Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เนื้อหา

เนื้อหา

Published by Kornrawit Wasiksiri, 2021-07-20 03:06:56

Description: เนื้อหา

Search

Read the Text Version

แผนการจดั การเรียนรู้ ชอื วชา โลจสิ ติกส์เบืองต้น รหัส (30214-0001) อาจารย์กรวชญ์ วาสกิ ศิร สาขา การจัดการโลจิสตกิ ส์ วทยาลยั เทคโนโลยีอุดมศกึ ษาพณิชยการ



เอกสารประกอบการ เรยี นการสอน วิชาโลจสิ ตกิ ส์เบอื งต้น (30214-0001) อาจารยก์ รวิชญ์ วาสิกศริ ิ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ วทยาลยั เทคโนโลยีอุดมศกึ ษาพณิชยการ



โซอ่ ุปทานสีเขียว: นวัตกรรมเพอ่ื สร้างศักยภาพการแขง่ ขันทยี่ งั่ ยนื สุเทพ นมิ่ สาย1 ณัฐพล รังสฤษฏว์ รการ2 สหรัตถ์ อารีราษฏร์3 ปัจจุบันความรับผิดชอบต่อส่ิงแวดล้อมเป็นประเด็นท่ีภาคเอกชน รวมถึงรัฐบาลและองค์กรระหว่าง ประเทศต่างๆ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันคู่ค้าจากหลายประเทศก็ได้เรียกร้องให้ ผู้ประกอบการไทยปฏิบัติตามมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุน้ี อุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและพยายามท่ีจะลดต้นทุนท่ี ไม่จาเป็นขององค์กรลง เช่น ต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนการจัดเก็บสินค้า ต้นทุนการจัดการคาส่ังซ้ือและการ ควบคุมคุณภาพของสินค้า รวมถึงการสร้างศักยภาพทางการแข่งขันที่ย่ังยืนในตลาดเพ่ือตอบสนองความ ต้องการของผบู้ รโิ ภค การบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว ถือเป็นปัจจัยหนึ่งท่ีสาคัญปัจจัยหน่ึงซ่ึง สามารถช่วยลดต้นทุน (Cost) และเพมิ่ ระดับความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าท้ังในด้าน เวลา (Time) และคุณภาพ (Quality) และเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน (Competiveness) ให้กับธุรกิจ หรือกลุม่ อุตสาหกรรมน้ันได้เป็นอย่างดี จึงส่งผลให้ปัจจบุ ันการจัดการระบบโลจิกติกส์และโซ่อุปทานได้เข้ามามี บทบาทสาคัญในเวทีระดับโลกอย่างมาก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการจัดการโลจิกติกส์และโซ่อุปทานได้มีการ พัฒนารูปแบบและการจัดการอย่างต่อเน่ืองในหลายมิติ อาทิ มิติด้านการจัดการเพื่อบริหารจัดการต้นทุน มิติ ด้านการจัดการเพ่ือตอบสนองความต้องการของลูกค้า และมิติการจัดการแบบเป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อม (Green Logistics and Supply Chain Management) โดยเฉพาะอย่างยิ่งมิติด้านการบริหารจัดการท่ีเป็นมิตรต่อ ส่ิงแวดล้อม ถือเป็นแนวทางการพัฒนาธุรกิจที่ได้รับการสนใจท้ังในระดับองค์กรหรือธุรกิจ แล ะระดับ อุตสาหกรรม รวมถึงระดับชาติ ซึ่งภาครัฐได้มีบทบาทและเข้ามาส่งเสริมและร่วมรณรงค์มากข้ึนอย่างต่อเนื่อง เนอื่ งจากการดาเนินงานของธุรกจิ ตา่ งๆ มีหลายส่วนที่มคี วามเก่ียวข้องหรือสง่ ผลกระทบต่อส่ิงแวดลอ้ ม จงึ ทาให้ เกิดแนวคิดของการบริการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว หรือการจัดการกรีนโลจิสติกส์ (Green Logistics) ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอย่างเป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อม เพื่อ มงุ่ เน้นการพฒั นาและปรับปรงุ การดาเนินงานในกิจกรรมโลจิสติกสท์ ี่มกี ารคานึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กนั ไปดว้ ย การจดั การโลจิสตกิ ส์และโซ่อุปทานสีเขียว การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว (Green Supply Chain Management) คือ การบริหาร จัดการโลจิสติกส์ในมิติท่ีเกี่ยวกบั การลดผลกระทบทางสง่ิ แวดล้อมท่ีเกิดจากการดาเนนิ กิจกรรมโลจิสติกส์ตลอด โซ่อุปทาน ตัง้ แต่แหล่งทมี่ าและกระบวนการจัดหาวัตถดุ บิ การออกแบบผลิตภณั ฑ์และบรกิ าร กระบวนการผลิต การบริการ กระบวนการขนส่งท้ังภายในและภายนอกองค์กร การบริโภค รวมถึงการจัดการตลอดวงจรชีวิต (Life Cycle) ของผลิตภัณฑ์และปัจจัยการผลิตอื่นๆ (ภาพท่ี 1) และยังต้องบรรลุวัตถุประสงค์สาคัญในการเพิ่ม 1 วิทยาลยั การจัดการ มหาวทิ ยาลัยมหิดล 2 ศนู ยว์ ิจัยความเปน็ เลศิ ทางธุรกจิ และโลจิตกิ ส์ (BE-Logist) สานกั วชิ าการจัดการ มหาวทิ ยาลัยแมฟ่ ้าหลวง 3 ศนู ยว์ ิจัยความเป็นเลิศทางธุรกจิ และโลจติ กิ ส์ (BE-Logist) สานักวิชาการจัดการ มหาวทิ ยาลยั แม่ฟ้าหลวง

ประสิทธิภาพของกิจกรรมโลจิสติกส์ตลอดโซ่อุปทาน การลดต้นทุนโลจิสติกส์และความสามารถในกา ร ตอบสนองความตอ้ งการของผบู้ ริโภคได้อย่างทันเวลา มคี ณุ ภาพและเช่ือถอื ได้ Green Supply Chain Logistics Management Environmental Logistics and Supply Chain Management Management ภาพท่ี 1 แนวคดิ ในการจัดการโซ่อปุ ทานสีเขียว จึงถือได้ว่าการจัดการโลจิสติกส์สีเขียวเป็นกิจกรรมที่สาคัญในการจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งมีส่วนช่วย ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการโซ่อุปทานให้มีประสิทธภิ าพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากย่ิงขึน้ ซ่ึงสามารถ สรุปเป็นกรอบแนวคิดการจดั การโลจสิ ติกส์และโซ่อปุ ทานสเี ขยี วได้ดังแสดงในภาพท่ี 2 Green Management Green Green Reduce Rethink Factory Marketing Reuse Refuse Recycle Repair Green Product / Service Green Packaging Green Green Green Green Green Design Supply Manufacturing Consumption Reverse Logistics Green Transportation / Distribution & Communication Supply Chain Planning ภาพท่ี 2 แนวคดิ การบริหารจดั การโลจิสติกสแ์ ละโซอ่ ุปทานสเี ขยี ว ซง่ึ องคป์ ระกอบของกจิ กรรมดา้ นโลจสิ ติกสแ์ ละโซอ่ ุปทานสเี ขียว ประกอบด้วย  การออกแบบสเี ขียว (Green Design)  การจัดซอ้ื จัดจา้ งสีเขียว (Green Procurement/Green Supply)  การผลิตสีเขียว (Green Manufacturing) หมายถึง การผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสังคมและ สิง่ แวดล้อม โดยคานึงถึงความรบั ผิดชอบต่อโลก ส่ิงแวดลอ้ มและสังคมมากขึ้น การผลติ สีเขียวสามารถ ประยุกต์เทคโนโลยีการผลิตสีเขียว ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงหรือเปล่ียนแปลงกระบวนการผลิตหรือ ผลิตภัณฑ์เพื่อให้การใช้วัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ เกิดของเสียน้อยท่ีสุดหรือไม่มีเลย การผลิตสีเขียวประกอบด้วยองค์ประกอบที่เก่ียวข้องกัน 3 องคป์ ระกอบ ไดแ้ ก่  โรงงานสีเขียว (Green Factory) หมายถึง การบริหารจัดการ วางแผนระบบ และดูแล รักษาการผลิตของโรงงาน ตั้งแตก่ ารจัดซ้ือจัดหา การเก็บสินค้าคงคลัง การผลิต การจาหน่าย และการดูแลพนักงาน ด้วยความมสี ว่ นร่วมในการรับผดิ ชอบตอ่ สังคม และส่ิงแวดล้อม 1-2

 ผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product/Service) หมายถึง ผลติ ภณั ฑแ์ ละกระบวนการผลิตสินค้า ทเ่ี ปน็ มิตรต่อสง่ิ แวดลอ้ ม ต้ังแตก่ ระบวนการผลิต จนกระทง่ั เป็นสินคา้ สาเร็จรปู  บรรจุภัณฑ์สีเขียว (Green Packaging) หมายถึง การออกแบบและสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ สาหรับสินคา้ ทที่ ามาจากวตั ถดุ ิบทีเ่ ป็นมิตรตอ่ ส่งิ แวดล้อม วตั ถดุ ิบรไี ซเคลิ  การตลาดสเี ขียว (Green Marketing)  การบริโภคสเี ขยี ว (Green Consumption)  โลจิสตกิ สย์ ้อนกลับสีเขียว (Green Reverse Logistics) หมายถึง การดาเนินการโลจสิ ติกส์ขากลบั จาก ลูกค้า เพ่ือนากลับมาผ่านกระบวนการให้สามารถนากลับมาใช้ใหม่ ด้วยวิธีการ 1) ลดปริมาณการใช้ วัตถุดิบ (Reduce) คือ การลดปริมาณการใช้วัตถุดิบที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า เพื่อลดปริมาณทรัพยากรท่ี จะต้องใช้ หรือสามารถลดของเสียท่ีเกิดจากการใช้ปริมาณวัตถุดิบเกินความพอดี 2) การนากลับมาใช้ ซ้า (Reuse) คือการนาวัตถุดิบที่ยังใช้งานได้มาใช้งานซ้าอีกครั้งหน่ึง เพ่ือลดการนาของใหม่มาใช้ 3) การนากลับมาใช้ใหม่ (Recycle) คือการนาวัตถุดิบ หรือวัสดุมาแปรรูป ด้วยกรรมมาวิธี เพ่ือผลิตเป็น สินค้าชิ้นใหม่ 4) การซ่อมและแก้ไข (Repair) คือการซ่อม หรือแก้ไขในวัตถุดิบ หรือวัสดุที่ผิดพลาด เพื่อนากลับมาใช้ใหม่อีกคร้ัง 5) การคิดใหม่ (Rethink) คือการคิดใหม่ เปล่ียนแนวคิดจากเดิมที่ก่อ ปัญหา หรือของเสีย อย่างสร้างสรรค์ 6) การหลีกเล่ียง (Refuse) คือการหลีกเลี่ยง และปฏิเสธที่จะไม่ ใช้วัตถดุ บิ ทกี่ ่อให้เกิดผลเสยี ต่อส่ิงแวดล้อม ในดา้ นการผลิต การขนสง่ และการรไี ซเคลิ  การขนสง่ สเี ขียว (Green Transportation/Distribution)  การส่ือสารสีเขียว (Green Communication) หมายถึง ช่องทางการติดต่อสอ่ื สารระหว่างแตล่ ะสว่ นที่ เกี่ยวข้องในโซ่อุปทาน โดยส่งผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมน้อยที่สุด เช่น การส่ือสารผ่านช่องทาง อิเล็กทรอนิกส์ แทนการใชเ้ อกสาร ปฏเิ สธไมไ่ ด้วา่ ตัวแปรที่สาคัญท่ีจะชักนาไปสู่การพัฒนาสูก่ ารจัดการโลจิสติกส์และโซอ่ ุปทานสีเขยี ว คือ การจัดการด้านวัตถุดิบ และการจัดการด้านพลังงาน เนื่องจากท้ังวัตถุดิบและพลังงานต่างเป็นทรัพยากรการ ผลิตท่ีสาคัญ การดาเนินงานดังกล่าวควรเน้นที่การวางแผนและการบริหารจัดการใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่ามาก ที่สุด ลดการสญู เสีย รว่ มกับการวางแผนด้านการลดปริมาณมาณใช้พลังงานหรือใช้ให้เกิดประโยชน์สงู สดุ ท้ังน้ี การดาเนินการดังกล่าวจะเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด จะต้องเกิดจากความร่วมมือกันของทุกฝ่ายท่ีเกี่ยวข้องในโซ่ อุปทานในรูปแบบของพันธมิตรในโซ่อุปทาน เพ่ือให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม หากการดาเนินการ ดังกล่าว เป็นการดาเนินการเพียงองค์กรใดองค์กรหนึ่งแล้ว อาจเป็นไปในลักษณะของการผลักปัญหา สง่ิ แวดล้อมให้กับผูอ้ ่นื ทเ่ี กี่ยวขอ้ งกันในโซ่อปุ ทาน ทง้ั น้ีการร่วมมือกนั จะทาใหเ้ กิดการคน้ พบแนวทางการปฏิบัติ ทีเ่ หมาะสม โดยอาจใช้เทคโนโลยเี ขา้ ชว่ ยเพื่อใหเ้ กิดการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน การประยกุ ตใ์ ชแ้ นวคิดการจัดการโลจสิ ตกิ สแ์ ละโซอ่ ปุ ทานสเี ขียว ปัจจุบันการประยุกต์ใช้แนวความคิดการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียวมีหลายแนวคิด ผู้เขียน ขอนาเสนอแนวคิดการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว ภายใต้กรอบแนวคิด 3Cs (Christopher, 2011) ซ่ึงเป็นการประยุกต์แนวคิดการสร้างความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ (Competitive Advantage) ช้ีให้เห็นถึงปัจจัยผลักดันของการพัฒนาโซ่อุปทานสีเขียวในด้านต่างๆ (ภาพที่ 3) ไดแ้ ก่ 3

1. บริษัทหรือองค์กร (Company) เป็นการผลักดันภายในองค์กรให้มีการพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่ อุปทานสีเขียว (Internal Logistics and Supply Chain Management) เพื่อลดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม โดยเร่ิมจากการกาหนดนโยบายขององค์กรที่สามารถส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการ ปรับปรุงเปล่ียนแปลงกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรอย่างเป็นรูปธรรม เพ่ือลดและปัองกันการเกิด ผลกระทบต่อสง่ิ แวดล้อมและเป็นการสรา้ งคุณค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ตอ่ องค์กร นอกจากนี้ ยงั สามารถ ใช้นโยบายเชิงปฏิบัติขององค์กรสีเขียวเป็นจุดขายท่ีสร้างความแตกต่างในธุรกิจเดียวกัน การบริหาร จัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานจะสัมฤทธิ์ผลได้ จะต้องเกิดจากความร่วมมือขององค์กรตลอดโซ่ อุปทาน (Supply Chain Collaboration) และการส่ือสารระหว่างองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึง การร่วมกันวางแผนทางการดาเนนิ ธรุ กิจที่ทาให้องค์กรไดร้ ับประโยชน์รว่ มกนั 2. ลูกค้า (Consumer) การผลักดันให้ผู้บริโภคเกิดความตระหนักและให้ความสาคัญต่อการรักษา สิ่งแวดล้อม รวมถึงการจดั การโลจิสติกสแ์ ละโซอ่ ปุ ทานสเี ขยี วของสินค้าและบริการทพ่ี วกเขาได้รบั ดว้ ย การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริโภค เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค ในมุมกลับกัน องค์กรผู้ผลิตจะต้องใหค้ วามสาคัญกับผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นแรงผลักดันที่สาคญั (Driving Force) ท่ีจะทา ให้บริษัทและองค์กรผู้ผลิตจะต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคและเพ่ือ ความยัง่ ยืนของธุรกิจ 3. คู่แขง่ ทางธรุ กจิ (Competitor) จากสภาพแวดล้อมทางธรุ กจิ ทม่ี ีการเปลย่ี นแปลงรวมถึงการแข่งขนั ท่ี รุนแรงมากขึ้น บรษิ ทั หรือองค์กรผู้ผลติ จาเป็นต้องสรา้ งความได้เปรยี บทางการคา้ รวมถึงการสร้างความ แตกต่างเพ่ือเป็นส่ิงดึงดูดลูกค้าและผู้บริโภค และหนึ่งในจุดขายที่หลายธุรกิจในต่างประเทศนามาใช้ เป็นกลยุทธใ์ นการสร้างความแตกต่าง คือ การเป็นองค์กรสเี ขียว กล่าวคือ การผลิตสนิ ค้าและบริการที่ เป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อม การไม่เอาเปรียบผู้บริโภค และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและ ส่ิงแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กลุ่มลูกค้าและผูบ้ ริโภคให้ความสาคัญกับการลดผลกระทบ ต่อส่งิ แวดลอ้ ม การผลิตสินคา้ และบริการที่ไมส่ ่งผลกระทบต่อสิง่ แวดลอ้ ม คงไม่ได้เป็นเพยี งจุดขาย แต่ จะกลายเป็นสง่ิ ท่ีผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามแนวทางของสังคมน้ันๆ ดังจะเห็นได้จากการค้าระดับ โลกในหลายประเทศที่ได้ออกมาตรการที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barrier) เพ่ือควบคุมการนาเข้าสินค้า และบรกิ ารท่ีอาจจะส่งผลกระทบตอ่ สิง่ แวดอ้ มในประเทศ เม่ือพิจารณาแนวทางการผลักดันให้เกิดการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียวภายใต้ กรอบ 3Cs แล้ว จะเห็นได้ว่า ปัจจัยผลักดันทัง้ สาม ไม่ว่าจะเป็นบริษัทผผู้ ลิต ลูกค้าหรือผูบ้ ริโภค หรือคู่แขง่ ทาง ธุรกิจ ล้วนเป็นปัจจัยที่สนับสนุนซ่ึงกันและกัน เมื่อลูกค้าต้องการบริโภคสินค้าและบริการท่ีเป็นมิตรต่อ สง่ิ แวดล้อม โดยธรรมชาติของการดาเนินธุรกิจ บรษิ ัทผู้ผลิตย่อมตอ้ งผลิตสนิ ค้าและบริการเพื่อสนองตอบความ ต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภค เม่ือมีผู้ผลิตมากขึ้น ผู้บริโภคมีทางเลือกมากข้ึน การแข่งขันทางธุรกิจก็จะทวี ความเข้มข้นยิ่งขึ้น ซ่ึงจะเป็นผลดีทั้งต่อผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม การประกอบการอย่างเป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมท่ีอยู่บนหลักการของการลดมลพิษที่แหล่งกาเนิด ไม่เพียงแต่เป็นการลดผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อม แต่ยังเป็นการลดต้นทุนการผลิตท้ังที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม การใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างไม่ คุ้มค่า รวมถึงต้นทุนการบาบัดและจัดการของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตตลอดโซ่อุปทาน ซ่ึงส่งผลกระทบ เชิงบวกต่อตน้ ทนุ การประกอบการของบริษทั ผูผ้ ลิต 1-4

Company การผลกั ดันใหม้ กี ารพฒั นาโซอ่ ทุ านสีเขยี ว จากนโยบายองคก์ ร รวมถงึ บุคลากรท่ีให้ Supply Chain ความสาคัญกับการดาเนนิ ธรุ กิจอยา่ งเปน็ มิตรต่อสิ่งแวดลอ้ ม ในปจั จุบนั มกี าร Green Performance การเปล่ียนแปลงธรุ กจิ ใน เปลย่ี นแปลงพฤตกิ รรมของ Evaluation ปจั จบุ นั ทม่ี กี ารแข่งขนั กนั ผู้บรโิ ภคที่ให้ความสาคัญ อยา่ งรนุ แรง รวมถึงการ กับการรกั ษาส่ิงแวดลอ้ ม Consumer Reverse Chain Competitor ยอ่ มส่งผลต่อการพัฒนาโซ่ Reverse Logistics แขง่ ขันดา้ นการเป็น อุปทานสเี ขยี วของธรุ กจิ องคก์ รสเี ขียว เพอ่ื สรา้ ง Value ความเช่ือม่ันให้กบั ผู้บรโิ ภคและสร้างจดุ เดน่ ทีส่ าคัญต่อธุรกจิ คแู่ ข่ง ภาพท่ี 3 การประยกุ ต์ใชก้ ารบรกิ ารจัดการโลจสิ ตกิ สแ์ ละโซ่อปุ ทานสีเขียวภายใตก้ รอบแนวคดิ 3Cs แนวทางการบรหิ ารจดั การ โซอ่ ุปทานสเี ขยี วในตา่ งประเทศ ปัจจุบัน การบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว เป็นท่ีสนใจของทั้งภาครัฐและเอกชนใน หลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย ประเทศคู่ค้า หรือคู่แข่งทางเศรษฐกิจ จะเห็นได้จากการประยุกต์ใช้ แนวคิดด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว มาประกอบการดาเนินกิจการ เพื่อลดต้นทุนและเพ่ิม ประสิทธิภาพการดาเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อม น่ันหมายถึงการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถ ในการแขง่ ขันในตลาดการคา้ โลกในยุคปัจจุบัน ที่คนใหค้ วามสาคญั กบั การใชช้ ีวิตอยา่ งมีคณุ ภาพและปลอดภัย ท้ังน้ีหากพิจารณาถึงประแนวทางการส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่ อุปทานสีเขียวในระดับมหภาค พบว่าประเทศต่างๆ มีกลวิธีและรูปแบบการส่งเสริมและผลักดันท่ีแตกต่างกัน ออกไป อาทิเช่น ประเทศจีนใช้กลยุทธ์การผลักดันองค์กรและบริษัทต่างๆ ให้ตระหนักถึงประเด็นการลด ผลกระทบต่อส่งิ แวดลอ้ ม และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ผ่านการแข่งขันระดับองคก์ ร ซงึ่ แตกตา่ งจาก ประเทศญี่ปุ่นที่มุ่งเป้าและผลักดันให้กลุ่มผู้บริโภคเกิดความตระหนักและนิยมบริโภคสินค้าและบริการท่ีเป็น มติ รต่อส่ิงแวดล้อม และมีทศั นคติทด่ี ีต่อการเป็นองค์กรสีเขียว (สานักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและ การเหมืองแร่, 2558) แนวคิดท่ีแตกต่างกันของแต่ละประเทศในการสง่ เสริมแนวคิดการจัดการโลจิสติกส์และ โซ่อปุ ทานสเี ขยี ว เปน็ เอกลกั ษณ์ท่ีสะท้อนถึงศักยภาพและวฒั นธรรมของธุรกจิ และการจดั การในแต่ละประเทศ ในส่วนถัดไปน้ีจะกล่าวถึงตัวอย่างการดาเนินงานด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียวของประเทศที่มี บทบาทและมีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) อาทิ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และประเทศไทย โดยมรี ายละเอียดดังตอ่ ไปนี้ การบรหิ ารจัดการด้านโลจิสตกิ ส์และโซอ่ ุปทานสีเขยี วในประเทศสาธารณรฐั ประชาชนจีน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศที่ได้เปรียบทางด้านขนาดของตลาด ขนาดพ้ืนท่ีของ ประเทศ จานวนประชากร และศักยภาพของการแข่งขันด้านต่างๆในระดับโลก จึงทาให้ประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีนมีการเติบโตและพัฒนาการทางเศรษฐกิจท่ีรวดเร็ว มีอัตราการค้าภายในประเทศและระหว่าง ประเทศที่สูงข้ึนอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้เกิดการขนส่งสินค้าหลายรูปแบบแต่ในขณะเดียวกัน การขนส่งสินค้า 5

เหล่านี้ก็เป็นปัจจัยสาคัญท่ีสร้างมลพิษและสารพิษที่มีผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมในพ้ืนที่ ทั้งในระดับชุมชนและ ระดับประเทศ ซงึ่ กลา่ วได้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเปน็ มิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถือเปน็ ความทา้ ทายท่ีสาธารณรัฐ ประชาชนจีนกาลังเผชิญอยู่ ดังน้ัน สาธารณรฐั ประชาชนจนี จึงให้ความสาคัญกับการพัฒนาและปรับปรงุ ระบบ การคมนาคมขนส่งอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเพ่ิมขนาดของยานพาหนะสาหรับขนส่งสินค้า หรือการ ประยุกต์ใช้เทคโนยีใหมๆ่ เพ่อื ส่งเสริมการบริหารจดั การจสิ ติกส์ การขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อ ส่ิงแวดล้อม ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจนี การเติบโตทางเศรษฐกจิ เปน็ ปจั จยั สาคญั การสนบั สนนุ จากภาครฐั บาล รณรงคใ์ หใ้ ชย้ านพาหนะระบบไฟฟา้ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดลอ้ มอยา่ งรนุ แรง ท่ีเปน็ มติ รตอ่ ส่งิ แวดล้อม การเป็นมิตรตอ่ สง่ิ แวดลอ้ มเป็น รัฐบาลจดั การแข่งขันระหว่างบริษทั ได้รับการสนับสนนุ และตวั อย่างการ โอกาสและวธิ กี ารในการลดต้นทนุ เพือ่ สง่ เสรมิ ให้เกดิ การดาเนนิ ธรุ กจิ ปฏิบตั ิท่เี ปน็ มิตรตอ่ สง่ิ แวดล้อมจาก อยา่ งเปน็ มติ รตอ่ ส่ิงแวดล้อม หน่วยงานในต่างประเทศ ภาพที่ 4 การบรหิ ารจดั การโลจสิ ตกิ ส์และโซ่อุปทานสีเขียวในประเทศสาธารณรฐั ประชาชนจนี Mr. Matthieu Ma ผู้จัดการการตลาดของ บริษัท CHEP China Company Ltd. ผู้นาด้านบริษัทให้ เช่าแผ่นรองรับสนิ ค้า (Pallet) และตู้คอนเทนเนอร์ในประเทศจีนกล่าวว่า“ระบบโลจิสติกส์และโซอ่ ุปทานสเี ขยี ว ไม่เพียงเก่ียวข้องกับการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพยี งอยา่ งเดยี ว แต่ยงั หมายถึงการเพิ่มประสทิ ธิภาพและการลด ต้นทุนท่ีสามารถเพิ่มศักยภาพและสร้างความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจ” ปัจจุบันรัฐบาลจีนมีการสนับสนุนระบบโลจิ สติกส์ในด้านต่างๆอย่างเป็นทางการ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแนวความคิดความร่วมมือของบริษัทในการสร้าง กฎเกณฑ์ทเ่ี กี่ยวกบั การรักษาคณุ ภาพสิ่งแวดล้อม การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และการสนับสนุนระบบขนส่ง ต่อเน่ืองหลายรูปแบบ ท้ังยังมีการแข่งขันการดาเนินงาน และมีการประกาศรายชื่อบริษัทที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมภายใต้รายงาน China Top Green Companies Report เพื่อจัดลาดับรายชื่อบริษัทสีเขียว เพ่ือ สร้างเครอื ข่ายและสังคมที่เป็นมติ รต่อสิง่ แวดล้อม โดย China Entrepreneur Club ซึง่ เปน็ สโมสรนักธุรกจิ ของ ประเทศจีน ซึ่งประกอบด้วยนกั เศรษฐศาสตร์ นักธุรกิจ และผู้มีความรู้ในหลากหลายสาขาอาชีพ มีการรายงาน ผลคร้งั แรกในปี พ.ศ.2555 เป็นต้นมา 1-6

จากการพัฒนาดังกล่าว ทาให้ประชาชนเริ่มเกิดความตระหนัก และใส่ใจในการร่วมรักษาคุณภาพของ ส่ิงแวดล้อมมากขึ้น จะเห็นได้จากแนวโน้มการใช้ระบบรถไฟฟ้า และระบบอิเล็กทรอนิกส์ท่ีเป็นมิตรต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อมมากข้ึนถึง 40% และกลุ่มบริษัทในอุตสาหกรรมรถไฟฟ้ามีโครงการส่งเสริมและใช้โอกาสนี้เป็น จุดขายทางการตลาด และได้พัฒนารถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Eco-Car เข้ามาเป็นจุดดึงดูดลูกค้า จากกระแสเพ่ือสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ทาให้รัฐบาลจีนวางแผนท่ีจะพัฒนาระบบรถโดยสารในระบบขนส่งมวลชน ให้เปน็ รถไฟฟ้าระบบอเิ ล็กทรอนกิ ส์ท้ังหมดในประเทศ การบริหารจัดการโลจิสติกสแ์ ละโซ่อุปทานสีเขยี วในประเทศญ่ีปนุ่ ประเทศญ่ีปุ่น เป็นประเทศที่ให้ความสาคัญกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 มีการ บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมคร้ังแรกในปี พ.ศ.2536 เน่ืองจากประเทศญ่ีปุ่นต้องเผชิญกับปัญหา ขยะ ของเสีย และกระบวนการกาจัดของเสียจากภาคอตุ สาหกรรม หลายๆโรงงานไมส่ ามารถจัดการกบั ของเสียทเ่ี กิด จากกระบวนการผลิตได้อย่างถูกต้อง การปล่อย ส า ร พิ ษ ซ่ึ ง เ ป็ น อั น ต ร า ย ต่ อ ป ร ะ ช า ช น แ ล ะ สิ่งแวดล้อมจากภาคอุตสาหกรรม ทาให้รัฐบาลต้อง ออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด นอกจากนี้ยังมีการออกกฎหมายท่ีใช้ในการควบคุม การปล่อยของเสียของโรงงาน กฎหมายท่ีใช้ในการ ควบคุมสารพษิ และอน่ื ๆอีกมากมาย องค์กรต่างๆภาครัฐของประเทศญี่ปุ่น มี นโยบายส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลด ภาพท่ี 5 ถังขยะสาหรบั แยกวสั ดุเพ่ือส่งรไี ซเคิลของญี่ปุ่น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมการรีไซเคิล (Recycling-Based Society) การออกกฎหมาย เพ่ือการคัดแยกและการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ (Law for the Promotion of Sorted Recycling of Containers and Packaging) เพ่ือสง่ เสริมการนาบรรจุภัณฑม์ ารีไซเคิลมากข้ึน ประเทศญ่ีปุ่นได้เข้าร่วมพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งเป็นพิธีสารท่ีจัดตั้งข้ึนภายใต้อนุสัญญา สหประชาชาติ เพื่อเน้นย้าพันธกรณีของประเทศสมาชิกถึงความร่วมมือด้านการจากัดการปล่อยก๊าซเรือน กระจกของประเทศ และมกี ารประยุกตใ์ ช้แนวทางปฏิบัติต่างๆ ได้แก่ ออกและบงั คับใช้กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม ดาเนนิ การประเมนิ และหาแนวทางจัดการกา๊ ซเรอื นกระจก โดยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 6% ในปี พ.ศ.2548 จนนาไปสู่การก่อตั้งสังคมคาร์บอนต่า (Low Carbon Society) มีการกาหนดเป้าหมายเพื่อลดระดับของ มลพิษลงให้ได้ 60-80% ภายในปี พ.ศ.2559 โดยมุ่งเน้นการ เปล่ียนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า (Solar Photovoltaic) และการลดตน้ ทุนการปรบั เปล่ยี นมาใช้ระบบ พลงั งานแสงอาทิตย์ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับประชาชนหันมา ภาพที่ 6 เครื่องหมายรีไซเคลิ บนบรรจภุ ณั ฑ์ ใช้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนแหล่งพลังงานเดิม และ ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์และทรัพยากร ประเทศญป่ี ุ่นยังไดค้ ดิ คน้ และมองหาแหล่งพลังงานทดแทนจากแหล่ง 7

พลังงานอ่ืนอย่างต่อเนื่อง เช่น พลังงานน้า (Hydroelectric) พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal) แหล่ง ความร้อนที่เป็นไอน้า (Steam Dominated) แหล่งความร้อนท่ีเป็นน้าร้อน (Hot Water Dominated) แหล่ง หนิ ร้อนแห้ง (Hot Dry Rock) และอน่ื ๆอกี มาก ประเทศญีป่ นุ่ ผลกระทบ ตรากฎหมายและบงั คบั ใช้ สง่ เสรมิ กจิ กรรม จากภาวะโลกรอ้ น อย่างเขม้ งวด รีไซเคลิ พัฒนาและเพิม่ ศกั ยภาพ คิดค้น วิจัยหาแหลง่ พลังงาน ปลกู จิตสานกึ ของประชาชน ในการขนสง่ รปู แบบต่างๆ ทดแทนอย่างต่อเน่ือง ใหม้ ีสว่ นร่วมในการรักษาสิง่ แวดลอ้ ม รณรงคใ์ ห้ภาคเอกชนเข้าร่วม ผลักดนั ให้ประเทศเป็นประเทศน่าอยู่ โครงการขนส่งทางรางร่วมกัน (Eco-Rail) และเป็นมิตรต่อส่งิ แวดล้อมอยา่ งยั่งยืน ภาพที่ 7 การบรหิ ารจดั การโลจสิ ตกิ ส์และโซ่อุปทานสีเขียวในประเทศญ่ปี ุ่น ในขณะเดียวกัน Japan Business Federation (JBF) ได้ส่งเสริมและสนองนโยบายสนับสนุนการใช้ พลังงานจากแหล่งทางเลือกอ่ืน โดยเฉพาะแหล่งพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้คาขวัญที่ว่า “การ ตระหนักถึงส่ิงแวดล้อมเป็นปัจจัยสาคัญในการดาเนินกิจการและกิจกรรมต่างๆของบริษัทอย่างยั่งยืน ” นอกจากน้ี JBF ยังได้สร้างแผนปฏิบัติท่ีตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม (Environmental Self-Action Plan) เพ่ือลด สาเหตุท่ีก่อเกิดภาวะโลกร้อนอกี ด้วย นอกจากด้านพลงั งานแล้ว ประเทศญี่ปุน่ ยงั ได้จัดทาระบบการประเมินและ รับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ท่ีจัดทาโดย Japan Environmental Management Association for Industry (JEMAI) โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทาการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์รวมถึงการติดฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ อีกดว้ ย สาหรบั ด้านการพฒั นาระบบการตมนาคมขนส่ง ประเทศญ่ีปุ่นได้ดาเนินโครงการ Eco Rail Mark ในปี พ.ศ.2548 ซ่ึงเป็นโครงการท่ีจัดต้ังโดยกระทรวงท่ีดิน สาธารณูปโภค การขนส่งและท่องเท่ียว (Japan's Ministry of Land, Infrastructure and Transport) ของญ่ีปุ่น เพื่อให้การสนับสนุนระบบการขนสง่ สนิ คา้ ทาง ราง เป็นการลดปริมาณการขนส่งสินค้าทางถนนแบบเดิมๆ เนื่องจากการขนส่งทางรางเป็นการขนส่งท่ีส่งผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยท่สี ุด โดยเครื่องหมาย Eco Rail Mark แบง่ ออกเปน็ 2 ชนิด คือ 1-8

1. Eco Rail Mark สาหรับสินค้า (Product) จะให้การรับรองสินค้าที่มีการขนส่งทางรางมากกว่า 30% ของปรมิ าณการขนสง่ สินคา้ ทงั้ หมด 2. Eco Rail Mark สาหรับบริษัท (Company) จะให้การรับรองบริษัทที่มีการเดินทางโดยทางราง มากกว่า 15% ของการเดนิ ทางทัง้ หมด เครือ่ งหมาย Eco Rail Mark เครอื่ งหมาย Eco Ship Mark ภาพที่ 8 การรบั รองเครือ่ งหมาย Eco Rail Mark และ Eco Ship Mark ในประเทศญี่ปนุ่ ต่อมา ในปี พ.ศ.2551 ยังได้ริเร่ิมการใช้เคร่ืองหมาย Eco Ship Mark เพื่อให้การรับรองบริษัทโลจิ สติกส์และการขนส่งสินค้าทางเรือ ท่ีมีการพัฒนาระบบการขนส่งที่สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซ คารบ์ อนไดออกไซด์ สาหรับการดาเนินงานของภาคเอกชน กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆของประเทศญี่ปุ่นตระหนักว่าการ คานึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหน่ึงของความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) ท้ังน้ี ได้ร่วมกันสร้าง แนวคิดการตระหนกั ถึงส่ิงแวดล้อมจากผู้บรโิ ภค ไม่ว่าจะเป็นการลดของเสียจากการดาเนนิ กิจวัตรประจาวนั ของ ประชาชน รวมถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานอย่างคุ้มค่า ตัวอย่างเช่น บริษัท Nippon Express เป็นบริษัทช้ันนาของประเทศญี่ปุ่นด้านผู้ประกอบธุรกิจการขนส่งสินค้าภายในประเทศและต่างประเทศ ซ่ึง ตระหนักถึงการดาเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้มีการเก็บข้อมูลคานวณและวิเคราะห์แล้ว พบวา่ การขนส่งทางอากาศมีอตั ราการกอ่ ให้เกดิ มลพษิ มากท่สี ุด ตามมาด้วยการขนส่งทางรถบรรทุก การขนส่ง ทางเรือ และการขนส่งทางรางตามลาดับ จากผลการศึกษาดังกล่าว บริษัท Nippon Express จึงได้เปล่ียนจาก การขนส่งทางรถบรรทุก มาเป็นการขนส่งทางรางและทางน้าให้มากท่ีสุด เพือ่ การดาเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรต่อ ส่ิงแวดล้อม และนาไปสู่การลดตน้ ทุนในการดาเนนิ กิจการอยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ การบรหิ ารจัดการโลจสิ ติกสแ์ ละโซ่อุปทานสเี ขียวในประเทศเยอรมนี หลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศเยอรมนีมีความตระหนักถึงกิจกรรมด้านโลจิสติกส์กับความเป็นมิตร ตอ่ สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 จนกระท่ังในปี พ.ศ.2533 ประเทศเยอรมนีได้เริ่มใช้ระบบการขนส่งต่อเน่ือง หลายรูปแบบ (Multimodal Transport) ท้ังการขนส่งทางราง การขนส่งทางบก การขนส่งทางน้า และการ 9

ขนส่งต่อเน่ืองหลายรปู แบบ ส่งผลให้ตน้ ทุนในการขนสง่ สินค้าลดลง โดยความสาเร็จนถี้ ือเป็นกา้ วสาคัญของการ พฒั นาด้านการขนส่งสเี ขียวในประเทศเยอรมนี รัฐบาลเยอรมนีได้มีการกาหนดนโยบายในหลายๆด้าน ภายใต้กรอบการเป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อม โดย การหลีกเล่ียงการสร้างมลพิษต่างๆ ด้วยการสร้างเครื่องตรวจวัดมลพษิ ทางอากาศ การกาหนดนโยบายไม่สร้าง ถนนเพิม่ การเก็บค่าธรรมเนียมทางวิง่ ของรถบรรทกุ การควบคุมความเร็วของรถบนท้องถนน การเพมิ่ ศักยภาพ ของการขนส่งทางราง การออกข้อกาหนดในการปล่อยมลพิษสู่ช้ันบรรยากาศ รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ผ่าน กรณีศึกษาตวั อยา่ งอกี มากมาย ประเทศเยอรมนี รฐั บาลสนับสนุนการพฒั นา ติดตง้ั เครื่องตรวจวัดมลพิษทาง นโยบายไม่สร้างถนน และเพ่มิ ศักยภาพในด้านต่างๆ อากาศตามทอ้ งถนน ใหมเ่ พ่ิมเตมิ พฒั นาระบบขนส่ง ระบบขนส่งตอ่ เน่ือง พัฒนาและสนบั สนนุ การใช้ เกบ็ ค่าธรรมเนยี ม ภายในองค์กร หลายรูปแบบ ทางวิ่งของรถบรรทกุ ระบบขนสง่ ทางราง มกี ารวางแผนยุทธศาสตร์ มีการวางกลยทุ ธใ์ นด้านอสังหาริมทรพั ยท์ ่ีเน้น ได้รบั การสนบั สนุนจากบรษิ ทั และวางแผนโครงงาน คณุ ภาพและเปน็ มิตรตอ่ สงิ่ แวดล้อม ภาคเอกชนในการพัฒนา ภาพท่ี 5-13 ระบบบรหิ ารจดั การและโลจิสติกสส์ ีเขยี วในประเทศเยอรมนี นอกจากนี้ ประเทศเยอรมนียังส่งเสริมการบริหารจัดการโลจิสติกส์สีเขียว โดยแบ่งขอบเขตของการ บริหารจัดการโลจิสตกิ สส์ เี ขยี วออกเป็น 4 ประเภท ดงั แสดงนี้ ทีม่ า: Fraunhofer Institute for Material Flow and L1o-g1is0tics IML ภาพท่ี 5-8 ขอบเขตของโลจสิ ติกสส์ ีเขยี วในประเทศเยอรมนี

1. การขนส่งสินค้า (Transport) ประเทศเยอรมนีใช้ระบบการขนส่งแบบต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) ซ่ึงหมายถึง ระบบการขนส่งสินค้าที่มีลักษณะท่ีแตกต่างกันสองรูปแบบขึ้น ไป เชน่ การเช่อื มตอ่ การสง่ สินค้าระหว่างการขนส่งทางรถบรรทกุ และทางรางเข้าดว้ ยกัน เพือ่ ลดต้นทุน และมลพษิ ทกี่ ระทบตอ่ สง่ิ แวดลอ้ ม 2. ระบบโลจิสตกิ ส์ภายในองค์กร (Intralogistics) คือ ระบบการขนส่งวัตถุดิบ และสินคา้ รวมถึงข้อมูล ภายในองค์กร โดยมกี ารประยกุ ตใ์ ช้นวัตกรรมเทคโนโลยใี นระบบการขนส่งภายในองค์กรในหลายๆดา้ น ได้แก่ ระบบการขนส่งโดยใช้สายพานอัตโนมัติลาเลียงสินค้าร่วมกันกับระบบติดตาม RFID ระบบ บาร์โค้ด ระบบการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System: WMS) เพื่อลดข้ันตอน การบริหารจัดการและลดการใช้ทรัพยากรในองค์กร เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการลดมลพิษที่เกิดจาก กิจกรรมโลจิสติกส์ และยังเป็นการเพ่ิมมูลค่า ภาพลักษณ์ และศักยภาพในการแข่งขันให้กับองค์กรอีก ด้วย 3. การวางยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการ (Planning/Strategy) รัฐบาลเยอรมนีมีการวางแผนและ สร้างกลยุทธ์ท่ีผลักดันให้ประชาชนและบริษัทภาคเอกชนหันมาใส่ใจส่ิงแวดล้อมในด้านต่างๆมากข้ึน ผ่านโครงการท่ีเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคเอกชน โดยให้คานึงถึงผลกระทบจากการ ปลอ่ ยของเสีย และหลกี เล่ยี งการสร้างมลพษิ ที่สง่ ผลกระทบต่อสิ่งแวดลอ้ ม 4. การบริหารจัดการอาคารสถานท่ีของสถานประกอบการ (Real Estate) คือ การบริหารจัดการ การ สร้างอาคารสถานท่ีและโรงงานท่ีเน้นคุณภาพและความเป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อม เพื่อเพิ่มศักยภาพใน การดาเนินกิจกรรมต่างๆ ให้สามารถควบคุมการไหลเวียนของวัตถุดิบ สินค้า และข้อมูลได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบท่ีสาคัญของตัวอาคารต้ังแต่ การออกแบบ การวางแผนผัง ระบบสาธารณูปโภค และตัวอาคารโรงงาน เป็นตน้ ตัวอยา่ งการบรหิ ารจดั การโซอ่ ุปทานสเี ขยี วทีน่ า่ สนใจของภาคเอกชน ไดแ้ ก่  บริษัท DHL ซึ่งเป็นบริษัทแรกของโลกท่ีมีการต้ังเป้าหมายเพื่อวัดปริมาณมลพิษ CO₂ ภายใต้ โครงการ Go Green ซึ่งได้สร้างและเผยแพร่แนวความคิดร่วมสมัย (Trend) ไปมากกว่า 35 ประเทศท่วั โลก  บริษทั DB Schenker ได้มีการประเมินคารบ์ อนฟุตพร้ินท์ โดยไดร้ ับความร่วมมือจาก สถาบัน Applied Ecology และได้เสนอวิธีการแก้ไขปัญหาโดยการนาระบบ Eco-Transportation มาปรับใชก้ ับการขนสง่ ทสี่ ามารถลดมลพิษและของเสยี ต่างๆได้ อกี ท้ังยังประสบความสาเร็จใน การประยุกต์ใช้หลักการ Eco plus เข้ากับการขนส่งในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง ทาง รถ เรือ และรถไฟ ทก่ี ่อเกิดมลพิษใหน้ อ้ ย จนถงึ ระดับทไี่ มก่ ่อเกิดมลพิษและผลกระทบต่อ ส่งิ แวดล้อม  บริษัท Bosch and Siemens ได้เปลี่ยนรูปแบบของการขนส่งสินค้า จากการใช้รถบรรทุกมา เป็นการขนส่งทางรางแทนถึง 60% ซึ่งความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทาให้เยอรมนีมีการ พัฒนาระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียวท่ีโดดเด่นและสามารถเป็นต้นแบบให้กับประเทศ อืน่ ท่ีตอ้ งการพัฒนาระบบโซ่อปุ ทานท่ีเปน็ มิตรต่อสิ่งแวดลอ้ มได้เป็นอย่างดี 11

5.4 การบริหารจดั การโลจสิ ตกิ สแ์ ละโซอ่ ปุ ทานสีเขียวในประเทศเนเธอรแ์ ลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศท่ีนาระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียวมาประยุกต์ใช้อันดับ แรกๆของทวีปยุโรป ระบบโลจิสติกส์และโซ่อปุ ทานสีเขียวในประเทศเนเธอร์แลนด์ส่วนมากจะเก่ียวข้องกับการ ลดมลพิษท่ีเกิดจากการขนส่งและการกระจายสินค้า โดยรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะพัฒนาระบบขนส่งอย่างมี ประสิทธภิ าพและย่ังยืน เช่น การเลือกทาเลที่ตัง้ ศูนย์กระจายสินค้าเพ่ือลดระยะทางและเวลาในการขนส่ง การ เพิม่ ความสามารถในการบรรทกุ สนิ คา้ ต่อเทยี่ วให้มากข้ึน (Loading Capacity) การใช้ระบบการวางแผนอุปสงค์ และอุปทาน (Demand and Supply Planning Software) เพ่ือช่วยในการบริหารจัดการและลดอัตราการใช้ น้ามนั เชือ้ เพลงิ ของระบบขนสง่ รัฐบาลของประเทศเนเธอร์แลนด์ได้ทาการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการ Lean and Green Award ทจ่ี ัดตั้งโดยสถาบัน Connekt ภายใต้การควบคุมของกระทรวงทด่ี ิน สาธารณูปโภค การขนส่งและท่องเทย่ี ว ซึ่ง เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทเอกชนกับหน่วยงานของภาครัฐที่อยู่ในเขตชุมชน เพ่ือส่งเสรมิ พัฒนา และสร้าง ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างย่ังยืน โดยมีการจัดมอบรางวัล Lean and Green Star ให้แก่บริษัทท่ี สามารถลดการปล่อยมลพิษได้ 20% ในทุกๆปี โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 มีหลายบริษัทที่ได้รับรางวัลจากหลาย สถาบัน เช่น บริษัท DPD Network บริษัท Wim Bosman Network บริษัท Coca-Cola Enterprises บริษัท H.J. Heinz บรษิ ทั Benelux บริษัท CHEP และ บริษัท Kloosterboer group เป็นตน้ โครงการที่น่าสนใจอีกโครงการที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ให้การสนับสนุน ได้แก่ โครงการ Lean and Green Barge ที่ก่อต้ังในปี พ.ศ.2551 เป็นโครงการที่รัฐบาลจัดตั้งข้ึนเพ่ือเพ่ิมศักยภาพและรณรงค์ให้ ภาคเอกชนหันมาใช้การขนส่งทางน้า โดยการให้บริษัทที่ข้ึนทะเบียนและเข้าร่วมโครงการ Lean and Green Barge สามารถใช้การขนส่งร่วมกัน เป็นการขนส่งท่ีเช่ือถือได้ ลดต้นทุน ลดมลพิษ และเป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อม เพียงแค่ 2 ปี Lean and Green Barge ประสบความสาเร็จอย่างสูงในด้านของความร่วมมือในระดับพื้นที่ ภูมิภาค และประเทศ อีกท้ังยังมีอีกหลายโครงการที่ก่อตั้งข้ึนเพื่อนาไปสู่การสร้าง Lean and Green Community รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ยังได้ตั้งเป้าหมายพัฒนาเพิ่มศักยภาพการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยการสร้างกรอบปฏิบัติให้แก่ผู้ประกอบการให้ดาเนินกิจการไปในทิศทางเดียวกัน และในปี พ.ศ.2558 ประเทศเนเธอรแ์ ลนด์จะพฒั นาโครงการ Lean and Green Barge โดยเปลี่ยนเปน็ โครงการ Lean and Green Synchormodal ด้วยการเพิ่มทางเลือกของโหมดการขนส่งให้กับผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มศักยภาพของระบบ โครงสรา้ งการขนส่งท้ังภายในประเทศและระหว่างประเทศ ประเทศเนเธอแลนด์ รฐั บาลต้องการพฒั นาและเพิม่ สง่ เสรมิ ให้บรษิ ทั ใน รัฐบาลสง่ เสริมใหบ้ รษิ ทั ภาคเอกชน ศกั ยภาพ ภาคเอกชนเขา้ ร่วมการ เขา้ ร่วมโครงการ Lean & Green จงึ มีนโยบายสนบั สนุนในด้าน แขง่ ขันต่างๆ มีการวางแผนพัฒนาเพมิ่ รณรงคใ์ หภ้ าคเอกชน สรา้ งกรอบปฏิบตั ิให้แก่ ศักยภาพการขนส่งต่อเนอ่ื ง หนั มาใช้การขนส่งทาง ผู้ประกอบการใหด้ าเนินกิจการ หลายรูปแบบ น้า ไปในทศิ ทางเดียวกัน เพิม่ ศกั ยภาพในการลดต้นทุน รักษา1ส่งิ-แ1ว2ดลอ้ มอย่าง ระบบขนส่งบนพน้ื ฐานท่ียงั่ ยนื ตอ่ เน่ือง ภาพท่ี 5-9 การบริหารจัดการโลจสิ ติกส์และโซ่อปุ ทานสเี ขยี วใน ประเนเธอร์แลนด์

Lean & Green Barge Lean & Green Synchormodal ภาพท่ี 5-10 การปฎิวตั ริ ูปแบบระบบการขนสง่ ของโครงการ Lean & Green Barge ท่มี า : Connekt Lean and Green ภาพท่ี 5-11 บรษิ ัทท่ีเข้ารว่ มโครงการ Lean and Green Barge ในประเทศเนเธอรแ์ ลนด์ การบริหารจัดการโซ่อุปทานสีเขียวท่ีประสบความสาเร็จอย่างเห็นได้ชัดของประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ บริษัท VOS Logistics ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการด้านโลจิสติกส์หลากหลายรูปแบบในภูมิภาคยุโรป โดย ได้รับรางวัล Lean and Green European Logistics Service Provider จากสถาบัน Duurzame Logictiek & Connekt ด้วยเป็นบริษัทที่สามารถพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืนโดยบริษัทตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20% ภายในปี พ.ศ.2558 โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาศักยภาพและประยุกต์ใช้นวัตกรรม เพื่อการขนส่งท่ีสะอาด (Efficient and Clean Transport Innovations) นโยบายหลักของ บริษัท VOS Logistics คือ การสรา้ งความยงั่ ยืน โดยกาหนดและมุ่งเนน้ ไปท่ีเทคโนโลยีของกระบวนการและการวางแผนงาน สาหรับอนาคตเป้าหมายหลัก คือ การลดมลพิษ และเพ่ิมความตระหนักด้านความปลอดภัย (Safety Awareness) เช่น  การลดการใช้น้ามันเชื้อเพลิงแต่ใช้พลังงานทางเลือกใหม่ เช่น ก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquefy Natural Gas: LNG)  การเพ่ิมขีดความสามารถในการบรรทุกสินค้าให้ได้มากข้ึน (Loading Capacity) รวมถึงการลดระยะ ทางการขนสง่ สินค้า (Sort Cut/Empty Kilometers)  การปรบั พฤติกรรมของคนขบั รถใหค้ านงึ ถึงความปลอดภยั และเปน็ มิตรต่อสง่ิ แวดล้อม  การสนบั สนุนการใชร้ ะบบการขนสง่ ต่อเนอื่ ง (Multimodal Transport) และการใช้ยานพาหนะที่มีการ พ่วงตอ่ ต้คู อนเทนเนอรใ์ นการขนสง่ สินค้า (Eco Combi) 13

 การปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างของอาคารให้มีประสิทธิภาพ ลดการใช้พลังงานและของเสียที่เกิด จากกจิ กรรมตา่ งๆ การบรหิ ารจดั การโลจสิ ตกิ สแ์ ละโซ่อุปทานสีเขียวในประเทศไทย การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียวในประเทศไทย เกิดจากแรงกระตุ้นจากกระแสทางการค้าที่ ประเทศคู่ค้าเริ่มมีบทบาทและสร้างกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ไม่ว่าจะเป็นกฏหมาย หรือมาตรการต่างๆท่ีไม่ใช่ กฏหมาย แตห่ ากไม่ดาเนินการให้สอดคลอ้ ง กไ็ มส่ ามารถดาเนินธุรกิจอยู่ไดใ้ นตลาดโลก หรือจะเรียกว่าเป็นการ สร้างกาแพงทางการค้าก็ว่าได้ เป็นที่ทราบกันว่าประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมถูกหยิบยกข้ึนมาเป็นประเด็นเร่งด่วน จากที่ได้เห็นกระแสของการรณรงค์เพอื่ ปลูกจติ สานึกการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างตอ่ เน่ือง ประเทศไทย พัฒนาระบบโลจิสตกิ ส์ การสนบั สนนุ จากรัฐบาล ส่งเสรมิ กบั การใช้ ของประเทศให้ยั่งยนื เทคโนโลยีสะอาด รณรงคก์ ารนากลับมาใช้ซ้า รณรงค์ใหล้ ดปรมิ าณของเสยี ที่ สนบั สนนุ การใชพ้ ลงั งาน (Reuse) และใชใ้ หม่ (Recycle) เกิดจากกจิ กรรมตา่ งๆ หมนุ เวียนและพลงั งานทดแทน เพม่ิ ศกั ยภาพและพัฒนา รณรงค์ให้เลอื กซ้อื ผลิตภัณฑ์ ประเทศไทยท่ีนา่ อยู่ ระบบขนส่งอยา่ งต่อเนอ่ื ง ทเี่ ปน็ มิตรต่อส่งิ แวดล้อม ภาพท่ี 5-12 การบรหิ ารจดั การโลจิสติกส์และโซอ่ ุปทานสเี ขียวในประเทศไทย ในปัจจุบันภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในประเทศ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐทั้งในด้านการ พัฒนาบุคลากรของภาคอุตสาหกรรม หรือด้านการเข้าให้คาปรึกษาในสถานประกอบการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพือ่ ยกระดับและพฒั นาระบบโลจสิ ตกิ ส์และโซอ่ ปุ ทานสีเขยี วของประเทศไทยในดา้ นต่างๆ เชน่  การนาเทคโนโลยีสะอาดมาใชเ้ พ่ือลดการปลอ่ ยกา๊ ซเรือนกระจกในการดาเนนิ งาน  การสนับสนุนการใช้พลงั งานหมุนเวยี นหรอื พลงั งานทดแทนทส่ี ะอาด  การลดปริมาณวัสดุและของเสียท่ีเกิดจากการดาเนินกิจกรรมโลจิสติกส์ หรือกิจกรรมอ่ืนๆ ของ สถานประกอบการ เช่น การดาเนินโครงการ 3Rs คือ การลดปริมาณการใช้ (Reduce) การนา กลับมาใชซ้ า้ (Reuse) และการนากลับมาใช้ใหม่ (Recycle) 1-14

การดาเนินงานเพื่อลดผลกระทบของการประกอบการที่มีต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่รู้จักและคุ้นเคย คือ การให้การรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมโดยหน่วยงานที่มีภารกิจในการส่งเสริมการประกอบกิจการท่ีลดผลกระทบ ต่อส่งิ แวดล้อมของประเทศ อีกแนวทางหนึ่งของการพัฒนาไปสู่ระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์สีเขียว คือการพัฒนาสู่การเป็น อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry: GI) ซ่ึงริเร่ิมโดยกระทรวงอุตสาหกรรมต้ังแต่ปี พ.ศ.2554 โดยมีแนวคิด จากการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก ระหว่างการประกอบการอุตสาหกรรม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพ่ือสร้าง ภาพลักษณ์ท่ีดขี องการประกอบการอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสงิ่ แวดล้อม และเสริมสร้างความมัน่ ใจให้ชมุ ชนที่ จะอยู่ร่วมกับอตุ สาหกรรม และยงั เป็นการพัฒนาไปสู่การเป็นเศรษฐกจิ สเี ขยี วได้อีกด้วย ระดบั การพัฒนา 5 ขนั้ สอู่ ตุ สาหกรรมสีเขยี ว เครือข่ายสีเขยี ว Green Network วฒั นธรรมสเี ขยี ว Level 5 Green Culture ระบบสีเขียว Level 4 Green System ปฏบิ ัตกิ ารสเี ขยี ว Level 3 Green Activity ความมุง่ มัน่ สีเขยี ว Level 2 แนวทางการGพrัฒeeนnLาCeไovปmeสml ู่ก1itmารeเnปt ็นอุตสาหกรรมสีเขียว สามารถดาเนินการร่วมกันภายในโซ่อุปทาน และ สร้างความสมดุลกันระหว่าง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Triple Bottom Line) บนพ้ืนฐานของ การ ปรั บป รุง อย่ าง ต่ อเ น่ือง (ภCาพonทtี่ 5in-1u3ouระsดIับmกpารrพoัฒveนmาไปeสnูก่t)ารแเปล็นะอตุ กสาาหรกพรัรฒมสนเี ขายี อวย่า งย่ั งยื น ( Sustainable Development) แนวทางการพัฒนาไปส่กู ารเป็นอุตสาหกรรมสเี ขยี ว แบง่ ออกเป็น 5 ระดบั ดงั นี้  ระดับที่ 1 ความมุ่งม่ันสีเขียว (Green Commitment) คือ การแสดงความมุ่งม่ันในรูปแบบของ นโยบาย เป้าหมายและแผนงานทจี่ ะลดผลกระทบตอ่ ส่ิงแวดล้อม และมกี ารสอื่ สารภายในองคก์ รให้ ทราบโดยทว่ั กนั  ระดับที่ 2 ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) คือ การดาเนินกิจกรรมตามนโยบาย เป้าหมาย และแผนงานท่ีกาหนดเพอ่ื ลดผลกระทบต่อส่ิงแวดลอ้ มอยา่ งเป็นรูปธรรมและสาเร็จตามความมุ่งมั่น ท่ตี ั้งไว้  ระดับท่ี 3ระบบสีเขยี ว (Green System) คือ การบริหารจัดการสิง่ แวดลอ้ มอยา่ งเปน็ ระบบ มีการ ติดตาม ประเมินผล และทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเน่ือง หรือการได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อม อันเป็นท่ียอมรับ หรือได้รับการรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรและ ส่ิงแวดลอ้ มตา่ งๆ  ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) คือ การท่ีทุกคนในองค์กรมีจิตสานึกร่วมกันใน การสงวนและรักษาไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมท่ีดีและให้ความร่วมมือร่วมใจในทุกด้านของการประกอบ กจิ การให้เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมและดาเนินการต่างๆ จนกลายเปน็ สว่ นหนึง่ ของวฒั นธรรมองคก์ ร 15

 ระดับที่ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green Network) คอื การขยายขอบเขตของการเป็นอุตสาหกรรมสี เขียว จากภายในองค์กรออกสู่ภายนอก ตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยสนับสนุนให้คู่ค้า และพันธมิตรทางธุรกจิ เป็นอุตสาหกรรมสเี ขียว สถานประกอบการท่ีมีการดาเนินการพัฒนาไปสู่การเป็นอตุ สาหกรรมสีเขียว สามารถขอรับการรับรอง การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวในแต่ละระดับได้จากกระทรวงอุตสาหกรรม โดยย่ืนเอกสารประกอบการพิจารณา ตามรายละเอียดทีก่ ระทรวงอุตสาหกรรมกาหนด นอกจากหน่วยงานภาครัฐแล้ว ปัจจุบันอุตสาหกรรมต่างๆในประเทศไทย ยังให้ความสนใจในประเด็น สิง่ แวดลอ้ มมากขน้ึ เช่น  กลุ่มธุรกิจโคคา–โคล่า ประเทศไทย จากัด ถือเป็นอีกกลุ่มธุรกิจท่ีมีบทบาทสาคัญในการนาเสนอ แนวความคิดท่ีเป็นมิตรต่อส่ิงแวดล้อม ภายใต้กรอบแนวความคิดท่ีส่งเสริมความย่ังยืน (Live Positively) โดยผสานความยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ และให้ความสาคัญกับองค์ประกอบ หลักการดาเนินธรุ กิจอยา่ งยัง่ ยนื 7 ประการ ดงั น้ี - คุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการของเคร่ืองด่มื - สขุ ภาพของผูบ้ ริโภค - บรรจภุ ัณฑข์ องสินค้า - ทรัพยากรนา้ และแหล่งที่มาของวตั ถุดิบ - สภาพอากาศ - แหล่งชุมชน - สิ่งแวดลอ้ มในสถานทีท่ างาน  บริษัท ไทยน้าทิพย์ จากัด ชูนโยบายท่ีสอดคลอ้ งกับการเป็นมิตรตอ่ ส่ิงแวดล้อมภายใต้สโลแกนท่ีว่า “เพอื่ เรา เพอ่ื โลก” โดยไดน้ าเสนอผลติ ภณั ฑ์น้าดมื่ ภายใตต้ ราสินคา้ นา้ ทิพย์ ซ่งึ มสี โลแกนทวี่ ่า “น้า ทิพย์คิดมาเพื่อโลก” บริษัทได้ให้คามั่นกับผู้บริโภคว่าจะเป็นเครื่องด่ืมที่เป่ียมไปด้วยคุณภาพและ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไปพร้อมๆกัน โดยเปลี่ยนชนิดของวตั ถุดิบที่ใช้ในการผลิตและรูปลกั ษณ์ ของบรรจุภัณฑ์ให้กลายเป็น ขวด Eco-Crush ซ่ึงเป็นขวดพลาสติก PET ที่ลดปริมาณการใช้ พลาสติกในการผลิตจากขวดแบบเดิมลง 35% แต่ยังคงคุณภาพและความแข็งแรงตามมาตรฐานท่ี กาหนด ทาให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อมไปด้วย และยังช่วยให้การขนส่งเพ่ือ กระจายสินค้าและการกาจัดเป็นไปได้ง่ายกว่าเดิมจากน้าหนักที่น้อยลง นอกจากน้ี ทางยริษัทฯ ยัง ได้ออกแบบตราสินค้าใหม่เป็นรูปใบไม้สีเขียวอ่อน สีสวยสะดุดตา ที่ส่ือถึงประเด็นของการรักษ์ สงิ่ แวดล้อมได้อย่างชัดเจน น้าทพิ ยค์ ดิ มาเพือ่ โลก Eco-Crush ภาพที่ 5-14 ตวั อยา่ งการพฒั นาพัฒนาบรรจุภณั ฑเ์ พอ่ื ส่งิ แวด1ล-1อ้ ม6ของผลิตภณั ฑ์น้าดืม่ นา้ ทิพย์

ทิศทางการพัฒนาโลจิสติกส์สเี ขียวในประเทศไทย การพัฒนากรีนโลจิสติกส์จะเกิดข้ึนได้และประสบความสาเร็จประกอบด้วยปัจจัยท่ีสาคัญในหลาย ๆ มิติ กล่าวคือ ความร่วมมอื กันทง้ั ในระดับมหภาค (Macro Level) และระดบั จุลภาค (Micro Level) รวมท้ังการ เชอ่ื มโยงและมงุ่ เนน้ ไปยังเปา้ หมายเดียวกนั ตลอดโซอ่ ปุ ทาน การพฒั นาโลจสิ ตกิ ส์สีเขยี วในระดับนโยบาย การพัฒนาโลจิสติกส์สีเขียวในระดับนโยบายในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา รวมท้ัง ญี่ปุ่น มีความพยายามในการสนับสนุนผู้ประกอบการในการลดผลกระทบของกิจกรรมโลจิสติกส์ท่ีมีต่อ สิ่งแวดล้อม ท้ังในรูปแบบของการกาหนดมาตรฐานและการะเบียบที่สาคัญ และการใหก้ ารสนับสนุนในรูปแบบ ขององค์ความรู้รวมท้ังสิทธิประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ท่ีจะทาให้ผู้ประกอบการเห็นความสาคัญและหันมา ปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมโลจิสติกสท์ ่ีดาเนนิ การอยใู่ หเ้ ป็นมติ รกบั สง่ิ แวดล้อมมากยง่ิ ข้ึน ผ ล ข อ ง ก า ร ด า เ นิ น น โ ย บ า ย แ ล ะ ก า ห น ด เ ป้ า ห ม า ย ก า ร ล ด ผ ล ก ร ะ ท บ ต่ อ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม น้ี ท า ใ ห้ ผู้ ใ ห้ ผูป้ ระกอบการหนั มาให้ความสาคัญในเร่ืองนี้อย่างจรงิ จงั ต่อเนื่องไปยังผู้ใช้บรกิ ารที่ให้ความร่วมมือกับมาตรการ และนโยบายด้วยเหน็ ความความจาเป็นท่เี ร่งดว่ นในการแก้ไขปัญหาดา้ นส่ิงแวดลอ้ มและพลังงาน สาหรับในประเทศไทย นโยบายส่ิงแวดลอ้ มยงั คงเปน็ นโยบายท่จี าเปน็ ต้องได้รบั การกาหนดอย่างจริงจัง โดยเนน้ ย้าความสาคญั ของสง่ิ แวดล้อมในทกุ ๆ ระดบั เพ่ือให้หน่วยงานและผู้มีสว่ นเกยี่ วข้องเข้าใจและตระหนัก ถึงปัญหา และร่วมกันลดผลกระทบทเ่ี กิดกบั ส่ิงแวดลอ้ ม ซ่ึงจาเปน็ ต้องอาศัยการบูรณาการหนว่ ยงานท่เี กย่ี วขอ้ ง ในการกาหนดมาตรฐานมาตรการ และบทลงโทษท่ีชัดเจน เน่ืองจากผลการศึกษาและสารวจหลายแหล่ง (Sarkis, J. and Dou Y., 2017; สานักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพ้ืนฐานและเหมืองแร่, 2558; เตชะ บุญชัย, 2553) ระบุว่าผูป้ ระกอบการสว่ นใหญย่ ังคงเห็นวา่ ประเดน็ ด้านสิง่ แวดลอ้ มเป็นอปุ สรรคต่อการดาเนินธุรกจิ ทิศทางการพัฒนากรีนโลจิสติกส์ของประเทศไทยในระดับนโยบายจึงประกอบด้วย 2 ส่วนด้วยกัน คือ การกาหนดและบังคบั ใชก้ ฎระเบียบด้านส่ิงแวดล้อมอย่างจรงิ จัง ควบคู่กับการสนับสนุนการพฒั นาและเผยแพร่ องค์ความรู้ด้านส่ิงแวดล้อมและโลจิสติกส์สีเขียวให้กับผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดความตระหนักถึงปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อมและร่วมมือกันอย่างจริงจังด้วยแรงกดดันจากการเปิดเสรีการค้าและบริการในภูมิภาค ท่ีส่งผลให้ กจิ กรรมโลจิสตกิ ส์มเี พิม่ มากขน้ึ ประเทศไทยจาเปน็ ตอ้ งปกป้องประเทศจากมลภาวะและปัญหาดา้ นสง่ิ แวดลอ้ ม ท่จี ะเกิดข้นึ ในอนาคต ท้ังน้ี การปรับปรุงยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศในคร้ังต่อไป ควรระบุการพัฒนา และสง่ เสริมโลจิสติกส์สีเขียวในประเด็นและกิจกรรมต่างๆ ซึ่งหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องจะมีสว่ นร่วมในการวางแผน และดาเนินการ ทั้งด้านการกาหนดเป้าหมาย ตัวช้ีวัด และแผนงานโครงการ ในอันท่ีจะส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาโลจิสติกส์สเี ขียวในประเทศไทยอยา่ งจรงิ จัง การพัฒนาโลจิสติกส์สีเขียวในระดบั ธุรกิจ ปัจจุบันผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผปู้ ระกอบการที่ผลิตสินค้าเพ่ือการส่งออกได้รับข้อกาหนดและความ ต้องการจากผู้ซ้ือในการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมท่ีกาหนด ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้าน สิ่งแวดล้อมของประเทศท่ีนาเข้าทาให้ผู้ประกอบการหันมาให้ความสาคัญและผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับ สิง่ แวดล้อมมากย่งิ ข้นึ เพอื่ เพม่ิ ชอ่ งทางและโอกาสในการจาหน่ายสินค้าในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจาเป็นต้องมีการพัฒนากระบวนการโลจิ สติกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป ผู้ประกอบการต้องมุ่งเน้นการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็น มิตรกับส่ิงแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบโลจสิ ติกส์สีเขียวภายในองคก์ ร ตอ่ เน่ืองไปยังคู่ค้าและลูกค้า ซ่ึง จะประสบความสาเร็จได้ด้วยความร่วมมือของทุกหน่วยงานภายในองค์กร รวมท้ังตลอดโซ่อปุ ทาน หน่วยงานที่ 17

ออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องคานึงถึงกระบวนการการเคลื่อนย้ายสินค้าที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับ ส่ิงแวดล้อมมากที่สุดท้ังด้านการจัดเก็บ การขนส่ง จนถึงการจัดการกับสินค้าเมื่อมีการใช้แล้วหรือหมดอายุ นบั เป็นความทา้ ทายของทุกหน่อยงานที่จะช่วยให้องค์กรมีการพฒั นาอยา่ งต่อเนื่องไปสกู่ ารพัฒนาอย่างย่งั ยืนใน อนาคต การพัฒนาโลจิสติกส์สีเขียวภายในองค์การจะเกิดประสิทธิภาพ และมีความย่ังยืนมากยิ่งข้ึนเมื่อ ผู้ประกอบการมีการพัฒนาต่อเน่ืองไปสู่โซ่อุปทานสีเขียว หรือการบริหารจัดการโซ่อุปทานที่เป็นมิตรกับ ส่ิงแวดล้อม ซึ่งจาเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการกาหนดวัตถุประสงค์รวมทั้งเป้าหมายการพัฒนาร่วมกัน ตลอดโซ่อุปทานเพ่ือให้สินค้าและกระบวนการเกิดขึ้นเป็นสินค้าและบริการท่ีมีคุณภาพและเป็นมิตรกับ สิ่งแวดลอ้ ม กระบวนการและองคป์ ระกอบของโซ่อุปทานสีเขียว หลักการของการจัดการโซ่อุปทานสีเขียวเป็นการเช่ือมโยงความร่วมมือและการวางแผนร่วมกันระหวา่ ง ผู้ที่อยู่ร่วมกันในโซ่อุปทาน ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบและปัจจัยการผลิต ผู้ผลิต ผู้ขนส่งสินค้า และผู้กระจาย สินค้า โดยประเด็นสาคัญในการกาหนดแผนและเป้าหมายร่วมกันคือการยึดหลักการออกแบบกระบวนการท่ี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมร่วมกัน (Concept Design) โดยคานึงถึงผลกระทบที่เกิดกับส่ิงแวดล้อมตลอด กระบวนการผลิตและเพ่ิมมูลค่าสินค้า ซึ่งการร่วมมือกันวางแผนและปฏิบัติทาให้สินค้าที่เริ่มผลิตจนถึงมือ ผบู้ ริโภคเปน็ สินค้าสเี ขยี วอยา่ งแทจ้ รงิ ประเด็นที่ควรให้ความสาคัญในขณะน้ีคือผู้ประกอบการไทยควรต้องตระหนักถึงความสาคัญของการ จัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียวอย่างจริงจัง เพ่ือเริ่มต้นการพัฒนากระบวนการโลจิสติกส์ในสถาน ประกอบการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากย่ิงขึ้น มากกว่าการเห็นว่าเป็นการคุกคามหรือข้อกาหนดจากผู้ซ้ือ หรือผกู้ าหนดนโยบาย ซงึ่ เปน็ การยกระดบั การพัฒนาธรุ กจิ พลังงาน และสิง่ แวดลอ้ มขนึ้ ไปอกี ข้ันหนึ่ง เน่อื งจาก ประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอาจไม่ใช่สิ่งท่ีมองด้วยตา หรือได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีทันใด แต่เป็นการ พฒั นาเพื่อสร้างความย่ังยืนในระยะยาว เพ่ือความคุ้มค่าท้ังทางด้านต้นทุน ประสิทธิภาพ รวมท้งั ความคุ้มค่าใน ดา้ นชุมชน สังคม และส่ิงแวดลอ้ ม ใหท้ ุกคนสามารถดารงอยู่ในโลกทสี่ ะอาดและปลอดภยั ตลอดไป เอกสารอ้างอิง เตชะ บญุ ชัย, 2553. สาระนา่ รู้เกย่ี วกบั กรนี โลจสิ ตกิ ส์ สาหรบั ภาคธรุ กิจ: กรุงเทพมหานคร: โรงพมิ พ์คลงั นานาวิทยา สานักโลจิสตกิ ส์ กรมอตุ สาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่, 2558. การจัดการโลจิสติกส์และโซอ่ ุปทานสเี ขียว: นวัตกรรมและการปรบั เปลยี่ นเพ่ือสร้างศกั ยภาพทางธรุ กจิ : กรงุ เทพมหานคร Alan McKinnon, Sharon Cullinane, Anthony Whiteing, Michael Browne, 2553. Green Logistics: Improving the Environmental Sustainability of Logistics, Kogan Page Publishers Green Logistics: Improving the Environmental Sustainability of Logistics Joseph Sarkis, Yijie Dou, 2017. Green Supply Chain Management: A Concise Introduction, Routledge Martin Christopher, 2011. Logistics and Supply Chain Management, Pearson UK 1-18


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook