Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทพากย์เอราวัณ ม.๓

บทพากย์เอราวัณ ม.๓

Published by Guset User, 2021-11-01 18:26:56

Description: บทพากย์เอราวัณ ม.๓

Search

Read the Text Version

บทพากย์เอราวัณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ นางสาวจารุวรรณ อยู่เย็น คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

ก คำนำ สื่อการเรียนการสอนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เล่มนี้เป็น ส่วนหนึ่งของรายวิชา (๖๐๔-๓๐๓) วรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน ทางการศึกษาภายในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะกล่าวถึงเนื้อหาในบท พากย์เอราวัณซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๓ ตามหูลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการ สอน สำหรับนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนบุคคลที่สนใจ ผู้จัดทำหวังว่า สื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จะ เป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องบทพากย์เอราวัณไม่มากก็น้อย หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้ และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ผู้จัดทำ จารุวรรณ อยู่เย็น •บทพากย์เอราวัณ•

ข สารบัญ หน้า ก คำนำ ข สารบัญ ๑ ชื่อเรื่อง และ ผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ ๒ เรื่องย่อ และสาระสำคัญ ๓ ตัวละคร ๔-๑๐ คุณค่าของเรื่อง ๑๑-๑๓ ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ๑๔ คำศัพท์ที่น่าสนใจ อ้างอิง ๑๕-๑๖ ๑๗ •บทพากย์เอราวัณ•

๑ ชื่อเรื่อง และ ผู้แต่ง ที่มาของชื่อเรื่อง บทพากย์เอราวัณเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นคำพากย์สั้น ใช้สำหรับเล่นโขน ประวัติผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นพระราชโอรสใน พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กับสมเด็จพระ อมรินทรา พระบรมราชีนี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มี ความเชี่ยวชาญในราชการบ้านเมืองใน ทุกด้าน โดยเฉพาะด้านศิลป วัฒนธรรม •บทพากย์เอราวัณ•

๒ ลักษณะคำประพันธ์ บทพากย์เอราวัณแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกาพย์ฉบัง ๑๖ สาเหตุที่เป็น ๑๖ ก็เพราะหนึ่งบทจะมี ๑๖ คำ/พยางค์ โดย ๑ บท มี ๓ วรรค มีสัมผัสบังคับอยู่ที่คำสุดท้ายของวรรคแรกและวรรคที่สอง ส่วนคำ สุดท้ายของวรรคที่สามใช้ส่งเข้าบทถัดไป กาพย์ฉบัง ๑๖ มีฉันทลักษณ์ และตัวอย่าง ดังนี้ ตัวอย่างบทประพันธ์ อินทรชิตบิดเบือนกายิน เหมือนองค์อมรินทร์ ทรงคชเอราวัณ ช้างนิรมิตฤทธิแรงแข็งขัน เผือกผ่องผิวพรรณ สีสังข์สะอาดโอฬาร์ สามสิบสามเศียรโสภา เศียรหนึ่งเจ็ดงา ดังเพชรรัตน์รูจี •บทพากย์เอราวัณ•

๓ เรื่องย่อ และสาระสำคัญ อินทรชิตลูกของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ เดิมชื่อรณพักตร์ เรียน วิชาศิลปศาสตร์ ณ สำนักฤาษีโคบุตร ภายหลังเรียนมนต์ชื่อมหากาลอัคคี สำหรับบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสามแล้ว ก็ไปนั่งภาวนาอยู่จนครบ ๗ ปี พระ เป็นเจ้าเสด็จมาพร้อมกันทั้งสามองค์ พระอิศวร ประทานศรพรหมาสตร์ และบอกเวทแปลงตัวเป็นพระอินทร์ พระพรหม ประทานศรนาคบาศ และให้พรเมื่อตายบนอากาศ ถ้าหัวขาดตกลงพื้นดินให้กลายเป็นไฟ บรรลัยกัลป์ ต่อเมื่อได้พานทิพย์ของพระพรหมมารองรับ จึงจะไม่ไหม้ พระนารายณ์ ประทานศรวิษณุปาณัม ครั้งหนึ่งทศกัณฐ์ให้รณพักตร์ไป ปราบพระอินทร์ เมื่อรบชนะพระอินทร์ ทศกัณฐ์จึงให้ชื่อใหม่ว่า อินทร ชิต แปลว่า มีชัยชนะแก่พระอินทร์ เมื่อศึกติดลงกา อินทรชิตทำพิธีชุบ ศรพรหมาสตร์ แต่ไม่สำเร็จเพราะทศกัณฐ์บอกข่าวการตายของกุมภ กรรณ อินทรชิตจึงออกรบโดยแปลงกายเป็นพระอินทร์ และให้การุณ ราชแปลงเป็นช้างเอราวัณอันงดงามเมื่อทัพพระลักษณ์เห็นก็เคลิบเคลิ้ม หลงกล อินทรชิตจึงแผลงศรนาคบาศถูกตัวพระลักษณ์และทัพวานร •บทพากย์เอราวัณ•

๔ ตัวละคร อินทรชิต เป็นยักษ์มีกายสีเขียว เป็นโอรสของทศกัณฐ์กับนา งมณโฑ เดิมชื่อรณพักตร์ เมื่อสามารถรบชนะพระอินทร์ได้ ทศกัณฐ์ พอใจมากจึงเปลี่ยนชื่อให้ว่า อินทรชิต อินทรชิตมีชายาชื่อ สุวรรณ กันยุมา มีโอรส ๒ องค์ คือ ยามลิวันและกันยุเวก มีศรนาคบาศ ศร พรหมาสตร์ และศรวิษณุปาฌัมเป็นอาวุธ ทั้งยังสามารถแปลงกาย เป็นพระอินทร์ได้อีกด้วย พระพรหมเคยประทานพรให้ว่า เวลาจะ ตายต้องตายบนอากาศ และอย่าให้ศีรษะขาดตกถึงพื้น มิฉะนั้นจะ กลายเป็นไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลก ต้องใช้พานแว่นฟ้าของพระพรหม มารองรับ โลดจึงจะปลอดภัย ดังนั้น เมื่อพระลักษมณ์จะแผลงศรไป ตัดคออินทรชิต จึงตรัสสั่งให้องคตเอาพานแว่นฟ้ามาคอยรับ •บทพากย์เอราวัณ•

๕ ตัวละคร ช้างเอราวัณ ในศาสนาฮินดูเชื่อกันว่าช้างเชือกนี้เป็นเทพบุตรองค์ หนึ่งชื่อไอราวัณเมื่อพระอินทร์ต้องการเสด็จไปไหนเอราวัณเทพบุตร จะแปลงกายเป็นช้างเผือก เอราวัณ เป็นช้างที่มีรูปร่างสูงใหญ่เหมือนภูเขา เป็นช้างทรงของพระอินทร์ ผิวกายเผือก เป็นช้างที่มีพลังมาก เป็นเจ้าแห่งช้างทั้ง หลาย •บทพากย์เอราวัณ•

๖ ตัวละคร พระราม คือ พระนารายณ์อวตาร (แบ่งภาค) ลงมา ถือกำเนิด เป็นพระราชโอรสของท้าวทศรถกับนางเกาสุริยา แห่งกรุงอยุธยา เพื่อจะปราบปรามทศกัณฐ์ พระรามมีพระอนุชาต่างพระมารดา 3 พระองค์ คือ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตรุต พระมเหสีของ พระราม คือ นางสีดา พระรามมีกายสีเขียว สามารถปรากฎร่างเป็น พระนารายณ์มีสี่กรได้ อาวุธประจำพระองค์ คือ ศร ซึ่งเป็นอาวุธ วิเศษที่ได้ประทานมาจากพระอิศวร •บทพากย์เอราวัณ•

๗ ตัวละคร พระลักษณ์ คือ พญาอนันตนาคราช ที่ประทับของพระนารายณ์ มาเกิด มีกายสีทอง เป็นพระโอรสของท้าวทศรถ กับนางสมุทรเทวี มีพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ พระสตรุต พระลักษณ์มีความจงรัก ภักดีต่อพระรามมาก เมื่อพระรามต้องออกเดินป่าถึง ๑๔ ปี พระ ลักษณ์ก็ได้ติดตามไปด้วย และยังช่วยออกรบกับกองทัพของกรุง ลงกา อย่างกล้าหาญ •บทพากย์เอราวัณ•

๘ ตัวละคร ทศกัณฐ์ เป็นกษัตริย์แห่งกรุงลงกา นับว่าเป็นตัวเอกของเรื่อง รามเกียรติ์ มีกายสีเขียว มี ๑๐ พักตร์ ๒๐ กร ทรงมงกุฏชัย ลักษณะปากแสยะ ตาโพลง ทศกัณฐ์ เดิมเป็นยักษ์นนทกกลับชาติมาเกิด เพื่อรบกับพระ นารายณ์ ซึ่งอวตารมาเกิดเป็นมนุษย์ ไม่มีใครฆ่าให้ตายได้ เพราะทศ กัณฐ์ถอดดวงใจใส่กล่อง ฝากไว้กับพระฤาษีโบุตรผู้เป็นอาจารย์ ทศ กัณฐ์มีนิสัยเจ้าชู้ มีชายาและนางสนมมากมาย แต่ถึงกระนั้นเมื่อรู้ว่า นางสีดาเป็นหญิงที่มีความงดงามมาก แม้นางจะมีพระสวามีอยู่แล้ว ก็ยังลักพาตัวไป จึงเป็นสาเหตุให้ต้องทำศึกกับพระราม จนญาติมิตร ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก และในที่สุดตนเองก็ถูกพระรามฆ่าตาย •บทพากย์เอราวัณ•

๙ ตัวละคร พิเภก คือ เทพบุตรเวสสุญาณ จุติลงมาเกิดเพื่อช่วยพระราม ปราทศกัณฐ์ มีกายสีเขียว เป็นน้องของทศกัณฐ์มีความรู้ทาง โหราศาสตร์อย่างยอดเยี่ยม สามารถทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ อย่างแม่นยำเมื่อทศกัณฐ์ลักพานางสีดามา พิเภกได้ทูลตักเตือน และแนะนำให้ส่งนางสีดาคืนไป ทำให้ทศกัณฐ์โกรธมาก จนขับไล่ พิเภกออกไปจากเมือง พิเภกจึงไปสวามิภักดิ์กับพระราม ให้คำ แนะนำที่เป็นประโยชน์ จนกระทั่งพระรามชนะสงคราม หลังจาก เสร็จศึกแล้ว พระรามได้สถาปนาให้พิเภกเป็นกษัตริย์ครองกรุงลงกา มีพระนามว่า ท้าวทศคีรึวงศ์ •บทพากย์เอราวัณ•

๑๐ ตัวละคร หนุมาน เป็นลิงเผือก (กายสีขาว) มีลักษณะพิเศษ คือ มีเขี้ยว แก้วอยู่กลางเพดานปาก มีกุณฑลขนเพชร สามารถแผลงฤทธิ์ให้มีสี่ หน้าแปดมือ แลหาวเป็นดาวเป็นเดือนได้ ใช้ตรีเพชร (สามง่าม) เป็น อาวุธประจำตัว (จะใช้เมื่อรบกับยักษ์ตัวสำคัญๆ) มีความเก่งกล้า มาก สามารถแปลงกายหายตัวได้ ทั้งยังอยู่ยงคงกระพัน แม้ถูก อาวุธของศัตรูจนตาย เมื่อมีลมพัดมาก็จะฟื้นขึ้นได้อีก เมื่อนาง สวาหะถูกมารดาสาปให้ไปยืนตีนเดียวเหนี่ยวกินลม พระอิศวรจึง บัญชา ให้พระพายนำเทพอาวุธของพระองค์ไปซัดเข้าปากของนาง นางจึงตั้งครรภ์และคลอดบุตรเป็นลิงเผือก เหาะออกมาจากปาก ได้ ชื่อว่า หนุมาน หนุมานจึงถือว่าพระพายเป็นพ่อของตน หนุมานได้ ถวายตัวเป็นทหารเอกของพระราม ช่วยทำการรบจนสิ้นสงคราม •บทพากย์เอราวัณ•

๑๑ คุณค่าของเรื่อง คุณค่าด้านสังคม (๑. ) อาวุธในการทำสงคราม อาวุธในการทำสงครามที่ปรากฏในบท พากย์เอราวัณ ส่วนใหญ่เป็นอาวุธของฝ่ายทัพอินทรชิต เช่น โตมร (หอกด้ามสั้น) ศร พระขรรค์ คทา (๒.) ช้างเอราวัณ บทพากย์เอราวัณกล่าวถึงลักษณะของช้างเอราวัณ ที่อินทรชิตได้สร้างขึ้น ซึ่งสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่มที่ ๑๕ กล่าวถึงช้างเอราวัณว่า คือ ช้างของพระอินทร์อยู่บนสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ บางทีเรียกว่า ไอยรา หรือ ไอยราพรต ในไตรภูมิ พระร่วง บรรยายว่าช้างนี้ไม่ใช่สัตว์เดรัจฉาน เพราะในเมืองสวรรค์มีแต่เทวดา ดังนั้น เมื่อพระอินทร์จะไปที่ใดและปรารถนาจะขี่ช้าง เทวดาองค์หนึ่ง ชื่อ “ไอราวัณเทพบุตร” ก็จะนิมิตกายเป็นช้างเผือกขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือ ช้างเอราวัณนั่นเอง (๓.) ฤๅษีและอมนุษย์ บทพากย์เอราวัณได้กล่าวถึงเหล่าบริวารของ อินทรชิตที่แปลงกายเป็นฤาษีและอมนุษย์ต่างๆ •บทพากย์เอราวัณ•

๑๒ คุณค่าของเรื่อง คุณค่าในด้านวรรณศิลป์ (๑.) กลวิธีการประพันธ์ ได้แก่ - สัมผัสสระ เช่น ผึ้งภู่หมู่คณาเหมหงส์ ร่อนราถาลง แทรกไซ้ในสร้อยสุมาลี - สัมผัสอักษร เช่น เดือนดาวดับเศร้าแสงใส สร่างแสงอโณทัย ก็ผ่านพยับเรืองรอง - ดุลของเสียง (การซ้ำคำหรือพยางค์อย่างเป็นจังหวะ) เช่น จับฟ้าอากาศแลเหลือง ธิบดินทร์เธอบรรเทือง บรรทมฟื้นจากไสยา •บทพากย์เอราวัณ•

๑๓ (๒.) การใช้ภาพพจน์ ได้แก่ ทุกเกศกุญชร - อุปมา เช่น เลื่อนลั่นสนั่นใน มีวิมานแก้วงามบวร อ่อนเอียงเพียงปลาย ดังเวไชยันต์อัมรินทร์ - อติพจน์ เช่น เสียงพลโห่ร้องเอาชัย พิภพเพียงทำลาย - บุคคลวัต เช่น สัตภัณฑ์บรรพตทั้งหลาย ประนอมประนมชมชัย •บทพากย์เอราวัณ•

๑๔ ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง ๑. การทำงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจำเป็นต้องมีสติรู้ตัวอยู่ตลอด เวลาและมีความรอบคอบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความประมาท ๒. การรู้จักไตร่ตรองและการวางแผนย่อมทำให้งานนั้นบรรลุตาม เป้าหมาย •บทพากย์เอราวัณ•

คำศัพท์ที่น่าสนใจ ๑๕ กง ส่วนที่เป็นวงรอบของล้อรถ กบี่ ลิง ในที่นี้คือ พลวานรในกองทัพพระราม กินนร อมนุษย์ที่มีรูปร่างครึ่งคนครึ่งนก ถ้าเป็น เก้าแก้ว หญิงเรียกว่า กินรี แก้ว ๗ ประการ เรียกว่านพรัตน์ ได้แก่ เพชร โกมิน คนธรรพ์ ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา จันทรี เพทาย ไพฑูรย์ ดวงมาลย์ คือโกเมน พลอยสีแดงเข้ม ถา ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง มีความชำนาญด้าน เทพอัปสร ธรณินทร์ ดนตรีและขับร้อง บรรเทือง พระจันทร์ ซึ่งเป็นเทพองค์หนึ่ง บิดเบือนกายิน ดอกไม้ ในที่นี้คือ ดอกบัว ถลา โผลง นางฟ้า ตามศัพท์แปลว่าผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ในที่ นี้ใช้เพื่อความไพเราะของบทประพันธ์ มี ความหมายอย่างเดียวกับธรณี หมายถึง แผ่นดิน ประเทือง ทำให้ดีขึ้น ในที่นี้หมายถึง ตื่นขึ้น แปลงกาย •บทพากย์เอราวัณ•

คำศัพท์ที่น่าสนใจ ๑๖ โบกขรณี สระบัว สหัสนัยน์ ผู้มีพันตา หมายถึงพระอินทร์ เป็นเทวดาผู้ สมรภูมิชัย สุครีพ เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หัสดิน สนามรบ หัสดินอินทรี พญาวานร ทหารเอกของพระราม ช้างในความว่า “เร่งรัดหัสดิน” อมรินทร์ นกหัสดี หรือ นกหัสดีลิงค์ เป็นนก เอราวัณ ในวรรณคดีโบราณ ตัวใหญ่ มีกำลังเท่าช้าง ๕ เชือก มีกรงเล็บใหญ่ มีงวงคล้ายช้าง กินเนื้อคนและกินเนื้อสัตว์เป็นอาหารอยู่ บริเวณป่าหิมพานต์ ผู้เป็นใหญ่ในหมู่เทวดา ในที่นี้หมายถึง พระอินทร์ ในความว่า “อินทรชิตบิดเบือน กายิน เหมือนองค์อมรินทร์” หมายความว่า อิทรชิต แปลงกายเป็นพระอินทร์ (คำว่า เหมือนไม่ใช่คำเปรียบเทียบอย่างอุปมาไม่ใช่ ภาพพจน์แต่มีความหมายว่าแปลงเป็น) หรือไอยราวัน เป็นเทพบุตรองค์หนึ่ง เมื่อพระ อินทร์จะเสด็จไปที่ใด เอราวัณเทพพระบุตรก็ จะนิรมิตตนเป็นช้างทรง •บทพากย์เอราวัณ•

๑๗ อ้างอิง https://blog.startdee.com/บทพากย์เอราวัณ-ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่-3-วิชาภาษาไทย https://www.baanjomyut.com/library_2/extension- 4/treasures_of_literature/02_5.html : บ้านจอมยุทธ บทพากย์ เอราวัณ https://anyflip.com/wqycb/uuhk : บทพากย์เอราวัณ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๓ •บทพากย์เอราวัณ•

บทพากย์เอราวัณ อินทรชิตบิดเบือนกายิน เหมือนองค์อมรินทร์ ทรงคชเอราวัณ เผือกผ่องผิวพรรณ เศียรหนึ่งเจ็ดงา ช้างนิมิตฤทธิแรงแข็งขัน สระหนึ่งย่อมมี สีสังข์สะอาดโอฬาร์ ดอกหนึ่งแบ่งบาน เจ็ดองค์โสภา สามสิบสามเศียรโสภา อีกเจ็ดเยาวมาลย์ ดั่งเพชรรัตน์รูจี ชำเลืองหางตา งาหนึ่งเจ็ดโบกขรณี เจ็ดกออุบลบันดาล กอหนึ่งเจ็ดดอกดวงมาลย์ มีกลีบได้เจ็ดกลีบผกา กลีบหนึ่งมีเทพธิดา แน่งน้อยลำเพานงพาล นางหนึ่งย่อมมีบริวาร ล้วนรูปนิรมิตมายา จับระบำรำร่ายส่ายหา ทำทีดังเทพอัปสร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ สาระการเรียนรู้ ภาษาไทย นางสาวจารุวรรณ อยู่เย็น มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook