Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ประเภทของรำ

ประเภทของรำ

Published by praenutda, 2022-08-30 13:24:23

Description: รำเดี่ยว-3

Search

Read the Text Version

รำเดี่ยว

การรำเดี่ยว คือ การแสดงรำ ที่ใช้ผู้แสดงเพียงคนเดียว แสดง ถึงความสามารถของผู้รำ และ แสดงศิลปะของลีลาการร่ายรำ ตามแบบนาฏศิลป์ ตลอดทั้งให้ ถึงเห็นความงามของเครื่องแต่ง กาย การรำเดี่ยวมักนิยมใช้เป็นชุด เบิกโรง ใช้แสดงสลับฉาก หรือใช้ แสดงในโอกาสต่างๆ เช่น รำ ฉุยฉายพราหมณ์ รำฉุยฉายเบญ กาย รำฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน รำพลายชุมพล

องค์ประกอบของรำเดี่ยว ผู้แสดง ลีลาท่ารำ การสื่ออารมณ์ รูปร่างหน้าตาของ จะคัดเลือกผู้ที่มี ผู้รำจะต้องศึกษา ผู้แสดงจะต้องมี ลีลาท่ารำอ่อน บทบาทของเรื่อง ความสวยงาม มี ช้อย อวดฝีมือ สื่ออารมณ์ด้วย รูปร่างสันทัด สง่า ของผู้แสดง ต้อง สีหน้าตามบทร้อง งาม สอดคล้อง ได้รับการฝึกหัด ได้อย่างงดงาม กับบทบาทที่ได้รับ อย่างชำนาญ ให้ผู้ชมสามารถ เข้าใจได้ตรงกัน

องค์ประกอบของรำเดี่ยว การแต่งกาย การแต่งหน้า บทร้อง เน้นความประณีต เน้นความสง่างาม รำเดี่ยวส่วนใหญ่ งดงาม ความงดงามของ เน้นการอวด สอดคล้องตาม ผู้แสดง เครื่องแต่งกาย จารีตประเพณี เพลงส่วนใหญ่จะ ใช้เพลงลงสรง เพลงชมตลาด เพื่อให้ผู้แสดงตี บทตามบทร้อง

ฉุยฉายพราหมณ์ ประวัติที่มา รำฉุยฉายพราหมณ์ เป็นส่วนหนึ่งของการร่ายรำที่งดงามของตัว ละครประเภทพระ จากบทพระราชนิพนธ์เบิกโรงดึกดำบรรพ์ เรื่องพระ คเณศเสียงา ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เนื้อ เรื่องย่อมีอยู่ว่า ปรศุรามเจ้าแห่งพราหมณ์ทะนงตัวว่าเป็นที่โปรดปราน ของพระอิศวร คิดจะเข้าเฝ้าในโอกาสที่ไม่สมควรพระคเณศได้ห้ามปราม ในที่สุดเกิดการวิวาท ปรศุราม ขว้างขวานโดนงาซ้ายพระคเณศหักสะบั้น ไป พระอุมากริ้วปรศุรามจึงสาปให้หมดกำลังล้มกลิ้งดั่งท่อนไม้พระ นารายณ์ทรงเล็งเห็นและเกรงว่าคณะพราหมณ์จะขาดผู้ปกป้อง อีกทั้ง ทรงทราบว่าพระอุมา ทรงเมตตาต่อเด็ก จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์น้อย ซึ่งเป็นปฐมเหตุให้เกิดการรำฉุยฉายพราหมณ์ขึ้น เนื้อเรื่องต่อไปพระอุมา ประทานพรให้พราหมณ์ และสามารถแก้ไขคำสาปให้กลับกลายเป็นดีได้ใน ที่สุด การรำฉุยฉายพราหมณ์มีกำเนิดขึ้นในครั้งนั้น และเชื่อกันว่าเป็นศิลปะ การร่ายรำที่งดงาม เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป ลีลาท่ารำนั้นเชื่อกันว่าเป็น ผลงานของพระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) สืบทอดผ่านมา แต่ รูปแบบท่าร่ายรำในปัจจุบันของกรมศิลปากร เป็นผลงานการปรับปรุง ของนางลมุล ยมะคุปต์ อดีตผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏ ศิลป กรมศิลปากร โดยเป็นลีลาท่ารำของตัวพระที่มีลักษณะของความ เป็นหนุ่มน้อยที่มีความงดงามและท่าที่นวยนาดกรีดกราย

รำคู่

รำคู่ ๑. การรำคู่เชิงศิลปะการต่อสู้ เป็นการรำที่ไม่มีบทร้อง ผู้รำ ทั้งคู่ต้องมีท่ารำที่สัมพันธ์กันอย่างดีในเชิงศิลปะการต่อสู้ที่ หวาดเสียวกับความสวยงามในทางนาฏศิลป์ เป็นการอวดลีลาท่ารำ เพราะการต่อสู้มีทั้งรุกและรับผู้แสดงทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันด้วยลีลา คนละแบบ ดังนั้นผู้แสดงจึงต้องฝึกทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน มักใช้แสดงสลับฉาก หรือในโอกาสต่างๆตามความเหมาะสม ได้แก่ รำกระบี่กระบอง รำดาบสองมือ รำทวน รำโล่ รำดาบ รำกริช เป็นต้น ๒. การรำคู่ชุดสวยงามคนมักนิยมดูกันมาก เพราะเป็น ร่ายรำตามบทร้อง หรือที่เรียกว่า การรำใช้บท หรือรำทำบท หมายถึง การใช้ลีลาท่ารำตามบทที่วางไว้ทำให้ท่ารำมี ความหมาย ตามบท ในการแสดงรำคู่นี้ผู้แสดงจะรำคนละบทลีลาท่ารำจะแตก ต่างกัน มุ่งเน้นแสดงลีลาการร่ายรำอย่างสวยงามตลอดทั้งชุด เช่น รำรจนาเสี่ยงพวงมาลัย รำหนุมานจับสุพรรณมัจฉา รำพระ ลอตามไก่ พระรามตามกวาง หนุมานจับนางเบญจกาย เมขลารามสูร ทุษยันต์ตามกวาง รถเสนจับม้า รำประเลง รำกิ่ง ไม้เงินทอง เป็นต้น

องค์ประกอบของรำคู่ ผู้แสดง ลีลาท่ารำ การสื่ออารมณ์ รูปร่างหน้าตาของ ท่ารำจะต้อง ผู้รำจะต้องศึกษา ผู้แสดงจะต้องมี ประสานกันอย่าง บทบาทของเรื่อง ความสวยงาม มี กลมกลืนของผู้ สื่ออารมณ์ด้วย รูปร่างสันทัด สง่า แสดงทั้งสองคน สีหน้าตามบทร้อง งาม สอดคล้อง สอดคล้องตาม ได้อย่างงดงาม กับบทบาทที่ได้รับ ให้ผู้ชมสามารถ จารีตของการ เข้าใจได้ตรงกัน แสดงนาฏศิลป์ ไทย

องค์ประกอบของรำคู่ การแต่งกาย การแต่งหน้า บทร้อง การรำคู่ มักจะ เน้นความสง่างาม ผู้แสดงจะรำตาม เป็นการแต่งกาย ความงดงามของ เพลงและทำนอง แบบยืนเครื่อง นั้น รำให้ลงจังหวะ หากไม่แต่งกาย ผู้แสดง อย่างถูกต้อง เพื่อ ยืนเครื่องแล้วก็ สื่อความหมายให้ เป็นการแต่งกาย ที่ประณีตงดงาม ผู้ชมเข้าใจ

พระรามตามกวาง ประวัติความเป็นมา พระรามตามกวาง เป็นการแสดงประเภทรำคู่ที่เป็นชุดเป็นตอน ซึ่งอยู่ในเรื่องรามเกียรติ์ตอน ลักสีดา ทศกัณฐ์สั่งให้ม้ารีศ แปลงเป็นกวางทองไปล่อลวงนางสีดา ม้ารีศทำตามบัญชาของ ทศกัณฐ์โดยแลงกายเป็นกวางทองไปยังบรรณศาลา ต่อมา ทศกัณฐ์แอบดูอยู่จึงแปลงกายเป็นฤาษีเข้าไปหานางสีดา พูดจา หว่านล้อม นางสีดากริ้วจึงตรัสบริภาษจนทศกัณฐ์โกรธกลาย ร่างเป็นยักษ์ แล้วตรงเข้าฉุดนางสีดาไปกรุงลงกา ท่าทางที่ใช้ในการประดิษฐ์ท่ารำ ลักษณะท่ารำในชุดพระรามตามกวาง ประกอบด้วยการรำ 2 ลักษณะ คือ การรำบท หมายถึงการใช้ท่ารำที่ตีความหมายตาม บทร้อง และการรำหน้าพาทย์ หมายถึงการำให้เข้ากับจังหวะ เพลงทำให้การแสดงมีลีลาท่ารำให้ความรู้สึกเกี่ยวกับอารมณ์ ต่าง

รำหมู่

รำหมู่ รำหมู่ คือ ชุดการแสดง ที่มีมากกว่า 3 คนขึ้นไป เน้นที่การอวดฝีมือของ ผู้รำมีความพร้อมเพรียง เป็นหมวดหมู่ มี กระบวนการแปรแถวที่ งดงาม

องค์ประกอบของรำหมู่ ผู้แสดง ลีลาท่ารำ การสื่ออารมณ์ รูปร่างได้สัดส่วน ผู้แสดงจะต้องมี ผู้แสดงต้องมี ที่เท่ากัน การรำ ความแม่นยำในท่า ปฏิภาณไหวพริบ หมู่จึงจำเป็นคัด เลือกผู้แสดงที่มี รำ เพื่อให้เกิด ในการรำเพื่อ รูปร่างสัดส่วนเท่า ความพร้อม รักษาระเบียบแถว เพรียงในกระบวน กัน จึงทำให้ ให้สวยงามและ กระบวนแถวมี ท่ารำ พร้อมเพรียงกัน ความงดงาม

องค์ประกอบของรำหมู่ การแต่งกาย การแต่งหน้า บทร้อง ต้องแต่งกายให้ การรำหมู่จะต้อง รำหมู่ส่วนใหญ่จะ งดงามและแต่ง แต่งหน้าไปในโทน มีบทร้องประกอบ กายเหมือนกัน การแสดงและมี อาจแตกต่างที่สี สีเดียวกันเพื่อ ทำนองเพลงรับ โดยแยกเป็นแถว ความสวยงาม ของชุดการแสดง เป็นช่วงๆของ ละสีก็ได้ เพลง เพื่อให้ผู้ แสดงได้แปรแถว

รำสีนวล ประวัติความเป็นมา รำสีนวล เป็นการแสดงพื้นเมืองภาค กลางที่อวดลีลา ท่ารำที่อ่อนช้อยงดงาม การแต่งกายที่สวยงาม เป็นกิริยาอาการ ของหญิงสาวแรกรุ่นที่สนุกสนานรื่นเริง ลักษณะและรูปแบบการแสดง การรำสีนวลเป็นการรำเดี่ยวหรือรำ หมู่ที่ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน มีการตีบทตาม บทร้องตามแบบแผนนาฏศิลป์ไทย มีลีลา ท่ารำที่ใช้ภาษาท่าและภาษานาฏศิลป์ ประกอบบทร้อง และจะจบด้วยเพลงต้นวร เชษฐ์ ออกเพลงเร็วเพลงลา หรือจบ ลง ด้วยเพลงเร็ว ลา ก็ได้


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook