Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Thai shrimp

Thai shrimp

Description: Thai shrimp

Search

Read the Text Version

53กา้ วตอ่ ไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

บทที่ 4 แนวทาง การเลี้ยงกงุ้ อยา่ งยง่ั ยืน ในช่วงที่เกิดวิกฤติปัญหาโรคตายด่วนในฟาร์มเลี้ยงกุ้ง พบว่ามีเกษตรกร บางรายประสบผลส�ำเร็จในการเล้ียง แม้ว่าจะใช้ลูกกุ้งท่ีติดเช้ือแบคทีเรีย Vibrio parahaemolyticus ที่เป็นสาเหตุของโรคในระยะที่ไม่รุนแรง โดยเกษตรกรม ี การจัดการบ่อเลี้ยงที่ดี ปลอ่ ยลูกกุ้งท่ีขนาดและความหนาแน่นเหมาะสม ให้อาหาร และใช้พลังงานในการเติมอากาศท่ีมีประสิทธิภาพ ท�ำให้คุณภาพน�้ำและดินในบ่อ เลี้ยงกุ้งมีความเหมาะสมต่อการเติบโตของกุ้ง ซ่ึงช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงและลด ความเส่ียงในการเกิดโรค อีกท้ังยังส่งผลให้สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือน กระจกซ่ึงเป็นสาเหตุของการเปล่ียนแปลงภูมิอากาศโลกด้วย นอกจากน้ี หาก เกษตรกรเพิ่มกิจกรรมในฟาร์มเพ่ือลดปริมาณของเสียจากการเล้ียงกุ้งให้เป็นศูนย์ (Zero Waste) กจ็ ะน�ำไปสแู่ นวทางการผลติ ก้งุ ทเี่ ปน็ มิตรตอ่ สงิ่ แวดลอ้ ม เปน็ การ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของสินค้ากุ้งทะเลของไทย ซ่ึงมีความส�ำคัญต่อการพัฒนา อตุ สาหกรรมก้งุ ใหม้ ีความสามารถในการแข่งขนั ในตลาดโลก แนวทางการเล้ยี งกุ้งทะเลท่ีเปน็ มิตรต่อสง่ิ แวดล้อม ประกอบด้วย 2 แนวทาง คือ 1) การลดการใช้ทรัพยากรในการเล้ียงกุ้ง และ 2) การลดการปล่อยของเสีย จากการเล้ียงกุ้ง โดยสามารถใช้วิธีด�ำเนินงานได้หลากหลาย ได้แก่ การเพิ่ม ประสิทธิภาพการให้อาหาร การลดการใช้พลังงานในการเติมอากาศในบ่อเลี้ยงกุ้ง การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการปลูกป่าชายเลน การลดสารอินทรีย์ใน น�ำ้ ทง้ิ ดว้ ยการเลยี้ งหอยนางรม ซึ่งมรี ายละเอยี ดดงั นี้

4.1 การเพ่มิ ประสิทธภิ าพการใหอ้ าหาร อาหารเลย้ี งกุ้งเปน็ ตน้ ทุนการผลิตที่สำ� คัญ มีสดั ส่วนถึงรอ้ ยละ 52 ของตน้ ทนุ การเลยี้ งทง้ั หมด ดงั นน้ั หากเกษตรกรมกี ารจดั การใหอ้ าหารทไี่ มเ่ หมาะสม นอกจาก จะส่งผลต่อการเติบโต อัตรารอดตาย และปริมาณผลผลิตที่ต�่ำลงแล้ว ยังส่งผล ใหอ้ ัตราการเปล่ียนอาหารเป็นเน้อื (Feed conversion ratio: FCR) และตน้ ทุน การเล้ยี งเพ่ิมสูงขึ้นด้วย ที่มา: ส่วนเศรษฐกิจการประมง กรมประมง, 2555 ภาพท่ี 4.1 ตน้ ทนุ การเล้ียงกุ้งทะเลของเกษตรกร จากการศึกษาท่ีผ่านมา พบว่าเกษตรกรผู้เล้ียงกุ้งยังคงให้อาหารในปริมาณ มาก โดยมอี ตั ราการเปลย่ี นอาหารเปน็ เนอื้ หรอื FCR สงู กวา่ 1.2 ทง้ั นหี้ ากเกษตรกร สามารถควบคุมการให้อาหารอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับลดปริมาณอาหารที่ให้กุ้ง ตามความต้องการท่ีแท้จริงตามน้�ำหนักและปริมาณผลผลิตท่ีมีในบ่อ เกษตรกรจะ สามารถลดปริมาณอาหารในการเลย้ี ง ท�ำให้คุณภาพนำ้� และดนิ ในบ่อดีขึ้น ช่วยลด ความเสี่ยงในการเกดิ โรค และลดต้นทนุ การเล้ยี ง 55ก้าวต่อไปของกงุ้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

4.1.1 หลักการให้อาหารเลย้ี งกุ้ง ควรให้กุ้งได้กินอาหารในปริมาณท่ีพอดีในช่วงเวลาท่ีเหมาะสม อัตราการให ้ อาหารขึ้นอยู่กับขนาดและจ�ำนวนของกุ้งในบ่อ การให้อาหารน้อยเกินไปท�ำให้ กุ้งโตช้าและท�ำให้เกิดการกินกันเอง แต่การให้อาหารที่มากเกิดไปท�ำให้อาหาร เหลือสะสมอยู่บริเวณพื้นบ่อ ส่งผลให้คุณภาพน้�ำและดินในบ่อเล้ียงเส่ือมโทรมลง สารอินทรีย์จากอาหารเหลือจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ซ่ึงเป็นกระบวนการท่ี ต้องการใช้ออกซิเจน เกิดแอมโมเนีย และไนไตรท์ ส่งผลต่อสุขภาพของกุ้ง ท�ำให ้ กุง้ มีโอกาสติดเชือ้ โรคสูงขึ้น ภาพที่ 4.2 วงจรไนโตรเจนในบ่อเล้ียงก้งุ ทะเล 4.1.2 แนวทางการเพิ่มประสทิ ธิภาพการใหอ้ าหารกงุ้ การให้อาหารตามการเติบโตของกุ้ง โดยค�ำนวณปริมาณอาหารจากขอบเขต การเติบโต (scope for growth) เพ่ือให้ได้อัตราการเปล่ียนอาหารเป็นเนื้อ หรือ

FCR เทา่ กบั 1.1 แสดงในตารางท่ี 4.1 และ 4.2 โดยเกษตรกรตอ้ งสมุ่ กงุ้ เพอ่ื หาขนาด น�ำ้ หนกั และประเมินความหนาแน่นของกงุ้ ในบอ่ จากน้ันจึงคิดปริมาณอาหารที่ให้ กุ้งตามตารางที่ก�ำหนด โดยคิดต่อกุ้งจ�ำนวน 100,000 ตัว แนวทางดังกล่าวนี้ เกษตรกรจะสามารถควบคมุ ปรมิ าณอาหารทใี่ ห้ ซงึ่ จะสง่ ผลดตี อ่ คณุ ภาพสงิ่ แวดลอ้ ม ภายในบอ่ กุง้ และเกษตรกรสามารถลดต้นทุนการเลย้ี งก้งุ ได้อีกด้วย ตารางที่ 4.1 การใหอ้ าหารตามการเติบโตของกุ้งขาว โดยควบคมุ FCR ให้เทา่ กับ 1.1 ระยะเวลา น้ำ� หนักกุ้ง ขนาด ปริมาณอาหารท่ีให้ อาหารท่ีให้ตอ่ นำ้� เลี้ยง (กรมั /ตวั ) (ตวั /กโิ ลกรัม) (กโิ ลกรมั /แสนตวั หนักตวั ของกุ้ง (วนั ) 1 0.01 125,000 /วัน) (%) 15 1.00 1,000 0.28 35.5 22 2.00 500 6.56 6.6 28 3.00 333 10.29 5.1 33 4.00 250 13.39 4.5 38 5.00 200 16.15 4.0 42 6.00 167 18.67 3.7 46 7.00 143 21.01 3.5 50 8.00 125 23.23 3.3 54 9.00 111 25.33 3.2 57 10.00 100 27.35 3.0 60 11.00 91 29.29 2.9 64 12.00 83 31.16 2.8 67 13.00 77 32.97 2.7 34.74 2.7 57กา้ วตอ่ ไปของกุ้งไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

ระยะเวลา น้�ำหนกั กุ้ง ขนาด ปรมิ าณอาหารทใี่ ห้ อาหารที่ใหต้ ่อนำ�้ เลย้ี ง (กรัม/ตัว) (ตวั /กโิ ลกรัม) (กิโลกรมั /แสนตัว หนักตัวของกุ้ง (วนั ) 70 14.00 71 /วัน) (%) 73 15.00 67 36.45 2.6 75 16.00 63 38.12 2.5 78 17.00 59 39.75 2.5 81 18.00 56 41.35 2.4 83 19.00 53 42.92 2.4 86 20.00 50 44.45 2.3 89 21.00 48 45.96 2.3 91 22.00 45 47.44 2.3 93 23.00 43 48.90 2.2 96 24.00 42 50.33 2.2 98 25.00 40 51.74 2.2 100 26.00 38 53.13 2.1 103 27.00 37 54.51 2.1 105 28.00 36 55.86 2.1 107 29.00 34 57.19 2.0 109 30.00 33 58.51 2.0 112 31.00 32 59.82 2.0 114 32.00 31 61.11 2.0 116 33.00 30 62.38 1.9 118 34.00 29 63.64 1.9 120 35.00 29 64.89 1.9 66.12 1.9

ตารางที่ 4.2 ปริมาณการกินอาหารรายวันและการกินอาหารสะสมรายสัปดาห์ ตามการเจริญเตบิ โตของกุง้ ขาว สัปดาห์ ระยะเวลา น้�ำหนักกงุ้ ขนาด ปรมิ าณอาหารท่ีให้ ปรมิ าณ ที่ เลย้ี ง (กรัม/ตัว) (ตวั / (กโิ ลกรัม/แสนตัว อาหารสะสม (วนั ) กโิ ลกรัม) (กิโลกรัม) 0.01 90,909 /วนั ) ปลอ่ ยกงุ้ 1 0.3 0.3 0.29 3,425 17 0.94 1,065 3 11 2 14 1.86 538 6.3 45.2 3 21 3.02 331 10 103 4 28 4.40 227 13 186 5 35 5.98 167 17 295 6 42 7.75 129 21 431 7 49 9.71 103 25 593 8 56 11.84 84 29 782 9 63 14.14 71 33 999 10 70 16.60 60 37 1,244 11 77 19.22 52 41 1,517 12 84 22.00 45 45 1,818 13 91 24.92 40 49 2,148 14 98 28.00 36 53 2,507 15 105 31.21 32 57 2,895 16 112 34.57 29 61 3,312 17 119 35.06 29 66 3,758 จบั กุ้ง 120 3,506.01 29 66 3,824 1.1 น้ำ� หนกั กงุ้ FCR เฉล่ีย 59ก้าวต่อไปของกุ้งไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

เมือ่ เปรียบเทยี บคดิ ตน้ ทนุ จาก FCR 1.4 และ 1.1 ในการเลย้ี งกุง้ 100,000 ตวั จนไดข้ นาด 29 ตวั /กิโลกรัม ไดผ้ ลผลิตกุง้ 3,506 กโิ ลกรัม เกษตรกรสามารถ ลดตน้ ทุนอาหารได้ถึง 43,377 บาท ตารางที่ 4.3 เปรยี บเทยี บตน้ ทนุ อาหารของการใชอ้ ตั ราการเปลย่ี นอาหารเปน็ เนอื้ (FCR) ที่ค่า 1.4 และ 1. 1 FCR ผลผลติ ก้งุ (กโิ ลกรมั ) ปรมิ าณอาหาร คา่ อาหาร (บาท) (กโิ ลกรมั ) 1.4 3,506 1.1 3,506 4,908 196,336 3,824 152,966 คา่ อาหารลดลง 43,377 หมายเหตุ: ราคาอาหาร 40 บาท/กิโลกรมั ขอ้ แนะน�ำเพื่อเพิม่ ประสทิ ธิภาพการใหอ้ าหารกุง้ (1) การให้อาหารกุ้งต้องค�ำนึงถึงตัวแปรส่ิงแวดล้อมในบ่อท่ีก�ำหนดการ กินอาหารและกจิ กรรมในตัวกุ้ง เช่น อณุ หภมู ิ ความเค็ม และปรมิ าณ ออกซเิ จนละลายในน�ำ้ (2) อุณหภูมิน�้ำในช่วง 26-32 ๐C จะท�ำให้กุ้งกินอาหารเพิ่มข้ึน หาก อณุ หภมู ิสงู หรือต่ำ� กว่าชว่ งดังกล่าว จะทำ� ให้กุ้งกินอาหารลดลง ดงั น้นั ในระหวา่ งการเลย้ี งหากสภาพอากาศแปรปรวนจะสง่ ผลใหอ้ ณุ หภมู นิ ำ�้ ในบอ่ มีการเปล่ียนแปลง ซึง่ เกษตรกรสามารถประมาณการกินอาหาร ของก้งุ ได้ล่วงหนา้ (3) ในบ่อเล้ียงควรมีปรมิ าณออกซเิ จนละลายในน้�ำประมาณ 6 มิลลิกรมั / ลติ ร หรอื ใกลจ้ ดุ อม่ิ ตวั (6.5-7.3 มลิ ลกิ รมั /ลติ ร) ตลอดเวลา โดยเฉพาะ บรเิ วณตดิ ตง้ั เครอ่ื งใหอ้ าหารอตั โนมตั ิ ซงึ่ มอี าหารสะสมและมกี งุ้ เขา้ มา กินอาหารมาก

(4) เกษตรกรสามารถเพ่ิมออกซิเจนในบริเวณที่ให้อาหารโดยใช้ท่อจ่าย ออกซิเจนหรอื เคร่ืองเติมอากาศ แต่ควรระมดั ระวงั ไม่ใหก้ ระแสนำ้� แรง เกนิ ไป เพราะจะทำ� ใหก้ ุ้งไม่สามารถวา่ ยน้�ำจบั อาหารกินได้ (5) ในเวลากลางคืน หากไม่สามารถควบคุมปริมาณออกซิเจนละลายใน น้ำ� ใหอ้ ยใู่ นปริมาณท่เี หมาะสม เกษตรกรควรลดปรมิ าณการใหอ้ าหาร ตามสัดสว่ น (6) เกษตรกรท่ีเลี้ยงกุ้งในความเค็มต่�ำต้องค�ำนึงถึงปริมาณโปแตสเซียม แมกนีเซยี ม ซ่ึงมกั ขาดแคลนในน้�ำท่ีความเคม็ ต�ำ่ นอกจากนีเ้ กษตรกร ตอ้ งคำ� นงึ ถงึ คณุ คา่ ทางอาหารทเ่ี หมาะสม โดยเลอื กอาหารทมี่ พี ลงั งาน จากคาร์โบไฮเดรท และโปรตนี สงู จะทำ� ใหก้ ้งุ มีการเตบิ โตเตม็ ท่ี 4.2 การลดการใช้พลังงานในฟารม์ เลย้ี งกงุ้ พลังงานเป็นต้นทุนการผลติ ที่ส�ำคญั ในการเลี้ยงกุง้ มสี ัดส่วนร้อยละ 17 ของ ต้นทุนการเลี้ยงทั้งหมด ซ่ึงคิดเป็นอันดับสองรองจากอาหารเล้ียงกุ้ง (ภาพท่ี 4.1) ในระบบนิเวศบ่อเล้ียงกุ้งมีความต้องการใช้พลังงานในการเติมอากาศเพ่ือเพ่ิม ออกซเิ จนในนำ้� สำ� หรบั การหายใจของกงุ้ การหายใจของแพลงกต์ อนในบอ่ และการ ยอ่ ยสลายสารอนิ ทรยี โ์ ดยจลุ นิ ทรยี ์ ดงั นน้ั การใหอ้ ากาศเพอื่ รกั ษาปรมิ าณออกซเิ จน ในน�้ำให้อยู่ในระดับที่เพียงพอต่อความต้องการของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดในบ่อเลี้ยงกุ้ง จึงมีความส�ำคัญอย่างยิ่ง หากมีการจัดการที่ดีจะสามารถลดต้นทุนการเลี้ยงลงได้ แตห่ ากใหอ้ ากาศมากจนระดบั ออกซเิ จนในนำ้� เกนิ จดุ อมิ่ ตวั ออกซเิ จนจะไมส่ ามารถ ละลายในน�้ำได้เพิ่มข้ึนจากการเปิดเคร่ืองเติมอากาศ ท�ำให้สิ้นเปลืองพลังงาน เปน็ การเพ่มิ ตน้ ทนุ และไม่เป็นมติ รตอ่ สิ่งแวดล้อม 4.2.1 การหมุนเวียนออกซิเจนในบอ่ เลีย้ งกุ้ง ในบอ่ เล้ยี งกงุ้ มที ้ังการผลิตและการใช้ออกซิเจน ความเขา้ ใจในการหมนุ เวยี น ของออกซิเจนในบ่อเล้ยี งกุง้ จึงเปน็ หัวใจสำ� คญั ของการใช้พลงั งานในการเติมอากาศ ได้อย่างมีประสทิ ธิภาพ 61กา้ วตอ่ ไปของกงุ้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

ในตอนกลางวนั แสงแดดกระตุ้นการสงั เคราะหแ์ สงของแพลงก์ตอนพืชทำ� ให้ มีการดึงคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากน�้ำและอากาศเข้ามาใช้ในการสังเคราะห ์ แสง และผลิตออกซิเจน (O2) เพ่ือให้สิ่งมีชีวิตในบ่อใช้ในการหายใจและการย่อย สลายสารอนิ ทรีย์ (ภาพที่ 4.3) ส่วนในตอนกลางคืน แพลงก์ตอนพืชหยุดการสังเคราะห์แสง ท�ำให้ปริมาณ ออกซิเจนในบ่อเหลือน้อยลง กุ้งและสิ่งมีชีวิตอ่ืนๆ จึงต้องแย่งชิงออกซิเจนส�ำหรับ การหายใจ ดงั นน้ั ในเวลากลางคนื กงุ้ ในบอ่ จงึ มโี อกาสขาดออกซเิ จนไดง้ า่ ย เกษตรกร จึงควรเปิดเคร่ืองเติมอากาศเพ่ือเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้เพียงพอต่อความต้องการ เพื่อใหก้ ุ้งแขง็ แรง กินอาหารดี และเติบโตเป็นปกติ ภาพที่ 4.3 การหมุนเวียนของออกซเิ จนและส่ิงมชี ีวติ ในระบบบอ่ เล้ียงกงุ้ หากออกซิเจนไม่เพียงพอส�ำหรับย่อยสลายสารอินทรีย์ ในดินเลนพื้นบ่อ จะเกิดการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน ท�ำให้เกิดแอมโมเนีย (NH3) ไฮโดรเจน ซัลไฟล์ (HS2) และมีเทน (CH4) ซึง่ มีความเปน็ พิษต่อกุ้ง ทำ� ให้กงุ้ กินอาหารลดลง สุขภาพอ่อนแอ และเสี่ยงต่อการติดเช้ือโรค หรืออาจตายฉับพลันได้ ปริมาณของ ออกซิเจนในนำ�้ ต่อการตอบสนองของกงุ้ และสง่ิ แวดล้อมในบอ่ แสดงดังตารางที่ 4.4

ตารางที่ 4.4 ปริมาณออกซิเจนในน้�ำต่อการเติบโตของกุ้งและการย่อยสลาย สารอินทรยี ์ในบ่อเลย้ี งกุง้ ทะเล ออกซเิ จนในนำ�้ การตอบสนองของกุง้ แลส่งิ แวดล้อมในบอ่ ออกซเิ จนละลาย มากกว่า 5 ก้งุ เจรญิ เตบิ โตดี ในน้ำ� ควรมากกว่า มิลลิกรมั /ลิตร สารอินทรีย์และของเสียสลายตัวไดเ้ ร็ว 4 มิลลิกรัม/ลิตร กุ้งจะมีสุขภาพ 4 มลิ ลกิ รมั /ลติ ร กุ้งเจริญเติบโตปกติ แขง็ แรงและโตเรว็ การยอ่ ยสลายสารอนิ ทรียอ์ ยู่ในระดับปกติ 2-3 มลิ ลกิ รัม/ กุ้งกนิ อาหารลดลง เจรญิ เตบิ โตชา้ และเครียด ลิตร การยอ่ ยสลายสารอนิ ทรยี ล์ ดลง มอี าหารเหลอื ในบ่อมาก 1-2 มิลลกิ รัม/ กุ้งลอยหวั ระบบภมู ิคุ้มกันโรคลดลง ลิตร การยอ่ ยสลายของเสียแบบไมใ่ ช้ออกซเิ จน ทำ� ใหเ้ กดิ ก๊าซทมี่ คี วามเปน็ พษิ น้อยกว่า ก้งุ ตาย 1มิลลิกรมั /ลิตร 4.2.2 แนวทางลดการใช้พลงั งานในการเตมิ อากาศ การลดการใช้พลังงานในการเติมอากาศนอกจากช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงกุ้ง แล้ว ยังสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตไฟฟ้าเพ่ือใช้ในการ เติมอากาศ ท�ำให้การเล้ียงกุ้งมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรกรควรมีการ ดำ� เนนิ การ ดังนี้ การจัดการบ่อ (1) ควบคุมปริมาณแพลงก์ตอนพืชให้เหมาะสม โดยให้มีค่าความโปร่งใส ของน้�ำอยู่ในช่วง 30-40 เซนติเมตร เพ่ือให้แพลงก์ตอนพืชสามารถ ผลิตและใชอ้ อกซิเจนได้อยา่ งสมดุล 63กา้ วต่อไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

(2) จัดการอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ให้มีอาหารเหลือภายในบ่อมาก เกินไป โดยปรับลดอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ หรือ FCR ให้อยู่ ในช่วง 1.0-1.2 เพ่ือลดการสะสมสารอินทรีย์และความต้องการใช้ ออกซิเจนในการยอ่ ยสลายโดยจุลินทรยี ์ การเปิด-ปิดเครื่องเตมิ อากาศ (1) ควรมีเครื่องวัดปริมาณออกซิเจนละลายในน้�ำ เพ่ือให้ทราบปริมาณการ ละลายออกซเิ จนทแี่ ทจ้ ริง และเติมอากาศไดใ้ นปรมิ าณทเี่ หมาะสม (2) เปิดและปิดเคร่อื งเติมอากาศในช่วงเวลาท่เี หมาะสม (3) เปิดเครื่องเติมอากาศน้อยในช่วงต้นการเลี้ยงและเปิดเพ่ิมมากขึ้นเม่ือ กงุ้ มีอายุเพ่ิมข้ึน • ใช้ข้อมูลการวัดออกซิเจนละลายในน้�ำ (DO) เป็นค่าประกอบการ ตัดสนิ ใจควบคมุ การเปิด-ปิดเครอื่ งเติมอากาศ • ในชว่ งเวลากลางวนั ควรเปดิ เครอ่ื งเตมิ อากาศชา้ ๆ หรอื อาจปดิ เครอื่ ง ไดเ้ ม่ือ DO สูงจนถงึ จดุ อิ่มตัว 100% • ลดการเปิดเคร่ืองเติมอากาศในช่วงกลางวันที่มีฟ้าแจ่มใส ท้ังนี้ เกษตรกรควรพจิ ารณาความเขม้ ของสีนำ้� สุขภาพ ขนาดและจำ� นวน ของกุ้งในบ่อประกอบด้วย การเลอื กใช้เครื่องเติมอากาศ (1) เลือกใช้เคร่อื งเตมิ อากาศประสิทธภิ าพสงู เพ่ือประหยัดพลังงาน (2) ขนาดเครอื่ งยนตข์ องเครอ่ื งเตมิ อากาศทเ่ี หมาะสมควรมขี นาด 4 แรงมา้ /ไร ่ ในบอ่ ทม่ี นี ำ้� ลึกไม่เกิน 1.4 เมตร หรอื มีขนาดเครอ่ื งยนต์ 5-6 แรงม้า/ไร่ ในบ่อทม่ี นี �้ำลกึ มากกวา่ 1.4 เมตร (ชลอ และพรเลิศ, 2547) (3) บำ� รงุ รกั ษาเครอื่ งเตมิ อากาศและระบบสง่ กำ� ลงั ใหอ้ ยใู่ นสภาพทดี่ อี ยเู่ สมอ

ตวั อยา่ งการเปดิ เครอ่ื งเตมิ อากาศเพอื่ ลดตน้ ทนุ การเลยี้ งและลดการปลอ่ ย กา๊ ซเรอื นกระจก (1) ช่วงเดือนแรกของการเลี้ยง ใช้เคร่ืองเติมอากาศประมาณ 40% ของ จ�ำนวนเครื่องเติมอากาศท้ังบอ่ ในช่วงเวลา 08.00-22.00 น. หลังจากน้นั ให้ใช้เครื่องเติมอากาศตามปกติ (100% ของจ�ำนวนเครื่องเติมอากาศ ท้ังบ่อ) ซ่งึ จะชว่ ยลดการปล่อยคารบ์ อนไดออกไซดถ์ ึง 35% (2) ช่วงเดือนที่ 2 เปน็ ตน้ ไป • วันท่ีท้องฟ้าแจ่มใส อากาศปกติ ค่าความโปร่งใสของน้�ำประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใช้เครื่องเติมอากาศประมาณ 40% ของจ�ำนวน เครื่องเติมอากาศท้ังบ่อ ในช่วงเวลา 08.00-22.00 น. หลังจากนั้น ให้ใช้เครอ่ื งเติมอากาศตามปกติ (100% ของจ�ำนวนเครือ่ งเติมอากาศ ทงั้ บอ่ ) • วนั ทท่ี อ้ งฟา้ มเี มฆสลบั เมฆมาก คา่ ความโปรง่ ใสของนำ�้ ประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใช้เครือ่ งเติมอากาศประมาณ 60% ของจำ� นวนเครือ่ งเติม อากาศทั้งบ่อ ในช่วงเวลา 08.00-22.00 น. หลังจากน้ันให้ใช้เครื่อง เตมิ อากาศตามปกติ (100% ของจ�ำนวนเคร่อื งเตมิ อากาศทั้งบอ่ ) • วนั ท่ีฝนตกประมาณ 4-6 เซนตเิ มตร ในเวลากลางวัน ค่าความโปรง่ ใส ของนำ�้ ประมาณ 30-40 เซนตเิ มตร ใชเ้ ครอ่ื งเตมิ อากาศประมาณ 80% ของจ�ำนวนเคร่ืองเติมอากาศท้ังบ่อ ในช่วงเวลา 08.00-22.00 น. หลงั จากนนั้ ใหใ้ ชเ้ ครอื่ งเตมิ อากาศตามปกติ (100% ของจำ� นวนเครอ่ื ง เตมิ อากาศทัง้ บ่อ) • วันท่ีฝนตกมากกว่า 6 เซนติเมตร ค่าความโปร่งใสของน้�ำประมาณ 30-40 เซนตเิ มตร ใชเ้ ครอ่ื งเติมอากาศ 100% ของจ�ำนวนเคร่ืองเติม อากาศทั้งบอ่ ตลอดเวลา 65กา้ วต่อไปของกุ้งไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

ตารางที่ 4.5 การเปิดเคร่ืองเติมอากาศเพ่ือใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพและ ลดการปล่อยก๊าซเรอื นกระจก ระยะ สภาพ ความ การใชเ้ คร่อื งเติม กำ� ลงั การ การปลอ่ ย เวลาการ อากาศ โปรง่ ใส อากาศ ไฟฟ้า ปล่อย CO2 เล้ยี งกุ้ง (kW) CO2 ลดลง (ซม.) 08.00- 22.00- (กก.) (%) (วนั ) 22.00 08.00 1-30 - - 40% 100% 5,616 3,422 35 30-40 40% 100% 11,232 6,844 35 30-40 60% 100% 13,248 8,072 23 11 31-90 100% 15,264 9,300 0 30-40 80% 4-6 ซม. 30-40 100% 100% 17,280 10,528 > 6 ซม.

4.3 การจัดการกา๊ ซเรอื นกระจกและน้�ำทงิ้ จากฟาร์มเล้ยี งกงุ้ 4.3.1 การกกั เกบ็ คารบ์ อนไดออกไซด์จากการเลย้ี งก้งุ ดว้ ยปา่ ชายเลน การเลี้ยงกุ้งทะเลมีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นก๊าซเรือน กระจกทำ� ใหเ้ กดิ ภาวะโลกรอ้ น โดยปรมิ าณการปลอ่ ยขนึ้ อยกู่ บั จำ� นวนลกู กงุ้ ปรมิ าณ อาหาร พลังงาน ปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้ง หากมีการใช้ทรัพยากร อย่างส้ินเปลืองจะส่งผลให้การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการเล้ียงกุ้งเพิ่มสูงขึ้น ดว้ ย ดงั นน้ั ปรมิ าณคารบ์ อนไดออกไซดท์ เี่ กดิ ขนึ้ สามารถใชเ้ ปน็ ดชั นชี ว้ี ดั ระดบั ความ เป็นมติ รต่อสง่ิ แวดล้อมของกิจกรรมการเลีย้ งก้งุ ว่ามมี ากหรอื นอ้ ยเพยี งใด จากการศึกษาปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของการเล้ียงกุ้งขาว ที่ความหนาแน่น 120,000 ตัว/ไร่ จนได้กุ้งขนาด 12 กรัม พบว่ามีการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 3.66 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ต่อผลผลิตกุ้ง 1 กิโลกรัม โดยมีสัดส่วนการปล่อยมาจากกระบวนการผลิตอาหาร 55.5% พลงั งาน 42.5% ลกู พันธุ์ 1.5% และอื่นๆ 0.5% (ภาพท่ี 4.4) ภาพท่ี 4.4 สัดส่วนการปลอ่ ยคารบ์ อนไดออกไซดจ์ ากการเลยี้ งก้งุ 67ก้าวต่อไปของกุ้งไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

เกษตรกรสามารถปลูกป่าชายเลนเพ่ือกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์จากการ ผลิตกุ้งไว้ในเนื้อไม้ และเม่ือครบรอบตัดฟันสามารถน�ำไปใช้ท�ำฟืนเผาถ่านเพ่ือใช้ เปน็ พลงั งานทดแทนจากพลงั งานชวี มวล และสามารถนำ� มาใชเ้ พอื่ ประโยชนใ์ นการ ซื้อขายคาร์บอน (carbon credit) ในอนาคต ตวั อยา่ งเชน่ การผลติ กงุ้ จากฟารม์ ขนาดกลาง 1 ตนั ปลอ่ ยคารบ์ อนไดออกไซด์ 3.66 ตัน สามารถชดเชย (offset) ได้ด้วยการปลูกไม้โกงกางใบเล็ก 895 ต้น/ปี เนอ่ื งจากไมโ้ กงกางใบเลก็ สามารถกกั เกบ็ คารบ์ อนไดออกไซดไ์ ด้ 4.09 กโิ ลกรมั CO2/ ตน้ /ปี และสามารถนำ� ไมโ้ กงกางมาทำ� ฟนื เผาถา่ น 3,200-4,000 ตน้ /ไร่ (ภาพท่ี 4.5) ภาพท่ี 4.5 การปลกู ปา่ ชายเลนเพอ่ื ชดเชยคารบ์ อนไดออกไซดจ์ ากการผลติ กงุ้ 1 ตนั 4.3.2 การลดคารบ์ อนในน�้ำท้ิงดว้ ยหอยนางรม คารบ์ อนในบอ่ เลย้ี งกงุ้ มาจากอาหารเหลอื การขบั ถา่ ยกงุ้ และซากแพลงกต์ อน พืช ท่ีตกตะกอนและสะสมอยู่บริเวณพ้ืนบ่อ ซ่ึงจากการศึกษาปริมาณคาร์บอนใน บ่อเล้ยี งกงุ้ ขนาด 2.5 ไร่ ปลอ่ ยกุ้งทค่ี วามหนาแน่น 120,000 ตัว/ไร่ มรี ะยะเวลา การเลี้ยง 69 วัน ได้กุ้งขนาด 12 กรัม ปริมาณผลผลิต 1,200 กิโลกรัม/ไร่ และ อตั ราการเปลยี่ นอาหารเป็นเนื้อ (FCR) เทา่ กับ 1.1 พบว่าคารบ์ อนจากอาหารท่ีให้ กุ้งทั้งหมด 100% มกี ารสะสมคารบ์ อนในผลผลิตกงุ้ 16% แพลงก์ตอนพชื 10% ใน น้ำ� 21% และดินพืน้ บอ่ 53% (ภาพที่ 4.4)

ภาพที่ 4.4 การสะสมของคารบ์ อนในบ่อเล้ียงกุ้ง หากปล่อยกุ้งท่ีความหนาแน่นสูงและให้อาหารกุ้งมากเกินไป จะท�ำให้เกิด การสะสมของสารอินทรีย์ ซ่งึ จลุ นิ ทรียต์ ้องการใชอ้ อกซิเจน เพ่อื การยอ่ ยสลายสาร อินทรีย์ดังกล่าว ส่งผลให้ขาดออกซิเจนในบ่อเลี้ยงกุ้งได้ ดังนั้น ต้องมีการจัดการ ที่ดีโดยควบคุมปริมาณอาหารที่ให้กุ้ง เพื่อป้องกันการเหลือตกค้างและสะสม ของสารอนิ ทรยี ซ์ ง่ึ มผี ลตอ่ ปรมิ าณออกซเิ จนในบอ่ อกี ทง้ั การลดปรมิ าณสารอนิ ทรยี ์ ในบอ่ เลยี้ งกงุ้ การยงั ชว่ ยควบคมุ เชอื้ Vibrio parahaemolyticus ทเ่ี ปน็ สาเหตสุ ำ� คญั ของโรคตายด่วน เน่ืองจากเช้ือน้ีสามารถเจริญเติบโตได้ดีบนตะกอนอินทรีย์และ ซากแพลงกต์ อนพืชในภาวะท่มี ีออกซเิ จนต่ำ� หรอื ไมม่ ีออกซเิ จน จากการศึกษาการเปล่ียนแปลงปริมาณคาร์บอนในระบบนิเวศบ่อเลี้ยง กุ้งขาวพบว่า การเล้ยี งกุง้ ขาวทอี่ ตั ราการเปลย่ี นอาหารเป็นเนอ้ื (FCR) เทา่ กับ 1.1 ให้ได้ผลผลิต 1 ตัน เม่ือสิ้นสุดการเล้ียงจะมีคาร์บอนอินทรีย์ท่ีแขวนลอยอยู่ในน้�ำ (Particulate Organic Carbon: POC) 5.92 กิโลกรัมคาร์บอน และมีอนินทรีย ์ คาร์บอนท่ีละลายน้�ำ (Dissolved Inorganic Carbon: DIC) 16.40 กิโลกรัม คารบ์ อน การลดคารบ์ อนอนิ ทรยี แ์ ละคารบ์ อนอนนิ ทรยี เ์ หลา่ นใ้ี นนำ้� ทง้ิ สามารถทำ� ได้ โดยเล้ียงหอยนางรมให้ท�ำหน้าที่บ�ำบัดน�้ำจากการเล้ียงกุ้งให้มีคุณภาพดีก่อนท ี่ 69ก้าวตอ่ ไปของกุ้งไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

จะนำ� กลบั มาเลยี้ งในรอบตอ่ ไปหรอื ปลอ่ ยออกจากฟารม์ โดยหอยนางรมจะทำ� หนา้ ที่ เป็นตัวกรองแบบชวี ภาพ (biological filter) ชว่ ยควบคมุ คณุ ภาพน�ำ้ ด้วยการกรอง กินแพลงก์ตอนและอินทรียวัตถุในน้�ำ สารอินทรีย์เหล่าน้ีจะถูกย่อยและดูดซึมไว้ ในเนื้อเย่ือของหอยส�ำหรับใช้ในการเจริญเติบโตผ่านกระบวนการแคลซิฟิเคชั่น เพ่ือสร้างเป็นเน้ือหอยและเปลือกที่เป็นแหล่งเก็บคาร์บอนได้ในระยะยาว ความ สามารถในการกกั เกบ็ คารบ์ อนของหอยนางรมขนึ้ อยกู่ บั ชนดิ พนั ธ์ุ โดยการเลยี้ งหอย ตะโกรมกรามขาว (หอยนางรมพนั ธ์ุใหญ)่ เพื่อกักเก็บ POC และ DIC ในน้ำ� ทิ้งท ่ี เกิดจากการเล้ียงกงุ้ 1 ตัน จนหมด จะต้องเล้ยี งหอยตะโกรมขาว จำ� นวน 1,025 ตัว โดยใชเ้ วลาการเลยี้ ง 12 เดอื นเพอ่ื ใหไ้ ดข้ นาดทตี่ ลาดตอ้ งการ ในขณะทก่ี ารเลยี้ งหอย นางรมปากจบี (หอยนางรมพนั ธเ์ุ ลก็ ) ซง่ึ มอี ตั ราการเจรญิ เตบิ โตตำ่� กวา่ หอยตะโกรม ขาว จะต้องเล้ียงจำ� นวน 3,710 ตัว และใชเ้ วลา 18 เดือน (ตารางท่ี 4.6-4.7) ตารางท่ี 4.6 จ�ำนวนหอยตะโกรมกรามขาวและหอยนางรมปากจีบส�ำหรับลด POC ในนำ้� ทิง้ ชนดิ อายุ นำ�้ หนัก น�้ำหนัก C ในเนอ้ื POC จากการ จ�ำนวน พื้นที่ (เดอื น) เนอื้ เนอื้ (กรัม/ เลย้ี งกุง้ 1 ตัน หอยเพือ่ เลี้ยง สด* แหง้ ตัว) (กิโลกรมั C/ ลด POC หอย** (กรัม) (กรัม) ตัน) (ตัว) (แพ) กขราาวม 6 8.70 6.62 2.95 5.92 2,008 0.63 12 20.00 15.22 6.77 5.92 874 0.27 18 20.40 15.52 6.91 5.92 856 0.27 ปากจีบ 6 0.34 0.26 0.12 5.92 51,387 16.06 12 4.57 3.48 1.55 5.92 3,823 1.19 18 6.43 4.89 2.18 5.92 2,717 0.85 หมายเหต:ุ * มณยี ์ และจินตนา (2547) ** แพขนาด 5X6 ตร.ม. มหี อยจ�ำนวน 3,200 ตวั (320 พวงๆ ละ 10 ตัว)

ตารางท่ี 4.7 การสะสมของคาร์บอนในเปลือกหอยนางรม ชนิด อายุ น�ำ้ หนัก CaCO3 C ใน DIC จากการ จำ� นวน พืน้ ที่ (เดอื น) เปลอื ก* ในเปลอื ก เปลอื ก เล้ียงกุ้ง 1 ตนั หอยเพ่อื เลย้ี ง (กรัม) (กรัม/ตัว) (กรัม/ (กโิ ลกรัม C/ ลด DIC หอย** ตัว) ตัน) (ตัว) (แพ) กขราาวม 6 32.87 31.56 3.79 16.40 4,331 1.35 ปากจีบ 12 138.89 133.33 16.00 16.40 1,025 0.32 18 191.38 183.72 22.05 16.40 744 0.23 6 0.16 0.15 0.02 16.40 889,789 278.06 12 2.87 2.76 0.33 16.40 49,605 15.50 18 38.37 36.84 4.42 16.40 3,710 1.16 หมายเหต:ุ * มณยี ์ และจินตนา (2547) ** แพขนาด 5X6 ตร.ม. มหี อยจำ� นวน 3,200 ตวั (320 พวงๆ ละ 10 ตัว) 4.3.3 การจดั การฟารม์ เลยี้ งกงุ้ แบบผสมผสานดว้ ยการปลกู ปา่ ชายเลนและ การเล้ียงหอยนางรม การจดั การฟารม์ แบบผสมผสาน ดว้ ยการเลยี้ งหอยนางรมและการปลกู ปา่ ชาย เลนในฟารม์ เลยี้ งกงุ้ ทะเล นอกจากจะชว่ ยลดปรมิ าณสารอาหารในนำ้� ทง้ิ ชว่ ยในการ กักเก็บและชดเชยคาร์บอนที่ปล่อยจากการเลี้ยงกุ้งแล้วยังสามารถน�ำไปจ�ำหน่าย เพือ่ ใหม้ รี ายไดเ้ สริมเพ่ิมขน้ึ อีกด้วย ตัวอย่างการเลี้ยงกุ้งขาวให้ได้ผลผลิต 1 ตัน ที่มีอัตราการเปล่ียนอาหารเป็น เน้ือ (FCR) เท่ากับ 1.1 และมีการใช้พลังงานในการเติมอากาศ 130 กิโลวัตต์ (kW) จะมีการปล่อยคาร์บอนในการเล้ียงจาก 3 ส่วนหลัก คือ 1) การปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการให้อาหาร การใช้พลังงาน และการใช้ปัจจัยการ 71ก้าวต่อไปของกงุ้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

ผลิตในการเล้ียงก้งุ โดยมีปริมาณการปล่อยคารบ์ อนไดออกไซด์ เท่ากับ 3.66 ตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ton CO2e) 2) การปล่อย POC ในน้�ำทิ้งท่ีเกิด จากอาหารเหลือ การตายของแพลงก์ตอนพืช และการขับถ่ายของเสียจากกุ้งขาว มีปริมาณเทา่ กบั 5.92 กิโลกรัมคาร์บอน (kg C) และ 3) การปลอ่ ย DIC ในน�ำ้ ท้ิงที่ เกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ และการขับถ่ายของเสียจากกุ้งขาว มีปริมาณ เทา่ กบั 16.4 กโิ ลกรมั คารบ์ อน (kg C) กา๊ ซคารบ์ อนไดออกไซดแ์ ละคารบ์ อนในนำ้� ทงิ้ ที่เกดิ ขึน้ จากการเล้ยี งกุ้งนี้ สามารถกักเกบ็ ไดด้ ว้ ยการปลกู ไม้โกงกางใบเล็ก จ�ำนวน 895 ตน้ /ปี และการเลย้ี งหอยตะโกรมขาว จำ� นวน 1,025 ตวั หรอื การเลยี้ งหอย นางรมปาก จำ� นวน 3,710 ตัว แนวทางการจัดการคาร์บอนท่ีเกิดข้ึนจากกิจกรรมการเล้ียงกุ้งทะเลน้ี หาก เกษตรกรมีความเข้าใจสามารถลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการ เลี้ยงกุ้งลงได้ รวมทั้งสามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ (Carbon Sequestration) อยู่ในรปู ของมวลชวี ภาพ (Biomass) เพอื่ ลดการปลอ่ ยก๊าซเรือน กระจกจากการเลี้ยงกุ้งทะเล จะแสดงให้เห็นได้ว่ากิจกรรมการเลี้ยงกุ้งทะเลม ี ความเปน็ มติ รกบั สง่ิ แวดลอ้ ม และไมส่ รา้ งผลกระทบตอ่ การทำ� ใหเ้ กดิ สภาวะโลกรอ้ น โดยสรปุ แนวทางการจัดการคาร์บอนจากการเลยี้ งก้งุ แบ่งออกเปน็ 2 ขนั้ ตอน ดงั นี้ (1) การเล้ียงหอยนางรมเพ่ือลดคาร์บอนอินทรีย์และคาร์บอนอนินทรีย ์ ในน�้ำท้ิงจากการเลี้ยงกุ้ง โดยหอยนางรมจะกรองกินคาร์บอนอินทรีย์ในน้�ำทิ้งมา เก็บไว้ในเนื้อ ส่วนคาร์บอนอนินทรีย์จะถูกน�ำไปใช้ในการสร้างเปลือก จึงจัดได้ว่า หอยนางรมเป็นแหล่งเก็บคาร์บอน (carbon sink) และเม่ือค�ำนวณค่า bio-se- questration ของการเลยี้ งหอย ทีค่ วามหนาแน่น 3,200 ตวั ในแพขนาด 30 ตร.ม. จำ� นวน 25 แพ/ไร่ คดิ เปน็ จ�ำนวนหอยตะโกรมท้งั หมด 80,000 ตัว/ไร่ ระยะเวลา การเล้ียง 1 ปี จะไดห้ อยขนาด 9.97 ซม. สามารถกกั เก็บคาร์บอนไว้ในเปลือกหอย เท่ากับ 1.28 ตัน C/ไร่/ปี ดงั น้นั การเลีย้ งหอยนางรมจงึ เป็นการผลติ อาหารทีเ่ ปน็ มติ รกบั สง่ิ แวดลอ้ ม (green production) การเลยี้ งหอยตะโกรมกรามขาว เปน็ เวลา 1 ปี หอย 1 ตวั มคี ารบ์ อนสะสมอยใู่ นเปลอื ก 16 กรมั ดงั นนั้ เมอื่ บรโิ ภคหอยนางรม

1 ตวั จะมสี ว่ นชว่ ยลดคารบ์ อนออกจากบรรยากาศ 16 กรมั “Eat a clam, save the earth” ซงึ่ จะเปน็ แนวโนม้ ของการบรโิ ภคสตั วน์ ำ�้ ในอนาคต ทคี่ ำ� นงึ ถงึ กระบวนการ ผลติ ทม่ี ีความเปน็ มิตรตอ่ ส่งิ แวดลอ้ ม (2) การปลูกป่าชายเลนเพื่อกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ท่ีเกิดจากการ เลี้ยงกุ้งไว้ในเนื้อไม้ และเมื่อครบรอบตัดฟันก็สามารถน�ำไปจ�ำหน่ายเพื่อใช้เป็น พลังงานชีวมวล โดยพลงั งานดังกล่าวน้ีเป็นพลังงานสะอาด “clean energy” เม่ือ ถกู นำ� ไปใช้ในการให้พลงั งานจะไมถ่ กู นำ� มาคิดคา่ การปลอ่ ยกา๊ ซเรอื นกระจก ภาพท่ี 4.5 ตวั อยา่ งฟารม์ เลยี้ งกงุ้ แบบผสมผสานกบั การปลกู ปา่ ชายเลน และการเลยี้ งหอยนางรม 73กา้ วต่อไปของกุ้งไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน



75กา้ วตอ่ ไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน



77กา้ วตอ่ ไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

บทท่ี 5 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพอ่ื แกไ้ ขปญั หาโรคก้งุ ตายดว่ น อย่างเปน็ ระบบและยงั่ ยนื 5.1 การควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคกุ้งตายด่วนอย่าง เป็นระบบ (1) การสง่ เสรมิ การเลย้ี งพอ่ แม่พันธุ์กงุ้ » ปรับปรุงสายพันธุ์กุ้งให้มีความสามารถต้านทานโรคหรือภูมิคุ้มกันต่อ เชอื้ กอ่ โรคกงุ้ ตายดว่ น โดยความรว่ มมอื ระหวา่ งภาครฐั และภาคเอกชน ได้แก่ การนำ� เขา้ พอ่ แมพ่ ันธ์กุ ุง้ ขาว » พัฒนาสายพันธุ์ในโรงเรือนระบบปิด และควบคุมคุณภาพน้�ำให้อยู่ใน ช่วงทเ่ี หมาะสม » ก�ำหนดแนวทางในการควบคุมและลดปรมิ าณเช้ือโรคตา่ งๆ ในระหวา่ ง การเลีย้ งอยา่ งมีประสิทธิภาพ (2) การควบคมุ คณุ ภาพลูกกงุ้ ในโรงเพาะฟักหรือโรงอนบุ าล » มีระบบควบคุมคุณภาพลูกกุ้งที่มีประสิทธิภาพก่อนจ�ำหน่ายให้แก ่ เกษตรกร โดยใช้มาตรฐานและเกณฑ์การตรวจประเมินคุณภาพลูกกุ้ง ของกรมประมง เพือ่ ลดความเสี่ยงของการเกดิ โรค

» มีมาตรการควบคุมไม่ให้โรงเพาะฟักน�ำกุ้งเนื้อในฟาร์มทั่วไปซ่ึงไม่ม ี ระบบปอ้ งกนั โรคทเี่ หมาะสม มาใชเ้ ปน็ พอ่ แมพ่ นั ธเ์ุ พอื่ ผลติ ลกู กงุ้ เพราะ พ่อแม่พันธุ์ดังกล่าวอาจเป็นพาหะของโรคและแพร่เช้ือโรคไปยังลูกกุ้ง จนเปน็ สาเหตุของการเกิดโรคระบาดในแหล่งเลี้ยงก้งุ ทัว่ ประเทศ (3) การสง่ เสรมิ ใหเ้ กษตรกรมคี วามรเู้ กย่ี วกบั การปอ้ งกนั โรคในระดบั ฟารม์ » เผยแพร่ให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เล้ียงกุ้งในการตรวจสอบคุณภาพ และความแข็งแรงของลกู กงุ้ อย่างงา่ ย ก่อนที่จะน�ำลกู ก้งุ ไปปล่อยเล้ียง ในบอ่ ดิน » ส่งเสริมให้เกษตรกรเตรียมบ่อเลี้ยงกุ้งให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ก่อนปล่อยกงุ้ ลงเล้ียง และให้ความสำ� คัญกับการสร้างอาหารธรรมชาติ ในบอ่ ใหม้ ากขนึ้ » ส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการควบคุมเช้ือแบคทีเรีย ทางเดินอาหารของกุ้ง เพ่ือทดแทนการใช้ยาต้านหรือสารเคมีใน การกำ� จดั เชื้อแบคทเี รีย เชน่ จลุ นิ ทรีย์ ปม. 1 และสารสกัดข่า (4) การพฒั นาระบบเฝา้ ระวงั การติดเช้อื » ตรวจสอบการปนเปอ้ื นของเชอ้ื Vibrio parahaemolyticus สายพนั ธ์ุ ก่อโรคตายด่วนและเช้ือปรสิต EHP อย่างต่อเน่ือง เพ่ือเฝ้าติดตาม การตดิ เชื้อในระบบการผลติ ว่าลดลงหรอื ไม่ » ตรวจสอบการสง่ ผา่ น virulent plasmid ของเชอื้ Vibrio parahaemo- lyticus สายพันธุ์ก่อโรคตายด่วนไปยังแบคทีเรียชนิดอ่ืนๆ โดยเฉพาะ ในกลมุ่ vibrio ด้วยกนั » พัฒนาเทคนิคและวิธีการตรวจสอบคัดกรองเช้ือโรคที่มีความไวและ ความจ�ำเพาะสงู เพอื่ เพิ่มความถกู ตอ้ งและความแม่นยำ� ให้มากขึ้น 79ก้าวตอ่ ไปของกงุ้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

(5) การศึกษาวจิ ยั เพื่อป้องกนั และแก้ไขปัญหาโรคกุ้งตายด่วน » ศึกษาเพิ่มเติมวิธีก�ำจัดและควบคุมเช้ือ Vibrio parahaemolyticus สายพนั ธก์ุ อ่ โรคตายดว่ นท่ีปนเปื้อนในดินและน�ำ้ ในบ่อเล้ยี งกงุ้ รวมทั้ง ศึกษาแนวทางในการป้องกันและรักษาโรค เช่น แบคทรี โิ อเฟจ (bac- teriophage) และวัคซีน เป็นตน้ » ศึกษาเพ่ิมเติมถึงปัจจัยสาเหตุ ระดับความรุนแรงของเช้ือ EHP ต่อ การตายและผลผลิตของกุ้ง ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อ EHP กบั เชือ้ Vibrio parahaemolyticus สายพนั ธทุ์ มี่ คี วามรนุ แรงในการ กอ่ โรคตายดว่ น รวมถึงวิธีการควบคุมและจัดการเช้ือดงั กลา่ ว

81กา้ วตอ่ ไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน



5.2 การเล้ียงกุ้งอย่างย่งั ยนื และเสริมศักยภาพการแขง่ ขนั (1) การวางแผนและปรับตัวของภาคการผลติ กงุ้ » จัดเตรียมความพร้อมเพ่ือรองรับการเปล่ียนแปลงภูมิอากาศ ท้ังด้าน การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (mitigation) และการเพิ่มแหล่ง กกั เกบ็ กา๊ ซเรอื นกระจก (carbon sink) ในกจิ กรรมการเลย้ี งกงุ้ เพอ่ื เขา้ สู่การเกษตรสเี ขยี ว » พัฒนาศกั ยภาพเกษตรกรใหเ้ ขา้ สูก่ ารผลิตสนิ ค้าสเี ขยี ว (green prod- uct) โดยใชก้ ารจัดการฟาร์มแบบ zero waste » สร้างแนวปฏิบัติท่ีดีของการเพาะเลี้ยงกุ้ง ให้สามารถผลิตกุ้งที่ลดการ ใชป้ จั จัยการผลิต ลดการปล่อยของเสียจากการกระบวนการผลติ และ ลดการปลอ่ ยกา๊ ซเรอื นกระจก » จดั ทำ� ฟาร์มสาธิตที่มีการจัดการอาหารและใชพ้ ลังงานในฟาร์มเลย้ี งกงุ้ อย่างมปี ระสทิ ธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นแหลง่ เรียนรู้ใหก้ ับเกษตรกร (2) การเพ่ิมมลู ค่าสนิ ค้ากงุ้ ด้วยการผลติ ทเี่ ปน็ มติ รต่อสง่ิ แวดล้อม » ใช้การจัดการฟาร์มแบบผสมผสาน โดยเพมิ่ กิจกรรมท่ีชว่ ยกักเกบ็ หรอื ลดการปล่อยคาร์บอน (carbon offset) จากการเลี้ยงกุ้งทะเล เช่น การเลี้ยงหอยนางรม การปลูกป่าชายเลน ซ่ึงเป็นการสร้างความแตก ตา่ งและสรา้ งจดุ แข็งให้กับอุตสาหกรรมกุ้งไทย » ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรแสดงข้อมูลด้านส่ิงแวดล้อม ของผลิตภัณฑ์ ไดแ้ ก่ การติดฉลากคาร์บอนฟตุ พร้นิ ท์ (carbon foot- print) เพอ่ื ประโยชน์ในการแขง่ ขันกับต่างประเทศ 83ก้าวต่อไปของกงุ้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน



85กา้ วตอ่ ไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน



87กา้ วตอ่ ไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

เอกสารอา้ งอิง 1. จุฑารัตน์ กิติวานิชย์ และคณะ. 2557. การจัดการพลวัตคาร์บอนใน ฟาร์มเล้ียงกุ้งทะเลเพื่อการลดการสูญเสียผลผลิตและลดการผลิต และ ปลดปลอ่ ยกา๊ ซคารบ์ อนไดออกไซด.์ สำ� นกั งานพฒั นาการวจิ ยั การเกษตร. 2. จริ าพร เกษรจันทร์ และคณะ. 2558. การศกึ ษาแนวทางปฏิบตั ิในการ จัดการท่ีเหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดปัญหา EMS/AHPNS. สำ� นกั งานพฒั นาการวิจัยการเกษตร. 3. ชลอ ลม้ิ สุวรรณ และ พรเลศิ จนั ทรร์ ัชชกูล. 2547. อุตสาหกรรมการ เพาะเลยี้ งกงุ้ ในประเทศไทย. เมจิก พบั บลเิ คชั่น. 4. พุทธ ส่องแสงจินดา และคณะ. 2556. การประยุกต์ใช้แบบจ�ำลอง คณิตศาสตร์ท�ำนายผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อ ผลผลติ และระบบนเิ วศบ่อเล้ยี งกุ้งขาวแบบพฒั นา. 5. มณีย์ กรรณรงค์ และ จินตนา โสภากุล. 2547. การเตบิ โต การปนเปื้อน ของแบคทีเรยี ในหอยตะโกรมกรามขาว หอยตะโกรมกรามด�ำ และหอย นางรมปากจีบ บริเวณแหล่งเลี้ยงอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สัมมนาวชิ าการกรมประมง ประจำ� ปี 2554. 6. วารนิ ทร์ ธนาสมหวัง และคณะ. 2558. การศกึ ษาระบาดวทิ ยา ปจั จัย สาเหตุ และแนวทางการแกป้ ญั หาโรคตายดว่ นในกงุ้ ทะเลในประเทศไทย. ส�ำนักงานพัฒนาการวจิ ยั การเกษตร. 7. สำ� นกั งานเศรษฐกจิ การเกษตร. 2558. สถานการณส์ นิ คา้ เกษตรทส่ี ำ� คญั และแนวโน้มปี 2559.

89กา้ วตอ่ ไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน



91กา้ วตอ่ ไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

รายชอื่ โครงการวจิ ยั ดา้ นการแกป้ ญั หาโรคกงุ้ ตายดว่ นและการจดั การ คารบ์ อนในฟารม์ เล้ียงก้งุ ภายใต้การสนับสนนุ ของส�ำนกั งานพฒั นาการวิจัยการเกษตร (1) การศึกษาระบาดวิทยา ปจั จยั สาเหตุ และแนวทางการแก้ปัญหา โรคตายด่วนในกุ้งทะเลในประเทศไทย (1.1) การศกึ ษาทางระบบระบาดวทิ ยาแบบ cohort: สาเหตขุ องโรคตายดว่ น ในฟารม์ เล้ยี งกุ้งทะเล การศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพลูกกุ้งจากโรงอนุบาลต่อการเกิดโรค ตายดว่ นในฟารม์ เลีย้ งก้งุ ทะเล • วารนิ ทร์ ธนาสมหวงั กรมประมง (หัวหน้าโครงการ) • เจนจิตต์ คงก�ำเนิด กรมประมง • จำ� เรญิ ศรี ถาวรสวุ รรณ กรมประมง • ธดิ าพร ฉวีภกั ด ิ์ กรมประมง • สมพิศ แยม้ เกษม กรมประมง • สวุ รรณา วรสงิ ห ์ กรมประมง • กัญญารตั น์ สนุ ทรา กรมประมง

• ฉันทนา แกว้ ตาปี กรมประมง • สุรีรตั น์ เผอื กจีน กรมประมง • ชยั วุฒิ สดุ ทองคง กรมประมง • นภารตั น์ ประไพวงศ์ กรมประมง • ปิยาลัย เหมทานนท ์ กรมประมง การศึกษาทางระบาดการเกิดโรคตายด่วนจากปัจจัยเสี่ยงของแบคทีเรีย Bacteriophage, White Spot Syndrome Virus (WSSV), Yellow Head Virus (YHV), Microsporidian และ Gregarine-Like (GRL) ในฟาร์มเลี้ยง กงุ้ ทะเล • ทมิ โมที วิลเลียม เฟลเกล มหาวทิ ยาลัยมหดิ ล • กัลป์ยาณ์ ศรีธญั ญลกั ษณา มหาวทิ ยาลยั มหิดล • สริ พิ งษ์ ฐิตะมาดี มหาวิทยาลยั มหดิ ล (1.2) การศึกษาการเกิดโรคตายด่วนตลอดสายการเพาะเล้ียงกุ้งขาว แวนนาไม (Litopenaeus vannamei) • นติ ิ ชูเชดิ มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ • เตม็ ดวง สมศิริ กรมประมง • พทุ ธรัตน์ เบา้ ประเสรฐิ กุล กรมประมง • ณัฏฐนิ ี มั่นคงวงศศ์ ริ ิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (1.3) การศกึ ษาระบาดวทิ ยาดว้ ยรปู แบบ case control study เพอ่ื เขา้ ใจ ถึงปัจจัยเส่ียงของการเกิดปัญหาและวิธีการควบคุมโรคตายด่วน (EMS/ AHPNS) 93ก้าวตอ่ ไปของกงุ้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

• วศิ ณุ บุญญาวิวัฒน์ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ • เต็มดวง สมศริ ิ กรมประมง • พทุ ธรัตน์ เบ้าประเสรฐิ กลุ กรมประมง • ณัฏฐนิ ี มนั่ คงวงศ์ศริ ิ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ (1.4) การวเิ คราะหเ์ ครอื ขา่ ยทางสงั คมของการเลย้ี งกงุ้ ขาวแวนนาไม (Lito- penaeus vannamei) และกุ้งกลุ าด�ำ (Penaeus monodon) เพื่อการ ควบคมุ โรคระบาด • ชัยเทพ พลู เขตต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • วศิ ณุ บญุ ญาววิ ฒั น์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • จิราพร เกษรจันทร์ กรมประมง • สมพิศ แยม้ เกษม กรมประมง (2) การศกึ ษาแนวทางปฏบิ ตั ใิ นการจดั การทเ่ี หมาะสมเพอื่ ลดความ เสีย่ งของการเกิดปัญหา EMS/AHPNS • จริ าพร เกษรจันทร์ กรมประมง (หัวหนา้ โครงการ) • วศิ ณุ บุญญาวิวัฒน ์ มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์ • เจนจติ ต์ คงก�ำเนิด กรมประมง • ชุตมิ า ขมวลิ ัย กรมประมง • ธิดาพร ฉวภี กั ดิ ์ กรมประมง

(3) การจัดการพลวัตคาร์บอนในฟาร์มเล้ียงกุ้งทะเลเพ่ือการ ลดการสูญเสียผลผลิตและลดการผลิต และปลดปล่อยก๊าซ คารบ์ อนไดออกไซด์ • จุฑารตั น์ กิตวิ านชิ ย์ กรมประมง (หวั หนา้ โครงการ) • พทุ ธ สอ่ งแสงจินดา กรมประมง • วิวรรธน์ สิงห์ทวีศักด์ิ กรมประมง • ทวี จินดามยั กลุ กรมประมง • เพ็ญศรี เมอื งเยาว์ กรมประมง 95ก้าวตอ่ ไปของกงุ้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน



97กา้ วตอ่ ไปของกุง้ ไทย หลังวิกฤตโรคตายด่วน

สํานกั งานพัฒนาการวจิ ัยการเกษตร (องคก์ ารมหาชน) 2003/61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจกั ร กรงุ เทพฯ 10900 โทรศพั ท์ : 0 2579 7435 โทรสาร : 0 2579 7693 ส�ำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) 2003/61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0 2579 7435 โทรสาร : 0 2579 7693

ISBN 978-616-91805-5-5 สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องคการมหาชน) 2003/61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท : 0-2579-7435 โทรสาร : 0-2579-7693


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook