คู่มือ การดูแลสุขภาพ
ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนเรามีสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งมาจากการที่ร่างกายและ จิตใจเสียสมดุล โดยมีปัจจัยจากสภาพแวดล้อม มลพิษ สารเคมี ฝุ่นละอองและเชื้อโรค รวมถึงการดำเนินชีวิตประจำวันที่มีความเร่งรีบ แข่งขัน ทำให้เกิดผลต่อจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล นอนไม่หลับ หรือซึมเศร้า แม้ว่าธรรมชาติร่างกายของเรา จะมีกลไกในการปกป้องและรักษาตนเองจากการเจ็บป่วยได้ แต่การรักษาสมดุลของทั้ง ร่างกายและจิตใจน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ช่วยป้องกันการเจ็บป่วย ทั้งช่วยเสริมสร้าง ศักยภาพให้เซลล์และอวัยวะภายในร่างกายมีความสมบูรณ์ แข็งแรง และทำงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด หมั่นออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ เพราะจะช่วยทำให้หัวใจและปอดแข็งแรง เลือดไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น ช่วยลดคอเรสเตอรอล ทำให้โอกาสเส้นเลือดอุดตันลดลง ส่งผลดีต่อระบบการย่อยและการขับถ่าย ทั้งยังช่วยให้นอนหลับสนิทอีกด้วย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกาย ดื่มน้ำให้เพียงพอ ไม่ควรกินอาหารที่เป็นกรดหรือด่างมากจนเกินไป แต่ถ้าเมื่อไรที่ ร่างกายและอวัยวะภายในมีความร้อน อาหารที่มีฤทธิ์เย็นช่วยปรับสมดุลของร่างกายให้ เป็นปกติได้ คือ ผักบุ้ง ตำลึง ผักหวาน แตงกวา ฟัก และหัวปลี ส่วนผลไม้ควรเป็น ประเภท มังคุด มะยม แตงโม แตงไทย แคนตาลูป ส้มโอ กล้วยน้ำว้า แก้วมังกร กระท้อน แอปเปิ้ ล น้ำมะพร้าว และลูกพรุน เป็นต้น
พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการอดนอนทำให้ระบบการเผาผลาญในร่างกายไม่ดี ฮอร์โมนทำงานผิดปกติ เกิด การติดขัดของเมตาโบลิซึ่ม และส่งผลต่อด้านอารมณ์และจิตใจได้ เสริมสร้างจิตใจให้แข็งแรง โดยการฝึกทักษะการผ่อนคลาย ดูแลจิตใจเพื่อรับมือกับความเครียดอย่างสม่ำเสมอ หยุดคิดเรื่องเครียดต่างๆ หากิจกรรมสร้างสรรค์ทำ เช่น ฟังเพลง ดูหนัง เล่นกีฬา ท่อง เที่ยว หรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว คอยสังเกตดูแลเอาใจใส่ตัวเองทั้งร่างกายและจิตใจ ว่าอยู่ในภาวะสมดุลหรือไม่ ทำอะไรเกินหรือขาดไปบ้าง ให้ฟังเสียงของร่างกายและ จิตใจ เพื่อจะได้รู้ว่าเราควรปรับตัวเองเพื่อให้ร่างกายและจิตใจอยู่ในสภาวะสมดุล อย่างไร
เคล็ดลับวิธีดูแลสุขภาพ บริหารร่างกายในช่วงเช้า เริ่มต้นจากตอนตื่นนอนให้บิดขี้เกียจก่อน 1 ครั้ง การบิดขี้เกียจถือว่าเป็นกิจวัตร ประจำวันที่จะกลายมาเป็นส่วนเสริมความสมบูรณ์แข็งแรงให้แก่สุขภาพร่างกาย เป็นการบริหารร่างกายด้วยท่าที่ง่ายพร้อมกับการหายใจเข้า-ออกอย่างช้าๆ ผสมผสาน กับการยืดและคลายของกล้ามเนื้อทุกอิริยาบถ ทำให้จิตใจสงบเมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้อง ประจำ ทำให้กระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อที่คดงอหรือบิดเกร็งจากการทำงาน ปรับตัวคลาย เข้าสู่สภาวะสมดุล สมองและอวัยวะต่างๆ ได้รับออกซิเจนมากขึ้น ทำให้เลือดหมุนเวียน หล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การขับถ่ายของเสียจากเนื้อเยื่อทั่วร่างกายเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ทำให้เรารู้สึกปลอด โปร่ง เบาสบาย ผิวพรรณเปล่งปลั่ง จิตใจผ่องใส และช่วยป้องกันความเจ็บป่วยนานา ชนิด โดยตอนตื่นเราอาจจะบิดขี้เกียจ 1 ครั้งแล้วต่อด้วยการโยคะประมาณ 15 นาที เพียงเท่านี้ ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีในวันทำงานแล้ว
เคล็ดลับวิธีดูแลสุขภาพ บริหารร่างกายในช่วงเย็น แนะนำว่าให้อ อกกำลังกายหนักประเภทเข้ายิมหรือฟิตเนส บริหารร่างกายให้ สามารถเรียกเหงื่อได้ ประมาณ 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าในกรณีที่จะต้องเดินทาง ไปทำงานต่างที่ มีพื้นที่จำกัดและไม่สามารถเข้ายิมหรือฟิตเนสได้ ก็ควรจะออกกำลัง กายแบบ Body Weight แทน คือ ยกดรัมเบลอยู่กับที่ ออกกำลังกายประเภทที่ใช้พื้นที่ไม่ เยอะมาก ก็สามารถบริหารร่างกายได้ดีแม้มีพื้นที่จำกัด การดูแลสุขภาพใจ นอกจากสุขภาพร่างกายแล้ว ให้ดูแลบำรุงสุขภาพใจด้วย แนะนำว่าให้ฝึกสมาธิ รับรู้ ในทุกขณะจิต ฝึกการรับฟังให้มากเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างมีสติ เคล็ดลับ คือ การนำ เอาหลักธรรมมะของพระพุทธศาสนาเข้ามาช่วยให้ เราสามารถคิดวิเคราะห์เรื่องต่างๆ ได้อย่างละเอียดอ่อนและมีหลักธรรม รู้จักปล่อยวาง ทั้งนี้นอกจากดูแลสุขภาพใจตนเองให้ดีแล้ว ก็ต้องหมั่นดูแลสุขภาพใจบุคคลรอบข้าง ด้วย สำหรับท่านที่อยู่ไกลกันหรือไม่ค่อยได้อยู่ด้วยกัน ก็ควรติดต่อสื่อสารหากันอย่าง สม่ำเสมอ ใช้วิธีการแบ่งปันเรื่องราวดีๆ ด้วยคำพูดดีๆ เล่าสู่กันฟังจะสามารถก่อให้เกิด ความรู้สึกด้านบวกมากยิ่งขึ้น
เคล็ดลับวิธีดูแลสุขภาพ การดูแลการทานอาหาร เน้นการรับปร ะทานผักและผลไม้ให้มาก จะทำให้นอนหลับสบาย ขับถ่ายปกติ หรือ ทานวิตามินเสริมมาเป็นตัวช่วยก็ได้ เช่น วิตามินในส่วนที่เราขาดในการบำรุงต่างๆ วิตามินซี วิตาบี หรือ วิตามินรวม แค่เพียงเท่านี้ก็ทำให้สุขภาพดีได้แม้ต้องทำงานหนัก แต่ต้องปฎิบัติให้อยู่ในความ เหมาะสม อย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพอ มีวินัยกับการบริหารร่างกาย ควบคุมการทาน อาหาร และบริหารเวลาทำงานให้เหมาะสม
การดูแลสุขภาพ สุขภาพ หมายถึง สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางใจ ทางสังคม และทางปัญญา (จิตวิญญาณ) อย่างเป็นระบบ โดยเชื่อมโยงถึงเหตุปัจจัยด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ระบบบริการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และ ชุมชน การดูแลสุขภาพตนเอง หมายถึง การปฏิบัติกิจกรรมที่บุคคลได้ริเริ่มและกระทำ เพื่อที่จะดำรงรักษาไว้ซึ่งชีวิต และสุขภาพ รวมทั้งสวัสดิ์ภาพของตนเอง การดูแลสุขภาพที่บ้าน หมายถึง การดูแลสุขภาพโดยรวมของครอบครัวอย่างต่อเนื่อง ในด้านการให้บริการ ด้านสุขภาพของแต่ละบุคคล และครอบครัวที่บ้าน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อการส่งเสริมสุข ภาพ การดำรงรักษาให้คงสภาวะสุขภาพที่ดี การดูแลสุขภาพตนเอง โดยการพึ่งตนเอง ของแต่ละคนในครอบครัวให้ได้มากที่สุด บริการที่ให้จะต้องเหมาะสมกับแต่ละบุคคลและ ครอบครัว ซึ่งผู้ให้บริการจะต้องวางแผนการให้บริการ การประสานงานอย่างครอบคลุม ผสมผสานอย่างเหมาะสม (รวมทั้งการดูแลฟัน การพยาบาล กายภาพบำบัด การให้คำ ปรึกษาอาชีวบำบัด สังคมสงเคราะห์ โภชนาการ แม่บ้าน พนักงานดูแลสุขภาพที่บ้าน การ ขนส่งผู้ป่วย และการตรวจชันสูตร บริการเครื่องมือแพทย์) การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย หมายถึง การดูแลผู้ป่วยโดยตัวผู้ป่วยเอง หรือญาติที่อยู่ในครอบครัว ในการปฏิบัติตัว ขณะอยู่ในโรงพยาบาลและที่บ้าน อาทิ ด้านการระวังรักษาสุขภาพอนามัย การรับประทาน ยา การเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับโรค การออกกำลังกาย และการมาพบ แพทย์ตามนัด รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่
การดูแลสุขภาพ การจัดระบบการดูแลสุขภาพที่บ้านเมื่อเจ็บป่วยหลังออกจาก โรงพยาบาล หมายถึง การจัดระบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาล เพื่อการดูแลสุขภาพ ที่บ้าน โดยใช้ D-Method ของคิวคัสโซ (Cucuzzo) ประกอบด้วยตัวอักษรนำหน้าของคำ ต่างๆ รวมกัน ๗ คำ คือ Diagnosis คือ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ Medicine คือ ยาที่ผู้ป่วยใช้ขณะรักษาพยาบาล Economic คือ เศรษฐกิจ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และการช่วยเหลือเมื่อจำเป็น Treatment คือ การปฏิบัติการพยาบาลเบื้องต้นที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย เช่น การทำแผล ฉีดยา Health คือ การส่งเสริมสุขภาพของร่างกายและจิตใจ เช่น การออกกำลังกาย Out patient คือ ข้อมูลเมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน มีผู้ดูแล อุปกรณ์ เครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับผู้ ป่วย ปัญหาของผู้ป่วย Diet คือ อาหารที่เหมาะสมกับโรคของผู้ป่วย ดูแลตนเองโดยกลุ่มเมื่อเจ็บป่วย หมายถึง การจัดกลุ่มผู้ป่วย ซึ่งมีปัญหาที่คล้ายคลึงกัน ใช้ประสบการณ์ในการช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาซึ่งกันและกัน โดยมีสมาชิกกลุ่มเป็นผู้นำ
12 ท่าบริหารร่างกาย สไตล์ไทยๆ 1. ท่าสวัสดี กางแขนทั้ง 2 ข้าง หมุนไหล่ขึ้น หมุนแขนลง ในท่าพนมมือ 2. ท่ายักไหล่ ยืนกางแขน ออกจากลำตัวเล็กน้อย กำมือ หลวมๆ ยักไหล่ ซ้าย ขึ้นแล้วลง (1) ยักไหล่ ขวา ขึ้นแล้วลง (2) ยักไหล่ ทั้ง2ข้างขึ้นพร้อมกัน แล้วลง (3) ยักไหล่ ทั้ง2ข้างขึ้นพร้อมกันอีก1ครั้ง แล้วลง (4) นับเป็น 1 ครั้ง
12 ท่าบริหารร่างกาย สไตล์ไทยๆ 3. ท่าบัวตูมบัวบาน วาดแขนโก่งตัวไปด้านหน้า กางแขน ยืดอก แอ่นตัว เงย หน้า 4. ท่ากระทบไม้ เหยียดแขนตรงทั้ง2ข้างไปด้านหน้า ฝ่ามือประกบกัน ระดับไหล่ วาดแขนซ้าย เอี้ยวตัวไปทางขวา เหยียดแขนมาด้านหลัง บิดตัวกลับ เหยียดแขน ฝ่ามือ ประกบกัน วาดแขนขวา เอี้ยวตัวไปทางซ้าย เหยียดแขนมาด้านหลัง
12 ท่าบริหารร่างกาย สไตล์ไทยๆ 5. ท่าไผ่ลู่ลม ชูแขนซ้ายขึ้นเหนือศีรษะเอียงตัว ไปทางขวา ดึงลำตัวกลับมาสู่ท่าตรงชูแขนขวา ขึ้นเหนือศีรษะ เอียงตัวไปทางซ้ายดึงลำตัวกลับมา สู่ท่าตรง 6. ท่านกขมิ้น เหวี่ยงแขนมาด้านหน้า เหวี่ยงแขนมาด้านหลัง บีบสะบัก เข้าหากัน พร้อมยกเข่าขึ้นมาด้าน หน้า สูงระดับเอว เหวี่ยงแขนมาด้านหน้า พร้อมวาง เท้าสู่พื้น เกร็งหน้าท้อง เพื่อรักษาสมดุลของ ลำตัว
12 ท่าบริหารร่างกาย สไตล์ไทยๆ 7. ท่ารำไทย ตั้งวงรำไทย สลับซ้าย และ ขวา 8. ท่าชกมวย ยืนตรง แยกเท้าระดับหัวไหล่ ยกแขน กำหมัด ตั้งการ์ด จรดมวย ออกแรงจากไหล่ เหยียดแขนขวา ต่อยไปด้านหน้า บิดลำตัวเล็กน้อย ดึงแขนกลับสู่ท่าเริ่มต้น ออกแรงจากไหล่ เหยียดแขนซ้าย ต่อยไปด้านหน้า บิดลำตัวเล็กน้อย - ดึงแขนกลับสู่ ท่าเริ่มต้น
12 ท่าบริหารร่างกาย สไตล์ไทยๆ 9. ท่าแจวเรือ กำหมัด ทำท่าจับไม้พายทางขวา ทำท่าแจวทางซ้าย บิดลำตัวเล็ก น้อย พร้อมยกเข่า ขวา 2ครั้ง กำหมัด ทำท่าจับไม้พายทางซ้าย ทำท่าแจวทางขวา บิดลำตัวเล็ก น้อย พร้อมยกเข่า ซ้าย 2ครั้ง(4ครั้ง นับเป็น 1รอบ) 10. ท่าเหวี่ยงแห ย่อเข่าลง เอี้ยวตัว บิดลำตัวไปด้านขวา เหยียดแขนขวางลำตัวไปทางซ้าย เหยียดเข่า ยืนตรงพร้อมพับเหวี่ยง แขนชูขึ้นผ่านลำตัวไปทางขวา ย่อเข่าลง เอี้ยวตัว บิดลำตัวไปด้านซ้าย เหยียดแขนขวางลำตัวไปทางซ้าย เหยียดเข่า ยืนตรง พร้อมพับ เหวี่ยงแขนชูขึ้นผ่านลำตัวไปทาง ขวา ปฏิบัติข้างขวาและซ้ายสลับกัน
12 ท่าบริหารร่างกาย สไตล์ไทยๆ 11. ท่าดำนา ก้าวขาขวา วางส้นเท้ากับพื้น กระ กดปลายเท้าขึ้น งอเข่าซ้าย ก้มตัวลง เหยียดแขน ลงสู่พื้น ยืดตัวขึน ยืนตรง ก้าวขาซ้าย วางส้นเท้ากับพื้น กระ กดปลายเท้าขึ้น งอเข่าขวา ก้มตัวลง เหยียดแขนลง สู่พื้น ยืดตัวขึน ยืนตรง โดย ปฏิบัติข้าง ขวาและซ้ายสลับกัน 12. ท่าท้องฟ้า ย่อเข่าเล็กน้อย เหยียดแขน อยู่ หน้าลำตัว ยืดตัวขึ้น วาดแขนขึ้นผ่านลำตัว ขึ้น เหนือศีรษะ หายใจออก ย่อเข่าลง วาดแขนลง เหยียดแขน หน้าลำตัว หายใจเข้า
เมนูอาหารเพื่อสุขภาพง่าย ๆ อร่อยดีมีประโยชน์เต็มมื้อ ปลากะพงย่างซอสมิโซะ ส่วนผสม ปลากะพงย่างซอสมิโซะ เนื้อปลากะพง (แล่เป็นชิ้น) 300 กรัม มิโซะ 80 กรัม มิริน (เหล้าหวานญี่ปุ่น) 1 ช้อนโต๊ะ ไข่ไก่ (เฉพาะไข่แดง) 1 ฟอง น้ำมันพืช (สำหรับทาตะแกรง) หัวไช้เท้าขูด ข้าวสวยญี่ปุ่น วิธีทำปลากะพงย่างซอสมิโซะ 1. นำมิโซะและมิริน เทใส่กระทะ ตั้งไฟอ่อน กวนผสมจนเข้ากัน ใส่ไข่แดงลงไป คนจน เป็นเนื้อเดียวกัน พักไว้ 2. ตั้งไฟสำหรับย่าง ทาน้ำมันพืชให้ทั่วตะแกรง ทาซอสมิโซะ (ในข้อ 1) ให้ทั่วเนื้อปลา กะพง นำไปย่างด้วยไฟอ่อนจนสุก จัดเสิร์ฟพร้อมกับหัวไช้เท้าขูด และข้าวสวยญี่ปุ่น
เมนูอาหารเพื่อสุขภาพง่าย ๆ อร่อยดีมีประโยชน์เต็มมื้อ ปลาแซลมอนย่างซอสเทอริยากิ ส่วนผสม ปลาแซลมอนย่างซอสเทอริยากิ เนื้อปลาแซลมอนติดหนัง (น้ำหนักประมาณ 150-200 กรัม) จำนวน 1 ชิ้น ซีอิ๊วญี่ปุ่น 3 ช้อนโต๊ะ เหล้าสาเก 3 ช้อนโต๊ะ เหล้ามิริน 3 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ ผักลวกตามชอบ (เช่น แครอต บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น) วิธีทำปลาแซลมอนย่างซอสเทอริยากิ 1. ใส่ซีอิ๊วญี่ปุ่น เหล้าสาเก เหล้ามิริน และน้ำตาลทรายลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟ คนผสม จนน้ำตาลทรายละลาย ยกลงจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็น เตรียมไว้ 2. หมักเนื้อปลาแซลมอนกับส่วนผสมซอสเทอริยากิ ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที พอครบ เวลาให้ซับเนื้อปลาให้แห้ง เตรียมไว้ 3. นำซอสที่เหลือจากการหมักปลาใส่ลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟ เติมน้ำตาลทราย ประมาณ 2 ช้อนชา เคี่ยวจนเดือด ยกลงจากเตา เตรียมไว้ 4. นำกระทะสำหรับย่างขึ้นตั้งไฟ วางเนื้อปลาลงบนกระทะ ทาด้วยซอสเทอริยากิที่ เตรียมไว้ให้ทั่วจนสุกทั้งสองด้าน ตักใส่จาน ราดด้วยซอสเทอริยากิที่เหลือ แต่งด้วยผัก ลวกตามชอบ
เมนูอาหารเพื่อสุขภาพง่าย ๆ อร่อยดีมีประโยชน์เต็มมื้อ ข้าวอบธัญพืชกับกุ้งหมักน้ำผึ้งกระเทียม ส่วนผสม กุ้งซอสน้ำผึ้งกระเทียม เครื่องกุ้งสด (ตามชอบ) 8 ตัว น้ำผึ้ง 1/3 ถ้วย ซีอิ๊วขาว 1/4 ถ้วย กระเทียมสับ 2-3 กลีบ ข้าวสารผสมธัญพืช 2 ถ้วย น้ำซุป หรือน้ำสต๊อก 3 ถ้วย ผักลวกตามชอบ (สำหรับเสิร์ฟ) ไข่ออนเซ็น (สำหรับเสิร์ฟ) วิธีทำกุ้งซอสน้ำผึ้งกระเทียม 1. ผสมน้ำผึ้ง ซีอิ๊วขาว และกระเทียมให้เข้ากัน ใส่กุ้งลงไปหมักอย่างน้อย 2 ชั่วโมง หรือ ข้ามคืน 2. หุงข้าวโดยใส่ข้าวสารผสมธัญพืชและน้ำซุปลงในหม้อหุงข้าว คนให้เข้ากัน แล้วหุง ตามปกติ 3. ตั้งกระทะใช้ความร้อนปานกลาง ใส่กุ้งลงไปเรียงให้เต็ม ใส่น้ำหมักลงไปครึ่งหนึ่ง รอจนกุ้งสุกตักขึ้น เทน้ำหมักที่เหลือลงไปเคี่ยวจนงวดสำหรับเป็นน้ำซอสราด 4. เสิร์ฟกุ้งพร้อมข้าว ผักลวก และไข่ออนเซ็น
เมนูอาหารเพื่อสุขภาพง่าย ๆ อร่อยดีมีประโยชน์เต็มมื้อ ยำตะไคร้เห็ดออรินจิ ส่วนผสม ยำตะไคร้เห็ดออรินจิ เห็ดออรินจิหั่นชิ้น 200 กรัม ตะไคร้ซอย 5 ต้น หอมแดงซอย 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ ผักชีซอย 1 ช้อนโต๊ะ ผักชีฝรั่งซอย 1 ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูสวนซอย 1 ช้อนโต๊ะ ใบสะระแหน่ สำหรับโรย วิธีทำยำตะไคร้เห็ดออรินจิ 1. ผสมน้ำมะนาว ซีอิ๊วขาว และน้ำตาลทราย คนให้ละลายเข้ากัน 2. ลวกเห็ดออรินจิในน้ำเดือดจนสุก ตักขึ้น พักให้สะเด็ดน้ำ นำไปใส่ในส่วนผสมข้อที่ 1 ใส่พริกขี้หนู ตะไคร้ หอมแดง ผักชี และผักชีฝรั่ง คนให้เข้ากัน ตักใส่จาน โรยด้วยใบ สะระแหน่ จัดเสิร์ฟ
เมนูอาหารเพื่อสุขภาพง่าย ๆ อร่อยดีมีประโยชน์เต็มมื้อ ผัดพริกหวานเห็ดหอมและอกไก่ ส่วนผสม ผัดพริกหวานเห็ดหอมและอกไก่ อกไก่ (หั่นเป็นชิ้น) พริกหวาน (หั่นเป็นชิ้น) เห็ดหอม (หั่นเป็นชิ้น) น้ำมันหอย ซอสปรุงรส น้ำตาลทราย วิธีทำผัดพริกหวานเห็ดหอมและอกไก่ 1. ใส่อกไก่ลงในกระทะผัดจนสุก ตามด้วยพริกหวานกับเห็ดหอม ผัดให้เข้ากัน 2. ปรุงรสด้วยน้ำมันหอย ซอสปรุงรส และน้ำตาลทรายนิดหน่อย ถ้าไม่ชอบผัดแบบ แห้ง ๆ ให้เติมน้ำเปล่าสะอาดลงไปสักเล็กน้อย
เมนูอาหารเพื่อสุขภาพง่าย ๆ อร่อยดีมีประโยชน์เต็มมื้อ ข้าวต้มปลาเก๋า ส่วนผสม ข้าวต้มปลาเก๋า น้ำซุปกระดูกหมู 1,200 มิลลิลิตร ข่าอ่อนหั่นเป็นแว่นบาง 3 ช้อนโต๊ะ เห็ดหอม (แช่น้ำจนนิ่ม) 100 กรัม ซีอิ๊วขาว 4 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ พริกไทยป่น 2 ช้อนชา เนื้อปลาเก๋า (หั่นเป็นชิ้นลวกสุก) 10 ชิ้น ข้าวหอมมะลิหุงสุก 300 กรัม ข่าแก่ตำละเอียด กระเทียมเจียว ใบขึ้นฉ่ายซอย วิธีทำข้าวต้มปลาเก๋า 1. ต้มน้ำซุปกระดูกหมูกับข่าอ่อนจนเดือด ใส่เห็ดหอม ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว น้ำตาล ทราย และพริกไทยป่น ลดไฟลง ต้มจนน้ำซุปเดือด เตรียมไว้ 2. ตั้งน้ำในหม้ออีกใบจนเดือด ใส่ข้าวหอมมะลิลงต้มในน้ำเดือดจนนุ่ม ตักใส่ถ้วย วาง ปลาเก๋าลวก ตักน้ำซุปกระดูกหมูใส่ โรยข่าตำละเอียด กระเทียมเจียว และขึ้นฉ่าย กิน ขณะร้อน ๆ กับน้ำจิ้มเต้าเจี้ยว
เมนูอาหารเพื่อสุขภาพง่าย ๆ อร่อยดีมีประโยชน์เต็มมื้อ ยำแซลมอนต้นอ่อนทานตะวัน ส่วนผสม ยำแซลมอนต้นอ่อนทานตะวัน แซลมอนดิบ หอมแดงซอย พริกขี้หนูซอย ตะไคร้ซอย กระเทียมหั่น ใบมะกรูดซอย น้ำปลา ใบสะระแหน่ ผงปรุงรสเล็กน้อย ต้นอ่อนทานตะวัน น้ำตาลทราย มะนาว 1 ลูก ต้นหอมซอย วิธีทำข้าวต้มปลาเก๋า 1. ใส่พริกขี้หนูกับกระเทียมลงไปเคล้าให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำปลา ผงปรุงรส และ น้ำตาลทราย บีบมะนาวลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน 2. ใส่ต้นหอม หอมแดง ตะไคร้ ใบมะกรูด และใบสะระแหน่ลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน 3. ใส่แซลมอนลงไปคลุกเคล้าให้ทั่ว เทใส่บนต้นอ่อนทานตะวันที่เตรียมไว้ แต่งหน้า ด้วยใบสะระแหน่
Search
Read the Text Version
- 1 - 21
Pages: