ลิลิตโองการแช่งน้ำ ผู้แต่ง พราหมณ์ ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ลักษณะคำประพันธ์ ร่ายดั้นและโคลงห้า
คำนำ หนังสือเล่มนี้ถูกจัดทำขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย (ท๓๑๑๐๒) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๒ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ ในเรื่องลิลิตโองการแช่งน้ำ และได้ศึกษาอย่างเข้าใจ เพื่อเป็นประโยชน์กับการ เรียน คณะผู้จัดทำหวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับนักเรียน นักศึกษาหรือ บุคคลทั่วไปที่กำลังศึกษา หาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำ หรือข้อผิดพลาด ประการใด คณะผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทำ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๔
สารบัญ หน้า เรื่อง ๑ ๒ ประวัติและความเป็นมา ๓ ผู้แต่ง ทำนองและจุดประสงค์ในการแต่ง ๔ เรื่องย่อ ๘ เนื้อหา ๙ ตัวอย่างข้อความ ๑๐ คุณค่าทางวรรณคดี ๑๑ ผู้จัดทำ
๑ ประวัติและความเป็นมาของลิลิตโองการแช่งน้ำ ต้นฉบับเดิมที่เหลืออยู่เขียนด้วยอักษรขอม ข้อความที่เพิ่มขึ้นในรัชกาลที่ ๔ ตามหลัก ฐานซึ่งรัชกาลที่ ๕ ทรงยืนยันไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือน คือ “แทงพระแสงศรประลัย วาต” “แทงพระแสงศรอัคนิวาต” และ “แทงพระแสงศรพรหมมาสตร์” คำประพันธ์ที่ใช้ คือ โคลงห้าและร่ายโบราณ หนังสือเรื่องนี้นับว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของคนไทยที่แต่ง เป็นร้อยกรองอย่างสมบูรณ์แบบ ชื่อเรียกแต่เดิมว่า โองการแช่งน้ำ หรือประกาศแช่งน้ำ โคลงห้า ต้นฉบับที่ถอดเป็นอักษรไทยจัดเป็นวรรคตอนคำประพันธ์ไว้ค่อนข้างสับสน พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเจ้าอยู่หัว จึงทรงสอบทานและพระราชวินิจฉัยเรียบเรียงวรรคตอนใหม่ ความหมายของ “ลิลิตโองการแช่งน้ำ” คือ คำว่า “โองการ” แปลว่า คำศักดิ์สิทธิ์, คำประกาศของกษัตริย์ สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า โอมการ หมายถึง อักษรโอม และโอม คือ คำย่อที่ใช้กล่าวนำในการสวดของพราหมณ์ ประกาศแช่งน้ำ เป็นโองการที่พราหมณ์ใช้อ่านหรือสวดในพิธีศรีสัจจปานกาลหรือพิธี ถือน้ำพระพิพัทธ์สัตยา คำว่า พัทธ น่าจะมาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ผูกมัด และคำ ว่า สัตยา น่าจะได้จากคำว่า สัตฺยปาน ในภาษาสันสกฤต แปลว่า น้ำสัตยสาบาน (สัจจ ปานเป็นรูปบาลี) ต่อมาคำว่า พิพัทธ์สัตยา เปลี่ยนไปเป็น พิพัฒน์สัตยา พิธีดื่มน้ำ หรือการถือน้ำสาบาน ถือเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ กระทำต่อกษัตริย์ เพื่อแสดง ความจงรักภักดี ไทยได้แบบอย่างมาจากขอม ซึ่งขอมก็รับต่อมาจากอินเดีย พิธีกรรมที่ทำ คือ ทำพิธีให้น้ำศักดิ์สิทธิ์ (น้ำพิพัฒน์สัตยา) แล้วนำน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้มาตั้งในพิธี แทงอาวุธลง ในน้ำ ให้บรรดาผู้ที่ทำพิธีดื่มน้ำสาบานตน
๒ ผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า อาจถูกแต่งในสมัยสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๑ (อู่ทอง) ผู้แต่งน่าจะเป็นผู้รู้พิธี พราหมณ์ และรู้วิธีประพันธ์ของไทยเป็นอย่างดี ทำนองการแต่ง มีลักษณะเป็นลิลิต คือ มีร่ายกับโคลงสลับกัน ในส่วนของร่ายเป็นร่ายโบราณ ส่วนโคลงเป็นโคลงแบบโคลงห้าหรือมณฑกคติ ถ้อยคำที่ใช้ส่วนมากจะเป็นคำไทย โบราณ และยังมีคำเขมร และบาลี สันสกฤต ปนอยู่ด้วย แต่จะมีคำสันสกฤต มากกว่าคำบาลี จุดประสงค์ในการแต่ง ใช้อ่านในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือพิธีศรีสัจปานกาล ซึ่งกระทำตั้งแต่ รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอู่ทองสืบต่อกันมาจนได้ยกเลิกไปเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลง การปกครองมาเป็นระบบประชาธิปไตย ในปี พ.ศ.๒๔๗๕
๓ เรื่องย่อ วรรณคดีเรื่องนี้กำเนิดจากพระราชพิธีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แสดงถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมเขมรและพราหมณ์อย่างชัดเจน สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงรับการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และพระราชพิธีศรีสัจจ-ปานกาลจากเขมรมาใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับภาวการณ์ ของบ้านเมืองที่ต้องการสร้างอำนาจปกครองของพระเจ้าแผ่นดินและความ มั่งคั่งมั่นคงของบ้านเมืองในระยะที่เพิ่งก่อตั้งอาณาจักร เริ่มต้นด้วยร่ายดั้นโบราณ ๓ บท สรรเสริญพระนารายณ์ พระอิศวร พระพรหมตามลำดับ ต่อจากนั้นบรรยายด้วยโคลงห้า และร่ายดั้นโบราณสลับ กันไป กล่าวถึงไฟไหม้โลกเมื่อสิ้นกัลป์แล้วพระพรหมสร้างโลกใหม่เกิดมนุษย์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ การกำหนดวัน เดือน ปี และการเริ่มมีพระราชาธิบดีใน หมู่คน แล้วอัญเชิญพระกรรมบดีปู่เจ้ามาร่วมเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ตอนต่อไปเป็นการอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เรืองอำนาจมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยาดา อสูร ภูตปีศาจ ตลอดจนสัตว์มีเขี้ยวเล็บเป็นพยาน ลงโทษ ผู้คิดคดกบฏต่อพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนผู้ซื่อตรงภักดี ขอให้มีความสุขและมีลาภย ตอนจบเป็นร่ายยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน
๔ เนื้อหา ๑.สดุดีตรีมูรติ เป็นร่าย ๓ บท สรรเสริญพระนารายณ์ พระอิศวร และ พระพรหมแต่ละบทขึ้นต้นด้วยโอม และที่น่าสังเกต คือ ในบางบทแสดงออกอย่างชัดเจน ถึงความสับสนของผู้แต่งหรือผู้จดบันทึก อาทิ บทสรรเสริญพระอิศวรและบทสรรเสริญ พระพรหม ในบทสรรเสริญพระอิศวร พบความสับสนพระอิศวรกับพระอินทร์ จาก ประโยคที่ว่า \"..ผายผาหลวงอะคร้าว...\" คำว่า ผาหลวงหมายถึง เขาพระสุเมรุของ พระอินทร์ ไม่ใช่เขาไกรลาสของพระอิศวร อย่างไรก็ดีลิสิตโองการแช่งน้ำฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๐: ๑๓) เสนอว่าอาจแปลคำในวรรคนี้ได้ว่า (พระอิศวร) ทรงทำให้เขาใหญ่ (คือเขาไกรลาส) มีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้น นอกจากนี้ยังมี ประโยคที่แสดงความสับสนอีก ได้แก่ \"...แกว่งเพชรกล้า....\" คำว่า เพชร หมายถึง วัชระ หรือสายฟ้า ซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ ไม่ใช่ของพรอิศวร ที่ทรงตรีศูล ส่วนบทสรรเสริญ พระพรหมนั้นทั้งที่ชัดเจนว่าเป็นบทสรรเสริญพรหม แต่กลับปรากฎคำว่า \"พรหมญาณ\" ซึ่งหมายถึงรูปพรหมหรือรูปภูมิ ๑๖ อันเป็นคติทางพุทธ โดยแบ่งออกเป็นกามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ด้วยเหตุนี้ไม่ว่าจะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงกาลหรือโดยความดั้งก็ตาม ร่ายบทนี้จึง แสดงถึงการผสมผสานระหว่างคติพราหมณ์ฮินดูและคติพุทธเข้าด้วยกัน ดังนั้นหากจะ กล่าวว่า ลิลิตโองการแช่งน้ำเป็นเรื่องของฝ่ายพราหมณ์ฮินดูแต่เพียงอย่างเดียวนั้น จึง อาจไม่ถูกต้องนัก
๕ ๒. เล่าเรื่องจักรวาล ในส่วนนี้จะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับไฟบรรลัยที่ไหม้ลามขึ้นไป ถึงสวรรค์ ก่อนที่จะเกิดจักรวาลใหม่และการตั้งสมมติราช ดังนี้ ๒.๑ ไฟบรรสัยกัลปี จากลิลิตโองการแช่งน้ำ เล่าถึงเมื่อหลายยุคหลายกัลป์ก่อนจาก หลายตำนานมีการกล่าวถึงเรื่องจักรวาลถูกไฟไหม้ด้วยพระอาทิตย์ ซึ่งขึ้นมาถึง ๗ ดวง ทำให้น้ำแห้ง ขอดหายไป กล่าวถึง \"... เจ็ดปลามันพลุ่งหล้าเป็นไป...\" ปลาที่ว่านี้ ได้แก่ ปลาติมิมหามัจฉา ดิมิงมหามัจฉา ติมิปังคลมหามัจฉาอานนทมหามัจฉา มินทมหา- มัจฉา อัชฒนาโรหมหติมิรมหามัจฉา แปลว่า น้ำมันของปลาทั้ง ๗ พุ่งขึ้นทำให้โลกลุก เป็นไฟ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๐: ๒๐) จนไหม้อบายภูมิทั้ง ๔ ได้แก่ นิรยภูมิ หรือ นรก-ภูมิ ติรัจฉาภูมิ เปดวิสยภูมิ อสรกายภูมิ ที่มีท้าวจตุโลกบาลเป็นใหญ่ จากไตรภูมิ กถา-หรือไตรภูมิพระร่วง ทำให้เราทราบว่าปลาอานนท์นอนขดตัวอยู่ใด้วิมานท้าวจตุ โลกบาล ดังนั้น วิมานท้าวจตุโลกบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด จึงไหม่ไปด้วย ไฟไหมไปถึงไตรตรึงษ์ หรือดาวดึงส์ อันมีพระอินทร์เป็นใหญ่สูงสุด ถูกเผาเป็นเถ้าถ่าน แต่ไม่ลามไปถึงชั้นหรือชั่ นรูปพรหม ผู้ที่มีญาณกล้าจึงขึ้นไปเป็นพรหม จนชั้นพรหมมีเทพเบียดเสียดกันเป็น จำนวนมากราวกับเม็ดแป้ง จนกระทั่งมีน้ำาตกลงมาไฟจึงดับลง เมื่อปลาอานนท์ดิ้น ดาว และเดือนจึงเคลื่อนที่ และเกิดลมพัด ปวนไปมา ๒.๒ จักรวาลใหม่และสมมติราช ลิลิตโองการแช่งน้ำในตอนนี้กล่าวถึงพระพรหม สร้างเมืองอินทร์หรือสวรรค์ (ชั้นดาวดึงส์) และหาที่ทางสร้างโลกมนุษย์ สร้างทุกชั้นฟ้า ให้คืน สร้าง ๔ ทวีป คือ อุตรกุรุทวีป บุรพวิเทหทวีปอมโคยานทวีป และชมพูทวี พระสุเมรุซึ่งเป็นที่ตั้งของเรือนของพระอินทร์ หรือ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งการกล่าวถึง ๔ ทวีปใหญ่ ที่ล้อมรอบเขาพระสุมรุและดาวดึงส์ ถือเป็นคติพุทธที่ปรากฏ ชัดอยู่ใน ไตรภูมิ-กถา แต่ในบาทต่อมากลับกล่าวถึง การสร้างผาเผือก หรือเขาไกรลาสของพระ อิศวร และผาหอมหวาน หรือเขาคันธมาสน์ของพระนารายณ์ ซึ่งไม่ปรากฎในไตรภูมิกถา
๖ ๓. พิธีกรรม เริ่มด้วยการที่พระกำปู่เจ้าหรือพระกรรมบดีปู่เจ้าเทพแห่งคชกรรม ทรงเหาะมาแล้วตั้งเครื่องบูชาขวัญข้าว ใช้ธูป เทียน อาวุ หญ้าแพรก ใบมะคุม \"....แรกตั้งขวัญเข้าธูปเทียนเหล็กกล้าหญ้าแพรกบนใบตูม...\" (ราชบัณฑิต, ๒๕๔๐) สังเกตได้ว่าเครื่องบูชาที่ใช้นี้ เป็นเครื่องบูชาตามความเชื่อของพราหมณ์ฮินดูมากกว่าพุทธ ใบมะตูมใช้บูชาพระอิศวร หญ้าแพรกใช้ไหว้ครูคือพราหมณ์ โดยอาวุธที่ใช้เป็นการเพิ่ม ความขลังความน่าเกรงขามซึ่งตรงกันข้ามกับคติพุทธ จากนั้นนำอาวุธมาแกว่งในบาตร น้ำมนต์แล้ว \"แช่ง\" ในช่วงนี้แสดงถึงการประกอบพิธีกรรมที่สำคัญถึง พิธีด้วยกัน คือ พิธี คชกรรม พืธีขวัญข้าว และพิธีถือน้ำ (พระพิพัฒน์สัตยา) คุมป่า คุมนาและคุมเมือง ตาม ลำดับ (ไรท์, ๒๕๔๓: ๖๑) โดยมีการกล่าวเชิญพยากล่าวแช่งและกล่าวฮวยพร ดังนี้ ๓.๑ เชิญพยาน การเชิญพยานจะเชิญตั้งแต่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไปจนถึง พระพรหม พระอินทร์ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๐; ๔๑) ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ เทพชั้น ฉกามาพจร ผีกลางหาว เทพเจ้าแห่งฟ้าร้องฟ้าผ่า ท้าวไพจิตราสูร พระอิศวร พระอินทร์ ผีพราย ผีดำ หรือผีบรรพบุรุษ พญายมราช พระพาย พระพิรุณ พระจันทกุมาร ทศ กัณฐ์ ให้มา \"ช่วยคู\" ช่วยสอดส่องความประพฤติต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการเชิญเทวดา อารักษ์ จากป่าจากถ้ำ จากภูเขา เชิญศรีพรหมรักษ์ยักษ์กุมาร (ยักษ์ซึ่งบริวารของพระ อิศวร และผีมาเหนี่ยวเอาขวัญไป พยานทั้งหลายเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการผสมผสาน ความเชื่อระหว่างศาสนาพราหมณ์ศาสนาพุทธ และความเชื่อท้องถิ่นไว้ได้อย่างกลมกลืน
๗ ๓.๓ อวยพร แบ่งเป็นการอวยพรแก่ผู้จงรักภักดี และการถวายพระมหกษัตริย์ดังนี้ ๓.๓.๑ อวยพรแก่ผู้จงรักภักดี ลิลิตโองการแช่งน้ำอวยพรว่า ใครดี ใครซื่อจะได้รับ คำอวยพรจากพระเจ้าแผ่นดิน ให้มีอำนาจเยมล้นฟ้า เทียบเทียมพระอิศวรและ พระนารายณ์ เป็นสิริมงคลแก่วงศ์ตระกูล ได้รับพระราชทานผู้หญิง ขอให้เป็นมิ่งเมือง มี บุญและศักดิ์ขจรขจาย ได้รางควายทอง คือควายที่มีเขาหุ้มด้วยทองคำ (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๐: ๕๙) ได้ช้างม้าวัวควายใครซื้อขอให้ \"ฟ้า\" ในที่นี้หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน ได้ยินได้รู้โดยเร็ว ได้แก้วแหวนเงินทองของมีค่าพรายพรรณ ได้ ทรัพย์สินเกตรา ได้รับชัยชนะนับหมื่นได้ยศฐาบรรดาศักดิ์ ได้ไพร่พลที่ยั่งยืน มีอำนาจ เหนือฟ้า อย่าพบพานอันตราย ได้ใจที่มีความกล้าหาญดั่งเพชร ๓.๓.๒ ถวายพระพรแด่พระเจ้าแผ่นดิน ลิลิตโองการแช่งน้ำจบด้วยการถวายพระพรขอ ให้บุญบารมีขจรขจาย ขอให้สมเด็จพระบรมรามาธิบดีศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิศร ทรงครองแผ่นดินเรื่อยไป นำพาความสุขความสมบูรณ์มาสู่พระองค์ และผู้จงรักภักดี
๘ ตัวอย่างข้อความบางตอนสรรเสริญพระนารายณ์ โอมสิทธิสธิสรวงศรีแกล้ว แผ้วฤตยู เอางูปนแท่น แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน บิน เอาครุฑมาขี่ สี่ถือสังข์จักรคธารณี ภีรุอวตาร อสุรแลงลาญทัก ทัคนียจรนายฯ แทงพระแสงศรปลัยวาดฯ กล่าวถึงไฟประลัยกัลป์ นานเอนกน้าวเดิมกัลป์ จักร่ำจักราพาฬเมื่อไหม้ กล่าวถึงตรวันเจดอันพลุ่ง น้ำแล้วไข้อดหาย เจ็ดปลามันพุ่งหล้าเป็นไฟวาบ จัตุราบบายแผ่นขว้ำ ชักไตรตรึงษ์เปนผ้า แลบล้ำสีลอง อัญเชิญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระพรหม เทพยาดา และภูตผีปีศาจ เป็นพยาน ผู้ใดเภทจงคด ถือขันสรดใบพูตานเสียด มารเฟียดไททศพล ช่วยดู ธรรมารค ประเตยก ช่วยดูอเนกกถ่องพระสงฆ์ ช่วยดู ขุนหงษทองเกล้าสี่ ช่วยดู ฟ้าฟัดพรีใจ ยังดู ช่วยดู สี่ปวงผรีหาวแห่ง ช่วยดูฟ้าชรแร่งหกคลอง ช่วยดู ผองผี กลางหาว แอ่น ช่วยดู ฟ้ากระแฉ่นเรืองผยอง ช่วยดู เจ้าผาดำสามเส้า ช่วยดู แสนผีพึงยอม เท้า เจ้าผาดำผาเผือก ช่วยดูฯ คำสาปแช่งผู้คิดกบฏต่อพระเจ้าแผ่นดิน จงเทพยดา ฝูงนี้ให้ตายในสามวัน อย่าให้ทันในสามเดือน อย่าให้เคลื่อนใน สามปี อย่าให้มีศุขสวัสดิ์เมื่อใดฯ
๙ ลิลิตโองการแช่งน้ำ ใช้ถ้อยคำสำนวนที่เข้าใจยาก และเป็นคำห้วนหนักแน่น เพื่อให้ เกิดความน่าเคารพยำเกรง ความพรรณนาบางตอนละเอียดละออ เช่น ตอนกล่าว ถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์และมีอำนาจก็สรรหามากล่าวไว้มากมาย นอกจากนี้ยังใช้ถ้อยคำ ประเภทโคลงห้าและร่ายดั้น ซึ่งมีจังหวะลีลาไม่ราบรื่น สะดุดเป็นตอนๆ ยิ่งเพิ่ม ความขลัง ขึ้นอีกเป็นอันมาก จึงนับได้ว่าลิลิตโองการแช่งน้ำเรื่องนี้แต่งได้เหมาะสม กับความมุ่งหมายสำหรับใช้อ่านหรือสวดใน พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ซึ่ง มีความสำคัญแก่การเพิ่มพูนพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ในระบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์
๑๐ คุณค่าของวรรณคดี ๑) วัฒนธรรมประเพณี พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นพิธีกรรมสำคัญ ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) โดยได้รับ อิทธิพลมาจากขอม คือ เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่สืบทอดกันมาจนกระทั่งยกเลิกไป หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ๒) ด้านความเชื่อ เป็นการแสดงความเชื่อตามคติของพราหมณ์ที่เชื่อว่าพระพรหม เป็นผู้สร้างโลก ให้กำเนิดมนุษย์และสรรพสิ่งวรรณคดีสำคัญ
๑๑ คณะผู้จัดทำ ๑. นายธนภัทร ธนาภากร ม.๔/๒ เลขที่ ๖ ๒. นางสาวชนารดี มุสิกสาร .ม.๔/๒ เลขที่ ๑๘ ๓. นางสาวพิมพ์ลภัส พุ่มเมือง ม.๔/๒ เลขที่ ๒๐ ๔. นางสาวธัญชนก แก้วกุล ม.๔/๒ เลขที่ ๓๑ ๕. นางสาวลภัสรดา บุญณพัฒน์ ม.๔/๒ เลขที่ ๓๓
Search
Read the Text Version
- 1 - 15
Pages: