กาพย์ห่อโคลง ประพาสธารทองแดง
ประวัติผู้แต่ง เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง ทรงเป็นพระโอรสองศ์ที่ ๑ ในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กับกรมหลวงอภัยนุชิตพระมเหสีใหญ่ (สมเด็จพระพันวันสาใหญ่) บทพระราชนิพนธ์ เพลงยาวบางบท บทเห่เรื่องกากี ๓ ตอน กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง พระมาลัย คำหลวง กาพย์เห่เรือ
เรื่องย่อ พรรณนาถึงการเดินทาง แต่ไม่ได้คร่ำครวญถึงการพลัดพรากจากนางอัน เป็นที่รัก เนื้อเรื่องพรรณนาการตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทาง สถลมารคไปนมัสการรอยพระพุทธบาท จากท่าสนุก ผ่านตำบลธารทองแดง ซึ่งมีธารน้ำเล็ก ๆ สายหนึ่งชื่อว่า “ธารทองแดง” อันเป็นที่ตั้งของพระตำหนักธาร เกษมที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน จนกระทั่งถึงเขาพระพุทธบาท ปัจจุบันอยู่ใน เขตอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี การดำเนินเรื่องเริ่มด้วยการพรรณนาชมขบวนเสด็จ จากนั้นชมสัตว์ นานาชนิด พันธุ์ไม้ต่างๆและลำธาร สะท้อนภาพความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
ลักษณะคำประพั นธ์ กาพย์ห่อโคลง เป็นชื่อบทประพันธ์ที่แต่งขึ้นโดยใช้ กาพย์ยานี ๑๑ แต่ง สลับกับโคลงสี่สุภาพ โดยขึ้นต้นด้วยกาพย์ยานี ๑๑ และตามด้วยโคลงสี่สุภาพ ที่มีเนื้อความอย่างเดียวกัน คือ ให้วรรคที่ของกาพย์ยานี ๑๑ กับบาทที่หนึ่ง ของโคลงสี่สุภาพบรรยายข้อความอย่างเดียวกัน
กาพย์ห่อโคลง
ไปดูตัวอย่างสัตว์ที่ปรากฏในเรื่องดีกว่า ไปกันเลยยยยย….
งูเขียวรัดตุ๊กแก ตุ๊กแกแก่คางแข็งขยัน กัดงูงูยิ่งพัน อ้าปากง่วงล้วงตับกิน งูเขียวตัวเป็นเงามันแต่ไม่มีพิษ ถูกตุ๊กแกคาบไว้ ใน ขณะเดียวกันงูเขียวก็รัดตุ๊กแกจนต้องอ้าปาก และเข้าไป ล้วงตับตุ๊กแกกินเป็นอาหาร
ยูงทองย่องเยื้องย่าง รำรางชางช่างฟ่ายหาง ปากหงอนอ่อนสำอาง ช่างรำเล่นเต้นตามกัน นกยูงทองย่องเยื้องย่าง แล้วรำแพนหางเชิดหน้าขึ้น เห็นปากงอนอ่อนช้อย
คุณค่าของเรื่อง สะท้อนให้เห็นถึงธรรมเนียมการเสด็จทางสถลมารคหรือ การเสด็จพระราชดำเนินทางบกของพระมหากษัตริย์และให้เห็น คุณค่าและร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
Search
Read the Text Version
- 1 - 10
Pages: