50 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ
ข้ า ว ข อ ง พ่ อ 51 ขนมไทยแต่โบราณยังใช้เป็นส่วนสำคัญในการประกอบ พิธีกรรมต่างๆ ตามประเพณีอีกด้วย ท้ังเซ่นผี บวงสรวงเทพเทวดา ไหว้ครู สู่ขวัญ ทำบุญตามเทศกาล และบนบานส่ิงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ขนมในพิธีกรรมก็มี เช่น ข้าวตอก (ดอกไม้) กระยาสารท ข้าวทิพย์ ขนมตม้ ข้าวตม้ ลูกโยน ฯลฯ นอกเหนอื ไปจากการทำขนม ซ่ึงถูกใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รวม ท้ังเทวดาด้วยแล้ว คนไทยยังแปรรูปข้าวได้อีกหลายวิธี เช่น ตอนท่ี ขา้ วตงั้ ทอ้ ง เนอ้ื ขา้ วยงั เปน็ นำ้ นมอยู่ กน็ ำมาทำขา้ วยาคู สว่ นขา้ วเปลอื ก ก็หมักทำอุ ทำสาโท หรือเหล้าขาว เป็นเคร่ืองดื่มน้ำเมาที่ขาดไม่ได้ ในการประกอบพิธกี รรมและในงานเล้ียงในโอกาสตา่ งๆ ต้ังแต่งานเกิด จนถึงงานตาย วันนี้ฉันกับพ่อกินขนมไทยกันหลายอย่าง ฉันรู้สึกว่า ขนม ไทยช่างชุ่มลิ้น ชื่นคอ และเย็นเข้าไปถึงหัวใจ พ่อบอกว่า คุณ ประโยชน์ของข้าวนน้ั เหลือที่พรรณนา ขา้ วมคี ณุ คา่ ทงั้ ในด้านโภชนาการและการคา้ นักโภชนาการวิเคราะห์พบว่า เมล็ดข้าวน้ันมีทั้งน้ำ ไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ และวิตามินหลายชนิดที่มีประโยชน์ มากต่อร่างกายของคนเรา เมือ่ เปรียบเทยี บกับเมลด็ พืชอื่นๆ
52 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ การท่ีข้าวอุดมด้วยวิตามิน เกลือแร่ และเส้นใย ทำให้ข้าว เปน็ อาหารทที่ รงคณุ คา่ วเิ ศษยิ่งสำหรับสุขภาพพลานามยั ของคน อย่างเช่นข้าวกล้อง เป็นข้าวท่ีมีสีน้ำตาลอ่อน เน่ืองจากผ่าน การกะเทาะเอาเปลือกออกเท่าน้ัน ไม่ได้สีเอารำและเย่ือหุ้มเมล็ดออก ไปด้วย จึงยังคงมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวที่อุดมด้วยวิตามิน แรธ่ าตุ และเสน้ ใยอาหารติดอยู่ สว่ นน้ีเป็นประโยชนต์ อ่ รา่ งกาย ช่วย สง่ เสริมสขุ ภาพ และช่วยรักษาโรคได ้ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ทรงมพี ระราชดำรสั พระราชทาน แกส่ อื่ มวลชน ณ โครงการพฒั นาส่วนพระองค์ จงั หวัดปราจีนบรุ ี เมื่อ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๑ วา่
ข้ า ว ข อ ง พ่ อ 53 “ข้าวที่ออกเป็นสีลักษณะนี้เป็นข้าวท่ีมีประโยชน์ อย่าง ข้าวกล้อง คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยกินกัน เพราะเห็นว่าเป็นข้าวของ คนจน ข้าวกล้องมีประโยชน์ทำให้ร่างกายแข็งแรง ข้าวขาวเม็ดสวย แต่เขาเอาของดีออกไปหมดแล้ว มีคนบอกว่าคนจนกินข้าวกล้อง เรากนิ ขา้ วกลอ้ งทุกวัน เราน่ีกค็ นจน” พ่อบอกว่า เม่ือก่อนนี้ข้าวกล้องเป็นข้าวราคาถูก เอาไว้ สำหรับให้คนติดคุกต้องโทษกิน ที่เรียกกันว่า “ข้าวแดง” แต่เด๋ียวนี้ เมื่อพบว่าเมล็ดข้าวกล้องประกอบด้วยวิตามิน แร่ธาตุ มีสารอาหาร ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ ข้าวกล้องจึงกลายเป็นข้าวท่ีมีคุณค่า มี ราคาสงู ขน้ึ และกำลงั เปน็ ทต่ี อ้ งการมากขน้ึ เรอ่ื ยๆ ในตลาดการคา้ ขา้ ว ทุกวันน้ี
54 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ ปัจจุบันก็มีข้าวสำเร็จรูป หรือข้าวกึ่งสำเร็จรูปขายกันมาก อย่างเชน่ ข้าวสวยบรรจกุ ระป๋อง ทำจากข้าวหอมมะลิ ข้าวสวยบรรจุ ซอง หรือข้าวกึ่งสำเรจ็ รูปชนดิ แห้ง เช่น โจ๊ก และขา้ วตม้ เปน็ ต้น ส่วนผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเด๋ียวน้ีก็มีมากเช่นกัน อย่าง ข้าวกล้องผสมกับถ่ัวเหลือง ข้าวโพด ข้าวยาคู แชมพูสระผมจนถึง ขนมกรอบยคุ ใหมห่ ลายยห่ี อ้ ทำจากขา้ ว นอกจากนแี้ ลว้ รำขา้ วกย็ งั สกดั ใช้เป็นน้ำมันปรุงอาหารและผสมน้ำมันสำหรับนวดทำครีมบำรุงผิวได้ อีกด้วย หลังจากท่ีได้ฟังพ่อสาธยายเรื่องประโยชน์อันเป็นคุณวิเศษ ของข้าวมาพอหอมปากหอมคอแล้ว ฉันก็ลุกข้ึนบอกกับพ่อว่า อยาก จะไปอาบน้ำสกั หน่อย เสียงพ่อบอกไลห่ ลัง “ลูกอยากจะลองใช้สบู่ที่ทำจากไขรำข้าวดูก็ได้นะ พ่อเพ่ิงซ้ือ มาก้อนหนึ่งอยู่ในหอ้ งน้ำนั่นแลว้ ” อะไรจะขนาดนั้น ! ฉนั คดิ
ข้ า ว ข อ ง พ่ อ 55
56 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั เสด็จพระราชดำเนินเพ่ือทรงเก่ียวขา้ ว ณ บริเวณท้องนาดา้ นหนา้ อนสุ าวรยี ์สมเดจ็ พระศรสี รุ ิโยทัย ทุง่ ภูเขาทอง จ.พระนครศรีอยธุ ยา วันท่ี ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙
๕ ข้าวของพ่อ 57 ข้าวกับพระมหากษัตริย์ไทย ใน แผ่นดินที่เป็นราชอาณาจักรไทยทุกวันนี้ มีสถาบัน พระมหากษัตริย์สืบต่อเน่ืองมายาวนานนับกว่าพันปีแล้ว พระมหา กษัตริยท์ รงเปน็ พระประมุขแห่งสังคม คำว่า พระมหากษัตริย์ ตามคติของอินเดียหมายถึง นักรบ แต่ในความหมายของคนไทยแล้วคือ พระเจ้าแผ่นดิน เป็นเจ้าของ แผ่นดินและเป็นเจ้าชีวิตของผู้คนท้ังปวงในพระราชอาณาจักร และ พระมหากษัตรยิ ์ยงั หมายถงึ ผูป้ อ้ งกันภัยใหแ้ ก่คนท้ังปวงด้วย ในอีกความหมายหน่ึงของคนไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็น สมมติเทวราช คือเปรียบดังเทวดาท่ีมหาชนนับถือ ยกย่องและ ยอมรับร่วมกันใหป้ กครองแผน่ ดิน ไพร่ฟา้ ประชาชน
58 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ สถาบันพระมหากษัตริย์จึงมีภาระหน้าที่โดยตรง ท้ังในด้าน การปกครองปอ้ งกนั และดแู ลผนื แผน่ ดนิ และผคู้ นในพระราชอาณาจกั ร ให้มีความสงบสุข ดูแลบำบัดทุกข์บำรุงสุขหมู่ชนท้ังปวง ท้ังในด้าน การต้งั ถ่ินฐานบา้ นเรือนและเปน็ ท่ีทำมาหากิน สถาบนั พระมหากษตั รยิ ์ในฐานะเจา้ แผน่ ดนิ และผปู้ อ้ งกนั ภยั จึงเกี่ยวข้องอยู่อย่างสำคัญกับผืนแผ่นดินและนาข้าวในพระราช อาณาจักร พระมหากษัตริย์ไทยก็ได้ทรงปฏิบัติพระราชภาระหน้าท่ีเช่นน้ี ตลอดมาในทุกยุคทกุ สมยั
ข้ า ว ข อ ง พ่ อ 59 ในฐานะที่ทรงเป็นเจ้าของแผ่นดิน เจ้าของท่ีนา หรือว่า เกษตรบดี พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ นับต้ังแต่อาณาจักร ล้านนา อาณาจักรสุโขทัย ลงมาจนถึงกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และ รัตนโกสนิ ทร์ ต่างก็ทรงให้ความสำคญั แก่การทำนาและการเพาะปลกู ตลอดมา
60 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทรงโยนกลา้ ขา้ วในแปลงสาธิตการเกษตร โรงเรียนนายรอ้ ยพระจลุ จอมเกล้า จ.นครนายก เมือ่ วนั ที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ พระมหากษัตริย์ทรงปกป้องคุ้มครองดูแลผืนแผ่นดินนาไร่ให้ เกดิ ความสงบสุข ปลอดภัย และไร้อนั ตราย ทรงจดั สรรแบง่ ปันทดี่ นิ อยา่ งเปน็ ธรรมแกร่ าษฎรตามฐานะและตำแหนง่ และทรงเปน็ ผู้ไกลเ่ กลย่ี ตัดสิน เม่ือเกิดมีกรณีพิพาทข้ึน เพ่ือมิให้เกิดความอยุติธรรม และ เอารดั เอาเปรยี บกัน ระหว่างผทู้ ำกินด้วยกนั ทั้งพระมหากษัตริย์ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง ต่อเหล่าราษฎรผู้มีความอุตสาหะ ในการบุกเบิกท่ีดินเพื่อทำนา ทำไร่ ทงั้ นเี้ พอื่ เปน็ การสง่ เสรมิ ใหข้ วญั ใหก้ ำลงั ใจแกพ่ สกนกิ รผทู้ ำนาทำสวน
ข้ า ว ข อ ง พ่ อ 61 สมเดจ็ พระบรมโอรสาธริ าชฯ สยามมกฎุ ราชกุมาร เสด็จฯ ทรงเปน็ ประธานในพิธีหวา่ นขา้ ว ณ บริเวณแปลงนาเกษตร ต.บางงาม อ.ศรปี ระจันต์ จ.สพุ รรณบรุ ี เมอื่ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
62 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ
ข้ า ว ข อ ง พ่ อ 63 บทบาทของรฐั และพระมหากษตั รยิ น์ บั ตงั้ แต่โบราณกาลลงมา จนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์น้ัน ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นการจัดระบบ การถือครองท่ีนา และขยายพ้ืนท่ีการทำนาเพาะปลูกเพ่ือเพ่ิมพูนการ ผลติ เชน่ ขุดคลองเพอ่ื การชลประทาน จนกระทั่งได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสมัยต่อมา ใน สมยั แผน่ ดินพระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ ัว รชั กาลที่ ๕ การปฏิรูปการปกครองประเทศใหม่ในแผ่นดินพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เฉพาะในด้าน การเกษตรต้องนับว่าเป็นก้าวแรกของชีวิตใหม่และโลกใหม่ของข้าว และชาวนาไทยทีเดียว เม่ือได้สถาปนากระทรวงใหม่แบบสากลโลก สำหรับการพัฒนาข้าวและการทำนาไทยขึ้นเป็นการเฉพาะ นั่นก็คือ กระทรวงเกษตราธิการ ในรัชกาลนี้ได้มีการเริ่มพัฒนาข้าวและการทำนาขึ้นตามหลัก วิทยาการการเกษตรสมัยใหม่ ได้มีการขุดคลองใหม่ด้วยระบบ ชลประทานแบบใหม่ข้ึนในหลายท่ีหลายแห่งด้วยกัน ท้ังยังได้ม ี ความพยายามท่ีจะแสวงหาพันธุ์ข้าวดีใหม่ๆ มาเพื่อเพาะปลูกให้มี ประสทิ ธภิ าพข้นึ
64 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ จนถึงในที่สุดได้มีการออกโฉนดที่ดินรับรองและคุ้มครองสิทธิ ผู้ถือครองท่ีดิน เพื่อทำไร่ทำนาอย่างเป็นรูปธรรมและจริงจังขึ้นเป็น คร้ังแรก อันส่งผลให้ชาวนาเกิดขวัญและกำลังใจในการสร้างชีวิตใหม่ ของตนขนึ้ ด้วย หลายพ้ืนท่ีของประเทศในรัชสมัยนี้ ได้กลายเป็นที่เหมาะสม สำหรับปลูกข้าวโดยเฉพาะ ดังน้ันการผลิตข้าวแบบเล้ียงตัวเองที่ได้ พัฒนามาเป็นเศรษฐกิจแบบการค้า ก็ถึงช่วงเวลาอันสำคัญท่ีจะก้าว ขึน้ ไปสู่การคา้ โลก กรงุ เทพฯ ไดก้ ลายเปน็ ตลาดขา้ วท่ีใหญท่ สี่ ดุ แหง่ หนงึ่ ของโลก ก็ในรชั กาลท่ี ๕ น้ี ... ฉันฟังพ่อเล่าเร่ืองความเป็นมาของพระมหากษัตริย์ไทย กบั ข้าวดว้ ยความสนใจใครร่ ูแ้ ละซาบซ้ึงในพระมหากรุณาธิคุณ
ข้ า ว ข อ ง พ่ อ 65 พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยู่หวั เสด็จฯ พรอ้ มด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟา้ จฬุ าภรณวลยั ลักษณ์ ไปทรงเยยี่ มราษฎร ณ ห้วยทุ่งจอ้ และมอ่ นอังเกต อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เมอ่ื วันท่ี ๑๔ กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๑
66 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ
๖ ข้าวของพ่อ 67 แรกนาขวัญ ฉัน พอจะรู้จักวันพืชมงคลหรือว่าวันแรกนาขวัญอยู่บ้าง กจ็ ากจอโทรทศั นเ์ พราะในวนั นม้ี กี ารถา่ ยทอดงานพธิ ที ที่ อ้ งสนามหลวง ฉนั เห็นแตภ่ าพคนแตง่ ชุดเทวดาออกมาไถนา มีเทพีสาวหาบ ข้าวและพระโคทเ่ี ส่ยี งทายกินหญ้า นอกจากน้ันแลว้ ฉันก็ไมร่ อู้ ะไรเลย วันน้พี ่อเลา่ เร่อื งวันแรกนาขวญั ใหฉ้ นั ฟงั พ่อบอกว่า พระราชภารกิจของพระมหากษัตริย์ไทยแต่ โบราณมา นอกจากการส่งเสริมเร่ืองการทำนาปลูกข้าว และการอ่ืนๆ ที่เกี่ยวกับข้าวและชาวนา ดังท่ีได้เล่ามาแล้วนั้น อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ ก็คือการบำรุงขวัญและกำลังใจให้แก่ราษฎรผู้ทำนา ในพระราช อาณาจักรเขตสยามประเทศนี ้
68 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ถือเป็นพระราช กรณียกิจท่ีสำคัญของพระมหากษัตริย์ไทยในการช่วยสนับสนุนขวัญ และกำลังใจของราษฎรผู้ทำนาและประกอบการเกษตรท้ังหลาย ซึ่ง ได้มมี านานนับแตค่ รั้งสมยั สุโขทัยเปน็ ราชธานแี ล้ว ท้ังน้ี เนื่องจากว่าพระมหากษัตริย์ในฐานะท่ีทรงเป็น เกษตรบดี หรือว่าเจ้าของที่นานั้น ย่อมจะทรงตระหนักดีถึงปัญหา และอุปสรรคทัง้ ปวงในการทำนา เพาะปลกู อันจะเกดิ ขึน้ มาจากความ ไม่แน่นอนของธรรมชาติอย่าง ดิน ฟ้า อากาศ เช่นว่า ลมแรง ฝนแล้ง น้ำท่วม หรือแม้อาจจะเกิดเหตุการณ์อย่างฝูงแมลงและ โรคระบาดลงนาข้าวให้เกิดเสียหายได้ พระราชพิธีบำรุงขวัญเช่นน ้ี จงึ ได้เกดิ ข้ึนจนเป็นโบราณราชประเพณีที่มีตอ่ เนอ่ื งกนั มายาวนาน พระราชพธิ นี ี้มีความสำคัญมาก เพราะการท่ีพระมหากษัตริย์ ออกไถนา หรือทรงแต่งต้ังผู้แทนพระองค์ออกไปไถนาเป็นปฐมฤกษ์ นัน้ นับวา่ เปน็ พระราชกรณียกิจท่ีใกล้ชดิ ตอ่ อาณาประชาราษฎร์ท่สี ดุ แสดงให้เห็นว่าแม้องค์พระมหากษัตริย์ก็ยังมิได้ทรงหลงลืม หรือละเลยคันไถ อันเป็นอุปกรณ์ท่ีสำคัญที่สุดของชาติของประเทศ สำคญั ย่งิ กวา่ ศาสตราวุธหรือเครื่องประดับอิสรยิ ยศใดๆ พธิ ีแรกนานั้นจึงเปน็ เครือ่ งแสดงเกยี รติแห่งชาวนาทงั้ ปวง
ข้ า ว ข อ ง พ่ อ 69 พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ แต่เดิมเป็นพิธี พราหมณ์ ครั้นต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๔ จึงได้โปรดให้เพ่ิมพิธีทางพุทธศาสนาเข้ามาด้วย ซึ่งเรียก ว่า พระราชพิธีพืชมงคล ท้ังนี้ก็เพ่ือความเป็นสิริมงคลแก่เมล็ดพันธ์ุ พืชต่างๆ นั้น ต่อมาพิธีทั้งสองนี้ ได้มีชื่อรวมกันเรียกว่า พระราชพิธ ี พชื มงคลจรดพระนังคลั แรกนาขวัญ
70 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ ในสมัยรัชกาลท่ี ๔ พิธีแยกกันทำคือ พิธีพืชมงคล ทำท่ี ท้องสนามหลวง ส่วนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ทำท่ี ทุ่งส้มป่อยนอกพระนคร ทั้งสองพิธีใช้ฤกษ์เดียวกันและวันเดียวกัน โดยพระยาแรกนาขวญั กบั เทพที งั้ ส่ี เขา้ ฟงั พระสงฆเ์ จรญิ พระพทุ ธมนต์ ในปะรำพิธีพืชมงคลก่อน แล้วจึงไปกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยหู่ ัวใหท้ รงเริม่ พธิ ีแรกนา พระยาแรกนาขวัญก็คือ คนที่พระเจ้าแผ่นดินทรงแต่งต้ังให้ เป็นตัวแทนของพระองค์ในการเร่ิมพิธีไถนา เพื่อความเป็นสิริมงคล และเพื่อเป็นตวั อย่างอนั ดแี กร่ าษฎรนน่ั เอง
ข้ า ว ข อ ง พ่ อ 71 ในกรุงรัตนโกสินทร์น้ี พระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงทำหน้าท่ี เป็นเกษตรบดีที่สำคัญพระองค์หนึ่ง ก็ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั รชั กาลท่ี ๕ การค้าข้าวไทยได้เติบโตอย่างรวดเร็วข้ึนมา ก็เน่ืองมาจาก การปฏิรูปประเทศ ตามแนวทางตะวันตกของพระบาทสมเด็จพระ จลุ จอมเกลา้ เจ้าอยหู่ วั โดยพฒั นาการปลกู ขา้ วเปน็ สินคา้ สง่ ออกอยา่ ง เป็นรูปแบบมากย่ิงข้ึน หลังจากท่ีพระองค์ได้ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้าวเปน็ สนิ ค้าส่งออกทสี่ ำคัญของโลก ในรัชกาลน้ีได้มีการส่งเสริมสนับสนุนเพ่ือเพ่ิมผลผลิตข้าว โดยเพ่ิมพื้นท่ีปลูกข้าวขึ้นในหลายท่ีหลายแห่ง รวมท้ังมีการขุดคลอง ต่างๆ เพ่ือใช้ในการชลประทาน และคมนาคมเพ่ิมข้ึนหลายสิบคลอง เฉพาะที่ฉะเชิงเทราและชานเมืองกรุงเทพฯ เริ่มการคมนาคมขนส่ง โดยทางรถไฟ และรวมท้ังปฏิรูปการปกครองใหม่ ท่ีได้มีการจัดต้ัง กระทรวงเกษตราธกิ ารข้นึ มาแทนกรมนา ดงั ท่ีกล่าวแลว้ นอกจากน้ีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังได้ ทรงสนับสนุนให้จัดการประกวดพันธ์ุข้าวเพ่ือส่งเสริมให้ชาวนามีพันธุ์ ข้าวดี เพื่อการเพาะปลูกท่ีจะทำให้มีรายได้ ทรงสนับสนุนการวิจัย เทคโนโลยีท่ีจะนำไปสู่การเพ่ิมผลผลิต และคุณภาพของข้าวไทยโดย ส่วนรวมด้วย
72 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหา กษัตริย์ผู้ทรงเห็นความสำคัญเป็นอย่างย่ิงของพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนงั คัลแรกนาขวญั พระราชพิธีแรกนาขวัญในรัชกาลนี้ ทำที่นาหลวงทุ่งพญาไท โดยทพ่ี ระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจา้ อยหู่ วั ไดท้ รงสรา้ งพระราชวงั พญาไทขน้ึ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ เพอ่ื ใชเ้ ปน็ ทเ่ี สดจ็ ประพาสทอดพระเนตร การทำนา การปลูกผัก และเลีย้ งไก่ ตามแบบอย่างท่ีได้ทอดพระเนตร มาในต่างประเทศ
ข้ า ว ข อ ง พ่ อ 73 การสร้างวังในครั้งน้ัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นท่ีด้านตรงข้ามกับ ตำหนักพญาไทเป็นที่ทำนา และให้สร้างโรงนาสำหรับประกอบ พระราชพิธีแรกนาขวญั ด้วย คร้ันเม่ือถึงฤดูทำนา สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ก็จะทรงนำเจ้านายและพระบรมวงศานุวงศ์ลงดำนาเป็นการประเดิม ดว้ ยพระองค์เอง
74 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความ สำคัญของข้าวและชาวนาเป็นอย่างยิ่ง เห็นได้จากการจัดตั้งสถานี ทดลองข้าวข้ึนท่ีคลองรังสิตในรัชกาลของพระองค์ก็ดี จนถึงการ ท่ีสายพันธ์ุข้าวไทยได้รับรางวัลชนะเลิศพันธ์ุข้าวท่ีดีท่ีสุดของโลก ในรัชกาลต่อๆ มาก็ดี ล้วนแต่เป็นสิ่งท่ีแสดงให้เห็นว่า การค้าข้าว ของไทยได้เข้าสู่ระบบท่ีมีมาตรฐานทางคุณภาพอันเป็นที่ยอมรับใน ตลาดโลกแลว้ จะว่าไปแล้วพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ทุกพระองค์ ต่างก็ทรงเห็นความสำคัญของข้าวและ ชาวนาไทยตลอดมา พอ่ บอกใหฉ้ นั นอ้ มรำลกึ พระมหากรณุ าธคิ ณุ ของพระเจา้ อยหู่ วั ทกุ พระองค์ ในพระบรมราชจกั รีวงศ์
ข้ า ว ข อ ง พ่ อ 75 พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั เสดจ็ พระราชดำเนนิ ในพระราชพิธจี รดพระนงั คัลแรกนาขวัญ ณ มณฑลพธิ ีท้องสนามหลวง เม่ือวันท่ี ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๑
76 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ
๗ ข้าวของพ่อ 77 ขวัญชีวิตชาวนาไทย “ศรี ศรี วนั น้กี ็เปน็ วันดอี ันเลิศลบ ข้าจะขออญั เชิญขวญั แม่พระโพสพอย่าระคายคาง ขอเชญิ มาสูย่ ุง้ ฉางในเพลาวันน ้ี อนั ขวญั แม่อย่าหนีไปทางไหน...” วันน้ีพ่อมาแปลก เอ้ือนลงลูกคอ ร้องเพลงเป็นทำนองแหล่ เทศน์ให้ฉนั ฟงั ประกอบการเล่าเร่ืองการทำขวัญขา้ วของชาวนา เรื่องที่พ่อเล่าวันน้ีก็คือ ชีวิตชาวนาไทยส่วนใหญ่แต่ด้ังเดิม ฉันเห็นภาพในใจราวกับได้เห็นของจริง และได้กล่ินหอมของธูปเทียน ดอกไม้ บายศรี ลอยอบอวลไปทง้ั ท้องนากว้างยาวสุดลูกหลู กู ตา
78 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ ฉันเห็นภาพชาวนาเดินตามรอยไถ มีวัวควายเทียมแอกลาก ไถ พลิกฟื้นหน้าดิน พอฝนตกดินชุ่มฉ่ำก็หว่านโปรยเมล็ดข้าวลงไป กับท้องนาทีช่ อมุ่ นำ้ ขา้ วคอ่ ยๆ เติบโตแตกใบเปน็ ต้นกล้า ชาวนาถอน กล้าไปปักดำ วันเวลาผ่านไปราวๆ สักสี่เดือน ข้าวก็ออกรวงเหลือง อร่ามไปทั้งทุ่ง เสียงใบข้าวต้องลมเกรียวกราวดูราวกับคล่ืนทยอยพัด เขา้ จรดขอบฟ้า ชาวนาสวมงอบก้มๆ เงยๆ ใช้เคียวเกี่ยวรวงข้าวมากองรวม ทลี่ านเพอ่ื นวดขา้ วใหเ้ มลด็ หลดุ จากรวง ตากขา้ วใหแ้ หง้ แลว้ ขนขา้ วขน้ึ ยุ้งฉาง ภาพวัวควาย ลอมฟาง ระหัดวิดน้ำ และเสยี งเพลงเกยี่ วข้าว คือสญั ลกั ษณข์ องชวี ติ ชาวนาไทยแต่ด้ังเดมิ
ข้ า ว ข อ ง พ่ อ 79 “พิธีแรกนาขวัญอย่างท่ีพ่อได้เล่ามาแล้วนั้น เป็นพิธีหลวง หรือพิธีที่เกี่ยวกับราชการ และเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ทว่าชาวนาแต่เก่า ก่อนก็มีพิธีแรกนาเหมือนกัน มีทั้งพิธีของแต่ละครอบครัวและพิธีของ ชมุ ชนส่วนรวม” พอ่ สรปุ ว่าพิธกี รรมเกี่ยวกับขา้ วและการทำนานี้ มที ัง้ พิธีหลวงและพธิ ีราษฎร์ พิธีแรกนาของชาวนาโดยทั่วๆ ไปน้ัน มักจะทำกันหลัง พระราชพธิ ขี องหลวงในเดอื น ๖ เชน่ กัน ส่วนใหญ่แล้วพิธีชาวบ้านจะทำอย่างง่ายๆ คือ เม่ือเซ่นไหว้ บนบานศาลกล่าวขอพรจากผีและเทวดาที่เก่ียวข้องกับการทำนา อยา่ งเชน่ พระภูมิเจ้าที่ แม่โพสพ แม่ธรณี ผนี าผีไร่ หรอื วา่ ผตี าแฮก แล้ว ก็จะลงมือไถนาพอให้เป็นพิธี พอให้ครบ ๓ รอบ ก็เป็นอันว่า เสร็จพธิ ี ในบางทอ้ งทีก่ ็อาจจะทำแตกต่างกันออกไปบา้ ง
80 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ เช่นเดียวกับงานบุญบ้ังไฟ ประเพณีท่ีสำคัญของคนอีสาน และชาวนาอีสานทุกคน ซึ่งถือเป็นการจัดงานร่ืนเริงครั้งใหญ่ของคน อีสาน เพ่อื เรียกความมน่ั ใจกอ่ นลงมือทำนา
ข้ า ว ข อ ง พ่ อ 81 ชาวนานั้น นับตั้งแต่โบราณมาแล้ว มักจะมีพิธีกรรม เก่ียวกับข้าวและการทำนาอยู่เสมอ ตามคติตำนานและตามความเชื่อ ของตน ประเพณี พิธีกรรมเหล่าน้ีจะมีนับต้ังแต่ก่อนเริ่มฤดูทำนาถึง ระหวา่ งการทำนาเพาะปลกู และมีไปถงึ ตลอดจนกระทง่ั ฤดกู าลเกบ็ เกยี่ ว และหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วก็เชิญข้าวข้ึนยุ้งฉาง และมีงานฉลองเกือบ ตลอดปกี ว็ ่าได ้
82 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ พอ่ เรยี กเรอื่ งเหลา่ นีว้ ่า วฒั นธรรมขา้ ว ...วัฒนธรรมขา้ ว คือวิถีชีวติ ของชาวนาไทย คอื สว่ นหนึ่งของ ชีวิต และเป็นขวัญชีวิต วิญญาณของชาวนาไทยท่ีได้มีมาแต่คร้ัง โบราณดงั้ เดิม คนไทยและชาวนาไทยเช่ือวา่ ดนิ น้ำ ลม ฟา้ และป่าไม้ล้วน มเี ทพเจ้าสิงสู่ ข้าวก็เชน่ กนั มีจิตวิญญาณ มีเน้ือ มหี นัง มตี วั ตน ซึ่ง มองเห็น ซง่ึ ใครกต็ ามที่ปฏิบัตดิ ียอ่ มไดผ้ ลดีตอบ ตรงกับคำพดู ทีว่ า่ เซ่นไหวด้ ี พลีถูก เพาะปลกู บรบิ ูรณ ์ เฉลว สงิ่ ท่ีสานด้วยตอกขดั กันเปน็ แฉกๆ อาจมี ห้าแฉก หกแฉก หรือมากกวา่ น้ัน มักทำขนึ้ ตาม ความเชอื่ ทม่ี ีมาแต่โบราณ หักตอกครัง้ แรก พูดวา่ นะ ครงั้ ท่ีสอง โม คร้ังท่สี าม พุท ครั้งท่ีส่ี ธา ครง้ั ทีห่ า้ ยะ รวมเปน็ นะโมพทุ ธายะ หมายถงึ พระเจา้ ห้าพระองค์ มักพบวา่ มีการปกั เฉลวไว้บน เคร่อื งเซ่นพลีตามริมทางหรอื ทางแยก เพื่อเป็น เครอ่ื งหมายบอกใหภ้ ูตผีและวิญญาณมารบั เครอ่ื งเซน่ พลนี ้ัน หรือปกั เฉลวขนาดใหญ่ไว้ในนาข้าว ขณะขา้ วตั้งท้อง เพ่อื ป้องกนั สิง่ ชั่วร้ายไม่ใหท้ ำลาย ขา้ ว หรือปกั เฉลวไว้บนลานก่อนทำบญุ ลานนวดข้าว โดยปักไว้ ๔ มุม แล้วขงึ สายสิญจน์ลอ้ มรอบ เพอื่ ป้องกนั สิ่งอปั มงคลไม่ให้เข้าไปในลานนวดขา้ ว ภาคเหนอื ภาคอีสาน เรียก ตาแหลว
ข้ า ว ข อ ง พ่ อ 83 พิธขี น้ึ ขา้ วทงั้ สี่ เพื่อไลศ่ ัตรูข้าวและแมลง ที่จังหวดั น่าน ชาวนาไทยทุกภาคต่างก็มีพิธีกรรม ประเพณีที่เกี่ยวข้อง กบั ขา้ วและการทำนาเพาะปลกู ซ่ึงส่วนใหญแ่ ล้วจะคลา้ ยกัน ทัง้ นี้ ไม่ ว่าจะเป็นการบวงสรวงขอขมา บูชา สวดอ้อนวอน เสี่ยงทาย บอก กล่าว ฝากฝัง สู่ขวัญ ทำขวัญ หรือว่าฉลองขวัญก็ตาม ไม่มีโรค ระบาด และไดผ้ ลผลติ อยา่ งเต็มเมด็ เต็มหน่วย ประเพณีและพิธีกรรมเหล่าน้ี ล้วนแต่เป็นการเติมเต็มเพ่ือ สรา้ งความม่นั ใจ และความม่นั คงใหเ้ กดิ ขึน้ แกช่ าวนาไทย ทัง้ ในเร่อื ง ของการงาน การดำเนินชีวติ เพื่อเป็นการแสดงความอ่อนน้อม ความ เคารพและเพอื่ ความเปน็ สวสั ดมิ งคล ทแ่ี นน่ อนทส่ี ดุ กเ็ พอ่ื ใหพ้ ชื พรรณ ธัญญาหารอดุ มสมบรู ณ์ ดงั ที่ชาวนาทกุ คนประสงค ์
84 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ แม้แต่เมื่อข้าวเร่ิมตั้งท้อง อุ้มท้อง ชาวนาก็จะมีพิธีทำขวัญ แม่โพสพ แสดงให้เห็นวา่ ชาวนานั้นทะนุถนอมข้าวย่งิ นกั ข้าวเป็นส่ิงมีชีวิตและมีขวัญที่จะต้องมีการบำรุงขวัญมิให้หนี หายไปไหน จนแม้แต่วัวควาย ซึ่งเป็นผู้มีพระคุณก็มีการทำขวัญ สขู่ วัญข้าว ขวญั ควาย ชาวนาเซ่นไหว้นับต้ังแต่ผีทุ่ง ผีป่า ผีเรือน และผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตาทวด สู่ขวัญทุ่ง รับขวัญข้าวขวัญยุ้งฉาง ตลอดจนสัตว์เล้ียง และเคร่ืองมือส่ิงแวดล้อมอันสำคัญ ท่ีช่วยให้ข้าวเติบโตไม่เสียหาย และเม่ือได้ผลดีก็จะแก้บน หรือทำบุญทำทานฉลองร่ืนเริงทั้งท่ีบ้าน และทวี่ ัด การทำบุญกับพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เป็นการปรับ เปล่ียนประเพณีและพิธีกรรมของชาวนาไทย ให้เข้ากับพุทธศาสนาที่ ตนนับถอื โดยเฉพาะ
เมื่อได้ฟังพ่อเล่าถึงเรื่องชาวนากับประเพณี พิธีกรรมตาม ฤดกู าลตา่ งๆ นัน้ ในหัวใจฉันจึงครกึ ครน้ื ราวกำลงั ฟงั เสยี งสวด เทศน์ กับการละเล่นพื้นบ้านต่างๆ ของชาวนาที่กึกก้องไปด้วยเสียงดนตรี อยา่ งตะโพน กลองยาว ซอ แคน และระนาด ตลอดจนแมเ้ สยี งปรบมอื ใหเ้ ขา้ กบั จงั หวะดนตรี และทว่ งทำนองของเพลงเกย่ี วขา้ วทมี่ เี นอ้ื ความ เกย้ี วพาราสกี ัน เสียงเหล่าน้ีคือชีวิต และคืออดีตที่ผ่านมาของชาวนาไทย นบั รอ้ ยๆ ปีมาแลว้ จนถงึ ปจั จบุ ัน แม้ว่าบางครอบครัว บางชุมชนจะทำ พธิ กี รรมนอ้ ยลง แต่ก็ยงั ตอ้ งทำ
86 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ วัฒนธรรมข้าวไทยแต่โบราณดั้งเดิมมา ถือเป็นการจัด ระเบียบของชุมชน ท้องถิ่น และสังคมชาวนาวิถีหนึ่งซึ่งสอนคนให้ พง่ึ พาซึ่งกันและกนั มีน้ำใจอาทรตอ่ กนั ไมเ่ ห็นแก่ตัว ไม่โลภมาก ไม่ เบยี ดเบยี นผ้อู ืน่ รจู้ ักสขุ สนกุ สนานร่ืนเริง และรู้จกั เพียงพอ ทั้งยังสอนให้ยอมรับความเป็นจริงของดุลธรรมชาติและชีวิต ท้ังหลายสอนให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขทั้งในฐานะผู้ให้และผู้รับ รู้จัก รักษาสิ่งจำเป็นท่ีควรจะรักษาไว้ และรู้ว่าสิ่งใดเป็นอันตราย ควรจะ ต้องระมัดระวงั วัฒนธรรมข้าวของไทยท่ีได้แสดงออกในประเพณี พิธีกรรม ทั้งหลายนล้ี ้วนแลว้ แตส่ ะท้อนทัศนคติของคนไทย ชาวนาไทย ในเร่อื ง ของการยอมรับคุณงามความดีและจริยธรรม มีความกตัญญูกตเวที ไม่ประมาท หากแต่อ่อนน้อมเคารพต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และไม่ ละเลยถึงผ้มู พี ระคณุ ... “ชาวนารู้บุญคุณข้าวอยู่เสมอ ข้าวคือชีวิตของคนไทยทุก คน” พ่อพดู ลงทา้ ย “พวกไม่รู้จักอดีต ไม่รู้จักบุญคุณ โบราณท่านถึงด่าว่า เป็น พวกเลยี้ งเสียข้าวสุก ยงั ไงล่ะลกู ” ฉนั สะดุ้ง อ๊ะ ! น่พี ่อว่าฉนั หรอื ว่าใครกัน
ข้ า ว ข อ ง พ่ อ 87 พิธสี ่งขา้ วบณิ ฑ์ไหวแ้ ม่โพสพขณะตั้งทอ้ ง เคร่อื งพลกี รรมประกอบด้วย ขา้ ว ผลไมร้ สเปร้ยี ว แปง้ กระจก เสอื้ ผ้า หว ี
88 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ
๘ ข้าวของพ่อ 89 ขวัญข้าว ขวัญแผ่นดิน “เว ลานึกถึงทำไมมีข้าวมาก ราคาข้าวก็ตก ก็น่าจะ เป็นการดีทม่ี ขี า้ วมาก พวกเราทบี่ ริโภคข้าว ก็จะได้ซอื้ ข้าวในราคาถูก แต่หารู้ไม่ว่าข้าวท่ีบริโภคทุกวันนี้ ราคาก็ยังแพง เป็นท่ีเดือดร้อนแก่ ประชาชนท่ัวไป ก็ต้องหาเหตุผล ทำไมแพง ข้าวท่ีบริโภคแพง และ ข้าวท่ีชาวนาขายถูก... ... เข้าไปหากลุ่มชาวนา ถามเขาว่าเป็นอย่างไร เขาบอกว่า แย่ ข้าวราคาถูก กถ็ ามเขาวา่ ยุง้ ฉางมหี รอื เปล่าท่จี ะเกบ็ ขา้ ว เขาบอก ว่ามี ก็เลยเห็นควรท่ีจะเก็บข้าวเอาไว้ก่อนหลังจากท่ีข้าวล้นตลาด แตว่ า่ ไม่ทนั นกึ ดูว่าทำไมเขาเก็บข้าวไม่ได้ แมจ้ ะมยี งุ้ ฉาง ก็เพราะเขา ตดิ หนี้ ...
90 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ ... เหตุท่ีติดหน้ี ก็คือ เสื้อผ้าเหล่านั้น หรือกะปิ น้ำปลา หรือแม้แต่ข้าวสารก็ต้องบริโภค ถ้าไม่ได้ไปซื้อท่ีตลาดหรือร่วมกันซื้อ ก็คงเปน็ พอ่ ค้าหรอื ผทู้ ี่ซอื้ ข้าวเปน็ ผนู้ ำมา อันนีก้ เ็ ป็นจดุ ท่ที ำใหข้ า้ วถูก ข้าวเปลือกถูก แลว้ กท็ ำใหข้ า้ วสารแพง... ... คือว่า ชาวนาทำนาไปตลอดปี ก็ต้องบริโภค เม่ือต้อง บริโภคกต็ ้องเอาส่ิงของ ต้องไปติดหนเ้ี ขามา สำหรบั หาสิ่งของบริโภค แล้วก็เอาเครื่องบริโภคก็ได้รับบริการอย่างดีท่ีสุดจากผู้ท่ีมาซ้ือข้าว บอกว่า ไม่ต้องเอาข้าวมาเดี๋ยวน้ี เวลาได้ผลแล้วก็จะเอา แต่ว่าเอา สงิ่ ของมาให้ แล้วก็เชื่อของนัน้ ก็มรี าคาแพงเพราะวา่ นำมาถงึ ที่ ข้าวท่ี เวลาได้แล้วจะขายก็ต้องขายในราคาถูกเพราะว่าเขามารับถึงท่ี อันนี้ เป็นปญั หาสำคัญ...”
ข้ า ว ข อ ง พ่ อ 91 พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาล ปัจจุบัน ท่ีทรงห่วงใยและทรงรับรู้ปัญหาของชาวนาได้ตรัสไว้ใน วโรกาสเสด็จพระราชดำเนนิ ไปทรงดนตรี ทีม่ หาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ วนั เสาร์ท่ี ๖ มนี าคม พ.ศ. ๒๕๑๔ อันแสดงให้เหน็ ว่า เม่ือประเทศและโลกเปล่ียนไปตามกาลเวลาและยุคสมัย ไทยก็หนีไม่พ้นความเปล่ียนแปลงในช่วงกาลเวลาท่ีผ่านมาภายในไม่กี่ ทศวรรษนี้ โดยเฉพาะอย่างย่ิงชีวิตของชาวนาไทยนั้น เปลี่ยนแปลง มากท่ีสดุ
92 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ ชีวิตชาวไร่ชาวนาไทย ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง เปน็ อย่างมาก นับต้งั แตช่ ว่ งหลังสงครามโลกครั้งท่ีสองลงมา และเมื่อ โลกเกิด “การปฏิวัติเขียว” ด้วยเทคโนโลยี และด้วยกรรมวิธีทาง วิทยาศาสตร์ยุคใหม่ ที่ทำให้นาไร่ ผืนแผ่นดินและพรรณพืชต้อง เปลีย่ นสภาพไปจากเดมิ ชีวิตเก่า สังคมเก่าของชาวนาทั้งหลาย ก็เหมือนหนึ่งว่า ลม ผา่ นทุ่งขา้ วไปอยา่ งไมม่ ีวันท่ีจะหวนกลับมาอีก สิ่งที่ชาวนาไทยจะต้องเผชิญสำหรับโลกปัจจุบัน ล้วนแต่เป็น สิ่งใหม่ ใหญ่โต ที่ท้าทายอยู่ตรงหน้า เช่นว่า ข้าวพันธ์ุใหม่ กับของ ใหม่อย่างปุ๋ย ยาเคมี เคร่ืองจักรกลทางการเกษตรยุคใหม่ ที่ส่งผล ทำให้ต้องมีการปรับกระบวนการทำนาใหม่ท้ังหมด นับต้ังแต่การ เพาะปลูก การเก็บเก่ยี ว การนวดข้าว รวมถึงระบบการทำนาใหม่ทีท่ ำ ได้หลายๆ ครั้งในรอบปี ทั้งยังมีตลาดแบบใหม่ของระบบการค้าข้าว ซ่ึงชาวนาทัว่ ไปไมเ่ ขา้ ใจ รู้ไมท่ ัน ส่ิงเหล่านี้เป็นยิ่งกว่าฝูงแมลงและโรคระบาดท่ีชาวนาไทยเคย ได้พบ ได้เผชิญมาในอดีตเสียอีก ผลก็คือ ในรอบหลายสิบปีมานี้ อาชพี ชาวนาไทยสว่ นใหญม่ ีแตต่ กต่ำ ยำ่ แยล่ ง
ภาพยันตจ์ ากสมดุ ขอ่ ยโบราณสำหรบั ลงผา้ ขาว ทำเป็นธงปักไว้กลางไรน่ า ไลเ่ พล้ีย หนอน แมลง ไม่ใหเ้ บยี ดเบยี นข้าวได้ ชาวนาไทยยุคใหม่ส่วนใหญ่ต่างตกอยู่ในสภาพยากจน ต้อง เป็นหน้ี เป็นสิน หรือต้องตกอยู่ในสภาพท่ีเรียกว่า ล้มละลายทาง สงั คม แมว้ า่ จะทำงานเทา่ ใด รายไดก้ ็ไมพ่ อกบั คา่ ใชจ้ า่ ยในชวี ติ ประจำวนั ซำ้ หน้ีสินเพิม่ พูนขึน้ เพราะต้องลงทนุ มากขน้ึ แตข่ าดทุนซำ้ แล้วซ้ำเลา่ เม่ือวัฒนธรรมข้าวดั้งเดิมเปล่ียนไปไม่เหมือนเก่า ลักษณะ ความสัมพันธ์ในชุมชนชาวนา ก็ไม่เหมอื นเดมิ อีกต่อไป
94 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ
ข้ า ว ข อ ง พ่ อ 95 ชาวนาจะต้องใช้เงินลงทุน นับต้ังแต่จ้างรถไถดินแทนใช ้ วัวควายไถนา จ้างลูกจ้างช่วยทำนา นวดข้าว แบก ขน ไปจนถึง จำเป็นต้องซ้ือปุ๋ยเคมีใช้สารเคมีฆ่าแมลง ต้องลงทุนซ้ือเคร่ืองมือ ที่จำเป็นบางอย่าง และอาจต้องเสียค่าเช่าท่ีนาทำกินด้วย ล้วนแต ่ จะต้องก้ยู ืมเงนิ เปน็ หนเ้ี ปน็ สินเพิม่ ขนึ้ ทั้งนัน้ นอกจากธนาคารที่ชาวนามกั จะตกเปน็ ลูกหน้เี งินกู้แลว้ เงนิ ที่ ชาวนาส่วนใหญ่กู้มักจะมาจากพ่อค้าข้าวคนกลางท่ีรับซ้ือข้าวนั่นเอง ซ่ึงในท่ีสุดก็ต้องเสียทั้งเงินต้นและดอกเบ้ียไปเป็นข้าว ประกอบกับ การที่พ่อค้าข้าวและโรงสีนายทุนบางกลุ่ม มักกดราคาซ้ือข้าวและเอา รัดเอาเปรียบชาวนา ชาวนาจึงไม่อาจปลดหน้ีปลดสิน และมีชีวิตท่ีดี ข้ึนได ้ อีกอย่างหน่ึงเม่ือโลกเปล่ียน ระบบนิเวศถูกทำลายลง และ ธรรมชาตติ ้องเสยี สมดุล ทรัพยากรธรรมชาติมแี ตส่ ูญส้นิ ไป ในขณะท่ี สารพิษมีแต่เพิ่มมากข้ึน ดินได้สูญเสียความสมบูรณ์ที่เคยมีมา เพราะป่าไม้ถูกทำลาย เกิดฝนแล้ง น้ำท่วม เหล่าน้ีก็เหมือนยิ่งจะ กระหน่ำชะตากรรมชาวนาไทยให้ตอ้ งยิ่งยากจนตกตำ่ ลงไปอกี ข่าวชาวนาอพยพเข้าเมือง ข่าวชาวนาท้ิงแผ่นดินนาไร่ ข่าว ชุมชนของชาวนาแตกสลาย ครอบครัวชาวนาต้องบ้านแตกสาแหรก ขาด เหล่าน้ีกเ็ ปน็ ที่ได้ยินได้ฟงั กนั อยู่เสมอในปัจจบุ นั
96 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ ชาวนาผู้มีชีวิตหลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน และได้ช่ือว่าเป็นกระดูก สันหลังของชาติ กำลังอยู่ในความทุกข์และเม่ือทุกข์ชาวนาคือทุกข์ ของแผ่นดิน พระเจา้ แผน่ ดนิ ผู้ทรงดำรงฐานะ “เกษตรบดี” ก็ไมอ่ าจ ท่ีจะทรงนิ่งอยู่ได ้ กระแสพระราชดำรัสท่ีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล- อดลุ ยเดชฯ ดงั ที่ไดย้ กมาขา้ งต้นนน้ั แสดงใหเ้ หน็ ว่า ไดท้ รงตระหนัก เปน็ อยา่ งดี ถงึ วิถีชวี ิตชาวนาไทย ในปจั จุบนั ว่าเปน็ อยา่ งไร งานของพระประมุข ซึ่งเปรียบเสมือนหน่ึง ขวัญข้าวขวัญ แผ่นดิน และ “พ่อของแผ่นดิน” จึงได้เริ่มต้นข้ึน และนั่นก็คือที่มา แห่ง “ขา้ วของพอ่ ”... “ข้าวของพอ่ ” พ่อกลา่ วกับฉนั ด้วยสหี น้าท่ปี ลื้มปีติ
ข้ า ว ข อ ง พ่ อ 97
98 ข้ า ว ข อ ง พ่ อ
๙ ข้าวของพ่อ 99 นาข้าว นาขวัญ วัน นี้พ่อได้พาฉันไปดูพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระ นงั คลั แรกนาขวญั ทีท่ อ้ งสนามหลวง ฉันได้รับรู้จากพ่อว่า คนท่ีแต่งชุดคล้ายเทวดา คือสวม ลอมพอกบนศีรษะและสวมเส้ือครุยนั้น คือพระยาแรกนาขวัญ ที่ พระเจ้าอยหู่ ัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตง้ั และในกระบุงสีทอง กระบุงสีเงิน ท่ีเทพีสาวท้ังสี่คนหาบอยู่น้ัน บรรจุไว้ด้วยเมล็ดข้าว เปลือกทเ่ี ป็นพันธุ์ขา้ วมงคล อันเป็น “พันธุข์ า้ วทรงปลกู พระราชทาน” เพื่อใช้ในพระราชพิธีนี้โดยเฉพาะ
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178