ชาวปะหล่องและชาวว้าเรียกว่า “เซียม” ซึง่ ทุกคำล้วนแต่มที มี่ าจากคำว่า “สยาม” ตาม ข้อสันนิษฐานของจิตร ภูมิศักดิ์ (ธิตินัดดา มณีวรรณ์ และ ยุทธการ ขันชัย, 2552) และ (จิตร ภูมิศักดิ์, 2544) ส่วนคนล้านนา มักเรียกชาวไทใหญ่ว่า “เงี้ยว” ซึ่งมีนัยของการดูหมิ่นชาติพันธุ์แฝงอยู่ด้วย ดังปรากฏในคำ เรยี กและสำนวนล้านนา เชน่ “กินอยา่ งม่าน ทานอยา่ งเง้ยี ว” เป็นตน้ ส่วนชาวจนี เรยี กชาวไทใหญใ่ นประเทศจีนตามลกั ษณะการแต่งกาย และรูปร่างลักษณะ เช่น “ปา๋ ยยี” (พวกเสือ้ ขาว) “จนิ ฉอ่ื ” (พวกฟนั ทอง) “หยินฉื่อ” (พวกฟันเงิน) “เฮยฉ่อื ” (พวกฟนั ดำ) ฯลฯ ส่วนชาวไทใหญ่ ที่อาศัยอยู่ในพม่าจะเรียกชาวไทใหญ่ในประเทศจีนว่า “ไทแข่” (ไทจีน) ในขณะที่ชาวไทใหญ่ในประเทศจีน เรียกตนเองว่า “ไทเหนอ” หรือ “ไทเหนือ” โดยถือเอาแม่น้ำสาละวินเป็นเส้นแบ่ง อันหมายถึง ชาวไทใหญ่ท่ี อาศัยอยู่เหนือแม่น้ำสาละวินขึ้นไป ส่วนชาวไทใหญ่ในประเทศจีน เรียกชาวไทใหญ่ในพม่าว่า “ไทใต้” และยัง เรียกชาวไทใหญ่แต่ละกลุม่ ตามเมืองที่อาศัยอยู่ เช่น เรียกคนไทที่อาศัยในเมอื งมาวว่า “ไทมาว” เรียกคนไทที่ อาศัยในเมืองอื่น ๆ ว่า “ไทเมืองหล้า” “ไทเมืองวัน” “ไทเมืองขอน” เป็นต้น ส่วนชาวไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ใน

6 I ประวตั ิศาสตรท์ อ้ งถ่นิ และความหลากหลายทางชาติพนั ธข์ุ องภาคเหนอื ตอนบน : ไทยวน รฐั อสั สัม ประเทศอินเดยี เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ทม่ี ีภาษาและวฒั นธรรมใกล้เคียงกับชาวไทใหญ่ว่า ไทอาหม ไทพ่า เก ไทคำยงั ฯลฯ เป็นต้น (สถาบนั วิจัยสังคม, 2551: น. 2-3) สำหรับคนไทยในภาคกลางมีการรับรู้เกี่ยวกับชาวไทใหญ่มาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยปรากฏหลักฐาน ในกฎหมายตราสามดวงในพระราชกำหนดเก่า พ.ศ. 2042 และบนั ทึกของ เดอ ลา ลรู แ์ บร์ ได้ระบุในตอนหน่ึง ทป่ี รากฏการเรียกชาวไทใหญ่เมอื่ ครั้งทมี่ าเยือนกรงุ ศรีอยุธยาในชว่ งปี พ.ศ. 2229 - 2231 ว่า “...อนึง่ ชาวสยามที่ขา้ พเจ้ากล่าวถึงนี้ เรียกตนเองว่าไทน้อยคอื เซียมเล็ก ตามที่ข้าพเจ้าได้รบั คำบอก เล่า ยังมีคนอีกพวกหนึ่งซึ่งป่าเถื่อนที่สุดเรียกกันว่าไทใหญ่ คือ เซียมใหญ่ อันเป็นพวกที่อาศัยอยู่ทางเขตเขา ภาคเหนือ...” (สถาบนั วิจัยสังคม, 2551: น. 1) วัฒนธรรมดา้ นการแตง่ กาย ชาวไทใหญ่มีวัฒนธรรมการทอผ้าเช่นเดียวกับชาวไทกลุ่มอื่น ๆ แต่เมื่อเทียบกันแล้วชาวไทใหญ่ จะมีการทอผ้าน้อยกว่ากลุ่มชาวไทกลุ่มอื่นมาก อาจจะด้วยเหตุผลด้านภูมิประเทศและอาชีพที่ต้องเดินทาง ค้าขายอยู่เปน็ ประจำ จึงทำใหช้ าวไทใหญ่มีโอกาสเดินทางไปยงั ถิ่นตา่ ง ๆ และแลกเปล่ียนสนิ ค้าไดง้ ่าย จึงนิยม ใชว้ ธิ ีการซอื้ ผา้ ทอมาตดั เยบ็ มากกวา่ การทอใช้เอง การแตง่ กายของผ้หู ญิงชาวไทใหญ่จะสวมเสอื้ ปัด๊ ท่ีตดั เยบ็ มาจากผา้ ฝ้ายหรือผ้าไหม โดยมีลักษณะเป็น เสือ้ คอกลม แขนยาว ตวั เสือ้ สัน้ และเอวลอย ซง่ึ ด้านหน้าของเสื้อจะมสี าบเสือ้ ขนาดใหญท่ บตรงอกเส้ือ กระดุม ทำมาจากผ้าขมวดปมคล้ายกระดุมจีน ในปัจจุบันอาจจะใช้กระดุมแป๊กซ่อนด้านในแทน ส่วนผ้าซิ่นอาจจะใช้ ผ้าฝ้ายทอมือหรือผ้าทอจากกลุ่มวัฒนธรรมอื่น เช่น ผ้าซิ่นไทลื้อ ผ้าซิ่นลุนตยาอฉิก (Luntaya - Acheiq) ผา้ แพรจีน เปน็ ต้น โดยนำผ้ามาตอ่ หัวซนิ่ สำหรบั นุ่งหม่ การแต่งกายของผู้ชายชาวไทใหญ่นั้น นิยมสวมเสื้อแขนยาว คอกลม ผ่าหน้า และติดกระดุมผ้า ที่ขมวดเป็นปมเช่นเดียวกับกระดุมจีน โดยคอเสื้อเป็นคอกลมหรือคอตั้ง และเสื้อด้านหน้ามีกระเป๋าเสื้อขนาด ใหญท่ งั้ สองขา้ ง ปกติแลว้ มกั จะสวมเสื้อยดื ซ้อนด้านในอกี ชั้นหน่ึง สวมกางเกงขายาวตัวหลวมสีเดียวกันกับเส้ือ เรียกว่า โก๋นโห่งโย่ง หรือ โก๋นไต และโพกศีรษะด้วยผ้าโพกศีรษะผืนยาวสีขาวหรือสีชมพู หรืออาจจะใช้ ผ้าขนหนูโพกศีรษะแทนกไ็ ด้ (สมปอง เพ็งจันทร์ และ สุทธพิ นั ธ์ เหรา, 2551) วัฒนธรรมดา้ นอาหาร วฒั นธรรมดา้ นอาหารของชาวไทใหญ่ในจังหวดั แม่ฮ่องสอนจะมลี ักษณะแตกตา่ งจากวัฒนธรรมอาหาร ของชาวไทใหญ่ในพื้นที่อื่น โดยเฉพาะในรัฐฉาน เพราะชาวไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้รับอิทธิพลจาก อาหารพม่ามาผสมผสาน ในขณะที่ไทใหญ่ในพื้นที่อื่น ๆ โดยเฉพาะชาวไทนอกที่อพยพเข้ามาในช่วงหลัง หรือชาวไทใหญ่ในรัฐฉานจะไม่ยอมรับวัฒนธรรมพม่าเข้ามาปะปนด้วย เนื่องจากเหตุผลด้านความสัมพันธ์ กับรฐั บาลทหารพม่าทีม่ คี วามขดั แย้งกันมาโดยตลอด ชาวไทใหญ่จะนิยมรบั ประทานผักเป็นหลักเช่นเดียวกับกลุม่ ชาติพันธุไ์ ทกลุ่มอื่น ๆ โดยผักท่ีนำมาปรุง เป็นอาหาร มักจะเป็นผักที่ปลูกในท้องถิ่นและปลูกในบริเวณบ้าน รวมถึงการใช้ผักเป็นวัตถุดิบหลักในอาหาร แต่ละชนิด ส่วนเนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทานจะได้แก่ เนื้อหมู เนื้อไก่ และเนื้อปลา นอกจากนั้นชาวไทใหญ่ยัง นิยมใช้ถั่วเน่าเป็นเคร่ืองปรุงหลัก จนเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปวา่ ถั่วเน่า คือ อัตลักษณ์สำคัญของอาหารไทใหญ่ ส่วนวิธีการปรุงอาหารของไทใหญ่มหี ลายประเภท คล้ายกบั การปรุงอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มอนื่ ๆ เช่น

7 I ประวตั ศิ าสตร์ท้องถิ่นและความหลากหลายทางชาตพิ ันธุ์ของภาคเหนือตอนบน : ไทยวน การแกง การจอ การจี่ การต้ม การตำ การนึ่ง การปิ้ง การหมก การสะนาย การหลาม การหุง เป็นต้น ส่วน วิธีการปรุงบางประเภทจะสัมพันธ์กับความเชื่อของชาวไทใหญ่ เช่น การปรุงอาหารด้วยการอ่อง เช่น น้ำพริก อ่อง จะทำให้ผู้ที่รับประทานอาหารประสบกับความสำเร็จ มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ดังนั้น ใน งานประเพณีสำคัญต่าง ๆ จึงต้องมีน้ำพริกอ่องหรืออาหารทีป่ รุงด้วยการอ่องประกอบอยูเ่ สมอ (สุพรรณี เรือง สงค์ และอรพัช บวรรักษา, 2563: น. 165) เช่นเดียวกับการรับประทานลาบของชาวล้านนา หรือการ รับประทานอาหารท่ีมีขนุนเป็นวัตถุดิบ และปรงุ ด้วยวธิ ีการตำหรือหุง จะทำให้ชีวติ เจริญรุ่งเรือง ได้รับการเอ้ือ หนุนและหนุนนำให้ประสบแต่ความสุข ความโชคดี หรือการนำไข่ไก่มาคั่วหรืออุ๊บ และนำไปเลี้ยงแขกในงาน มงคล จะทำให้ผู้ที่รับประทานมีความเจริญงอกงาม เป็นต้น (สุพรรณี เรืองสงค์ และอรพัช บวรรักษา, 2563: น. 165-166) สำหรับอาหาร และอาหารว่างไทใหญ่ในแม่ฮ่องสอนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะมีหลายชนิด เช่น อุ๊บไก่ ชิ้นลุง ข่างปอง ข้าวแรมฟืนซึ่งเรียกว่า ถั่วพูยำ ถั่วพูอุ่น สำหรับขนมของไทใหญ่ในแม่ฮ่องสอนที่มีชื่อเสียงมี หลายชนิด เช่น เปงม้ง อาละหว่า อาละหว่าจุ่ง ส่วยทะมิน ซึ่งเป็นขนมไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ได้รับ อิทธิพลจากอาหารพม่า เพราะทั้งขนมอาละหว่า ส่วยทะมิน และเปงม้ง เป็นขนมที่มีชื่อเสียงในกลุม่ มอญและ พม่า โดยเฉพาะในทางใต้ของพม่า (ธรรศ ศรรี ตั นบลั ล์ และคณะ, 2560) ในส่วนขนมของไทใหญ่ อาจจะแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ ขนมที่อยู่ในวัฒนธรรมไทแต่ดั้งเดิม และ ขนมที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ โดยขนมในวัฒนธรรมไทดั้งเดิมนั้น จะมีลักษณะร่วมคล้ายกับขนมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มอ่ืน ๆ เช่น ข้าวมูนข่วย หรือขนมวง ข้าวมูนห่อ หรือ ขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมน้ำอ้อย และถั่วลิสงห่อในใบตอง ข้าวแต๋น เป็นต้น ส่วนขนมที่ได้รับอิทธิพล จากวัฒนธรรมอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ นั้นจะมีหลากหลาย เพราะจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่อยู่ ติดชายแดนพม่า จงึ ทำใหเ้ กิดการเลื่อนไหลและเคลื่อนย้ายของผคู้ นเกิดขึน้ อยู่ตลอดเวลานับตั้งแต่อดีต รวมถึง ในพม่าก็เต็มไปด้วยความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ และมีปฏิสัมพันธ์เชื่อมต่อกับอินเดียซึ่งเคยอยู่ภายใต้ การปกครองของสหราชอาณาจักร รวมถึงสามารถเชื่อมต่อไปถึงตอนใต้ของจีน ดังนั้น ชาวไทใหญ่ในจังหวัด แมฮ่ ่องสอนจงึ ได้รับอทิ ธพิ ลของวฒั นธรรมอนื่ ๆ จากทางเหนอื มากกว่าพื้นทอี่ น่ื ๆ ในล้านนา ขนมอาละหวา่ เปงม้ง และส่วยทะมนิ เป็นขนมท่ไี ด้รบั อทิ ธิพลจากวฒั นธรรมอาหารของกลมุ่ ชาติพันธ์ุ อื่น ๆ อยา่ งชัดเจน โดยขนมอาละหวา่ นั้นเป็นขนมท่มี ีช่ือเสียงและมีชื่อเรยี กหลากหลาย เช่น Halawa Haluva aluva halwa และ alva ซึ่งเป็นขนมที่มีต้นกำเนิดมาจากดินแดนตะวันออกกลาง สันนิษฐานว่า จะมีเส้นทาง การส่งต่อวัฒนธรรมอาหารของขนมชนิดนี้ผ่านดินแดนหลากหลายจากตะวันออกกลาง ผ่านทะเลเมดิเตอ ร์ เรเนียน ประเทศจีน และอินเดีย โดยขนม Halva ในอินเดียนั้นจะผสมมะพรา้ วและเคร่ืองปรงุ อื่น ๆ เพิ่ม และ เมื่อเข้ามาสู่ประเทศพม่า ได้กลายมาเป็นขนม Halawa ที่เป็นที่นิยมในประเทศพม่าและในกลุ่มชาติพันธุ์ไท เช่นเดียวกับขนมเปงมง้ และส่วยทะมิน ซึ่งเป็นขนมของพม่าท่ีเป็นที่รู้จักดีในกลุ่มชาวมอญและพม่า เมื่อมีการ แลกเปลี่ยนวฒั นธรรมผา่ นการค้า จงึ ทำใหข้ นมเหล่าน้ถี ูกส่งตอ่ มาถงึ ชาวไทใหญ่ในจงั หวัดแม่ฮ่องสอน และปรับ มาสู่ขนมอาละหว่า เปงม้ง และส่วยทะมิน (ธรรศ ศรีรัตนบัลล์ และคณะ, 2560) ซึ่งขนมทั้งสามชนิดได้กลาย มาเป็นขนมที่มีชื่อเสียงของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดังนั้นเมื่อนักท่องเที่ยวไปเยือนจังหวัดแม่ฮ่องสอนจะต้องไม่ พลาดทีจ่ ะลิม้ ลอง และซ้อื ไปเปน็ ของฝาก

8 I ประวตั ิศาสตรท์ อ้ งถ่นิ และความหลากหลายทางชาติพนั ธข์ุ องภาคเหนอื ตอนบน : ไทยวน วฒั นธรรมความเช่ือ ชาวไทใหญน่ ับถอื พทุ ธศาสนาอย่างเข้มแข็ง จนมสี ำนวนในภาษาล้านนาว่า “บด่ กี นิ อย่างมา่ น บ่ดีทาน อย่างเงี้ยว” หมายถึง ชาวพม่าซึ่งคนล้านนาเรียกว่า ม่านนั้น มักจะกินอย่างมูมมาม และกินมากเกินไป เช่นเดยี วกบั ชาวไทใหญท่ ี่มักจะทำบุญมากจนเกนิ ไป จึงไม่ควรกระทำดงั เช่นคนพม่าและคนไทใหญ่ ดังน้ันพุทธ ศาสนาจงึ มีบทบาทสำคญั ต่อวถิ ีชีวติ ของชาวไทใหญ่อยา่ งยิ่ง ไมว่ า่ จะด้านโลกทศั น์ วิถีชวี ติ ประจำวนั วฒั นธรรม ประเพณี ฯลฯ ซ่ึงความเชือ่ ในพทุ ธศาสนาของชาวไทใหญน่ ั้นจะมคี วามเชื่อด้านโหราศาสตรผ์ สมอยู่ด้วย (ธรรศ ศรีรัตนบัลล์ และ นนั ทช์ ญา มหาขันธ์, 2560: น. 48) ความเชือ่ โหราศาสตร์ของชาวไทใหญ่ ความเชื่อด้านโหราศาสตร์ของชาวไทใหญ่มีปัจจัยของการก่อกำเนิดและก่อรูปขึ้น 3 ประการด้วยกัน ได้แก่ 1) ความเชื่อดั้งเดิมของชาวไทใหญ่ คือ ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ผีดี ผีร้าย ฯลฯ 2) ความเชื่อด้านโหราศาสตร์ที่ได้รับอิทธิพลจากจีน และพราหมณ์ - ฮินดูจากอินเดีย ซึ่งชาวไทใหญ่รับเอา อิทธิพลของปฏิทินระบบกานจือของจีนมาสร้างปฏิทินระบบวันหนไท และรับเอาความรู้ด้านดาราศาสตร์และ โหราศาสตร์จากพราหมณ์ - ฮินดูมาอธิบายการแปรเปลี่ยนของธรรมชาติ ฤดูกาลที่สัมพันธ์กับการโคจรของ ดวงดาวและดวงอาทิตย์ จนกลายมาเป็นชุดความรู้ด้านโหราศาสตร์ของไทใหญ่ และ 3) ความเชื่อด้าน โหราศาสตร์ทีไ่ ด้รบั อิทธิพลจากพุทธศาสนา ซ่ึงไทใหญร่ ับเอาพทุ ธศาสนาเข้ามาในสังคมไทใหญ่อยูห่ ลายระลอก ด้วยกัน โดยพุทธศาสนาที่เผยแผ่มาจากกลุ่มชาวไทยวนจะเรียกวา่ “เกิงโยน”หรือนิกายของไทยวน และพุทธ ศาสนาที่เผยแผ่มาจากพม่าจะเรียกว่า “เกิงม่าน” หรือนิกายของพม่า ซึ่งคณะสงฆ์ไทใหญ่เคยนับถือทั้งสอง นิกายนี้ก่อนที่จะถูกปฏิรูปให้มีแนวปฏิบัติเดียวกันในช่วงของการปฏิรูปการปกครองสงฆ์ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ของไทย โหราศาสตรไ์ ทใหญ่มอี งค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่ 1) คัมภรี ์ คอื ตำรา แหลง่ ความรู้ดา้ นโหราศาสตร์ 2) ครูหรือผีครู ผู้ที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ ทั้งที่เป็นครูที่เป็นมนุษย์และครูที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทพ 3) สล่า คือ ผู้ที่ศึกษาและและเชี่ยวชาญในด้านโหราศาสตร์ และ 4) ผู้ที่นำความรู้จากโหราศาสตร์ไปใช้ใน ชีวิตประจำวนั ซงึ่ จากองคป์ ระกอบทั้ง 4 ด้านน้ี จงึ ทำให้ในทกุ ๆ ปี ชาวไทใหญ่จะต้องพบสล่าเพ่ือทำนายดวง ชะตาในแตล่ ะปเี พ่ือใหช้ วี ิตมีความสุข และราบรืน่ ตลอดทั้งปี อกี ทง้ั ปฏทิ นิ หนไทท่ีมคี ำทำนายกำกับอยู่นั้น เป็น สงิ่ ทก่ี ำหนด วถิ ีชีวิตประจำวนั ของชาวไทใหญ่ (ธรรศ ศรีรตั นบลั ล์ และ นันท์ชญา มหาขนั ธ,์ 2560: น. 50-54) ความเชอ่ื ของชาวไทใหญ่เกี่ยวกับการสกั ในอดีตผู้ชายชาวไทใหญ่ทุกคนจะต้องสักลวดลายตั้งแต่บริเวณหน้าทอ้ งลงไปจนถึงขา บางคนอาจจะ สักร่างกายส่วนบนด้วย คือ สักตั้งแต่เอวไปจนถึงศีรษะและแขน โดยมีความเชื่อและวัตถุประสงค์ในการสัก หลายประการ เช่น สักเพื่อเข้าร่วมในสงคราม สักเพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ของชายชาวไทใหญ่ สักเพราะเป็น จารีตปฏิบตั ิทีส่ ืบทอดกันต่อมา สกั เพ่ือใชค้ วบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม หรอื สักเพราะเชื่อว่ารอยสักนั้นจะ ช่วยเสริมใหต้ นเองมคี วามเจริญรุ่งเรืองในอาชพี การงาน (สายสม ธรรมธ,ิ 2538)

9 I ประวตั ิศาสตรท์ ้องถิ่นและความหลากหลายทางชาติพนั ธข์ุ องภาคเหนือตอนบน : ไทยวน ในการสักนั้นจะควบคู่ไปกับการถือคาถาอาคม ดังนั้นเมื่อสักแล้วจะต้องปฏิบัติตนตามข้อห้ามและ ข้อปฏบิ ตั ิหลายประการ เชน่ ห้ามผดิ ลูกผดิ เมยี ใคร หา้ มลอดใต้ราวตากผ้า หา้ มลอดใต้ถุนบ้าน ห้ามกินอาหาร บางประเภททีเ่ ชื่อว่าจะทำใหค้ าถาเสอื่ มหรอื ออ่ นกำลงั เช่น ฟกั เขยี ว ผกั ปลัง หา้ มกินอาหารในงานศพ เป็นต้น การสักอาจจะจำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1) การสักส่วนบน ได้แก่ การสักข่าม คือการสัก เพื่อความอยู่ยงคงกระพัน และการสักมหานิยม เพื่อให้เกิดความนิยม เสริมสิริมงคล และ 2) การสักส่วนล่าง คือตั้งแต่หน้าท้องลงไปถึงเท้า จะได้แก่ การสักข่าม การสักมหานิยม การสักขาลาย เพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ ความเข้มแข็งของลูกผู้ชาย และการสักข่ามเขี้ยวหรือสักข่ามพิษ เพ่ือป้องกันอันตรายจากสัตว์มีพิษ งูเงี้ยว เขี้ยวขอตา่ ง ๆ (สายสม ธรรมธิ, 2538) ความเชอ่ื เกีย่ วกบั พระอุปคตุ ของชาวไทใหญ่ ชาวไทใหญ่นับถือพระอุปคุตหรือที่เรียกว่า พระบัวเข็ม ซึ่งความเชื่อในการนับถือพระอุปคุตนี้ได้ส่ง อทิ ธิพลมาถงึ ชาวไทยวนในล้านนา คือ คตคิ วามเช่อื เรือ่ งการตักบาตรเพ็งพธุ ชาวไทใหญ่นับถอื พระอุปคุต โดย เชื่อว่าพระอุปคุต คือ พระภิกษุรูปสำคัญรูปหนึ่งที่จำศีลภาวนาอยู่ที่สะดือทะเล เมื่อถึงวันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธ พระอุปคุตจะขึ้นมาจากสะดือทะเล และแปลงกายเป็นสามเณรเพื่อมาบิณฑบาตในเวลาเที่ยงคืน ด้วยเหตุนี้ ทุกวันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธ ชาวล้านนาจะเตรียมข้าวของอาหารแห้งเพื่อใส่บาตรพระภิกษุตั้งแต่เวลาเที่ยงคืน เปน็ ตน้ ไป นอกจากนั้น พระอุปคุตยังสง่ อิทธิพลต่อความเช่ือของชาวไทใหญ่และชาวล้านนาว่า เป็นผู้ทีม่ ีฤทธ์ปิ ก ปักรักษา และคุ้มครองให้ปลอดภัย ด้วยเหตุน้ีเวลาจะจัดงานฉลองหรืองานมงคลใด ๆ ชาวล้านนาจะทำพิธี อัญเชิญพระอุปคุตมาคุ้มครองดูแลให้งานนั้น ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยพิธีอัญเชิญพระอุปคุตนั้นจะไปงม ก้อนหินก้อนใดก้อนหนึ่งในแม่น้ำ โดยสมมติว่าเป็นพระอุปคุต จากนั้นจึงอัญเชิญไปประดิษฐานยังหิ้งหรือศาล เพยี งตา เพอ่ื ขอให้พระอุปคุตช่วยปกปักรักษาคมุ้ ครองให้งานผา่ นพ้นไปดว้ ยดี เมอื่ งานเสรจ็ สิ้นแล้วจึงจะทำพิธี อัญเชิญพระอปุ คตุ กลบั สูส่ ะดอื ทะเล ด้วยการอัญเชญิ ก้อนหินท่สี มมติวา่ เป็นพระอุปคตุ นั้นไปไว้ในแม่นำ้ ดงั เดิม ประเพณพี ธิ กิ รรมสำคัญของกลุ่มชาติพันธ์ุ ประเพณปี อยสา่ งลอง ประเพณีปอยส่างลอง คือ ประเพณีการบวชเณรของชาวไทใหญ่ ซึ่งมีลักษระคล้ายคลึงกับประเพณี ปอยลูกแก้วของชาวล้านนา หรือการบวชลูกแก้วของชาวไทย โดยมีคติความเชื่อที่ปรากฏในรูปแบบและ รายละเอียดของพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงไปถึงเจ้าชายสิทธัตถะก่อนออกบวชเป็นพระภิกษุตามพุทธตำนาน ประเพณีปอยส่างลองมักจะจัดขึ้นในช่วงฤดูร้อน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนสี่ไท (ตรงกับเดือนหกเหนือหรือเดือน มีนาคม) ไปจนถงึ เดือนเจด็ ไท (ตรงกบั เดอื นเกา้ เหนอื หรือเดอื นมิถุนายน) คำว่า ปอย ในภาษาไทใหญ่ ซ่ึงได้รับอิทธิพลจากภาษาพม่า หมายถึง งานมหรสพ ส่วนคำว่า ส่าง สนั นิษฐานว่า มาจากคำวา่ สาง หรือ ขนุ สาง หมายถงึ พระพรหม หรอื อีกความหมายหนึ่งมาจากคำวา่ เจา้ ส่าง หมายถึง สามเณร และคำวา่ ลอง มาจากคำวา่ อลอง หมายถึง พระโพธิสัตว์ หรอื หน่อกษตั ริยผ์ ้ทู เ่ี ตรยี มจะเป็น ส่างลอง (สถาบนั วิจยั สงั คม มหาวิทยาลัยเชียงใหม,่ 2551: น. 136) ดว้ ยเหตนุ ก้ี ารเตรยี มตัวเปน็ สา่ งลองจึงเป็น การเลยี นแบบประวตั ชิ วี ติ ของสมเดจ็ พระสัมมาสัมพทุ ธเจ้าในชว่ งเวลาทีเ่ ป็นเจ้าชายสทิ ธตั ถะก่อนจะออกผนวช น่นั เอง

10 I ประวตั ศิ าสตรท์ อ้ งถิ่นและความหลากหลายทางชาตพิ ันธุ์ของภาคเหนือตอนบน : ไทยวน หลักฐานที่พบในวรรณกรรมไทใหญ่ที่ปรากฏที่มาของประเพณีปอยส่างลอง จำนวน 2 เรื่อง ซ่ึง วรรณกรรมทั้งสองเรื่องมีอายุประมาณ 100-200 ปี โดยเรื่องแรกชื่อ อะหน่าก้าดตะหว่าง แต่งขึ้นเมื่อ 100 กว่าปีที่ผ่านมา โดยกล่าวถึงพระเจ้าอชาตศัตรู หลังจากที่ได้หลงผิดกระทำปิตุฆาตไปแล้ว จึงทูลถาม พระพทุ ธเจา้ จะทำอย่างไร ถึงจะไดเ้ ป็น “อลองพญา” หรือหนอ่ พุทธางกูร พระพุทธเจ้าตอบวา่ ตอ้ งนำบตุ รชาย เข้าบวชในพุทธศาสนา พระเจ้าอชาตศัตรูจึงนำอชิตกุมารบวชเป็นสามเณร จากนั้นจึงมีพุทธพยากรณ์ว่า อชิต สามเณรจะตรัสรเู้ ปน็ พระศรีอรยิ เมตตรัย ส่วนวรรณกรรมอีกเร่ืองหนึง่ คือ อ่าหนั่นต่าตองป่าน หรืออ่าหนั่นต่าไหว้ถาม แต่งขึ้นเมื่อ 200 กว่าปี ที่ผ่านมา ซึ่งกล่าวถึงเรื่องต่าง ๆ ที่พระอานนท์ทูลถามพระพุทธเจ้า โดยมีเรื่องหนึ่งที่ทูลถามว่า การเป็นส่าง ลองจะมีอานิสงส์มากน้อยเพียงใด พระพุทธเจา้ จงึ ตอบว่า หากนำบุตรของตนเองไปบวชเป็นส่างลองจะได้สร้าง สวรรคส์ มบัติเปน็ เวลา 8 กัปป์ หากรบั เป็นพ่อขา่ ม - แม่ขา่ ม จะไดอ้ านิสงส์ 4 กัปป์ โดยมีเรอื่ งเล่าว่า มบี ุตรของ แม่หม้าย คนหนึ่งซึ่งมีรูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ แต่มีศรัทธาอยากจะบวชเป็นสามเณร แต่ไม่มีเงินทองมาก พอทจ่ี ะบวชไดเ้ พราะไม่มเี จา้ ภาพบวชให้ ด้วยบญุ ญาบารมขี องลกู ชายแม่หมา้ ยคนน้ัน จึงทำให้พระอินทร์ลงมา ทำความสะอาดร่างกายให้ จนกลายเป็นกุมารที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม และขุนสางหรือพระพรหมได้ลงมา มอบชฎาและสังวาลให้ พร้อมกับรับเป็นพ่อข่ามหรือพ่ออุปถัมภ์ในการจดั งานบวชนัน้ ดังนั้นกุมารคนนั้นจึงได้ เป็นลูกอุปถัมภ์ของขุนสาง และถูกเรียกวา่ เป็น “สางลอง” หรือ “ส่างลอง” อันมีนัยว่า เป็นผู้ที่มบี ญุ ญาบารมี สูงกว่าคนธรรมดาทั่วไป จึงได้รับการยกย่องให้เป็นหน่อกษัตริย์ในช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนที่จะเข้าบรรพชา (สถาบันวจิ ยั สังคม มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่, 2551: น. 136-137) ประเพณปี อยส่างลองเป็นประเพณสี ำคัญท่ีมีอทิ ธิพลต่อชวี ิตของชาวไทใหญ่อย่างสงู เพราะชาวไทใหญ่ เป็นพุทธศาสนิกชนที่มีความเคารพและศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด การท่ีได้ส่งลูกชายหรือลูกหลาน ฝ่ายชายไปบวชเป็นสามเณร จึงเป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้นชาวไทใหญ่จึงได้ทุ่มเทแรงกายและกำลังทรัพย์ ในการจัดงานปอยสา่ งลองใหย้ ง่ิ ใหญท่ ่สี ดุ สำหรบั ลกู หลานของตน สำหรับครอบครัวที่ไม่มีฐานะ อาจจะลำบากในการหาทุนทรัพย์มาจัดงานก็จะมีผู้ที่มีฐานะรับเป็น เจ้าภาพบวชให้ โดยถือเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์ เรียกว่า พ่อข่าม - แม่ข่าม และจะได้รับการยกย่องจากคนในสังคม ว่า พ่อส่าง -แมส่ ่าง อันหมายถงึ พอ่ แมข่ องสามเณร เอกลักษณข์ องประเพณีปอยส่างลองท่ีทุกคนนึกถงึ คือ สีสนั อันฉดู ฉาดของเครื่องแต่งกายของส่างลอง การประดับประดาเคร่ืองใช้ไม้สอยต่าง ๆ ของสา่ งลอง มีท่มี าจากความเชื่อท่เี ชื่อมโยงถงึ พุทธประวัติ เมื่อคร้ังท่ี พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะนั้น พระองค์ทรงมีชีวิตที่สุขสบาย ด้วยตำแหน่งเจ้าชาย ที่มีแต่ผู้เอาใจใส่ให้อยู่สุขสบายทั้งกายและใจ ร่ำรวยด้วยทรัพย์สินเงินทอง และมีสถานภาพสูงส่ง แต่เม่ือ พระองค์ได้ตัดสินใจจะมุ่งหน้าค้นหาทางออกแห่งทุกข์ ทำให้พระองค์ละทิง้ ทกุ อย่าง ทั้งทรัพย์สินเงินทอง และ เสื้อผ้า เครื่องทรงของเจ้าชายไปสู่ร่มกาสาวพัสตร์ จึงทำให้การแต่งกาย และการประดับร่างกายของส่างลอง ด้วยเครื่องแต่งกายที่สวยงาม เปรียบได้กับเครื่องทรงของเจ้าชายสิทธัตถะนั้น จึงเป็นคติให้ส่างลองได้คิดว่า เครื่องแต่งกายสวยงาม และการประดับตกแต่งร่างกายอย่างวิจิตรนั้นเป็นเหมือนกิเลสของมนุษย์ เป็นเพียง ของนอกกาย เมื่อตัดสินใจก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้วก็ต้องเปลื้องเครื่องทรงเหล่านั้นออก และใช้เพียงผ้า สบง จวี รหม่ กาย และแม้แต่เส้นผมก็ต้องปลงทง้ิ ต้องไมย่ ดึ มนั่ ถือมั่นใด ๆ อีกตอ่ ไป ประเพณีปอยสา่ งลองมักจะจัดข้นึ ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ซง่ึ เปน็ ชว่ งฤดูร้อนที่เสร็จส้ิน จากการเก็บเก่ียว สำหรับวิถีชีวิตปัจจุบันนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวจะตรงกับช่วงเวลาปิดภาคเรียนฤดูร้อน เดก็ ๆ ที่จะบวชเณร จะมเี วลาวา่ งท่ีจะเตรียมตัวบวช เพราะจะต้องใช้เวลาประมาณ 7 - 10 วัน ในการท่องจำ

11 I ประวตั ิศาสตรท์ อ้ งถิน่ และความหลากหลายทางชาตพิ ันธข์ุ องภาคเหนอื ตอนบน : ไทยวน คำขอบรรพชา และคำให้ศีลให้พร ดังนั้นพ่อแม่จะส่งลูกหลานไปเตรียมตัวที่วัดด้วยการฝากฝังกับเจ้าอาวาส สว่ นงานบวชนน้ั จะใช้เวลาทัง้ หมด 3 วนั การจัดปอยส่างลองแต่ละปี จะมีจำนวนส่างลองที่จะบวชจำนวนหลายสิบคน จึงต้องมีการประชุม เพื่อปรึกษาหารือกันในชุมชนว่า ใครจะเป็นเจ้าภาพใหญ่ และต้องหาผู้ที่ทำหน้าท่ี ตะแปส่างลอง สำหรับ ส่างลองแต่ละคน ปัจจุบันการจัดงานบวชจะนิยมจัดภายในวัดทั้งหมด จึงต้องมีการตระเตรียมสถานที่ภายใน วัด เช่น จัดซุ้มสำหรับส่างลองแต่ละครอบครัวที่จะพัก การตั้งเวทีการแสดง โดยจะมีการแสดงให้ชมตลอด ช่วงเวลาการจัดงาน เป็นต้น โดยช่วงเวลา 2 - 3 วันก่อนที่จะเริ่มงานบวช จะจัดเตรียมข้าวของทุกอย่างให้ พร้อม เมอ่ื ถึงวันงาน ผทู้ ีจ่ ะบวชเณรจะต้องอาบนำ้ ท่แี ชเ่ งิน ทอง และเครื่องหอม จากนน้ั จงึ ไปสมาทานศีลและ รับศีล และเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นเสมือนเจ้าชาย โดยมีตะแปส่างลองเป็นผู้ดูแล ตะแปส่างลอง คือ ผู้ที่มี หน้าทคี่ อยดแู ลสา่ งลองตลอดทง้ั งาน เพราะเม่ือเร่มิ พธิ แี ล้วจะไมใ่ ห้สา่ งลองเหยียบพ้ืนดิน โดยเม่ือจะไปท่ีใดส่าง ลองจะตอ้ งขคี่ อตะแปส่างลองเทา่ น้นั ระหว่างการเตรียมงานก่อนพิธีบวช จะมีการแห่ขบวนพาส่างลองไปไหว้ศาลหลักเมือง และไปกราบ เจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ ในหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียง ตลอดจนไปตามบ้านญาติพี่น้อง ซึ่งเปรียบเสมือนกับ เจ้าชายเสด็จประพาสเยี่ยมเยือนชาวบ้าน หากบ้านใดที่ได้ต้อนรับส่างลองจะถือว่าโชคดีและมีบุญที่ได้รับ ตอ้ นรบั อลอง หรือพระโพธสิ ัตว์ โดยแต่ละบ้านจะจัดเตรียมอาหารว่างเพื่อถวายสา่ งลองและเล้ยี งดูปูเสื่อขบวน ทีแ่ ห่ส่างลองมาถึงบา้ น และญาตผิ ูใ้ หญจ่ ะผกู ข้อมือเพ่ือใหพ้ รแก่สา่ งลอง วันที่สองของงานเป็นวันข่ามแขก หรือวันที่เลี้ยงรับรองญาติพี่น้อง และแขกที่มาจากต่างหมู่บ้าน ซึ่งในวันนี้จะมีการจัดพิธีสำคัญ 3 พิธีกรรม คือ 1) การแห่โคหลู่ หรือการถวายเครื่องไทยธรรม 2) การเลี้ยง อาหารส่างลอง ด้วยอาหาร 12 ชนิด ซ่งึ แตเ่ ดิมนนั้ นิยมจัดอาหารเล้ียงส่างลองถงึ 32 ชนิด แต่ในปัจจุบันจะจัด เพียง 12 ชนิด เพื่อความสะดวกของเจ้าภาพ และ 3) พิธีเรียกขวัญส่างลอง ซึ่งในวันนี้เป็นเป็นเตรียมบวชวัน สดุ ทา้ ย จงึ มีการเลย้ี งภตั ตาหารพระภกิ ษสุ ามเณรและแขกท่ีมาร่วมงาน ทำให้เจ้าภาพมีหน้าทใี่ หท้ ำหลายอยา่ ง ในวันสุดท้ายของงานปอยส่างลอง จะเป็นวันประกอบพิธีบรรพชา ตะแปส่างลองและเจ้าภาพ จะแห่ส่างลอง โดยให้สา่ งลองข่ีมา้ หรือขีค่ อตะแปสา่ งลอง ซง่ึ เปรียบเสมือนม้ากณั ฐกะ มา้ ทรงของเจ้าชายสทิ ธัต ถะที่พาเจ้าชายออกจากวัง เมื่อขบวนแห่มาถึงวัดจะเวียนรอบโบสถ์ จำนวน 3 รอบ และประกอบพิธีบรรพชา ในโบสถจ์ งึ เปน็ อนั เสร็จสิ้นพิธี (สถาบันวจิ ยั สงั คม, 2551) กล่าวได้ว่า ชาวไทใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งท่ีมีถิ่นที่อยู่ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน โดยตั้ง ชมุ ชนกระจายไปนับตั้งแต่มณฑลยูนนาน สาธารณรฐั ประชาชนจีน โดยมถี ่ินกำเนดิ ณ รัฐฉาน สาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมียนมา และในประเทศไทยนั้นมชี าวไทใหญ่อาศยั อย่จู ำนวนมากในพืน้ ทจี่ งั หวดั แม่ฮ่องสอน ซึง่ เปน็ ถ่ิน ที่อยู่หลัก เพราะสภาพภูมิประเทศที่มีเขตติดต่อกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จึงทำให้มีการอพยพ โยกย้ายของชาวไทใหญ่เข้ามาอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งกลุ่มชาวไทใหญ่ที่อพยพเข้ามาในช่วงหลังจากที่ทุก ท้องถ่ินถกู รวมเขา้ เปน็ ประเทศไทยแลว้ น้นั มักจะถูกเรียกวา่ เป็นกลุม่ “ไทนอก” หรอื “ไตนอก” และเรียกกลุ่ม ชาวไทใหญ่ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นเวลานานว่า “ไทใน” หรือ “ไตใน” โดยกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไท ใหญจ่ ะมีประเพณปี อยสา่ งลอง เปน็ ประเพณสี ำคัญท่มี ีอิทธิพลต่อชีวิตของชาวไทใหญ่อยา่ งสูง การได้ส่งลูกชาย หรือลูกหลานฝ่ายชายไปบวชเปน็ สามเณร จึงเปน็ การทำบุญที่ยิ่งใหญ่ ดงั น้นั ชาวไทใหญจ่ งึ ได้ทุ่มเทท้ังแรงกาย และกำลังทรัพย์ ในการจัดงานปอยส่างลองใหย้ ิ่งใหญท่ ี่สดุ สำหรับลูกหลานของตน อีกทง้ั ชาวไทใหญ่ยังมีความ โดดเด่นทางวัฒนธรรมในดา้ นภาษา ด้านการแต่งกาย ด้านอาหาร วฒั นธรรม ความเช่อื ประเพณีและพิธีกรรม ทสี่ ำคญั ตา่ ง ๆ

12 I ประวตั ิศาสตร์ทอ้ งถ่ินและความหลากหลายทางชาติพนั ธ์ขุ องภาคเหนอื ตอนบน : ไทยวน เอกสารอา้ งองิ จิตร ภูมิศักดิ์. (2544). ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของ ชอื่ ชนชาติ ฉบบั สมบรู ณ์ เพมิ่ เติมข้อเท็จจริงวา่ ดว้ ยชนชาตขิ อม. กรุงเทพฯ: ศยาม. ณัฐนรี รัตนสวัสด์ิ. (2556). ผลกระทบของประเพณีปอยส่างลองต่อวิถีชีวิตชุมชนในอำเภอเมือง จังหวัด เชยี งใหม่. เชยี งใหม่: มหาวทิ ยาลัยราชภัฏเชียงใหม.่ ธิตินัดดา จินาจันทร์ และ วราภา เลาหเพ็ญแสง. (2547). โครงการศึกษาวิจัยองค์ความรู้ทางคติชนวิทยา ล้านนา: นิทานประจำถิ่นล้านนาในวิถีชีวิตชาวล้านนาปัจจบุ ัน ปีท่ี 1 : เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน. เชยี งใหม่: สถาบนั วจิ ยั สังคม มหาวิทยาลยั เชยี งใหม่. ธติ นิ ดั ดา มณวี รรณ์ และยุทธการ ขนั ชัย. (2552). ศิลปะการแสดงพ้นื บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่. เชียงใหม่: สถาบันวจิ ัยสงั คม มหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม่. ธรรศ ศรีรัตนบัลล์ และ นันท์ชญา มหาขันธ์. (2560). การสร้างความเป็นไทใหญ่แม่ฮ่องสอนผ่านความเช่ือ โหราศาสตร์. วารสารวชิ าการมหาวทิ ยาลัยธนบรุ ี. 11(26). ธรรศ ศรีรตั นบัลล์ และ คณะ. (2560). ขนมกบั การสร้างความเปน็ ไทใหญแ่ ม่ฮ่องสอน: มองผา่ นขนมอาละหว่า เปงม้ง สว่ ยทะมิน. ศาสตรพ์ ระราชาเพอ่ื การพฒั นาท่ียัง่ ยนื . บัณฑิต อินทุฤทธิ์ (2556). เครือข่ายแรงงานข้ามชาติกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่จากรัฐฉาน. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและสาละวินศึกษา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราช ภัฏเชยี งใหม.่ ประสาน เล้าอรณุ . (2562). คตหิ ง้ิ พระไทใหญ:่ จรยิ ธรรมและจารตี ของชาวไทใหญ่ในเขตอำเภอแมส่ าย จังหวัด เชียงราย. วารสาร มจร พทุ ธปัญญาปริทรรศ. 4(3). น. 299 – 314. ปานแพร เชาวน์ประยูร. (2553). ทวิลักษณ์:การต่อสู้และการปรับตัวของชาวไทใหญ่พลัดถิ่นในจังหวัด เชียงใหม่. วารสารมหาวทิ ยาลยั ศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 30(1). น. 41 – 68. ปิ่น บตุ ร.ี (2562). ประเพณีปอยส่างลอง. สบื คน้ จาก https://mgronline.com/travel/detail/9620000033228 เรณู วชิ าศลิ ป์ (ม.ป.ป.). ปรทิ รรศนว์ รรณกรรมไทใหญ่. เอกสารอัดสำเนา. เรณู วิชาศิลป์ (ม.ป.ป.). ภาษาไทใหญ.่ เอกสารอดั สำเนา. ลัดดาวัลย์ แซ่เซียว (2551). ชาวไทใหญ่ กับประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่. ใน ไทใหญ่ ความเป็นใหญ่ในชาติพันธ์ุ. เชยี งใหม่: สถาบันวจิ ยั สังคม มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม่. สถาบันไทใหญ่ศึกษา วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน (12 กุมภาพันธ์ 2559). เวทีเสวนาวิชาการวัฒนธรรม ไทใหญ่และลานกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมไทใหญ่. สืบค้นจาก http://www.taiyai.org/2011 /index.php?page=69a256025f66e4ce5d15c9dd7228d357&show=29&exid=342 สถาบนั วิจยั สังคม มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม่. (2551). ไทใหญ่ ความเป็นใหญ่ในชาตพิ ันธ์ุ. เชียงใหม่: สถาบนั วจิ ัยสังคม มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม.่ สุพรรณี เรืองสงค์ และ อรพัช บวรรักษา. (2563). คำศัพท์เกี่ยวกับการปรุงอาหารในภาษาไทใหญ่: การศึกษา ตามแนวอรรถศาสตรช์ าตพิ ันธ์ุ. วารสารศลิ ปศาสตร์. 20(2). น. 142 – 171. สายสม ธรรมธิ. (2538). ลายสกั ไทใหญ่. เชียงใหม่: สถาบนั วจิ ยั สังคม มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม.่ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (ม.ป.ป.). กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.sac.or.th/ databases/ethnic-groups/ethnicGroups/131

13 I ประวตั ิศาสตรท์ อ้ งถิน่ และความหลากหลายทางชาติพนั ธุข์ องภาคเหนอื ตอนบน : ไทยวน กลมุ่ ชาตพิ ันธไุ์ ทยวน และประเพณีสงกรานตห์ รอื ปใี หม่เมอื งของลา้ นนา ประเพณีสงกรานต์ หรือปใี หม่เมืองของล้านนา ท่มี า: https://www.topchiangmai.com/culture ฐาปนีย์ เครอื ระยา สำนกั ส่งเสรมิ ศลิ ปวฒั นธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

14 I ประวตั ิศาสตร์ท้องถิน่ และความหลากหลายทางชาติพนั ธ์ุของภาคเหนอื ตอนบน : ไทยวน รากฐานทางวัฒนธรรมของชาวไทยวนล้านนา เกิดจากการหลอมรวมของอารยธรรม 2 แห่ง ที่มีความเจริญรุ่งเรือง คือ อารยธรรมหริภุญชัย มีอายุในพุทธศตวรรษที่ 12-13 และอารยธรรมเชียงแสน เม่อื ประมาณพุทธศตวรรษท่ี 14 ทงั้ สองอารยธรรมน้ีไดส้ ่งผลให้เกดิ ล้านนาข้ึนโดยการสถาปนาของพญามังราย กษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยาง องค์ที่ 25 (เมืองนี้อยู่แถบแม่น้ำสาย และดอยตุง ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัด เชียงราย) ในราชวงศ์ลวจังกราช ปู่เจ้าลาวจก ได้เริ่มตีเมืองเล็กเมืองน้อย ตั้งแต่ลุ่มน้ำแม่กก น้ำแม่อิง และ แม่นำ้ ปิงตอนบน รวบรวมเมืองต่าง ๆ ให้เปน็ ปึกแผ่น จนสถาปนาอาณาจกั รล้านนาขึ้น โดยสร้างเมอื งเชียงใหม่ เปน็ ศูนยก์ ลางในปี พ.ศ. 1839 (อรณุ รตั น์ วิเชียรเขยี ว, เดวดิ เค. วัยอาจ, 2547: น. 46) ชาวล้านนา คือ กลุ่มไทยวนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดภาคเหนือ ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพนู ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน และบางสว่ นของจังหวัดแม่ฮ่องสอน แตก่ ไ็ มม่ ากนักเพราะจังหวัดแม่ฮ่องสอน มกี ล่มุ ไทใหญ่อาศัยอยู่มากท่ีสุด และอำเภอลับแล จงั หวดั อตุ รดติ ถ์ นอกจากน้ียังมีกลุ่มไทยวนที่ถูกกวาดกวาด ต้อนจากการทำสงคราม คือ อำเภอเมือง อำเภอเสาไห้ และอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี อำเภอสีคิ้ว จังหวัด นครราชสีมา และตำบลคบู วั อำเภอเมอื ง จงั หวัดราชบุรี เปน็ ตน้ สังคมและวัฒนธรรมของชาวล้านนาในอดีตเป็นสังคมการเกษตร นับถือพุทธศาสนา และมีประเพณี ทีย่ ึดถือปฏบิ ัติกนั มาอยา่ งยาวนาน เช่น พิธีตั้งธรรมหลวง ประเพณีทานข้าวสลาก ประเพณปี ใี หม่เมือง เป็นต้น ซึ่งประเพณีปีใหม่เมืองถือเป็นประเพณีที่มีระยะเวลายาวนานหลายวัน โดยแต่ละวันจะมีกิจกรรมและ การปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งชาวล้านนาจะให้ความสำคัญกับประเพณีปีใหม่เมืองเป็นอย่างมาก เพราะ เชอ่ื ว่าเปน็ วนั ขึ้นปีใหม่ ท่ตี ้องทำสิ่งอนั เปน็ มงคล เพอ่ื สง่ ผลให้กบั ชีวติ ทด่ี ี และเจริญรุ่งเรือง วนั ปีใหม่เมือง วันปีใหม่เมืองหรือวันสงกรานต์ (ล้านนาอ่าน “สังขาน”) มีหมายความตรงกันกับคำว่า “สงกรานต์” ของภาคกลาง เพราะมาจากภาษาสันสกฤตว่า “สงกรานติ” ที่แปลว่า เคลื่อนไป หมายถึง การที่ดวงอาทิตย์ ย้ายราศี จากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าในแต่ละปีจะมี “สงกรานต์-สงกรานต์” ถึง 12 คร้ัง ตามการแบ่งวงกลมแห่ง “วัฏฏะ” ที่เป็นตัวกำหนดเวลา ตามการหมุนของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่มี ลักษณะเปน็ วงกลม และมีโลกเปน็ ศนู ยก์ ลาง ซ่ึงวงกลมนี้จะแบง่ ออกเปน็ 12 ช่อง หรือ 12 เดอื นในหน่งึ ปี โดย แต่ละช่องของวงกลมจะตกที่ 30 องศาเท่ากัน ทางโหราศาสตร์เรียกว่า “ราศี” (สนั่น ธรรมธิ, 2553: น. 11) ครั้งที่มีความสำคัญที่สุด คือ การที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ โดยจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน บางปี จะตรงกับวันที่ 13 -14 -15 หรือบางปีอาจจะตรงกับวันที่ 14 -15 -16 ตามหลักของการคำนวณทาง โหราศาสตร์ (สน่นั ธรรมธ,ิ 2553: น. 13) แต่ปจั จุบนั ทางราชการของไทยได้กำหนดเป็นวันที่ 13 -14 -15 ซึ่ง บางปีวันสงกรานต์จะไม่สัมพันธ์กับวันหยุดราชการ จึงทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่า วันปีใหม่เมืองหรือวัน สงกรานต์จะเป็นวันที่ตายตัว จะต้องอยู่ในช่วงวันที่ 13 -14 -15 เท่านั้น ซึ่งเป็นความเชื่อที่คนส่วนใหญ่ยัง เขา้ ใจผิดเป็นอย่างมาก กรณีนีอ้ าจเทยี บได้กบั วนั ลอยกระทงท่ใี นแตล่ ะปีไม่มีการกำหนดวันทตี่ ายตัว ดว้ ยแต่ละ ปีจะเปล่ียนแปลงเปน็ วนั ทต่ี ่าง ๆ ได้ ตามคติการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ การเข้าสู่ราศีดังกล่าวถือเป็นการเริ่มปีใหม่ ทางล้านนาจะเรียกการที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนย้ายไปสู่ราศี ใหม่ว่า “สงกรานต์ล่อง” (สังขานต์ล่อง) คือ วันส่งท้ายปีเก่าเพื่อเตรียมต้อนรับปีใหม่ ประเทศในเอเชีย

15 I ประวตั ิศาสตรท์ อ้ งถน่ิ และความหลากหลายทางชาติพันธ์ขุ องภาคเหนือตอนบน : ไทยวน ตะวันออกเฉียงใตร้ ับประเพณีสงกรานต์ต้นแบบมาจากอินเดีย ดงั น้นั ในหลายประเทศจงึ มีพิธีกรรมมท่ีคล้ายกัน แต่จะแตกต่างกนั ในรายละเอียดปลีกย่อย เพราะการรับความคิดและความเชื่อใด ๆ เมื่อส่งผ่านช่วงเวลาระยะ ยาว รวมถึงการผสมผสานกับแนวคิดและความเชื่อที่แตกต่างกัน จะทำให้ถูกปรับเข้ากับ “ตัวตน” หรือ วัฒนธรรมของท้องถ่ินนัน้ ๆ การปฏิบัติตนในช่วงประเพณีปีใหม่เมืองของชาวไทยวนในล้านนา จะมีหลายวัน โดยแต่ละวัน จะมีการปฏิบัติที่ต่างกัน ซึ่งจุดประสงค์เพื่อล้างสิ่งไม่ดี และสิ่งเก่า ๆ ออกไปจากชีวิต เพื่อต้อนรับสิ่งใหม่ ที่จะเกิดขึ้นในปีใหม่ เสมือนเป็นการแฝงแนวทางการปฏิบัติให้พัฒนาตนเอง ไม่ยึดติดกับสิ่งเก่า และเปิดรับ สิ่งใหม่ ๆ เข้ามาในชีวิต รวมถึงการพร้อมที่จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต โดยจะมีวันสำคัญ คือ วันสงั ขานตล์ ่อง วนั เนา วันพญาวัน และวนั ปากปี วันสงั ขานต์ลอ่ ง ในตอนเช้ามืดของวันสังขานต์ล่องจะมีการจุด “สะโพก” (อ่าน “สะโป๊ก”) ซึ่งทำมาจากไม้ไผ่ลำใหญ่ ใส่ถ่านแก๊ส หรือแก๊สที่ใช้บ่มผลไม้ และน้ำลงไปในรูกระบอกไม้ไผ่ จากนั้นจุดไฟ จะทำให้เกิดเสียงดัง สนั่น หวั่นไหว หากผู้ใดมีปืนจะต้องยิงกระสุนที่ค้างในลำกล้องออกไป โดยเชื่อว่าปืนที่ยิงในวันนี้จะแม่นนัก นอกจากน้ียังมีเรื่องเล่าจากผู้ใหญ่ที่เล่าให้เด็กฟังว่า “ปู่ย่าสังขานต์” จะแต่งตัวด้วยชุดแดงทั้งคู่ สะพายย่าม ขนาดใหญ่ ปากคาบกล้องยาเส้น และถ่อแพล่องไปตามน้ำหรือตามถนน ซึ่งเด็ก ๆ มักจะไปดักรอดูอยู่ แต่ไม่ เคยมีผู้ใดบอกวา่ ไดเ้ คยพบเห็นบุคคลทัง้ สอง ทั้งนี้ยังมีเรื่องเลา่ ของคนไทยในภาคกลางทีก่ ล่าวถงึ “ท้าวกบิลพรหม” ที่ถูกตัดเศียรออก แต่เศียรนั้น ไมส่ ามารถนำไปวางไว้ ณ ทีใ่ ดได้ ทัง้ บนสวรรค์ และโลกมนษุ ย์ จงึ เป็นหนา้ ทข่ี องธิดาท้าวกบิลพรหมท้ัง 7 องค์ ชอ่ื วา่ นางทุงษเทวี ราโคเทวี รากษสเทวี มณฑาเทวี กิรินีเทวี กมีทาเทวี และมโหธรเทวี ซ่ึงจะต้องผลัดเปลย่ี น กนั เปน็ นางสงกรานต์ แล้วรบั เอาเศยี รทา้ วกบลิ พรหมวนไปเวยี นรอบเขาพระสุเมรไุ ด้ 50 นาที จากนนั้ เชญิ ไปไว้ ในมณฑปในถ้ำคันธคีรีที่เขาไกรลาส พอถึงรอบในหนึ่งปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมผู้น้องรอง ๆ ลงมา จะ ผลดั เปลยี่ นกนั ไปรับเอาเศียรของทา้ วกบิลพรหม และนาํ มาแหร่ อบเขาสเุ มรุเป็นประจำทุกปี แต่ทางภาคเหนือ จะมชี อ่ื นางสงกรานต์ท่ีแตกต่างกันออกไป ดงั ปรากฎในเอกสารใบลานเร่ือง “หนังสอื ปใี หม่เมือง ฉบับวัดเจดีย์ หลวง จังหวัดเชียงใหม่” (ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว, 2546: น. 79) ดังนี้ นางธัมมสิริ มโหสถา สุนันทา ศิรินันทา กัญญา ลิตา ตโปตา นอกจากนั้นบางตำรายังมีชื่ออื่นอีก เช่น นางแพงสี มโนรา มันทะ (มันตะ มันทา มนทา) กญั ญา รนิ ทะ ยามา (มายา มยา) เปน็ ตน้ ในทางโหราศาสตร์ล้านนา “สังขานต์ล่อง” หมายถึง พระอาทิตย์ย้ายมาจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ในช่วงวันเวลาใด จะเรียกวันนั้นวา่ วนั สังขานต์ล่องหรือสงั ขานต์ไป คือ ถือเอาพระอาทติ ยเ์ ป็นตัวสังขานต์และ เรียกว่า “พระญาสังกรานต์” เมื่อพระอาทิตย์ย้ายเข้าสู่ราศีเมษเวลาใด จะมีการจุดสะโพก จุดพลุ จุดประทัด และยิงปืนขึ้นฟ้า จากนั้นทางวัดจะย่ำระฆัง บางแห่งก็จะใช้ค้อนหรือไม้ไปเคาะตามต้นไม้ โดยเชื่อว่า หากได้ เคาะแล้ว ในปีนัน้ ต้นไมจ้ ะมีลูกดก (มลู นธิ สิ ารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานชิ ย,์ 2542: น. 6723) ในช่วงเช้าของวันสังขานต์ล่อง ทุกบ้านจะต้องทำความสะอาด ปัดกวาดและเช็ดถูบ้านเรอื นให้สะอาด เรียบร้อย ซึ่งถือเป็นการนำเอาของเสีย และของเก่าออกจากบ้านไป รวมถึงคนก็ต้องทำความสะอาดชำระล้าง

16 I ประวัติศาสตร์ทอ้ งถนิ่ และความหลากหลายทางชาตพิ ันธ์ุของภาคเหนอื ตอนบน : ไทยวน ร่างกายใหส้ ะอาด ตลอดจนการประพรมน้ำพุทธมนต์ น้ำส้มป่อย นำ้ อบ และน้ำหอม โดยเช็ดพรมตามเนื้อตาม ตัว หรือใช้สระหัว ที่เรียกว่า “ดําหัว” ซึ่งเป็นการเช็ดสิ่งไม่ดี หรือกาลกิณีออกทิ้งไป และระหว่างวันจะ จดั เตรยี มข้าวของท่ีจะนำไปทำบุญ และดำหัวญาติผ้ใู หญ่ นำ้ ส้มป่อย วันเนา วันเนา วันเนาว์ หรือวันเน่า เป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ระหว่างราศีมีนและราศีเมษ ซึ่งถัดจาก วันสังขานต์ล่อง ในทางโหราศาสตร์หมายถึง วันสุกดิบ เป็นช่วงของวันที่เร่ิมเข้าส่รู าศีเมษแลว้ แต่ยงั ไม่เขา้ เต็ม ราศี อยู่ระหว่างวันสังขานต์ล่อง อันเป็นวันสิ้นสุดของปีเก่าและกำลังเข้าสู่วันพระญาวันหรือวันเถลิงศกใน ศักราชใหม่ ล้านนานยิ มเรียกวา่ วันเน่า โดยปกติจะมีวันเน่าเพียง 1 วัน แต่นาน ๆ ครั้ง จะมีวันเนาสองวนั ซึ่ง ชาวล้านนาเชื่อว่า วันเนาเป็นวันพิเศษที่ห้ามพูดคำหยาบ ห้ามด่าทอ ห้ามนินทากัน และต้องประพฤติตนเป็น คนดี เพราะหากทำตวั ไมด่ จี ะส่งผลให้เกิดสิ่งไม่ดีไปตลอดปี ในวนั เนา จะเปน็ วนั เตรียมทำอาหารและทำขนม เตรยี มขา้ วของสำหรับการดำหัว และเครื่องพิธีกรรม ในช่วงวันหลังปีใหม่ ซึ่งทุกบ้านมักจัดเตรียมทำอาหารและขนม ประเภทแกงฮังเล แกงจืด แกงเผ็ด ห่อนึ่งไก่ (ห่อหมก) ขนมจ๊อก (ขนมเทียน) ข้าวต้มมัด และของขบเคี้ยวต่าง ๆ เช่น หมาก เหมี้ยง บุหรี่ พลู ข้าวเกรียบ ข้าวแต๋น รวมถึงผลไม้ตามฤดูกาล เช่น มะม่วง มะปราง แตงโมง แตงไทย เป็นต้น ซึ่งข้าวของเหล่านี้จะ จัดเตรียมและจัดทำด้วยความบรรจง เพื่อนำไปถวายพระในวันรุ่งขึ้น ส่วนข้าวของที่จะใช้ในการดำหัวญาติ ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ จะเป็นเสื้อผา้ ชุดใหม่ ขนมขบเคี้ยว และของแห้ง เช่น ปลาแห้ง วุ้นเส้น ข้าวสาร พริกแห้ง เกลือ รวมถึงพืชผลทางการเกษตรที่ผลิตได้ในครัวเรือน เช่น ฟักทอง หอม กระเทียม รวมถึงดอกไม้ และน้ำ สม้ ป่อย

17 I ประวตั ศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ และความหลากหลายทางชาติพนั ธุข์ องภาคเหนอื ตอนบน : ไทยวน ขนมจ๊อกหรอื ขนมเทียน สวยดอก สำหรับถวายพระ ช่วงตอนเย็นของวันเนา กลุ่มหนุ่มสาวจะพากันไปขนทรายที่ท่าน้ำ เพ่ือนำไปเทรวมกันท่ีวัด โดยทาง วัดจะเตรียมพื้นที่สำหรับก่อเจดีย์ทรายกองใหญ่ โดยใช้ไม้ไผ่สานเป็นเสวียนซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น เสมือนเป็น เจดีย์ จากนั้นทุกคนที่นำทรายมา จะเททรายลงไปในเสวียนจนสูงขึ้นเป็นชั้น ๆ โดยชาวล้านนาเชื่อว่า ในแต่ ละวันที่เดินเข้าวัดจะมีเศษดินและทรายติดเท้าออกมาด้วย จึงต้องขนทรายเข้าวัดแทนเพื่อไม่ให้เป็นบาป ติดตัว ซึ่งกิจกรรมขนทรายเข้าวัด จะทำให้ผู้คนในชุมชนได้มาพบปะพูดคุย และทำความรู้จักกัน วนั พญาวัน วันพญาวัน หมายถึง วันที่มีความสำคัญที่สุดในปี เพราะเป็นวันเฉลิงศก และวันขึ้นปีใหม่ของชาว ล้านนา ถือเป็นวันลำดบั ท่ีสามในเทศกาลสงกรานต์ ในวันนีค้ วรทำบุญเพื่อความเป็นสริ ิมงคล ดังนั้นในช่วงเชา้ การทานขันข้าว (ถวายภัตตาหาร)

18 I ประวัติศาสตรท์ อ้ งถ่ินและความหลากหลายทางชาติพันธขุ์ องภาคเหนอื ตอนบน : ไทยวน จึงได้นำอาหารและของที่เตรียมไว้ไปถวายพระที่วัด จากนั้นนำตุงไปปักไว้บนเจดีย์ทรายที่ขนทรายเข้าวัด เมื่อวาน (วันเนา) โดยตุงที่ใช้จะเป็นตงุ มงคลนวันปีใหม่ คือ ตุงไส้หมู และตุงตัวเพิ้ง (ตุงสิบสองราศี) ซึ่งเชื่อว่า การถวายตุงจะช่วยให้ผลบุญกุศลที่ทำไปสง่ ไปยังผู้ล่วงลับ และเป็นการต่ออายุให้กับตัวเอง และในช่วงบ่ายจะ เปน็ การเขา้ วัดฟงั พระธรรม นอกจากนั้นในวันนี้ยังนิยมจัดเครื่องสักการะบูชา เพื่อประกอบพิธีขอขมา และแสดงความเคารพ ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตัวเองนับถือ เช่น หอเจ้าที่ หอผีปู่ย่า การไหว้ขันครูของช่าง เป็นต้น หากผู้ใดมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเครื่องรางของขลังก็จะนำออกมาทำความสะอาดด้วยน้ำส้มป่อย ซึ่งชาวล้านนาเชื่อว่า น้ำที่แช่ด้วยฝัก ส้มป่อยจะช่วยขจัดสิ่งอัปมงคลออกไปได้ และทางวัดจะนำพระพุทธรูปสำคัญออกมาให้คนในชุมชนได้สรงน้ำ เพือ่ ความเป็นสิริมงคลดว้ ย ในช่วงตอนบ่ายและตอนเย็นของวันนี้ บางพื้นท่ีจะมีการแห่ไม้ค้ำโพธิ์ (ไม้คำสะหลี) ไปวัด ซึ่งวัดในภาคเหนือเกือบทุกวัดจะมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ แฃะด้วยความศรัทธาต่อต้นโพธิ์ว่า เป็นโพธิพฤกษ์หรือ ต้นไม้ประจำพระพุทธเจ้า จึงได้มีประเพณีทานไม้ค้ำศรี (อ่านว่า“ตานไม้ก้ำสะหลี”) หมายถึง การถวายไม้ค้ำ ต้น คือ ถวายไม้ง่ามรองรับกิ่งโพธิ์ อันเป็นการแสดงสัญลักษณ์ของเจตนาแห่งการกระทำที่หมายถึง การค้ำชู พุทธศาสนา และเพื่อต่ออายขุ องผทู้ ่ีทานไม้คำ้ นน้ั ดว้ ย โดยจะมีขบวนแห่ไมค้ ำ้ หรือตกแต่งบนรถให้สวยงาม เมื่อ ขบวนถึงวัดจะนำไม้คำ้ โพธ์ิขึ้นค้ำ โดยชายหนุ่มทีแ่ ข็งแรงจะช่วยกันนำไม้ไปค้ำต้นโพธ์ิ เพราะไม้ค้ำแต่ละตน้ จะ การปักตงุ ทเ่ี จดยี ์ การสรงนำ้ พระพทุ ธรปู ท่ีวดั ทราย

19 I ประวตั ิศาสตร์ท้องถิน่ และความหลากหลายทางชาติพนั ธข์ุ องภาคเหนอื ตอนบน : ไทยวน ต้นใหญ่มาก หลังจากค้ำเสร็จ จะนิมนต์พระมารับการถวายไม้ค้ำโพธิ์ และรดน้ำส้มป่อยที่ตัวไม้ค้ำเพื่อขอขมา ครวั ทาน และรบั พรจากพระ เป็นอันเสร็จพิธี การแหไ่ มค้ ้ำสะหลี

20 I ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ และความหลากหลายทางชาตพิ ันธ์ขุ องภาคเหนือตอนบน : ไทยวน ตั้งแต่วันวันพญาวันเป็นต้นไป ลูกหลานจะเริ่มไปดำหัวหรือคารวะผู้อาวุโสในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งระยะเวลาในการดำหัวจะยาวไปจนถึงช่วงสิ้นเดือนเมษายน โดยเครื่องดำหัวประกอบด้วย เสื้อผ้าใหม่ เครอ่ื งอุปโภค บรโิ ภค ขันสมู าที่มีข้าวตอกดอกไม้ และนำ้ สม้ ปอ่ ย ในการการดำหวั ของชาวล้านนาจะไม่นิยมนำ น้ำส้มป่อยรดลงบนมือผู้อาวุโส แต่จะเทน้ำส้มป่อยลงในภาชนะของผู้อาวุโสในขันดอกที่เตรียมไว้ จากนั้นผู้ อาวุโสจะเอามือจุ่มนำ้ ส้มปอ่ ยข้ึนลูกศรี ษะของตนเอง และอาจสลัดใสผ่ ู้ไปดำหวั ในลกั ษณะคล้ายกับการปะพรม นำ้ มนต์ พรอ้ มกล่าวคำอนั เป็นมงคล จากนั้นผู้อาวุโสจึงให้พร เป็นอันเสร็จพิธี การดำหัว

21 I ประวตั ิศาสตร์ท้องถิน่ และความหลากหลายทางชาตพิ นั ธ์ขุ องภาคเหนอื ตอนบน : ไทยวน วนั ปากปี วันปากปีจะเป็นวันที่สี่ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งในวันน้ีจะมีพิธีทั้งที่บ้าน พิธีแพงบ้าน ใจบ้าน สง่ เคราะหบ์ า้ น และมพี ิธีทวี่ ัดดว้ ย ตอนเชา้ เรียกว่า วันส่งเคราะห์ วนั บูชาเคราะห์ บูชาขา้ วลดเคราะห์ ซึ่งพิธีน้ี จะให้พระบูชาให้หรืออาจารย์บูชาให้ก็ได้ ซึ่งเรียกว่า บูชาวันปากปี จะทำให้ได้รับความคุ้มครองไปตลอดปี ในตอนสายจะไปชมุ นุมท่ีกลางหมู่บ้าน เพื่อจัดพิธีแปลงบ้าน ส่งเคราะห์บ้าน (มูลนิธิสารานุกรมวฒั นธรรมไทย ธนาคารไทยพานิชย์, 2542: น. 6228) ในวันนี้ชาวล้านนาจะกนิ อาหารทีท่ ำมาจากขนนุ เชน่ แกงขนนุ ตำขนนุ น้ำพริกกบั ขนนุ นึ่ง โดยเชื่อว่า การกินขนุนจะช่วยหนุนนำชีวิตให้ประสบแต่ความสุข และความเจริญก้าวหน้า นอกจากนี้ในอดีตชาวล้านนา ยังถือว่าในช่วงปีใหม่ยังมีอีก 2 วัน คือ วันปากเดือน และวันปากวัน ซึ่งอยู่ถัดจากวันพญาวันไป 2 และ 3 วัน ตามลำดับ แต่ปจั จบุ ันวนั ท้งั สองน้ีไม่คอ่ ยจะมีความสำคัญมากนัก ตำบ่าขนุน ทม่ี า: (bloggang.com, 2563) แกงขนนุ ทมี่ า: (ตน้ กล้าความร.ู้ com, 2562)

22 I ประวตั ศิ าสตร์ท้องถ่นิ และความหลากหลายทางชาตพิ ันธ์ขุ องภาคเหนอื ตอนบน : ไทยวน เอกสารอา้ งอิง ไพฑูรย์ ดอกบวั แก้ว. (2546). ประเพณสี งกรานต์ ความเช่ือดั้งเดิมและการเปลี่ยนแปลง. เชยี งใหม่: สถาบนั วจิ ยั สังคม มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม.่ มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานิชย์. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 12 กรงุ เทพฯ: มูลนิธสิ ารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานิชย.์ มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานิชย์. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 13. กรงุ เทพฯ: มลู นิธสิ ารานุกรมวฒั นธรรมไทย ธนาคารไทยพานชิ ย์. สน่ัน ธรรมธิ. (2553). ปีใหมล่ า้ นนา. เชยี งใหม่: สำนักส่งเสรมิ ศลิ ปวัฒนธรรม มหาวิทยาลยั เชียงใหม.่ อรณุ รตั น์ วเิ ชียรเขียว, เดวิด เค. วัยอาจ. (2547). ตำนานพืน้ เมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: โอ เอส พรนิ้ ต้งิ เฮาส์. ต้นกล้าความร.ู้ com. (2562). แกงขนนุ . สืบค้นจาก https://www.xn--12cg3cq6bmlr1hc3fujdh.com/4786 bloggang.com. (2563). ตำบ่าหนุน (ตำขนนุ อ่อนแบบทางเหนือ). สบื คน้ จาก https://www.bloggang.com topchiangmai.com. (2558). ประเพณีสงกรานต.์ สืบค้นจาก https://www.topchiangmai.com/culture

23 I ประวัตศิ าสตร์ท้องถน่ิ และความหลากหลายทางชาติพันธ์ุของภาคเหนอื ตอนบน : ไทลอ้ื กลมุ่ ชาตพิ นั ธไ์ุ ทล้อื วัฒนธรรมการทอผา้ และประเพณตี านตงุ ประเพณีตานตงุ ท่ีมา: https://www.m-culture.go.th ฐาปนีย์ เครอื ระยา สำนกั ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลัยเชยี งใหม่

24 I ประวัตศิ าสตรท์ ้องถนิ่ และความหลากหลายทางชาตพิ นั ธุข์ องภาคเหนอื ตอนบน : ไทลื้อ ไทลื้อ เป็นชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ที่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ในแถบจีนตอนใต้ ลงมาจนถึงภูมิภาค ตะวันออกเฉยี งใต้ ซ่ึงตง้ั แตอ่ ดตี มีความเก่ียวโยงกนั กับประวตั ิศาสตร์ สงั คม และวฒั นธรรมของไทกลุ่มอ่ืนด้วย คอื ไทใหญแ่ ละไทยวน สว่ นกล่มุ ไทยองและไทเขนิ ต่างมรี ากฐานมาจากวฒั นธรรมล้ือ ซ่ึงอาจกลา่ วไดว้ ่า ไทลื้อ เป็นต้นกำเนิดของไทยองและไทเขินก็ได้ เพราะพื้นฐานทางประเพณี การแต่งกาย และภาษาของไทในกลุ่มน้ี จะมีความคล้ายคลึงกันมาก ทั้งนี้เน่ืองจากการอพยพยา้ ยถ่ินของคนไทลื้อไปในพื้นท่ีตา่ ง ๆ แล้วสร้างเมืองใหม่ ข้ึน จงึ เกิดการเรยี กชอ่ื คนไทลือ้ ตามเมืองที่อยอู่ าศัยนน้ั เชน่ คนเขิน อาศยั อยู่ในลมุ่ นำ้ ขนื และคนยอง อาศยั อยู่ ในเมืองยอง เป็นตน้ ทง้ั นป้ี ระวตั ศิ าสตรข์ องชาวไทลื้อ มีความสัมพนั ธก์ ับชาวไทใหญ่ด้วย เนื่องจากท้ังสองกลุ่ม นี้เป็น “คนไต” ที่อาศัยอยู่ในมณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของจีน ปัจจุบันชาวไทลื้อส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขต ปกครองตนเองชนชาตไิ ทสิบสองปันนา เมืองเชยี งรงุ่ เมืองฮาย และเมืองล้า และชาวไทใหญ่ ส่วนใหญ่อาศยั อยู่ ในเมอื งรยุ่ ล่ี เขตปกครองตนเองชนชาตไิ ท และจง่ิ พวั เต๋อหง หรอื ใตค้ ง ซงึ่ ไทใหญก่ ลุม่ น้บี างครงั้ จะเรียกตนเอง ว่า “ไตมาว ไตเหนอื ” ชาวไทลื้อมีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน ดังจะเห็นได้จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ของจีน ช่วงต้น ราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337) ที่กล่าวถึงชนชาติไต ในชื่อของ เตียนเย่ อาศัยในดินแดนกว้างใหญ่ทางตอนใต้ และ ตะวนั ตกของยนู นาน จวบจนในสมัยของราชวงศ์ถัง และราชวงศ์ซอ้ ง ชนเผ่าจินจื่อ (ฟันทอง) หยนิ จอ่ื (ฟันเงิน) และมังหมาน บรรพบุรุษของชนชาติไตได้ร่วมกันประกาศเอกราช และก่อตั้งอาณาจักรน่านเจ้าและต้าหลี่ข้ึน ทางตอนใต้ และตะวันตกของยูนนาน ต่อมาในปี พ.ศ. 1723 มีหลักฐานจากพงศาวดารลื้อ ฉบับภาษาไต บันทึกว่า พญาเจิง หรือพญาเจื่อง หัวหน้าเผ่าไต ได้มีชัยต่อเมืองลื้อ และได้รวบรวมเผ่าต่าง ๆ เข้าด้วยกัน พร้อมทั้งสถาปนาอาณาจักรหอคําเชียงรุ่งขึ้น โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเชียงรุ่ง (จูเหลียงเหวิน, งามพรรณ เวชชาชีวะ แปล, 2536: น. 4) โดยยอมรับอำนาจของอาณาจักรต้าหล่ี และได้ส่งบรรณาการไป ถวายจักรพรรดิจีนเป็นประจำทกุ ปี และจักรพรรดิได้ทรงมอบอำนาจปกครองให้กับเจา้ ผู้ครองนคร ซึ่งสืบทอด ตำแหน่งตามสายเลอื ด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2113 มีหลักฐานระบุในพงศาวดารนครเชียงรุ่ง เจ้าครองนครนามว่า ท้าวอินทร์ เมอื งแสนหวีฟา้ ไดแ้ บ่งเขตการปกครองดนิ แดนเป็นสิบสองเขต มีจุดประสงค์หลกั เพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษี จน เป็นที่มาของชื่อ “สิบสองพันนา” ในภาษาไต (สำเนียงตามชาวไทลื้อ) ซีซวง หมายถึง สิบสอง และพันนา หมายถึง เขตการปกครองในการจัดเก็บภาษี (ยรรยง จิระนคร (เจีย แยน จอง), ม.ป.ป. : น. 38) ซึ่งหากนับ จากพื้นท่ีของพันนาต่าง ๆ จะสามารถแสดงอาณาเขตคร่าว ๆ ของอาณาจักรสิบสองปันนาได้ โดยกล่าวถึง “ห้าเมิงวันตก หกเมิงวันออก” อันหมายถึง 5 เมืองในด้านตะวันตกของแม่น้ำโขง และหกเมืองตะวันออกของ แม่น้ำโขง และรวมเมืองเชียงรุ่งอีก 1 เมือง เป็น 12 ปันนา (สมหมาย เปรมจิตต์ และวสันต์ ปัญญาแก้ว, บรรณาธิการ. 2558: น. 76) โดยปันนาทั้งหมดสามารถจำแนกออกมาเป็น 28 หัวเมืองที่สำคัญ (บุญช่วย ศรี สวัสด,ิ์ 2547: น. 17) ซงึ่ พ้ืนที่ของอาณาจักรสบิ สองปันนาอยู่แถบมณฑลยูนนนานในจีน ตอนเหนือของรัฐฉาน ในพม่า และตอนเหนือของลาวในปัจจุบัน เมื่อถึงช่วงต้นของราชวงศ์ชิง พ.ศ. 2187 ระบอบการปกครองโดย เจ้าครองนครแทบจะหมดไปจากยูนนาน และผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็นผู้ได้รับการแต่งต้ังจากจักรพรรดิเหมือน

25 I ประวตั ิศาสตร์ท้องถิ่นและความหลากหลายทางชาตพิ ันธข์ุ องภาคเหนือตอนบน : ไทลือ้ ดินแดนส่วนอื่น ๆ ของประเทศ แต่ดินแดนไตบางส่วน เช่น สิบสองพันนา เมืองแลม เต้อหง และกิ่งมะ ยังคง รักษาระบบการปกครองตามแบบ ศักดนิ าเดิม จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลของประธานาธิบดีเหมา เจ๋อ ตุง ได้เปลี่ยนแปลงประเทศจีนเป็น สาธารณรัฐ มีระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ และนำทหารเข้ายึดอำนาจของเจ้าผู้ครองนครเชียงรุ่ง พร้อมกับเผาพระราชวังเวียงผาคราง ริมแม่น้ำโขง รวมถึงยึดอำนาจเจ้าเมืองไตในเมืองต่าง ๆ จน ทำให้ ระบอบกษัตริย์สิ้นสุดลง ทั้งยังมีมาตรการปฏวิ ตั ิวัฒนธรรม ด้วยการปลูกฝังและสร้างวฒั นธรรมจีนให้เป็นหนงึ่ เดียวส่งผลให้ศาสนาพุทธ ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต และความเช่ือของชาวไทลื้อสูญหายไป ต่อมาภายหลังท่ี มาตรการนี้ผ่อนคลายลง จึงได้มีการรื้อฟื้นวัฒนธรรมขึ้นมาใหม่ ในช่วงที่เกิดสงครามชาวไทลื้อได้อพยพออก นอกประเทศ เพ่อื หาทำเลทต่ี ง้ั ใหม่ท่ีอดุ มสมบูรณ์ โดยมีเส้นทางหลัก ๆ 4 สาย (โครงการพิพิธภณั ฑ์วัฒนธรรม และชาตพิ นั ธ์ุล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551: น. 39) ประกอบดว้ ย สายที่ 1 พม่า แถบเมืองยอง เมืองยู้ เมืองหลวย เมืองเชียงลาบ เมืองไร เมืองพะยาก เมืองโก เมือง โตน้ เมอื งเลน เชยี งตงุ สายที่ 2 เวียดนาม มีชุมชนไทลือ้ อาศยั อยู่ที่เมืองบินลูห์ เมอื งแถน และบริเวณฝ่ังตะวันตก ของแม่น้ำ ดำตามแนวพรมแดนทตี่ ดิ ตอ่ กบั จีน สายที่ 3 ลาว ไทลื้อตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือแถบเมืองสิง เมืองหลวงภูคา เมืองลองในแขวงหลวง น้ำทา เมืองอูเหนือ อูใต้ งายเหนือ งายใต้ บุนเหนือ บุนใต้ในแขวงพงสาลี เมืองไซ เมืองแบง เมืองฮุก เมือง หงสา ในแขวงอุดมไซ เมืองเงิน เมืองเชียงฮ่อน เชียงลม และเมืองหงสาในแขวงไชยะบุรี นอกจากนี้ยังตั้ง ชุมชนอยู่รอบ ๆ เมืองหลวงพระบางและกระจายกนั อยู่แถบลุ่มน้ำอูและแม่น้ำโขง ในแขวงหลวงพระบาง และ แขวงบ่อแกว้ อีกหลายหมบู่ ้าน สายที่ 4 ไทย ในแถบภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลําปาง พะเยา น่าน แพร่ ตั้งแต่ อดีต ไดถ้ กู กวาดต้อนมาจากสบิ สองปันนาเปน็ จำนวนมาก บางสว่ นอพยพมาภายหลังเพ่ือค้าขาย ติดตามญาติ พน่ี ้อง แตง่ งาน แสวงหาท่ีทำกินที่เหมาะสม หรือหนภี ยั สงคราม ไทล้อื ในประเทศไทย ชาวไทลือ้ ท่อี าศัยอยูใ่ นประเทศไทยมาจากการกวาดต้อนและอพยพมาตลอดระยะเวลาของพฒั นาการ การสรา้ งรฐั ชาติ โดยคร้ังสำคัญได้เกิดข้ึนในครงั้ อดีตต้ังแต่กษัตริยล์ ้านนากวาดต้อนผู้คนลงมา จนกระท่ังช่วงท่ี ชาวไทลื้ออพยนหนีภัยสงครามและการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์เข้ามาในไทย โดยอาศัยกระจัดกระจาย ในเกือบทุกจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย (โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธ์ุล้านนา มหาวิทยาลยั เชียงใหม่, 2551: น 40-42) ดงั น้ี

26 I ประวตั ศิ าสตร์ท้องถิ่นและความหลากหลายทางชาติพนั ธุ์ของภาคเหนือตอนบน : ไทล้อื 1. จังหวัดเชียงใหม่ อย่ทู บ่ี ้านเมืองลวง ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด เปน็ ชาวไทลอื้ ทเ่ี ข้ามาเป็น รุ่นแรก ๆ ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน ส่วนรุ่นหลัง เช่น ที่บ้านแม่สาบ อำเภอสะเมิง อำเภอสันกำแพง อำเภอสันทราย และอำเภอแม่ออน โดยชาวไทลื้อที่บ้านเมืองลวง อำเภอดอยสะเก็ด และ บ้านแม่สาบ อำเภอสะเมิง จะเป็นกลุ่มชาวไทลื้อที่อพยพมาจากสิบสองปันนา ส่วนที่บ้านสันก้างปลา อำเภอ สันกำแพง เปน็ กลมุ่ ชาวไทล้ือทมี่ าจากเมืองเชียงตงุ รัฐฉาน ประเทศพม่า และเรยี กตวั เองว่า คนเขนิ ชาวไทล้อื บา้ นลวงเหนอื อำเภอสันกำแพง จงั หวัดเชียงใหม่ 2. จังหวัดลำพูน เป็นจังหวัดที่มีชาวไทลื้อมาอยู่มากที่สุดและที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ ชาวลื้อจาก เมืองยอง ทเ่ี รยี กตนเองว่า ชาวยอง หรือไทยองนนั่ เอง ส่วนใหญ่ต้งั ถิ่นฐานอยู่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอป่าซาง อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านธิ อำเภอแม่ทา อำเภอลี้ และอำเภอทุ่งหัวช้าง ซึ่งสามารถแยกความแตกต่าง ระหว่างกลุ่มไทลื้อที่อยู่ในลำพูน ออกเป็น 2 กลุ่ม ตามความแตกต่างกันของสำเนียงภาษาพูด คือ กลุ่มไทล้ือ ทีม่ าจากสิบสองปันนา คอื ไทลอื้ ที่อยู่ในอำเภอบ้านธิ และอีกกลุ่มหนึ่ง คอื กลุม่ ไทลื้อเมืองยอง หรือคนยอง ที่ ส่วนใหญ่อาศยั อย่ใู นอำเภอเมือง อำเภอปา่ ซาง และอำเภอบ้านโฮ่ง 3. จังหวัดเชียงราย มีชาวไทลื้อที่บ้านห้วยเม็ง บ้านท่าข้าม และบ้านศรีดอนชัย ในเขตอำเภอเชียง ของ และบ้านสันบุญเรือง อำเภอแม่สาย บ้านโป่งแดง ตำบลห้วยทรายขาว และบ้านกล้วยแม่แก้ว ตำบลมะ เคล็ด อำเภอพาน 4. จังหวัดพะเยา มีชาวไทลื้ออาศัยอยู่จำนวนมากที่อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน และอำเภอปง โดยเฉพาะทอ่ี ำเภอเชยี งคำ จะมชี าวไทลอื้ อาศัยอยใู่ นตำบลต่าง ๆ ดงั นี้ - ตำบลหยว่ น ไดแ้ ก่ บา้ นหย่วน บา้ นธาตุ บ้านแดนเมอื ง บ้านมาง - ตำบลเชยี งบาน ไดแ้ ก่ บา้ นเชยี งบาน บา้ นแพด บา้ นแวด บ้านทุง่ หมอก บ้านเชยี งคาน - ตำบลฝายกวาง ไดแ้ ก่ บ้านหนองล้อื - ตำบลภูซาง ได้แก่ บ้านหนองเลา บา้ นหว้ ยไป - อำเภอเชยี งมว่ น ไดแ้ ก่ บ้านทา่ ฟ้าเหนือ และบ้านท่าฟา้ ใต้

27 I ประวัติศาสตรท์ อ้ งถ่นิ และความหลากหลายทางชาติพนั ธุ์ของภาคเหนือตอนบน : ไทลือ้ ชาวไทล้อื อำเภอเชยี งคำ จังหวดั พะเยา ท่ีมา: (lib.payap.ac.th, ม.ป.ป.) 5. จังหวัดน่าน มีหมู่บ้านไทลื้ออยู่ทั่วไปในเขตอำเภอเมือง อำเภอท่าวังผา อำเภอปัว อำเภอเชียง กวาง อำเภอทุ่งช้าง และอำเภอแม่จรมิ - อำเภอเมือง ได้แก่ ตำบลคู่พงษ์ - อำเภอทา่ วงั ผา ได้แก่ ตำบลศรีภูมิ ตำบลสบยม ตำบลจอมพระ ตำบลแสงทอง (บ้านแฮะ บ้านฮวก) ตาํ บลป่าคา (บ้านต้นฮาง บ้านหนองบัว) - อำเภอปัว ได้แก่ ตำบลปัว (บ้านร้องแง บ้านมอน บ้านดอกแก้ว บ้านตึด บ้านขอน) ตำบล ศิลาแลง (บ้านตีนตุก บ้านดอนไชย บ้านศาลา บ้านหัวน้ำ) ตำบลศิลาเพชร (บ้านนาคํา บ้านป่าตอง บ้านดอน มลู บ้านดอนแก้ว บา้ นทุ่งรตั นา) - อำเภอเชียงกลาง ได้แก่ ตำบลยอด (บ้านปางรา้ น บ้านผาสิงห์ บา้ นผาหลัก บ้านยอด) - อำเภอทุ่งช้าง ได้แก่ ตำบลงอบ (บ้านงอบเหนือ บ้านงอบใต้) ตำบลหอน (บ้านห้วยโก๋น บา้ นหว้ ยสะแกง บ้านเมืองเงิน) ตำบลแพะ (บา้ นห้วยเตย บ้านสะหลี) 6. จงั หวดั แพร่ พบชาวไทลื้ออาศยั อยู่ทต่ี ำบลบา้ นถิ่น อำเภอเมือง อำเภอสูงเมน่ 7. จังหวัดลําปาง มีหมู่บ้านไทลื้อที่ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลําปาง 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านกล้วย หลวง บา้ นกล้วยแพะ บ้านกลว้ ยฝาย บา้ นกล้วยกลาง และบ้านกล้วยมว่ ง ส่วนท่ตี ำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ มี 2 หมูบ่ า้ น ไดแ้ ก่บ้านแม่ปงุ และบ้านฮ่องห้า ซึง่ เป็นเขตตดิ ต่อกับตำบลกล้วยแพะ

28 I ประวตั ศิ าสตร์ท้องถิ่นและความหลากหลายทางชาตพิ ันธ์ขุ องภาคเหนอื ตอนบน : ไทลื้อ ชาวไทลอ้ื ในอำเภอเชียงคำ จงั หวดั พะเยา ชาวไทลื้อในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา อพยพมาจากเมืองพง เมืองหย่วน เมืองมาง เมืองยั้ง เมือง เงิน และเมืองเชียงคาน จากนั้นได้ตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ตามชื่อของหมูบ่ ้านเดิมท่ีเคยมา เช่น บ้านหย่วน บ้านมาง เป็นตน้ และมีความเชื่อในการนับถือเทวดาเมืององค์เดยี วกัน คือ “เจา้ หลวงเมอื งลา่ ” อกี ทัง้ มีความสัมพันธ์กับ กล่มุ ไทล้อื ในอำเภอทา่ วังผา จังหวดั น่านดว้ ย โดยเฉพาะกลมุ่ ไทล้ือท่ีอยู่ในบา้ นแวน เพราะเป็นกลุ่มที่อพยพมา จากเมืองปัว (โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551: น. 46-47) ชาวลื้อในอำเภอเชียงคำนีย้ ังคงแสดงความเป็นตัวตนผ่านวถิ ีชีวิต ความเป็นอยู่ การใช้ภาษา และแต่งกายตาม แบบไทลื้อ ถึงแม้ว่าจะมีพัฒนาการและเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากไทลื้อในสิบสองปันนา ด้วยการนำเอา วัฒนธรรมลา้ นนาเข้าไปผสมบา้ ง แตโ่ ดยรวมแลว้ โครงสร้างหลัก ๆ ของสงั คมยังคงเอกลักษณ์ของชาวไทล้ืออยู่ ไมน่ ้อย ด้านอาคารสถาปัตยกรรม ประเภทวัดและเรือน เช่น วิหารวัดแสงเมืองมา มีลักษณะรูปแบบ สถาปัตยกรรม เป็นอาคารหลังคาซ้อนชั้น และชายหลังคาลาดต่ำ ส่วนเรือนที่อยู่อาศัย สร้างจากไม้ทั้งหลัง หลังคาทรงจั่ว และมีห้องนอนขนาดใหญ่ที่ทุกคนในครัวเรือนใช้ร่วมกัน ส่วนการแต่งกายของชาวไทล้ือ อำเภอเชียงคำ ในอดีตทุกบ้านจะปลูกฝ้าย และทอเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มเอง โดยผู้ชายในอดีตจะนุ่งเต่ียว สะดอ 3 ตะเข็บ เรียกวา่ เตี่ยว 3 ดูก และไม่ใส่เสือ้ โดยจะเหน็ รอยสกั บนรา่ งกายท่ัวไป เช่น หน้าอก กลางหลัง ข้อมอื แขน และขา เพอ่ื แสดงถึงความกล้าหาญ และการมคี าถาอาคม ตอ่ มาจะมกี ารสวมเสื้อคล้ายเส้ือม่อฮ่อม แขนยาวถงึ ขอ้ มือ มขี อบรอบคอคล้ายเสอื้ คอต้ังหรือไมม่ ีขอบ และใชเ้ ชือกผกู หรือกระดุมเชือก หากอากาศเย็น หรือเป็นฤดูหนาว ผู้ชายไทลื้อจะใส่เสื้อกั้กตัวสั้นทับชั้นนอกอีกชั้น ซึ่งเสื้อและกางเกงจะย้อมด้วยสีครามจาก ต้นฮ้อม หรือสีดำจากมะเกลือ และโพกศีรษะด้วยผ้าขาว ส่วนการแต่งกายของผู้หญิงไทลื้อนั้น จะสวมใส่เสื้อ ปั๊ดสีดำหรือสีครามเข้ม มีสาบหน้าเฉียงมาผูกติดกับด้านข้าง ตัวเสื้อสั้น และแขนยาวทรงกระบอก เสื้อป๊ัด แบบเดิมจะมีสาบคอค่อนข้างใหญ่ เวลาสวมสาบคอจะแนบติดตั้งแต่คอจนถึงหน้าอกอย่างมิดชิด ปัจจุบันได้ พัฒนาการตัดเย็บสาบคอให้เลก็ ลง เวลาสวมใส่จะได้ไมค่ ้ำคอมาก (กรด เหล็กสมบูรณ,์ 2556: น. 179) ผู้หญงิ ไทลื้อเชียงคำ จะนุ่งผ้าซิ่นที่ทอเอง โดยหัวซิ่นเป็นผ้าฝ้ายมีทั้งสีแดง ซึ่งจะมีสีแดง สีดำ สีคราม (สีห้อม) และ สีขาว แล้วแต่ความนิยมของแต่ละพื้นที่ และตัวซิ่นเป็นลายริ้วขวางไม่สม่ำเสมอ เรียกว่า “ซิ่นต๋า” หรือ “ต๋า ลื้อ” มีการตกแต่งลวดลายโดดเด่นในผ้าซิ่นเพิ่มเติม คือ “ลายผักแว่น” มีลักษณะเป็นรูปกากบาท แถบกว้าง ประมาณ 2 นิ้วในชว่ งกลางของตัวซิน่ ขนาบดว้ ยลายขิดเล็ก ๆ หรอื ชาวไทล้อื เรยี กวา่ “มกุ ” เรียกว่า “ซ่นิ เมือง พง” ซึ่งตั้งขึ้นตามชื่อที่อพยพมา ส่วนตีนซิ่นเป็นผ้าฝ้ายสีดำ (โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ ล้านนา มหาวิทยาลัยเชยี งใหม,่ 2551: น. 154)

29 I ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิ่นและความหลากหลายทางชาตพิ นั ธขุ์ องภาคเหนือตอนบน : ไทลื้อ ลายผกั แวน่ บนตัวซน่ิ ไทล้ืออำเภอเชียงคำ จงั หวัดพะเยา การแต่งกายของชาวไทล้ืออำเภอเชียงคำ จังหวดั พะเยา ทีม่ า: (mdk-shop.com, 2563)

30 I ประวตั ิศาสตร์ทอ้ งถ่ินและความหลากหลายทางชาติพันธ์ุของภาคเหนือตอนบน : ไทลือ้ ความเช่อื เกยี่ วกับการตานตงุ ของชาวไทลือ้ ตงุ เปน็ เคร่ืองพุทธบชู าอนั เป็นเอกลักษณข์ องไทล้ือหรือชาวล้านนา โดยชาวไทลอ้ื ที่อยใู่ นจงั หวัดตา่ ง ๆ ในภาคเหนือ มีคติความเชื่อเกี่ยวกับอานิสงส์ของตานตุง ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนว่า ตุงเป็น สัญลักษณข์ องความดี ความเป็นสิรมิ งคล และเป็นสอ่ื นำวิญญาณของผู้ล่วงลับไปแล้วให้ขึ้นไปสสู่ วรรคห์ รือหลุด พ้นจากความทุกข์ทรมานอันเนื่องมาจากวิบากกรรมตามพื้นฐานความเชื่อของชาวไทลื้อ การถวายทานตุงมี ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพิธีกรรมในพระพุทธศาสนา และประเพณีอันเกี่ยวกับชีวิต การทำตุงถวายจึง เปรียบเสมอื นตวั แทนเครื่องสักการะของการแผ่กุศลและความกตญั ญกู ตเวทีไปถงึ ผู้มพี ระคุณทล่ี ่วงลบั ไปแลว้ สีที่นำมาทำตุงในอดีต คือ สีขาว และสีครีม แต่ปัจจุบันจะมีการประยุกต์ให้สวยงามยิ่งขึ้น ด้วย การเพิ่มสีและลวดลายให้หลากหลายและแปลกตามากยิ่งขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาวไทลื้อเช่นเดิม ชาวไทลื้อ นิยมนำตุงไปปักตามงานวัด งานปอย หรือประดับถนนก่อนจะถึงบริเวณสถานที่จัดงานประเพณี ต่าง ๆ เพื่อให้รู้ว่าวัดกำลังมีงานประเพณีต่าง ๆ ที่ชุมชน หรือทางวัดจัดขึ้น ผนวกกับความเชื่อเกี่ยวกับการ ถวายไทยทานในการสร้างวัด หรืออุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย เช่น บ้าน ปราสาท สัตว์ต่าง ๆ ถวายไปด้วย หาก ถวายให้บรรพบุรุษจะใส่เรือลอยน้ำไปในวนั สงกรานต์ โดยเฉพาะวันพญาวัน โดยนำตุงที่ห่อไว้ใส่ถาดหรือพาน พร้อมด้วยจตุปัจจัยไทยทาน เช่น หมากพูล บุหรี่ และอาหารแห้ง จากนั้นมัคนายก จะเป็นผู้กล่าวนำคำถวาย ตงุ และเม่อื ถวายเสร็จแลว้ ทุกคนจะช่วยกันนำตุงไปติดตง้ั ในวหิ าร และรอบ ๆ วหิ าร นับตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน “การตานตุง” ยังมีความสำคัญ และความผูกพันกับความศรัทธาของ ชาวลา้ นนา รวมถงึ การขบวนแห่ตุงของชาวไทล้ือ โดยชาวบ้านจะแบกตุง และแต่งกายด้วยผ้าทอไทลื้อ รวมถึง การประดับสถานที่ให้มีความสวยงาม ตลอดจนมีการพัฒนารูปแบบที่ยิ่งใหญ่และอลังการมากขึ้น ถือได้ว่า การตานตุงเป็นพิธีกรรมและความเชื่อที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของชาวล้านนาที่ยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้ เพ่อื สืบทอดให้ชนรนุ่ หลงั ไดศ้ กึ ษาต่อไป (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวดั พะเยา, 2558) ประเพณีการทานตุงมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวไทลื้อ ดังที่ทราบกันดีว่า ชาวไทลื้อมี ความสามารถในการทอผ้าเปน็ อย่างมาก ดงั จะเหน็ ได้จากการสร้างลวดลายบนผนื ผา้ ด้วยเทคนคิ ต่าง ๆ ที่สร้าง ให้ผืนผ้าสวยงามและสอดคล้องกับการใช้งานประเภทต่าง ๆ ในอดีตเกือบทุกหลังคาเรือนจะมีกี่ทอผ้าสำหรับ ทอผ้าไว้ใช้เอง โดยจะปลูกฝ้าย และปั่นฝ้าย ใช้ในครัวเรือน สำหรับผู้หญิงชาวไทลื้อที่มีคุณสมบัติแม่บ้านแม่ เรือนที่ดี จำเป็นจะต้องทอผ้าได้ อย่างน้อยต้องทอผ้าไว้ใช้เองและทอให้คนในครอบครัวใช้ หากเป็นคนที่เก่ง และมีฝมี ือดจี ะสามารถสร้างสรรค์ลวดลายบนผ้าไดอ้ ย่างสวยงาม ชาวไทลื้อเชื่อว่า หากมีลูกชายจะนิยมให้บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุประมาณ 9 - 11 ปี เพื่อให้เรียนรู้ พระธรรมในพุทธศาสนา ฝึกปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลธรรม และเรียนการอ่านเขียนตัวอักษรธรรม เพราะจะช่วย กล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนดี ส่วนผู้หญิงไม่สามารถบวชได้ แต่สามารถค้ำชูพุทธศาสนาได้ด้วยการทอผ้า ถวายเป็นพุทธบชู า เช่น การทำผ้าจวี รถวายให้พระทีบ่ วชใหม่ การทอผา้ เพดานสำหรับพธิ ีกรรมในพุทธศาสนา การทอตงุ ถวายวัด เปน็ ตน้ โอกาสในการถวายตุงจะทำกันตลอดปีตามความประสงค์ของผู้ถวาย อาจจะถวาย ในชว่ งงานบญุ พธิ ี เช่น ออกพรรษา ทอดผ้าปา่ หรือทำบุญอุทิศส่วนกุศลใหก้ ับผู้ทีล่ ว่ งลับไปแล้ว และนิยมเขียน ขอ้ ความว่า ใครเป็นผอู้ ทุ ศิ ส่วนกศุ ล ใหใ้ คร และขอผลบุญนี้สง่ ผลให้ชีวติ เจริญรุ่งเรอื งอยา่ งไร โดยตุงผ้าทชี่ าวไท ลื้อนิยมทำถวายวัดมี 4 รูปแบบ คือ ตุงผ้าทอลวดลาย ตุงผ้าสี ตุงใย และตุงแต้ม (นฤมล เรืองรังสี, ม.ป.ป.: น. 101-105) ดังนี้ 1. ตุงผ้าทอลวดลาย เป็นตุงผ้าทีท่ อด้วยเทคนิคขิด และจก เป็นลวดลายต่าง ๆ ชาวไทลื้อสิบสองปนั นามักเรียกว่า “ตุงดอก” ทอด้วยเส้นฝ้ายสีขาว ส่วนลวดลายจะมีหลายสีและทอเป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น

31 I ประวตั ศิ าสตรท์ ้องถิน่ และความหลากหลายทางชาติพันธข์ุ องภาคเหนอื ตอนบน : ไทล้ือ ปราสาท ต้นไม้ ดอกไม้ คน ช้าง ม้า หงส์ พานดอกไม้ เป็นต้น ทั้งนี้ ตุงผ้าทอแต่ละผืนต้องมีลายอย่างน้อย 3 ลาย คือ ลายปราสาท ลายสัตว์ และต้นไม้ ตุงผ้าทอบางผืนจะทอปลายตุงเป็นลวดลาย และมีความยาว ประมาณ 1 เมตร ส่วนบนขึ้นไปจะเป็นเพียงด้ายเส้นยืน คั่นด้วยไม้ไผ่เป็นช่วง ๆ สลับกับทอเป็นผืนผ้าที่มี ลวดลายเปน็ แถวเลก็ ๆ ประดับอยู่ดว้ ย ตุงผ้าทอรูปปราสาท ภายในวิหารวดั บา้ นหย่วน จังหวดั พะเยา ท่มี า: (โครงการพิพิธภณั ฑว์ ัฒนธรรมและชาตพิ ันธุ์ล้านนา มหาวิทยาลยั เชยี งใหม่, 2551) 2. ตุงผ้าสี เป็นตุงที่ไม่มีลวดลาย อาจจะทำมาจากผ้าสำลี หรือผ้าจากโรงงาน โดยมีสีต่าง ๆ เช่น ดำ แดง ขาว ม่วง เหลอื ง เขยี ว เปน็ ตน้ ซง่ึ ตงุ ผา้ สี จะมหี ลายชนิดด้วยกนั ได้แก่ - ตุงไชย หรอื ตงุ ชัย เปน็ ตงุ ผา้ ผนื ยาว มไี ม้ไผ่คันเปน็ ช่วง ๆ พบในวิหาร ส่วนใหญ่เปน็ พื้นสีขาว ตุงท่ีชาวบา้ นนำมาถวายวดั ท่าฟา้ ใต้ จงั หวัดพะเยา ท่ีมา: (โครงการพิพธิ ภณั ฑ์วัฒนธรรมและชาติพนั ธ์ุลา้ นนา มหาวิทยาลยั เชยี งใหม่, 2551)

32 I ประวตั ศิ าสตร์ทอ้ งถ่นิ และความหลากหลายทางชาติพนั ธ์ขุ องภาคเหนอื ตอนบน : ไทลอ้ื - ตุงซาววา คำว่า ซาว แปลว่า ยี่สิบ ดังนั้นคำว่า ตุงซาววา คือ ตุงที่ยาว 20 วา โดยตุงชนิดน้ี จะมีลักษณะเหมือนตุงไชย แต่ต่างกันตุงชาววาจะมีความยาวมากกว่า โดยทั่วไปตุงชนิดนี้จะเป็นตุงผ้าสีขาว ยาวประมาณ 6 - 7 เมตร ไม่ถึงซาว หรือ 40 เมตร โดยห้อยแขวนอยู่บนเสาไม้ทปี่ ักอยู่บริเวณหน้าวดั - ตงุ งวงชา้ ง เป็นตงุ ผา้ สีขาวท่ีมลี ักษณะคลา้ ยกับงวงชา้ ง มกี ารตกแต่งดว้ ยกระดาษสีตัดเป็นพู่ ห้อยเป็นช่วง ๆ ตลอดผืนตุง โดยนำผ้ามาหุ้มรอบโครงไม้ไผ่ที่ขดเป็นวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 - 17 เซนติเมตร ส่วนหางตุงจะคล้ายกับปลายของงวงช้าง โดยยัดนุ่นไว้ข้างใน เพื่อเป็นการคงรูปทรงอยู่ แล้วประดบั ปลายสดุ ดว้ ยอบุ ะเปน็ พู่หอ้ ยลงมา 3. ตุงใย เป็นตุงที่ใช้เส้นด้ายสีถักหรือมัดเป็นตาข่ายรูปแบบต่าง ๆ โดยมีไม้ไผ่สอดคั่นเป็นช่วง ๆ แล้วตกแต่งด้วยพู่ห้อยตลอดทั้งผืน ชาวไทลื้อสิบสองพันนาเรียกว่า ตุงใยก้าว (ก้าว แปลว่า แมงมุม) ตุงใยผ้า มกั จะเปน็ สีลว้ น เชน่ ขาว เหลอื ง ชมพู เป็นตน้ 4. ตงุ แตม้ คำว่า แตม้ แปลวา่ วาด หรือเขยี น ตงุ แต้มนี้เป็นตงุ ท่ีทำด้วยผ้าสีขาว แล้ววาดหรอื เขียนรูป ลงบนผืนผ้าคล้ายกับพระบฏ ตุงประเภทนี้เท่าที่พบในวิหารจะมี 2 ชนิด คือ ตุงพระเจ้าสิบตน คือ ตุงพระเจ้า สิบชาติ (ทศชาติ) และตุงพระเจ้าซาวแปด เป็นตุงที่วาดภาพพระพุทธรูปตามความเชื่อเรื่องอดีตพุทธเจ้าทั้ง 28 พระองค์ ตุงที่ชาวไทลื้อ อำเภอเชียงคำ นิยมทำ เป็นตุงที่ใชใ้ นการประกอบพิธีกรรรม และตุงสำหรับการถวาย แล้วอุทิศส่วนกุศลให้กับบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเชื่อว่า ตุงที่ยาว และไม้ที่คั่นระหว่างผืนตุง จะเป็นเสมือน บันไดพาผู้ทีล่ ่วงลับไปแลว้ ขึ้นสู่สวรรค์ ซึ่งตุงมงคลทีน่ ิยมทำ คือ “ตุงยาวค่าคิง” เป็นหนึ่งในเครื่องประกอบพิธี สบื ชะตา นิยมทำจากกระดาษ และตกแต่งดว้ ยกระดาษสี และตุงอีกประเภทหนึ่ง คอื ตงุ ผ้าทอ ซึ่งมักทำถวาย วัด โดยแขวนไว้ในวหิ าร หรอื ใส่ “คา้ งตงุ ” แลว้ แขวนด้านนอกวัดเมื่อมงี านบญุ ท่ีวดั ผ้าทอของไทลื้อ ถือเป็นผ้าที่มีการทอด้วยเทคนิคต่าง ๆ หลายเทคนิค เช่น จก ขิด ฯลฯ ชาวไทลื้อ จะมีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคนิค “เกาะ” หรือ “ล้วง” หรือ “เกาะล้วง” เป็นพิเศษ สามารถสร้าง ลวดลายต่าง ๆ ได้ตามต้องการ อีกทั้งยังใช้สีได้หลากหลายอีกด้วย ทั้งนี้ “ลายผักแว่น” เกิดจากเทคนิคเกาะ ล้วง ซึ่งเป็นการเกี่ยวกันของเส้นด้ายสองสี ทำให้เกิดลวดลายบนเส้นพุ่ง ซึ่งผู้ทอจะต้องมีความชำนาญในการ นบั ลายอยา่ งแม่นยำ

33 I ประวตั ิศาสตร์ท้องถิน่ และความหลากหลายทางชาตพิ ันธุข์ องภาคเหนือตอนบน : ไทลือ้ เทคนคิ การเกาะลว้ ง ลวดลายบนผืนผ้าของชาวไทลือ้ มักจะมีความหมายเชงิ สญั ลักษณ์ที่เกิดจากจินตนาการผสมผสานกบั ความเชื่อ อุดมคติ และความศรัทธา ดังนั้น ลวดลายบนผืนผ้าจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงวิธีคิดของสังคมน้ัน ลวดลายที่พบบนผ้าทอไทลื้อ แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม (ทัศนีย์ กาตะโล, 2557: น. 90-92) ได้แก่ ลวดลาย เรขาคณติ ลวดลายพรรณพฤกษา ลวดลายรูปสตั ว์ และลวดลายของผ้าในพิธีกรรม ดงั น้ี 1. ลวดลายเรขาคณิต คือ การนำจุด เส้น และรูปทรงพื้นฐาน เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ฯลฯ มา พฒั นา ไปสูร่ ูปสัญลกั ษณ์ตา่ ง ๆ เช่น - ลายหนว่ ย คอื ลายรปู สเี่ หลยี่ มขนาดเล็ก - ลายซิกแซก คือ ลายเส้นทแยงต่อเนื่อง หรอื เรียกอีกอย่างวา่ ลายงลู อย - ลายเขยี้ วหมา คือ ลายทีเ่ ป็นจดุ ส่ีเหล่ียมเรยี งเปน็ เส้นคล้ายไข่ปลา แต่มีมุมแหลมออกมา

34 I ประวตั ศิ าสตรท์ ้องถิ่นและความหลากหลายทางชาติพนั ธุข์ องภาคเหนือตอนบน : ไทลื้อ 2. ลายพรรณพฤกษา เป็นกลุ่มลายที่มีแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ เป็นรูปดอกไม้ และต้นไม้ ต่าง ๆ ที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ และความงามในอุดมคติ เช่น ลายดอกจัน พัฒนามาจากการ ผสมระหว่างลายรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม เป็นลายสำคัญเก่าแก่ที่พบในผ้าทอของหลายชนชาติ หมายถึง ดอกไมท้ ี่มีคุณค่างดงามในอุดมคติ และลวดลายน้ยี ังคล้ายคลึงกบั รูปตะแหลว ซ่ึงเปน็ เครื่องจักสานที่ใช้บ่งบอก เขต หรอื พนื้ ท่ศี กั ดส์ิ ิทธใิ์ นพิธกี รรมต่าง ๆ 3. ลวดลายรูปสัตว์ จะมีทั้งรูปสัตว์จากธรรมชาติ สัตว์ประจำปีเกิด และสัตว์ในป่าหิมพานต์ ที่มาจากจินตนาการ และคติความเชื่อดัง้ เดมิ โดยลวดลายรปู สัตวท์ ม่ี กั พบเสมอในผ้าทอของไทลอ้ื ได้แก่ - ลายช้าง ช้างเป็นสัตว์มงคลที่คู่สถาบันกษัตริย์ และเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความยิ่งใหญ่ ความเจรญิ รงุ่ เรือง - ลายม้า ม้าเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่คุ้นเคยกับสังคมคนไทเช่นเดียวกับช้าง โดยรูปม้าสื่อถึง การเป็นพาหนะที่สำคัญในอดีต และแสดงถึงความอดทน ดังนั้นจึงมักพบลายม้าคู่กับลายนก และช้าง เพอ่ื สื่อถึงความอุดมสมบูรณข์ องธรรมชาติ บางทีจะมีรูปคนขม่ี า้ หรือนกเกาะอยู่บนหลงั ม้า - ลายนก หรือลายไก่น้อย เป็นลายทีพ่ ัฒนามาจากลายขอขนาดเล็ก เป็นการสื่อถึงธรรมชาติ ซึ่งเป็นสัตว์ทีค่ นไทพบเหน็ มานาน - ลายนาค จะเปน็ ลายที่ผสมผสานลายขอ และลายกาบขึ้นเปน็ รูปนาค นาคเป็นสัตว์ท่ีสำคัญ ของกลุ่มไท เพราะเปน็ เทพท่ีดลบนั ดาลให้เกิดนำ้ และฝน เปน็ ผใู้ หก้ ำเนดิ ทุกสรรพสิ่ง นาคเป็นสตั วท์ ่อี าศัยอยู่ได้ ทั้งบนผืนดิน ท้องน้ำ และแผ่นฟ้า จึงหมายถึง ผู้สร้างความสมดุลแห่งระบบนิเวศ ผู้นำความอุดมสมบูรณ์มา ให้แก่ดินแดนมนุษย์โลก อีกทั้งนาคยังเป็นสัตว์สำคัญในพุทธศาสนา ที่ตำนานและพุทธประวัติมักกล่าวถึง การเป็นผู้อปุ ถัมภค์ ้ำชพู ทุ ธศาสนา - ลายนกงวงงา (หสั ดีลงิ ค)์ เป็นสตั วผ์ สมระหวา่ งนกกบั ช้าง มพี ลงั มหาศาล และสามารถข้าม จักรวาลได้ เป็นสัญลักษณ์สื่อถึงสวรรค์ ความเช่ือเรื่องชีวิตหลังความตายในพุทธศาสนา เชื่อว่านกหัสดีลิงค์ จะนำวิญญาณของผลู้ ว่ งลบั ไปส่สู วรรคช์ ั้นดาวดึงส์

35 I ประวัติศาสตรท์ ้องถ่ินและความหลากหลายทางชาตพิ ันธ์ขุ องภาคเหนือตอนบน : ไทลื้อ 4. ลวดลายผ้าในพิธีกรรม บางลายจะมีชื่อเรียกเฉพาะ เช่น เขี้ยวหมา จี้ดอกเปา เขี้ยวหมาสำ กระแจ๋สำ แหลมผิด เป็นต้น ลวดลายเหล่านี้บางครั้งจะเก็บเอาภาพสิ่งของเครื่องใชแ้ ละพธิ ีกรรมเก่าแก่ไว้ด้วย เช่น ลายดอกแหลมผิด ลายดอกเงาะ - ลายเรือ หรอื สะเปา แสดงถงึ การเดินทางไปสโู่ ลกหลังความตาย และพิธีกรรมการอุทิศข้าว ของให้แก่ผู้ล่วงลับโดยบรรทุกไปในเรือสำเภา ซึ่งชาวไทลื้อนิยมทอตุงลายนี้ ด้วยเชื่อว่าสำเภาจะนำกุศล จากการถวายตุงไปสูผ่ ้ตู าย - ลายรูปปราสาท เป็นลายท่ีสื่อถึงพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และ ประเพณกี ารถวายทานปราสาทให้แก่ผู้ล่วงลบั ได้มีทอี่ ยู่อาศัยบนสวรรค์ - ลายต้นดอก หมากเบ็ง ปราสาทผึ้ง และขันดอก เป็นลายท่ีสื่อถึงสิ่งของเครื่องปัจจัย ไทยทานต่าง ๆ ท่ีทำถวายพระสงฆ์เพ่ือเป็นพุทธบชู า - ลายรปู ช้าง มา้ ววั ควาย คนในตงุ และผ้าเชด็ หลวง เป็นลายที่ส่ือถงึ ความอดุ มสมบูรณ์ ทั้ง สตั ว์ สิ่งของ และข้าทาสบรวิ าร สำหรบั อุทิศให้ผลู้ ่วงลับได้ใชเ้ สวยสขุ ในโลกหลงั ความตาย

36 I ประวัติศาสตรท์ ้องถน่ิ และความหลากหลายทางชาตพิ ันธ์ขุ องภาคเหนอื ตอนบน : ไทลอ้ื เอกสารอ้างอิง กรด เหล็กสมบูรณ.์ (2556). ชาติพันธุ์ไทพ้นื ราบในล้านนา. เชียงใหม่: สถาบันวิจยั สังคม มหาวิทยาลยั เชียงใหม.่ โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2551). ไทลื้อ อัตลักษณ์แห่ง ชาตพิ ันธไ์ุ ท. เชียงใหม่: สถาบนั วิจยั สังคม มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม่. จูเหลียงเหวิน, งามพรรณ เวชชาชีวะ แปล. (2536). ชนชาติไต สถาปัตยกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไต ในสบิ สองปนั นา. กรงุ เทพฯ: โอ เอส พริ้นต้ิงเฮาส.์ ทัศนีย์ กาตะโล. (2557). ผ้าทอไทลื้อ ไทลื้อแม่สาบ. เชียงใหม่: สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม.่ นฤมล เรอื งรังษ.ี (ม.ป.ป.). ส่งิ ทอถวายวัด สัญลักษณท์ างความเช่ือทางศาสนาของชาวไทล้ือสิบสองปนั นา. สิบ สองปนั นา. กรุงเทพฯ: หจก. อรณุ การพมิ พ.์ บญุ ชว่ ย ศรสี วสั ด์ิ. (2547). ไทยสบิ สองปันนา เลม่ 1. กรุงเทพฯ: ศยาม. ยรรยง จิระนคร (เจีย แยน จอง). (ม.ป.ป.). ไทลื้อสิบสองปันนาก่อนเปลี่ยนการปกครอง. สิบสองปันนา. กรงุ เทพฯ: อรุณการพมิ พ.์ สมหมาย เปรมจิตต์ และวสันต์ ปัญญาแก้ว, บรรณาธิการ. (2558). ตำนานเมืองลือ้ ประวัติศาสตร์พืน้ ถิ่นแดน ดิน เชยี งรงุ่ เมืองยอง เมอื งสิงห.์ เชียงใหม่: โครงการลา้ นนาคดศี กึ ษา มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม.่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา. (2558). ประเพณีตานตุงไทลื้อ (พะเยา). สืบค้นจาก https://www. m-culture.go.th/phayao/ewt_news.php?nid=400&filename=index mdk-shop.com. (2563). ความเปน็ มาของชาวไทล้ือเชียงคำ. สบื ค้นจาก https://mdk-shop.com

37 I ประวัติศาสตรท์ อ้ งถ่นิ และความหลากหลายทางชาตพิ ันธข์ุ องภาคเหนือตอนบน : ปกาเกอะญอ กล่มุ ชาตพิ ันธ์ุปกาเกอะญอ บา้ นพระบาทหว้ ยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอล้ี จังหวัดลำพนู และประเพณีตกั บาตรผัก ประเพณีตกั บาตรแบบมังสวิรัติ ท่มี า: https://mgronline.com/travel/detail/9610000004434 จารุวรรณ เพง็ ศิริ คณะมนษุ ยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ราชภัฏเชยี งใหม่ ประไพ สุขดำรงวนา นักวิชาการอสิ ระ

38 I ประวัติศาสตรท์ ้องถน่ิ และความหลากหลายทางชาติพนั ธ์ขุ องภาคเหนือตอนบน : ปกาเกอะญอ บ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2514 จากศรัทธาของชาวปกาเกอะญอที่อพยพมาจากตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก เพื่อมาอาศัยอยู่ ใกล้ชิดพระครูชัยวงศาพัฒนา หรือที่รู้จักกันในนามของ “หลวงปู่ครูบาวงศ์” และได้ปฏิบัติธรรมตามหลัก พระพทุ ธศาสนากับหลวงปู่ แทนการนับถือผีอย่างชาวเขาเผ่าอื่น ปัจจุบันชุมชนแห่งนี้กลายเป็นชุมชนชาวปกา เกอะญอขนาดใหญ่ ประกอบดว้ ย ชาวปกาเกอะญอหรือที่เรยี กกนั วา่ กะเหร่ียง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ “กะเหรี่ยงสะกอ” ที่อพยพมาจากจังหวัดตาก และ “กะเหรี่ยงโป” ที่อพยพมาจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งยังคงยึดถือแนวทางการปฏิบัติตนตามคำสอนของหลวงปู่ครูบาวงศ์อย่างเคร่งครัด จน กลายเป็นเสน่หข์ องชมุ ชนแห่งนี้ ปัจจุบันกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้ม พยายามที่จะรักษาตัวตนและ ความเป็นอัตลักษณ์ของตนเองไว้ ได้แก่ อัตลักษณ์ทางภาษา อัตลักษณ์การแต่งกาย อัตลักษณ์ทางศาสนา และความเชื่อ อัตลักษณ์การบริโภคอาหาร และอัตลักษณ์ประเพณีวัฒนธรรมและพิธีกรรม โดยคนในชุมชนน้ี จะยดึ หลักพระพทุ ธศาสนาเปน็ ส่วนใหญ่ และเครง่ ครดั จงึ ทำให้ชุมชนแหง่ น้ียังคงมีอัตลกั ษณ์ทีแ่ สดงออกมาต่อ คนภายในชุมชนเอง และคนภายนอกชุมชน รวมถึงความพยายามที่จะอนุรักษ์และสืบสานความเป็นตัวตนนี้ ให้กับคนรุ่นใหม่ จึงทำให้อัตลักษณ์ความเป็นปกาเกอะญอของชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้มสืบทอดจนถึง ปัจจุบนั ชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้ม จัดเป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตเรียบง่ายและปฏิบัติตนทำตามคำสั่งสอนของ ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา โดยสมาชิกในชุมชนนับถือศาสนาพุทธ ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ ไม่ดื่มและไม่จำหน่ายของ มึนเมา ทำบุญและฟังเทศน์ทุกวนั พระ มีการพงึ่ พาอาศยั และเอื้ออาทรต่อกัน มีความสามัคคี มีความร่วมมือกัน เป็นอย่างดี มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชนเผ่า เช่น การทอผ้า การทำเครื่องเงิน การแต่งกายชุดประจำเผ่า และภาษาพูดของชนเผ่า เป็นต้น แม้ว่ากลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้ม จะอพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ชุมชนแห่งน้ี เพียง 46 ปี แต่ว่าสิ่งที่สะสมกันมามานับตั้งแต่ได้อพยพเข้ามา เช่น ภาษา การแต่งกาย ความเชื่อ ตำนาน ประเพณี และวัฒนธรรรมที่มีการปฏิบัติกันมาจนทำให้เกิดเป็นอัตลักษณ์ที่แสดงออกถึงความเป็นตัวตนอย่าง ชัดเจน ดังคำขวัญของชุมชนพระบาทห้วยต้ม ที่ว่า “กราบไหว้ครูบาเจ้าชัยยะวงศา บูชาองค์พระธาตุเจดีย์ ศรเี วียงชัยใส่ใจวัฒนธรรมชาตพิ นั ธ์นุ ้อมนำศีลหา้ ชมผา้ ลายกะเหรย่ี งโบราณ แห่ตน้ ไทยทานสงู เสียดฟา้ ศรัทธา มังสวริ ัติ รอ้ ยรดั งานฝีมอื เครอื่ งเงนิ ” (กรมการท่องเทีย่ ว, 2560 กลั ปย์ านี การปลกู , 2560 ทวีศกั ด์ิ กิตตฺ ิญาโณ, 2561, วรนิ ทร์รตั น์ พุทธอาสน์ และเฉลมิ พล คงจิตต,์ 2563) อัตลกั ษณท์ างศาสนาและความเชื่อของกลมุ่ ชาติพนั ธุป์ กาเกอะญอ บา้ นพระบาทห้วยต้ม อัตลักษณ์ทางศาสนาและความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้ม คือ การได้รับคำสั่งสอนจากครูบาชัยยะวงศาพัฒนา จึงทำให้ชาวบ้านหันมานับถือศาสนาพุทธ และเนื่องจาก ชาวปกาเกอะญอได้อพยพมาจากพื้นที่ที่แตกต่างกัน ดังนั้นครูบาชัยยะวงศาพัฒนาจึงมีกุศโลบายที่ใช้การส่ัง สอนกล่มุ ปกาเกอะญอทแี่ ตกต่างกัน โดยหลวงปคู่ รูบาจะใหช้ าวปกาเกอะญอจากอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ด่ืมนำ้ ก้นพระธาตขุ า้ วบิณฑ์ (ขา้ วก้นบาตรพระพุทธเจา้ ) พร้อมทั้งให้ถือศลี ภาวนา งดทานเนื้อสตั ว์ และไมใ่ ห้ดื่ม สุรา หากผู้ใดดื่มสุราแลว้ หา้ มเข้าวดั 7 วัน หากดื่มแล้วเข้าวัด ชาติหน้าจะกลายเป็นคนวิกลจรติ และหากผู้ใด ไม่เชื่อฟังคำสอน จะทำให้ต้องว่ายอยู่ในมหาสมุทรน้ำตาของครูบา โดยคนรุ่นแรก ๆ ที่เข้ามานั้นไม่ได้เรียน

39 I ประวตั ศิ าสตร์ท้องถ่ินและความหลากหลายทางชาตพิ นั ธุ์ของภาคเหนอื ตอนบน : ปกาเกอะญอ หนังสือ ดังนั้น คำสวดมนต์ต่าง ๆ ที่ครูบาให้จะเป็นลักษณะการจำ โดยเป็นการสอนจากปากต่อปาก เพราะ อา่ นหนงั สือไม่ได้ จึงทำใหค้ นรนุ่ คุณตายายและพี่ปา้ น้าอาทีเ่ ข้ามาอยู่กบั หลวงป่ชู ว่ งแรก ๆ จะสามารถจดจำคำ สวดได้ทั้งหมด (กรมการทอ่ งเที่ยว, 2560 ทวีศกั ด์ิ กิตฺตญิ าโณ, 2561 วิมล สุขแดง, สมั ภาษณ์) ชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้มมีอัตลักษณ์ทางศาสนาที่ชัดเจน และเป็นชุมชนที่มีความศรัทธาเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา ปฏิบัติตามคำสัง่ สอนเป็นอย่างเคร่งครัด ทั้งในเรื่องการถือศีล การทานมังสวิรัติ การไม่ดื่ม สุรา และปัจจุบันยังคงปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของคนใน ชุมชน ยังสบื ทอดอยา่ งต่อเนือ่ งจากรุน่ สู่รนุ่ จนปัจจบุ นั ซง่ึ ประเพณเี ปลี่ยนผา้ ครองสรีระครูบาชยั ยะวงศาพัฒนา เป็นประเพณีทส่ี ำคัญและยิ่งใหญข่ องบา้ นพระบาทหว้ ยต้ม ตำบลนาทราย โดยคณะศิษยานศุ ิษย์ พระสงฆ์และ ชาวบ้าน จะเชิญสรีระของหลวงปู่ครูบาวงศ์ที่ไม่เน่าเปื่อยลงสู่ศาสนพิธี เพื่อทำการเปลี่ยนผ้าครูบาฯ โดยประเพณีนี้เริ่มปฏิบัติกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2565) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 – 17 พฤษภาคมของทุกปี ณ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ซึ่งเป็นช่วงของวันครบรอบการมรณภาพของหลวงปู่ ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา โดยพิธีเปลี่ยนผ้าห่มสรรี ะ เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ได้แสดงออกซึ่งความเคารพและศรทั ธา ตอ่ หลวงปคู่ รูบาชยั ยะวงศาพัฒนา ประเพณเี ปลย่ี นผา้ ครองสรรี ะครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ภาพจากจิตรกรรมฝาผนงั วดั พระพทุ ธบาทห้วยต้ม ประเพณีตกั บาตรผัก ประเพณีการตักบาตรแบบมงั สวริ ตั ิ อัตลักษณ์ในการบริโภคอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้ม คือ การรับประทานมังสวิรัติ ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ อาหารจะเน้นความเรียบง่ายเหมือนอาหารของชาวพื้นเมือง เพียงแต่ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ โดยจะนำผักที่ปลูกมาประกอบอาหาร ซึ่งอัตลักษณ์ดังกล่าวเป็นผลมาจาก การสอนของครูบาชัยยะวงศาพัฒนา จึงทำให้ทุกวันนี้ ชาวปกาเกอะญอที่นี่มีความเลือ่ มใสในพระพุทธศาสนา และมีการปฏบิ ตั ิต่อเนอื่ งกันมานับตง้ั แตอ่ พยพเข้ามาอยจู่ นถงึ ปัจจุบัน ในชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย จะมีการทำบุญใส่บาตรทุกวัน ทั้งวันพระเล็กและพระ ใหญ่ไม่ใช่เฉพาะวันพระเหมือนที่อื่น ๆ โดยอาหารที่นำมาใส่บาตรนั้นจะเป็นอาหารที่ปรุงมาจากผัก และไม่มี เนื้อสัตว์ อีกทั้งการใส่บาตรของชุมชนน้ีจะแบ่งตามเพศและช่วงอายุ เพ่ือความเป็นระเบียบเรียบร้อย ดังน้ัน

40 I ประวตั ิศาสตรท์ อ้ งถิ่นและความหลากหลายทางชาติพนั ธ์ุของภาคเหนอื ตอนบน : ปกาเกอะญอ ผู้ชายที่มีอายุมากจะใส่บาตรก่อน แล้วจึงเป็นวัยกลางคน วัยรุ่น และวัยเด็ก จากนั้นจะเป็นผู้หญิงที่มีอายุมาก ผูห้ ญิงทแ่ี ตง่ งานแลว้ และผู้หญิงท่ียังไม่ได้แตง่ งาน ตามลำดบั ประเพณกี ารตักบาตรแบบมังสวริ ัติ ท่มี า: https://mgronline.com/travel/detail/9610000004434 ส่วนใหญ่ในวันพระคนในชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้มจะหยุดทำงาน และพากันมาทำบุญที่วัดมากกวา่ ในวันปกติ โดยช่วงสายจะมีการถวายสังฆทานผัก และเวลาประมาณ 6 โมงเช้า ชาวบ้านจะเริ่มทยอยมาที่วัด โดยแต่งกายด้วยชุดพื้นเมือง คือ ชุดปกาเกอะญอ ที่ทอเองด้วยกี่เอว มีลวดลายและสีสันแตกต่างกัน และ ตกแต่งด้วยพู่ เพื่อความสวยงาม เมื่อมาถึงวัดแล้ว ส่วนใหญ่ทุกคนจะเข้าไปยัง “วิหารเมืองแก้ว” เพื่อกราบ พระประธานและกราบสรีระสังขารของหลวงปู่ครูบาวงในโลงแก้ว เพื่อเป็นแสดงความเคารพศรัทธาและระลึก ถึงทา่ นกอ่ นจะมารวมตวั กนั ณ ศาลาใสบ่ าตร ท่ตี ัง้ อยูข่ า้ งกัน เวลาประมาณ 07.00 น. พระสงฆ์จะลงมายังศาลาใส่บาตร นำโดยหลวงพ่อเจ้าอาวาส พระสงฆ์สวด มนต์ จากนั้นก็ถึงเวลาใส่บาตรข้าวสวยและข้าวเหนียว ซึ่งทุกคนจะต่อแถวใส่บาตรกันอย่างเป็นระเบียบ โดย เริ่มจากบาตรของพระพุทธ บาตรหน้ารูปเหมอื นหลวงปู่ครูบาวงศ์ และบาตรของหลวงพ่อเจ้าอาวาส และพระ ลูกวัดตามลำดับ โดยหยบิ ข้าวเหนยี วเป็นก้อนใสใ่ นบาตร ส่วนข้าวสวยจะตักเป็นชอ้ นในกะละมัง เมื่อตักบาตร กนั ครบ ทกุ คนแลว้ จงึ กรวดนำ้ รับพร เป็นอนั เสรจ็ พิธีตกั บาตรในชว่ งเชา้ จากนัน้ ในตอนสายจะมีการทำ “สังฆทานผัก” (เฉพาะในวันพระ) โดยชาวบ้านจะนำผัก และผลไม้สด มาถวายที่วัด เริ่มจากการใส่ขันดอกไม้และธูปเทียนก่อน จากนั้นจึงตามด้วยผัก และผลไม้ ทั้งนี้สามารถนำนำ้ และขนมมาถวายได้ และมีการใส่ขันเงิน คือ การนำปัจจัยใส่ในบาตรหรือขันพาน และเมื่อได้เวลาอันสมควร ชาวบ้านนำโดยผู้ชายจะนำผัก และผลไม้ที่ชาวบ้านใส่ไว้ในภาชนะนำมาวางจัดเรียงหน้าพระสงฆ์ จากน้ัน พระสงฆ์จะสวดมนต์และเทศนาธรรม ส่วนในช่วงเย็นจะมีการเวียนเทียนกันที่วัดพระบาทห้วยต้ม และที่พระ มหาธาตเุ จดียศ์ รเี วยี งชยั

41 I ประวตั ิศาสตรท์ อ้ งถิ่นและความหลากหลายทางชาติพนั ธข์ุ องภาคเหนอื ตอนบน : ปกาเกอะญอ การใส่สังฆทานผัก ทม่ี า: https://mgronline.com ในการเข้าวัดนั้นมักถอดรองเท้าตั้งแต่ทางเข้าประตูวัด และในตอนเย็นจะมีการสวดมนต์ โดยสถานที่ สวดมนต์จะมี 3 แห่ง ได้แก่ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย และใจบ้านของชุมชน ตามแตส่ ะดวกโดยผูท้ สี่ ะดวก โดยเฉพาะวันพระหรอื วันสำคญั ทางศาสนา คนที่มาตักบาตรทำบุญและสวดมนต์ จะมากเป็นพิเศษ และในวันพระตอนเย็นก็จะมีกิจกรรมเวียนเทียนรอบพระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัยอีกด้วย (วมิ ล สขุ แดง, สัมภาษณ์) ใจบา้ นของชุมชน พระมหาธาตเุ จดยี ์ศรีเวยี งชัย วดั พระพุทธบาทห้วยต้ม วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม นอกจากจะมีรอยพระพุทธบาทแล้ว ยังมีภาพวาดจิตรกรรมบนฝาผนังวัด ที่งดงาม มีลวดลายของลายเส้นท่ีอ่อนช้อย และประณีตงดงาม บ่งบอกถึงความวิจิตรบรรจง ซึ่งถ่ายทอด เรื่องราว ประเพณีสำคัญต่าง ๆ ของคนในชุมชนพระบาทห้วยต้ม และภาพวาดบุคคลสำคัญอยู่ด้วย จึงทำให้ สถานที่แห่ง เป็นสถานที่ที่สำคัญ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน และสะท้อนความเป็นบ้านพระบาท ห้วยตม้ ได้ดีอกี ด้วย

42 I ประวัติศาสตรท์ ้องถน่ิ และความหลากหลายทางชาติพันธขุ์ องภาคเหนอื ตอนบน : ปกาเกอะญอ อาหารของชาวปกาเกอะญอ บา้ นพระบาทหว้ ยต้ม อัตลักษณใ์ นการปฏบิ ัตติ วั เปน็ แบบอยา่ งท่ีดตี ามหลกั ศาสนาพุทธของคนในชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้ม คือ การปฏิบัติตนตามศีล 5 และอยู่กันด้วยความรักและความอบอุ่น ซึ่งสิ่งที่คนภายนอกสัมผัสได้ คือ วัฒนธรรมชุมชนที่มีการทำงานทุกวัน และจะหยุดทำงานทุกวันพระเพื่อพาครอบครัวมาทำบุญที่วัดหรือทำ ความสะอาดวัด การใช้ชีวิตอยู่อย่างพอเพียง ดำรงชีวิตด้วยการปลูกพืชผักสวนครัวกินเอง งดกินเนื้อสัตว์และ ไม่เบียดเบียนสิ่งชีวิต ไม่ดื่มของมึนเมา รักและดูแลครอบครัว ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สมาชิกในชุมชนได้รับการ ถ่ายทอดจากร่นุ สูร่ นุ่ จนกลายเปน็ แบบแผนในการดำรงชวี ิต ซง่ึ ถือว่าเปน็ แบบอย่างทดี่ ีของชุมชน และอาหารท่ี บ่งบอกถึงความเป็นตัวตนของปกาเกอะญอได้ดี คือ แกงข้าวเบือ น้ำพริกดำ และผักอีเหลิง (องค์การบริหาร การพัฒนาพื้นที่พเิ ศษเพ่ือการทอ่ งเท่ียวอย่างยงั่ ยืน (องคก์ ารมหาชน). ม.ป.ป. และ วมิ ล สขุ แดง, สมั ภาษณ์) แกงข้าวเบือ (ข้าวเบ๊อะ) แกงขา้ วเบอื (บางพ้นื ทเี่ รียกวา่ ขา้ วเบ๊อะ) เปน็ อาหารประจำของกลุม่ ชาตพิ ันธุป์ กาเกอะญอ มีลกั ษณะ คล้าย กับข้าวต้มทีต่ ้มจนเปื่อย แต่จะใส่เครื่องแกงลงไป มีผัก หน่อไม้ พริก ข่า ตะไคร้ และเกลือ แกงข้าวเบือ จะมีรสชาตทิ ่หี อมเคร่ืองแกงและมีรสเผด็ บางท่ีอาจจะมีการใส่เนื้อสัตว์ลงไป เช่น หมหู รือไก่ แต่กลุ่มชาติพันธุ์ ปกาเกอะญอในชมุ ชนบา้ นพระบาทห้วยตม้ จะไม่ใส่เน้อื สตั ว์ ดว้ ยไม่รับประทานเนือ้ สตั ว์ น้ำพริกดำ (มยุ่ แหละซู) ชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้ม จะเรียก น้ำพริกดำ ว่า “มุ่ยแหละซู” เป็นการนำพริกที่ตากจนแห้ง และ เผา ใหด้ ำ จากนั้นนำมาตำ และบีบมะนาวลงไป มกั จะรบั ประทานกับผกั สดหรือผักนึง่ ตามชอบ และกินกบั ข้าว เหนียว ชาวปกาเกอะญอบ้านพระบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย จะกินน้ำพริกดำบ่อยกวา่ แกงเบอื อีกทั้งยังเป็น อาหารท่นี ำขึน้ ขันโตกมังสวริ ตั เิ พอ่ื ต้อนรบั นักท่องเท่ยี วในชมุ ชนอีกดว้ ย ตามข้อตกลงระหว่างครูบาชัยยะวงศาพัฒนากับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านพระบาทห้วยต้ม คือ ในการบริโภคอาหาร จะเน้นผักและมังสวิรัติ โดยวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหารก็เป็นวัตถุดิบหาได้ง่ายใน ชุมชนของตนเอง เป็นวัตถุดิบจำพวกพืชผักสวนครัวทีป่ ลกู เองในครัวเรือน จึงทำให้ลักษณะการบริโภคอาหาร ของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอในชุมชนพระบาทห้วยต้มมีความแตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอในที่ อื่น ๆ จนเกิดเป็นอัตลักษณ์ด้านการบริโภคอาหารมังสวิรัติที่โดดเด่นของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญบ้านพระ บาทหว้ ยตม้ ตำบลนาทราย อำเภอล้ี จังหวัดลำพนู โดยอาหารหลักในชุมชนหลักจะประกอบด้วย แกงผัก น้ำพริกผักนึ่ง - เห็ด เต้าหู้ทอด เห็ดลมทอด ผัดหมีสมุนไพร น้ำพริกผักอีเหลิง น้ำพริกเห็ดหมอ ลาบเห็ดฟาง-เห็ดนางฟา้ ยำขาเห็ด ต้มยำปลาเจ พริกทอด ผัดผกั รวมมิตร ส่วนไขไ่ ก่นนั้ จะรบั ประทานบ้างในบางคน และไมร่ บั ประทานทุกอยา่ งท่ีมีสว่ นผสมของเน้ือสัตว์ เช่น น้ำปลาจะใช้เป็นน้ำเกลือแทน และปลาร้าจะไม่ไดใ้ สใ่ นอาหาร รวมถึงอาหารที่นำไปใส่บาตรก็เป็นอาหาร มงั สวิรัติ เรยี กไดว้ า่ ชมุ ชนแห่งน้ีรับประทานมังสวริ ัติกนั ตง้ั แตพ่ ระสงฆ์จนถึงชาวบา้ นทุกชว่ งวยั

43 I ประวัตศิ าสตรท์ ้องถิน่ และความหลากหลายทางชาตพิ ันธ์ุของภาคเหนือตอนบน : ปกาเกอะญอ น้ำพริกดำ (มยุ่ แหละซ)ู ผกั อเี หลิง เต้าหู้ วัตถดุ ิบและเมนอู าหารทสี่ ำคัญ ในส่วนเตา้ หู้ จัดเป็นวัตถุดบิ ที่สำคัญของหมู่บ้าน เพราะการท่ีที่คนในชุมชนกินมังสวริ ตั ิอย่างเคร่งครดั จึงทำให้ไม่มีการนำเนื้อสัตว์ใด ๆ เข้ามาในชุมชนโดยเด็ดขาด เพราะฉะนั้นจึงต้องอาศัยโปรตีนจากถั่วเหลือง เป็นหลัก จึงมีการทำเต้าหู้คุณภาพดี เมื่อนำไปประกอบอาหารที่ได้ทั้งความอร่อยและความหอมที่เป็น เอกลักษณ์ ประเพณสี รงนำ้ รอยพระพทุ ธบาท ประเพณีสรงน้ำรอยพระพุทธบาทห้วยต้ม จะจัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 (เหนือ) หรือประมาณ เดือนมิถุนายนของทุก ๆ ปี เป็นประเพณีที่กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้มจัดข้ึน เพอื่ แสดงความเคารพ และเพ่ือเป็นการขอขมารอยพระพทุ ธบาทหว้ ยต้ม รวมถงึ ครบู าทุกองค์ที่ทางชุมชนบ้าน พระบาทห้วยตม้ เคารพนบั ถอื ในตอนเช้าของประเพณีสรงน้ำรอยพระพุทธบ้านห้วยต้ม กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอจะพากันไป ทำบุญ ตักบาตรที่วัดตามปกติ จากนั้นจะกลับบ้านเพื่อไปจัดเตรียมน้ำขมิ้นส้มป่อยสำหรับสรงน้ำ เวลา ประมาณ 13.00 น. คนในชมุ ชนจะพากันไปท่ีวิหารครอบรอยพระพุทธบาทหว้ ยต้ม จากนน้ั กราบรอยพระพุทธ บาทห้วยต้ม กราบพระพุทธรูป และรูปป้นั ครบู า จากนั้นทำพิธสี รงน้ำรอยพระพุทธบาท โดยนำนำ้ ขมิ้นส้มป่อย ที่ได้จัดเตรียมไปใส่ในรางไม้ไผ่ให้ไหลลงสู่รอยพระพุทธบาท อาจะใส่ปัจจัยไปด้วยก็ได้ หลังจากสรงน้ำรอย พระพุทธบาทเสร็จแล้วจะทำการสรงนำ้ รูปปั้นจำลองของครูบาทั้ง 5 องค์ ที่กลุ่มชาติพันธ์ุปกาเกอะญอเคารพ นับถือ ได้แก่ รูปปั้นจำลองครูบาเจ้าชยั ลังกา ครูบาเจ้าศรีวชิ ัย ครูบาเจ้าพรหมจักร ครูบาเจ้าอภชิ ัยขาวปี และ ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา จากนั้นจะนำเอาน้ำท่ีได้จากการสรงน้ำรอยพระพุทธบาทห้วยต้ม และน้ำที่ได้จาก การสรงรูปปั้นจำลองของครูบาทกุ องค์ไปปะพรมศีรษะเพ่ือความเป็นความเป็นสริ มิ งคล จากนั้นกราบพระเปน็ อนั เสรจ็ พธิ ี ทง้ั นี้ บางคนยังนำนำ้ พระพุทธมนต์ที่ไดจ้ ากการสรงน้ำรอยพระพุทธบาทและรูปปั้นครูบากลับบ้าน เพื่อนำไปปะพรมบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้าน และครอบครัว รวมถึงการนำไปให้คนที่ไม่ได้มาร่วมพิธี สรงน้ำได้ปะพรมศีรษะ (พชยั มยุ่ จารกุ รวรศิลป์, สมั ภาษณ์)

44 I ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและความหลากหลายทางชาตพิ ันธ์ขุ องภาคเหนือตอนบน : ปกาเกอะญอ รอยพระพทุ ธบาท ความเป็นอย่แู ละการประกอบอาชพี ในการประกอบอาชีพของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ก่อนที่จะอพยพมาตั้งถิ่นฐาน ณ บ้านพระบาท ห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ชาวปกาเกอะญอจะหาเลี้ยงชีพด้วยการเข้าป่าล่าสัตว์ หาของ ปา่ หาฟืน และปลูกพืชไร่ แตเ่ ม่ือไดอ้ พยพมาอยู่บา้ นพระบาทห้วยต้มแลว้ ชาวปกาเกอะญอไดห้ ยดุ การลา่ สัตว์ ตามคำส่งั สอนของครูบาชัยยะวงศาพฒั นา แต่ปจั จุบนั จะทำงานรับจา้ ง เชน่ รับจา้ งปลูกลำไย เก็บลำไย รับจ้าง ทำสวน ทำไร่ และเมื่อมีโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ได้มีการส่งเสริมและสอนให้ ชาวปกาเกอะญอ เรียนรู้การทำเกษตร การปลูกพืชผักต่าง ๆ และเมื่อมีท่ีดิน บางส่วนได้ทำอาชีพเกษตรกร เชน่ ปลูกข้าว ขา้ วโพด และบางสว่ นทำอาชีพผลติ เครื่องเงินส่งขายศูนยว์ ิจยั หัตถกรรมพระบาทห้วยต้ม รวมถึง ผู้หญิงที่แต่งงานเป็นแม่บ้านแล้วบางส่วนจะทอผ้าส่งขายศูนย์วิจัยหัตถกรรมพระบาทห้วยต้มเช่นกัน เป็นการ หารายได้เสริมให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง (สุรินทร์ ปังวา, สัมภาษณ์) มีชาวปกาเกอะญอบางส่วนได้แยก ออกมาตั้งชุมชนชื่อ ชุมชนน้ำบ่อน้อย ตั้งอยู่ ณ บ้านพระบาทห้วยต้ม เป็นชุมชนที่ชาวปกาเกอะญออาศัยอยู่ ตามแบบวิถีชวี ิตด้ังเดิม โดยไม่ใชไ้ ฟฟา้ และไม่ใช้น้ำประปา แต่ใช้นำ้ บอ่ ของหมู่บ้าน ปลกู ผักสวนครัว โดยบ้าน ทอี่ ยอู่ าศัยจะมีลักษณะบ้านเปน็ รูปแบบดั้งเดิมของชาวปกาเกอะญอ คอื เป็นบา้ นไม้ไผ่มุงด้วยใบตึงหรือหญา้ คา การแต่งกายของชาวปกาเกอะญอ บ้านพระบาทหว้ ยต้ม ชาวปกาเกอะญอ บ้านพระบาทห้วยต้ม ยงั คงอนรุ กั ษ์ประเพณีการสวมใส่เสื้อผ้าของชาวปกาเกอะญอ เนื่องจากความเชื่อและการให้เกียรติในการใช้เครื่องนุ่งห่ม ซึ่งเมื่อมีประเพณีสำคัญในชุมชนทุกคนจะต้องแตง่ กายด้วยชุดประจำเผ่าของตนเอง โดยมีความเชอ่ื วา่ หากสวมใสเ่ สื้อประจำเผ่าในการประกอบพิธีต่าง ๆ จะทำ ให้มีชีวิตที่ดี และทำให้การประกอบพิธีต่าง ๆ มีความศักดิ์สิทธิ์ จากความเชื่อดังกล่าวนี้ชาวปกาเกอะญอได้ ยึดถือและปฏิบัติมาโดยตลอด จึงทำให้ชาวปกาเกอะญอมีเอกลักษณ์ในการแต่งกายที่ยืดถือวัฒนธรรมและ ประเพณีอย่างเคร่งครัด โดยสตรีกลุม่ ชาติพันธ์ุปกาเกอะญอ จะได้รับการสืบทอดบทบาทในการจัดหา และถัก ทอเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม สำหรับคนในครัวเรือน ซึ่งเสื้อผ้าที่ทอนี้จะมีการใส่ลวดลายตามความเชื่อและการให้ สสี ัน ดว้ ยการนำวัสดทุ ้องถนิ่ มาใช้สำหรับทำสีย้อมฝ้าย (สายทอง เงนิ เลศิ สกุล) สว่ นใหญ่แล้วชาวปกาเกอะญา จะทอผ้าใส่เอง และจากที่ชาวปกาเกอะญอมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย จึงทำให้เสื้อผ้าเป็นทรงที่ทอขึ้นมาใส่ได้ง่าย ๆ เนน้ ลวดลายจากธรรมชาติ เช่นเดยี วกันการแต่งกายของกลมุ่ ชาติพนั ธุ์ปกาเกอะญอในชมุ ชนบา้ นพระบาทห้วย ต้มจะเหมือนกับกลุ่มชาติพันธุ์โดยทั่วไป ในอดีตจะทำเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูกฝ้าย การเลือกฝ่ายที่จะ

45 I ประวัติศาสตรท์ ้องถิน่ และความหลากหลายทางชาติพนั ธ์ขุ องภาคเหนือตอนบน : ปกาเกอะญอ นำมาใช้ทอผ้า การปั่นการกรอฝ้ายเพื่อได้เป็นเส้นด้าย การย้อมสีเส้นด้าย และขั้นตอนการทอด้วยกี่เอว จนสามารถนำมาใช้นุ่งห่มได้ ส่วนปัจจุบันจะนิยมซื้อฝ้ายสำเร็จรูปมาทอผ้ามากกวา่ เพราะรวดเร็ว และสะดวก กว่า แตท่ กุ วันนีผ้ หู้ ญิงปกาเกอะญอ ชมุ ชนบ้านพระบาทหว้ ยตม้ ยงั คงทอผา้ กนั อยู่ ลักษณะการแต่งกายของปกาเกอะญอนั้นยังสามารถบ่งบอกถึงสถานภาพของบุคคลได้ด้วย เช่น โสด หรือแต่งงานแล้ว กล่าวคือ ผู้หญิงปกาเกอะญอที่ยังไม่ได้แต่งงานจะแต่งกายด้วยชุดยาว หรือเสื้อสีขาว หากเป็นผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะแต่งกายด้วยเส้ือทอครึ่งตัวสีดำ นุ่งผ้าซิ่น พร้อมทั้งใส่ผ้าโพกศีรษะ ส่วนผู้ชาย สว่ นใหญ่จะนยิ มใสเ่ ส้ือสีแดง นงุ่ คูก่ บั กางเกง หรอื ผา้ ซ่ิน (โสรง่ ) (วิมล สขุ แดง, สมั ภาษณ์) การทอผา้ แบบกี่เอว ชดุ ผ้หู ญงิ ทยี่ งั ไม่แตง่ งาน ชดุ ผูช้ าย ชดุ การแต่งกายของผู้หญิงและผชู้ ายปกาเกอะญอ การแต่งกาย ท่มี า: (touronthai.com, 2560)


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook