Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พรรณไม้ป่าชายเลน (2)

พรรณไม้ป่าชายเลน (2)

Published by som_2542_, 2022-03-11 16:13:01

Description: พรรณไม้ป่าชายเลน (2)

Search

Read the Text Version

คำนำ หนังสือพันธุ์ไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง อำเภอกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ซึ่งดำเนินการโดยนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เพื่อศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลนของชุมชน บ้านเกาะกลาง โดยรวบรวมข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ป่าชายเลน ซึ่งประกอบด้วย ราก ลำต้น ใบ ดอก และผล เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ สนจะศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ สนใจ และหากมีข้อผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทำขออภัยมา ณ โอกาสนี้ คณะผู้จัดทำ

สารบัญ หน้า 1 รายชื่อพันธุ์ไม้ป่าชายเลน 3 โกงกางใบเล็ก 5 โกงกางใบใหญ่ 7 จาก 9 ตะบูนขาว 11 ตะบูนดำ 13 ตาตุ่มทะเล 15 ถอบแถบน้ำ 17 ถั่วขาว 19 ถั่วดำ 21 โปรงแดง 23 ผักเบี้ยทะเล 25 ลำพูทะเล 27 เล็บมือนาง 29 แสมดำ 31 หวายลิง 33 เหงือกปลาหมอเครือ 35 เหงือกปลาหมอดอกขาว 36 เหงือกปลาหมอดอกม่วง บรรณานุกรม

โกงกางใบเล็ก Rhizophora apiculate BI. วงศ์ : RHIZOPHORACEAE ชื่อสามัญ : โกงกาง(ระนอง) ; พังกาใบเล็ก(พังกา) ;พังกาทราย(กระบี่) เป็นไม้ไม่ผลัดใบขนาดกลาง-ใหญ่ สูง 20-40 เมตร เปลือกสีเทาดำ ผิวเปลือกเรียบ แตกเป็นร่องเล็กตามยาวของลำต้น เด่นชัดกว่าร่อง ตามขวาง เมื่อทุบเปลือกทิ้งไว้สักครู่จะพบว่าด้านในของเปลือกเป็น สีแสดอมแดง เรือนยอดแคบรูปปิระมิด รอบๆบริเวณโคนต้นมีรากค้ำจุน ทำหน้าที่พยุงลำต้น และมักมีรากอากาศ ซึ่งเกิดจากกิ่งตอนบนเป็น จำนวนมาก ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับทิศทางกัน แผ่นใบรูปรี หรือขอบรูป ขนานแกมรี ขนาดใบ 4-8 ซม. ฐานใบสอบเข้าหากัน คล้ายรูปลิ่ม ปลายใบ แหลมมีติ่งมีแหลมอ่อนเส้นกลางใบด้านท้องใบสีแดงเรื่อๆ ก้านใบอ่อน สีแดง ยาว 1.5-3.5 ซม.หูใบที่ปลายยอดสีชมพูกึ่งแดงยาว 4-8 ซม. ใบเกลี้ยง ท้องใบสีเขียวอมดำ มีจุด สีดำเล็กๆ กระจายอยู่บนท้องใบ 1 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ดอก ช่อดอกเกิดที่ง่ามใบ ช่อหนึ่งๆ มี 2 ดอก ก้านช่อดอกใหญ่ ยาว 0.6-2 ซม. ไม่มีก้านดอกย่อย กลีบเลี้ยงรูปใข่ สีเขียวอม เหลือง 4 กลีบ เว้าเข้าด้านในปลายแหลม ขนาด 0.6-0.8x0.8-1.5 ซม. กลีบดอก 4กลีบ ร่วงง่าย รูปใบหอกสีขาว ขนาด 0.1-0.2 x 0.7-1.2 ซม. ออกกอในราว เดือนกันยายน-มกราคม ผล รูปผลแพร์กลับ ผิวหยาบ ยาว 2-3 ซม. สีน้ำตาลเข้ม จะงอกตั้งแต่ ผลยังติดอยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงซึ่งมักเรียกว่า “ฝัก”มีผิวเรียบ สีเขียว ขนาด 1-1.2 x 20-40 ซม. มักโค้งงอทางด้านปลายฝัก โคนฝักทู่ เมื่อฝัก แก่ส่วนของใบเลี้ยงที่ยื่นออกมา ยาว 1-2 ซม.ที่อยู่ระหว่างผล และฝัก จะมี สีน้ำตาลแดง และฝักจะหลุดหล่นได้เอง ฝักแก่ในราวเดือน เมษายน-ธันวาคม โกงกางใบเล็ก มักขึ้นได้ดีในบริเวณที่เป็น ดินเลนอ่อน ไม่เลนมากนัก มีน้ำทะเล ท่วมถึงสม่ำเสมอโดยเฉพาะพื้นที่ติดทะเล ปากแม่น้ำ ลำคลอง 2 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

โกงกางใบใหญ่ Rhizophora mucronata Poir. วงศ์ : RHIZOPHORACEAE ชื่อสามัญ : กงกอน (ชุมพร); กงกางนอก (เพชรบุรี); กงเกง (นครปฐม); พังกาใบใหญ่ (ใต้) เป็นไม้ผลัดใบขนาดกลาง-ใหญ่ สูง 20-40 เมตร เปลือกสีเทาดำ ผิวเปลือกเรียบแตกเป็นร่องเล็กตามยาวของลำต้น เด่นชัดกว่าร่องตามขวาง เมื่อทุบเปลือกทิ้งไว้สักครู่จะพบว่าด้านในของเปลือกเป็นสีแสดอมแดง เรือนยอดแคบรูปปิระมิด รอบ ๆ บริเวณโคนต้นมีรากค้ำจุน ทำหน้าที่พยุง ลำต้น และมักมีรากอากาศ ซึ่งเกิดจากกิ่งตอนบนเป็นจำนวนมาก ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับทิศทางกัน เป็นใบรูปรี หรือรูปขอบ ขนานแกมรี ขนาดใบ 4-8 x 7-18 ซม. ฐานใบสอบเข้าหากัน คล้ายรูปลิ่ม ปลายใบแหลมมีติ่งแหลมอ่อน เส้นกลางใบด้านท้องใบสีแดงเรื่อ ๆ ก้านใบ อ่อนสีแดง ยาว 1.5-3.5 ซม. หูใบที่ปลายยอดสีชมพูกึ่งแดง ยาว 4-8 ซม. ใบเกลี้ยง ท้องใบสีเขียวอมดำ มีจุดสีดำเล็ก ๆ กระจายอยู่เต็มท้องใบ 3 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ดอก ช่อดอกเกิดที่ง่ามใบ ช่อหนึ่งมี 2 ดอก ก้านช่อดอกใหญ่ยาว 0.6-2 ซม. ไม่่มีก้านดอก ย่อย กลีบเลี้ยงรูปไข่สีเขียวอมเหลือง 4 กลีบ เว้าเข้าด้านในปลายแหลม ขนาด 0.6-0.8 x 0.8-1.5 ซม. กลีบดอก 4 กลีบ ร่วงง่าย รูปใบหอกสีขาว ขนาด 0.1-0.2 x 0.7-1.2 ซม. ออกดอกในราวเดือนกันยายน-มกราคม ผล รูปผลแพร์กลับ ผิวหยาบ ยาว 2-3 ซม. สีน้ำตาลเข้ม จะงอกตั้งแต่ผล ยังติดอยู่บนลำต้นใต้ใบเลี้ยงซึ่งมัก เรียกว่า \"ฝัก\" มีผิวเรียบสีเขียวขนาด 1-1.2 x 20-40 ซม. มักโค้งงอทาง ด้านปลายฝัก โคนฝักทู่ เมื่อฝกแก่ ส่วนของใบเลี้ยงที่ยื่นออกมา ยาว 1-2 ซม. ที่อยู่ระหว่างผล และฝัก จะมีสีน้ำตาลแดง และฝักจะหลุดหล่น ได้เอง ฝักแก่ในราววเดือน เมษายน- ธันวาคม โกงกางใบเล็ก มักขึ้นได้ดีในบริเวณที่เป็นดินเลนอ่อน ไม่ลึกมากนัก มีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอ โดยเฉพาะพื้นที่ติดทะเล ปากแม่น้ำ ลำคลอง 4 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

จาก Nypa fruticans Wurmb. วงศ์ : PALMAE ชื่อสามัญ : อัตต๊ะ (มลายู-ใต้) เป็นไม้จำพวกปาล์ม มีขนาดเล็ก ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน มีรากอวบอ้วนอัดแน่นบริเวณกอ เหง้ามีลักษณะคล้ายฟองน้ำ มักจะจมอยู่ในโคลน และอยู่ใต้น้ำขณะน้ำท่วม ใบ เป็นแบบขนนก ยาว 4-9 เมตร ลักษณะแข็ง ตั้งตรงขึ้น ใบย่อยใบหอก ยาว 0.9-1.3 เมตร เรียงตัว 2 แถว คล้ายใบมะพร้าว มีกาบใหญ่เป็นกอ ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านท้องใบ สีเขียวเหลือง ฐานใบอ้วนซ้อนทับกัน 5 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ดอก ออกที่ง่ามใบ บริเวณใกล้ ปลายยอด ดอกเป็นดอกแยกเพศแต่ อยู่ต้นเดียวกัน ดอกเพสเมียเป็นช่อ กระจุกแน่นล้อมรอบด้วยดอกเพศผู้ เป็นช่อเชิงลดขนาดสั้น ซึ่งดอกเพศผู้นี้ จะเรียงอยู่บนช่อดอกแบบหางกระรอก ก้านดอกสีน้ำตาล ดอกสีเหลืองเข้ม ผล ออกเป็นช่อ แต่ละช่อมีผลจำนวนมาก ช่อผลห้อยลง ผลอัดกัน แน่น เป็นรูปทรงกลม เส้น ผ่าศูนย์กลาง 30 ซม. ผลเป็นเหลี่ยมรูปทรงรี ยาว 7-10 ซม. ผลอ่อนสีเขียว และเป็นสีดำเมื่อแก่ ผลแห้งติดอยู่บนต้น ก่อนที่จะร่วงหล่น เปลือกของผลเป็นเส้นใยอัดกันแน่น เมล็ดไข่สีขาว แข็ง ยาว 3-5 ซม. รับประทานได้ ผลแก่ราวๆ เดือนตุลาคม-ธันวาคม จาก มักขึ้นตามริมแม่น้ำลำคลองที่เป็น น้ำกร่อย ประโยชน์ด้านสมุนไพร ใบ มี รสฝาดแก้ลมจรต่างๆ ขับเสมหะ และ ดับพาทั้งปวง น้ำตาลจาก สมาน ริดสีดวงทวาร 6 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ตะบูนขาว Xylocarpus granatum Koen. วงศ์ : MELIACEAE ชื่อสามัญ : กระบูน,กระบูนขาว,ตะบูน (กลาง,ใต้) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 8-20 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นสั้น แตกกิ่งใกล้โคนต้น มีพูพอนแผ่ออกคดเคี้ยว ต่อเนื่องกับรากหายใจที่แบน คล้ายแผ่นกระดาน เปลือกเรียบบาง สีเหลืองแต้มเขียวอ่อน หรือสีน้ำตาล อ่อน ถึงน้ำตาลเข้มแกมชมพู ลักษณะคล้ายเปลือกต้นฝรั่ง หรือตะแบก เปลือกหลุดออกเป็นแผ่นรูปทรงไม่แน่นอน ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ไม่มีใบยอด เรียงสลับ ใบย่อย มักมี 1-2 คู่ เรียงตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปไข่กลับ หรือรูป ขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ขนาด 2-5 x 7-14 ซม. แผ่นใบสมมาตรกัน ปลายใบกลม ฐานใบรูปลิ่ม 7 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ดอก ออกเป็นช่อที่ง่ามใบ ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ยาว 3-8 ซม. แต่ละช่อมี 8-20 ดอก เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.2 ซม. เป็นดอกแยกเพศ ก้านดอกย่อยยาว0.4-1 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ยาว 0.2 ซม. กลีบดอก 4 กลีบ ไม่ติดกัน สีขาวครีม เกสรเพศผู้ 8 อัน ดอกมีกลิ่นหอม ตั้งแต่ บ่ายถึงค่ำ ผล ลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 15-20 ซม. แบ่งเป็น 4 พูเท่า ๆ กัน แต่ละ ผลมี 7-17 เมล็ด ลักษณะโค้งนูนหนึงด้าน กว้าง 6-10 ซม. ผลแก่สีน้ำตาลแดงคล้าย ผลทับทิม ออกดอก-ผล ตลอดปี ตะบูนขาว มักขึ้นปะปนกับพันธุ์ไม้ ป่าชายเลนหลายชนิด เช่น ไม้พังกา หัวสุมดอกขาว ถั่วดำ ตาตุ่มทะเล และไม้โกงกางใบเล็ก เป็นต้น ขึ้นได้ดี ในน้ำกร่อย พบบ้างเล็กน้อยบริเวณ น้ำจืด เนื้อไม้ตะบูนขาวมีสีและลวด- ลายวยงาม ใช้ตกแต่งหรือทำ เฟอร์นิเจอร์ได้ดี 8 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ตะบูนดำ Xylocarpus moluccensis Roem. วงศ์ : MELIACEAE ชื่อสามัญ : ตะบูน, ตะบัน (กลางใต้) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 20-35 เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกขรุขระ สีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องตามยาว ต้นแก่เปลือกลอกเป็นแถบแคบๆ เปลือกหนาประมาณ 0.3-0.5 ซม. เนื้อไม้สีน้ำตาล มีรากหายใจ รูปคล้ายกรวยคว่ำ กลม หรือแบน ปลายมน ยาว 20-40 ซม. จากผิวดิน ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ไม่มีใบยอด เรียงสลับ ใบย่อย 1-3 คู่ เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี ถึงรูปขอบขนานแกมรี ขนาด 2-6 x 5-15 ซม. ปลายใบ มน ฐานใบแหลม ผิวใบเป็นมัน สีเขียวเข้ม และจะ เปลี่ยนเป็นสีส้มอมเหลืองทั้งต้น ก่อนที่จะร่วงหล่น ก้านใบย่อยสั้นมาก 9 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ดอก ออกตามง่ามใบ เป็นแบบช่อแยกแขนง ช่อดอกยาว 7-17 ซม. ประกอบด้วยดอกจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ แต่ละกลีบยาว 1-1.5 ซม. กลีบดอก 4 กลีบ ไม่ติดกัน รูปขอบขนาน ยาว 0.4-0.8 ซม.สีขาวครีม เกสรเพศผู้ 8 อัน ออกดอกพร้อมๆกับแตกใบใหม่ ประมาณเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม ผล ค่อนข้างกลม มีร่องเล็กน้อย สีเขียวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7-12 ซม. มี 7-11 เมล็ด ลักษณะโค้ง นูนหนึ่งด้าน กว้าง 4-6 ซม. ผลแก่ ประมาณเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง (2556) ขึ้นกระจายในบริเวณที่เป็นดินเลน ค่อนข้างแข็ง เนื้อไม้มีสีและลวดลาย สวยงาม ใช้ตกแต่ง ทำเฟอร์นิเจอร์และ ก่อสร้างได้ 10 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ตาตุ่มทะเล Excoecaria agallocha L. วงศ์ : EUPHORBIACEAE ชื่อสามัญ : ตาตุ่ม (กลาง); บูตอ (มลายู-ปัตตานี) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก-กลาง สูง 10-18 เมตร มียางสีขาวมาก ส่วนมากลำต้นจะตรง มักแตกกิ่งในระดับต่ำ บางครั้งดูคล้ายไม้พุ่ม เปลือกเรียบถึง แตกเป็นร่องสีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลอมเทา กิ่งอ่อนมีช่อง อากาศเล็ก ๆ เด่นชัด รากหายใจแผ่กระจายไปตามผิวดิน ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรี หรือรูปไข่แกมรี ถึงรูปไข่กลับ ขนาด 2-5 x 4-9 ซม. ปลายใบกลม ถึงเว้าตื้นๆ หรือเรียวแหลมมน ฐานใบมน ขอบใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน แผ่นใบนิ่มคล้ายหนัง มีสีเขียวเป็นมัน และจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐเมื่อใบใกล้ร่วง ก้านไปเรียว ยาว 1-2.5 ซม. 11 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ เป็นช่อเชิงลด ดอกมีขนาดเล็กมาก ติดกัน เป็นกระจุก ช่อดอกเพศผู้มีสีเหลืองแกม เขียว ยาว 5-10 ซม. ช่อดอกเพศเมียสั้น 2-3 ซม. ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง (2556) ผล เป็นแบบผลแห้งแตก มี 3 พู รูปเกือบกลม ขนาด 0.5-0.7 x 0.3-0.4 ซม. ด้านแนวนอนยาวกว่าแนวตั้ง ผลเกลี้ยง สีเขียวถึงสี น้ำตาลเข้ม เมล็ดเกือบกลม สีดำ ออกดอกผลเดือนพฤษภาคม- พฤศจิกายน พบทั่วไปในป่าชายเลน ตามริมแม่น้ำ ที่เป็นพื้นที่สูง ดินเหนียวปนทรายค่อนข้าง แข็ง และน้ำท่วมถึงเมื่อน้ำท่วมสูง ยางของไม้ตาตุ่มทะเลมีพิษ หากเข้าตา อาจทำให้ตาบอดได้ หรือหากกินเข้าไปจะ ทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรง หรือหากยางนี้ ถูกตามผิวหนังอาจจะทำให้เกิดอาการเป็น ผื่นคัน หรือบวมได้ 12 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ถอบแถบน้ำ Derris trifoliata Lour. วงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE ชื่อสามัญ : แควบทะเล, ถอบแถบทะเล, ผักแถบ (กลาง; ทับแถบ (สมุทรสงคราม); ถั่วน้ำ (นราธิวาส); เป็นไม้เถา ลำต้นมักเลื้อยทอดไปตามผิวดิน ยาว 5-10 เมตร กิ่งเรียวยาว ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียน ก้านใบยาว 10- 15 ซม. มีใบย่อย 1-2 คู่ และที่ปลายอีก 1 ใบ ก้านใบย่อยสั้น แผ่นใบ ย่อยรูปไข่แกมรูปขอบขนาน รูปรีแกมรุปขอบขนาน ถึงรูปขอบขนาน แกมรูปไข่กลับ ขนาด 1.5-5 x 3-10 ซม. ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ปลายแหลมถึงเรียวแหลม โคนทู่ ถึงมนกลม เส้นใบ 8-10 คู่ 13 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ดอก ออกเป็นช่อเดี่ยวตามง่ามใบ ช่อดอกยาว5-15 ซม. ดอกมีสีขาวก่อน จะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน เสส้นผ่า- ศูนย์กลาง 1 ซม. ออกดอกระหว่างเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม ผล เป็นฝัก เบี้ยว รูปขอบขนาน ขอบฝักเป็นสันบางแคบ สันฝักด้าน บนกว้างกว่าด้านล่างสองเท่า ขนาด 3 x 3.5 ซม. มี่ 1 เมล็ด เมล็ดรูปไต ยาว 1-1.2 ซม. ถอบแถบน้ำ ขึ้นตามฝั่ งแม่น้ำและ พื้นที่พรุใกล้ทะเล ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง (2556) 14 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ถั่วขาว Bruguiera cylindrica BI. วงศ์ : RHIZOPHORACEAE ชื่อสามัญ : ถั่วแดง, ประสักขาว (จันทบุรี); โปรง, โปรย (มลายู-ใต้); ปรุ้ย (มลายู-สตูล); ลุ่ย (เพชรบุรี) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ สูง 15-25 เมตร เปลือกสีน้ำตาล อมเทา และมีช่องอากาศขนาดใหญ่ กระจายอยู่ทั่วไปตามลำต้น โคนต้น มีพูพอนเล็กน้อย และมีรากหายใจรูปเข่า ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงแบบตรงข้ามเป็นคู่ แต่ละคูสลับทิศทางกัน แผ่นใบรูปรี ถึงรูปขอบ ขนานแกมรี ขนาด 4-7 x 8-15 ซม. ปลายใบแหลม ถึงเรียว แหลมสั้น ฐานใบแหลม ผิวใบด้านบนมีสีเขียว ท้องใบสีเขียวอมเหลือง ก้านใบยาว 2-4 ซม. สีเหลืองอมเขียว หูใบที่ ปลายยอดสีเหลืองอมเขียว ยาว 3-5 ซม. 15 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ แบบช่อกระจุก แต่ละช่อมี 2-3 ดอก บางครั้งออกดอกเป็นเดี่ยวๆ ก้านช่อดอกยาว 0.7-1.5 ซม. ก้านดอกย่อยยาว 0.6-0.9 ซม. ดออกยาว2-2.5 ซม. วงกลีบเลี้ยง สีเหลืองอมเขียว ถึงสีเหลืองจาง ๆ มีกลีบเลี้ยง 10 กลีบ หลอดกลีบเลี้ยงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ซม. มีสันนูนเล็กน้อยทางด้านบน แฉก และ หลอดกลีบเลี้ยงยาวเท่ากัน กลีบเลี้ยงโค้งงอขึ้น ด้านบน กลีบดอกยาว 0.7-1 ซม. ผล มีขนาดสั้นรูปทรงกระบอง ยาว 1.5-2 ซม. สีเขียวแกมเหลือง จะงอก ตั้งแต่ผลยังติดอยู่บนต้น \"ฝัก\" รูปซิการ์ หรือคล้ายกระบอง โค้งเล็กน้อย ขนาด 0.9-1.2 x 10-20 ซม. ฝักอ่อนสีเขียว ถึง เขียวอมเหลือง เมื่อแก่จะเป็นสีม่วง-เทา เป็นพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่พบได้ยากชนิดหนึ่งของไทย ขึ้นพื้นที่ที่น้ำทะเล ท่วมถึงเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ มักขึ้นปะปนกับพันธุ์ไม้สกุลนี้ชนิดอื่นๆ 16 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ถั่วดำ Bruguiera parviflor Wight & Arn.ex Griff. วงศ์ : RHIZOPHORACEAE ชื่อสามัญ : ถั่วทะเล (ระนอง); รังกะแท้ (ใต้); ลังกะได, นังกะได (มลายู-ใต้) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 10-20 เมตร โคนต้นมีพูพอน ผิวเปลือก บริเวณโคนต้นมีจุดสีขาวแต้ม เรือนยอดแคบกลม รูปปิระมิด สีเขียวอมเหลือง รากหายใจยาว 15-20 ซม. เหนือผิวดิน เปลือกสีเทา หรือน้ำตาลเข้ม เรียบ ถึง แตกเป็นเกล็ด มีช่องอากาศเล็ก ๆ ไม่เด่นชัด ใบ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง เรียงตรงข้ามสลับทิศทาง แแผ่นใบรูปรี ขนาด 3-5 x 7-15 ซม. ปลายใบแหลม ฐานเป็นรูปลิ่ม แผ่นใบสีเหลืองอมเขียว เกลี้ยงทั้งสสองด้าน เส้นใบบาง 7 คู่ เห็นทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 1.5-2 ซม. หูใบยาว 3-6 ซม. สีเหลืองอมเขียว 17 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกที่ง่ามใบ ช่อละ 3-7 ดอก ก้านช่อดอกยาว 1.8-2.2 ซม. สีเหลืองอมเขียว ก้าน ดอกย่อยยาว 0.6-1.5 ซม. วงกลีบเลี้ยงเป็นหลอด ยาว 0.7-0.9 ซม. สีเหลืองอมเขียว มีสัน ปลายแยก เป็นแฉกสั้น ๆ 8 แฉก กลีบดอก 8 กลีบ รูปขอบขนาน ยาว 0.1-0.2 ซม. ขอบกลีบมีขน ปลายกลีบมีขนแข็ง 3 เส้น ผล เป็นผลแบบงอกตั้งแต่ยังติดอยู่ บนต้น รูปทรงกระบอก ยาว 1.3-2.5 ซม. กลีบเลี้ยงหุ้มผลตรง ลำต้นใต้ใบเลี้ยง หรือ \" ฝัก\" รูปทรงกระบอก เรียวตรง ขนาด 0.3-0.6 x 8-18 ซม. เมื่อยังอ่อนสีเขียว และเปลี่ยนเป็นีน้ำตาลอมเขียวเมื่อแก่ ออกดอกและผลเกือบตลอดปี ขึ้นในพื้นที่ด้านในของป่าชายเลน ที่มีน้ำท่วมถึง 18 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

โปรงแดง Ceriops tagal (Perr.) C. B. Rob. วงศ์ : RHIZOPHORACEAE ชื่อสามัญ : โปรง, โปรงใหญ่; ปรง (สมุทรสาคร, จันทบุรี); แสม (ใต้) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 7-15 เมตร โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย มีรากค้ำจุนขนาดเล็ก รากหายใจรูปคล้ายเข่า อ้วนกลม ยาว 12-20 ซม. เหนือผิวดิน สีน้ำตาลอมชมพู เรือนยอดเป็นกลุ่มกลม สีเข้ม กิ่งสีเขียว มีช่องอากาศเล็ก ๆ เปลือกสีชมพูเรื่อ ๆ หรือน้ำตาลอ่อน เรียบ ถึงแตกเป็น สะเก็ด ต้นแก่มีรอยแผลเป็น ช่องอากาศเห็นเด่นชัดสีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับทิศ เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แผ่นใบชี้ไป ทางปลายกิ่ง รูปไข่กลับแกมขอบขนานถึงรููปไข่กลับ ขนาด 3-8 x 5-12 ซม. ปลายใบป้านมนหรือเว้าตื้น ๆ ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบมักเป็นคลื่น ผิวใบด้านบน สีเขียวเข้ม ท้องใบสีซีด ก้านใบยาว 1.5-4 ซม. หูใบยาว 1-3 ซม. 19 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามง่ามใบ แต่ละช่อ มี 4-8 ดอก ก้านช่อดอกเรียวยาว 1-1.5 ซม. ก้านดอกย่อยสั้น วงกลีบเลี้ยงยาว 0.5-0.7 ซม. กลีบเลี้ยงหยักลึก 5 กลีบ รูปไข่ยาว 0.4-0.5 ซม. แผ่บานออก ปลายโค้งเข้าหาผล ใบประดับเชื่อม ติดกันที่โคนหลอดกลีบเลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนาน สีขาว ผล รูปลแพร์กลับ ยาว 1-3 ซม. สีเขียว ถึงน้ำตาลแกมเขียวเป็นผลแบบ งอกตั้งแต่ยังติดอยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยง หรือ \" ฝัก \" รูปทรงกระบอก ขนาด 0.5-0.8 x 15-35 ซม. ปลายเล็กขยายใหญ่ไปทางส่วนโคน แล้วสอบ แหลม มีสันแหลมตามยาว ผิวขรุขระ สีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ห้อยลงในแนวดิ่ง ออกดอกและผลเกือบตลอดปี ขึ้นอยู่ด้านในของป่าชายเลน ตามริม ชายฝั่ งแม่น้ำ ที่น้ำท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ และดินมีการระบายน้ำดี 20 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ผักเบี้ยทะเล Sesuvium portulacastrum L. วงศ์ : AIZOACEAE ชื่อสามัญ : ผักเบี้ย, แพงพวยทะเล (ชุมพร) ไม้เถาล้มลุก อายุหลายปี มีลำต้นทอดยาวเป็นร่างแหแผ่คลุมดิน ลำต้นกลมเกลี้ยง อวบน้ำ ไม่มีเนื้อไม้ ภายในเป็นโพรง เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6-0.8 ซม. สีเขียวถึงสีแดงเรื่อ มักแตกกิ่งแขนงและแตกรากตามข้อ เพื่อยึดเหนี่ยวกับพื้นดินเป็นจุด ๆ ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปแถบ รูปใบหอกกลับถึงรูปไข่กลับ แกมรูปรี ขนาด 0.2-1.5 x 1-5 ซม. โคนใบสอบแคบเข้าหากัน และแผ่ เป็นกาบเล็ก ๆ หุ้มลำต้น ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม เส้นใบมองเห็นไม่ ชัดเจน เนื้อใบอวบน้ำ หนา ด้านบนและด้านล่างลักษณะคล้ายกัน แผ่น ใบตอนปลายมักเป็นสีแดงเรื่อ 21 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ดอก เดียวงอกตามง่ามใบ ก้านดอกยาวประมาณ 0.5 ซม. ดอกรูป กงล้อ ด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีม่วงอมชมพู เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2- 2.4 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเชื่อมติดเป็นกลีบเดียวกัน โคนกลีบเป็น หลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปไข่แคบถึงรูปใบหอก ขนาด 0.3-0.6 x 0.4-1 ซม. ปลายกลีบเป็นติ่งเล็ก ๆ ที่มา : ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ (2563) ผล แบบผลแห้งแตกตามขวาง รูปทรงไข่ถึงเกือบกลม ยาวประมาณ 0.6 ซม. เปลือกผลเป็นเยื่อบาง เมล็ดรูปทรงกลมหรือรูปไต ผิวเกลี้ยงสี ดำเป็นมันวาว เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.1-0.15 ซม. แต่ละผลมี 20-30 เมล็ด ออกผลตลอดทั้งปี พบขึ้นทั่วไปตามชายหาด หรือพื้นที่เปิดตามชายฝั่ งทะเลในเขตน้ำเค็ม จัด ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าชายเลนเสื่อมโทรม พบกระจายพันธุ์กว้างทั่ว เขตร้อน และกึ่งร้อน 22 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ลำพูทะเล Sonneratia alba J. Smith วงศ์ : SONNERATIACEAE ชื่อสามัญ : ลำแพน, ลำแพนทะเล (กลาง); ปาด (พังงา,ภูเก็ต); รำป๊าด (สตูล) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 6-15 เมตร ไม่ผลัดใบ แตกกิ่งในระดับต่ำ เปลือกสีน้ำตาลอมชมพู หรือสีเทา แตกเป็นสะเก็ดเล็กน้อย รากหายใจตั้ง ตรง รูปกรวยคว่ำ ยาว 20-40 ซม. เหนือผิวดิน เรียวแหลมไปทางปลาย มักเป็นสะเก็ดสีน้ำตาลอมชมพู ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่กลับ ถึงรูปไข่ ขนาด 3-7 x 4-11 ซม. ปลายใบกลม กว้าง ฐานใบรูปลิ่มแคบ ใบสีเขียวมีนวล เส้นใบ กางออกกว้าง เห็นไม่ชัด ก้านใบอ้วนสั้น ยาว 0.3-0.8 ซม. 23 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ดอก ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อกระจุก ที่ปลายกิ่ง วงกลีบเลี้ยงเมื่อยังเป็นตาดอก รูปขอบขนานแกมรูปรี ปลายและโคนแคบ ยาว 2.8-3.5 ซม. หลอดกลีบเลี้ยงรูปกรวย จากโคนที่เชื่อมติดกันมีสันชัดเจน แฉกกลีบ เลี้ยงหยักลึก 6-8 แฉก รูปขอบขนานแกม รูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ แฉกมัก สั้นกว่าหลอด ผิวด้านนอกสีเขียวอ่อน โคน กลีบด้านในสีแดง กลีบดอกรูปแถบ ก้านชู อับเรณูสีขาว ออกดอกเดือนมิถุนายน- ธันวาคม ผล เป็นผลมีเนื้อ และมีเมล็ดขนาดเล็กหลายเมล็ด ฝังอยู่ในเนื้อผล ผลแข็ง รูปกลม ด้านแนวนอนยาวกว่าแนวตั้ง ขนาด 4-5 x 3-4 ซม. สีเขียว กลีบเลี้ยงแผ่บานออก และโค้งกลับ ออกผลเดือนมกราคม-กรกฎาคม เป็นพันธุ์ไม้เบิกนำชนิดหนึ่งของ ป่าชายเลน ขึ้นได้ดีที่ชายฝั่ งทะเลที่น้ำ ท่วมถึงทุกวัน น้ำค่อนข้างเค็ม และดิน เป็นดินปนทราย ค่อนข้างลึก 24 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

เล็บมือนาง Aegiceras corniculatum (L.) Blanco วงศ์ : MYRSINACEAE ชื่อสามัญ : เล็บนาง (สตูล); แสมแดง (ชุมพร); แสมทะเล (ปัตตานี); ลำพู (ตราด) เป็นไม้พุ่มไม่ผลัดใบ สูง 3-7 เมตร แตกกิ่งในระดับต่ำใกล้โคนต้น มีพูพอนเล็กน้อย เปลือกเรียบ สีเทาเข้ม ถึงสีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเวียนรอบกิ่ง หนาแน่นที่ปลายกิ่งแผ่นใบหนาคล้าย แผ่นหนัง รูปรี ถึงรูปไข่กลับ ขนาด 2.5-5 x 4-9 ซม. ปลายใบแหลม ถึงเว้า ตื้น ๆ ฐานใบรูปลิ่ม แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ผิวใบด้านบนเป็นมัน เส้นกลางใบด้านท้องใบสีแดงเด่นชัด ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. 25 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ดอก ออกตามง่ามใบ เป็นช่อแบบช่อซี่ร่ม แต่ละช่อประกอบด้วย ดอกจำนวนมาก ดอกมีกลิ่นหอม ก้านดอกย่อยเรียวยาว 1-2 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ไม่ติดกัน และติดคงทน กลีบดอก 5 กลีบ รูป สามเหลี่ยม สีขาว โคนกลีบติดกันอยู่ในหลอดซึ่งยาว 0.5-0.6 ซม. เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะโค้งกลับไปทางฐานดอก เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูสั้น ออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์-พฤษภาคม ผล รูปทรงกระบอกเรียวโค้ง ยาว 5-8 ซม. ปลายเป็นกิ่งแหลมยาว ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เป็นสี เขียวอมน้ำตาล เมล็ดเป็นแบบงอก ตั้งแต่ผลยงติดอยู่บนต้น ผลแก่ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม พบขึ้นกระจาย หรือเป็นกลุ่มตาม ริมชายฝั่ งแม่น้ำ บริเวณที่เป็นดินทราย และน้ำท่วมถึงสม่ำเสมอ 26 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

แสมดำ Avicennia officinalisv L. วงศ์ : AVICENNIACEAE ชื่อสามัญ : อาปี-อาปี (ปัตตานี) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ สูง 8-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มหนา แตกกิ่งระดับต่ำ ไม่มีพูพอน เปลือกเรียบ หรือแตกเป็นร่องเล็กน้อย สีเทาถึงเทาอมน้ำตาล หรือน้ำตาลอมเขียว มีช่องอากาศตามลำต้น มีรากหายใจคล้ายดินสอ ยาว 15-25 ซม. เหนือผิวดิน ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี หรือรูปไข่กลับ ขนาด 3-5 x 6-9 ซม. ปลายใบกลม ฐานใบแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านท้อง ใบมีขนยาวนุ่ม สีเหลืองอมน้ำตาล ก้านใบยาว 0.7-1.1 ซม. ใบอ่อนมีขน 27 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ดอก ออกที่ปลายกิ่งเป็นช่อเชิงลดแน่น มี 7-10 ดอก ก้านช่อดอกยาว 2-6 ซม. ดอกย่อยไม่มีก้าน เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก กลีบดอก 4 กลีบ โคนกลีบติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ แต่ละกลีบยาว 0.4-0.7 ซม. สีเหลือง หรือ เหลือง-ส้ม เกสรเพศผู้ 4 อัน อยู่เหนือ หลอดกลีบดอก ออกดอกประมาณเดือน มกราคม-พฤษภาคม ผล รูปหัวใจเบียว แบน ขนาด 2-2.5 x 2-2.3 ซม. เปลือกอ่อนนุ่ม สีเหลืองอมเขียว มีขนนุ่มสีเหลืองอมน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ผิวเปลือกมี รอยย่น ปลายผลมีจะงอยสั้น ผลแก่เปลือกจะแตกด้านข้างตามยาวผล และม้วนเป็นหลอดกลม แต่ละผลมี 1 เมล็ด มักขึ้นตามบริเวณชายฝั่ งแม่น้ำ ที่เป็นดินเหนียวค่อนข้างแข็ง ไม่พบ ว่าขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ และมักไม่พบ ตามริมชายฝั่ งทะเล 28 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

หวายลิง Flagellaria indica L. วงศ์ : FLAGELLARIACEAE ชื่อสามัญ : หวายเย็บจาก, หวายลี (ใต้) เป็นไม้เลื้อย ลำต้นแข็งคล้ายหวาย เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-0.8 ซม. แตกกิ่ง ยาว 3-5 เมตร หรือบางครั้งอาจยาวได้ถึง 10 เมตร ลำต้นมีสี เขียว แต่เมื่อลำต้นแก่ จะเปลี่ยนเป็นสีเทา ลำต้นเหนียว ใช้ทำเชือก และทำเครื่องจักสาน ใบ เรียวยาว รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ถึงรูปใบหอก ขนาด 0.5-2 x 7.5-20 ซม. ปลายใบเรียวยาว ม้วนงอ และแข็ง ทำหน้าที่เกาะไม้อื่น เพื่อพยุงลำต้นให้เลื้อยทอดสูงขึ้น ฐานใบกว้าง มีกาบใบหุ้มรอบลำต้น เรียงเวียนซ้อนทับกันเป็นระยะคล้ายหวาย ไม่มีหนาม 29 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง (2556) ดอก เล็ก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อแยกแขนงสั้น ๆ ที่ ปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกจำนวนมาก ผล กลม ปลายผลมีติ่งแหลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อแก่จัดจะ เป็นสีชมพูอมแดง เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ซม. แต่ละผลมี 1 เมล็ด ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง (2556) หวายลิงพบมากใบพื้นที่ป่าชายเลนที่เป็นดินเลนแข็ง มีระดับน้ำ ท่วมถึงเป็นครั้งคราว 30 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

เหงือกปลาหมอเครือ Acanthus volubilis Wall. วงศ์ : ACANTHACEAE เป็นไม้เถา ลำต้นเลื้อย เรียว อ่อน ทุกส่วนไม่มีหนาม เถาสีเหลืองอ่อน ใบ รูปไข่ ขอบใบเรียบ แผ่นใบกว้างจากประมาณกึ่งกลางใบ ไปทาง ปลายใบ ข้อระหว่างใบหนึ่งถึงอีกใบหนึ่งยาวมาก ใบมีลักษณะคล้ายโปรง แดง ใบหนาสีเขียวเข้ม 31 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ดอก ช่อดอกสั้น มีดอกจำนวน น้อย ดอกบาน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. มีสีขาวคล้ายเหงือกปลา- หมอดอกขาว ใบประดับยาวกว่า กลีบเลี้ยง ร่วงหล่นในระยะดอกบาน ไม่มีใบประดับย่อย ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง (2556) ผล สีเขียวเข้ม ยาวรี ผลสุกสั้นกว่า 2 ซม. เมล็ดมีขนาดเส้นผ่า- ศูนย์กลาง 0.5-0.7 ซม. เป็นพันธุ์ไม้ที่พบเฉพาะถิ่น ค่อนข้าง หายาก ขึ้นได้ดีในที่น้ำท่วมถึงอย่าง สม่ำเสมอ 32 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง (2556) เหงือกปลาหมอดอกขาว Acanthus ebracteatus Vahl วงศ : ACANTHACEAE ชื่อสามัญ : เหงือกปลาหมอ (กลาง); แก้มหมอ ลำต้นอวบ มีหนาม คล้ายกับดอกปลาหมอดอกม่วงมาก แต่จะขึ้นใน บริเวณน้ำกร่อย-จืด จะไม่พบเหงือกปลาหมอดอกขาว ในเขตน้ำเค็มจัด ใบ แผ่นใบกว้างจากประมาณกลางใบ ลงมาทางฐานใบ ขอบไว้เว้า เล็กน้อย มีหนามไม่มากนัก 33 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ดอก ดอกบาน มีขนาดเส้นผ่า- ศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. วงกลีบดอกสี ขาว ใบประดับสั้นกว่ากลีบเลี้ยง จะร่วง ไปก่อนระยะดอกบาน มีใบประดับย่อย ในระยะแรกแต่จะร่วงหล่นเร็ว ซึ่งเป็น ลักษณะที่แตกต่างไปจากเหงือกปลา- หมอดอกม่วง และช่อดอกมีขนาดไม่ แน่นอน ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง (2556) ผล ผลสุก สั้นกว่า 2 ซม. ซึ่งสั้น กว่าผลของเหงือกปลาหมอดอกม่วง เมล็ดมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5- 0.7 ซม. ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง (2556) 34 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

เหงือกปลาหมอดอกม่วง Acanthus illicifolius L. วงศ์ : ACANTHACEAE ชื่อสามัญ : แก้มหมอ, แก้มหมอเล (กระบี่); นางเกร็ง, จะเกร็ง, อีเกร็ง (ถลาง); เหงือกปลาหมอ, เหงือกปลาหมอน้ำเงิน (ทั่วไป) เป็นไม้พุ่มลำต้นเลื้อ สูง 1-2 เมตร ไม่มีเนื้อไม้ ลำต้นเป็นโพรง ตั้งตรง แต่เมื่ออายุมากจะเอนนอน ลำต้นแก่จะแตกกิ่งออกไป มีราก ค้ำจุน และมีรากอากาศ เกิดจากลำต้นที่เอนนอน 35 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

ที่มา : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง (2556) ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับ ตั้งฉาก มักมีหนามที่โคนก้านใบ 1 คู่ ใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. แผ่นใบ รูปใบหอก กว้างขนาด 3-6 x 7-18 ซม. แคบลงทางฐานใบ ขอบใบเรียบ ปลายใบ กลม หรือเป็นติ่งหนาม หรือขอบใบเว้า เป็นลูกคลื่น มีหนามที่ปลายหยัก หนามนี้ มักเกิดที่ปลายเส้นใบหลัก และมีหนาม ขนาดเล็กกว่าแทรก ปลายใบเป็น สามเหลี่ยมกว้าง มีหนามที่ปลาย ดอก ออกที่ปลายกิ่งแบบช่อเชิงลดยาว 10-20 ซม. ดอกย่อยไม่มีก้าน ดอก ออกรอบแกนประมาณ 20 คู่ ใบประดับล่างสุดของแต่ละดอกยาว 0.5 ซม. ร่วงหลุดเร็ว ใบประดับย่อยด้านข้าง 2 ใบ ยาว 0.7 ซม. เด่นชัด และติดคงทน วงกลีบเลี้ยงมี 4 แฉก สีเขียวอ่อน ถึงสีน้ำตาลอมเขียว ฉแก บนใหญ่กว่าแฉกล่าง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ วงกลีบดอกสมมาตรด้านข้าง ดอกบานเ้นผ่าศูนย์กลาง 3.5-4 ซม. กลีบในด้านบนสั้นมาก กลีบล่างใหญ่ มี 3 แฉก สีน้ำเงินอ่อน หรือม่วงอ่อน ผล เป็นผลแห้งแตก รูปไข่ ขนาด 1-1.5 x 2.5-3 ซม. สีเขียว ถึงสี น้ำตาลอ่อน ผิวเป็นมัน แตกสองซีกตามยาว มีเมล็ด 2-4 เมล็ด รูปร่าง แบน เป็นเหลี่ยมยาว 1 ซม. มีรอยย่นที่เมล็ด สีเขียวอมขาว ออกดอกและ ผล เดือนมกราคม-พฤษภาคม มักขึ้นอยู่ตามพื้นที่ป่าชายเลนที่เป็นพื้นโล่ง เป็นดินร่วนเหนียว หรือตาม ริมชายฝั่ งที่เป็นดินเลน จะขึ้นรวมเป็นกลุ่มจำนวนมาก หากพื้นที่ถูกเปิดโล่ง 36 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง

บรรณนุกรม สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน. 2550.ชนิดพันธุ์ไม้่าชายเลนในประเทศไทย (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง. โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน. 2563. พันธุ์ไม้ป่าชายเลน. กรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. โรง พิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแหง่ ประเทศไทย จํากัด, กรุงเทพฯ. 37 พันธ์ุไม้ป่าชายเลนของชุมชนบ้านเกาะกลาง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook