Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือเรียนวิชาศาสนาและหน้าที่พลเมือง สค11002

หนังสือเรียนวิชาศาสนาและหน้าที่พลเมือง สค11002

Published by กศน.ตำบลเขาเจ็ดลูก, 2021-05-21 02:25:27

Description: หลักสูตร กศน. 2551

Keywords: หนังสือเรียน,แบบเรียน

Search

Read the Text Version

หลกั การสําคญั ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกั รไทย พุทธศักราช รัฐธรรมนญู ฉบบั ปจ จุบันมหี ลกั การและเจตนารมณทจ่ี ะธาํ รงรักษาไวซ ง่ึ เอกราชและความมั่นคง ของชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย ซึ่งหลักการสําคัญของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ไดระบุไวในหมวด 1 บททั่วไป สรปุ ไดด งั น้ี 1. ประเทศไทยเปน ราชอาณาจกั รอนั หนงึ่ อนั เดียว จะแบงแยกมไิ ด 2. มีการปกครองระบอบประชาธปิ ไตยอันมีพระมหากษตั ริยทรงเปน ประมขุ 3. อาํ นาจอธิปไตยเปนของปวงชนชาวไทย 4. ศักด์ศิ รีความเปนมนุษย สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลตองไดร ับความคุม ครอง 5. ประชาชนชาวไทยทุกคนไมแ ยกเพศ ศาสนา และยอ มไดร บั ความคมุ ครองเทา เทยี มกัน โครงสร้างของรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แบงโครงสรางออกเปน 15 หมวด และ มีบทเฉพาะกาล สรปุ สาระสาํ คญั แตละหมวดดังน้ี หมวด บททัวไป ประเทศไทย เปนราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบงแยกออกมิได มีการปกครองแบบ ประชาธปิ ไตยอนั มีพระมหากษัตริยเปนประมุข พระมหากษัตริยทรงใชอาํ นาจทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล หมวด พระมหากษตั ริย์ ทรงอยูในฐานะอนั เปนทเี่ คารพ ผูใดจะละเมดิ มไิ ด ทรงเลอื กและแตงตงั้ ประธานองคมนตรี และ องคมนตรีไมเ กิน 18 คน หมวดที สิทธแิ ละเสรีภาพของชนชาวไทย การใชอํานาจโดยองคกรของรัฐ ตองคํานึงถึงศักด์ิศรีความเปนมนุษย สิทธิและเสรีภาพของ บุคคล ท้ังดานการประกอบอาชีพ การสื่อสาร การแสดงความคิดเห็น ความเปนธรรมดานการศึกษา การสาธารณสุข และสวัสดกิ ารของรัฐ เสรภี าพในการชุมนมุ ท่ีไมล ะเมิดสทิ ธผิ อู ื่นและกฎหมาย หมวด หน้าทีของชนชาวไทย บุคคลมีหนาที่พิทกั ษร ักษาชาติ ศาสนา พระมหากษตั ริย และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมพี ระมหากษัตริยเปนประมุข และมีหนาท่ีปองกันรักษาผลประโยชนของชาติ ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเฉพาะหนาที่ไปใชส ิทธิเลอื กตงั้ หมวด แนวนโยบายพนื ฐานแห่งรัฐ เนนใหประชาชนมีสวนรวม การกระจายอํานาจ การดําเนินการ มุงเนน การพัฒนา คุณภาพ คุณธรรม มีประสิทธิภาพ โปรงใส ใหค วามคมุ ครอง และพฒั นาเดก็ เยาวชน สง เสรมิ ความรูรกั สามคั คี หมวด รัฐสภา รัฐสภามีหนาท่ีบัญญัติกฎหมาย และควบคุมการปฏิบัติงานของฝายบริหาร ประกอบดวย 2 สภา คือ สภาผูแ ทนราษฎร (ส.ส.) และวฒุ สิ ภา (ส.ว.) 43

หมวด การมสี ่วนร่วมทางการเมอื งโดยตรงของประชาชน ประชาชนผูม ีสทิ ธเิ ลอื กตงั้ มีสิทธเิ ขา ชื่อรอ งขอตอวฒุ ิสภาใหถอดถอนบุคคลออกจากตําแหนงได เพราะมสี ทิ ธิออกเสียงประชามติ หมวด การเงนิ การคลงั และงบประมาณ เพ่อื กาํ หนดหลักเกณฑเกี่ยวกับการจัดหารายได การกําหนดรายจาย การกอหนี้หรือการดําเนินการท่ี ผกู พนั ทรพั ยสนิ ของรัฐ หลักเกณฑการกําหนดวงเงินสาํ รองจา ยเพ่ือกรณีฉกุ เฉินหรือจําเปน ซ่ึงเปน กรอบ ในการกาํ กับการใชจา ยเงนิ ตามแนวทางการรกั ษาวนิ ัยการเงนิ การคลงั และรกั ษาเสถยี รภาพทางเศรษฐกจิ อยางย่งั ยืน และเปน แนวทางในการจดั ทํางบประมาณรายจา ยของแผน ดิน หมวด คณะรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญกาํ หนดใหม นี ายกรัฐมนตรี 1 คน และมีรฐั มนตรอี ืน่ อกี ไมเกิน 35 คน โดยไดร ับการแตงตั้ง จากพระมหากษตั รยิ  หมวด ศาล กาํ หนดใหศ าลหรืออาํ นาจตลุ าการ แบง เปน 1. ทว่ั ไป 2. ศาลรฐั ธรรมนญู 3. ศาลยตุ ิธรรม 4. ศาลปกครอง 5. ศาลทหาร หมวด องค์กรตามรัฐธรรมนูญ กําหนดใหมีองคกรที่จะดําเนินการตรวจสอบ ติดตามการทํางานของบุคคล คณะบุคคล และ หนว ยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ดงั นี้ 1. องคกรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ประกอบดวย คณะกรรมการการเลือกต้ัง ผูตรวจการแผนดิน คณะกรรมการการปอ งกนั และปราบปรามการทจุ รติ แหง ชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผนดนิ 2. องคกรอันตามรัฐธรรมนูญ ประกอบดวย องคกรอัยการ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แหงชาติ และสภาท่ีปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแหง ชาติ หมวด การตรวจสอบการใช้อาํ นาจรัฐ กําหนดใหมีการตรวจสอบขาราชการประจาํ และขาราชการการเมือง หมวด จริยธรรมของผ้ดู ํารงตาํ แหน่งทางการเมอื ง และเจ้าหน้าทีของรัฐ การพิจารณา สรรหา แตงตั้งบุคคลเขาสูตําแหนง ตองเปนไปตามระบบคุณธรรม และคํานึงถึง พฤติกรรมทางจรยิ ธรรมดวย หมวด การปกครองส่วนท้องถนิ ใหค วามเปนอิสระแกองคกรปกครองสวนทองถิ่น มีสภาพทองถ่ินในการบริหารงาน เนนการ กระจายอํานาจ ใหการสนบั สนนุ กําหนดนโยบายการบริหาร 44

หมวด การแก้ไขเพมิ เตมิ รัฐธรรมนูญ ใหมีการแกไขเพ่ิมเติมได แตหามแกไขท่ีมีผลตอการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบ ประชาธปิ ไตยอนั มีพระมหากษัตรยิ เ ปนประมขุ หรือเปล่ยี นแปลงรูปของรัฐ บทเฉพาะกาล ใหองคมนตรดี าํ รงตําแหนงอยูในวนั ประกาศใชร ฐั ธรรมนญู เรืองที ความรู้เบอื งต้นเกียวกับกฎหมาย 1. ความหมายของกฎหมาย ไดมผี ใู หความหมายของกฎหมายไวด งั น้ี กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแหงกฎหมายไทย ไดใหคาํ จํากดั ความไววา “กฎหมาย คือ คําสัง่ ท้งั หลายของผูปกครองวา การแผนดินตอราษฎรทั้งหลาย เม่ือไมทาํ ตาม ธรรมดาตองลงโทษ ” ดร.สายหยุด แสงอุทัย ไดใหความหมายไววา “กฎหมาย คือ ขอบังคับของรัฐซ่ึงกําหนด ความประพฤติของมนุษย ถา ฝาฝน จะไดร บั ผลรา ยหรอื ถูกลงโทษ” สรุป กฎหมาย คือ ขอบังคับของรัฐที่ใชควบคุมความประพฤติของคนในประเทศ โดยมี จุดมุงหมายท่ีจะคุมครองประโยชนรักษาความสงบเรียบรอยในการอยูรวมกันในสังคม ผูใดฝาฝนจะตอง ถูกลงโทษ 2. ความสําคญั ของกฎหมาย 1. มีความเกี่ยวของกบั มนุษยตั้งแตเ กดิ จนตาย เชน เกิด เก่ียวขอ งกับกฎหมายบุคคล กฎหมายทะเบียนราษฎร โตขน้ึ เกีย่ วขอ งกับ พ.ร.บ. การศึกษาแหงชาติ แตง งาน เกยี่ วขอ งกับกฎหมายครอบครวั ตาย กฎหมายมรดก กฎหมายทะเบียนราษฎร 2. เปนเครอื่ งมือสรา งระเบียบใหสังคมและประเทศชาติ 3. กอ ใหเ กิดความเปนธรรมในสงั คม 3. ลกั ษณะทวั ไปของกฎหมาย 3.1 กฎหมายมลี ักษณะเปน ขอบงั คบั ดงั น้ี 3.1.1 บังคบั ใหทํา เชน ชายไทยตองเกณฑทหาร ผูมีรายไดตองเสียภาษี เด็กตองเขาเรียนตาม พ.ร.บ. การศกึ ษา ฯลฯ 3.1.2 บังคบั ไมใหทาํ เชน หา มทาํ รายรา งกาย หามลกั ทรพั ย ฯลฯ 3.2 กฎหมายมีลักษณะเปนคําสั่งท่ีมาจากผูมีอํานาจสูงสุดในประเทศ เชน ประเทศท่ีมี การปกครองระบอบประชาธปิ ไตย มรี ฐั สภาเปนผอู อกกฎหมาย และพระราชบัญญัติ มีรัฐบาลเปนผูออก พระราชกําหนด พระราชกฤษฎกี า และกฎกระทรวง 45

3.3 กฎหมายเปน ขอ บงั คบั ท่ีใชไดทว่ั ไปกับทกุ คน โดยไมเ ลือกปฏบิ ัติ 3.4 ผูท ฝ่ี า ฝน กฎหมายตองไดร บั โทษ 4. ความจาํ เป็ นทตี ้องเรียนรู้กฎหมาย ในฐานะที่เราเปนสมาชิกของสังคมจึงมีความจําเปนตองศึกษาและเรียนรู ทําความเขาใจใน กฎหมายตา ง ๆ ท่ีเกีย่ วของกับตวั เรา และสังคมที่เราอยู ท้ังนีก้ ็เพื่อกอเกิดประโยชนตอตนเอง ซึง่ ไดแ ก 4.1 รูจักระวงั ตน ไมเ ผลอ หรือพลั้งกระทาํ ความผิดโดยไมร ตู ัว เนือ่ งมาจากเพราะไมรูกฎหมาย และเปนเหตุใหตอ งไดร ับโทษตามกฎหมาย 4.2 ไมใหถกู ผูอน่ื เอาเปรียบและถกู ฉอ โกง โดยท่ีเราไมม คี วามรูเ รอื่ งกฎหมาย 4.3 กอเกดิ ประโยชนใ นการประกอบอาชพี ถา หากรูหลักกฎหมายที่เก่ียวกับการประกอบอาชีพของ ตนเอง แลวยอ มจะปองกนั ความผดิ พลาดอันเกิดจากความไมรกู ฎหมายในอาชีพได 4.4 กอใหเกิดประโยชนทางการเมืองการปกครองของประเทศ เพราะเม่ือประชาชนรูจักใช สทิ ธแิ ละหนา ทข่ี องตนเองตามกฎหมายแลว ยอ มทาํ ใหส ังคมเกดิ ความสงบเรียบรอ ย 5. ประเภทของกฎหมาย ในชีวิตประจําวันบุคคลมีเสรีภาพในการดํารงชีวิตตามระบบการเมืองการปกครอง ระบบ กฎหมาย และระบบเศรษฐกิจ เราจะตองรูจักสิทธิและหนาที่ของตนเอง และรูจักใชสิทธิที่มีอยูไป ประกอบอาชีพ และสรางความสัมพันธกับบุคคลตาง ๆ โดยมีสิทธิเลือกไดวาจะดําเนินชีวิตสวนตัว อยา งไร แตตอ งอยูภายในขอบเขตท่ีกฎหมายกําหนด บุคคลจึงตองขวนขวายหาความรูเก่ียวกับกฎหมาย เพื่อใชติดตอสื่อสาร การดําเนินวิถีชีวิตประจําวัน ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวของกับชีวิตประจําวัน สามารถ แบงไดเปน . กฎหมายอาญา กฎหมายอาญา (Criminal Law) เปนกฎหมายมหาชนที่บัญญัติถึงความสัมพันธระหวางรัฐ กับเอกชนท่ีอยูใตอํานาจปกครองของรัฐ ผูที่ฝาฝนจะตองไดรับโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา และ พระราชบัญญัติอื่นที่บัญญัติถึงการกระทําท่ีเปนความผิดและโทษทางอาญา เชน ความผิดตาม พระราชบญั ญัตจิ ราจรทางบก อาวธุ ปน เคร่อื งกระสุนปน วตั ถรุ ะเบดิ ยาเสพติดใหโทษ ความผิดอันเกิดจาก การใชเชค็ ศุลกากร การพนนั ปาไม ปาสงวน เปนตน เนื่องจากกฎหมายอาญามีสภาพบังคับ คือ มีโทษท่ีจะทําใหบุคคลไดรับผลถึงแกชีวิต รางกาย เสรีภาพ ทรพั ยสิน เชน ประหารชวี ิต จาํ คกุ กักขงั ปรับรบิ ทรัพยสิน ดงั นั้น จึงตองมีหลักประกัน แกบคุ คลดงั ที่บญั ญัติไวใ นกฎหมายรัฐธรรมนญู วา บุคคลจะไมต องรบั โทษอาญา เวน แตจ ะไดกระทําการ อันกฎหมายที่ใชอยูในเวลาที่กระทํานั้น บัญญัติเปนความผิดและกําหนดโทษไว และโทษที่จะลงแก บคุ คลนนั้ จะหนักกวา โทษท่ีกําหนดไวใ นกฎหมายที่ใชอ ยูในเวลาท่ีกระทําความผดิ มิได กลาวคือ บุคคล จะไดรับโทษทางอาญาจะตองไดกระทําการใดที่มีกฎหมายขอหามไว ถาไมมีกฎหมายก็ไมมีความผิด ไมม โี ทษ เชน ความผิดฐานสูบบุหรี่ในท่ีท่ีกําหนด เดิมไมมีความผิดแตเมื่อประกาศใชพระราชบัญญัติ คมุ ครองสุขภาพของผูไมสูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 แลวผูท่ีสูบบุหร่ีในเขตปลอดบุหรี่ หรือสูบบุหร่ีในที่สาธารณะ 46

ท่ีกําหนดยอ มมีความผิดและจะตองไดรับโทษ โทษตามประมวลกฎหมายอาญา มี 5 สถาน คือ ประหารชีวิต จาํ คุก กักขัง ปรับ รบิ ทรัพยสิน นอกจากน้ียังมีการรอการลงโทษ หรือรอการลงอาญา เมื่อบุคคลกระทําความผิดและ จะไดรับโทษจาํ คกุ ไมเ กนิ 2 ป ผนู น้ั อาจไดรับความกรณุ าจากศาลไมตองไดรับโทษจําคุกในเรือนจํา เพราะ ผูนั้นไมเคยไดรับโทษจําคุกมากอน เมื่อไดพิจารณาถึง อายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปญญา การศึกษา อบรม สขุ ภาพ ภาวะแหงจติ นิสัย อาชีพ สิ่งแวดลอม สภาพความผิด หรือเหตุอ่ืนอันควรปรานีแลว ศาลจะ กาํ หนดโทษไว หรือรอการลงโทษไว ทีเ่ รียกกนั วา “รอการลงอาญา” . กฎหมายแพ่ง กฎหมายแพง คอื กฎหมายทีบ่ ัญญัตถิ งึ ความสัมพนั ธข องบุคคล เปนกฎหมายสารบัญญัติ และเปน กฎหมายเอกชนทีม่ ีความสําคัญแกช วี ติ ของบุคคลตงั้ แตแ รกเกิดจนสนิ้ สภาพบคุ คลไป กฎหมายพาณชิ ย คือ กฎหมายทบ่ี ญั ญัติถึงความสัมพันธของบุคคลท่ีมีอาชีพคาขาย และ นกั ธรุ กิจกลาวถึงระเบยี บหลกั ปฏบิ ตั ใิ นทางการคา ที่บุคคลในอาชพี คาขายและนักธุรกิจจะตองปฏิบัติใน การเกย่ี วขอ งสัมพันธก นั เชน กฎหมายเกีย่ วกับหุน สวนบริษทั ต๋วั เงิน ประกันภัย การขนสงสินคา ประเทศไทยไดรวมบัญญัติกฎหมายพาณิชยเขาไวในประมวลกฎหมายแพง จึงรวม เรียกวา “ประมวลกฎหมายแพง และพาณิชย” สภาพบังคับในทางแพ่ง โทษหรือสภาพบังคับในทางแพงท่ีจะใหผูฝาฝนไมปฏิบัติตาม กฎหมาย คือ การใชคาสินไหมทดแทนหรือคาเสียหาย หรือใหชําระหน้ีดวยการสงมอบทรัพยสินให กระทําการ หรอื งดเวนกระทําการอยางใดอยางหน่ึงตามมูลหนี้ที่มีตอกันระหวางเจาหน้ีและลูกหนี้ เชน บังคบั ใหชาํ ระหนเ้ี งินกูพรอมดวยดอกเบ้ยี บังคับใหผ ขู ายสงมอบหรือโอนทรัพยสนิ ใหแกผ ูซอื้ ตามสญั ญา ซื้อขาย หรือใหใชคาสินไหมทดแทนในกรณีละเมิดขับรถยนตชนผูอ่ืนบาดเจ็บ หรือทําใหทรัพยสิน เสยี หาย เรืองที กฎหมายทีเกียวข้องกับตนเองและครอบครัว กฎหมายในชวี ิตประจําวันที่เก่ยี วของกับตนเอง และครอบครวั ไดแก กฎหมายดังตอไปน้ี 1. กฎหมายเกยี วกบั ชือบุคคล พระราชบัญญัติขอมูลสวนบุคคล กําหนดไววา (มีสัญชาติไทย ตองมีช่ือตัวและชื่อสกุล สวนชื่อรองมีหรอื ไมม กี ็ได) การต้ังช่ือตัวตองไมใหพองกับพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริยและพระนามของ พระราชนิ ี หรอื ราชทินนาม และตอ งไมม คี ําหยาบคาย ชอ่ื ตัวมีกพ่ี ยางคกไ็ ด และมคี วามหมายดี การต้ังชือ่ สกุลไมเกิน 10 พยัญชนะ (ยกเวนราชทนิ นามเกา ) ในเร่ืองช่ือสกุล เดิมกฎหมายกําหนดใหหญิงท่ีมีสามีตองเปล่ียนชื่อสกุลของตนมาใช ชื่อสกุลของสามี แตปจจุบันกฎหมายไดมีการแกไขใหมมีผลตามพระราชบัญญัติช่ือบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2548 ดังนี้ 47

1. คูสมรสมสี ิทธใิ ชช ือ่ สกุลฝายใดฝายหน่ึงไดต ามท่ตี กลง หรอื ตางฝายตา งใชนามสกุลเดิม ของตนได 2. เมอ่ื การสมรสสน้ิ สุดลงดว ยการหยา หรอื ศาลมีคาํ พพิ ากษาใหเพกิ ถอนการสมรส ใหฝายที่ใชชอ่ื สกลุ ของอกี ฝายหน่งึ กลบั ไปใชช ื่อสกลุ เดิมของตน 3. เมอ่ื การสมรสสนิ้ สุดลงดวยความตาย ฝา ยที่มีชีวิตอยูใชชื่อสกุลของอีกฝาย คงมีสิทธิ ใชไ ดตอ ไป แตเ ม่ือจะสมรสใหมใหกลบั ไปใชชอื่ สกลุ เดมิ ของตน 4. หญิงท่ีมีสามี ซ่ึงใชช่ือสกุลสามีอยูแลว กอนการเปลี่ยนแปลงกฎหมายใหมีสิทธิใช ตอไป หรือจะมาใชส ทิ ธิกลบั ไปใชช อ่ื สกุลเดิมของตนได . กฎหมายทะเบียนราษฎร์ “กฎหมายทะเบยี นราษฎร” เกิดข้นึ มาเพ่ือการจัดระเบียบคนในสังคม และการที่จะเปน ประชาชนไทยที่ถูกตองไมใชเพียงแคลืมตาดูโลกบนแผนดินไทยแลวจะถือวาเปนคนไทยท่ีสมบูรณ เราจําเปนตองปฏบิ ตั ติ ามกฎหมายการทะเบียนราษฎรอยางเครงครัด ซึ่งการทะเบียนราษฎรพื้นฐานที่ควร ตระหนกั ใหค วามสําคัญ ไดแ ก การเกิด การตาย การยายที่อยู และการทําบัตรประชาชน การตดิ ตอ สถานท่ีราชการเพื่อดําเนนิ การเหลา นีส้ ามารถไปดาํ เนินการไดท ี่ ถาอาศัยอยูในเขตเทศบาลใหแจงที่นายทะเบียนผูรับแจงประจําตําบล หรือหมูบาน ไดแก ผูใ หญบา น หรือกาํ นัน หรือแจงโดยตรงตอนายทะเบียนประจําสาํ นกั ทะเบยี นอาํ เภอ ณ ที่วา การอําเภอ ในเขตเทศบาลใหแจงท่ีสํานักทะเบยี นทองถ่ิน ซึง่ ต้ังอยู ณ สํานักงานเทศบาล ในเขตกรุงเทพมหานครใหแจงที่สํานักทะเบียนทองถิ่น ซึ่งต้ังอยู ณ สํานักงานเขต หรือสาํ นักงานเขตสาขา กฎหมายทะเบยี นราษฎร ประกอบดว ย ก. การแจ้งเกดิ ตองแจงตอนายทะเบียนที่อําเภอ ภายใน 15 วัน นับต้ังแตวันเกิด แลวทางการจะออก “ใบสตู ิบัตร” ซึ่งเปน เอกสารทแี่ สดงชาติกําเนดิ วันเดือนปเกดิ การแจงเกิดนีไ้ มเสียคา ธรรมเนียมใด ๆ แต ถา ไมแจง เกิดมคี วามผิดตองระวางโทษ ปรับไมเกิน 1,000 บาท วธิ กี ารแจ้งเกดิ  แจง รายละเอยี ดเกีย่ วกบั เด็กทเี่ กิด คอื ชื่อ นามสกุล เพศ สญั ชาติของเด็กท่ีเกิด วันเดือนปเกิด เวลาตกฟาก ตลอดจนวนั ขางข้ึนขา งแรม ตลอดจนสถานทเี่ กดิ บานเลขที่ ถนน ตําบล เขต จงั หวัด  แจง รายละเอยี ดเกยี่ วกับมารดาของเด็กท่ีเกิด คือ ช่ือ นามสกุล และนามสกุลเดิมกอนสมรส อายุ สัญชาติ ทอ่ี ยโู ดยละเอยี ด  แจง รายละเอยี ดเกี่ยวกับบดิ า คือ ชื่อ นามสกุล อายุ สญั ชาติ  หลักฐานทีจ่ ะตอ งนําไปแสดงตอนายทะเบียน  สําเนาทะเบียนบาน ฉบับเจา บา น (ท.ร.14)  บตั รประจําตวั ประชาชน หรือบัตรประจําตัวอืน่ ๆ ของเจา บาน และของคนแจง 48

 หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.1/1) ซ่ึงแพทย หรือพยาบาล หรือเจาหนาท่ีอนามัย หรือ ผดุงครรภแลว แตกรณี ออกให (ถาม)ี  บัตรประจาํ ตวั ประชาชน หรอื บัตรประจาํ ตัวอืน่ ๆ ของพอ แมเด็กท่ีเกดิ ข. การแจ้งตาย เมื่อมีคนตาย ผูเก่ียวของตองไปแจงการตาย เพื่อใหไดใบมรณบัตรท่ีแสดงวา คนนั้นตายแลว ภายใน 24 ช่วั โมง การแจงตายไมเ สยี คา ธรรมเนียมใด ๆ แตถ าไมแ จงตายภายในเวลาที่กาํ หนดมีความผิดตอง ระวางโทษปรบั ไมเ กนิ 1,000 บาท วธิ กี ารแจ้งตาย แจงรายละเอียดเก่ียวกับผูตาย เชน ชื่อ นามสกุล อายุ สัญชาติ เพศ ของผูตาย เวลาที่ตาย ระบุ วัน เดือน ป เวลาโดยละเอียด สถานท่ตี าย สาเหตุการตาย การดาํ เนนิ การกับศพของผตู าย (เก็บ ฝง เผา) ท่ีไหน เมื่อไร ฯลฯ ผูมีลกู บญุ ธรรมจะแตง งานกบั ลกู บญุ ธรรมไมได ไมเปนคูส มรสของผอู ่ืน หญิงหมา ยจะแตงงานไมต องรอเกนิ 130 วัน หลังจากที่ชวี ติ สมรสครงั้ แรกสิ้นสดุ ชาย หญงิ ทม่ี อี ายุไมค รบ 17 ปบริบูรณ จะแตงงานกันไดก็ตองมีคําส่ังของศาลอนุญาต โดยนาํ คําสง่ั ศาลน้นั ไปแสดงตอ นายทะเบียน วธิ กี ารจดทะเบยี นสมรส ชายหญิงตองไปใหถอยคําและแสดงความยินยอมเปนสามีภรรยากันโดยเปดเผยตอหนา นายทะเบียนท่อี าํ เภอกง่ิ อําเภอเขตหรอื สถานทูต สถานกงสุลไทยในตางประเทศแหงใดก็ได โดยไมจําเปนตองมี ชอื่ อยใู นทะเบียนบานของทอ งถิน่ น้ัน หลกั ฐานทีจะต้องนาํ ไปแสดงต่อนายทะเบียน  บัตรประชาชน  สําเนาทะเบยี นบา นของท้ังสองคน  กรณีทท่ี ัง้ คูย ังไมบรรลนุ ติ ภิ าวะ (17 ป แตไ มถ งึ 20 ป) ตองใหบ คุ คลผมู อี ํานาจใหความยินยอม เชน พอแม หรือผูปกครอง เปนตน โดยอาจใหผ ูยินยอมลงลายมอื ชื่อในขณะจดทะเบียน หรอื ทําเปนหนงั สอื ยนิ ยอมกไ็ ด ค. การจดทะเบยี นหย่า การหยาสําหรับคูสมรสท่ีไดจดทะเบียนสมรสแลวไมวากรณีใดตองไปจดทะเบียนหยากัน ที่สํานกั ทะเบยี น จะไปจดทอ่ี นื่ ไมได และตองทาํ ตอ หนา นายทะเบียนเทานั้น การหยาจะมีผลสมบูรณทําได 2 วธิ ดี งั น้ี 1. การหยาโดยความยินยอมของท้ังสองฝาย คือ การที่คูหยาไปจดทะเบียนหยาดวยตนเอง ทีส่ ํานักทะเบียนแหงใดก็ได และจะตอ งนําหลักฐานตดิ ตวั ไปดวยดังตอไปนี้  บัตรประจาํ ตวั ประชาชน หรือบัตรประจําตัวขาราชการของทง้ั สองฝาย  หลักฐานการจดทะเบยี นสมรส เชน ใบสาํ คัญการสมรส หรอื สาํ เนาทะเบยี นสมรส 49

 สาํ เนาทะเบยี นบา นฉบับเจา บา นของทัง้ สองฝาย  หนงั สือสญั ญาหยา 2. การหยาโดยคาํ พพิ ากษาของศาล หากคูหยา ตอ งการใหนายทะเบียนบันทึกการหยาไวเปน หลักฐาน จะตองย่ืนสําเนาคําพิพากษาของศาลที่แสดงวาไดหยากันแลวแกนายทะเบียน จากนั้น นายทะเบียนก็จะบันทกึ คาํ สัง่ ศาลไวเปน หลกั ฐาน ท้ังนห้ี ากมขี อตกลงอยางอื่น เชน ทรัพยสิน อํานาจการ ปกครองบุตรกส็ ามารถบันทกึ ไวใ นทะเบียนหยาได ง. การจดทะเบียนรับรองบุตร การจดทะเบียนรับรองบุตร พอแมของเด็กซึ่งเปนสามีภรรยากันโดยไมชอบดวยกฎหมาย เด็กทีเ่ กิดมาจึงเปนลูกที่ชอบดวยกฎหมายของแมฝ ายเดียว หากเดก็ จะเปน ลูกที่ชอบดวยกฎหมายของพอก็ ตอ งมกี ารจดทะเบียนรับรองบตุ ร เมื่อจดทะเบียนเรียบรอยเด็กก็จะมีสิทธิใชนามสกุล และรับมรดกของ พอแมอ ยา งถกู ตอ ง การจดทะเบยี นรบั รองบตุ รนี้ ทาํ ไดเฉพาะฝา ยชายเทานั้นสวนหนุมสาวคูใดท่ีมีลกู กอ นแตง งาน เมื่อแตงงานจดทะเบียนสมรสกันแลว เด็กคนนั้นจะเปนลูกที่ถูกตองตามกฎหมายทันทีโดยไมตอง จดทะเบียนรับรองบตุ รอกี หลักฐานที่จะตองนําไปแสดงตอนายทะเบยี น  ใบสูตบิ ัตร และสาํ เนาทะเบยี นบานของเด็ก  บตั รประจําตัวประชาชน และสําเนาทะเบียนบานของมารดาเดก็  บตั รประจําตัวประชาชน และสาํ เนาทะเบียนบานของบดิ า (ผูย่นื คํารอ ง)  บัตรประจาํ ตวั ประชาชนของเดก็ (ในกรณที ี่เด็กอายุเกนิ 15 ป) เรืองที กฎหมายทีเกยี วข้องกบั ชุมชน กฎหมายที่เก่ียวของกับชุมชนเปนกฎหมายวาดวยการรักษาสภาพแวดลอมที่อยูรอบตัวคนใน ชุมชน มิใหเกิดความผิดปกติจากธรรมชาติที่ควรจะเปน ตลอดจนการดูแล ปกปอง และปองกันใหเกิด ความเปนธรรมในสงั คม ไมเ อารดั เอาเปรียบตอ กัน ซง่ึ กฎหมายที่ควรรู ไดแก 1. กฎหมายสงเสริมและรักษาคุณภาพส่งิ แวดลอ ม 2. กฎหมายเกีย่ วกบั การคุม ครองผูบริโภค กฎหมายส่งเสริมและรักษาคณุ ภาพสิงแวดล้อม โดยทั่วไปบุคคลมีสิทธแิ ละหนาทีต่ อ งมีสว นรว มในการจัดการ บํารงุ รกั ษา และใชป ระโยชนจ าก ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมอยางสมดุล และยั่งยืน รวมถึงมีหนาท่ีตองอนุรักษธรรมชาติและ ส่ิงแวดลอ มตามทร่ี ัฐธรรมนญู บัญญตั ิไว โดยเฉพาะพระราชบญั ญัตสิ ง เสริมและรกั ษาคณุ ภาพสิ่งแวดลอม แหง ชาติ พ.ศ. 2535 กําหนดไวด งั น้ี 50

1. สิทธขิ องบุคคลเก่ยี วกับการสงเสริมและรกั ษาคณุ ภาพสง่ิ แวดลอ ม มีสิทธจิ ะไดรับขอมูลและขาวสารจากทางราชการ มีสิทธิไดรับชดเชยคาเสียหาย หรือ คาทดแทนจากรัฐ กรณีไดร บั ความเสียหายจากภยั อนั ตรายท่ีเกิดจากการแพรก ระจายของมลพษิ หรอื ภาวะ มลพษิ อนั มีสาเหตจุ ากกจิ การ/โครงการ โดยสว นราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีสทิ ธริ องเรยี นกลาวโทษผกู ระทาํ ผิด หรือฝา ฝน กฎหมายเกีย่ วกับการควบคุมมลพษิ 2. หนา ทีข่ องบุคคล ใหความรวมมือและชวยเหลือเจาพนักงานในการปฏิบัติหนาท่ีท่ีเกี่ยวของกับการสงเสริม การรักษาคุณภาพส่ิงแวดลอม ปฏิบัติตามกฎหมายที่เก่ียวของกับการสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม โดยเครงครดั 3. ปญหากระทบตอสงิ่ แวดลอ มในปจจุบนั มี 2 ประการ คือ การลดลงและขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ เน่ืองจากการทําลายตนไม ปาไม และ แหลง กาํ เนิดของลาํ ธาร เกดิ มลพิษสิ่งแวดลอม เนื่องจากความเจริญทางเทคโนโลยีและจํานวนประชากร ที่เพ่ิมข้ึน การใชมากทําใหเกิดสิ่งท่ีเหลือจากการใชทรัพยากร เชน ขยะ นํ้าเสียจากครัวเรือน โรงงาน ควนั ไฟ สารเคมี ทําใหเกดิ มลพิษทางนํา้ อากาศ และบนดนิ ซึ่งผูท่ไี ดรับผลกระทบ คือ ประชาชน ดงั นน้ั พ.ร.บ. สง เสรมิ และรักษาคณุ ภาพส่ิงแวดลอม แหง ชาติ พ.ศ. 2535 จึงไดก ําหนดใหม ี 1. คณะกรรมการส่ิงแวดลอมแหงชาติ ทําหนาที่กําหนดมาตรฐานควบคุมคุณภาพ ส่งิ แวดลอมที่ประกอบดว ยมาตรฐานคณุ ภาพของนาํ้ อากาศ เสียง และอ่นื ๆ 2. กองทนุ สง่ิ แวดลอม เพ่ือใชในกจิ การชวยเหลือใหกูยืมเพอ่ื การลงทุนแกสวนราชการ ทอ งถนิ่ รฐั วสิ าหกิจ เอกชน ในการจัดระบบบาํ บดั นา้ํ เสยี อากาศเสยี และระบบกาํ จดั ของเสีย 3. กองควบคมุ มลพิษ โดยคณะกรรมการควบคมุ มลพิษทําหนาท่ีเสนอแผนปฏิบัติการตอ คณะกรรมการส่ิงแวดลอมแหงชาติ และกําหนดมาตรฐานมลพิษทางน้ํา มลพิษทางอากาศ และมลพิษ ทางเสยี ง พรอมเขาทาํ การปองกัน และแกไขอนั ตรายอันเกิดจากมลพษิ เหลา นนั้ 4. ความรับผิดชอบของเจาของหรือผูครอบครองแหลงกําเนิดมลพิษทั้งทางแพงและ ทางอาญา กฎหมายเกยี วกบั การค้มุ ครองผ้บู ริโภค กฎหมายวาดวยการคุมครองผบู รโิ ภคในปจจุบัน คือ พระราชบญั ญัติคุมครองผบู รโิ ภค พ.ศ. 2522 และ มีการแกไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 เปนกฎหมายท่ีใหความคุมครองและใหความเปนธรรมแก ผูบ ริโภค ซง่ึ บคุ คลที่กฎหมายคมุ ครองผบู รโิ ภค ไดแก บคุ คล 6 ประเภท ดงั นี้ 1. ผซู ือ้ สนิ คาจากผขู าย 2. ผูไ ดร บั การบริการจากผูขาย 3. ผเู ชาทรัพยส ินจากผูใหเ ชา 4. ผูเชา ซือ้ ทรพั ยส ินจากผใู หเ ชา ซื้อ 51

5. ผูซ่ึงไดรับการเสนอหรือไดรบั การชกั ชวนใหซ ื้อสินคา หรอื รับบรกิ ารจากผูประกอบธรุ กจิ 6. ผูใชสินคาหรอื ผูไดร บั บรกิ ารจากผูป ระกอบธรุ กิจโดยชอบ แมมิไดเปนผเู สียคาตอบแทน สิทธิของผ้บู ริโภคทจี ะได้รับความค้มุ ครอง มีดังน้ี  สิทธิทไี่ ดร ับขา วสาร รวมทั้งคําพรรณนาคุณภาพท่ีถูกตอง และเพียงพอกับสินคา หรอื บริการ  สทิ ธิที่จะมีอสิ ระในการเลือกหาสินคา หรือบรกิ าร  สิทธทิ ี่จะไดร ับความปลอดภยั จากการใชส ินคา หรอื บริการ  สิทธิจะไดร ับความเปนธรรมในการทาํ สัญญา  สทิ ธิจะไดร บั การพิจารณาและชดเชยความเสยี หาย จากสทิ ธิของผูบรโิ ภคน้ี กฎหมายไดวางหลักการคุมครองผบู ริโภคไว 4 ดาน ไดแก 1. คมุ ครองดา นโฆษณา คอื ผบู รโิ ภคมีสิทธิไดรับขาวสารเก่ยี วกับสนิ คา 2. คมุ ครองดา นฉลาก คอื ผบู รโิ ภคมีสิทธิและอิสระในการเลือกซ้ือสนิ คาและบริการ 3. คุมครองดานสัญญา คือ ผูบรโิ ภคมีสทิ ธไิ ดรบั ความเปน ธรรมในการซื้อขายและทําสัญญา กรณี การซอ้ื ขายเปน ลายลกั ษณอกั ษรกบั ผูประกอบธุรกจิ หรือผูขาย 4. คุมครองดานความเสียหาย ผูบริโภคมีสิทธิไดรับการชดเชย หากไดรับความเสียหายหรือ อนั ตรายจากสนิ คา/บรกิ ารน้ัน ๆ ซ่ึงผูบริโภคมีสิทธิจะไดรับการคุมครองโดยท่ี พ.ร.บ. คุมครองผูบริโภคไดจัดตั้งองคกร เพื่อคมุ ครองผบู ริโภคขึน้ โดยมีคณะกรรมการคุมครองผบู ริโภคทําหนา ท่ีดําเนนิ การ เรืองที กฎหมายอนื ๆ กฎหมายอ่ืน ๆ ทเี่ ก่ียวของกับชีวิตประจําวันท่ีควรศึกษา ท้ังนี้เพ่ือเปนการรักษาผลประโยชนที่ เราพึงมี หรือเปนการปองกันไมใหปฏิบัติตนผิดกฎหมายโดยรูเทาไมถึงการณได ซ่ึงไดแก กฎหมาย ทสี่ าํ คญั ดังตอ ไปน้ี 1. กฎหมายประกนั สังคม กฎหมายประกันสังคม เปนกฎหมายท่ีใหหลักประกันแกบุคคลในสังคมท่ีมีปญหาหรือ ความเดือดรอนทางดา นการเงนิ เนื่องจากการประสบเคราะห หรือมเี หตุการณอ นั ทาํ ใหเกิดปญหา ขอบเขตการบังคบั ใช้กฎหมายประกนั สังคม ตาม พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่ใชบังคับอยูในปจจุบันไดกําหนดให สถานประกอบกจิ การที่มีลกู จา งรวมกันตั้งแต 10 คน ขนึ้ ไป และนายจางของสถานประกอบกิจการนั้นตอง อยูภ ายใตข อบงั คับของกฎหมายดงั กลา ว ลกู จางซงึ่ มฐี านะเปน ประกันตน ก็คือ บุคคลที่สมคั รเขา ทาํ งานในสถานประกอบกิจการ ที่มีลูกจางรวมกันต้ังแต 10 คน ข้ึนไป โดยกฎหมายประกันสังคมบังคับใหลูกจางดังกลาวตองจายเงิน 52

สมทบเขา กองทุนประกนั สังคม ซ่ึงนายจา งจะเปน ผูหกั เงนิ คา จางทุกครั้งท่ีมีการจายคาจาง และนําสงเขา กองทนุ ประกันสังคม เปนเงนิ สมทบสว นของลกู จาง *ปัจจบุ นั กฎหมายเปิ ดให้ใช้ได้ตงั แต่กจิ การทมี ลี ูกจ้างตงั แต่ คน ขึนไป แล้วแต่เจ้าของ และลกู จ้างสมคั รใจ ประโยชน์ทดแทน ประโยชนทดแทน หมายถึง ความชวยเหลือที่ใหแกผูประกันตน หรือผูท่ีมีสิทธิ เม่อื รบั ประกันตนประสบเคราะหภัยหรอื เดอื ดรอน และปฏิบัตติ ามเงื่อนไขทีก่ ฎหมายกาํ หนดแลว รปู แบบของประโยชนทดแทน มี 4 รูปแบบ คือ  บรกิ ารทางการแพทย  เงินทดแทนการขาดรายได  คา ทําศพ  เงินสงเคราะห 2. กฎหมายเกยี วกบั ยาเสพตดิ กฎหมายเก่ียวกับยาเสพติดที่บังคับใชในปจจุบันนี้ คือ พระราชบัญญัติยาเสพติดใหโทษ พ.ศ. 2522 ความหมายของยาเสพตดิ ยาเสพติดใหโทษ หมายถงึ สารเคมหี รอื วัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเม่ือเสพเขาสูรางกายไมวาจะ โดยรบั ประทาน ดม สูบ ฉีด หรอื ดว ยวิธกี ารใดแลวกต็ าม ทําใหเกดิ ผลตอ รางกายและจติ ใจ เชน ตอ งการเสพ ในปรมิ าณที่เพมิ่ ขนึ้ เลกิ เสพยาก สขุ ภาพทั่วไปจะทรดุ โทรม และบางรายถงึ แกชวี ิต ประเภทของยาเสพตดิ ยาเสพติดใหโทษ แบง ได 5 ประเภท คือ  ประเภท 1 ยาเสพติดใหโ ทษชนิดรา ยแรง เชน เฮโรอีน  ประเภท 2 ยาเสพตดิ ใหโ ทษท่วั ไป เชน มอรฟน โคเคน ฝน  ประเภท 3 ยาเสพติดใหโทษที่มีลักษณะเปน ตํารับยา และยาเสพติดใหโทษ ประเภท 2 ผสมอยดู วย ตามหลักเกณฑทร่ี ัฐมนตรีประกาศในราชกจิ จานเุ บกษา  ประเภท 4 สารเคมีท่ีใชในการผลติ ยาเสพติดใหโทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เชน อาเซตกิ แอนไฮโดรด อาเซตลิ คลอไรด  ประเภท 5 ยาเสพติดใหโทษที่ไมไดเขาอยูในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เชน กัญชา พชื กระทอ ม ความผดิ เกยี วกบั ยาเสพตดิ ให้โทษทผี ดิ กฎหมาย 1. ยาเสพติดประเภท 1 ไดแกค วามผดิ ดงั น้ี  ฐานผลิต นาํ เขา สง ออกเพอื่ การจําหนาย ตองระวางโทษประหารชีวติ 53

 ฐานจาํ หนา ยหรือมีไวในครอบครองเพ่ือการจําหนายเปนสารบริสุทธ์ิ ไมเกิน 100 กรัม ตองระวางโทษจําคุก 5 ป ถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต 50,000 – 500,000 บาท ถาเกนิ 100 กรัม ตอ งระวางโทษจําคกุ ตลอดชีวติ หรอื ประหารชีวติ  ถามไี วในครอบครองไมถึง 20 กรัม ตองระวางโทษจําคุกตั้งแต 1 – 10 ป และ ปรับ 10,000 - 100,000 บาท  ถา มีไวเ สพตองระวางโทษจําคกุ ต้ังแต 6 เดือน ถึง 10 ป และปรับต้ังแต 5,000 - 100,000 บาท 2. ยาเสพติดใหโทษประเภท2 ไวในครอบครองโดยไมไ ดรบั อนุญาต ตอ งระวางโทษจําคกุ ต้ังแต 1 - 10 ป และปรับตั้งแต 10,000 – 100,000 บาท 3. ยาเสพติดใหโทษประเภท 3 มีลักษณะเปนตํารับยา จึงอาจมีการขออนุญาตผลิต จําหนาย หรือนําเขา หรือสง ออกได 4. ยาเสพตดิ ใหโ ทษประเภท 4 และ 5 นน้ั อาจผลติ จาํ หนาย นาํ เขา สงออก หรือมีไวใน ครอบครองได โดยรัฐมนตรีเปนผูอนุญาต โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ เปนราย ๆ ไป 5. หา มเสพยาเสพตดิ ใหโทษประเภท 5 โดยเด็ดขาด หากฝา ฝนจะตองระวางโทษจําคุก ไมเกนิ 1 ป และปรบั ไมเ กิน 10,000 บาท 3. กฎหมายค้มุ ครองแรงงาน กฎหมายวา ดวยการคุมครองแรงงานของประเทศไทยปจจุบันน้ีคือ พระราชบัญญัติคุมครอง แรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งถือไดวาเปนแมบทในการคุมครองแรงงาน บุคคลที่ไดรับการคุมครองจาก กฎหมายฉบบั นี้ คือ “ลกู จา ง” ซงึ่ หมายความถึง ผซู งึ่ ตกลงทาํ งานใหน ายจา งโดยรบั คา จา ง สาระสาํ คัญของ พระราชบญั ญัตคิ ุม ครองแรงงานประกอบดว ย  การคมุ ครองกาํ หนดเวลาในการทํางาน  สทิ ธขิ องลูกจางในการพกั ผอ นระหวา งทํางาน  สิทธขิ องลกู จางในการมวี นั หยุด  สทิ ธลิ าของลกู จาง  สิทธิไดรบั เงนิ ทดแทน  การคมุ ครองการใชแ รงงานหญงิ  การคมุ ครองการใชแ รงงานเด็ก 54

เรืองที การปฏิบัตติ นตามกฎหมาย และการรักษาสิทธิ เสรีภาพของตนในกรอบของกฎหมาย ในฐานะพลเมอื งของประเทศ ซึง่ มกี ารปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรง เปนพระประมขุ ทมี่ สี ิทธิ เสรีภาพ บทบาทหนาที่ ตอ งปฏิบัติตนตามกรอบขอกําหนดของกฎหมายตาง ๆ ทีเ่ กี่ยวของดวยการใชสทิ ธติ ามกฎหมาย และตอ งรกั ษาปกปอ งสิทธขิ องตนเองและชมุ ชน เมอื่ ถูกละเมดิ สทิ ธิ หรือผลประโยชนอ ันชอบธรรมของตัวเองและชุมชน ซง่ึ การปฏบิ ัติตามกฎหมายดําเนนิ การได ดงั นี้ 1. เรม่ิ จากการปลูกฝงและประพฤติปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เก่ียวของกับตนเองและครอบครัว เชน เมือ่ มีคน เกดิ ตาย ในบา นตองดาํ เนนิ การตามกฎหมายทะเบยี นราษฎร จัดการใหก ารศกึ ษาแกบ ตุ ร หลาน ตามกฎหมายการศึกษาภาคบังคบั ปฏบิ ตั ิตนใหถกู ตองตามกฎหมายการสมรส กฎหมายมรดก ฯลฯ 2. ในชมุ ชน/สังคม ตอ งปฏิบัตติ นใหเหมาะสมกบั การอยใู นสังคมประชาธิปไตย ตามบทบาทหนาที่ โดยยดึ กฎหมายทเี่ กยี่ วของ เชน การปฏบิ ัติตามกฎหมายสงเสรมิ และรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม ไมทําลาย ธรรมชาติ เผาปา สรางมลพิษใหแ กผอู ่นื เคารพสิทธขิ องตน ไมละเลยเม่อื เห็นผอู ่ืนในชมุ ชน/สงั คมกระทําผิด ดว ยการตกั เตือน ชี้แจง ใหความรวมมือในการปฏิบัติตามกฎหมายคุมครองผูบริโภค กฎหมายแรงงาน กฎหมายจราจร ฯลฯ การรักษาสิทธิตามกรอบของกฎหมาย กฎหมายใหสิทธิแกบุคคลหรือหนวยงานสามารถเรียกรองปองกัน เพื่อรักษาสิทธิของตนท่ีถูก บุคคลหรือหนวยงาน ไมวาจะเปนหนวยงานของเอกชนหรือรัฐมาละเมิดสิทธิของบุคคลหรือชุมชน โดยใหเปนหนาท่ีของบุคคล องคกร และผูเก่ียวของทําหนาท่ีรวมกันในการเรียกรองเพื่อรักษาสิทธิ ผลประโยชนทถ่ี กู ละเมดิ ซง่ึ การละเมดิ สทิ ธิ มี 2 กรณี ดงั นี้ 1. การละเมิดสิทธ/ิ ผลประโยชนสว นบุคคล กรณีตัวอยาง นักศึกษาสาวไปเดินหางสรรพสินคาถูก ผไู มป ระสงคด แี อบถา ยภาพขณะเดินลงบันไดเลื่อน แลวนําไปเผยแพรหรือไปไวเอง ผูเสียหายสามารถ แจง ความใหเจา หนา ทต่ี าํ รวจดาํ เนินคดีตามกฎหมายแกผ ูไ มประสงคดไี ด 2. การละเมิดสิทธิ/ผลประโยชนข องชมุ ชน กรณีตัวอยาง หนวยงานการไฟฟาฝายผลิตไดถูกรัฐ จัดการแปรรูปใหเปนบริษัทเอกชน มกี ารซือ้ ขายหุนมงุ เก็งกําไร ทาํ ใหป ระชาชนเสยี ประโยชน ทั้ง ๆ ทไ่ี ฟฟา จัดเปน สาธารณูปโภคที่รฐั พงึ จัดใหบ ริการแกประชาชน ไมค วรมงุ การคา กาํ ไร ซ่งึ ตอ มามีคณะบุคคลทีเ่ ปน วุฒิสมาชิก (ส.ว.) ไดดําเนินการฟองรองไปยังศาลปกครอง เรียกรองสิทธิ/ผลประโยชนในเร่ืองน้ีใหแก ประชาชน และในท่ีสุดศาลก็ไดตัดสินใจใหรัฐเปนผูแพ ผลประโยชนจึงไดกลับคืนมาสูประชาชน คือ การไฟฟา ฝายผลติ กลบั มาเปนรัฐวสิ าหกจิ อยูในการกํากบั ของรฐั กรณีตัวอยางนี้ ทําใหเห็นวาการมีความรูความเขาใจในเร่ืองกฎหมาย เขาถึงสิทธิอันชอบธรรม ท่ีควรได/ มตี ามกฎหมาย บคุ คลหรอื องคกร และผูเกี่ยวของสามารถดําเนินการเรียกรอง ปกปอง รักษาสิทธิ และผลประโยชนของตนและสวนรวมได 55

กิจกรรมที ให้ผ้เู รียนเลอื กคาํ ตอบทถี ูกต้อง 1. ความหมายคําวา “ประชาธปิ ไตย” ตรงกับขอใด ก. ประชาชนเปน ใหญในประเทศ ข. ระบอบการปกครองท่ีถือมติของปวงชนเปนใหญ หรือการถือเสียงขา งมากเปนใหญ ค. การปกครองที่ยดึ หลกั สิทธิเสรภี าพ ง. การปกครองท่ีมี 3 อํานาจ 2. การใชช ีวิตประชาธิปไตยตอ งเรมิ่ ตนท่ใี ดเปนแหงแรก ก. ครอบครัว ข. โรงเรยี น ค. ไปใชส ิทธเิ ลือกต้งั ง. การเลือกตั้งผูใ หญบาน 3. หลักสาํ คญั ในการประชมุ รวมกันคืออะไร ก. รกั ษาระเบยี บ ข. มีสว นรวมในการจดั ประชมุ ค. ยอมรับฟง ความคิดเห็นผูอื่น ง. เคารพกฎกติกา 4. สถานภาพการสมรสไดแกข อ ใด ก. โสด ข. สมรส ค. หมา ย ง. ถกู ทุกขอ 5. ขอตอ ไปนข้ี อใดหมายถงึ “หนา ท่ีของปวงชนชาวไทย” ก. ชาวไทยมหี นา ที่เกณฑท หาร เมอ่ื อายคุ รบ 20 ป ข. หนาที่เลอื กตง้ั ผูแ ทนราษฎร ค. หนา ท่ีทะนุบาํ รุงศาสนา ง. หนา ที่รักษาสถาบันทกุ สถาบนั 6. เม่ือมคี นตายเกดิ ขนึ้ ในบาน ใหแจง การตายภายในเวลาเทาใด ก. 24 ชัว่ โมง ข. 2 วนั ค. 3 วนั ง. 7 วัน 7. อาชีพลกู จา งอยใู นความคมุ ครองของกฎหมายใด ก. กฎหมายแพง ข. กฎหมายอาญา ค. กฎหมายครอบครวั ง. กฎหมายประกันสังคม 8. โทษสูงสดุ เกีย่ วกับคดียาเสพตดิ คืออะไร ก. จําคกุ 20 ป ข. จาํ คกุ 20 ป ทง้ั จําทงั้ ปรับ ค. จําคกุ ตลอดชวี ติ ง. ประหารชีวิต 56

9. ผูใดขาดคณุ สมบัติในการสมคั รเลอื กตงั้ เปนสมาชิกสภาผูแ ทนราษฎร ก. นายแดงจบการศกึ ษาระดับปริญญาตรี ข. นายแดงไมไ ปเลอื กต้ังทกุ คร้ัง ค. นายเขียวไปเลอื กตัง้ ทกุ ครงั้ ง. นายเขียวสังกดั พรรคการเมือง 10. ประเทศไทยปกครองระบอบประชาธปิ ไตยตงั้ แตป พ.ศ. อะไร ก. 2455 ค. 2465 ค. 2475 ง. 2485 กจิ กรรมที ให้ผ้เู รียนศึกษากรณตี วั อย่างอปุ สรรคการปกครองระบอบประชาธปิ ไตยของไทย แล้วนํามาแลกเปลยี นเรียนรู้ 57

เร่อื งที่ 10 การมีสวนรวมในการปอ งกันและปราบปรามการทุจรติ สังคมไทยใหความสําคัญกับเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตยสุจริตมาต้ังแต โบราณจนถึงปจจุบัน มีสุภาษิตและคําพังเพยท่ีคนไทยใชสอนลูกหลานใหเปนคนดี มีความซ่ือสัตย ไมค ดโกงผอู ่ืนใหไดยนิ เสมอมา เชน “ซือ่ กนิ ไมหมด คดกนิ ไมนาน” “คนดตี กนํา้ ไมไ หล ตกไฟไมไ หม” “ทาํ ดีไดดี ทําชวั่ ไดชั่ว” “ทาํ ดีจะไดขน้ึ สวรรค ทําช่วั จะตกนรก” เปน ตน กระแสโลกาภิวัตนท่ีกําลังแพรระบาดท่ัวโลกรวมท้ังการไหลบาของสังคมและ วฒั นธรรมนานาชาตทิ ไ่ี มสามารถหยดุ ยง้ั ได ประกอบกับการพัฒนาอยา งรวดเร็วของโครงสรา งเศรษฐกิจ ทเ่ี จริญเติบโตอยา งรวดเรว็ สูภาคอุตสาหกรรม และการทอ งเทยี่ ว สง ผลใหประชาชนคนไทยถูกชักนําให หลงใหลไปสกู ารเปน นักวัตถุนยิ ม ตดิ ยึดอยกู บั วัฒนธรรมสมัยใหมทเี่ ปน ทาสของเงนิ ความมัง่ ค่งั มหี นามตี า ในสังคม ยกยองคนรวยมีอํานาจวาสนาโดยไมคํานึงถึงความเปนคนดีมีคุณธรรมและภูมิปญญา ทุมเท ใหก บั ความฟุงเฟอ ฟมุ เฟอย สุรุยสุราย ไมเหน็ ความสาํ คญั ของครอบครัว และสายใยผูกพันในครอบครัว เหมือนเดมิ มกี ารชงิ ดชี ิงเดนกนั รุนแรงท้ังในการทํางาน การดาํ รงชีวติ ในชมุ ชน ตลอดถงึ การเรยี นของเด็ก และเยาวชน ความเอ้ือเฟอเผื่อแผ ความเมตตาอารี การชวยเหลือเก้ือกูล สมัครสมานสามัคคี การพ่ึงพา อาศัยระหวางผูคน เพ่ือนบานในชุมชน และศรัทธาในพระศาสนาท่ีบรรพบุรุษเคยนับถือ เกือบไมมี ปรากฏใหเ หน็ ในวิธีการดํารงชีวิต พฤติกรรมท่ีเปนปญหาเหลาน้ีหลายคร้ังกลายเปนเร่ืองท่ีนิยมยกยอง ในสังคม เชน พอ แม ผูมฐี านะดีบางคนสง เสริมใหล กู หลานเท่ยี วเตรกอ ความวนุ วายแกส งั คม เชน ต้ังกลุม เด็กแวน กลุมเด็กตีกัน เปนตน หรือในภาคสวนของผูบริหารและนักการเมืองบางกลุมท่ีมีพฤติกรรม ไมถูกตองแตกลับไดรับการยกยองเชิดชูในสังคม เชน ผูที่มีอํานาจออกกฎหมายหรือโครงการเพื่อ ประโยชนของสงั คมสว นรวม แตเบ้ืองหลังกลับพบวา กฎหมายหรือโครงการเหลาน้ันไดมีการวางแผน ใหญาตพิ ี่นองหรอื พรรคพวกของตนมีโอกาสไดประโยชนมหาศาลท่ีเรียกกันวา ผลประโยชนทับซอน เปนที่ประจักษในปจจุบัน พฤติกรรมเหลาน้ีเกิดข้ึนบอยคร้ังและทวีความรุนแรงขึ้นทุกทีสงผลใหเกิด ปญหาทุจริตประพฤติมิชอบซึ่งเปนปญหาใหญและมีความสําคัญย่ิงตออนาคตของชาติบานเมืองท่ีตอง ไดร บั การแกไขเยียวยาโดยดวนทุกระดับและทุกภาคสวนของสังคม เปนเร่ืองที่ประชาชนจะตองรูเทา รูทัน มจี ิตสํานกึ และมีสวนรวมท่จี ะปองกัน แกไข ขจัดปญหาการทุจริตประพฤติมิชอบเหลานี้ใหลดลง และหมดไป สาํ นกั งานปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งมีอํานาจหนาท่ีในการ ปองกันและปราบปรามการทุจริตตามขอกําหนดของกฎหมายรัฐธรรมนูญไดกําหนดยุทธศาสตรและ มาตรการในการปอ งกนั และปราบปรามการทจุ รติ โดยใหประชาชนทุกภาคสวนมีสวนรวมในการเขาไป มีบทบาทในฐานะเปน สวนหนง่ึ ของผูด ําเนินการในกิจกรรมตาง ๆ โดยตองมีการวางระบบท่ีเปดโอกาส ใหประชาชนมีความกลาในการแสดงความคิดเห็น และกลาในการตัดสินใจโดยอยูในกรอบของ การเคารพสิทธ์ิของผูอื่น และสนับสนุนใหประชาชนรวมกันทํางานเปนเครือขายเพ่ือใหเกิดพลังสราง ความเขมแขง็ เช่อื มโยงกนั ทั้งระดับบุคคลและระดับองคกรเปนอันหนึ่งอันเดียวกันโดยมีผลประโยชน 58

ของสังคมเปนทต่ี ัง้ ในการสนับสนนุ สง เสรมิ ใหป ระชาชนมสี วนรวมในการตอ ตานการทุจริตคอรรัปช่ัน น้คี ณะกรรมการ ป.ป.ช. ไดก าํ หนดมาตรการเพ่อื การปฏบิ ตั ริ ว มกนั ไวด ังน้ี 1. สรางความตระหนักใหประชาชนมสี ว นรว มในการตอ ตา นการทจุ ริต 1.1 ปลูกจิตสํานึกและคานิยมการมีคุณธรรมจริยธรรมและการมีวินัยแกประชาชน ทุกภาคสวน สงเสริมการดํารงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สงเสริมใหใชการศึกษาเปน เครือ่ งมอื ในการปลกู จิตสํานึกนักเรยี น นักศึกษา เยาวชน และประชาชน อยางตอเนื่อง 1.2 สง เสรมิ สนบั สนุนใหความเขมแข็งแกเครือขายการมีสวนรวมขององคกรตาง ๆ โดยเนนการประชาสัมพันธ การสรางขวัญและกําลังใจ การสงเสริมขอมูล และทักษะการทํางานดาน กฎหมาย การขยายเครอื ขาย การปอ งกนั และปราบปรามการทจุ ริตใหกระจายลงไปถึงระดบั รากหญา 1.3 สงเสริมความเปนอิสระและมีประสิทธิภาพแกองคกรที่มีหนาท่ีตรวจสอบ การทุจริตโดยเฉพาะสํานักงาน ป.ป.ช. ใหมีการถวงดุลอํานาจจากภาครัฐท่ีเก่ียวของทุกระดับโดย ปราศจากการแทรกแซงของอทิ ธพิ ลจากภาคการเมอื ง และภาคธรุ กจิ ราชการ 1.4 สง เสริมการสรา งมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชพี แกบคุ ลากรท่เี กีย่ วขอ งเพื่อใหเปน ท่ียอมรบั และมนั่ ใจขององคกรเครือขา ย 2. สรา งความเขาใจท่ถี ูกตอ งในเรื่องกฎหมายท่ีเกย่ี วของกบั การปองกันและปราบปราม การทจุ รติ คอรปั ช่ัน มกี ฎหมายทีเ่ ปนหลัก เชน 2.1 รัฐธรรมนูญแหง ราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศกั ราช 2550 มาตรา 87 (3) ท่ีกําหนดให ประชาชนมบี ทบาทและมสี ว นรว มในกาตรวจสอบการใชอ าํ นาจรัฐอยา งเปน รูปธรรม 2.2 พระราชบัญญตั ิประกอบรัฐธรรมนูญวา ดว ยการปอ งกนั และปราบปรามการทุจริต พทุ ธศักราช 2542 (ฉบบั ที่ 2) พทุ ธศกั ราช 2554 มาตรา 19 (13) กาํ หนดใหค ณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหนาท่ี สงเสรมิ ใหป ระชาชนหรอื กลมุ บุคคลมีสวนรวมในการปองกันและปราบปราม ทงั้ นีม้ ีรายละเอียดท่ีสามารถ ศกึ ษาคนควา ไดจ าก www.nacc.go.th (เวบ็ ไซตของ ป.ป.ช.) 3. กระตุนจติ สํานกึ การมสี วนรว มในการปองกันและปราบปรามการทจุ ริต เพอ่ื ใหผ เู รียนเกิดความเขาใจ ตระหนักและมีจิตสํานึกในการมีสวนรวม ท่ีจะปองกัน การทจุ ริตประพฤตมิ ิชอบในชมุ ชน และสงั คม หลกั สตู รการศกึ ษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จงึ ไดกําหนดแนวทางการเรียนรู ในรูปแบบกรณีศึกษา ใหผูเรียนไดฝกทักษะการคิด วเิ คราะห การมสี ว นรว มในการแกปญหาการทจุ ริตรูปแบบตาง ๆ ดวยเจตนาท่ีจะใหผ เู รียนสามารถนําไป เปนแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อประโยชนตอตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม จนเกิดการพัฒนา จิตสํานึกในการมีสวนรวมปองกันและปราบปรามการทุจริตได กิจกรรมท้ังหมดประกอบดวย 6 กรณีศกึ ษา ไดแ ก 1. เรอื่ ง “ใตโ ตะ หรอื บนโตะ ” 2. เรอ่ื ง “ทจุ รติ ” หรอื “คดิ ไมซอ่ื ” 59

3. เร่ือง “เจาบ๊กิ ...เปนเหต”ุ 4. เรื่อง “ฮั้ว” 5. เรื่อง “อาํ นาจ... ผลประโยชน” 6. เรอ่ื ง “เลอื กตง้ั ...อปั ยศ” ท้ังนี้ผูเรียนและผูสอนจะตองรวมมือกันนําขอมูลทั้งดาน วิชาการ ระเบียบ กฎหมาย ท่ีไดมีการสรุป รวบรวมไวใ นเอกสาร คูม ือการจดั กจิ กรรมการเรียนรู เรอ่ื ง การมีสวนรวมของประชาชนในการปองกัน และปราบปรามการทุจริต รวมกับขอมูลปญหาความตองการสภาพแวดลอม ของชุมชนทองถ่ิน และ คุณธรรม จริยธรรม ทต่ี นเองมอี ยูมาตัดสนิ ใจแกปญหาตา ง ๆ ใหลุลว งไปไดอ ยางเหมาะสมตอ ไป 60

กรณศี ึกษาเรอ่ื งท่ี 1 เรื่อง “ใตโ ตะ หรอื บนโตะ” วตั ถุประสงค 1. บอกคุณธรรมในการปฏิบตั ิงานได 2. บอกวธิ ีการปอ งกนั การทุจริตในการปฏิบตั ิงานได 3. เกิดจิตสํานึกในการปองกันการทุจริต เน้อื หาสาระ 1. พระราชบัญญตั ิจราจรทางบก ฉบบั 8 พ.ศ. 2551 2. คุณธรรม จริยธรรมของผูป ฏิบัตงิ าน กรณศี กึ ษา นายนภดล ขับรถกระบะจากบานพักไปโรงพยาบาลในกรุงเทพ เพื่อไปเย่ียมแมที่ ประสบอุบัตเิ หตุ อาการเปนตายเทา กันอยูในหอ ง ICU ขณะขบั รถผา นส่แี ยกไฟแดง ดว ยความรอ นใจและ เห็นวาไมมีรถอน่ื ในบรเิ วณนั้นเลย ทาํ ใหน ายนภดลตัดสินใจขับรถฝาไฟแดง ตํารวจที่อยูบริเวณนั้นเรียก ใหห ยดุ และขอตรวจใบขับขี่ นายนภดลจึงไดแอบสง เงินจํานวนหนึ่งใหแกตํารวจ เพ่ือจะไดไมเสียเวลา ใหต ํารวจเขียนใบสั่งและตอ งไปจายคา ปรับท่ีสถานีตาํ รวจ หลงั จากนัน้ ตาํ รวจไดปลอยนายนภดลไป ประเด็น 1. ทานคิดวาการที่นายนภดลขับรถผาไฟแดงดวยเหตุผลเพื่อจะรีบไปเย่ียมแมที่ประสบ อุบัติเหตอุ ยใู นหอ ง ICU เปน การปฏบิ ตั ิท่ถี ูกตองหรอื ไม เพราะอะไร 2. ถาทานเปนนายนภดล จะมวี ิธปี ฏบิ ัตอิ ยา งไรในกรณีดังกลาวใหถูกตองตามกฎหมาย หนาท่ี พลเมืองและคณุ ธรรมจริยธรรม 3. ตํารวจท่ีรับเงินที่นายนภดลแอบให เพื่อที่จะไมตองเสียคาปรับ ไดช่ือวาเปนการกระทํา ท่ีทจุ ริตผิดกฎหมาย หรอื คอรรัปชน่ั อยางไร 4. ในฐานะที่เปนประชาชน ทานคิดวา จะมีสวนหรือมีบทบาทในการปองกันพฤติกรรม ทีเ่ กิดข้ึนไดห รือไม อยางไร ใบความรู เรื่อง พระราชบญั ญัติจราจรทางบก ฉบับ 8 พ.ศ. 2551 61

ใบงาน 1. ใหผ เู รียนศกึ ษากรณีศึกษา 2. แบงกลมุ อภปิ ราย แสดงความคิดเห็น ตามประเด็นทก่ี าํ หนดให 3. ใหผ ูสอนและผูเ รยี นรว มกันศึกษาหาขอมูลประกอบการอภปิ รายหาเหตุผล 4. ใหผสู อนและผูเรยี นสรุปแนวคิดทไ่ี ดจ ากการอภิปรายรว มกนั 5. ใหผเู รยี นรวมทํากิจกรรมการเรยี นรตู อ เน่ือง พรอ มสรุปรายงานผล กิจกรรมการเรยี นรูตอเนอ่ื ง 1. ใหผูเรียนสมั ภาษณประชาชนท่ัวไปและตาํ รวจ ทั้งรายบคุ คลและชมุ ชน (กลุม ) ถงึ ความคิดเห็น ความรูสึก เจตคตทิ ีเ่ กี่ยวขอ งกบั ปญ หาเหลา นี้ ตลอดจนถงึ วธิ ีแกไ ข แลว ทาํ เปนรายงานเสนอ ผูสอน 2. ใหผเู รียนตัดขาวหนังสอื พมิ พใ นเรอ่ื งดงั กลา ว และเสนอแนวทางแกไขทําเปนรายงานเสนอ ผูสอน 3. สรุปขา วโทรทศั นปญหาทจุ รติ ขาดคณุ ธรรม พรอ มเสนอทางออกในการแกไ ขปญหาน้ัน ๆ สื่อ/แหลงคนควา 1. สาํ นกั งาน ป.ป.ช. ประจาํ จงั หวดั 2. ส่ือ Internet 3. หนังสอื พิมพ 4. โทรทัศน 62

ใบความรู พระราชบญั ญัตจิ ราจรทางบก ไดมกี ารแกไข ปรับเปลย่ี น และยกเลกิ บางขอกําหนดแลว ทงั้ หมด 8 ฉบบั และฉบบั ลาสดุ คอื พระราชบญั ญัตจิ ราจรทางบก ฉบับ 8 พ.ศ. 2551 ไดก าํ หนดอัตรา ความเร็วของยานพาหนะ ดงั รายละเอียดตอ ไปน้ี อตั ราความเร็วของยานพาหนะตามพระราชบญั ญตั จิ ราจรทางบก ฉบับ 8 พ.ศ. 2551 ในกรณีปกตใิ หก ําหนดความเรว็ ของรถดังตอ ไปนี้ 1. สําหรบั รถบรรทกุ ทีม่ ีน้าํ หนกั รถรวมท้ังนา้ํ หนกั บรรทกุ เกิน 1,200 กโิ ลกรัมหรือรถบรรทกุ คนโดยสาร ใหข ับในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมอื งพัทยา หรอื เขตเทศบาลไมเกนิ 60 กิโลเมตรตอ ชวั่ โมง หรือนอกเขตดังกลาวใหขบั ไมเกิน 60 กโิ ลเมตรตอ ชวั่ โมง 2. สําหรบั รถยนตอืน่ นอกจากรถทร่ี ะบุไวใ น 1 ขณะท่ีลากจงู รถพว งรถยนตบ รรทกุ ท่ีมีนํ้าหนกั รถรวมทงั้ น้าํ หนกั บรรทกุ เกิน1,200 กโิ ลกรมั หรือรถยนตส ามลอ ใหขับในเขต กรงุ เทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ไมเ กนิ 45 กโิ ลเมตรตอช่วั โมง หรือ นอกเขตดงั กลาวใหขบั ไมเกิน 60 กโิ ลเมตรตอ ชว่ั โมง 3. สําหรบั รถยนตอ ่ืนนอกจากรถที่ระบุไวใน 1 หรือ 2 หรือรถจักรยานยนต ใหขับในเขต กรงุ เทพมหานคร เขตเมอื งพทั ยา หรือเขตเทศบาล ไมเกนิ 80 กิโลเมตรตอช่วั โมง หรอื นอกเขตดงั กลา วใหข ับไมเ กนิ 90 กิโลเมตรตอชวั่ โมง ในเขตทางท่มี เี ครือ่ งหมายจราจรแสดงวา เปน เขตอนั ตรายหรอื เขตใหข ับรถชา ๆ ใหล ด ความเร็วลงและเพ่มิ ความระมัดระวงั ขน้ึ ตามสมควร ในกรณีท่มี ีเครื่องหมายจราจรกําหนดอตั ราความเรว็ ตาํ่ กวาทกี่ าํ หนดในขา งตน ใหข บั ไมเกนิ อตั ราความเรว็ ทีก่ ําหนดไวน น้ั ขอหาหรอื ฐานความผิดตามกฎหมายท่คี วรทราบ ขอ หา ฐานความผดิ บทมาตรา และอัตราโทษ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 (แกไขเพ่ิมเติม ถึง พ.ศ. 2538) และการเปรียบเทียบปรับผกู ระทําผิดน้ัน ใหเ ปนไปตามขอกาํ หนดของสาํ นักงานตํารวจแหง ชาติ (กรมตํารวจ) ฉบบั ท่ี 3 ลงวันท่ี 9 ก.ค. 40 และเพม่ิ เติมฉบบั ท่ี 4 ลงวนั ท่ี 3 ธ.ค. 2540 ตามลําดบั 63

ลําดบั ขอหาหรอื ฐานความผดิ อัตราโทษ อตั ราตาม ขอกําหนด 1 นํารถทไ่ี มม นั่ คงแข็งแรงอาจเกดิ อนั ตรายหรือ ปรบั ไมเ กิน 500 บาท ปรับ 200 บาท ทําใหเส่อื มเสยี สุขภาพอนามัย มาใชใน ทางเดนิ รถ 2 นาํ รถทไ่ี มต ดิ แผน ปายทะเบยี นมาใชใ น ปรับไมเ กิน 1,000 บาท ปรับ 300 บาท ทางเดนิ รถ 3 นาํ รถทเ่ี ครื่องยนตก อใหเ กดิ กาซ ฝุนควนั ปรบั ไมเ กนิ 1,000 บาท ปรับ 500 บาท ละอองเคมี เกนิ เกณฑท่อี ธบิ ดกี ําหนดมาใชใน ทางเดนิ รถ 4 นํารถทเี่ คร่ืองยนตก อใหเกดิ เสียงเกนิ เกณฑท่ี ปรบั ไมเ กิน 1,000 บาท ปรับ 500 บาท อธบิ ดกี าํ หนดมาใช ในทางเดนิ รถ 5 ขับรถในทางไมเปด ไฟ หรอื ใชแ สงสวา งใน ปรบั ไมเกิน 1,000 บาท ปรับ 200 บาท เวลาที่มีแสงสวางไมเ พยี งพอที่จะมองเห็นคน รถ หรอื สง่ิ กีดขวาง ในทางไดโดยชดั แจง ภายในระยะ 150 เมตร 6 ใชส ัญญาณไฟวับวาบผดิ เงื่อนไขท่ีอธบิ ดี ปรบั ไมเกนิ 500 บาท ปรับ 300 บาท กาํ หนด 7 ขบั รถบรรทกุ ของยนื่ เกนิ ความยาวของตัวรถใน ปรับไมเกนิ 1,000 บาท ปรบั 300 บาท ทางเดิน รถไมติดธงสีแดง ไวต อนปลายสุดให มองเห็นไดภ ายในระยะ 150 เมตร 8 ขับรถบรรทกุ วตั ถุระเบดิ หรือ วตั ถุอันตรายไม จาํ คุกไมเ กนิ 1 เดือน หรือ ปรบั 300 บาท จดั ใหม ีปายแสดงถงึ วตั ถุ ท่ีบรรทุก ปรบั ไมเ กนิ 2,000 บาท หรอื ท้ังจําทงั้ ปรบั 9 ขับรถไมจ ัดใหมีสิ่งปอ งกนั มใิ หคน สตั ว หรอื ปรบั ไมเ กนิ 500 บาท ปรับ 200 บาท สง่ิ ของท่บี รรทกุ ตกหลน รวั่ ไหล สงกลนิ่ สอ ง แสงสะทอน หรอื ปลวิ ไปจาก รถอันอาจกอ เหตุ เดอื ดรอนรําคาญ ทําใหท างสกปรกเปรอะเปอ น ทําใหเสอ่ื มเสยี สุขภาพ อนามัย แกป ระชาชน หรอื กอ ใหเ กิดอันตรายแกบ ุคคลหรอื ทรพั ยส ิน 64

ลําดบั ขอ หาหรอื ฐานความผิด อตั ราโทษ อัตราตาม ขอ กําหนด 10 ขบั รถไมปฏบิ ัติตามสัญญาณจราจร หรือ ปรบั ไมเกิน 1,000 บาท ปรบั 300 บาท เครื่องหมายจราจรทไ่ี ดติดต้ังไวห รอื ทําให ปรบั 300 บาท ปรบั 300 บาท ปรากฏ ในทาง หรอื ทพี่ นกั งานเจาหนาท่แี สดง ใหทราบ 11 ขบั รถฝา ฝน สญั ญาณไฟแดง ปรับไมเ กนิ 1,000 บาท 12 ไมห ยดุ รถหลงั เสน ใหร ถหยดุ เม่ือมีสัญญาณ ปรบั ไมเกิน 1,000 บาท ไฟแดง 65

กรณีศึกษาเร่ืองที่ 2 เรอ่ื ง “ทุจริต” หรอื “คดิ ไมซ อื่ ” วตั ถปุ ระสงค 1. บอกแนวทางในการเสรมิ สรางคณุ ธรรมได 2. ใชค ณุ ธรรมในการปฏบิ ัตติ นเพอ่ื ปอ งกนั การทจุ รติ ได 3. เกดิ จติ สํานกึ ในการปองกนั การทจุ ริต เนอื้ หาสาระ 1. ระเบียบกระทรวงศกึ ษาธิการวาดว ยการปฏบิ ตั ขิ องผเู ขาสอบ พ.ศ. 2548 และ ฉบับท่ี 2 พ.ศ. 2555 2. คณุ ธรรมในการครองตนในการดาํ เนนิ ชวี ติ กรณีศึกษา นางสาวรงุ ฤดี อายุ 22 ป ประกอบอาชพี รับจา งในโรงงาน หาเลี้ยงครอบครัว ฐานะทางบาน ยากจนและไมไดเรียนหนังสือ ดวยความเปนคนมีมานะ และใฝเรียน จึงไดสมัครเรียน กศน. ภาคเรียนนี้เปนภาคเรียนสุดทายที่จะจบมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อเรียนจบ ม.ปลายแลว เธอจะไดรับ เงินเดอื นเพ่มิ ข้ึนและมโี อกาสไดร ับการพิจารณาใหเลอ่ื นเปน หวั หนา งาน ดวยความกลวั วา จะสอบไมผ าน และจะไมสามารถนําวฒุ ิไปปรบั ตาํ แหนงและเงินเดือนใหสงู ขึ้นได นางสาวรงุ ฤดี จงึ ไดทาํ การลักลอบจด สูตรคณิตศาสตร และนําเครื่องคิดเลขเขาไปในหองสอบ แตบังเอิญกรรมการคุมสอบจับได และปรับ ไมผ า นการสอบครัง้ นัน้ ประเด็น 1. ถาทา นเปนนางสาวรุงฤดี และมีความตองการเล่ือนขั้นเงินเดือนและตําแหนง แตก็มีความ วติ กกงั วลวาจะสอบไมผา น ทา นจะปฏิบัตเิ ชนเดียวกับนางสาวรุงฤดหี รอื ไม เพราะเหตใุ ด 2. การตัดสินใจทําการทุจริตของนางสาวรุงฤดี จะกอใหเกิดปญหา และผลกระทบตอการ ทํางานของตนหรือไม อยางไร 3. นางสาวรุงฤดี ควรจะมกี ารใชคณุ ธรรมขอ ใดหรอื ไม ในการนาํ มาแกป ญหาของตนโดยไมท าํ การทุจริต 66

ใบความรู เรื่อง ระเบยี บกระทรวงศึกษาธิการวา ดว ยการปฏิบตั ขิ องผูเขาสอบ พ.ศ. 2548 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555 ใบงาน 1. ใหผ เู รยี นศึกษากรณศี กึ ษา 2. แบงกลุมอภปิ ราย แสดงความคิดเห็น ตามประเดน็ ทกี่ าํ หนดให 3. ใหผูสอนและผเู รยี นรวมกันศกึ ษาหาขอมลู ประกอบการอภิปรายหาเหตผุ ล 4. ใหผ สู อนและผูเรียนสรุปแนวคิดทีไ่ ดจากการอภปิ รายรว มกนั 5. ใหผ เู รยี นรว มทํากจิ กรรมการเรยี นรูตอเนอ่ื ง พรอ มสรปุ รายงานผล กจิ กรรมการเรียนรูตอเนอ่ื ง 1. ใหผูเรียนกําหนดแนวทางการเสริมสรางคุณธรรมใหกับคนในชุมชน สังคม เพื่อปองกัน การทจุ ริต 2. ใหผูเ รยี นรว มกันอภิปรายถงึ ปญหาและผลกระทบของการทจุ ริตตอบคุ คล ชุมชน และสังคม พรอ มสรุปผลการอภปิ ราย และบันทึกลงในสมุด ส่ือ/แหลงคน ควา 1. เอกสารวิชาการ เรอ่ื ง ระเบยี บกระทรวงศกึ ษาธกิ ารวา ดว ย การปฏิบตั ิของผเู ขา สอบ พ.ศ. 2548 และ ฉบับท่ี 2 พ.ศ. 2555 2. สอ่ื Internet 67

ใบความรู ระเบยี บกระทรวงศึกษาธกิ าร วาดวยการปฏบิ ตั ขิ องผเู ขา สอบ พ.ศ. 2548 โดยท่ีเห็นสมควรปรบั ปรุงระเบยี บกระทรวงศกึ ษาธิการวาดวยการปฏิบัตขิ องผูเขา สอบใหเ หมาะสม ย่งิ ขึน้ อาศัยอาํ นาจตามความในมาตรา 12 แหงพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกระทรวงศกึ ษาธกิ าร พ.ศ. 2546 รัฐมนตรวี าการกระทรวงศกึ ษาธิการจงึ วางระเบยี บไวดังตอ ไปนี้ ขอ 1 ระเบียบน้ีเรียกวา “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ วาดวยการปฏิบัติของผูเขาสอบ พ.ศ. 2548” ขอ 2 ระเบียบนใี้ หใ ชบ งั คบั ตัง้ แตว นั ถัดจากวันประกาศเปน ตน ไป ขอ 3 ใหย กเลกิ ระเบยี บกระทรวงศึกษาธิการ วาดวยการปฏิบัติของผูเขาสอบ พ.ศ. 2506 ระเบียบนี้ ใหใชบังคับแกผูเขาสอบ สําหรับการสอบทุกประเภทในสวนราชการและสถานศึกษาสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ และใหหมายความรวมถึงผูเขาสอบในสถานศึกษา ที่อยูในกํากับดูแล หรือ สถานศึกษาที่อยูในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ ยกเวนสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ขอ 4 ผูเขาสอบตอ งปฏบิ ัตดิ ังตอ ไปน้ี 4.1 การแตงกาย ถาเปนนักเรียนหรือนักศึกษาตองแตงเครื่องแบบนักเรียนหรือนักศึกษา แลว แตก รณี ถา เปน ผสู มัครสอบตอ งแตง ใหส ุภาพเรียบรอ ยตามประเพณนี ิยม 4.2 ผเู ขาสอบจะตองถอื เปน หนา ทีท่ ีจ่ ะตอ งตรวจสอบใหทราบวา สถานที่สอบอยู ณ ท่ีใด หองใด 4.3 ไปถงึ สถานที่สอบกอ นเวลาเรมิ่ สอบตามสมควร ผใู ดไปไมทันเวลา ลงมือสอบวิชาใด ไมม ีสิทธเิ ขา สอบวชิ านัน้ แตส ําหรับการสอบวชิ าแรกในตอนเชาของแตละวัน ผูใดเขาหองสอบหลังจาก เวลาลงมือสอบแลว 15 นาที จะไมไดรับอนุญาตใหสอบวิชานั้น เวนแตมีเหตุความจําเปนใหอยูใน ดลุ พนิ จิ ของประธานดําเนนิ การสอบพิจารณาอนุญาต 4.4 ไมเขาหอ งสอบกอนไดร บั อนุญาต 4.5 ไมน าํ เอกสาร เครื่องอเิ ลก็ ทรอนิกส หรอื เคร่ืองส่อื สารใด ๆ เขา ไปในหอ งสอบ 4.6 นงั่ ตามท่กี าํ หนดให จะเปลี่ยนทน่ี งั่ กอ นไดร บั อนุญาตไมได 4.7 ปฏิบตั ติ ามระเบียบเก่ียวกับการสอบ และคําสัง่ ของผกู าํ กบั การสอบ โดยไมท ุจรติ ใน การสอบ 4.8 มใิ หผเู ขา สอบคนอน่ื คัดลอกคําตอบของตน รวมท้งั ไมพูดคุยกับผูใดในเวลาสอบ เมื่อมี ขอสงสยั หรือมเี หตุความจําเปน ใหแจงตอผูกาํ กบั การสอบ 4.9 ประพฤติตนเปนสุภาพชน 68

4.10 ผูใดสอบเสร็จกอน ผูน้ันตองออกไปหางจากหองสอบ และไมกระทําการใด ๆ อันเปนการรบกวนแกผูที่ยังสอบอยู แตทั้งน้ีผูเขาสอบทุกคนจะออกจากหองสอบกอนเวลา 20 นาที หลงั จากเรมิ่ สอบวชิ านน้ั ไมไ ด 4.11 ไมนาํ กระดาษสําหรบั เขยี นคาํ ตอบทีผ่ กู ํากบั การสอบแจกใหออกไปจากหองสอบ ขอ 5 ผเู ขาสอบผใู ดกระทาํ การฝาฝน ระเบยี บขอ 4 หรอื พยายามกระทําการทุจริตในการสอบวิชาใด ใหผูกํากับการสอบวากลาวตักเตือน ถาการกระทําดังกลาวในวรรคแรกเขาลักษณะรายแรง เมื่อได สอบสวนแลว ประธานกรรมการ หรอื ผมู อี าํ นาจหนาท่ีในการจดั การสอบมีอํานาจส่ังไมใหผูน้ันเขาสอบ วชิ านน้ั หรอื สั่งไมตรวจคาํ ตอบวชิ านน้ั ของผนู ัน้ โดยถือวาสอบไมผ า นเฉพาะวิชาก็ได ขอ 6 ผูเขาสอบผูใดกระทําการทุจริตในการสอบวิชาใด เมื่อไดสอบสวนแลวใหประธาน กรรมการหรอื ผมู ีอํานาจหนาท่ใี นการจดั การสอบ สง่ั ไมตรวจคาํ ตอบและถือวาผูน้ัน สอบไมผานวิชานั้น ในการสอบคราวนน้ั ขอ 7 ในกรณีทจุ ริตในการสอบดวยวธิ คี ดั ลอกคําตอบระหวา งผูเ ขาสอบดว ยกัน ใหส นั นษิ ฐานไว กอ นวาผเู ขาสอบนั้นไดส มคบกันกระทําการทุจรติ ขอ 8 ใหป ลดั กระทรวงศกึ ษาธิการรกั ษาการใหเปน ไปตามระเบียบน้ี ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548 (นายจาตรุ นต ฉายแสง) รัฐมนตรีวา การกระทรวงศึกษาธกิ าร 69

ระเบียบกระทรวงศกึ ษาธกิ าร วา ดวยการปฏิบัตขิ องผเู ขาสอบ (ฉบบั ท่ี 2) พ.ศ. 2555 โดยทีเ่ หน็ สมควรแกไขเพ่มิ เติมระเบียบกระทรวงศกึ ษาธกิ ารวาดวยการปฏบิ ัตขิ องผเู ขา สอบ พ.ศ. 2548 ใหมีความเหมาะสมยง่ิ ขึน้ อาศยั อํานาจตามความในมาตรา 12 แหง พระราชบัญญัติระเบียบบรหิ ารราชการกระทรวงศกึ ษาธกิ าร พ.ศ. 2546 รฐั มนตรวี า การกระทรวงศกึ ษาธกิ าร จึงวางระเบียบไว ดังตอ ไปนี้ 1. ระเบียบนี้เรียกวา “ระเบยี บกระทรวงศกึ ษาธกิ ารวา ดวยการปฏิบตั ขิ องผเู ขา สอบ (ฉบบั ที่ 2) พ.ศ. 2555” 2. ระเบยี บนี้ใหใ ชบ งั คับต้งั แตวนั ประกาศเปน ตน ไป 3. ใหยกเลิกความใน 4.10 ของขอ 4 แหง ระเบยี บกระทรวงศกึ ษาธกิ ารวาดว ยการปฏบิ ัตขิ องผเู ขา สอบ พ.ศ. 2548 และใหใชความตอไปน้แี ทน “4.10 ตอ งนั่งอยใู นหองสอบจนหมดเวลาทําขอสอบ” ประกาศ ณ วันที่ 22 มถิ ุนายน พ.ศ. 2555 (ศาสตราจารยส ชุ าติ ธาดาธาํ รงเวช) รฐั มนตรวี า การกระทรวงศึกษาธิการ 70

กรณีศึกษาเร่อื งท่ี 3 เรอ่ื ง “เจาบก๊ิ ...เปนเหตุ” วตั ถุประสงค 1. ระบุปญ หาทเี่ กิดจากการทจุ ริตจากการใชอ ํานาจหนาทีใ่ นทางที่ไมถ ูกตองเกดิ ข้นึ ใน หนวยงานราชการ 2. บอกวธิ ีปอ งกนั การทุจรติ เนือ่ งมาจากการใชอาํ นาจหนา ทใ่ี นทางที่ไมถ กู ตองในหนว ยงาน 3. มีสว นรวมในการปองกนั การทจุ ริตในหนว ยงาน 4. มจี ติ สาํ นึกในการปองกนั การทจุ ริตในหนวยงานราชการ เนือ้ หาสาระ 1. กฎหมายท่เี กีย่ วของกบั การทจุ รติ จากการปฏิบัติหนา ท่ี 2. คณุ ธรรมในการทาํ งานเพ่ือปองกนั หรอื หลกี เลย่ี งการทจุ รติ 3. หนว ยงานทเ่ี กย่ี วขอ งการรบั การรองเรยี นการทจุ ริต กรณศี กึ ษา มีหนวยงานแหงหนงึ่ มหี นา ที่กอ สรางถนน ตอ งมีเครื่องจักรกลหนักไวใชงานจํานวนมาก ตองถูกใชงานอยางสมบุกสมบัน ในที่สุดก็หมดสภาพตามอายุการใชงาน บรรดาเคร่ืองจักรกลหนักมี “เจา บก๊ิ ” รถแทรกเตอรเกา ทถี่ ูกใชง านหนักมาเปนเวลานานหลายป มีปญหาเคร่ืองเสีย ใชงานไมไดตอง จอดน่ิงอยูในโรงเก็บรถ แตหัวหนาพัสดุที่มีหนาท่ีควบคุมดูแลเคร่ืองจักร และจัดซ้ือเบิกจาย คาน้ํามัน เชอื้ เพลิง เกิดความคิดทจ่ี ะใช “เจาบก๊ิ ” เปน แหลงหารายไดโดยส่ังใหเจาหนาที่พัสดุทําการเบิกคาน้ํามัน และคาอะไหลตาง ๆ เพ่ือใชซอมแซมให “เจาบิ๊ก” ทุกเดือน ซ่ึงคนขับรถทุกคนรูเรื่องนี้ดีแตก็ไมกลา คดั คา น และหัวหนา พัสดุไดนํารายไดท ร่ี วบรวมไดจาก “เจาบิ๊ก” มาแจกจายใหลูกนองทุกคนเทา ๆ กัน จนกระท่ัง 3 ปผ านไป มีเจา หนา ท่พี สั ดุมาใหมไ มยอมทาํ ตามหวั หนา พสั ดุ ทีใ่ หเบิกจายคาน้ํามันเช้ือเพลิง คา อะไหลตาง ๆ ให “เจาบิ๊ก” เหมือนเคย โดยไดทําบันทึกตอบโตใหรูถึงสภาพ “เจาบิ๊ก” ท่ีไมสามารถ ทํางานไดแลว ไมมีความจําเปนท่ีจะตองเบิกจายคาใชจายใด ๆ และไดรวบรวมหลักฐานยอนหลัง การเบิกจายตาง ๆ นําไปรอ งเรียนยงั ป.ป.ช. 71

ประเดน็ 1. การกระทาํ ของหัวหนา พัสดุถอื วา เปน การทุจรติ จากการใชอํานาจหนาที่หรือไม เพราะเหตุใด มผี ลเสยี ตอราชการอยางไร 2. การท่ีหัวหนาพสั ดุนาํ รายไดที่ไดจ ากการเบิกคาน้ํามนั ให “เจา บ๊ิก” มาแจกจา ยใหลูกนอง ถือวาเปนผูมีคุณธรรมในการปฏิบัติหนาที่หรือไม ถาทานเปนลูกนองคนหนึ่งจะรับเงิน สวนแบงดังกลาวหรอื ไม เพราะเหตุใด 3. ถาทานเปนเจาหนาท่ีพัสดุมารับรูพฤติกรรมของหัวหนาพัสดุ ทั้งการเบิกจายคาน้ํามันให “เจา บิ๊ก” และการนาํ รายไดมาแบงเฉลี่ยใหลูกนองทุกคน ทานจะน่ิงเสียไมเขาไปเกี่ยวของ หรือทานจะทําเรื่องรองเรียน ป.ป.ช. โดยไมคํานึงถึงความเดือดรอนของเพื่อนรวมงาน เพราะเหตุใด ใบงาน 1. ใหผูเ รียนศกึ ษากรณศี กึ ษา 2. แบงกลุมอภปิ ราย แสดงความคิดเหน็ ตามประเด็นท่ีกาํ หนดให 3. ใหผ ูสอนและผเู รียนรว มกนั ศกึ ษาหาขอมูลประกอบการอภิปรายหาเหตุผล 4. ใหผูสอนและผูเรียนสรุปแนวคิดทไ่ี ดจากการอภิปรายรว มกัน 5. ใหผ เู รียนรวมทํากิจกรรมการเรียนรตู อเนอ่ื ง พรอ มสรปุ รายงานผล กจิ กรรมการเรียนรตู อ เนอื่ ง ใหผูเรียนรวมกันจัดทํากิจกรรม/โครงงาน ในการรณรงคการปองปรามการทุจริตในชุมชน พรอ มจัดทําสรปุ รายงานเสนอผูสอน สือ่ /แหลงคน ควา 1. ผรู ูเรื่องระเบียบงานพสั ดุ 2. หนงั สอื /เอกสารวิชาการ 3. สื่อ Internet 72

กรณีศึกษาเรอื่ งท่ี 4 เรือ่ ง “ฮว้ั ” วัตถปุ ระสงค 1. ตระหนกั ถึงปญ หาการทจุ รติ กรณฮี ว้ั ประมลู 2. บอกไดว า ตนเองสามารถมสี วนรว มในการปอ งกนั การทจุ ริตการฮั้วประมลู 3. แสดงความเหน็ หรอื เสนอวธิ ีการการมีสว นรวมในการปอ งกัน หรอื ปฏบิ ตั เิ พอื่ ปอ งกนั การทจุ รติ ที่เกดิ ขึ้นได เนอ้ื หาสาระ 1. ชองทางการสง เรอื่ งรอ งเรยี นการทจุ ริต 2. การมสี ว นรว มของประชาชน กรณีศกึ ษา ก ร ณี อ ง ค ก า ร บ ริ ห า ร ส ว น ตํ า บ ลแ ห ง ห นึ่ ง ไ ด ดํ า เ นิ น ก า ร สอ บ ร า ค า ก า ร จั ด จ า ง ทํ า อาหารกลางวนั ใหก บั ศูนยเด็กเล็ก โดยการสอบราคาครงั้ นี้อยูใ นวงเงนิ 500,000 บาท ปรากฏวามีผูเขาซ้ือ ซองสอบราคา และเขา ย่ืนซองสอบราคา ท้ัง 5 ราย แตท้ัง 5 รายนั้นมีการสมยอมราคา (ฮ้ัว) กันมากอน แลว วา ใน 5 ราย จะตอ งยื่นซองรายการตางกันในวงเงนิ ไมเ กินรายละ 5,000บาท ผูทีไ่ ดร บั การคดั เลือกให เปนคูส ัญญาจะจายใหอีก 4 ราย ๆ ละ 5,000บาท ทันทีหลังจากเสร็จสิ้นการจัดจางกรณีดังกลาว ผูชนะ การสอบราคา คือ นางสมศรี ประเด็น 1. พฤติกรรมของนางสมศรี และผูย ื่นเสนอราคาอีก 4 ราย ถอื วา เปน การกระทําผิดกฎหมาย การสอบราคา (ฮั้ว) หรือไม เพราะเหตใุ ด 2. ถาทานเปนเจา หนา ท่ีดําเนนิ การสอบราคาครง้ั นี้ ทา นจะปฏบิ ตั อิ ยางไร ทา นจะยกเลกิ การสอบราคา หรอื ยอมรบั การสอบราคา เพราะเหตใุ ด อาศยั ระเบยี บกฎหมายเร่อื งใด 3. การสอบราคา (ฮวั้ ) ทาํ ใหร าชการเสยี หายหรือไมอยางไร ในฐานะประชาชนทา นจะมีแนวคดิ แนวทางอยางไรในการมสี ว นรว มแกไขปญหาและสาเหตกุ ารสอบราคา (ฮัว้ ) ของทางราชการ ใบงาน 1. ใหผ ูเรยี นศกึ ษากรณีศกึ ษา 2. แบง กลุม ผูเรียนรวมกนั อภปิ รายตามประเดน็ ที่กาํ หนด 3. ใหผ เู รียนสรุปผลการอภิปราย และจัดทําเปนรายงานนาํ เสนอ 73

กิจกรรมการเรียนรตู อ เนอ่ื ง 1. ใหผเู รียนสืบคน ขอมลู ที่เก่ียวขอ งกับการประทําความผิดตามกฎหมายทจุ ริตคอรร ปั ชั่น และ นาํ เสนอรายงาน 2. ใหผ ูเรียนนําเสนอแนวทางการปอ งกนั การทุจรติ ในกรณกี ารฮ้ัวประมลู พรอ มจัดทํารายงาน เสนอผูส อน ส่อื /แหลง คน ควา - หนังสอื , หนงั สือพมิ พ - สอ่ื Internet - บทความ 74

กรณีศกึ ษา เรื่องที่ 5 เรอื่ ง “อาํ นาจ...ผลประโยชน” วัตถปุ ระสงค 1. ตระหนกั รถู งึ ปญหาการทจุ รติ คอรร ัปชัน่ ในองคก รปกครองสว นทอ งถนิ่ 2. บอกไดวาระดบั บุคคลและสังคม สามารถมสี ว นรว มในการปองกันปญ หาการทุจรติ คอรรปั ชน่ั ได 3. บอกวธิ กี ารปอ งกนั และหลักเลย่ี งการทจุ รติ คอรร ัปช่นั ในหนว ยงานราชการ 4. เกิดจิตสาํ นกั ในการปองกันปญ หาทจุ รติ คอรรปั ช่นั เน้ือหา 1. กฎหมายทเี่ กย่ี วของกบั การปฏิบัติหนาที่ 2. หนวยงานรับแจง เหตุการณทจุ รติ คอรร ัปชนั่ กรณศี กึ ษา นายกองคการบริหารสวนจังหวัด (อบจ.) มีหนาที่รับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบจ. ไดเสนอญัตติใชเงินสะสมในการจัดทําโครงการจัดหามุงไวใชปองกันโรคไขเลือดออกในเขตอําเภอ ทีม่ กี ารแพรระบาดของโรคไขเ ลอื ดออก จาํ นวน 9,250 หลัง วงเงิน 1,850,000 บาท ตอ สภา อบจ. และ เมื่อไดรับการอนุมัตินายก อบจ.ไดรวมมือกับนาย ก ซ่ึงเปนเจาหนาท่ี อบจ. ดําเนินการจัดซ้ือมุง ขนาด 2  2 เมตร ซึ่งเปน ขนาดทีไ่ มม จี ําหนวยในทองตลาดทว่ั ไป โดยนาย ก ไดไปติดตอรานคาใหผลิต มงุ ขนาดทต่ี องการ ตามจํานวนดังกลาว ในราคาหลังละ 88.50 บาท เปนเงิน 818,625 บาท หลังจากนั้น นาย ก ไดดําเนินการจดทะเบียนรานคาใหมเพื่อผลิตมุงดังกลาวไปใชย่ืนซองสอบราคาตอ อบจ. และ ไดรับการพิจารณาใหเปนคูสัญญากับ อบจ. ในวงเงิน 1,832,500 บาท จากเหตุการณน้ีเปนเหตุให ทางราชการไดรับความเสียหายจากการซื้อมงุ ในราคาสูงกวาความเปนจริง หลังหักภาษีแลว เปนจํานวน 994,560 บาท 75

ประเดน็ 1. การปฏบิ ัตหิ นา ท่ีของนายก อบจ. ถกู ตอ งหรอื ไม อยา งไร 2. ทานคิดวา พฤตกิ รรมของนายก อบจ. ขดั ตอ หลกั คณุ ธรรม จริยธรรม หรือไม อยา งไร 3. วธิ ีการในการปองกนั การทจุ รติ คอรร ปั ช่ันในการปฏบิ ัตหิ นา ทข่ี องผูมีอํานาจ ทําไดห รือไม อยา งไร 4. ในฐานะประชาชนจะมีสว นรว มในการปองกนั ปญ หาทุจรติ ในสวนราชการไดห รอื ไม อยา งไร ใบงาน 1. ใหผ ูเรยี นศึกษากรณีศึกษา 2. แบง กลุมอภิปราย แสดงความคดิ เหน็ ตามประเดน็ ท่ีกําหนดให 3. ใหผ ูสอนและผูเ รยี นรว มกันศึกษาหาขอ มูลประกอบการอภปิ รายหาเหตุผล 4. ใหผ เู รยี นสรุปแนวคดิ ท่ไี ดจ ากการอภิปรายรว มกัน พรอมสรปุ รายงานผล 5. ใหผ ูเรยี นรว มทํากิจกรรมการเรยี นรูตอเนอื่ ง ตามท่กี าํ หนด กิจกรรมการเรยี นรูตอเนอื่ ง ใหผ เู รียนจดั ทํากจิ กรรม/โครงการนําเสนอแนวทางการปอ งกันการทุจรติ ในสว นราชการ พรอมจัดทาํ รายงานเสนอผสู อน สอ่ื /แหลง คน ควา 1. สํานกั งาน ป.ป.ช. จังหวดั 2. เอกสารวชิ าการ 3. สือ่ Internet 76

กรณศี กึ ษาเรื่องท่ี 6 เร่อื ง “เลือกตั้ง...อปั ยศ” วตั ถปุ ระสงค 1. ตระหนกั ถงึ ปญหาการทจุ รติ การเลอื กตั้งระดับทองถิน่ 2. บอกหรอื อธิบายไดวาตนเองสามารถปองกันปญ หาการทุจรติ การเลอื กตงั้ ที่เกดิ ขึน้ ในสังคม 3. แสดงความเหน็ หรือเสนอวิธกี ารการมีสว นรวมในการปองกนั หรอื ปฏิบตั เิ พอ่ื ปอ งกัน การทุจรติ ทีเ่ กดิ ข้นึ ได เนอ้ื หาสาระ 1. พระราชบัญญัติประกอบรฐั ธรรมนญู วาดว ยการปอ งกนั และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 19 (13) 2. สาระสําคญั ของกฎหมายประกอบรฐั ธรรมนญู วา ดว ยการปอ งกนั และปราบปรามการทุจรติ ฉบับใหม กรณีศึกษา กรณกี ารเลอื กตั้งนายกและสมาชกิ องคก ารบริหารสว นตาํ บล (อบต.) แหง หนึ่งมีผูไปแจง ความรองเรียนกับคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัด (กกต.) พรอมเงิน 300 บาท วามีคนสงเงินนี้มาให พรอ มเอกสารไมล งนาม โดยขอใหไ ปลงคะแนนเลือกตง้ั แกผูสมัครรายหนึ่ง (กาํ หนดหมายเลขผสู มคั รให ดวย) แตตนเองไมขอรับเงิน และเห็นวาไมถูกตองและอาจมีการแจกเงินผูมีสิทธิ์เลือกตั้งรายอ่ืน ๆ ดว ยแลว จึงมาแจงรองเรียนตอ กกต.จังหวัด กกต.จังหวัด จึงนําผูมีสิทธิ์เลือกตั้งรายน้ันไปแจงความกับ ตํารวจพรอมหลกั ฐาน จากการสอบสวนเจาหนาทตี่ าํ รวจแจงวา ไมสามารถหาพยานบุคคลมายืนยันไดวา ผูสมัครรายนั้นแจกเงินดังกลาวจริง จึงยังไมสามารถเอาผิดกับทั้งผูสมัครรับเลือกตั้งที่ถูกรองเรียนวา แจกเงิน และผมู สี ิทธ์ิเลือกตัง้ รายอ่ืน ๆ ทอี่ าจรับเงิน มาลงโทษตามกฎหมายได แตผ ูมสี ิทธิเ์ ลือกต้ังรายน้ัน ยังยนื ยนั วา มผี กู ระทําผดิ เพราะมกี ารแจกเงินจริงมหี ลักฐานชดั เจน กกต. และตาํ รวจควรจะตอ งหาคนผิด มาลงโทษใหไ ด 77

ประเดน็ 1. ในกรณีศกึ ษาทา นคดิ วา มกี าระทําผิดกฎหมายเลอื กตง้ั สามารถนาํ ตวั คนกระทาํ ผิดมาลงโทษได หรอื ไม เพราะเหตุใด 2. ถาจะไมใ หเ กิดกรณกี ารทาํ ผิดกฎหมายเลือกตง้ั ในลกั ษณะนี้ ทา นคดิ วา ประชาชนควรจะมี สวนรวมปอ งกนั ปญ หาในชมุ ชนของทา นหรอื ไม อยา งไร 3. มีผูแสดงความเหน็ วา ท้งั ผใู หแ ละผรู บั เงิน ควรจะตองละอายใจ และสาํ นึกวาไดท าํ บาปท่ี เปนสิง่ ผดิ ตอตนเอง ตอชุมชน และประเทศ ทา นเห็นดว ยหรือไม เพราะเหตใุ ด มคี ุณธรรมใดบา งทีเ่ กย่ี วขอ งกับปญ หานี้ ควรนาํ มาอภิปรายรว มกนั บา ง ใบงาน 1. ใหผูเรียนศกึ ษาจากกรณศี กึ ษา และนําผลจากการศกึ ษากรณีศึกษาพรอ มวเิ คราะห และ นาํ เสนอเปน รายกลุม ๆ ละ 1 เร่ือง 2. ใหผ ูเรยี นรว มกนั คดิ วิเคราะห และนําเสนอแนวทางปอ งกนั การทจุ รติ จากเหตุการณดงั กลาว กิจกรรมการเรยี นรูอยา งตอ เนอื่ ง ใหผ เู รียนสรปุ ขา วเก่ียวกับการทจุ ริตการเลอื กต้งั และบันทกึ ลงในสมุดการเรยี นรู สื่อ/แหลง คนควา - หนงั สอื พิมพ - ส่ือ Internet - โทรทัศน - สํานกั งาน ป.ป.ช. 78

บทท่ี 1 กจิ กรรมที่ 1 แนวเฉลยท้ายบท 5. ค. 1. ง. 10. ง. 6. ก. 2. ค. 3. ก. 4. ข. กิจกรรมที่ 2 7. ข. 8. ข. 9. ข. 5. ข. เปน กิจกรรมอภปิ รายไมมีเฉลย 10. ก. บทที่ 2 กจิ กรรมที่ 1 1. ง. 2. ข. 3. ค. 4. ง. 5. ก. 6. ง. 7. ก. 8. ง. 9. ข. 10. ค. กจิ กรรมท่ี 2 เปนกจิ กรรมศกึ ษาคนควาไมมเี ฉลย บทที่ 3 กจิ กรรมท่ี 1 2. ก. 3. ค. 4. ง. 1. ข. 7. ง. 8. ง. 9. ข. 6. ก. เปนกิจกรรมศกึ ษาคนควาไมม ีเฉลย กจิ กรรมท่ี 2 79

บรรณานุกรม กรมการศกึ ษานอกโรงเรียน. หมวดวิชาพฒั นาสงั คมและชมุ ชน ชดุ การเรยี นทางไกล ระดบั ประถมศกึ ษา กรงุ เทพฯ : โรงพิมพค ุรสุ ภาลาดพราว, 2546 การศึกษานอกโรงเรียน,กรม ชดุ การเตรยี มการทางไกล ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน หมวดวชิ าพฒั นา สงั คมและชมุ ชน. ครุ สุ ภาลาดพรา ว,กรงุ เทพฯ : 2546. การศกึ ษาทางไกล, สถาบนั , ชดุ การเรยี นทางไกล หมวดวชิ าพัฒนาสงั คมและชุมชน ระดับมธั ยมศกึ ษา ตอนปลาย องคก ารรบั สง สินคาและพัสดุภณั ฑ (ร.ส.พ.) : กรุงเทพฯ,2548. คณะอาจารย กศน. พฒั นาสงั คมและชมุ ชน. คมู อื การเรยี นรูระดบั ประถมศกึ ษา. กรุงเทพฯ : บริษัท ไผมิเดยี เซ็นเตอร จาํ กัด, 2548 ความเคลือ่ นไหวทางการจดั การศกึ ษาของศธ.กับ คสช. ท่ีนาร.ู [เว็ปไซต] เขา ถึงไดจาก http://jukravuth.blogspot.com/ . สบื คนเมอ่ื วันที่ 26 สิงหาคม 2557. คานยิ ม 12 ขอ : เราจะสรา งสรรคป ระเทศไทยใหเ ขมแขง็ คนตองเขมแข็งกอน . [เวป็ ไซต] เขาถงึ ได จากhttp://www.mof.or.th/web/uploads/news/199_12values.pdf . สบื คน เม่อื วนั ท่ี 26 สงิ หาคม 2557. จกั ราวธุ คาทว.ี สันต/ิ สามคั ค/ี ปรองดอง/คา นิยม 12 ประการ ของ คสช. : เน้ือหาชวยสอน และจัดกจิ กรรม เพอ่ื นคร,ู 2557. (เอกสารอดั สาเนา). ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ,สํานกั งาน,ชดุ วิชาพฒั นาสงั คมและชมุ ชน ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย, เอกพิมพไท จาํ กดั : กรงุ เทพฯ, มฝผ. เผด็จ เอมวงศ และจฑุ ามาศ ลบแยม, กฎหมายในชวี ติ ประจาํ วนั : ตนเอง ครอบครัวชุมชน และ ประเทศชาต.ิ กรงุ เทพ : สาํ นกั พิมพ เอมพนั ธ จํากดั , 2551. มหามกุฎราชวทิ ยาลัยในพระบรมราชปู ถมั ภ, พระสตู รและอรรถกถา แปล อทุ กนยิ าม ชาดก เลมที่ 3 ภาคท่ี 1 โรงพิมพมหามกฎุ ราชวทิ ยาลัย.กรงุ เทพฯ : 2534. ราชบณั ฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลมิ พระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจา อยูหัวเนือ่ งในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลมิ พระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. เลขาธิการสภาการศกึ ษา, สาํ นกั งาน. คุณธรรมนําความรู, สาํ นกั งานเลขาธกิ ารสภาการศกึ ษา, กรงุ เทพฯ : 2550. ศึกษาธกิ าร,กระทรวง. หลกั การทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจา อยหู ัว, สํานกั งานคณะกรรมการพิเศษ เพ่อื ประสานงานโครงการอันเน่อื งมาจากพระราชดําริ (สาํ นักงาน กปร.) กรงุ เทพฯ : 2550. สมโพธิ ผลเต็ม. ปรชั ญาคาํ กลอน 100 เร่ืองแรก, สิทธวิ รรณ , บริษทั . กรงุ เทพฯ : 2549. 80

สันต/ิ สามัคค/ี ปรองดอง/คานยิ ม 12 ประการ ของ คสช. : เน้ือหาชวยสอน และจดั กิจกรรม เพอ่ื นคร.ู [เว็ปไซต]. เขา ถงึ ไดจาก :http://www.slideshare.net/jukravuth. สบื คน เมือ่ วนั ที่ 26 สงิ หาคม 2557 สทุ ธิธรรม เลขววิ ฒั น หมวดวชิ าพฒั นาสงั คมและชุมชน ระดับประถมศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน กรงุ เทพฯ : บรษิ ัท สามเจรญิ พาณิชย จํากดั , 2548 สํานักงานคณะกรรมการปอ งกนั และปราบปรามการทจุ ริตแหง ชาติ(ป.ป.ช.). รวมพลังเดนิ หนา ฝา วกิ ฤต คอรรัปชน่ั , เอกสารประชาสัมพนั ธ มปป. _______. โครงการเสริมสรา งเครือขา ยประชาชนในการพทิ กั ษสาธารณสมบตั ิ, 2553. (เอกสาร อัดสาํ เนา) สาํ นกั กฎหมาย สาํ นกั งานคณะกรรมการปอ งกนั และปราบปรามการทจุ รติ แหงชาต(ิ ป.ป.ช.). รวม กฎหมาย ระเบยี บ ประกาศ ทเ่ี กย่ี วขอ งกบั การปองกันและปราบปรามการทจุ รติ , 2555. _______. “ยุทธศาสตรช าติวา ดว ยการปอ งกันและปราบปรามการทจุ ริต”. สาํ นักงานคณะกรรมการ ปองกนั และปราบปรามการทุจริตแหงชาติ _______. กรอบเน้อื หาสาระ เรอื่ ง การมสี ว นรวมของประชาชนในการปอ งกันและปราบปรามการทจุ ริต, 2556. เอกสารอดั สาํ เนา การทจุ รติ คืออะไร, เขาถึง www.oknation.net วันที่ 19 มีนาคม 2556. http://th.wikipedia.org/wiki http://www.tumsrivichai.com 81

คณะผูจ ัดทาํ ที่ปรกึ ษา 1. นายประเสริฐ บุญเรอื ง เลขาธกิ าร กศน. รองเลขาธิการ กศน. 2. ดร.ชัยยศ อมิ่ สวุ รรณ รองเลขาธิการ กศน. ที่ปรกึ ษาดา นการพัฒนาหลักสูตร กศน. 3. นายวชั รนิ ทร จําป ผูอาํ นวยการกลมุ พัฒนาการศกึ ษานอกโรงเรยี น 4. ดร.ทองอยู แกว ไทรฮะ ขา ราชการบาํ นาญ สถาบนั การศกึ ษาทางไกล 5. นางรกั ขณา ตณั ฑวุฑโฒ กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรยี น ผเู ขียนและเรยี บเรียง ขาราชการบํานาญ สถาบนั กศน.ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ 1. นางธญั ญาวดี เหลาพานชิ สถาบนั กศน.ภาคตะวันออก สถาบนั กศน.ภาคตะวนั ออก 2. นางสาววาสนา โกสียวฒั นา สถาบัน กศน.ภาคใต สถาบันการศกึ ษาทางไกล 3. นางพรทิพย เข็มทอง สถาบัน กศน.ภาคเหนอื สถาบนั กศน.ภาคเหนือ ผูบรรณาธกิ าร และพฒั นาปรับปรงุ สถาบนั กศน.ภาคเหนือ กลุมพัฒนาการศกึ ษานอกโรงเรียน 1. นางธญั ญาวดี เหลาพานชิ ขาราชการบํานาญ ขา ราชการบํานาญ 2. นางนลนิ ี ศรสี ารคาม จนั ทรตรี ขาราชการบํานาญ 3. นายเรืองเวช แสงรัตนา กลุม พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรียน กลมุ พฒั นาการศึกษานอกโรงเรียน 4. นางสาวสรุ ัตนา บรู ณะวทิ ย กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน 5. นางมยุรี สวุ รรณเจรญิ กลุมพฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรียน 6. นางสาววาสนา โกสียวัฒนา 7. นางสดุ ใจ บตุ รอากาศ 8. นายนิพนธ จนั ตา 9. นางอุบลรัตน มโี ชค 10. นางพรทิพย เข็มทอง 11. นางสาวสุรีพร เจริญนชิ 12. นางเอือ้ จติ ร สมจิตตชอบ 13. นางสาวชนิตา จิตตธรรม คณะทํางาน 1. นายสรุ พงษ ม่ันมะโน 2. นายศภุ โชค ศรรี ตั นศลิ ป 3. นางสาววรรณพร ปทมานนท 4. นางสาวศรญิ ญา กุลประดษิ ฐ 5. นางสาวเพชรนิ ทร เหลืองจิตวัฒนา 82

ผูพมิ พตนฉบบั นางสาวเพชรินทร เหลืองจิตวฒั นา กลมุ พัฒนาการศกึ ษานอกโรงเรียน กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น ผูอ อกแบบปก นายศภุ โชค ศรีรตั นศลิ ป 83

คณะกรรมการจัดทํา เนื้อหา เพ่มิ เตมิ เร่อื ง “การมีสว นรวมในการปอ งกนั และปราบปรามการทุจริต” ประธานและรองประธานคณะกรรมการ 1. นายประเสรฐิ บุญเรอื ง เลขาธกิ าร กศน. 2. ดร.ชยั ยศ อม่ิ สุวรรณ รองเลขาธิการ กศน. 3. นายชาญวทิ ย ทับสพุ รรณ รองเลขาธกิ าร กศน. คณะกรรมการที่ปรึกษา 1. ดร.ทองอยู แกวไทรฮะ ขา ราชการบํานาญ 2. นายบญุ สม นาวานะเคราะห ขาราชการบํานาญ 3. นายกุลธร เลศิ สรุ ยิ ะกุล ผเู ชยี่ วชาญเฉพาะดา นพฒั นาหลกั สตู ร 4. นางศุทธนิ ี งามเขตต ผูอํานวยการกลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น 5. นายมนตชยั วสวุ ัต ผอู าํ นวยการสาํ นกั งานปองกนั การทจุ รติ ภาคประชาสังคมและการพัฒนาเครอื ขา ย 6. นางสุปรยี า บญุ สนิท เจาพนักงานปองกันการทจุ ริต สํานกั งาน ป.ป.ช. 7. นายประทปี คงสนทิ นักกฎหมาย สาํ นกั งาน ป.ป.ช. คณะกรรมการผเู ขยี นและเรยี บเรียง 1. นางพรทพิ ย เขม็ ทอง ขาราชการบาํ นาญ ศึกษานเิ ทศก สาํ นกั งาน กศน. 2. นางสุดใจ บุตรอากาศ ผูอาํ นวยการ กศน.อําเภอวชริ บารมี จ.พจิ ติ ร กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น 3. นางเบญจมาศ สระทองหยอม 4. นางสาวชาลินี ธรรมธิษา คณะกรรมการผูบรรณาธิการ 1. ดร.ทองอยู แกว ไทรฮะ ขาราชการบํานาญ 2. นายมนตช ัย วสวุ ตั ผูอํานวยการสํานกั งานปองกนั การทุจรติ ภาคประชาสังคมและการพฒั นาเครือขาย 3. นางสปุ รียา บุญสนทิ เจา พนกั งานปองกนั การทุจริต สาํ นักงาน ป.ป.ช. 4. นายประทปี คงสนทิ นักกฎหมาย สาํ นกั งาน ป.ป.ช. 5. นางพรทิพย เขม็ ทอง ขา ราชการบาํ นาญ 6. นางสดุ ใจ บุตรอากาศ ศึกษานเิ ทศก สํานกั งาน กศน. 7. นางเบญจมาศ สระทองหยอ ม ผอู ํานวยการ กศน.อาํ เภอวชริ บารมี 8. นางสาวชาลนิ ี ธรรมธิษา กลุม พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น 84

คณะผูจ ดั ทํา เนื้อหา เพมิ่ เติม เร่อื ง “คณุ ธรรมและคา นยิ มพนื้ ฐานในการอยรู ว มกนั อยา งปรองดองสมานฉนั ท” ท่ปี รกึ ษา สกลุ ประดิษฐ เลขาธิการ กศน. ทับสุพรรณ รองเลขาธิการ กศน. 1. นายการณุ จําจด รองเลขาธิการ กศน. 2. นายชาญวทิ ย งามเขตต ผอู าํ นวยการกลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น 3. นายสุรพงษ 7. นางศุทธินี ผูเขยี น เรยี บเรียง จากการประชุม ครัง้ ท่ี 1 1. นายทองอยู แกวไทรฮะ ขา ราชการบํานาญ ขา ราชการบํานาญ 2. นางวันเพ็ญ สุทธากาศ ขา ราชการบํานาญ ขาราชการบํานาญ 3. นายวฒั นา อคั คพานิช โรงเรยี นสตรวี ทิ ยา 2 ในพระอุปถมั ภ สมเดจ็ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี 4. นางบปุ ผา ประกฤตกิ ลุ สถาบัน กศน.ภาคใต กศน.อาํ เภอคลองหลวง จ.ปทมุ ธานี 5. นายไตรรตั น เอีย่ มพันธ 6. นางสาวณฐั ภัสสร แดงมณี 7. นางวิภานันท สิริวัฒนไกรกุล ผูเขยี น เรียบเรยี ง และ บรรณาธกิ าร จากการประชุมคร้งั ท่ี 2 1. นางวนั เพ็ญ สทุ ธากาศ ขา ราชการบํานาญ 2. นางสุคนธ สินธพานนท ขาราชการบาํ นาญ 3. นางสาววธั นียว รรณ อรุ าสขุ ขาราชการบาํ นาญ 4. นางพวิ ัสสา นภารตั น โรงเรียนบดนิ ทรเดชา (สงิ ห สิงหเสนี) 5. นายวรวฒุ ิ จรยิ ภคั รตกิ ร กศน.อาํ เภอบางแกว จ.พทั ลงุ คณะทํางาน กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรียน 1. นายสรุ พงษ มน่ั มะโน กลมุ พัฒนาการศกึ ษานอกโรงเรียน 2. นายศภุ โชค ศรรี ัตนศิลป กลุม พัฒนาการศกึ ษานอกโรงเรียน 3. นางสาวสุลาง เพช็ รสวาง กลมุ พัฒนาการศึกษานอกโรงเรยี น 4. นางสาวเบ็ญจวรรณ อาํ ไพศรี กลุม พฒั นาการศึกษานอกโรงเรยี น 5. นางสาวชมพนู ท สังขพิชัย กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรยี น 6. นางจฑุ ากมล อนิ ทระสันต กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรียน 7. นางสาวทพิ วรรณ วงศเรือน 85

คณะผปู รบั ปรุงขอมลู เก่ยี วกบั สถาบนั พระมหากษตั รยิ  ป พ.ศ. 2560 ทปี่ รึกษา เลขาธิการ กศน. 1. นายสุรพงษ จาํ จด ผตู รวจราชการกระทรวงศกึ ษาธิการ 2. นายประเสรฐิ หอมดี ปฏบิ ตั ิหนา ทรี่ องเลขาธิการ กศน. ผูอํานวยการกลมุ พฒั นาการศึกษานอกระบบ 3. นางตรีนชุ สขุ สุเดช และการศกึ ษาตามอัธยาศัย ผปู รบั ปรงุ ขอ มูล กศน.เขตมนี บรุ ี กรุงเทพมหานคร นางเพญ็ ลดา ช่ืนโกมล คณะทาํ งาน 1. นายสุรพงษ ม่นั มะโน กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัย 2. นายศุภโชค ศรีรตั นศลิ ป กลมุ พฒั นาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั 3. นางสาวเบญ็ จวรรณ อาํ ไพศรี กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั 4. นางสาวเยาวรัตน ปนมณีวงศ กลุมพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัย 5. นางสาวสลุ าง เพ็ชรสวา ง กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศยั 6. นางสาวทิพวรรณ วงคเ รอื น กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 7. นางสาวนภาพร อมรเดชาวฒั น กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัย 8. นางสาวชมพนู ท สังขพิชยั กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 86