ลากลบั กราบ ๑ ครงั้ ถอยโดยวิธีเดนิ เขา่ ๔) การรับส่งิ ของ ขณะผู้ใหญย่ ืน ชาย เดินเข้าไปห่างจากผู้ใหญ่พอประมาณ ยืนตรงไหว้ ๑ คร้งั ตามระดับ ก้าวเทา้ ขวาไปขา้ งหน้า เปิดส้นเทา้ ซ้าย รับส่ิงของ ถอยเท้าขวากลับ ยนื ตรง ถอยหลังพอประมาณ จงึ หนั หลงั กลับ ยนื ตรง คอ้ มตัวไหว้ 42 มารยาทไทย มารยาทในสงั คม
กา้ วเทา้ ขวา โน้มตวั รบั ยืนตรง อีกแบบหน่ึง เดินเข้าไปห่างจากผู้ใหญ่พอประมาณ ยืนตรง คำ�นับ กา้ วเทา้ ขวาไปขา้ งหนา้ เปดิ สน้ เทา้ ซา้ ย โนม้ ตวั ไปขา้ งหนา้ เลก็ นอ้ ย รบั สงิ่ ของดว้ ยมอื ขวา มือซ้ายแนบลำ�ตัว แล้วถอยเท้าขวากลับ ยืนตรงคำ�นับอีก ๑ คร้ัง ถอยพอประมาณ จึงหนั หลังกลบั หญิง เดินเข้าไปห่างจากผู้ใหญ่พอประมาณ ไหว้ตามระดับของ ผู้ส่งส่ิงของ ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าย่อตัวรับส่ิงของ แล้วถอยเท้าขวากลับ ยืนตรง ถอยพอประมาณ จงึ หนั หลงั กลบั มารยาทไทย มารยาทในสังคม 43
ยนื ตรง ย่อตัวไหว้ ก้าวเท้าขวา ยอ่ ตวั รบั ถอยเท้าขวากลับ ยนื ตรง 44 มารยาทไทย มารยาทในสังคม
๕) การรับสิ่งของ ขณะผใู้ หญ่น่งั เกา้ อ้ี ชาย เดินเข้าไปห่างจากผู้ใหญ่พอประมาณ ยืนตรง คอ้ มตวั ไหว้ตามระดับ กา้ วเทา้ ขวาไปขา้ งหน้า ลงเขา่ ซ้าย รับสิง่ ของ ถอยเทา้ ขวากลบั ยืนตรง ถอยพอประมาณ จึงหนั หลังกลับ ถ้าเป็นสิ่งของหนัก ให้รับด้วยมือขวา แล้วใช้มือซ้ายช่วย ประคอง อกี แบบหนงึ่ เดนิ เขา้ ไปหา่ งจากผใู้ หญพ่ อประมาณ ยืนตรง คำ�นับ ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า ลงเข่าซ้าย รับสิ่งของด้วยมือขวา มือซ้ายแนบลำ�ตัว ถอยเทา้ ขวากลบั ยนื ตรง ค�ำ นบั อีก ๑ ครัง้ ถอยพอประมาณ จงึ หนั หลังกลับ ยืนตรง คอ้ มตัวไหว้ ก้าวเทา้ ขวา ลงเข่าซา้ ย รบั สงิ่ ของ ถอยเทา้ ขวา ยืนตรง มารยาทไทย มารยาทในสังคม 45
หญงิ เดนิ เขา้ ไปหา่ งจากผใู้ หญพ่ อประมาณ ยนื ตรง กา้ วเทา้ ขวาไปขา้ งหน้า ลงเขา่ ซา้ ย เปิดส้นเทา้ ขวาเล็กน้อยพรอ้ มกับไหวต้ ามระดบั รบั สิ่งของ ดว้ ยมอื ขวา มอื ซา้ ยแนบล�ำ ตวั ถอยเทา้ ขวากลบั ยนื ตรง ถอยพอประมาณ จงึ หนั หลงั กลบั ถ้าเป็นสง่ิ ของหนกั ให้รับส่งิ ของสองมือ กา้ วเทา้ ขวา ลงเข่า พรอ้ มกบั ไหว้ รบั สิง่ ของ ถอยเท้าขวา ลกุ ขึ้น ยนื ตรง 46 มารยาทไทย มารยาทในสังคม
๖) การรับสิ่งของ ขณะผูใ้ หญน่ ่งั กับพนื้ ชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน ถ้าเป็นผู้ใหญ่ท่ีมีพระคุณ หรืออายุมาก ให้เดินเข่าเข้าไปใกล้ผู้ใหญ่พอประมาณ นั่งพับเพียบขาขวาทับขาซ้าย กราบผใู้ หญ่ ๑ ครง้ั แลว้ รบั สง่ิ ของ วางสงิ่ ของเยอ้ื งเขา่ ขวาเลก็ นอ้ ย ถา้ ผใู้ หญส่ นทนาดว้ ย ใหน้ ง่ั ในลกั ษณะส�ำ รวม กอ่ นจะลากลบั ใหก้ ราบ ๑ ครง้ั ถอื สง่ิ ของ เดนิ เขา่ ถอยพอประมาณ ลกุ ขน้ึ ถอยพอประมาณ จงึ หนั หลงั กลบั ในกรณที ผี่ ใู้ หญอ่ ายไุ มม่ ากใหแ้ สดงความเคารพดว้ ยการไหว้ ตามระดบั เดนิ เข่า ท�ำ ความเคารพด้วยการไหว้ ยืน่ มือขวารับสง่ิ ของ ไหว้กอ่ นลากลับ ถอยโดยวธิ ีเดินเขา่ มารยาทไทย มารยาทในสังคม 47
๒.๓.๒ การสง่ และการรบั สงิ่ ของอย่างไม่เปน็ พธิ ีการ การส่งและการรับสิ่งของอย่างไม่เป็นพิธีการ หมายถึง การส่ง และรับส่ิงของ เปน็ การสว่ นตัว ขณะทผ่ี ใู้ หญย่ นื หรอื นง่ั บนเกา้ อี้ หรอื นงั่ บนพ้นื ในบา้ น ท้ังชายและหญิงควรปฏิบัติด้วยกิริยานอบน้อม ด้วยการทำ�ความเคารพตามระดับ เมอื่ จะสง่ สง่ิ ของ ใหส้ ง่ สง่ิ ของกอ่ นแลว้ จงึ ไหว้ และเมอื่ จะรบั สง่ิ ของใหไ้ หวก้ อ่ นแลว้ จงึ รบั ท้ังนี้ พงึ ปฏบิ ัติใหเ้ หมาะสมตามกรณี เมือ่ จะลากลับใหไ้ หว้อกี คร้งั หนงึ่ ๓. การยืน มารยาทในการยนื จดั เปน็ ประเภทตา่ ง ๆ ไดด้ งั น้ี ๓.๑ การยนื เคารพธงชาติ เพลงชาติ และธงชยั เฉลิมพลในทีส่ าธารณะ ให้ยืนตรงแสดงความเคารพ โดยหันหน้าไปทางธงชาติ เม่อื เพลงจบ ใหค้ อ้ มศรี ษะคำ�นับ สำ�หรบั บคุ คลทั่วไป เมือ่ จะผา่ นธงชยั เฉลมิ พลให้หยุด และยืนตรง แสดงความเคารพ หรอื เมอ่ื มีการเชิญธงชยั เฉลิมพลผ่าน ก็ให้ยนื ตรงแสดงความเคารพ เชน่ เดยี วกัน การยืนเคารพธงชาติ 48 มารยาทไทย มารยาทในสังคม
๓.๒ การยืนถวายความเคารพสมเด็จพระสงั ฆราช เม่ือสมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาถึงมณฑลพิธี ให้ถวายความเคารพ โดยการยนื ประนมมอื ไหว้ แบบไหว้พระ เม่ือเสดจ็ ผ่านแลว้ จึงนัง่ ลง ๓.๓ การยืนถวายความเคารพพระมหากษัตรยิ ์ และพระบรมวงศานวุ งศ์ ๓.๓.๑ การยืนรับเสด็จฯ นอกพระท่ีน่ัง อาคาร หรือแนวทางลาด พระบาทท่ีเสด็จฯ ถ้าเป็นข้าราชการฯ จัดให้ยืนเรียงแถวตามลำ�ดับยศ ตำ�แหน่ง เคร่ืองราชอิสริยาภรณ์ ซ่ึงกำ�หนดการเฝ้าฯ เป็นงาน ๆ เช่น แต่งเคร่ืองแบบเต็มยศ ครึง่ ยศ ปกติขาว โดยปฏบิ ตั ิตามระเบียบตามเจา้ หน้าที่ส�ำ นกั พระราชวัง ถ้าแต่งเครื่องแบบสวมหมวก ทั้งชายและหญิง ให้ยืนถวาย ความเคารพดว้ ยการวนั ทยหัตถ์ หากไม่สวมหมวก ข้าราชการชายทเ่ี ป็นทหาร ต�ำ รวจ พลเรือนทแี่ ตง่ เครือ่ งแบบ ให้ถวายคำ�นับ โดยค้อมศรี ษะตํา่ พอสมควร กระทำ�ครง้ั เดียว แลว้ ยนื ตรง ขา้ ราชการหญงิ ใหถ้ วายความเคารพโดยการถอนสายบวั แบบพระราชนยิ ม ถ้าเปน็ พยาบาลท่ีสวมหมวกใหย้ ่อเขา่ ที่เรียกกันทัว่ ไปว่า “ถอนสายบวั ” ประชาชนหรอื บคุ คลทวั่ ไปทมี่ โี อกาสเขา้ เฝา้ ฯ ชาย ใหถ้ วายค�ำ นบั หญิง ถวายความเคารพ ท่ีเรียกว่า “ถอนสายบัว” หรือจะยกมือประนม ค้อมศีรษะ ไหวแ้ บบไทยกไ็ ด้ ถา้ สวมหมวก ทมี่ ใิ ชเ่ ครอ่ื งแบบทท่ี างราชการก�ำ หนด ใหถ้ อดหมวก แลว้ ถวายความเคารพเหมอื นผทู้ ไ่ี มไ่ ดแ้ ตง่ เครอื่ งแบบ ยกเวน้ ผทู้ โ่ี พกผา้ หรอื สวมหมวก ตามลทั ธศิ าสนาของตน ๓.๓.๒ การยืนเฝ้ารับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ ให้ยืนถวายความเคารพตามข้อ ๓.๓.๑ แล้วยืนตรงจนกว่า จะเสด็จฯ เลยไป เมื่อประทับพระราชอาสน์ หรือพระเก้าอ้ีเรียบร้อยแล้ว ถวายความเคารพอีกครง้ั หนง่ึ แล้วจงึ ลงนงั่ เกา้ อี้ตามล�ำ ดับต�ำ แหนง่ ในกรณีท่ีทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจงานพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น เสด็จฯ ไปทรงจุดธปู เทยี นบชู าพระรัตนตรยั หรือพระราชทานพระบรมราโชวาท ให้ยืนตรงจนกว่าทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้ันเสร็จ ประทับพระราชอาสน์หรือ พระเกา้ อ้แี ลว้ จงึ ถวายความเคารพแล้วนงั่ ลง มารยาทไทย มารยาทในสงั คม 49
ผูท้ น่ี ่งั เฝา้ ฯ อย่ใู นพระราชพธิ ีหรอื งานพิธตี ่าง ๆ เมือ่ มกี ิจจำ�เปน็ จะตอ้ งไปจากที่น้ันให้ยนื ถวายความเคารพ ดังกล่าวขา้ งต้น แล้วจงึ ออกไป เมือ่ กลับมา ต้องถวายความเคารพอีกคร้ัง แลว้ จึงน่งั ลง ในกรณีการเฝ้าฯ ที่ไม่ได้จัดให้น่ังเก้าอี้เฝ้าฯ เช่น งานสโมสร สนั นบิ าต งานเสดจ็ ออกมหาสมาคม ผเู้ ฝา้ ฯ จะตอ้ งยนื ตลอดเวลา จนกวา่ จะเสดจ็ ฯ กลบั ๓.๓.๓ การยนื เคารพในพธิ ที ม่ี กี ารบรรเลงเพลงสรรเสรญิ พระบารมี เพลงสรรเสริญพระบารมี บรรเลงเพื่อถวายความเคารพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเดจ็ พระนางเจา้ สริ ิกติ ์ิ พระบรมราชนิ ีนาถ พระบรม ราชชนนพี นั ปหี ลวง สมเดจ็ พระบรมราชนิ ี และสมเดจ็ พระกนษิ ฐาธริ าชเจา้ กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี หรือผู้ที่ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ใหเ้ ป็นผแู้ ทนพระองค๕์ การยนื เคารพเพลงสรรเสรญิ พระบารมี ในกรณที มี่ ไิ ดอ้ ยใู่ นทเี่ ฝา้ ฯ เช่น เมอ่ื เพลงสรรเสรญิ พระบารมบี รรเลงเป็นการเปดิ งานหรอื ปดิ งาน หรอื เมื่อมหรสพ เร่ิมหรือเลิก ให้ทำ�ความเคารพด้วยการยืนตรง เมื่อเพลงจบให้คำ�นับ โดยค้อมศีรษะ ทง้ั ชายและหญงิ ๓.๔ การยืนในพธิ ีตา่ ง ๆ ๓.๔.๑ การยืนเคารพในพิธีที่มีการบรรเลงเพลงมหาฤกษ์และ เพลงมหาชยั เพลงมหาฤกษ์ ใช้บรรเลงในการเปิดงานท่ีเป็นพิธีใหญ่ เช่น พธิ เี ปดิ สถานทท่ี �ำ การของรฐั บาล พธิ เี ปดิ ทางคมนาคมทส่ี �ำ คญั ๆ และงานทเ่ี ปน็ มงคลทว่ั ไป เพลงมหาชัย ใช้บรรเลงต้อนรับประธานของงานผู้มีเกียรติสูง นับต้ังแต่สมเด็จพระบรมราชกุมาร สมเด็จพระบรมราชกุมารี พระบรมวงศานุวงศ์ นายกรัฐมนตรี หรือเมื่อผู้เป็นประธานของงานกล่าวคำ�ปราศรัยจบ ก็จะบรรเลงเพลง มหาชยั เป็นพเิ ศษ หรือบรรเลงในงานรับรองบคุ คลส�ำ คญั งานสโมสรสันนิบาต เปน็ ตน้ ๕ดรู ายละเอยี ดในระเบยี บสว่ นราชการในพระองค์ วา่ ดว้ ยการบรรเลงดรุ ยิ างคใ์ นการพระราชพธิ หี รอื พธิ กี าร พ.ศ. ๒๕๖๒ ราชกจิ จานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๑๑๗ ง หน้า ๑๓ วนั ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๒ 50 มารยาทไทย มารยาทในสงั คม
เมอ่ื ไดย้ นิ เพลงมหาฤกษ์ หรอื มหาชยั ใหย้ นื ตรงจนกวา่ จะจบเพลง ในกรณที เ่ี ปน็ พธิ ขี องทางราชการ ผทู้ เ่ี ปน็ ทหาร หรอื ขา้ ราชการพลเรอื นทอี่ ยใู่ นเครอ่ื งแบบ ใหป้ ฏิบัตติ ามระเบยี บของราชการทหาร หรือราชการพลเรือน แลว้ แต่กรณี ๓.๔.๒ การยืนเคารพในพิธฌี าปนกจิ ศพ ใหย้ นื ตรงแสดงความเคารพ เม่ือมีการเชิญศพผ่าน หรือได้ยินเสียงแตรเดี่ยวเป่าเพลงนอน หรือเมื่อประธานวาง เครือ่ งขมา หรือจุดเพลงิ เผาศพ ไมว่ ่าจะมเี พลงประโคมหรอื ไม่ก็ตาม ๓.๔.๓ การยนื เมอื่ ประธานในพธิ เี ดนิ ผา่ น ใหท้ กุ คนในทนี่ นั้ ยนื ตรงแสดง ความเคารพประธาน ๓.๔.๔ การยนื ฟงั โอวาท ใหย้ นื ตรง ปลอ่ ยมอื ไวข้ า้ งล�ำ ตวั หนั หนา้ ไปทาง ผู้ใหโ้ อวาท กรณีท่ถี ือประกาศนยี บัตร หรือเครือ่ งราชอิสริยาภรณ์ ฯลฯ ถ้าถือมอื เดยี ว ให้ถือด้วยมือขวาแนบไว้กับอก หรือระดับตั้งฉากกับลำ�ตัว แล้วแต่ทางพิธีจะกำ�หนด ถ้าถือสองมือ ให้ถอื ระดบั ตงั้ ฉากกบั ล�ำ ตัว ๓.๔.๕ การยืนกล่าวคำ�ปฏิญาณ การกล่าวคำ�ปฏิญาณต่อหน้า ธงชัยเฉลิมพล ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ยืนตรง หันหน้าไปทางธง หรือพระองค์ทา่ น แล้วกลา่ วค�ำ ปฏิญาณตามท่ีก�ำ หนดไว้ในพิธีการ การกลา่ วค�ำ ปฏญิ าณของกลมุ่ บคุ คลตา่ ง ๆ ใหผ้ กู้ ลา่ วค�ำ ปฏญิ าณ ยืนตรง โดยปฏบิ ตั แิ ละกลา่ วคำ�ปฏิญาณตามท่กี �ำ หนดไว้ในพธิ ีการ ยืนตรง มอื ขวาถือประกาศนยี บตั ร ยืนตรง ถอื ถว้ ยรางวลั มารยาทไทย มารยาทในสงั คม 51
๓.๕ การยืนในโอกาสอ่นื ๆ ๓.๕.๑ การยืนรับคำ�ส่ัง ให้ยืนตรง หน้าตรง ปล่อยมือไว้ข้างลำ�ตัว และตั้งใจรับฟังคำ�สั่ง ๓.๕.๒ การยืนให้เกียรติผู้ใหญ่ เม่ือผู้ใหญ่เดินผ่านมาให้ยืนตรง แสดงความเคารพ หากผใู้ หญเ่ ขา้ มาสนทนาดว้ ย ใหป้ ระสานมอื อยตู่ าํ่ กวา่ ระดบั เอว และ คอ้ มตวั เล็กนอ้ ย ๓.๕.๓ การยนื สนทนากบั ผใู้ หญ่ ให้ยนื ตรง ประสานมอื กนั อยูต่ า่ํ กวา่ ระดบั เอว ค้อมตัวเลก็ น้อย ไมค่ วรยืนชดิ หรือหา่ งผใู้ หญ่จนเกนิ ไป ๓.๕.๔ การยืนคุยกับเพื่อน การยืนพักผ่อน และการยืนดูมหรสพ ใหย้ นื ในลกั ษณะสภุ าพ ไมก่ อ่ ความร�ำ คาญหรอื เกะกะกดี ขวางผอู้ น่ื ไมย่ นื พดู ขา้ มศรี ษะ หรอื ยนื บังผูอ้ น่ื ๓.๕.๕ การยนื ตามล�ำ ดบั ใหย้ นื เรยี งแถวเปน็ ระเบยี บตามล�ำ ดบั กอ่ นหลงั และสุภาพ เช่น การยืนข้ึนรถโดยสาร การข้ึนเผาศพ การรดน้ําอวยพรคู่บ่าวสาว การตักอาหาร แบบช่วยตัวเอง ๓.๕.๖ การยนื ปฏบิ ตั หิ นา้ ท่ี ใหย้ นื ในลกั ษณะสภุ าพ เชน่ การยนื ประกาศ ยืนบรรยาย ยนื แสดงปาฐกถา การยนื รับค�ำ ส่ัง การยืนสนทนากบั ผูใ้ หญ่ 52 มารยาทไทย มารยาทในสงั คม
๔. การเดนิ ๔.๑ การเดินในกรณีที่เกี่ยวกับสถาบนั พระมหากษตั ริย์ ๔.๑.๑ การเดินน�ำ เสดจ็ ฯ ๑) เม่ือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินี หรือพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ มาถึง ประธานจัดงานหรือเจ้าภาพที่คอยรับเสด็จฯ ถวายความเคารพ กราบบงั คมทลู ถวายรายงาน ในโอกาสนจ้ี ะเบกิ ผทู้ ส่ี มควรเขา้ เฝา้ ดว้ ย ก็ได้ แลว้ จงึ เดินนำ�เสด็จฯ ไปยังสถานทีท่ ี่กำ�หนด โดยปฏบิ ตั ดิ ังน้ี เดนิ เยอ้ื งไปขา้ งหนา้ ทง้ิ ระยะหา่ งพอสมควรในลกั ษณะส�ำ รวม (ประสานมอื เดนิ ค้อมตวั เล็กน้อย) จะอยู่ดา้ นใดแลว้ แตส่ ถานท่จี ะอ�ำ นวย แต่โดยปกติ ผนู้ �ำ เสดจ็ ฯ จะอยดู่ า้ นซา้ ยของพระองคท์ า่ น ในการเสดจ็ พระราชด�ำ เนนิ บนลาดพระบาท ผนู้ ำ�เสด็จฯ ต้องไม่เดนิ บนลาดพระบาท เมอ่ื ถงึ ทปี่ ระทบั ผนู้ �ำ เสดจ็ ฯถวายความเคารพถอยหลงั ๓กา้ ว ถวายความเคารพ ก่อนจะนง่ั ถวายความเคารพอกี ครัง้ หน่ึง ๒) ในกรณีท่ีกำ�ลังนำ�เสด็จฯ และต้องกราบบังคมทูลถวาย คำ�อธิบาย ให้ทรงทราบในเรอ่ื งท่ีเกยี่ วขอ้ ง ใหป้ ฏบิ ัติดังน้ี เดินเย้ืองไปข้างหน้าทิ้งระยะห่างพอสมควร พอท่ีจะได้ยิน พระราชกระแส ในการนผ้ี นู้ �ำ เสดจ็ ฯ ควรศกึ ษาเรอ่ื งราวมาลว่ งหนา้ หรอื กราบบงั คมทลู เบิกตัวผู้ใดผู้หนึ่งท่ีมีความรู้ ในเรื่องน้ันให้ถวายคำ�อธิบาย ผู้นำ�เสด็จฯ จะต้องเดิน ในลกั ษณะสำ�รวม ไม่เดนิ เสมอพระองคท์ า่ น ๔.๑.๒ การเดินตามเสด็จฯ ให้เดินเย้ืองด้านหลังพระองค์ท่าน ในลกั ษณะส�ำ รวมไมท่ กั ทายหรอื ท�ำ ความเคารพผอู้ น่ื ถา้ มลี าดพระบาทผทู้ เ่ี ดนิ ตามเสดจ็ ฯ ต้องไมเ่ ดินบนลาดพระบาท ๔.๑.๓ การเดินในบริเวณที่ประทับ ไม่ควรเดินผ่านที่ประทับ เว้นแต่ มีความจ�ำ เป็น ตอ้ งเดนิ ในลกั ษณะส�ำ รวม ๑) การเดินผ่านหน้า หรือหลังท่ีประทับ ต้องอยู่ในระยะห่าง และให้กระทำ�ในกรณีที่จำ�เป็นท่ีสุด โดยถวายความเคารพขณะท่ีลุกจากที่น่ัง ผา่ นทีป่ ระทบั และถวายความเคารพอกี ครั้งก่อนที่จะนัง่ มารยาทไทย มารยาทในสงั คม 53
๒) การเดินไปทำ�ธุระใด ๆ ในบริเวณที่เฝ้าขณะที่ประทับอยู่ เช่น ยก หรือ เลอ่ื นสิง่ ของ ให้ถวายความเคารพทุกขน้ั ตอนตามลำ�ดับดังนี้ ๒.๑ ลุกจากท่ีน่งั ๒.๒ ถงึ ทจ่ี ะท�ำ กจิ ธุระ ๒.๓ ท�ำ กิจธุระเสรจ็ แล้วจะกลบั ท่นี งั่ เดิม ๒.๔ กลับเขา้ ทแ่ี ล้ว ก่อนนัง่ ลง ๓) การเดนิ ขน้ึ และลงเมรเุ ผาศพ ใหถ้ วายความเคารพทกุ ขน้ั ตอน ตามลำ�ดับ ดังนี้ ๓.๑ ลุกจากท่นี ัง่ ๓.๒ ผ่านท่ปี ระทับแล้วขึน้ เมรุ ๓.๓ ลงจากเมรุถงึ พน้ื ๓.๔ ผ่านทป่ี ระทบั ๓.๕ ก่อนนัง่ ท้งั ๓ กรณดี งั กล่าว ให้จดั ท่ีน่งั หันหนา้ ไปทางทปี่ ระทบั ๔.๒ การเดนิ ในพธิ ที างศาสนา การเดนิ ทเ่ี ปน็ พธิ ที างพทุ ธศาสนาทเ่ี ปน็ งานมงคล ไดแ้ ก่ การเดนิ เวยี นเทยี น ในวนั ส�ำ คญั ทางพทุ ธศาสนา หรอื ในโอกาสอนื่ ๆ เชน่ การเดนิ ในงานอปุ สมบท แหอ่ งคก์ ฐนิ แห่เทียนพรรษา เพ่อื แสดงคารวะต่อปูชนียสถาน หรอื ปูชนยี วตั ถุ ใหป้ ฏิบตั ิดงั น้ี ๔.๒.๑ เดนิ เวยี นขวา (ประทกั ษณิ ) ๓ รอบ ใหป้ ชู นยี สถาน หรอื ปชู นยี วตั ถุ อยูท่ างขวามอื ของผ้เู ดนิ ๔.๒.๒ เดินประนมมือโดยมีดอกไม้ ธูป เทียน และระมัดระวังอย่าให้ ธูปเทยี นที่จดุ ไฟไปถกู ผูอ้ ื่น (กรณีผูร้ ่วมขบวนในงานอุปสมบท ไมต่ อ้ งประนมมอื และ ไม่ถอื ดอกไม้ ธปู เทียน) ๔.๒.๓ ขณะเดนิ ใหร้ ะลกึ ถงึ พระพทุ ธคณุ พระธรรมคณุ และพระสงั ฆคณุ 54 มารยาทไทย มารยาทในสังคม
การเดนิ เวียนเทยี น ๔.๓ การเดนิ ในพิธีตา่ ง ๆ ๔.๓.๑ การเดนิ ตามศพเวยี นเมรุ ใหเ้ ดนิ ในลกั ษณะส�ำ รวม เดนิ เวยี นซา้ ย ๓ รอบ โดยใหเ้ มรอุ ยทู่ างซ้ายมอื ของผูเ้ ดิน การเดนิ ตามศพเวียนเมรุ มารยาทไทย มารยาทในสงั คม 55
๔.๓.๒ การเดินข้ึนและลงเมรุในพิธีฌาปนกิจศพ ให้เดินตามลำ�ดับ อยา่ งสุภาพและเป็นระเบยี บ ๔.๓.๓ การเดนิ เขา้ และออกระหวา่ งการประชมุ ผทู้ มี่ คี วามจ�ำ เปน็ ตอ้ ง เดนิ เขา้ หรอื ออกระหวา่ งขณะทมี่ กี ารประชมุ ใหแ้ สดงความเคารพประธานในทป่ี ระชมุ ทกุ คร้ังด้วยการไหว้ หรือ ค�ำ นับเมื่อออกจากทนี่ ัง่ และเม่ือกลับเข้าท่ีนั่ง ๔.๔ การเดนิ ผา่ นผใู้ หญ่ ๔.๔.๑ ขณะผใู้ หญย่ นื ใหเ้ ดนิ ผา่ นระยะหา่ งพอสมควรในลกั ษณะส�ำ รวม ปล่อยมือไว้ข้างลำ�ตวั แล้วคอ้ มตวั เม่ือใกล้ถงึ ผ้ใู หญ่ ๔.๔.๒ ขณะผใู้ หญ่น่ังเกา้ อี้ ให้เดนิ ผา่ นระยะหา่ งพอสมควรในลกั ษณะ สำ�รวม ปลอ่ ยมอื ไวข้ ้างลำ�ตัว แลว้ ค้อมตวั พร้อมกบั ย่อเขา่ เมอ่ื ใกล้ถงึ ผใู้ หญ่ ๔.๔.๓ ขณะผู้ใหญ่นง่ั หรอื นอนกับพน้ื ใหเ้ ดินผา่ นระยะห่างพอสมควร ในลกั ษณะส�ำ รวม เมอ่ื ใกลถ้ งึ ผใู้ หญ่ ใหเ้ ดนิ เขา่ เมอ่ื ผา่ นไปแลว้ จงึ ลกุ ขน้ึ เดนิ การเดนิ ค้อมตวั ผ่านขณะผู้ใหญ่ยนื 56 มารยาทไทย มารยาทในสงั คม
การเดนิ ยอ่ เขา่ ผ่านขณะผูใ้ หญน่ ง่ั เกา้ อี้ การเดินเข่าผา่ นขณะผใู้ หญ่นง่ั พนื้ มารยาทไทย มารยาทในสงั คม 57
๔.๕ การเดนิ นำ�หรือเดนิ ตามผู้ใหญ่ ๔.๕.๑ การเดนิ น�ำ เดนิ ทงิ้ ระยะหา่ งพอสมควรในลกั ษณะส�ำ รวม ผเู้ ดนิ น�ำ จะอย่ทู างซ้ายมือของผ้ใู หญ่ หากต้องเดนิ ทางขวามอื ของผู้ใหญ่ให้ขึ้นอยกู่ บั สถานที่ การเดนิ นำ�ผูใ้ หญ่ 58 มารยาทไทย มารยาทในสังคม
๔.๕.๒ การเดินตาม เดินท้ิงระยะห่างพอสมควรในลักษณะสำ�รวม ใหเ้ ดนิ เยอ้ื งไปทางซา้ ยมอื ของผใู้ หญ่ หากตอ้ งเดนิ ทางขวามอื ของผใู้ หญใ่ หข้ น้ึ อยกู่ บั สถานท่ี การเดินตามผูใ้ หญ่ ๔.๖ การเดนิ เชิญผา้ บงั สกุ ลุ ผู้เชิญผ้าบังสุกุล นำ�ผ้าบังสุกุลวางบนพาน ไปรอที่เชิงบันไดหน้าเมรุ เมอ่ื ผทู้ อดผา้ บงั สกุ ลุ มาถงึ ท�ำ ความเคารพโดยการค�ำ นบั แลว้ จงึ เดนิ ตามทางซา้ ยมอื ของ ผทู้ อดผา้ บงั สกุ ลุ ขน้ึ ไปทตี่ ง้ั ศพ ท�ำ ความเคารพ สง่ ผา้ บงั สกุ ลุ ท�ำ ความเคารพ แลว้ ถอยหลงั ยนื รอ เมอื่ พระภกิ ษพุ จิ ารณาเสรจ็ แลว้ ผเู้ ชญิ ผา้ บงั สกุ ลุ ถอื พานเดนิ ตามผทู้ อดผา้ บงั สกุ ลุ ถึงเชงิ บันได ทำ�ความเคารพ อกี ๑ ครั้ง ผู้ทอดผ้าบังสุกุล เม่ือประกาศเชิญผู้ทอดผ้าบังสุกุล เดินข้ึนเมรุไปยัง ทตี่ ง้ั ศพ ท�ำ ความเคารพ โดยการไหวห้ รอื ค�ำ นบั ศพ รบั ผา้ บงั สกุ ลุ วางบนผา้ โยงหรอื สายโยง แล้วถอยหลงั เยอ้ื งทางซ้าย เพ่ือรอพระภิกษพุ ิจารณา ผทู้ อดผา้ บังสกุ ุลยืนประนมมอื เมอ่ื พระภกิ ษุพจิ ารณา เสร็จแลว้ เดนิ ลงจากเมรุ กลบั ไปทน่ี ั่ง มารยาทไทย มารยาทในสังคม 59
ผเู้ ชิญผ้าบงั สกุ ุล ถือพานผ้าบังสุกุล คำ�นับ ผู้เชิญผ้าบังสุกลุ ถอื พานผา้ บังสุกุล เดนิ ตามทางซ้ายมือของผทู้ อดผา้ บงั สกุ ลุ ผูท้ อดผา้ บงั สุกุลท�ำ ความเคารพศพ ผทู้ อดผ้าบงั สกุ ุล วางผ้าบงั สุกุลบนผา้ โยง โดยการค�ำ นบั หรอื ไหว้ หรือ สายโยง 60 มารยาทไทย มารยาทในสังคม
ผ้ทู อดผ้าบงั สุกุล ยกมอื ไหว้ พระภกิ ษุพจิ ารณาผา้ บงั สกุ ุล ผูท้ อดผา้ บังสุกุลยนื ประนมมอื การเชญิ ผู้ทอดผา้ บงั สกุ ุล ควรปฏบิ ตั ิดังน้ี ๑. ควรเชิญจากผู้มีอายุน้อยไปหาผู้มีอายุมาก แล้วเชิญประธาน เปน็ คนสดุ ทา้ ย (ในกรณที ผ่ี ทู้ อดผา้ มยี ศ ต�ำ แหนง่ ใหเ้ จา้ ภาพพจิ ารณาตามความเหมาะสม) ๒. กรณีพระราชทานเพลิงศพ ให้เชิญผู้ทอดผ้าบังสุกุลตามที่เจา้ ภาพ จดั ล�ำ ดบั ไวใ้ หเ้ รยี บรอ้ ยกอ่ น เหลอื ผา้ บงั สกุ ลุ ไวช้ ดุ เดยี วส�ำ หรบั ประธานในพธิ ี ๓. เมอ่ื ประธานในพธิ ที อดผา้ ฯ เรยี บรอ้ ยแลว้ จงึ ประกอบพธิ ฌี าปนกจิ ศพ หรือพิธีพระราชทานเพลิงศพ ๔. ผู้ขึ้นไปทอดผา้ บังสุกุล (กรณีมใิ ชป่ ระธาน) ไม่ควรวางดอกไม้จนั ทน์ กอ่ นประธาน ๕. การทอดผ้าบังสุกุลเพื่อให้พระภิกษุพิจารณาง่าย ให้วางผ้าฯ ขวางบนผา้ โยง หรือ สายโยง ๔.๗ การเดินโดยทั่วไป การเดินโดยท่ัวไป ให้เดินด้วยกิริยาท่ีสุภาพ ไมก่ ดี ขวาง หรอื กอ่ ความร�ำ คาญแกผ่ อู้ น่ื หากเดนิ บนถนนหลวง ใหป้ ฏบิ ตั ติ ามกฎจราจร มารยาทไทย มารยาทในสงั คม 61
๕. การนง่ั มารยาทในการนัง่ จัดเป็นประเภทตา่ ง ๆ ได้ดงั นี้ ๕.๑ การนง่ั พบั เพยี บ คอื การนง่ั ราบกบั พนื้ พบั ขา ใหข้ าขวาทบั ขาซา้ ย หรอื ขาซา้ ยทับขาขวา แบง่ ออกได้เปน็ ๔ แบบ ดงั ตอ่ ไปน้ี ๕.๑.๑ การนง่ั พบั เพยี บธรรมดา คอื การนงั่ พบั เพยี บวางมอื ไวบ้ นหนา้ ขา หรือเอามือเท้าพื้นก็ได้ โดยให้ปลายนิ้วมือเหยียดไปข้างหน้า ถ้านั่งขาขวาทับขาซ้าย ให้ใช้มือซ้ายเท้าพื้น ถ้านั่งขาซ้ายทับขาขวา ให้ใช้มือขวาเท้าพื้นอย่างใดอย่างหนึ่ง แลว้ แตส่ ะดวกและเหมาะสม ลกั ษณะนใ้ี ชใ้ นการนง่ั สนทนากบั เพอ่ื น หรอื นง่ั อยตู่ ามล�ำ พงั การน่ังพบั เพียบ 62 มารยาทไทย มารยาทในสงั คม
๕.๑.๒ การนงั่ พบั เพยี บต่อหน้าผใู้ หญ่ อาจนัง่ ทา่ ใดท่าหนงึ่ ตามความ เหมาะสม แต่ไม่ควรเท้าแขน สายตาทอดลงเล็กน้อย ไม่จ้องตาผู้ใหญ่จนเสียกิริยา การน่ังลักษณะน้ีใช้ได้ ทัง้ ชายและหญงิ คือ ๑) นั่งพับเพียบตัวตรง เก็บปลายเท้าโดยเบนปลายเท้าเข้าหา สะโพก มือท้ังสองข้างประสานกัน วางไว้บนหน้าขา ถ้านั่งพับเพียบขาขวาทับขาซ้าย วางมือที่ประสาน บนหน้าขาซ้าย หรือบริเวณหน้าขาจุดใดจุดหน่ึงที่เหมาะสมและ สวยงาม วธิ ีประสานมือ ให้ปฏิบตั ิในอาการที่สำ�รวม อาจใชอ้ ยา่ งใด อยา่ งหน่ึง ดงั นี้ ก. ใชม้ อื ซา้ ยหงาย มอื ขวาควา่ํ ทบั หรอื มอื ขวาหงาย มอื ซา้ ย ควํา่ ทบั ข. ใชม้ ือทัง้ สองควํ่าทับกนั จะเป็นมอื ใดทบั มอื ใดก็ได้ ค. สอดนว้ิ ระหวา่ งชอ่ งนว้ิ ของแตล่ ะมอื คลา้ ยการประนมมอื อยา่ งหลวม ๆ ๒) นง่ั พบั เพยี บคอ้ มตวั เกบ็ ปลายเทา้ วางแขนทง้ั สองขา้ งลงบน หนา้ ขา ประสานมอื อยา่ งใดอย่างหนงึ่ ตามขอ้ ๑) การนง่ั พับเพียบต่อหนา้ ผ้ใู หญ่ น่ังพับเพยี บตัวตรง มารยาทไทย มารยาทในสงั คม 63
การน่ังพับเพียบต่อหนา้ ผใู้ หญ่ นั่งพบั เพยี บคอ้ มตวั ๕.๑.๓ การนงั่ พบั เพยี บประนมมอื เปน็ การนง่ั พบั เพยี บ โดยประนมมอื ให้ปลายน้วิ มอื แนบชิดกนั ปลายนว้ิ ตัง้ ขึ้น แขนแนบตวั ระดับอก ไม่กางศอก ๕.๑.๔ การน่ังพับเพียบในพิธีการ ให้นั่งพับเพียบในอาการสำ�รวม ตลอดเวลา การน่งั พับเพยี บประนมมือ หมายเหตุ ขณะท่ีน่ังพับเพยี บดังกลา่ วข้างต้น ไม่ควรพูดคยุ หรือส่งเสยี งดัง ถ้านัง่ นาน และประสงค์ จะเปลย่ี นทา่ นง่ั ใหใ้ ชม้ อื ทง้ั สองขา้ งเทา้ พน้ื ปลายนว้ิ มอื เหยยี ดไปขา้ งหนา้ แลว้ เปลย่ี นทา่ นง่ั ตามสะดวก 64 มารยาทไทย มารยาทในสงั คม
๕.๒ การนง่ั ขดั สมาธิ (สะ - หมาด) คอื การนงั่ ตามสบายอยา่ งหนง่ึ และการ นงั่ ทำ�สมาธิ (สะ-มา-ทิ) ๕.๒.๑ การน่ังขัดสมาธิธรรมดา คือ การนั่งบนพื้น ก้นแนบพ้ืน พับขาเข้าหากัน โดยใช้ขาข้างหน่ึงซ้อนทับอยู่บนขาอีกข้างหนึ่ง ส้นเท้าท้ังสองข้าง จะสัมผัสกับขา เป็นอริ ิยาบถทใ่ี ช้น่งั ตามสบาย ๕.๒.๒ การนงั่ ขดั สมาธทิ ใ่ี ชท้ างศาสนามี ๒ แบบ คอื การนงั่ ขดั สมาธริ าบ และการนัง่ ขัดสมาธิเพชร การนงั่ ขดั สมาธริ าบ คอื การนงั่ ขดั สมาธสิ องชน้ั โดยเอาขาซอ้ น ทบั กนั เอาขาขวาทบั ขาซา้ ย มอื ขวาทบั มอื ซา้ ย ใหน้ ว้ิ แมม่ อื จรดกนั ตง้ั กายสว่ นบนใหต้ รง การนง่ั ขดั สมาธริ าบน้ี ใชน้ ง่ั ในการเจรญิ ภาวนาใหจ้ ติ ใจสงบ การนงั่ ขดั สมาธเิ พชร คอื การนง่ั บนพนื้ กน้ แนบพนื้ พบั ขาเขา้ กนั เอาฝ่าเท้าทั้งสองขัดหรือไขว้ขึ้นวางบนหน้าขา ท่าน่ังขัดสมาธิแบบนี้ต้องใช้การฝึกหัด ให้เกดิ ความชำ�นาญ โดยการหัดน่ังขดั สมาธิราบ หรือขดั สมาธิสองช้ันไดช้ �ำ นาญแล้ว การนัง่ ขดั สมาธริ าบ การนั่งขดั สมาธิเพชร มารยาทไทย มารยาทในสงั คม 65
วธิ ฝี กึ หดั ใหน้ ง่ั ลงบนพนื้ ปลอ่ ยใหข้ าพกั อยตู่ รงหนา้ แลว้ จงึ คอ่ ย ดึงขาซา้ ย งอมมุ ฉากกบั ร่างกาย ใชส้ น้ เทา้ ซ้ายพกั อยู่บนพนื้ แลว้ จบั เทา้ ขวาขนึ้ วางบน ตน้ ขาซา้ ย ใหส้ น้ เทา้ ขวาชดิ กบั หนา้ ขา อยา่ ใหเ้ ทา้ ขวาเปน็ ทท่ี รมานหรอื อดึ อดั ขยบั เขา่ ซา้ ย ที่งออยู่ให้เข้ามาชิดตัว ยกข้อเท้าซ้ายขึ้น แล้ววางหลังมือซ้ายลงบนต้นขาขวา ใหส้ น้ เทา้ จรดกับหนา้ ขาขวา นงั่ ขัดสมาธแิ บบนี้เรยี กว่า “ขัดสมาธิเพชร” หรอื เรียกว่า “นง่ั ท่าดอกบัว” (ปัทมาสนะ) ใช้น่ังบรกิ รรมภาวนา หรือปฏิบัติตามทา่ โยคะ ๕.๓ การนั่งหมอบ เป็นการน่ังพับเพียบเก็บปลายเท้า หมอบลงไปให้ศอก ทง้ั สองขา้ ง ลงถึงพ้นื คร่อมเข่าท่ียืน่ ล้ํามาข้างหนา้ ประสานมือกนั ไม่ก้มหน้า สายตา ทอดลงต่าํ การนง่ั ลกั ษณะน้ปี ฏิบัติไดท้ ้งั ชายและหญงิ เมือ่ เข้าเฝ้าฯ หรอื รอรับเสด็จฯ การนัง่ หมอบ 66 มารยาทไทย มารยาทในสังคม
๕.๔ การน่งั คกุ เขา่ คือ การนั่งย่อเขา่ ลงให้ติดพ้นื มี ๔ แบบ ดังนี้ คือ ๕.๔.๑ การน่ังคุกเข่าปลายเท้าต้ัง น่ังตัวตรง ปลายเท้าต้ัง นั่งลงบน ส้นเทา้ มอื ท้ังสองข้างควํ่าเหนือเขา่ ทงั้ สองขา้ ง (แบบเทพบุตร) การน่ังลักษณะน้ีใช้นง่ั เมอ่ื ชายจะกราบพระแบบเบญจางคประดษิ ฐ์ หรอื ใชน้ ง่ั ในทา่ ถวายบงั คมทง้ั ชายและหญงิ การคกุ เข่าปลายเทา้ ตัง้ การน่ังคุกเขา่ ปลายเท้าราบ ๕.๔.๒ การนั่งคุกเข่าปลายเท้าราบ นงั่ ตัวตรง ปลายเทา้ ราบ นัง่ ลงบน ฝ่าเท้า มอื ทงั้ สองข้างวางคว่ําเหนอื เข่าทั้งสองขา้ ง (แบบท่าเทพธิดา) การนั่งลักษณะนี้ ใช้นัง่ เมอื่ หญงิ จะกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์ ๕.๔.๓ การน่งั คุกเข่าประนมมอื เปน็ การน่งั คุกเขา่ แบบเทพบุตร หรือ นง่ั คกุ เขา่ แบบเทพธดิ า ประนมมอื ไมก่ างศอก การนงั่ ลกั ษณะนใ้ี ชเ้ มอื่ จะกราบพระแบบ เบญจางคประดษิ ฐข์ องชายและหญงิ การนง่ั คกุ เขา่ ประนมมอื อกี วธิ หี นงึ่ เมอื่ ทง้ั ชายและ หญงิ จะถวายบงั คมเปน็ การนงั่ คกุ เขา่ แบบเทพบตุ ร โดยประนมมอื เหนอื อก ไมก่ างศอก มารยาทไทย มารยาทในสังคม 67
๕.๔.๔ การนั่งคุกเข่าถวายราชสดุดีของลูกเสือ เป็นการนั่งคุกเข่า ตามแบบลูกเสือที่ปฏิบัติอยู่ เมื่อประธานมีคำ�ส่ังให้ถวายราชสดุดี ให้ก้าวเท้าซ้ายไป ขา้ งหนา้ ครงึ่ กา้ ว คกุ เขา่ ลง ตง้ั เขา่ ซา้ ย นง่ั ลงบนสน้ เทา้ ขวา มอื ขวาแบควา่ํ ลงบนเขา่ ขวา แขนซ้ายวางพาดบนเข่าซ้าย เม่ือร้องเพลงถวายราชสดุดีให้ก้มหน้าเล็กน้อย และให้ เงยหนา้ ขนึ้ ตามเดมิ เมอ่ื เพลงจบ (ถา้ ถอื หมวกอยดู่ ว้ ยใหป้ ฏบิ ตั ติ ามคมู่ อื ระเบยี บแถวของ สำ�นักงานคณะกรรมการบรหิ ารลูกเสือแห่งชาต)ิ การนงั่ คกุ เขา่ ถวายราชสดุดีของลูกเสือ 68 มารยาทไทย มารยาทในสังคม
๕.๕ การนัง่ เก้าอี้ ๕.๕.๑ การนั่งเก้าอ้ีโดยทั่วไป เป็นการน่ังตามสบาย ถ้าเป็นเก้าอี้ท่ีมี เท้าแขน จะเอาแขนวางพาดก็ได้ ไมค่ วรนัง่ โยกเกา้ อี้ ๕.๕.๒ การนั่งเก้าอี้ต่อหน้าผู้ใหญ่ เป็นการน่ังโดยสำ�รวม ไม่ไขว่ห้าง ไมก่ ้มหน้า นงั่ ทา่ ใดทา่ หน่งึ ตอ่ ไปนี้ ๑) น่ังเกา้ อตี้ ัวตรง มือทั้งสองขา้ งประสานกันวางบนหนา้ ขา ชาย เขา่ หา่ งกนั เลก็ นอ้ ย สน้ เทา้ ชดิ ปลายเทา้ แยกเลก็ นอ้ ย หญิง กอ่ นน่ัง ใชม้ ือจดั กระโปรงจากดา้ นหลงั เพือ่ ใหน้ งั่ ได้ เรยี บรอ้ ย เข่าและปลายเท้าชิดกัน หรือปลายเทา้ เหล่ือมกันเล็กนอ้ ย ๒) นั่งเก้าอี้ ค้อมตวั ใชแ้ ขนทอ่ นลา่ งท้ังสองข้างวางบนหนา้ ขา ทงั้ สอง ประสานมอื การนง่ั เก้าอี้ ต่อหน้าผูใ้ หญ่ มารยาทไทย มารยาทในสงั คม 69
๕.๕.๓ การนั่งเก้าอี้ประนมมือ เป็นการน่ังตัวตรง หลังพิงพนักเก้าอ้ี นง่ั ในลกั ษณะส�ำ รวม ไมไ่ ขวห่ า้ ง ประนมมอื ระดบั อก ไมก่ างศอก การนง่ั ลกั ษณะนปี้ ฏบิ ตั ิ ไดท้ ง้ั ชายและหญงิ เชน่ นงั่ ฟงั พระแสดงธรรมเทศนา หรอื ฟงั พระสวดมนตใ์ นศาสนพธิ ี การนงั่ เก้าอ้ีประนมมือ ๕.๕.๔ การนั่งเก้าอ้ีในพิธีการ เป็นการนั่งตัวตรงด้วยอาการสำ�รวม ไม่ไขว่ห้าง ไม่กระดิกเท้า ไม่สูบบุหร่ี และไม่คุยกัน เช่น นั่งในพระราชพิธี รัฐพิธี นงั่ ในทีป่ ระชุม การนง่ั เกา้ อ้ี ในพธิ กี าร 70 มารยาทไทย มารยาทในสังคม
มารยาทท่ัวไปในสังคม ๑. มารยาทในสังคมโดยรวม ๑.๑ ตรงต่อเวลา ๑.๒ เขา้ ควิ รับบรกิ ารตามล�ำ ดับกอ่ น - หลัง ๑.๓ ชว่ ยกนั รกั ษาความสะอาด ไมข่ ดี เขยี นฝาผนงั หรอื สถานทธ่ี รรมชาตติ า่ ง ๆ ๑.๔ ชว่ ยกันรักษาสาธารณสมบัติ ใชท้ รพั ยากรธรรมชาตอิ ยา่ งประหยัด ๑.๕ ไม่นิง่ ดูดายเมอื่ พบเหตุผดิ ปกติ ๑.๖ เคารพสทิ ธสิ ว่ นบคุ คล ไม่รบกวนความสงบสุขของผอู้ น่ื ๑.๗ มีระเบียบวินัย มีน้าํ ใจชว่ ยเหลือผู้อน่ื ๑.๘ รจู้ กั กลา่ วค�ำ ขอบคณุ เมอ่ื ผอู้ น่ื ชว่ ยเหลอื หรอื ท�ำ สง่ิ ใดให้ และกลา่ วค�ำ วา่ ขอโทษ เม่อื เราทำ�ผดิ ๑.๙ รู้จักอดทนต่อการรอคอย ไม่กระทำ�ตามใจตนเอง ๑.๑๐ ขออนญุ าตเมือ่ ต้องการใช้ หรอื หยบิ จับส่ิงของของผ้อู ่นื ๑.๑๑ ควรใชป้ ระโยคขอรอ้ ง ดว้ ยวาจาสภุ าพ เมอ่ื ตอ้ งการความชว่ ยเหลอื ๑.๑๒ แตง่ กายใหเ้ หมาะสมตามกาลเทศะ และถกู ตอ้ งตามระเบยี บของแตล่ ะ สถานที่ มารยาทไทย มารยาทในสังคม 71
๒. มารยาทในทสี่ าธารณะ ๒.๑ ไมค่ วรหวผี ม แต่งหนา้ ตัดเลบ็ ๒.๒ ไมค่ วรขบเค้ยี วหมากฝรง่ั หรือสงิ่ ใด ในขณะสนทนากับผู้อืน่ ๒.๓ ไมค่ วรจิม้ ควัก ล้วง แคะ แกะ เกา รา่ งกาย ในทส่ี าธารณะ ๒.๔ ไมห่ าว เรอ ไอ จามดว้ ยเสยี งอันดัง และไม่มีการป้องกนั ๒.๕ ไมแ่ สดงกริ ยิ าลว่ งละเมดิ ทางเพศ หรอื อนาจาร ทง้ั ทางรา่ งกายและค�ำ พดู ๒.๖ ไม่เรียกขานผอู้ น่ื ด้วยถ้อยคำ�ไม่สภุ าพ ล้อเลยี น ๒.๗ ควรส�ำ รวมกริ ยิ ามารยาท ทา่ ทาง ค�ำ พดู ไมพ่ ดู ค�ำ หยาบคาย ตลกคะนอง หรอื ส่งเสียงดัง ๒.๘ มีความเกรงใจ และเคารพสทิ ธิ์ของผู้อื่น ๒.๙ เคารพกฎเกณฑ์ ระเบยี บ ของแต่ละสถานท่ี 72 มารยาทไทย มารยาทในสงั คม
๓. มารยาทในการรับประทานอาหาร ๓.๑ เมอื่ รบั ประทานอาหารรว่ มกนั ควรมชี อ้ นกลาง ถา้ เปน็ อาหารประเภทแกง ควรมกี ารตกั แบง่ ใสถ่ ว้ ยส�ำ หรบั แต่ละคน ๓.๒ ในระหวา่ งรบั ประทานอาหาร ไมค่ วรพดู คยุ เสียงดงั ไมพ่ ูดเม่อื มีอาหาร อยใู่ นปาก และไม่พูดคุย เรื่องท่กี ่อใหเ้ กดิ ความขัดแยง้ ๓.๓ ตักอาหารแต่พอดคี �ำ ไมแ่ สดงกิรยิ ามมู มาม ๓.๔ ไมเ่ ค้ียว หรือซดอาหารด้วยเสยี งอนั ดงั ๓.๕ ไมค่ วรสงั่ นํ้ามูก ขาก ถยุ ไอ จาม หรือแคะฟนั โดยไม่มีการปอ้ งกัน ๓.๖ ไม่ควรเออื้ มหยิบอาหาร หรอื สงิ่ ของขา้ มผูอ้ น่ื ๓.๗ ควรเออื้ เฟ้อื สง่ อาหารให้กบั ผูร้ ว่ มโต๊ะ ๓.๘ ควรตกั อาหารใหพ้ อดรี ับประทาน ไม่เหลือท้งิ ๓.๙ เมอื่ มีความจำ�เป็นต้องคายอาหาร ควรคายใสก่ ระดาษเช็ดปาก และวางไวข้ ้าง ๆ จานของตนเอง ๓.๑๐ เม่ือได้รับเชิญ ไม่ควรพาผู้อ่ืนท่ีไม่ได้ระบุในการเชิญไปด้วย ยกเว้น ได้รับอนญุ าตจากเจ้าภาพ ๓.๑๑ เม่ือไดร้ บั เชญิ ควรไปให้ตรงเวลา ๓.๑๒ ควรปฏิบตั ติ ามธรรมเนยี มปฏิบัติของงานเลี้ยงประเภทนั้น ๆ มารยาทไทย มารยาทในสงั คม 73
๔. มารยาทในการตอ้ นรบั ผมู้ าเยอื นและมารยาทในการเปน็ ผเู้ ยย่ี มเยยี น ๔.๑ เม่ือจะไปเยือนผใู้ ด ควรแจ้งลว่ งหน้า และไปถงึ ตรงตามเวลานดั หมาย ๔.๒ ไม่ควรไปเย่ียม หรือนัดหมายในชว่ งเวลารบั ประทานอาหาร ๔.๓ เมอื่ มแี ขกมาพกั ทบี่ า้ น ควรตอ้ นรบั อยา่ งเหมาะสม และเตรยี มสงิ่ จ�ำ เปน็ ส�ำ หรบั การพกั สว่ นผเู้ ปน็ แขกกค็ วรรกั ษาความสะอาด ความเปน็ ระเบยี บเรยี บรอ้ ย และ ไมก่ ระทำ�ในส่ิงที่ กอ่ ใหเ้ กิดความเสียหายแกเ่ จา้ ของบ้าน ๔.๔ เม่ือไปเยี่ยมเยียนผู้ใดไม่ควรอยู่นานเกินควร เพราะเจ้าของบ้านอาจมี กิจอน่ื ต้องทำ� ๕. มารยาทในการเย่ียมไข้ ๕.๑ ปฏบิ ัตติ ามกฎ ระเบยี บ และขอ้ บงั คับของสถานที่น้นั ๆ ๕.๒ หากผปู้ ว่ ยไมส่ ะดวกใหไ้ ปเยย่ี ม เราสามารถแสดงความหว่ งใยดว้ ยวธิ อี นื่ เชน่ ส่งบตั รอวยพร ขอ้ ความ ดอกไม้ หรืออาหาร ไปเยย่ี มแทน ๕.๓ เมอ่ื ไปเยยี่ มไข้ ไมค่ วรเลา่ เรอ่ื งสลดใจใหค้ นไขฟ้ งั ไมค่ วรซกั ถามอาการปว่ ย อย่างละเอียด เน่ืองจากเป็นขอ้ มลู สว่ นตวั ๕.๔ ไม่ควรนำ�เดก็ เลก็ ไปเยย่ี มผูป้ ่วย ๕.๕ ไม่ควรอยู่เย่ียมไข้นานเกนิ ไป ๕.๖ ไม่ควรพดู คยุ เสียงดงั ในขณะเยยี่ มผปู้ ว่ ย ๕.๗ แต่งกายให้เหมาะสมกบั กาลเทศะ ๕.๘ หากมกี ารเข้าเยยี่ มเปน็ หมูค่ ณะ ควรทยอยกนั เขา้ เยี่ยม ๖. มารยาทในการไปงานศพ และงานฌาปนกิจ ๖.๑ แต่งกายให้สภุ าพตามประเพณี ๖.๒ แสดงความเสียใจกับเจ้าภาพ และไม่ควรซักถามเรื่องที่ทำ�ให้ กระทบกระเทือนจติ ใจ ๖.๓ เ ขา้ น่งั ในทีท่ ีเ่ หมาะสม หรอื ทที่ เี่ จ้าภาพจดั ไวใ้ ห้ ๖.๔ ควรสำ�รวมกิริยา ไม่พดู คยุ เสยี งดงั ระหว่างฟังสวดพระอภิธรรม ๖.๕ ไม่ควรเข้าไปเคารพศพ ขณะพระสงฆ์กำ�ลงั สวดพระอภธิ รรม 74 มารยาทไทย มารยาทในสังคม
๗. มารยาทในการไปงานพระราชทานเพลิงศพ ๗.๑ การไปงานพระราชทานเพลิงศพ ควรแต่งกายไว้ทุกข์แก่ผู้วายชนม์ ตามศาสนนยิ ม หรอื ประเพณี นิยมของทอ้ งถิ่น หรอื ชุมชน ๗.๒ ในกรณีได้รับเชิญจากเจ้าภาพให้เป็นประธานประกอบพิธีพระราชทาน เพลิงศพ ๑) ขา้ ราชการ แตง่ กายเครอื่ งแบบปกตขิ าว ไวท้ ุกข์ ท้ังชายและหญิง ๒) พลเรอื นชาย แตง่ ชดุ สากล ไวท้ กุ ข์ หรอื ชดุ ไทยพระราชทานแขนยาว สีดำ� ๓) พลเรอื นหญงิ แตง่ ชดุ สภุ าพ เสอื้ แขนยาว กระโปรงยาวคลมุ เขา่ สดี �ำ ๗.๓ เมอื่ ใกลเ้ วลาพระราชทานเพลงิ เจา้ หนา้ ทผ่ี เู้ ชญิ กลอ่ งเพลงิ พระราชทาน มายงั เมรุ เพอื่ พระราชทานเพลงิ ศพ ใหบ้ ตุ ร หลาน ญาติ และผทู้ เ่ี คารพนบั ถอื ผวู้ ายชนม์ ตง้ั แถว เพอ่ื รอรับกลอ่ งเพลงิ พระราชทาน โดยแต่งชดุ เครอื่ งแบบปกติขาว ไวท้ ุกข์ หรอื เคร่ืองแบบ หรือชุดสภุ าพไวท้ ุกข์ ๗.๔ เมื่อเจ้าหนา้ ที่ผ้เู ชิญกลอ่ งเพลงิ พระราชทาน มาถึงแถวรอรบั ใหท้ ุกคน แสดงความเคารพ กลอ่ งเพลิงพระราชทานด้วยการยืนตรง ๗.๕ ขณะที่ผู้เชิญกล่องเพลิงพระราชทานมาถึง ให้ผู้อยู่ในบริเวณพิธี แสดงความเคารพด้วยการน่ัง หรือยืนอยู่กับที่ด้วยอาการสำ�รวม งดการพูดคุยกัน ไม่เดนิ ไปมา ๗.๖ เมอื่ ถงึ เวลาพระราชทานเพลงิ หากมกี ารอา่ นหมายรบั สง่ั และอา่ นส�ำ นกึ ในพระมหากรณุ าธคิ ณุ ใหบ้ ตุ รหลานผวู้ ายชนมย์ นื ดา้ นขา้ งผอู้ า่ น เมอื่ อา่ นจบ ใหบ้ ตุ รหลาน และทายาท ผวู้ ายชนม์ ถวายความเคารพพรอ้ มกัน ๗.๗ หากมกี ารอ่านประวตั ิผู้วายชนม์ เมื่ออ่านจบแล้ว ให้ทกุ คนยืนไว้อาลัย หรอื นงั่ ด้วยจิต อันเปน็ สมาธิ เพอ่ื เป็นการร�ำ ลกึ ถึงคุณความดขี องผู้วายชนม์ พรอ้ มทั้ง เปน็ การแสดงเจตนาอทุ ศิ สว่ นกศุ ลทบ่ี �ำ เพญ็ มาใหแ้ กผ่ วู้ ายชนมต์ ามเวลาทพ่ี ธิ กี รก�ำ หนด ในระหวา่ งนัน้ พิธีกรไมค่ วรกลา่ วสิ่งใด จนกว่าจะครบเวลาที่กำ�หนด มารยาทไทย มารยาทในสงั คม 75
๗.๘ พิธีกรจะทำ�หน้าท่ีเชิญผู้เป็นประธานประกอบพิธีพระราชทานเพลิง ตามล�ำ ดับ ๑) ทอดผ้าบังสุกุล ๒) หยิบกระทงข้าวตอก ดอกไม้ วางทจี่ ติ กาธาน และเปิดกระทง ๓) หยบิ ดอกไมจ้ นั ทน์พระราชทาน จุดไฟพระราชทานวางบนฟนื ทต่ี งั้ บนจิตกาธาน ก่อนหยิบดอกไม้จันทน์ให้ถวายความเคารพไปยังทิศที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอย่หู ัวประทับ หรือยกมอื ไหว้ดอกไม้จนั ทน์ ๗.๙ เมื่อผู้เป็นประธานพิธีนำ�ดอกไม้จันทน์จุดไฟพระราชทาน ผู้ร่วมพิธียืน แสดงความเคารพ พรอ้ มกนั ๗.๑๐ ก า ร ข้ึ น เ ม รุ เผาศพสำ�หรับผู้ร่วมพิธี หลัง จากท่ีผู้เป็นประธานลงจาก เมรุแล้ว ควรข้ึนเมรุตาม ทางที่กำ�หนด และเป็นไป ตามลำ�ดับ โดยให้พระสงฆ์ ขา้ ราชการแตง่ ปกตขิ าว ไวท้ กุ ข์ ขึน้ ก่อน ๗.๑๑ เ ม่ื อ เ ดิ น ถึ ง จติ กาธาน ใหย้ นื ตรง โคง้ ค�ำ นบั หรือน้อมตัวยกมือไหว้แล้ว วางดอกไมจ้ นั ทนบ์ นจติ กาธาน หรอื ท่เี ตรียมไว้ ๗.๑๒ เดินลงจากเมรุ ตามทางท่ีกำ�หนด ด้วยอาการ สำ�รวม 76 มารยาทไทย มารยาทในสงั คม
๘. มารยาทในการไปงานแตง่ งาน ๘.๑ ควรแตง่ กายดว้ ยเสอื้ ผา้ สสี ดใส เหมาะสมกบั สถานทจี่ ดั งาน หรอื แตง่ กาย ตามทเ่ี จ้าภาพกำ�หนด ๘.๒ นั่งตามทีน่ ัง่ ท่ีเจ้าภาพจัดไว้ ๘.๓ เข้ารว่ มพธิ ีการดว้ ยความเหมาะสม ตามขนบธรรมเนยี มประเพณี ๙. มารยาทในโรงภาพยนตร์ ๙.๑ ยนื ตรงเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี ๙.๒ ควรไปถึงก่อนเวลาท่ีการแสดงจะเริ่มเลก็ นอ้ ย ๙.๓ ระมดั ระวงั กริ ยิ าขณะเขา้ ชม ไมก่ ระแทกเบาะ หรอื ยกเทา้ พาดเกา้ อ้ี ๙.๔ ควรระมดั ระวงั เรอ่ื งกลน่ิ และเสยี ง ไมใ่ หร้ บกวนผูอ้ น่ื ๙.๕ ไมค่ วรพูด หรือเล่าเรื่องราวขณะเข้าชม ๙.๖ ไม่ควรพาเดก็ เลก็ เขา้ ชม ๙.๗ ไม่ควรเข้าชมภาพยนตร์ ในขณะท่ีมีอาการเจ็บป่วยทางโรคระบบทาง เดินหายใจ ๙.๘ ปดิ เครอื่ งมือสอ่ื สารทุกชนดิ มารยาทไทย มารยาทในสังคม 77
๑๐. มารยาทในการเขา้ ชมการแสดงในโรงมหรสพ ๑๐.๑ ควรแตง่ กายสภุ าพตามธรรมเนยี ม หรือตามท่รี ะบุไวใ้ นบตั รเชิญ ๑๐.๒ ควรเขา้ ประจ�ำ ท่นี ่งั ก่อนการแสดงจะเริม่ ล่วงหนา้ อย่างนอ้ ย ๑๕ นาที หากการแสดงเร่ิม ไปแล้ว ไมค่ วรเข้าไปทนี่ ่งั เพราะจะเป็นการรบกวนผ้อู ืน่ ๑๐.๓ ห้ามน�ำ นาํ้ ดืม่ อาหาร เขา้ ไปรบั ประทานในโรงมหรสพ ๑๐.๔ ไม่ควรนำ�เด็กเล็กเข้าชมการแสดง ยกเว้นได้รับการอนุญาตเป็นกรณี พิเศษ ๑๐.๕ ควรปดิ โทรศพั ทม์ อื ถือ และเคร่ืองมอื สื่อสารทุกชนิด ๑๐.๖ ควรศึกษารายละเอียดของการแสดง เช่น ประเภทของการแสดง เนอ้ื เรอ่ื งยอ่ ผอู้ �ำ นวยเพลง รายชอ่ื นกั แสดง เพอ่ื ชมการแสดงไดอ้ ยา่ งเขา้ ใจ และมคี วามสขุ ๑๐.๗ ก่อนเร่ิมการแสดง หากมีพิธีการสำ�คัญ ควรให้เกียรติพิธีการนั้น โดยการตงั้ ใจฟงั หรือปรบมือในเวลาทเี่ หมาะสม ๑๐.๘ ไมค่ วรพดู คุย วิพากษ์ วจิ ารณ์ระหวา่ งชมการแสดง ๑๐.๙ เมอ่ื มกี ารหยุดพกั การแสดง (Intermission) ควรรบี เขา้ หอ้ งนา้ํ หรอื ทำ�ธุระอนื่ ใหเ้ รียบร้อย แลว้ รีบเขา้ ประจำ�ทนี่ ่ังก่อนการแสดงจะเริ่มข้นึ ๑๐.๑๐ อยา่ ลกุ เขา้ - ออก ระหวา่ งการแสดง เพราะรบกวนสมาธขิ องผอู้ น่ื ๑๐.๑๑ เม่อื การแสดงจบแล้ว ไม่ควรรีบลกุ ในทันที ควรสงั เกตว่าจะมพี ิธกี าร ตอ่ ไปหรอื ไม่ หากมีควรอยรู่ ่วมเพอ่ื ใหเ้ กยี รติการแสดงจนจบพิธกี าร ๑๐.๑๒ ก่อนออกจากโรงมหรสพ ควรส�ำ รวจดูบริเวณที่นั่ง ว่าหลงลืม หรือ ทำ�สิง่ ของตกหลน่ หรือไม่ มารยาทในการปรบมือ สำ�หรับการแสดงดนตรีคลาสสิค ปกติเพลงประเภทซิมโฟนี คอนแชร์โต หรือโซนาตา มักมีสามหรือส่ีท่อน เวลาบรรเลงจบแต่ละท่อน ผู้แสดงจะพักประมาณ ๑๐ - ๑๕ วินาที ในชว่ งนี้ ไมค่ วรปรบมอื แตค่ วรปรบมือ เมอื่ การบรรเลงเพลงจบลง อยา่ งสมบรู ณแ์ ลว้ สังเกตไดจ้ าก ผู้อ�ำ นวยเพลงหันมาโคง้ ใหผ้ ูช้ ม และเมอื่ เพลงสดุ ท้าย จบลง ควรปรบมอื เป็นเวลานาน เพอ่ื ให้เกยี รติ เป็นครัง้ สุดท้าย 78 มารยาทไทย มารยาทในสงั คม
ส�ำ หรบั การแสดงประเภทโอเปรา และบลั เลต่ ์ ผชู้ มควรปรบมอื เมอ่ื ผรู้ อ้ งเดย่ี ว หรือผู้เต้นเดี่ยว ขับร้องหรือเต้นจบลง เป็นการให้เกียรติและช่ืนชมความสามารถของ ผแู้ สดงในการขับร้องหรอื เตน้ ในช่วงน้ัน ๑๑. มารยาทในการใชอ้ นิ เทอรเ์ นต็ ๑๑.๑ ไมก่ ลา่ วหาผู้อืน่ ในทางทเี่ สยี หาย ๑๑.๒ ไม่คัดลอกผลงานของผอู้ น่ื มาเปน็ ผลงานของตนเอง ๑๑.๓ ไมใ่ ชอ้ นิ เทอรเ์ นต็ ในการหลอกลวง ขายสนิ คา้ ผดิ กฎหมาย หรอื โฆษณา เกินความเป็นจริง ๑๑.๔ ไมน่ �ำ ขอ้ มลู หรอื ขอ้ ความอนั เปน็ เทจ็ มาเผยแพร่ และควรตรวจสอบกอ่ น ๑๑.๕ ไมล่ ะเมดิ สทิ ธขิ องผู้อ่นื ๑๑.๖ ไม่คดั ลอกโปรแกรมของผู้อืน่ ท่ีมีลขิ สทิ ธ์ิ ๑๑.๗ ไม่ใชค้ อมพวิ เตอรส์ ร้างหลักฐานทเี่ ป็นเทจ็ ๑๑.๘ ควรศึกษาพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ เพ่ือป้องกันการกระทำ�ผิด กฎหมาย โดยรูเ้ ท่าไม่ถงึ การณ์ มารยาทไทย มารยาทในสังคม 79
๑๒. มารยาทในการเข้าประชมุ ๑๒.๑ ต้องตรงตอ่ เวลา ๑๒.๒ ให้ความเคารพประธาน ข้อคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม และมติ ท่ีประชุม ๑๒.๓ ให้ความสนใจกับการประชุม ไม่แสดงกิริยาเบ่ือหน่าย นั่งหลับ หรือ นั่งเลน่ โทรศพั ทม์ ือถอื ๑๒.๔ ไมส่ ง่ เสยี งดงั รบกวนผเู้ ขา้ ประชมุ กรณที ถ่ี า้ ตอ้ งการแสดงความคดิ เหน็ ควรยกมือเพอื่ ขออนุญาต และแสดงความคดิ เหน็ อย่างสุภาพ ๑๒.๕ ไมถ่ กเถยี งนอกประเด็นการประชมุ ๑๒.๖ ในระหวา่ งการประชมุ เมอ่ื ตอ้ งเขา้ หรอื ออกจากหอ้ งประชมุ ควรแสดง ความเคารพประธานก่อน 80 มารยาทไทย มารยาทในสงั คม
๑๓. มารยาทในการใชล้ ฟิ ต์ ๑๓.๑ ให้คนในลิฟต์ออกจากลิฟต์ให้หมดก่อน และเดินชิดใน ไม่ควรยืน กดี ขวางประตู ๑๓.๒ เมอื่ เขา้ ลฟิ ต์ควรกดปมุ่ รอใหผ้ ู้อ่นื เข้าลฟิ ต์ดว้ ย ๑๓.๓ ผ้ทู ีอ่ ยใู่ กลป้ ่มุ กดลฟิ ต์ ควรมใี จเออื้ เฟื้อ ช่วยเหลือกดปุม่ และอำ�นวย ความสะดวกใหก้ ับผู้รว่ มโดยสารอื่น ๑๓.๔ ควรให้ผู้พกิ าร ผู้สงู อายุ และสตรมี ีครรภ์ ใช้บริการกอ่ น ๑๓.๕ ขณะอย่ใู นลฟิ ต์ ไม่ควรพูดเสียงดัง และไมพ่ ดู จาสิง่ ใดเกนิ ความจ�ำ เป็น ๑๓.๖ ไม่กดเปดิ ปดิ ลิฟตเ์ กนิ ความจ�ำ เปน็ ๑๓.๗ ไมค่ วรใชล้ ิฟต์โดยสารผดิ ประเภท ๑๓.๘ ไม่ควรปล่อยให้เดก็ ใชล้ ิฟต์ตามล�ำ พงั ๑๓.๙ ไมค่ วรน�ำ อาหาร หรอื ผลไมท้ มี่ กี ลน่ิ แรงรว่ มโดยสารไปกบั ผอู้ น่ื ในลฟิ ต์ ๑๓.๑๐ ไมค่ วรโดยสารลิฟต์ในขณะที่ตัวเปยี ก ๑๓.๑๑ หา้ มตดิ ประกาศโดยไมไ่ ดร้ บั อนญุ าต หรอื ขดี เขยี นขอ้ ความใด ๆ ในลฟิ ต์ มารยาทไทย มารยาทในสงั คม 81
๑๔. มารยาทในการใช้หอ้ งน้าํ สาธารณะ ๑๔.๑ ควรใชส้ ขุ ภณั ฑ์ใหถ้ ูกตามรูปแบบและวิธกี าร ๑๔.๒ ควรระมดั ระวังถึงความปลอดภยั ในการใชห้ ้องนาํ้ ๑๔.๓ ใช้กระดาษช�ำ ระแตพ่ อควร และทง้ิ กระดาษชำ�ระในทีท่ จี่ ัดไว้ ๑๔.๔ ควรห่อผา้ อนามยั ใช้แลว้ และทง้ิ ลงถงั ขยะใหเ้ รียบรอ้ ย ๑๔.๕ ไมท่ ้งิ กน้ บหุ รี่ และขยะในโถปสั สาวะ หรือโถส้วม ๑๔.๖ ไมล่ า้ งเทา้ ในอ่างลา้ งมอื ๑๔.๗ ในขณะเขา้ หอ้ งนา้ํ ไมค่ วรพดู คยุ หรอื ใชโ้ ทรศพั ทด์ ว้ ยเสยี งอนั ดงั ๑๔.๘ ระมดั ระวังอย่าให้พน้ื เปียกนํ้า กรณใี ชส้ ายช�ำ ระ ๑๔.๙ ควรสำ�รวจความสะอาด และทรพั ย์สินก่อนออกจากห้องน้าํ ๑๕. มารยาทในการสนทนากับผอู้ ่ืน ๑๕.๑ ไม่ควรผูกขาดการสนทนาแต่ฝ่ายเดียว และคู่สนทนาที่ดีก็ไม่ควรฟัง แต่เพยี งอย่างเดียว ๑๕.๒ แม้จะไม่เห็นด้วยกับคำ�พูด หรือความคิดของคู่สนทนาก็ไม่ควรขัด การสนทนา ๑๕.๓ ถา้ เรอ่ื งใดทเ่ี ราไมร่ จู้ รงิ หรอื ไมม่ น่ั ใจ ควรหลกี เลย่ี งไมพ่ ดู ถงึ สง่ิ นน้ั ๑๕.๔ ไมค่ วรพดู ถงึ เรือ่ งของคนอื่น ท่จี ะกลายเปน็ นนิ ทาโดยไมต่ ้ังใจ ๑๕.๕ ไม่ควรถามเร่อื งสว่ นตัวกบั คนแปลกหน้า ๑๕.๖ ระมัดระวังเร่ืองกลนิ่ ปาก และลมหายใจ เม่อื สนทนาในระยะใกล้ชดิ ๑๕.๗ ควรหลีกเล่ียงการสนทนาในประเด็นท่ีจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างความไม่สบายใจ อาทิ ศาสนา ความเชื่อ การเมือง ความเจ็บไข้ได้ป่วย ความทกุ ข์โศก หรอื ความย่งุ ยากทางครอบครัว ๑๕.๘ ควรงดการพูดส่อเสียด คยุ โวโออ้ วด หรือยกตนขม่ ทา่ น ๑๕.๙ ควรแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการ เหตุผล และคุณธรรม ที่เหมาะสม เพ่ือให้การสนทนา เป็นเร่ืองนา่ สนใจและมีสาระ 82 มารยาทไทย มารยาทในสังคม
๑๖. มารยาทในการใช้โทรศัพท์ ๑๕.๑ เมือ่ โทรศัพท์ไปหาผู้ใด ควรเริม่ ต้นทกั ทายด้วยค�ำ สุภาพ และสอบถาม อกี ฝ่ายถงึ ความสะดวกทจี่ ะพูดกันในเวลานั้น ๑๕.๒ ควรพดู คยุ เฉพาะสาระสำ�คญั และใชเ้ วลาไมน่ านเกินไป ๑๕.๓ ควรใช้วาจาสภุ าพในการสนทนาทางโทรศพั ท์ ๑๕.๔ ควรกล่าวค�ำ ขออภัย เมอื่ ตอ่ สายผดิ ๑๕.๕ ไม่ควรตั้งเสียงเรียกเข้าท่ีดังเกินไป หรือใช้เสียงเรียกเข้าที่ก่อให้เกิด ความตกใจ ไม่สุภาพ ๑๕.๖ ไม่พูดโทรศพั ทด์ ้วยเสยี งอันดงั เมื่ออย่ใู นทส่ี าธารณะ ๑๕.๗ ควรปดิ เสียง หรือใชร้ ะบบส่ัน เม่อื อยใู่ นท่ีประชุม หรอื ท่ีทหี่ า้ มใช้เสยี ง หากจำ�เปน็ ใหไ้ ปพดู นอกสถานทนี่ ้นั ๆ ๑๕.๘ ถ้ามผี ู้โทรศัพท์มา และไม่สะดวกรับสาย ใหร้ บี ติดตอ่ กลบั ในวาระแรก ที่มโี อกาส ๑๕.๙ ไมค่ วรใชโ้ ทรศพั ทส์ อื่ ขา่ ว หรอื ขอ้ มลู ทกี่ อ่ ใหเ้ กดิ ความเสยี หายตอ่ ผอู้ น่ื หรือสว่ นรวม สำ�หรับผู้รบั สายต้องรับฟังดว้ ยความมสี ติ และมเี หตผุ ล มารยาทไทย มารยาทในสงั คม 83
๑๗. มารยาทในการโดยสารรถสาธารณะ ๑๗.๑ พงึ ระวงั ความปลอดภยั ในการขน้ึ ลง ควรเตรยี มตวั และตรวจดสู มั ภาระ ให้เรยี บรอ้ ย ก่อนลงจากรถ ๑๗.๒ เมอ่ื โดยสารรถสาธารณะ ควรขยบั เขา้ ดา้ นในเสมอ ไมย่ นื ขวางประตู ๑๗.๓ ไมท่ �ำ ความสกปรก หรอื สรา้ งความเสยี หายใหแ้ กร่ ถโดยสารสาธารณะ ๑๗.๔ ไม่ควรพดู หรอื แสดงกริ ยิ าใด ๆ ท่ีเปน็ การรบกวนผโู้ ดยสารอืน่ ๑๗.๕ ควรระมดั ระวงั เสียงจากหูฟงั และการรับชมวีดโิ อ ไมใ่ หร้ บกวนผ้อู ื่น ๑๗.๖ ควรเอ้ือเฟ้ือที่นั่งให้แก่พระ นักบวช คนพิการ เด็ก คนชรา และสตรีมคี รรภ์ ๑๗.๗ เมอื่ มผี ู้เสียสละทนี่ งั่ ให้ ควรกล่าวคำ�ขอบคณุ เสมอ 84 มารยาทไทย มารยาทในสงั คม
๑๘. มารยาทในการโดยสารเคร่ืองบนิ ๑๘.๑ ปฏิบัติตามคำ�แนะนำ�ของเจ้าหน้าท่ี และกฎของสายการบิน อย่างเคร่งครดั ๑๘.๒ ระมัดระวังไม่ใช้คำ�พูด คำ�หยอกล้อ หรือข้อความท่ีก่อให้เกิดความ เข้าใจผดิ เสยี หายทข่ี ัดต่อกฎระเบียบการบนิ ๑๘.๓ ตั้งใจดูการสาธติ การใชอ้ ุปกรณช์ ว่ ยเหลอื ของเจ้าหนา้ ที่ ๑๘.๔ สงั เกตสัญญาณไฟเตอื นต่าง ๆ ๑๘.๕ น่งั ตามทน่ี ั่งที่ระบใุ นบตั รโดยสาร ไมย่ ้ายท่ีนง่ั โดยพลการ ๑๘.๖ ไมใ่ ชอ้ ุปกรณอ์ ิเลก็ ทรอนิกส์ ขณะเครอื่ งกำ�ลงั ขน้ึ หรอื ลง ๑๘.๗ ไม่สง่ เสยี งดงั หรือแสดงกริ ยิ ารบกวนผอู้ น่ื ๑๘.๘ นงั่ โดยระมดั ระวงั ไมส่ รา้ งความร�ำ คาญ หรอื รบกวนผโู้ ดยสารขา้ งเคยี ง ๑๘.๙ การวางกระเปา๋ ไว้บนชน้ั เกบ็ ของเหนือศรี ษะ ก็ควรเหลอื ทวี่ า่ งให้ผู้อน่ื ๑๘.๑๐ เวลาน่ัง ไม่ควรดันเบาะข้างหน้า หรือเอนไปเบาะไปด้านหลังมาก เกินควร หากจะเอนเบาะควรดูก่อนวา่ คนด้านหลังก�ำ ลังรับประทานอาหารอยหู่ รอื ไม่ ๑๘.๑๑ เขา้ ห้องน้าํ ตามคิว และชว่ ยกนั รักษาความสะอาด มารยาทไทย มารยาทในสงั คม 85
๑๙. มารยาทในการโดยสารเรอื สาธารณะ ๑๙.๑ เพ่ือความถูกต้องและปลอดภัย ควรอ่านป้ายประกาศของท่าเรือและ ปฏบิ ตั ติ ามเพ่อื ความปลอดภยั และความถูกต้อง ๑๙.๒ ควรรอเรอื อยู่บนทา่ ไมค่ วรลงไปรอทโี่ ปะ๊ เพราะอาจเกดิ อนั ตรายจาก โปะ๊ เอียงหรอื ล่ม ๑๙.๓ ควรรอให้เรือเทียบท่าสนิทเรียบร้อย และให้ผู้โดยสารข้ึนจากเรือ จนหมดเสียกอ่ น ค่อยลงเรอื ๑๙.๔ การลงเรอื ไมค่ วรแกง่ แยง่ กนั และควรมนี า้ํ ใจเออื้ เฟอ้ื ใหแ้ กส่ ตรมี คี รรภ์ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และ เด็ก ให้ได้รับบริการก่อน ถ้าเห็นคนลงเรือจนเต็มอัตราแล้ว ควรรอเรอื ล�ำ หลงั ไม่ควรเบยี ดเสยี ด จนเกินจ�ำ นวนอัตราผ้โู ดยสาร ๑๙.๕ ระหวา่ งอยใู่ นเรอื ไมค่ วรเปลย่ี นทนี่ งั่ เพราะตอ้ งการนง่ั รวมกนั เปน็ กลมุ่ หรอื เปล่ยี นทนี่ ่งั เพ่ือหลบแดด หรือนํ้ากระเซ็น จนเป็นเหตใุ หเ้ รอื เอียงวบู วาบ ๑๙.๖ เม่อื จะขึน้ หรอื ลงเรือ พึงระมัดระวงั ไม่ผลผี ลาม ทยอยกนั ขนึ้ หรอื ลง เพอ่ื มิใหเ้ รือพลิกควา่ํ ไมก่ ระโดดลงเรือ ขณะทเี่ รอื กำ�ลงั จะออกจากท่า ๑๙.๗ เมอ่ื ลงเรอื แลว้ ให้เดินเขา้ ไปในตัวเรอื ไม่กีดขวางทางขึ้นลง ไม่ควรนั่ง บนกราบเรอื หรือบนหลังคาเรือ ๑๙.๘ ถ้าเกิดอุบัติเหตุ ควรตั้งสติ ช่วยเหลือตนเอง และผู้ที่อ่อนแอกว่า ถา้ สามารถช่วยได้ ๑๙.๙ ในกรณเี รอื ทบี่ รรทกุ รถยนต์ ผขู้ บั รถยนตต์ อ้ งปฏบิ ตั ติ ามขอ้ ก�ำ หนดของ เรอื น้ัน 86 มารยาทไทย มารยาทในสงั คม
๒๐. มารยาทของผู้ ให้บริการยานพาหนะสาธารณะ ๒๐.๑ ควรแตง่ กาย และสำ�รวมกริ ิยาใหส้ ุภาพเรียบรอ้ ย ๒๐.๒ ควรใชค้ �ำ พดู ทส่ี ภุ าพ ไมใ่ ชถ้ อ้ ยค�ำ หยาบคาย หรอื ไมน่ า่ ฟงั ตอ่ ผโู้ ดยสาร ๒๐.๓ ควรดูแลยานพาหนะทีใ่ หบ้ ริการให้มคี ุณภาพไดม้ าตรฐานตลอดเวลา ๒๐.๔ ไม่ปฏิเสธผู้โดยสาร ควรให้บริการผู้โดยสารตามลำ�ดับก่อน - หลัง และไมท่ ิ้งผโู้ ดยสารระหว่างทาง ๒๐.๕ ควรปฏิบัติตามกฎจราจร และกฎหมายอ่ืนท่ีเกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยค�ำ นงึ ถึงความปลอดภัย และความสะดวกของผู้โดยสารเป็นส�ำ คัญ ๒๐.๖ ควรมีไหวพริบ สังเกตผู้โดยสารที่มีพิรุธ หรือความผิดปกติอ่ืนใด ทเ่ี กดิ ขน้ึ บนยานพาหนะ ทอ่ี าจเปน็ อนั ตรายตอ่ การเดนิ ทาง ควรหาวธิ ปี อ้ งกนั มใิ หเ้ หตรุ า้ ย เกิดข้นึ ตามความเหมาะสม ๒๐.๗ ระหวา่ งใหบ้ รกิ าร ไม่ควรแสดงกริ ยิ าอาการ หรือพดู หรอื ใชเ้ คร่อื งมือ สื่อสารเป็นทีร่ บกวนผู้โดยสาร มารยาทไทย มารยาทในสงั คม 87
๒๐.๘ ไมโ่ กงมเิ ตอร์ ไมโ่ กงคา่ โดยสาร หรอื ไมข่ บั ยานพาหนะออกนอกเสน้ ทาง ในกรณีท่ีพบว่าผู้โดยสารลืมส่ิงของหรือสัมภาระทิ้งไว้ ควรหาทางคืนส่ิงของเหล่าน้ัน แก่เจ้าของ ๒๐.๙ ไมค่ วรใหบ้ รกิ ารเมอื่ อยใู่ นสภาพทไ่ี มพ่ รอ้ มใหบ้ รกิ ารเชน่ มนึ เมาพกั ผอ่ น ไม่เพียงพอ มปี ญั หาสขุ ภาพ 88 มารยาทไทย มารยาทในสังคม
๒๑. มารยาทในการนอน ๒๑.๑ การนอนในทเี่ ฉพาะส่วนตัว เมอื่ นอนในทเ่ี ฉพาะสว่ นตวั จะนอนอยา่ งไรกไ็ ดต้ ามความพอใจ แตค่ วร ค�ำ นงึ ถงึ มารยาท และเรอ่ื งต่าง ๆ เช่น ๒๑.๑.๑ ใช้เสือ้ ผา้ หรอื ชุดนอนทสี่ วมสบาย ๒๑.๑.๒ ก่อนนอนควรไหว้พระสวดมนต์ หรือแผ่เมตตา เพื่อให้ นอนหลับอย่างมีสติ และมีความสวัสดี ไม่ควรนอนเหยียดเท้าไปทางพระพุทธรูปหรือ ส่ิงที่พึงเคารพบชู า ๒๑.๑.๓ นอนในท่าที่ถูกสุขลักษณะ เช่น นอนตะแคงขวาซ้อนเท้า ใหเ้ หลอ่ื มกนั เลก็ นอ้ ย เหยยี ดแขนและขาตามสบาย การนอนทา่ นชี้ ว่ ยมใิ หน้ อนทบั หวั ใจ ๒๑.๒ การนอนเมื่อไปพกั บา้ นผู้อืน่ ถ้าไม่มีความจำ�เป็น ไม่ควรไปค้างบ้านผู้อื่น หากกรณีมีความจำ�เป็น ต้องไปพักบ้านผู้อื่น ควรปฏิบัติเช่นเดียวกับการนอนในที่เฉพาะส่วนตัว แต่ควรเน้น เป็นพเิ ศษในเรอ่ื งต่าง ๆ ดงั นี้ ๒๑.๒.๑ ควรมคี วามเกรงใจเจา้ ของบา้ น ไมถ่ อื แตป่ ระโยชนส์ ขุ สว่ นตวั ไม่เรียกร้องขอความสะดวกสบายจากเจ้าของบ้านจนเกินควร และไม่กระทำ�สิ่งใด อนั เปน็ การรบกวน หรือก่อความร�ำ คาญให้แก่กันและกนั เช่น ไม่เขา้ บา้ น หรือกลบั ดึก ไมใ่ ชห้ อ้ งนาํ้ หอ้ งสว้ ม นานเกนิ ไป ไมท่ �ำ เสยี งดงั เปน็ ทนี่ า่ ร�ำ คาญ ไมช่ วนคยุ โดยไมค่ �ำ นงึ ว่าอีกฝา่ ยต้องการพักผอ่ น ฯลฯ ๒๑.๒.๒ ควรขออนญุ าตเจ้าของบา้ นก่อนท่จี ะใชส้ ิ่งของภายในบา้ น ๒๑.๒.๓ ควรช่วยรักษาความสะอาดและเก็บสิ่งของที่นำ�มาใช้เข้าที่ ใหเ้ รยี บรอ้ ย ๒๑.๓ การนอนในยานพาหนะขณะเดินทาง ผทู้ ่เี ดนิ ทางระยะไกล และต้องคา้ งคนื ในยานพาหนะ เช่น รถโดยสาร รถไฟ เรอื เครื่องบิน ฯลฯ จำ�เป็นต้องคำ�นึงถงึ มารยาททพี่ ึงปฏบิ ัตบิ างประการ เช่น ๒๑.๓.๑ แต่งกายสุภาพเหมาะสมกับการเดินทาง ไม่ปล่อยตัว ตามสบายอยา่ งที่เคยปฏบิ ตั เิ มือ่ อยบู่ ้านของตน มารยาทไทย มารยาทในสงั คม 89
๒๑.๓.๒ ไม่กอ่ ความรำ�คาญ เช่น สบู บหุ ร่ี ส่งเสียงดงั หรือชวนพูดคุย โดยไม่ค�ำ นงึ ถึงกาลเทศะแกผ่ ู้รว่ มเดนิ ทาง ๒๑.๓.๓ ไมใ่ ชท้ ่ีนง่ั หรือทน่ี อนเกนิ สทิ ธขิ องตน ๒๑.๓.๔ หากประสงคจ์ ะใหพ้ นกั งานบรกิ ารสง่ิ ใดเปน็ พเิ ศษ ควรรอ้ งขอ อย่างสภุ าพ ๒๑.๓.๕ ในกรณีที่เดินทางโดยยานพาหนะ ซ่ึงสามารถปรับท่ีนั่งให้ เอนนอนได้ ควรปรับเอนโดยไม่เป็นการรบกวนผทู้ ่อี ยู่ข้าง ๆ และข้างหลงั ๒๑.๓.๖ ในกรณีทค่ี ้างคนื ในรถไฟ ซ่งึ จัดให้มีทีน่ อนในรถ ควรปฏิบตั ิ เป็นพิเศษในเรอื่ งตอ่ ไปน้ี ๑) ไมค่ วรเรยี กรอ้ งใหพ้ นกั งานบริการตนเปน็ พิเศษ ๒) ผทู้ ข่ี น้ึ ไปนอนชนั้ บนควรกลา่ วค�ำ ขออภยั ดว้ ยมารยาทอนั ดี ไม่ก่อความรำ�คาญใหแ้ ก่ผู้นอนชน้ั ล่าง และถา้ ไม่มกี จิ จำ�เปน็ ไมค่ วรขน้ึ ลงบ่อยครัง้ ๓) ปิดม่านให้มิดชิด แม้จะมีม่านบังท่ีนอนไว้ ก็ควรนอน อยา่ งสงบเรยี บรอ้ ย ๒๑.๔ การนอนเม่ือไปพกั แรม ๒๑.๔.๑ การพกั เปน็ หมคู่ ณะ กรณไี ปพกั แรมเปน็ หมคู่ ณะ ทพ่ี กั อาจเปน็ โถงจดั ไวส้ �ำ หรบั คนจ�ำ นวนมาก ผพู้ กั อาศยั ควรค�ำ นงึ ถงึ มารยาททพ่ี งึ ปฏบิ ตั ริ ะหวา่ งกนั ให้มากขึ้น เช่น ๑) ปฏิบัติตามระเบียบของสถานท่ีอย่างเคร่งครัด ๒) ไม่แสวงหาความสะดวกสบายส่วนตัว จนลมื นึกถงึ ผอู้ ่ืน ๓) ชว่ ยเหลอื อ�ำ นวยความสะดวกแกผ่ อู้ นื่ เพอื่ เปน็ การแสดง นาํ้ ใจตอ่ กนั ๔) ไม่ควรส่งเสยี งหรือเดนิ เสียงดงั ๕) เม่ือมีผู้เจ็บป่วยต้องการความช่วยเหลือ ควรรีบช่วย ด้วยความเตม็ ใจ เชน่ แจง้ ผดู้ แู ลท่ีพกั เพื่อให้ชว่ ยเหลอื ได้ทนั ทว่ งที ๖) แสดงความขอบคุณผู้ให้ท่ีพัก ก่อนอำ�ลาจากกัน ดว้ ยอธั ยาศยั ไมตรีอนั ดี ๒๑.๔.๒ การเขา้ พักในโรงแรม กรณีพกั กับบคุ คลอนื่ ๑) ปฏิบัติตามระเบยี บของโรงแรมอย่างเครง่ ครดั ๒) ควรแตง่ กายอย่างเหมาะสม 90 มารยาทไทย มารยาทในสังคม
ภาคผนวก มารยาทไทย มารยาทในสังคม 91
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105