Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ปลาดุก

ปลาดุก

Published by ์Yammy Chanel, 2019-07-31 00:12:34

Description: ปลาดุก

Search

Read the Text Version

คำนำ การเลี้ยงสัตว์น้ำในภาคอีสานนั้นโดยมากเป็นการการเลี้ยงในบ่อที่ใช้น้ำ เพ่ือการปลูกพืชเล้ียงสัตว์เท่านั้น ไม่มีการจัดการที่ดีจึงทำให้ได้ผลผลิตน้อย เพ่ือให้ เกษตรกรได้มีแนวทางในการเลี้ยงสัตว์น้ำและได้ผลผลิตอย่างคุ้มค่า งานศึกษาและ พฒั นาแหลง่ นำ้ เพอ่ื การประมงจึงเหน็ วา่ การเลยี้ งปลาดกุ ในบ่อซีเมนตท์ ี่งานฯ ประมง ไดท้ ำการศึกษา เป็นรปู แบบทนี่ า่ จะเหมาะสมกบั เกษตรกรทีต่ อ้ งการเล้ยี งปลาแตม่ นี ้ำ ท่จี ะใชใ้ นการเกษตรอย่างจำกดั งานศกึ ษาและพัฒนาดา้ นการประมงหวังว่า คูม่ อื การเล้ียงปลาดกุ ในบ่อซเี มนต์น้ี น่าจะเป็นแนวทางในการเล้ียงปลาอีกรูปแบบหนึ่งท่ีจะทำให้การทำการเกษตรได้ ผลผลิตทางการประมงเพิ่มข้ึน เพื่อนำไปสู่การพ่ึงตนเองได้ตามท่ีพระบาทสมเด็จ พระเจา้ อย่หู ัวได้มีพระราชดำรไิ ว ้

สารบัญ หน้า ๕ บทนำ ๖ ข้อแตกตา่ งของปลาดุกอยุ และปลาดุกเทศ ๑๑ การอนุบาลลูกปลาดกุ ๑๓ ข้นั ตอนการเล้ียง ๑๗ โรคปลาดุก ๑๘ สารเคมีและยาปฏชิ ีวนะที่นยิ มใช้ปอ้ งกันและรกั ษาโรคปลา ๑๙ การลงทนุ



ใกนาบร่อเลซ้ียีเมงนปตล์ าดกุ บทนำ ปลาดุกในประเทศไทยที่นิยมนำมาเพาะเลี้ยงในอดีตน้ันแต่ เดมิ มี ๒ ชนิด แตท่ น่ี ิยมในการเพาะเลีย้ งอยา่ งมากไดแ้ ก่ ปลาดกุ อุย (Clarias macrocephalus) เป็นปลาพ้ืนบ้านของไทยชนิด ไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว มีหนวด ๔ เส้นที่ริมฝีปาก ผิวหนังมี สีน้ำตาล เน้ือมีสีเหลือง รสชาติอร่อยนุ่มนวล สามารถนำมา ปรุงแตง่ เป็นอาหารชนิดตา่ ง ๆ ได้มากมาย ในประเทศไทยมพี ันธุ์ ปลาดกุ อย่จู ำนวน ๕ ชนดิ แต่ทีเ่ ปน็ ทีร่ ู้จักท่วั ๆ ไปคอื ปลาดุกอุย และปลาดุกด้าน (Clarias batrachus) ซึ่งในอดีตทั้งปลาดุกอุย และปลาดุกด้านได้มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย เม่ือมีการ นำปลาดุกชนิดใหม่เข้ามาเลี้ยงในประเทศไทย อธิบดีกรมประมง ได้มีคำสั่งให้กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สถาบันวิจัยการ เพาะเล้ียงสัตว์น้ำจืดดำเนินการศึกษา พบว่าเป็นปลาในตระกูล แคทฟชิ เช่นเดียวกบั ปลาดกุ อุย มีถ่นิ กำเนดิ ในทวีปแอฟริกา มชี ือ่ วา่ Clarias gariepinus, African sharptooth catfish เป็นปลาที่มี การเจริญเติบโตรวดเร็วมาก สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด มคี วามตา้ นทานโรคและสภาพแวดล้อมสูง เป็นปลาที่มขี นาดใหญ่ เมอ่ื เจรญิ เติบโตเตม็ ท ่ี คู่มอื การเลี้ยงปลาดกุ ในบ่อซีเมนต์ ๕

งานศึกษาและพัฒนาแหล่งน้ำเพ่ือการประมงได้ศึกษาการเลี้ยงปลาดุก ท้ังรูปแบบการเลี้ยงและชนิดของปลาดุกที่เหมาะสมกับการเล้ียงพบว่า ปลาดุก สามารถเจรญิ เติบโตไดด้ ีทงั้ ในบ่อดนิ บ่อพลาสตกิ และบ่อซีเมนต ์ สว่ นชนดิ ปลาดกุ ท่ี เหมาะสมในการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์น้ัน ปลาดุกเทศ และปลาดุกเทศอุยเทศ (ลูกผสม ระหว่างแม่ปลาดุกอุยกับพ่อปลาดุกเทศ) เหมาะสมมากท่ีสุด โดยใช้ระยะเวลา ประมาณ ๒ - ๓ เดือน (แลว้ แต่ขนาดลกู ปลาท่ีปลอ่ ย) ก็สามารถจำหน่ายไดแ้ ลว้ ขอแตกตา่ งของปลาดุกอยุ และปลาดกุ เทศ ตารางแสดงความแตกตา่ งระหว่าปลาดุกอยุ และปลาดกุ เทศ ลกั ษณะ ปลาดุกอุย ปลาดกุ เทศ ใหญแ่ ละแบน กระโหลกจะเปน็ ๑. หวั เลก็ คอ่ นขา้ งรีไมแ่ บน ตุ่มๆ ไม่เรยี บมีรอยบุ๋ม กระโหลกจะล่นื มรี อยบ๋มุ ตรง ตรงกลางเลก็ น้อย กลางเล็กน้อย สขี าว ม ี ๔ ค ู่ โคนหนวดใหญ่ ๒. ใต้คาง มสี คี ลำ้ ไมข่ าว หยกั แหลม มี ๓ หยกั ๓. หนวด มี ๔ คู ่ โคนหนวดเลก็ ป้าน แบนหนา มเี งยี่ งใหญ ่ ส้นั นมิ่ ไม่แหลมคม ๔. กระโหลก โคง้ มน และส่วนของครบี ออ่ นหุ้มถึง ท้ายทอย ปลายครีบแขง็ ปลายครบี สีแดง ๕. ปาก ไม่ปา้ นคอ่ นขา้ งมน กลมใหญ่ สเี ทา ปลายครีบ มีสแี ดง และมีแถบสขี าวลาด ๖. ครีบหู มเี ง่ยี งเล็กสนั้ แหลมคมมาก บริเวณคอดหาง ครีบแขง็ ย่นื ยาวเกิน ๑ : ๓ หรอื เท่ากบั ครีบอ่อน ๗. ครบี หลัง ปลายครีบสเี ทาปนดำ ๘. ครีบหาง กลมไมใ่ หญ่มากนกั สเี ทาปนดำ ๙. สดั สว่ นระหว่าง ๑ : ๔ หัว : ตวั ๖ ๑๙ ผลสำเรจ็ ทโ่ี ดดเด่นของศูนยศ์ กึ ษาการพัฒนาภูพานอนั เนอื่ งมาจากพระราชดำริ

ลักษณะ ปลาดกุ อุย ปลาดกุ เทศ ๑๐. สีของลำตวั ดำ น้ำตาลปนดำที่บรเิ วณ เทา เทาอมเหลอื ง ดา้ นบนของลำตวั ๑๑. จดุ ท่ลี ำตวั ขณะท่ีปลามีขนาดเลก็ จะ ไม่มจี ุด เมอ่ื ปลาโตข้นึ ปรากฏจุดขาวเรียงขวาง จะปรากฏลายคล้ายหนิ ออ่ น เปน็ ทางประมาณ ๙ - ๑๐ แถว อยทู่ ว่ั ตวั เม่ือปลามีขนาดใหญ่ จดุ จะ ๑๒. ผนงั ทอ้ ง เลือนหายไป มสี ขี าวถึงเหลอื งเฉพาะบรเิ วณ ผนังท้องมีสีขาวตลอดจนถึง อกถงึ ครบี ท้อง โคนหาง ภาพท่ี ๑ เปรียบเทียบลักษณะหัวปลาดุก ส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยปลาดุกอุย มีลกั ษณะโค้งมน (ซ้าย) ส่วนในปลาดุกด้านกระดูกทา้ ยแหลม (ขวา) (ประพนั ธ,์ ๒๕๔๓) คมู่ ือการเล้ียงปลาดกุ ในบ่อซีเมนต์ ๗



ก. ข. ภาพท่ี ๒ เปรยี บเทยี บลกั ษณะปลาดกุ ก. ลกั ษณะกระดูกทา้ ยทอยของปลาดุก ๓ ชนดิ (จากซ้ายไปขวา ปลา ดุกดา้ น ปลาดุกยักษ์ และปลาดุกอยุ ) ข. แสดงลกั ษณะของปลาดกุ อยุ (บน) ปลาดุกบ๊กิ อยุ (กลาง) และปลา ดุกยักษ์ (ล่าง) (อุทยั รัตน,์ ๒๕๔๔) คู่มอื การเลยี้ งปลาดุกในบอ่ ซีเมนต์ ๙

๑๙ ผลสำเร็จท่โี ดดเดน่ ของศนู ยศ์ กึ ษาการพฒั นาภูพานอนั เนื่องมาจากพระราชดำริ

การอนบุ าลลกู ปลาดุก ลูกปลาดุกท่ีฟักออกเป็นตัวใหม่ๆ จะใช้อาหารในถุงไข่แดงท่ี ตดิ มากับตัว เมือ่ ถุงไข่แดงทตี่ ดิ มากับลูกปลายบุ ใหไ้ ข่ไก่ต้มสุกเอา เฉพาะไขแ่ ดงบดผ่านผา้ ขาวบาง เมื่อลูกปลาอายุครบ ๒ วัน สามารถขนย้ายได้ด้วยความ ระมัดระวังโดยใช้สายยางดูด แล้วบรรจุในถุงพลาสติกขนาด ๑๘ น้ิว ไม่ควรเกิน ๑๐,๐๐๐ ตัว/ถุง หากขนส่งเกิน ๘ ช่ัวโมง ให้ลดจำนวนลูกปลาลง  การอนุบาลลกู ปลาดกุ ในบอ่ ซีเมนต์ สามารถดูแลรักษาได้ง่าย ขนาดของบ่อซีเมนต์ควรมีขนาด ประมาณ ๒ - ๕ ตารางเมตร ระดับความลกึ ของน้ำทใ่ี ชอ้ นบุ าลลกึ ประมาณ ๑๕ - ๓๐ เซนติเมตร การอนบุ าลลกู ปลาดุกทีม่ ขี นาดเล็ก (อายุ ๓ วัน) ระยะแรกควรใส่น้ำในบ่ออนุบาลลึกประมาณ ๑๐ - ๑๕ เซนติเมตร เม่ือลูกปลามีขนาดใหญ่ขึ้นจึงค่อยๆ เพ่ิม ระดับน้ำให้สูงขึ้น การอนุบาลให้ลูกปลาดุกมีขนาด ๒ - ๓ เซนตเิ มตร จะใช้เวลาประมาณ ๑๐ - ๑๔ วนั นำ้ ที่ใช้ในการอนุบาล จะต้องเปลี่ยนถ่ายทุกวัน เพ่ือเร่งให้ลูกปลาดุกกินอาหารและมี การเจริญเติบโตดี อีกท้ังเป็นการป้องกันการเน่าเสียของน้ำด้วย การอนบุ าลลกู ปลาดุกจะปลอ่ ยในอัตรา ๓,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ ตวั /ตรม. อาหารทใ่ี ชค้ อื ไรแดงเปน็ หลกั ซ่งึ หากใหอ้ าหารเสริม เช่น ไขต่ ุน๋ หรือเต้าหู้ จะต้องระวังเกี่ยวกับการย่อยของลูกปลาและการ เนา่ เสียของนำ้ ในบ่ออนุบาลใหด้ ีด้วย คู่มือการเล้ียงปลาดกุ ในบ่อซเี มนต์ ๑๑

การอนบุ าลลูกปลาดกุ ในบ่อดิน บอ่ ดินท่ีใช้อนุบาลลุกปลาดกุ ควรมีขนาด ๒๐๐ - ๘๐๐ ตรม. บอ่ ดินทีจ่ ะใช้อนุบาล จะต้องมีการกำจัดศัตรูของลูกปลาก่อน และพ้ืนก้นบ่อควรเรียบ สะอาดปราศจาก พืชพรรณไมน้ ำ้ ตา่ งๆ ควรมีรอ่ งขนาดกว้างประมาณ ๐.๕ - ๑ เมตร ยาวจากหวั บ่อ จรดท้ายบ่อ และลึกจากระดับพ้ืนก้นบ่อประมาณ ๒๐ เซนติเมตร เพ่ือความสะดวก ในการรวบรวมลูกปลา และตรงปลายร่องควรมแี อง่ ลึก มพี น้ื ที่ประมาณ ๒ - ๔ ตรม. เพ่ือเป็นแหล่งรวบรวมลูกปลา การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อจะต้องเตรียมอาหาร สำหรับลูกปลา โดยการเพาะไรแดงไว้ล่วงหน้าเพ่ือเป็นอาหารให้แก่ลูกปลาก่อนที่จะ ปล่อยลกู ปลาดกุ ลงอนบุ าลในบอ่ การอนุบาลในบอ่ ดนิ จะปล่อยในอตั รา ๓๐๐ - ๕๐๐ ตวั /ตรม. การอนุบาลลกู ปลาให้เตบิ โตได้ขนาด ๓ - ๔ เซนติเมตร ใช้เวลาประมาณ ๑๔ วัน แตก่ ารอนบุ าลลกู ปลาดุกในบ่อดนิ นัน้ สามารถควบคมุ อัตราการเจริญเติบโต และอตั รารอดไดย้ ากกว่าการอนบุ าลในบอ่ ซีเมนต ์ ปัญหาในการอนุบาลลูกปลา น้ำเสียเกิดข้ึนจากการให้อาหารลูกปลามากเกินไป หากลูกปลาป่วยให้ลดปริมาณอาหารลง ๓๐ - ๕๐ % ดดู ตะกอนถ่ายน้ำ แลว้ ค่อยๆ เติมนำ้ ใหม่ หลังจากนนั้ ใชย้ าปฏชิ วี นะออกซเี ตตรา้ ซัยคลนิ แช่ลูกปลาในอัตรา ๑๐ - ๒๐ กรัม/น้ำ ๑ ลูกบาศก์เมตร หรือไนโตรฟุราโชน ๕ - ๑๐ กรัม/น้ำ ๑ ลูกบาศก์เมตร วันตอ่ ๆ มาใช้ยา ๓/๔ เทา่ ปลาจะลดจำนวนการตายภายใน ๒ - ๓ วัน ถา้ ปลาตาย เพมิ่ ขึ้น ควรกำจัดลูกปลาท้งิ ไป เพื่อปอ้ งกนั การติดเชื้อไปยังบ่ออน่ื ๆ ๑๒ ๑๙ ผลสำเร็จทโี่ ดดเด่นของศนู ย์ศกึ ษาการพัฒนาภพู านอนั เน่อื งมาจากพระราชดำริ

ข้นั ตอนการเล้ียง การเล้ียงในบอ่ ซเี มนต์ ๑. อัตราปล่อยปลาดุก ควรปรับสภาพของน้ำในบ่อที่เลี้ยงให้มีสภาพเป็นกลาง หรือเป็นด่างเล็กน้อย แต่ต้องแน่ใจว่าบ่อซีเมนต์จะต้องหมดฤทธ์ิของปูน ลูกปลา ขนาด ๒ - ๓ ซม. ควรปล่อยในอตั ราประมาณ ๑๐๐ ตัว/ตรม. เพอ่ื ปอ้ งกนั โรคซ่ึงอาจ จะติดมากับลูกปลา ใช้น้ำยาฟอร์มาลินใส่ในบ่อเล้ียง อัตราความเข้มข้นประมาณ ๓๐ สว่ นในล้าน (๓๐ มิลลิลิตร/นำ้ ๑ ตนั ในวนั ท่ีปล่อยลกู ปลาไมจ่ ำเปน็ ต้องใหอ้ าหาร ควรเรม่ิ ให้อาหารในวนั รุง่ ขนึ้ (ก) (ข) ภาพที่ ๓ บ่อซเี มนต์แบบที่เกษตรกรนยิ มใช้เลี้ยง (ก) บอ่ ซีเมนต์แบบเหลี่ยม (ข) บอ่ ซีเมนต์แบบกลม ๒. การให้อาหาร เม่ือปล่อยลูกปลา ดุกลงในบ่อแล้ว อาหารท่ีให้ในช่วงท่ี ลูกปลาดุกมขี นาดเล็ก (๒ - ๓ ซม.) ควรให้ อาหารผสมคลุกน้ำปั้นเป็นก้อนให้ลูกปลา กิน โดยให้กินวันละ ๒ ครั้ง หว่านให้กิน ทั่วบ่อโดยเฉพาะในบริเวณขอบบ่อ เมื่อ ลูกปลามีขนาดโตข้ึนความยาวประมาณ ๕ - ๗ ซม. สามารถฝึกใหก้ นิ อาหารเมด็ ได้ หลังจากนัน้ เม่ือปลาโตขน้ึ จนมีความยาว ๑๕ ซม. ข้ึนไป จะให้อาหารเมด็ เพียงอยา่ ง เดยี วหรอื อาหารเสรมิ ชนิดตา่ งๆ ได้ เชน่ ปลาเป็ดผสมรำละเอียดอัตรา ๙ : ๑ หรอื คู่มือการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ ๑๓

๑๙ ผลสำเร็จท่โี ดดเดน่ ของศนู ยศ์ กึ ษาการพฒั นาภูพานอนั เนื่องมาจากพระราชดำริ

ให้อาหารทีล่ ดต้นทุน เช่น อาหารผสมบดจากสว่ นผสมต่างๆ เช่น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษขนมปัง เศษเส้นหม่ี เศษเลือดหมู เลือดไก่ เศษเก้ียว หรือเศษอาหารเท่าท่ีสามารถหาได้ นำมาบดรวมกัน แล้วผสมให้ปลากนิ แต่การให้อาหารประเภทนี้จะต้องระวงั เรอ่ื ง คุณภาพของนำ้ ในบอ่ เล้ยี งใหด้ ี เมอ่ื เลีย้ งปลาไดป้ ระมาณ ๒ เดือน ปลาจะมีขนาดประมาณ ๑๒๕ กรัม/ตัว ซึ่งผลผลิตท่ีได้จะ ประมาณ ๑๐ กก./บอ่ อตั รารอดตายประมาณ ๘๐ % ๓. การถ่ายเทนำ้ เมือ่ ตอนเรม่ิ เลยี้ งใหม่ๆ ระดับความลึกของ น้ำในบอ่ ควรมีคา่ ประมาณ ๓๐ - ๔๐ ซม. เมื่อลกู ปลาเจรญิ เตบิ โต ขึ้นในเดือนแรกจึงเพิ่มระดับน้ำสูงเป็นประมาณ ๕๐ ซม. การถ่ายเทน้ำควรเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงผ่านไปประมาณ ๑ เดือน โดยถ่ายนำ้ ประมาณ ๒๐ % ของนำ้ ในบอ่ ๓ วนั /ครง้ั หรอื ถา้ นำ้ ในบอ่ เรมิ่ เสยี จะตอ้ งถา่ ยน้ำมากกว่าปกต ิ คู่มอื การเลย้ี งปลาดกุ ในบ่อซีเมนต์ ๑๕

ภาพท่ี ๔ ปลาดกุ อายุ ๑ เดือน ภาพท่ี ๕ ปลาขนาดตลาด ๔. การปองกันโรค การเกิดโรคของปลาดุกที่เล้ียงมักจะเกิดจากปัญหาคุณภาพ ของน้ำในบ่อเล้ียงไม่ด ี ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของการให้อาหารมากเกินไปจนอาหาร เหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหม่ันสังเกตว่าเม่ือปลาหยุด กินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันท ี เพราะปลาดุกลูกผสมมีนิสัยชอบกินอาหาร ท่ีให้ใหม่ โดยถึงแม้จะกินอ่ิมแล้ว ถ้าให้อาหารใหม่อีกก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่า ทิ้งแล้วกินอาหารให้ใหมอ่ ีก ซึง่ ปริมาณอาหารที่ใหไ้ มค่ วรเกิน ๔ - ๕ % ของนำ้ หนกั ตวั ปลา ๑๖ ๑๙ ผลสำเร็จท่ีโดดเด่นของศนู ย์ศึกษาการพัฒนาภพู านอนั เนื่องมาจากพระราชดำริ

โรคของปลาดุก ในกรณที ่ีมีการปอ้ งกนั อย่างดีแล้วแต่ปลากย็ ังปว่ ยเปน็ โรค ซงึ่ มกั จะแสดงอาการ ใหเ้ หน็ โดยแบง่ อาการของโรคเปน็ กลุ่มใหญๆ่ ดังนี้ ๑. การตดิ เชอื้ จากแบคทีเรยี จะมกี ารตกเลอื ด มีแผลตามลำตวั และครีบกรอ่ น ตาขุ่น หนวดหงิก กกหูบวม ท้องบวม มีน้ำในช่องท้อง กินอาหารน้อยลงหรือไม่กิน อาหาร ลอยตัว ๒. อาการจากปรสิตเข้าเกาะตัวปลา จะมีเมือกมาก มีแผลตามลำตัว ตกเลือด ครีบเปื่อย จุดสีขาวตามลำตัว สีตามลำตัวซีดหรือเข้มผิดปกติ เหงือกซีดว่ายน้ำทุรน ทุราย ควงสว่านหรอื ไมต่ รงทศิ ทาง ๓. อาการจากอาหารมีคุณภาพไม่เหมาะสม คือ ขาดวิตามินบี กระโหลกร้าว บริเวณใต้คางจะมีการตกเลือด ตัวคด กินอาหารน้อยลง ถ้าขาดวิตามินบีปลาจะ ว่ายน้ำตวั เกรง็ และชักกระตกุ ๔. อาการจากคุณภาพน้ำในบ่อไม่ดี ปลาจะว่ายน้ำข้ึนลงเร็วกว่าปกติ ครีบ กร่อนเป่ือย หนวดหงกิ เหงือกซีดและบวม ลำตวั ซีด ไมก่ ินอาหาร ท้องบวม มแี ผล ตามตัว อน่งึ ในการรักษาโรคปลาควรจะไดพ้ ิจารณาให้รอบคอบก่อนการตดั สนิ ใจเลือก ใชย้ าหรือสารเคมี สาเหตขุ องโรค ระยะรกั ษา คา่ ใช้จา่ ยในการรกั ษา วิธกี ารป้องกันเกิดโรคในปลาดกุ ลกู ผสมท่ีเลยี้ ง ๑. ควรเตรยี มบ่อและน้ำตามวธิ กี ารทเ่ี หมาะสมกอ่ นปล่อยลกู ปลา ๒. ซอื้ พนั ธป์ุ ลาจากแหลง่ ทเี่ ชื่อถือไดว้ ่าแข็งแรงและปราศจากโรค ๓. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหา สาเหตแุ ละแกไ้ ขโดยเร็ว ๔. หลงั จากปลอ่ ยปลาลงเล้ียงแลว้ ๓ - ๔ วัน ควรสาดน้ำยาฟอรม์ าลนิ ๒ - ๓ ลิตร/ปริมาตร น้ำ ๑๐๐ ตัน และหากปลาท่ีเล้ียงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้แก้ไขโดย สาดนำ้ ยาฟอร์มาลินในอตั รา ๔ - ๕ ลติ ร/ปรมิ าตรนำ้ ๑๐๐ ตัน ๕. เปลี่ยนถา่ ยน้ำจากระดบั กน้ บ่ออยา่ งสมำ่ เสมอ ๖. อย่าใหอ้ าหารจนเหลือ คู่มือการเลย้ี งปลาดกุ ในบอ่ ซเี มนต์ ๑๗

สารเคมีและยาปฏชิ ีวนะทีน่ ิยมใชปอ้ งกนั และรักษาโรคปลา สชารนเิดคขมอ/ี ยง า วัตถุประสงค ปรมิ าณทใ่ี ช ้ เกลอื กำจัดแบคทเี รียบางชนดิ เชือ้ รา ๐.๑ - ๐.๕% แช่ตลอด และปรสติ บางชนิดลด ๐.๕ - ๑.๐ % แชภ่ ายใต ้ ความเครยี ดของปลา การดแู ลอย่างใกล้ชิด ปูนขาว ฆ่าเช้ือกอ่ นปลอ่ ยปลาปรับ PH ๖๐ - ๑๐๐ กโิ ลกรัม/ไร่ ของดนิ และนำ้ ละลายนำ้ แล้วสาดให้ท่วั บอ่ คลอรนี ฆ่าเชอื้ อปุ กรณต์ ่าง ๆ ทใ่ี ชก้ บั ๑๐ พีพเี อม็ แช ่ ๓๐ นาที บอ่ เล้ียงปลา แล้วลา้ งด้วยนำ้ สะอาดกอ่ นใช้ ดิพเทอรเ์ ร็กซ์ กำจดั ปลิงใส เหบ็ ปลา ๐.๒๕ - ๐.๕ พีพีเอม็ แช่ตลอด หนอนสมอ ยาทีใ่ ช้ควรเป็นผงละเอียดสขี าว ถ้ายาเปล่ียนเปน็ ของเหลว ไมค่ วรใช ้ ฟอร์มาลิน กำจัดปรสติ ภายนอกทว่ั ไป ๒๕ - ๕๐ พพี เี อม็ แชต่ ลอด ระหว่างการใช้ควรระวัง การขาดออกซเิ จนในน้ำ ออกซดี เตตร้า กำจัดแบคทเี รีย ผสมกบั อาหารในอตั รา ซยั คลิน ๓ - ๕ กรมั /อาหาร ๑ กโิ ลกรมั ให้กินนาน ๗ - ๑๐ วันติดต่อกัน แช่ในอัตรา ๑๐ - ๒๐ กรมั ต่อ นำ้ ๑ ตันนาน ๕ - ๗ วัน คลอแรมฟินิคอล กำจดั แบคทีเรีย ผสมกบั อาหารอตั รา ๑ กรมั อาหาร ๑ กโิ ลกรัมหนงึ่ สปั ดาห์ บางครงั้ กใ็ ช้ไม่ไดผ้ ลเน่อื งจาก เชอื้ แบคทีเรยี ดอ้ื ยา ๑๘ ๑๙ ผลสำเรจ็ ทีโ่ ดดเด่นของศูนย์ศึกษาการพฒั นาภพู านอันเน่อื งมาจากพระราชดำริ

การลงทุน ตน้ ทนุ คา่ พันธุป์ ลาดกุ ๑๐๐ ตวั ๆ ละ ๐.๒ บาท รวม ๒๐.๐๐ บาท ค่าอาหารปลาดกุ ๑๕ กก.ๆ ละ ๒๒.๕๐ บาท รวม ๓๓๗.๕๐ บาท รวมต้นทนุ ๓๕๗.๕๐ บาท รายได้ ปลาดกุ ๑๐ กก.ๆ ละ ๔๕ บาท รวม ๔๕๐.๐๐ บาท กำไร (๙.๒๕ ตอ่ กิโลกรมั ) ๙๒.๕๐ บาท ทั้งน้ี หากใช้อาหารที่ผลิตเองจะต้องใช้ต้นทุนประมาณ ๑๐ บาทต่อกิโลกรัม ผลกำไรจะเพิ่มขึน้ เป็น ๒๕๐ - ๒๘๐ บาท (๒๕ - ๒๘ บาท/กโิ ลกรมั ) ในเกษตรกรท่ีต้องการเลี้ยงเพื่อเป็นรายได้เสริมอาจจะต้องใช้อาหารที่ผลิตเอง เพื่อลดต้นทุน และแนะนำให้เล้ียงในบ่อซีเมนต์ขนาดกว้าง ๒ เมตร ยาว ๔ เมตร ขึน้ ไป จะได้ผลผลิตเพ่ิมข้ึน และคมุ้ ค่ากับเวลาท่ดี ูแลระหวา่ งการเลี้ยง ต้นทนุ ค่าพนั ธุ์ปลาดุก ๘๐๐ ตัว ตัวละ ๐.๒ บาท รวม ๑๖๐.๐๐ บาท คา่ อาหารปลาดุก (ทำเอง) ๑๒๐ กก.ๆ ละ ๑๐ บาท รวม ๑,๒๐๐.๐๐ บาท รวมต้นทนุ ๑,๓๖๐.๐๐ บาท รายได้ ปลาดุก ๘๐ กก.ๆ ละ ๔๕ บาท รวม ๓,๖๐๐.๐๐ บาท กำไร (๒๘ บาทต่อกิโลกรมั ) ๒,๒๔๐.๐๐ บาท คมู่ ือการเลี้ยงปลาดุกในบอ่ ซเี มนต์ ๑๙

สูตรอาหารปลาดุกอย่างง่ายที่เกษตรกรสามารถหาวัตถุดิบได้ในพื้นท่ี สามารถ ทำได้เอง จะสามารถลดต้นทุนการเลี้ยงได้กว่าร้อยละ ๕๐ โดยมีข้ันตอนง่ายๆ ใน การทำอาหารปลาดุกจำนวน ๑๐ กิโลกรัม มีอตั รสว่ นผสมของวตั ถุดบิ ดงั น้ี ปลาปน่ ๑ กิโลกรัม รำอ่อน ๕ กิโลกรัม ข้าวโพดบด ๒ กิโลกรมั ปลายขา้ วบด ๒ กิโลกรมั ๒๐ ๑๙ ผลสำเรจ็ ทโ่ี ดดเด่นของศนู ยศ์ กึ ษาการพฒั นาภพู านอนั เนอ่ื งมาจากพระราชดำริ

บรรณานกุ รม กรมประมง. ๒๕๕๑. การเพาะเล้ียงปลาดุกบ๊ิกอุย. เอกสารคำแนะนำ, กองส่งเสริมการประมง, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ๔๔ หนา้ . คณิต ชูคันหอม. การเลีย้ งปลาดุกบก๊ิ อุย. คณะสัตวแพทยศาตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ ๑๔ หน้า. ประพันธ์ ธาราเวทย์. ๒๕๔๓. การเพาะพนั ธแุ์ ละการเล้ยี งปลาดุกอุย. พมิ พค์ รั้งที่ ๑. อักษรสยาม การพิมพ.์ กรุงเทพมหานคร. ๑๐๔ หนา้ พิทยา สมุทรเวช. ๒๕๔๐. คู่มือการเพาะเล้ียงและขยายพันธ์ุปลาน้ำจืด. ส่งเสริมอาชีพธุรกิจ เพชรกะรตั . กรงุ เทพมหานคร. ๗๙ หนา้ ศักด์ิชัย ชูโชติ. ๒๕๓๖. การเล้ียงปลาน้ำจืด. พิมพ์คร้ังท่ี ๑. โอ.เอส.พร้ินติ้ง เฮ้าส์. กรงุ เทพมหานคร. ๒๐๑ หนา้ อุทัยรัตน์ ณ นคร. ๒๕๔๔. ปลาดุก. พิมพ์ครั้งท่ี ๒. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. ๑๔๐ หน้า


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook