วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันท่ี 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง \"ปัญหา การใช้คำไทย\" ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิท่ี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มาและความสำคัญ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จ พระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง \"ปัญหาการใช้คำไทย\" ร่วมกับ ผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ทรงแสดงความห่วงใยในภาษาไทย ทำให้ผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นประทับใจ พระ ราชดำรัสตอนหนึ่งว่า \"เรามีโชคดีท่ีมีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างย่ิงที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหน่ึงต้องรักษาให้บริสุทธิ์ใน ทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความ ร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มา ใช้...สำหรับคำใหม่ท่ีต้ังข้ึนมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่าย ๆ ก็ควร จะมี ควรจะใช้คำเก่า ๆ ท่ีเรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก\" รัฐบาลได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันสำคัญต้ังแต่ พ.ศ. 2542 กศน.อำเภอแสวงหา สำนักงาน กศน.จังหวดั อา่ งทอง
วัตถุประสงค์ คณะรัฐมนตรีได้มีติเม่ือวันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เห็นชอบให้วันท่ี 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์ ดังน้ี 1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และ นักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่ีได้ทรงแสดงความห่วงใย และ พระราชทานแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย 2. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542 3. เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยท้ังชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของ ภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซ่ึงเป็นเอกลักษณ์และ เป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป 4. เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ท้ังในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยก มาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้สัมฤทธิผลยิ่งข้ึน 5. เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัด กิจกรรมท่ีหลากหลาย เพ่ือเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่าง ๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะท่ีเป็น ภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการส่ือสารของทุกคนในชาติ กศน.อำเภอแสวงหา สำนักงาน กศน.จังหวดั อ่างทอง
ประโยชน์ของวันภาษาไทยแห่งชาติ คาดว่าจะมผี ลดสี ืบเน่ืองหลายประการ คอื 1. การมี “วันภาษาไทยแห่งชาต”ิ จะทำใหห้ น่วยงานตา่ งๆ ทั้งภาครฐั บาลและเอกชน โดยเฉพาะอยา่ งย่ิง หนว่ ยงานในกระทรวงศกึ ษาธกิ าร และทบวงมหาวิทยาลยั ตระหนกั ในความสำคญั ของภาษาไทย และ ร่วมกนั จดั กิจกรรมเพ่อื กระตนุ้ เตอื น เผยแพร่ และเน้นยำ้ ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ “ภาษา ประจำชาติ” ของคนไทยทกุ คน และรว่ มมอื กนั อนรุ กั ษ์การใชภ้ าษาไทยใหม้ คี วามถกู ตอ้ งงดงามอยู่ เสมอ 2. บุคคลในวงวชิ าชีพต่างๆ ท่ีเก่ียวขอ้ งกบั การใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษา และวงการสื่อสาร ชว่ ยกันกวดขนั ดูแลใหก้ ารใชภ้ าษาไทยเปน็ ไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม มิให้ผนั แปรเปลี่ยนแปลง จนเกิด ความเสยี หายแกค่ ุณลักษณะของภาษาไทยอนั เป็นเอกลกั ษณ์ของชาติ 3. ผลสืบเนอ่ื งในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตนื่ ตวั และสนใจทจี่ ะรว่ มกนั ฟน้ื ฟู ทำนุ บำรุง สง่ เสรมิ และอนรุ ักษภ์ าษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวฒั นธรรมทสี่ ำคัญของชาตใิ ห้ดำรง คงอยู่คชู่ าตไิ ทยตลอดไป กจิ กรรมในวนั ภาษาไทยแหง่ ชาติ เชิญชวนใหส้ ถาบนั การศกึ ษา หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน จดั กิจกรรมเนื่องใน “วันภาษาไทยแหง่ ชาต”ิ ใน วันภาษาไทยแห่งชาติ โดยจัด ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทกุ ปี โดยมีกจิ กรรมต่าง ๆ เชน่ การจดั นิทรรศการ, การอภิปรายทางวิชาการ, การประกวดแตง่ คำประพนั ธ์ รอ้ ยแก้ว ร้อยกรอง การขับเสภา การเลา่ นทิ าน ฯลฯ กศน.อำเภอแสวงหา สำนกั งาน กศน.จงั หวดั อา่ งทอง
กำเนดิ ภาษาไทย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ โดยทรงดัดแปลงมาจากอักษรขอม หวัดและอักษรไทยเดิม ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมอญและคิดอักษรไทยขึ้นใหม่ให้มีสระ และวรรณยุกต์ให้พอใช้กับ ภาษาไทย มี พยญั ชนะ 44 ตวั (21 เสยี ง), สระ 21 รูป (32 เสยี ง), วรรณยุกต์ 5 เสยี ง คอื เสียง สามญั เอก โท ตรี จัตวา ภาษาไทยดัดเเปลงมาจากบาลี เเละ สันสกฤต และทรงเรียกอักษรดังกล่าว ลายสือไทย ดังมีกล่าวในศิลาจารึกพ่อขุน รามคำแหงตอนหนึ่งวา่ “เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยน้ี ลายสือไทยนี้จึงมี พอ่ ขุนรามคำแหงผู้น้นั ใส่ไว…้ ” (ปี ๑๒๐๕ เปน็ มหาศักราชตรงกบั พทุ ธศักราช ๑๘๒๖) ภาษาเขียนของคนไทยเกิดขึ้นหลังจากที่คนไทยสร้างเมืองของตนเองขึ้นแล้ว คือ สุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๖ พ่อขุน รามคำแหง กษัตริย์องค์ที่ ๓ ของเมืองสุโขทัย ทรงจารึกเรื่องตัวหนังสือไทยไว้ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ตอนหนึ่งว่า เมื่อประมาณ ๗๐๐ ปี ที่แล้วมา เมืองสุโขทัยของคนไทยนับว่าเป็นเมืองใหม่ในย่านเอเชยี ตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนหน้านั้นชน ชาติอื่นๆ รอบด้าน มีการรวมตัวกันเป็นเมืองอยู่ก่อนแลว้ และที่เป็นเมืองแล้วต่างก็มีภาษาเขยี นเป็นของตนเองทั้งสิ้น เมือง เขมร เมืองมอญ เมอื งพม่า ล้วนมภี าษาเขยี นของตนเองก่อนคนไทย ในยุคนัน้ และก่อนหน้านั้นเท่าท่ีปรากฏในอินเดีย ลังกา และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การจารึกเรื่องของการปกครองเมือง ศาสนา และประชาชน นับเป็นประเพณีนิยมของ กษัตริย์ทั่วไป เมื่อกษัตริย์พระองค์ใหม่ขึ้นปกครองเมือง เมื่อมีการทำสงคราม การทำบุญครั้งใหญ่ หรือเมื่อมีเหตุการณ์ สำคัญๆ เกิดขึ้นในเมือง ก็เป็นประเพณีของกษัตริย์ที่จะทรงบันทึกเรื่องราวไว้ ในอินเดียและลังกา มีการเก็บบันทึกจารึก ต่างๆ ทั้งของวัดและกษัตริย์นับได้เป็นจำนวนแสน ประเพณีการจารึกเรื่องราวนี้ได้แพร่หลายมาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วย และในย่านนี้จารึกโบราณมีทั้งภาษาบาลีสันสกฤต และต่อมาก็มีจารึกเป็นภาษาของคนพื้นเมืองด้วย คนไทยคงจะใช้ ตวั อักษรอ่ืนทใี่ ชแ้ พรห่ ลายกันอยูใ่ นย่านนั้นมาก่อนซึ่งมีทั้งอักษรมอญและขอม แตเ่ มื่อคนไทยมเี มอื งเป็นของตนเอง มีกษัตริย์ ไทยเองแล้ว แรงผลกั ดันท่จี ะต้องมตี วั อักษรของตนเองเพ่ือบันทึกเรื่องราวของกษัตรยิ ์และเมืองตามประเพณีอยู่ในขณะน้ันก็ ย่อมเกิดขึ้น การใช้ภาษาของไทยเองย่อมจะทำให้เมอื งไทยมีฐานะเท่าเทียมกับเมืองอ่ืนๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้ว เราอาจนับว่าการ เป็นเมืองและประเพณีการจารึกเรื่องราวของกษัตริย์และเมือง เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิดการประดิษฐอ์ ักษรไทยขึ้น ตัวอักษรที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้เป็นตัวเขียนที่มีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาจากลายสือไทยที่พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้นเม่ือ ประมาณ ๗๐๐ ปีที่แล้ว เข้าใจว่าคงจะได้เปรียบเทียบหรือปรับปรุงจากตัวอักษรที่มีใช้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ตัวหนังสือใน ปัจจุบันแตกต่างไปจากสมัยสุโขทัยมากแต่ระบบของตัว พยัญชนะ สระ และว รรณยุกต์ยังคงเดิม อักษรไทยมใี ชม้ านานประมาณ ๗๐๐ ปแี ลว้ จงึ เป็นธรรมดาทจ่ี ะมีลักษณะแตกต่างไปจากภาษาในปจั จบุ นั ท้ังในด้านการเขียน และการแทนเสียงและเพราะเหตุว่าตัวเขียนไทยเป็นตัวอักษรแทนเสียงระบบภาษาเขียนจึงเป็นเสมือนบันทึกของลักษณะ เสียงของภาษาไทยเมื่อสมัยประมาณ ๗๐๐ ปี มาแล้วได้เป็นอย่างดี นักภาษาศาสตร์สามารถใช้วิธี การที่เป็นวิทยาศาสตร์ อธิบายให้เห็นว่าเสียงของภาษาในสมั ยสุโขทัยต่างไปจากเสียงในสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ กษรไทยของพ่อขุน รามคำแหง ใช้แพร่หลายในเขตลา้ นนา ลา้ นช้าง และกรุงศรอี ยธุ ยา ตอ่ มาชาวล้านนาและชาวล้านช้างเลกิ ใชอ้ กั ษรไทยสมัย กรุงสุโขทัยและใช้อักษรของพวกลื้อ ซึ่งเป็นอักษรไทยพวกหนึ่งแทน ส่วนกรุงศรีอยุธยายังคงใช้อักษรไทยและดัดแปลง แก้ไขมาเป็นระยะ ๆ จนเป็นเชน่ อักษรไทยปัจจุบัน
แบบเรียนเลม่ แรกของไทย ในสมยั เด็กๆ หลายคนอาจจะต้องท่องจำว่า ใครคอื นายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย แบบเรยี นเล่มแรกของไทยชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่งเพลงสรรเสริญพระบารมี ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ แม้โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว หลายคนก็ยังจำได้อยู่ แต่หลายคนก็อาจจะ ลืมเลือน ดังนั้น เพื่อเป็นการทบทวนความจำ ทั้งความรู้เก่าและเกร็ดความรู้ใหม่ ที่บางคนอาจจะไม่เคยทราบมาก่อน เกี่ยวกับประเทศไทย กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำสาระ บางส่วนจากหนังสือ “ความรู้รอบตัว รอบรู้เรื่องเมืองไทย” ของฝ่ายวิชาการชมรมเด็ก ซึ่งจัดพิมพ์โดยสุวีริยาสาสน์ ม าเพ่ือ เสนอดงั ต่อไปนี้ การที่สำนักหมอสอนศาสนาเริ่มมีบทบาทในการเรียนการสอนหนังสือมากขึ้นจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับปรุงการ เรียน การสอนภาษาไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์อยู่ไม่น้อยดังที่พยายามจัดทำแบบเรียนให้เป็นมาตรฐานเพื่อใช้ในการ สอนหนังสือแก่เยาวชนไทย พระโหราธิบดีจึงได้แต่งแบบเรียนชื่อ “จินดามณี” นับว่าเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทย หนงั สือแบบเรียนจินดามณเี ล่มนี้คงใช้กันอยา่ งแพรห่ ลายในสมัยต่อ ๆ มาในสำนักราชบณั ฑิตและสำนักเล่าเรียนวัดจน ได้ศึกษาเล่าเรียนกันอย่างกว้างขวางหนังสือจินดามณี เป็นหนังสือแบบเรียนเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยพระ โหราธิบดี กวีในสมัยพระนารายณ์มหาราช ได้เรียบเรียงไว้เป็นหนังสือตำราเรียนหนังสือไทยเนื้อหาของหนังสือว่าด้วย ร ะ เ บ ี ย บ ข อ ง ภ า ษ า ส อ น อ ั ก ข ร ว ิ ธ ี เ บ ื ้ อ ง ต ้ น พ ร ้ อ ม อ ธ ิ บ า ย ว ิ ธ ี แ ต ่ ง ก า พ ย ์ ก ล อ น โ ค ล ง ฉ ั น ท์ จินดามณีถูกใช้เป็นตำราเรียนจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนที่จะมีการปฏิรูปการศึกษาในสมัย ร.๕ จินดามณีมีหลาย ฉบับ เช่น ฉบับโหราธิบดี ฉบบั พระเจ้าบรมวงศเ์ ธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท ฉบบั พระเจ้าบรมโกศ ฉบับหมอบรัดเล เปน็ ต้น จินดามณี ฉบับหมอบรัดเล เป็นหนังสือแบบเรียนที่ดร.แดน บีช บรัดเล มิชชันนารี ชาวอเมริกันผู้ที่มีบทบาทในการ เปลี่ยนแปลงเทคนิคการพิมพ์ของไทย จัดพิมพ์เมื่อปี ๒๔๒๒ โดยคัดสรรมาจากตำราเรียนเก่าหลายเรื่อง และสอดแทรก เนื้อหาสำคัญที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยมาไว้ในเล่มเดียวกัน เช่น ประถม ก กา ว่าด้วยการใช้และสะกดตัวอักษร จินดามนี ว่าดว้ ยการประพันธ์โคลง เช่น โคลงสภุ าพ ประถมมาลา เป็นตำราสง่ั สอนวิชาหนงั สือภาษาไทยให้ถูกต้องตามแบบจินดามณี ปทานกุ รม เป็นส่วนราชาศพั ท์ ไดเ้ พิ่มศัพทก์ มั พชู าศัพท์ชวา เปน็ ตน้ กศน.อำเภอแสวงหา สำนักงาน กศน.จงั หวัดอ่างทอง
Search
Read the Text Version
- 1 - 5
Pages: