ความหมายและความสำคัญ ของสิทธิมนุษยชน ความหมายของสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความ เสมอภาพของบุคคลที่ได้รับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทยหรือตามกฎหมายไทยตามสัญญาที่ประเทศไทยมีพั นธกรณีที่ ต้องปฏิบัติตาม จากความหมายของสิทธิมนุษยชนดังกล่าวมานั้น องค์การ สหประชาชาติได้ประกาศปริญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2491 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้เกิด ผลอย่างจริงจังตามเจตนารมณ์ที่กำหนดไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติและ เพื่ อใช้เป็นมาตรฐานกลางสำหรับประเทศสมาชิกที่จะไปใช้ในแนวทางปฏิบัติ ในประเทศของตนต่อไปนี้และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สิทธิมนุษยชนได้ทวี ความสำคัญยิ่งขึ้นตามลำดับ โดยสิทธิมนุษยชนจะไม่คำนึงถึงความแตก ต่างทางด้านเชื้อชาติ ศาสนาและอื่นๆ ความสําคัญของสิทธิมนุษยชน ในปัจจุบันทั่วโลกได้ให้ความสําคัญต่อสิทธิมนุษยชนและมีความพยายามที่ จะกําหนดมาตรฐานที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เพื่อให้มนุษย์ได้รับการปกป้อง และคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ยังมีการดําเนินการที่จะช่วยให้ ประเทศต่าง ๆ ในโลกมีการพัฒนาทางด้านสิทธิมนุษยชนให้ดียิ่งขึ้น จะเห็น ได้ว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนกลายเป็นประเด็นสําคัญระดับโลก ซึ่งสามารถสรุป ความสําคัญของสิทธิมนุษยชนได้ ดังนี้
๑) ส่งเสริมให้มนุษย์ทุกคนได้รับการปฏิบัติด้วยความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ไม่ถูกแบ่งแยกให้เกิดความแตกต่างกันในเรื่องใด ๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว ชาติกําเนิด เผ่าพันธุ์ เพศ อายุ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็น ทางการเมืองและอื่น ๆ ๒) ส่งเสริมให้มนุษย์ทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรม โดยเฉพาะการได้ รับความคุ้มครองจากกฎหมายที่เท่าเทียมกัน รวมถึงได้รับการพิจารณาคดี อย่างเป็นธรรมจากศาล ตลอดจนการดําเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการ ยุติธรรม ๓) ส่งเสริมให้มนุษย์มีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการที่ได้รับ สิทธิต่าง ๆ ที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในมาตรฐานการ ครองชีพ การประกันการว่างงาน การได้รับค่าจ้างที่เพียงพอต่อการยังชีพ การเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน การศึกษา การได้รับการคุ้มครอง ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร รวมถึงสิทธิในการเข้ารับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ที่จํา เป็นต่อการดํารงชีวิต ๔) ส่งเสริมโอกาสแก่มนุษย์ทุกคนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ทางสังคม โดยได้รับการสนับสนุนให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการคิด แสดงความคิดเห็น หรือ การตัดสินใจในกิจกรรมทางสังคม เช่น สิทธิในการชุมนุมทางการเมือง สิทธิ ในการเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาสังคม สิทธิในการเลือกตั้ง ตลอดจน สิทธิในการดํารงตําแหน่งทางการเมือง ๕) ส่งเสริมให้มนุษย์มีอิสระ เสรีภาพ ในการดําเนินชีวิต โดยทุกคนสามารถทํา กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและไม่เกิดความเดือดร้อนต่อผู้อื่นได้อย่าง เสรี ตลอดจนได้รับความคุ้มครองเสรีภาพทางความคิด เช่น เสรีภาพในการ นับถือศาสนา การแสดงออก การแสวงหาและการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การ ชุมนุมอย่างสงบ การรวมกันเป็นสมาคม และสิทธิในการมีส่วนร่วมในกิจการ สาธารณะ
๖) ส่งเสริมให้มนุษย์ทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ถึงแม้มนุษย์ สามารถแสดงออกในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเท่าเทียม แต่จะต้องเคารพสิทธิของ ผู้อื่น แสดงให้เห็นได้ว่า สิทธิมนุษยชนมีความสําคัญต่อประชากรโลก โดยองค์การ สหประชาชาติ ในฐานะองค์การระหว่างประเทศได้ให้ความสําคัญพยายามเรียก ร้องและดําเนินการจัดทําสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนมาเป็นลําดับ จํา นวน ๗ ฉบับ ซึ่งมีผลดําเนินการสําหรับรัฐสมาชิกสหประชาชาติในปัจจุบัน ดังนี้ ฉบับที่ 1 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ฉบับที่ 2 อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุก รูปแบบ ฉบับที่ 3 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ ทางการเมือง ฉบับที่ 4 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ฉบับที่ 5 อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติ ทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ฉบับที่ 6 อนุสัญญาว่าด้วยต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือ การลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ฉบับที่ 7 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ
Search
Read the Text Version
- 1 - 3
Pages: