เอกสารประกอบคาบรรยาย โครงการอบรมเชิงปฏิบัตกิ าร เรือ่ ง “แนวคดิ และทฤษฎีทางเศรษฐศาสตรเ์ ชงิ ปฏบิ ัติ” เรื่อง อปุ สงค์ อปุ ทาน และดุลยภาพของตลาด โดย รองศาสตราจารยร์ ัฐวิชญญ์ จิวสวสั ดิ์ สาขาวชิ าเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทยั ธรรมาธิราช
สารบญั หนา้ 1 1. พื้นฐานความรู้เกี่ยวกบั การศึกษาเศรษฐศาสตร์ 1 1.1 ความหมายของเศรษฐศาสตร์ 2 1.2 ปญั หาพ้ืนฐานทางเศรษฐกิจ 1.3 เรียนเศรษฐศาสตร์แล้วได้ประโยชน์อย่างไร 3 1.4 ขอบเขตทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ 3 1.5 เครือ่ งมอื ประกอบการศกึ ษาเศรษฐศาสตร์ 4 4 2. อปุ สงค์ 4 2.1 ความหมายของอุปสงค์ 6 2.2 กฎของอปุ สงค์ 6 2.3 อปุ สงค์บคุ คลและอุปสงค์ตลาด 7 2.4 ปจั จยั กาหนดอปุ สงค์ 9 2.5 การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ 9 9 3. อปุ ทาน 10 3.1 ความหมายของอุปทาน 10 3.2 กฎของอุปทาน 11 3.3 อุปทานบุคคลและอปุ ทานตลาด 13 3.4 ปจั จยั กาหนดอุปทาน 15 3.5 การเปลีย่ นแปลงของอุปทาน 15 17 4. ดุลยภาพของตลาด 18 5. การเปลี่ยนแปลงดลุ ยภาพของตลาด 5.1 การเปลีย่ นแปลงระดับอุปสงค์แต่อปุ ทานคงที่ 5.2 การเปลีย่ นแปลงระดบั อุปทานแตอ่ ุปสงค์คงที่ 5.3 การเปลี่ยนแปลงทั้งระดบั อุปสงค์และระดบั อปุ ทาน 6. การประยกุ ตใ์ ช้เกี่ยวกบั อุปสงค์และอุปทาน : กรณกี ารควบคมุ ราคา 6.1 ราคาขน้ั ตา่ 6.2 เพดานราคา
อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพของตลาด รองศาสตราจารย์รัฐวิชญญ์ จวิ สวัสดิ์ 1. พื้นฐานความรู้เกีย่ วกับการศึกษาเศรษฐศาสตร์ 1.1 ความหมายของเศรษฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ได้ให้คานิยามไว้มากมาย แต่คานิยามที่อธิบายได้ใจความที่ครอบคลุมแบบ สั้นที่สุด(วนั รกั ษ์ มง่ิ มณนี าคิน 2551 : 2-9) ดงั น้ี เศรษฐศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเลือกหนทางในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จากัด เพือ่ ผลิตสินค้าและบริการให้ได้ประโยชน์สูงสุด สามารถสนองความต้องการที่ไม่จากัดของบุคคลและ กลุ่มบคุ คลในสงั คม จากคานิยามมคี าสาคญั ทีค่ วรทาความเข้าใจดังนี้ 1.1.1 ทางเลือกและการเลือก(choice and choosing) เน่ืองจากทรัพยากรต่างๆ สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างหลายรูปแบบ เช่น ที่ดินแปลงหนึ่งสามารถนาไปใช้ประโยชน์ในการสร้างที่อยู่อาศัย โรงงานผลิตสินค้า อาคารพาณิชย์ หรอื ทาเกษตรกรรม หรอื นายนิยม จบการศึกษาระดับปริญญาตรีอาจจะประกอบอาชีพอิสระมีธุรกิจ ของตนเอง ทางานบริษัทเอกชน รับราชการหรือทาเกษตรกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ความไม่สมดุล ระหว่างความต้องการที่ไม่จากัดกับทรัพยากรการผลิตที่มีจากัด ทาให้ไม่สามารถตอบสนองความ ต้องการได้ท้ังหมด จึงต้องมีการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจากัดน้ันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังน้ัน เจ้าของที่ดินจึงต้องเลือกที่จะทาอย่างใดอย่างหนึ่งที่ให้ประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุด หรือนายนิยมก็ จะต้องเลือกประกอบอาชีพตามที่ตนเองได้รับประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ประโยชน์นี้อาจเป็น ผลตอบแทนหรือความพอใจหรอื เปน็ ท้ังสองอย่าง ทุกคนต้องตัดสินใจเลือกอยู่ตลอดเวลาโดยใช้สัญชาตญาณ และความคิดค้นของเรา เอง ทั้ง ที่ใครได้เรียนเศรษฐศาสตร์หรือนาวิธีคิดแบบเศรษฐศาสตร์มาใช้ประกอบการตัดสินใจ แก้ปัญหาต่างๆ โดยไม่รู้ตัว ความคิดทางเศรษฐศาสตร์เป็นการพิจารณาว่า “คุ้มค่าหรือไม่” โดยการตัดสินใจเลือก ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นเหตุและเป็นผล ซึ่งอาจจะเลือกที่จะทาหรือไม่เลือกที่จะทา การเลือก ดังกล่าวจึงเปน็ การเลือกทีไ่ ด้อย่างเสียอย่าง (trade-off) การเลือกจึงเปน็ พฤติกรรมเชิงเศรษฐกิจพืน้ ฐานทีจ่ ะต้องมกี ารตดั สินใจตั้งแตร่ ะดบั บคุ คล กลุ่มบคุ คลจนถึงระดับประเทศ ส่งิ ใดทีต่ อ้ งมกี ารเลือกใช้ทรพั ยากร เศรษฐศาสตร์กจ็ ะต้องเข้า ไปเกี่ยวข้องกบั สิ่งนั้น
2 1.1.2 ทางเลือกและคา่ เสียโอกาส (choice and Opportunity cost) เมื่อเราเลือกทาอย่างหนึง่ จะเสียโอกาสที่จะทาอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือค่าเสียโอกาส เช่น ถ้าเลอื กปลุกข้าวบนที่ดินผืนหนึ่งโดยใช้เกษตรอินทรีย์จะไม่สามารถปลูกข้าวโดยใช้เคมีในที่ดินเดียวกัน ได้เพราะที่ดินมีจากัด หรือ มีเงินออมจานวนหนึ่ง จะต้องตัดสินใจเลือกลงทุนซื้อหุ้น หรือรับเงินปันผล หรอื ฝากธนาคาร หรอื รับดอกเบีย้ ค่าเสียโอกาส อตั ราผลตอบแทนทีเ่ สียไปจากการที่ไม่ได้ทาอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นตัว เงิน (เงินปนั ผล/ดอกเบีย้ ) หรอื ไม่ใช่ตวั เงิน (สุขภาพดีขึน้ หรอื เลวลง) ตวั อยา่ ง ทางเลือกในการประกอบอาชีพของนายสมชาย รายได้สทุ ธิตอ่ ปี (บาท) อาชีพ 600,000 360,000 พนกั งานบริษัท 400,000 ข้าราชการตารวจ พ่อค้า ถ้าสมชายเลือกเป็นพนักงานบริษัท จะมีรายได้ 600,000 บาทต่อปี จะไม่ได้รายได้จาก การเป็นตารวจ 360,000 บาทต่อปี และการเป็นพ่อค้า 400,000 บาท เพราะเลือกทาสิ่งเดียวไม่ สามารถทาทุกอ่างได้ในเวลาเดียวกัน ต้นทุนค่าเสียโอกาสในการเลือกเป็นพนักงานบริษัทจึงเท่ากับ 400,000 บาท ซึ่งเป็นรายได้สูงสุดที่สูญเสียไปจากตัวเลือกอื่นๆ ที่ไม่ได้เลือก ไม่ใช่รายได้ของตารวจ และพ่อค้ารวมกัน ดังนนั้ ตน้ ทนุ ค่าเสียโอกาสจึงมีความสาคัญต่อการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจากัด ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ถ้าการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตโดยไม่คานึงถึงต้นทุนค่า เสียโอกาสก็อาจทาให้เกิดการใชท้ รพั ยากรอย่างไม่คุ้มค่า 1.1.3 การมีอยู่จากดั (scarcity) ทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตล้วนมีอยู่อย่างจากัด เม่ือนาไปใช้ในการผลิตสินค้าและ บริการจึงได้สินค้าและบริการในปริมาณจากัดด้วย การที่บุคคลหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งครอบครองและ บริโภคทรัพยากรจานวนมาก กจ็ ะมเี หลือนอ้ ยลงสาหรบั คนกลุ่มอนื่ ภายในสังคมเดียวกนั 1.1.4 ความตอ้ งการไม่จากัด (unlimited want) ความตอ้ งการไม่จากัด หมายถึงความตอ้ งการที่มีอย่างไม่มที ี่ส้ินสุด เมอ่ื ได้ส่ิงหนึง่ แล้ว กอ็ ยากจะได้สิ่งใหม่ต่อไป 1.1.5 ทรพั ยากรการผลิต (production resources) ทรัพยากรการผลิต หมายถึง ทรัพยากรที่ใช้ผลิตสินค้าและบริการ เศรษฐศาสตร์ เรียกว่า ปัจจัยการผลิต (factors of production) แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ ที่ดิน แรงงาน ทุน(ในที่นี้
3 หมายถึงสินค้าทุนประกอบด้วย สิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์การผลิต) และผู้ประกอบการ ผลตอบแทนที่ ได้รับจากการใช้ปัจจัยการผลิตเหล่านี้ได้แก่ ค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย (เนื่องจากการวัดผลตอบแทน ของสนิ ค้าทุนมคี วามยุ่งยากจึงใช้การวัดผลตอบแทนของเงนิ ทนุ แทนปัจจัยทนุ ) และกาไร 1.1.6 สินค้าและบริการ (goods and services) ในทางเศรษฐศาสตร์แบ่งสินค้าออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ เศรษฐทรัพย์ และสินค้าไร้ ราคา แต่เศรษฐศาสตร์จะศกึ ษาเฉพาะสินค้าที่เปน็ เศรษฐทรพั ย์ (1) เศรษฐทรัพย์ (economic goods) หมายถึงสินค้าที่มีต้นทุน จึงมีราคามากกว่า ศนู ย์ เศรษฐทรัพย์แบ่งเปน็ สนิ ค้าเอกชน (private goods) และสินค้าสาธารณะ (public goods) (2) สินค้าไร้ราคา (free goods) หมายถึง สินค้าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่มี ต้นทนุ การผลิตจึงไม่มรี าคาที่ตอ้ งจ่าย เชน่ แสงแดด อากาศ เปน็ ต้น นอกจากนี้ในการศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จะมีข้อสมมติซึ่งเป็นเง่ือนไขที่กาหนดขึ้น เพื่อความสะดวกและง่ายในการศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะข้อสมมติที่ขาดไม่ได้คือ การ กาหนดให้สิ่งอื่นๆ คงที่ (other thing being equal) แปลมาจากภาษาละตินว่า ceteris paribus หมายความว่า ปัจจัยใดๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนในข้อสมมติอื่นหรือในเน้ือหาถือว่าไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามต้องเข้าใจว่าปัจจัยต่างๆ เหล่าน้ันยังคงมีบทบาทไปตามปกติ การนาทฤษฎีไปใช้ ประโยชน์ตอ้ งเข้าใจในข้อสมมติและขอ้ จากัดของทฤษฎีจึงจะสามารถนาไปประยุกต์ใชอ้ ย่างได้ผล สรปุ ความสัมพนั ธ์ระหว่างทางเลือกและการตัดสินใจเลือกตามภาพที่ 1 ทรัพยากรมีจากดั การมอี ยจู่ ากัด ตดั สนิ ใจเลอื ก ได้อยา่ งเสียอย่าง สิ่งทีเ่ ลอื ก Limited Resources Scarcity Make a choice Trade-off ประโยชนส์ ูงสุด Scarcity ความตอ้ งการไมจ่ ากดั Unlimited Wants สิ่งไม่ได้เลอื ก 1.2 ปัญหาพืน้ ฐานทางเศรษฐกิจ เน่ืองจากทรัพยากรมีจากัดและต้องใช้ทรัพยากรเหล่าน้ันเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทุก สงั คมจงึ ประสบปญั หาที่เรียกว่า ปญั หาพ้นื ฐานทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะแตกต่างจากปัญหาเศรษฐกิจท่ัวไป ประกอบด้วย 1.2.1 ผลิตอะไร (what) ปญั หานี้เกิดจากทรพั ยากรหรอื ปัจจัยการผลิตมีจากัด ไม่ สามารถสนองความตอ้ งการที่ไม่จากดั ได้ทั้งหมด ผู้ผลิตจะต้องเลือกว่าจะผลิตอะไร จานวนเท่าใด ถึง
4 จะได้ประโยชน์สูงสดุ เช่น ถ้ามีห้องแถวเล็กๆ ห้องหนง่ึ เลือกทาธุรกิจได้เพียงธรุ กิจเดียวระหว่างร้าน กาแฟสด ร้านอาหาร ร้ายเสือ้ ผา้ รา้ นใดได้ประโยชน์สูงสุด เปน็ ต้น 1.2.2 ผลิตอย่างไร (how) เม่ือเลือกได้แล้วว่าจะผลิตอะไร จะต้องคิดต่อว่าจะ เลือกใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตอย่างไร ถึงจะทาให้ต้นทุนถูกที่สุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุด เชน่ ถ้าเลือกแล้วว่า จะเปิดรา้ นกาแฟสด จะต้องเลือกว่า จะทาเองหรอื จา้ งแรงงาน จะใช้เคร่ืองอุปกรณ์ ชงกาแฟอย่างไรดี โดยคานึงถึงตน้ ทนุ และประสทิ ธิภาพ เปน็ ต้น 1.2.3 ผลิตเพื่อใคร (for whom) เม่ือผลิตสินค้าได้แล้ว ใครจะเป็นผู้บริโภคสินค้าที่ ผลิต ใครมีส่วนได้รับผลตอบแทนจากการผลิตสินค้านั้น นั่นคือ กระจายสินค้าและจ่ายผลตอบแทนให้ ใครบ้าง ถึงจะได้ประโยชน์สูงสุด เช่น ต้องคิดว่ากลุ่มลูกค้าที่จะซื้อกาแฟสดของเราคือผู้บริโภคกลุ่มใด ราคากาแฟสดที่ขายจะต้องพอใจทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ และต้องจ่ายผลตอบแทนให้กับเจ้าของทรัพยากร หรอื วัตถดุ ิบทีน่ ามาใช้ในการผลิต เปน็ ต้น ระบบเศรษฐกิจแต่ละแบบจะมีวิธีการจัดสรรที่แตกต่างกัน ถ้าเป็นระบบเสรีนิยม ผู้มี รายได้และทรัพย์สินมากจะได้รับผลผลิตมาก แต่ถ้าเป็นระบบสังคมนิยมหรือระบบคอมมิวนิสต์จะมี การจดั สรรผลผลติ ค่อนขา้ งกระจายท่ัวถึง 1.3 เรยี นเศรษฐศาสตรแ์ ล้วได้ประโยชนอ์ ย่างไร - ระดับบุคคล สามารถจัดสรรทรัพยากร (เวลา เงิน) มีจากัด ได้อย่างคุ้มค่า แสดงว่าการ ตัดสินใจเลือกอย่างใดอย่างหนึง่ ย่อมได้อย่างเสียอย่าง (Trade-off) เสมอ ทีเ่ ราประเมินแล้วว่าคุ้มค่า - ระดับครอบครัว ช่วยให้ครอบครัวตัดสินใจเร่ืองต่างๆ ได้อย่างคุ้มค่า เช่น การจัดสรร กิจกรรมต่างๆ ในครอบครัว ตามความถนัด ความพอใจ และความต้องการของสมาชิกแต่ละคน คุณ แม่ คุณพ่อ คุณลูก ควรมีหน้าที่ทาอะไร หรือการบริหารค่าใช้จ่ายในครอบครัวเป็นการตัดสินใจซื้อ สินค้าและบริการภายใต้รายได้ที่จากัด เช่น ต้องการซื้อรถยนต์ใหม่ ต้องแลกด้วยการลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ หรือถ้ารายได้ไม่พอรายจ่าย ก็ต้องควบคุมรายจ่ายหรือหาทางเพิ่มรายได้ หรือถ้ารายได้มากกว่า รายจ่าย กต็ ้องตดั สินใจเรื่องการออมในธนาคารพาณิชย์ หรอื เลือกลงทุนอ่นื ๆ - ระดับชาติ เป็นการจัดสรรทรัพยากรที่จากัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การลิตสินค้า และบริการจะต้องเลือกว่าควรผลิตสินค้าอะไร ใครเป็นผู้ผลิต ผลิตอย่างไร ผลิตเพื่อใครโดยมีระบบ ตลาดที่มีราคาเป็นตัวจัดสรร ว่าควรนาปัจจัยการผลิตมาผลิตอะไร วิธีการใด ให้ใคร และนารายได้มา แบ่งปันส่วนให้กับเจ้าของปัจจัยการผลิตที่มีส่วนร่วมในการผลิต หรือกรณีที่ตลาดไม่สามารถจัดสรร ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สินค้าจาเป็นต่อการบริโภคแต่เอกชนไม่อยากผลิต เช่น การ ป้องกันประเทศ การสร้างถนนสู่ชุมชนห่างไกล หรือสินค้าจาเป็นบางอย่าง สินค้าสาธารณูปโภคต่างๆ ถ้าปล่อยใหเ้ อกชนผลิตได้เสรี จะทาให้เกิดการผูกขาด ทาให้ราคาแพงจนประชาชนไม่สามารถบริโภคได้ 1.4 ขอบเขตทฤษฎีเศรษฐศาสตร์
5 ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 1.4.1 เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นการศึกษาลักษณะและ พฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจย่อยต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจ เช่น หน่วยผลิตหรือหน่วยธุรกิจ ผู้บริโภค ปัจจัยการผลิต การกาหนดราคาสินค้า ต้นทุนการผลิต ตลาดสินค้า ตลาดปัจจัยการผลิต เป็นต้น ทฤษฎีที่สาคัญที่ใช้ศึกษาและวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่ ทฤษฎีผู้บริโภค ทฤษฎีการผลิต ทฤษฎีการกาหนดราคาของปจั จัยการผลิตหรอื เรียกว่า ทฤษฎีราคา 1.4.2 เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษาเศรษฐศาสตร์ทั้ง ระบบหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบเศรษฐกิจ เช่น รายได้ประชาชาติ ระดับราคาสินค้าและบริการ โดยทั่วไป ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ การบริโภค การออม การลงทุน การจ้างงานโดยท่ัวไป รายได้และรายจ่ายของรัฐบาล การพัฒนาเศรษฐกิจ เปน็ ต้น 1.5 เครือ่ งมือประกอบการศึกษาเศรษฐศาสตร์ คณิตศาสตรเ์ ปน็ เครื่องมือทีช่ ่วยอธิบายทฤษฎีใหช้ ัดเจนและเข้าใจได้งา่ ยขึ้น เช่น 1.5.1 ฟงั ก์ชนั (function) หมายถึง ความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป เช่น กาหนดให้ ราคา (P) เป็นตัวแปรอิสระ ปริมาณอุปสงค์ (Q) เป็นตัวแปรตาม เขียนความสัมพันธ์ ทางคณิตศาสตร์ได้ดังน้ี Q = f (P) อ่านว่า Q เป็นฟังก์ชันของ P หมายความว่า ค่าของ Q แปรผนั ตามค่า P จากฟังก์ชันแปลงให้เป็นสมการที่แสดงความสมั พันธ์ของตัวแปรนั้นๆ 1.5.2 กราฟ (graph) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ด้วยเส้นกราฟ วิธีนี้เป็นที่นิยมในวิชาเศรษฐศาสตร์เพราะมองเห็นภาพที่แสดงความสัมพันธ์ได้ชัดเจน ถ้าเป็น ความสัมพันธ์ของ 2 ตัวแปร สามารถแปลงความสัมพันธ์เป็นเส้นกราฟ 2 มิติได้ง่ายเพราะใช้เพียง 2 แกนคือ แกนนอน (แกน X) และแกนตั้ง (แกน Y) หรือถ้าเป็น 3 ตัวแปรจะเขียนเส้นกราฟได้ยากขึ้น เพราะจะต้องใช้ 3 แกนเป็นภาพ 3 มิติ แต่ถ้ามีตัวแปรมากกว่า 3 ตัวแปร ไม่นิยมเขียนกราฟเพราะ ทาได้ยากแต่จะใช้วธิ ีการเขียนเปน็ สมการคณิตศาสตร์
6 2. อุปสงค์ 2.1 ความหมายของอปุ สงค์ อปุ สงค์ (Demand : D) สาหรบั สินคา้ และบริการชนิดหนึ่ง หมายถึง ปริมาณสินค้าและบริการ ชนิดนนั้ ที่ผบู้ ริโภคตอ้ งการซือ้ ณ ระดับราคาตา่ งๆ ของสนิ ค้าและบริการชนิดนน้ั ในระยะเวลาหนึ่ง จากความหมายดังกล่าว แสดงถึงความสมั พนั ธ์ระหว่างปริมาณสินค้าและบริการที่ต้องการซื้อ กับราคาสินค้าและบริการนั้น จึงเรียกว่า อุปสงค์ต่อราคา (price demand) โดยท่ัวไปจะให้ความสาคัญ กับอุปสงค์ต่อราคาและเรียกเพียงสั้นๆ ว่า อุปสงค์ ดังนั้นเม่ือกล่าวถึงอุปสงค์จึงหมายถึงอุปสงค์ต่อ ราคา นอกจากนี้ยังมีอุปสงค์อีก 2 ประเภทคือ อุปสงค์ต่อรายได้ (income demand) ซึ่งหมายถึง ปริมาณสินค้าและบริการชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ ณ ระดับรายได้ต่างๆ ของผู้บริโภคใน ระยะเวลาหนึ่ง และอุปสงค์ต่อราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่กาลังพิจารณาอยู่ (cross demand) ซึ่งหมายถึง ปริมาณสินค้าและบริการชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆ ของสินค้า ชนิดอ่นื ทีเ่ กี่ยวข้องในระยะเวลาหนึง่ จากความหมายของอุปสงค์ คาว่า “ ความต้องการซื้อ” เป็นความต้องการที่มีอานาจซื้อ (purchasing power) หรือมีเงินเพียงพอและเต็มใจ (ability and willingness) ที่จะจ่ายเงินซื้อสินค้าและ บริการน้ันๆ ถ้าผู้บริโภคมีความต้องการแต่ไม่มีอานาจซื้อจะไม่ถือว่าเป็นอุปสงค์ในความหมายทาง เศรษฐศาสตร์ จะเป็นเพียงความต้องการโดยท่ัวไปเท่าน้ัน เช่น สมเดชต้องการซื้อเคร่ืองปรับอากาศ เคร่ืองใหม่เพื่อทดแทนเคร่ืองเดิมที่ชารุด สมเดชมีเงินเพียงพอที่จะจ่ายค่าเคร่ืองปรับอากาศ ความ ต้องการของสมเดชเปน็ จรงิ ได้ เพราะเป็นความต้องการที่มีอานาจซื้อ เนื่องจากมีเงินเพียงพอและเต็ม ใจที่จะจ่าย จึงเป็นอุปสงค์ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์ แต่ถ้าสมเดชไม่มีเงินเพียงพอ หรือมีเงิน เพียงพอแต่ไม่ตอ้ งการซือ้ กไ็ ม่ถอื ว่าเป็นอปุ สงค์ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์ 2.2 กฎของอปุ สงค์ กฎของอุปสงค์ (law of demand) อธิบายว่า ปริมาณสินค้าและบริการสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งที่ ผบู้ ริโภคตอ้ งการซือ้ จะแปรผกผันกับราคาของสินค้าและบริการชนิดน้ัน เมอ่ื กาหนดให้สง่ิ อ่นื ๆ คงที่ จากกฎของอปุ สงค์ หมายความว่า เม่ือราคาสินค้าและบริการชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น ปริมาณสินค้า และบริการชนิดนั้นที่ผู้บริโภคต้องการซื้อจะลดลง ในทางตรงข้าม เม่ือราคาสินค้าและบริการลดลง ปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อจะเพิ่มขึ้น นั่นคือ ปริมาณสินค้าและบริการที่ต้องการ ซอื้ นั้นมีความสมั พันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับราคาสินค้าและบริการนั้น เขียนเป็นฟังก์ชันอุปสงค์ที่แสดง ความสมั พันธ์เชงิ คณิตศาสตร์ได้ว่า Qd = f (P)
7 หมายความว่าปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการขึ้นอยู่กับราคาสินค้าแล ะบริการนั้น จากสมการอุปสงค์อาจเขียนแสดงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนมากขึ้นเป็นสมการอุปสงค์ (demand equation) เชน่ สมการอปุ สงค์ที่เป็นสมการเชงิ เส้น Qd = 100 - 4 P สมการอปุ สงค์ที่ไม่ใช่สมการเชงิ เส้น Qd = 10 - 2 P2 จากสมการอปุ สงค์สามารถสร้างตารางอุปสงค์ (demand schedule) โดยกาหนดค่า P ใน สมการอปุ สงค์น้ันๆ จะได้ค่า Qd ณ ระดบั ราคาต่างๆ ได้ ตวั อย่างเช่น สมชายมีความตอ้ งการซือ้ ขนมปังมาบริโภค ณ ราคาต่างๆ ดงั น้ี ตารางท่ี 1 ปริมาณความต้องการซอ้ื ขนมปังของสมชาย ราคาสินค้า (บาท/ชิน้ ) ปริมาณซือ้ (ช้ิน) 57 4 10 3 14 2 20 1 30 ที่มา : ปรบั ปรงุ จากวันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน 2551 : 38 จากตารางอุปสงค์เม่ือนาราคาขนมปังและปริมาณขนมปังที่สมชายต้องการซื้อที่ตรงคู่กันมา เขียนกราฟ แล้วลากเส้นเชื่อมจุดเหล่านี้จะได้เส้นอุปสงค์ที่มีลักษณะลาดลงจากบนซ้ายลงมาล่างขวา ตามภาพที่ 1 ราคา 5 4 3 2 เส้นอุปสงค์ (D) 1 0 5 7 10 15 20 25 30 ปริมาณขนมปัง ภาพที่ 1 เสน้ อุปสงคข์ นมปังของสมชาย
8 2.3 อุปสงค์บคุ คลและอปุ สงค์ตลาด อุปสงค์บุคคล (individual demand) หมายถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ชนิดใดชนิดหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ ของผู้บริโภคคนใดคนหนึ่ง เช่น อุปสงค์ขนมปังของสมชายตาม ตารางที่ 1 เม่ือเขียนเป็นเส้นอุปสงค์ขนมปังของสมชายได้ตามภาพที่ 1 เส้นอุปสงค์นี้เรียกว่าเส้นอุป สงค์บุคคล แต่ในความเป็นจริงสมชายไม่ใช่ผู้ซื้อเพียงคนเดียว ถ้าเอาอุปสงค์ที่มีต่อขนมปังของทุกคน มารวมกนั ณ ระดบั ราคาเดียวกนั จะเรียกว่าอุปสงค์ของตลาดทีร่ ะดับราคาน้ัน เป็นต้น ดังน้ัน เม่ือรวม อุปสงค์หรือปริมาณความต้องการซื้อของแต่ละบุคคลหรือผู้บริโภคทุกรายในตลาดสินค้าชนิดนั้น ณ ระดับราคาต่างๆ จะเป็นอุปสงค์ของผู้บริโภคทุกคนที่บริโภคสินค้า ณ ระดับราคาต่างๆ ในตลาดสินค้า นั้น เรียกว่า อุปสงค์ตลาด (market demand) เส้นอุปสงค์ตลาดจะมีลักษณะเหมือนกับเส้นอุปสงค์ บคุ คล เพียงแต่มีความลาดมากกว่า 2.4 ปัจจัยกาหนดอุปสงค์ ปัจจัยกาหนดอุปสงค์ หมายถึง ปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อปริมาณความต้องการซื้อสินค้าที่ ผู้บริโภคต้องการซื้อ แต่จะมีอิทธิพลมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับพฤติกรรมผู้บริโภคแต่ละคนและ ระยะเวลา ปัจจยั ทีส่ าคญั ได้แก่ 2.4.1 ราคาสนิ ค้าชนิดนนั้ โดยปกติ เม่ือราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ปริมาณสินค้าชนิดน้ันที่ ผบู้ ริโภคตอ้ งการซือ้ จะลดลง แตถ่ ้าราคาสนิ ค้าลดลง ปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อจะเพิ่มขนึ้ 2.4.2 รายได้ของผู้บริโภค โดยปกติเม่ือผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น ความต้องการ ซื้อสินค้าจะเพิ่มขึ้น หรือเม่ือรายได้ลดลง ความต้องการซื้อสินค้าจะลดลง ในกรณีนี้สินค้าเป็นสินค้า ปกติ (normal goods) แต่ถ้าผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นกลับบริโภคสินค้านั้นลดลง หรือเม่ือมีรายได้ ลดลง ผู้บริโภคซือ้ สินค้าน้ันเพิม่ ขึน้ สนิ ค้านีเ้ ปน็ สินคา้ ด้อย (inferior goods) 2.4.3 ราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยปกติผู้บริโภคมีความต้องการบริโภคสินค้า หลายชนิด ถ้าสินค้าชนิดหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการซื้อมีราคาสูงขึ้นแล้ว ผู้บริโภคซื้อสินค้าชนิดนั้นลดลง โดยไปซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่ใช้ทดแทนกันได้ กรณีนี้เรียกว่า สินค้าที่ทดแทนกันได้ (substitute goods) เช่น น้าชาเขียวมีราคาแพงขึ้น ผู้บริโภคจึงบริโภคน้าเปล่าบรรจุขวดแทนน้าชาเขียว สินค้าทั้ง สองชนิดเป็นสินค้าที่ทดแทนกันได้ เป็นต้น หรือในกรณีที่เป็นสินค้าที่ใช้ประกอบกัน (complementary goods) เช่น กาแฟกับนมข้น เป็นต้น เม่ือผู้บริโภคต้องการบริโภคกาแฟมากขึ้นก็จะบริโภคนมข้นเพิ่ม มากขึ้นดว้ ย 2.4.4 รสนิยมผู้บริโภคและความนิยมของคนส่วนใหญ่ในสังคม ถ้าผู้บริโภคมีความ พอใจในสินค้าเน่ืองจากนิยมชมชอบในสินค้านั้น ปริมาณความต้องการซื้อจะมากขึ้น ในทางตรงข้าม ถ้าผู้บริโภคนิยมในตัวสินค้าลดลง ปริมาณความตอ้ งการซือ้ จะลดลงด้วย
9 2.4.5 ฤดูกาลหรอื เทศกาล ปริมาณความตอ้ งการซือ้ ของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไป ตามฤดูกาลหรือเทศกาล โดยจะมีความต้องการซื้อสินค้าที่อยู่ในช่วงฤดูกาลหรือเทศกาลมากขึ้น แต่ ถ้าไม่อยู่ในช่วงดังกล่าวปริมาณความตอ้ งการซือ้ ย่อมลดลง เชน่ ในช่วงฤดูร้อน ปริมาณความต้องการ ซื้อเคร่ืองปรับอากาศจะเพิ่มขึ้น หรือ ความต้องการซื้อเคร่ืองสังฆทาน เทียนจานาพรรษาจะมากขึ้น ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา 2.4.6 การคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต ถ้าผู้บริโภคคาดการณ์ว่าในอนาคต ปริมาณสินค้าจะขาดแคลนและราคาสินค้านั้นจะแพงมากขึ้น ก็จะซื้อสินค้าน้ันในปัจจุบันมากขึ้น เช่น ผู้บริโภคทราบว่าผลผลิตปาล์มน้ามันมีน้อย ราคาปาล์มน้ามันจะต้องแพงขึ้น ก็จะมีการซื้อน้ามัน ปาล์มมากขึ้นก่อนที่จะขาดแคลน หรือในกรณีที่มีการประกาศลดราคาน้ามันเบนซินและดีเซลในวัน พรุ่งนี้ การเติมนา้ มนั ในวันนีจ้ ะลดน้อยลงและไปเติมในวันทีม่ กี ารลดราคา เป็นต้น 2.4.7 จานวนผู้บริโภคในตลาดหรือจานวนประชากร ปริมาณความต้องการซื้อ สินค้าของผู้บริโภคจะเปลีย่ นแปลงตามจานวนผบู้ ริโภคในตลาดหรือจานวนประชากรในทิศทางเดียวกัน เช่น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีประชากรจานวนพันล้านคนเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีผู้บริโภค จานวนมาก ความตอ้ งการซือ้ สินค้าต่างๆ มาบริโภคย่อมมจี านวนมากด้วย 2.5 การเปลี่ยนแปลงของอปุ สงค์ การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์แบ่งเป็น 2 กรณี คือ การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์ และการ เปลี่ยนแปลงระดบั อุปสงค์ 2.5.1 การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์ (change in quantity demand) เป็นการ เปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการซื้อของผู้บริโภคจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบนเส้นอุปสงค์เดียวกัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าชนิดนั้น เม่ือกาหนดให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่ ดังแสดงตามภาพที่ 2
10 ราคา P0 C P1 A B D P2 ปริมาณ O Q0 Q1 Q2 ภาพที่ 2 การเปลีย่ นแปลงปริมาณอุปสงค์ จากภาพที่ 2 D เป็นเส้นอุปสงค์สินค้าชนิดหนึ่ง จุด A บนเส้นอุปสงค์แสดงถึงราคาสินค้า OP1 ปริมาณความตอ้ งการซือ้ สินค้า OQ1 จุด B ราคาสินค้าลดลงเป็น OP2 ปริมาณความต้องการซื้อ สินค้าเพิม่ ขนึ้ เป็น OQ2 การเปลี่ยนแปลงความตอ้ งการซือ้ สินค้าจากจุด A ไปยังจุด B บนเส้นอุปสงค์ เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปสงค์ แต่ถ้าราคาสินค้าเพิ่มขึ้นจาก OP1 เป็น OP0 ปริมาณ ความตอ้ งการซือ้ สินค้าลดลงจาก OQ1 เป็น OQ0 การเปลีย่ นแปลงปริมาณความต้องการซื้อจากจุด A ไปจดุ C บนเส้นอปุ สงค์เปน็ การเปลีย่ นแปลงปริมาณอุปสงค์เช่นเดียวกัน 2.4.2 การเปลี่ยนแปลงระดับอุปสงค์ (shift in demand curve) เป็นการเลื่อนเส้น อุปสงค์ที่ทาให้มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการซื้อของผู้บริโภคเน่ืองจากปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อ ความต้องการซื้อสินค้าเปลี่ยนแปลงแต่ราคาสินค้านั้นคงที่ เช่น รายได้เพิ่มขึ้น ความนิยมในสินค้านั้น ลดลงหรืออยู่ในช่วงเทศกาล เป็นต้น ถ้าผลของปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ใช่ราคานี้ทาให้อุปสงค์เพิ่มขึ้น เส้น อุปสงค์ท้ังเส้นจะเลื่อนไปทางขวามือของเส้นเดิม ในทานองตรงข้าม ถ้ามีผลทาให้อุปสงค์ลดลง เส้น อปุ สงค์ทั้งเส้นจะเลือ่ นไปทางซ้ายมือของเส้นเดิม
11 ราคา P1 C A B D2 D1 D0 O Q0 Q1 Q2 ปริมาณ ภาพที่ 3 การเปลี่ยนแปลงระดบั อุปสงค์ จากภาพที่ 3 ที่จุด A บนเส้นอุปสงค์ D1 ระดับราคาเป็น OP1 ปริมาณความต้องการซื้อเป็น OQ1 ถ้าปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ใช่ราคาสินค้าน้ันเปลี่ยนแปลง เช่น รายได้เพิ่มขึ้นและสินค้านั้นเป็นสินค้าปกติ ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าน้ันเพิ่มขึ้น เส้นอุปสงค์ D1 จะเลื่อนไปทางขวามือเป็นเส้นอุปสงค์ D2 หมายความว่า ณ ระดับราคา OP1 เท่าเดิม ปริมาณความตอ้ งการซื้อเพิ่มขึ้นเป็น OQ2 ในทางตรงข้าม ถ้ารายได้ลดลงและสินค้าน้ันเป็นสินค้าปกติ ผู้บริโภคจะซื้อสินค้านั้นลดลง เส้นอุปสงค์ D1 จะเลื่อนไป ทางซ้ายมือเป็นเส้นอุปสงค์ D0 หมายความว่า ณ ระดับราคา OP1 ปริมาณความต้องการซื้อลดลง เปน็ OQ0 3. อปุ ทาน 3.1 ความหมายของอุปทาน อุปทาน (Supply : S) สาหรับสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง หมายถึง ปริมาณสินค้าและบริการชนิด นั้นที่ผู้ผลิตหรอื ผขู้ ายต้องการขาย ณ ระดบั ราคาตา่ งๆ ในระยะเวลาหนึ่ง 3.2 กฎของอปุ ทาน กฎของอุปทาน (law of supply) อธิบายว่า ปริมาณความต้องการขายสินค้าและบริการชนิด ใดชนิดหนึ่งจะแปรผันตามกันกับราคาสินค้าและบริการชนิดน้ัน เม่ือกาหนดให้สิ่งอื่น ๆ คงที่ หมายความว่า เม่ือราคาสินค้าและบริการชนิดหนึ่งเพิ่มขึ้น ปริมาณความต้องการขายสินค้าและ บริการชนิดน้ันของผู้ผลิตหรือผู้ขายจะเพิ่มขึ้น ในทางตรงข้าม เม่ือราคาสินค้าและบริการชนิดนั้น ลดลง ปริมาณความตอ้ งการขายสินค้าและบริการชนิดนน้ั ของผู้ผลติ หรือผู้ขายจะลดลง
12 จากความสมั พนั ธ์ของราคากบั ปริมาณความต้องการขายสินค้าและบริการเขียนเปน็ ฟังก์ชัน ของอุปทานได้ดงั นี้ QS = f(P) หมายความว่า ปริมาณความตอ้ งการขายสินค้าและบริการของผผู้ ลิตหรอื ผขู้ ายขึ้นอยู่กบั ราคา สินค้าและบริการน้ัน จากฟงั ก์ชันอุปทานอาจเขียนแสดงความสัมพันธ์เป็นสมการอปุ ทาน (supply equation) ได้ เชน่ สมการอุปทานที่เปน็ สมการเชงิ เส้น QS = 5 + 2P สมการอุปทานที่ไม่ใช่เชิงเส้น QS = 5 + 2P2 จากสมการอุปทานสามารถสร้างตารางอุปทาน (supply schedule) โดยกาหนดค่า P หรอื ราคาต่างๆ ในสมการอุปทานน้ันกจ็ ะได้ค่าปริมาณอปุ ทานหรอื QS ณ ระดบั ราคาต่างๆ ตวั อย่างเช่น สมใจมีความต้องการขายขนมปงั ณ ราคาต่างๆ ดังตารางที่ 2 ตารางท่ี 2 ปริมาณขนมปังท่สี มใจตอ้ งการขาย ราคาสินค้า (บาท/ชิน้ ) ปริมาณซือ้ (ช้ิน) 5 17 4 15 3 12 27 10 ทีม่ า : ปรับปรุงจากวนั รกั ษ์ มิ่งมณีนาคิน 2551 : 45 จากตารางอุปทาน เม่ือนาราคาขนมปังและปริมาณขนมปังที่สมใจต้องการนาออกมาขายที่ ตรงคกู่ นั ไปเขียนกราฟ แล้วลากเส้นเชื่อมจุดเหล่าน้ันจะได้เส้นอุปทานที่มีลักษณะทอดขึ้นจากล่างซ้าย ไปบนขวา ตามภาพที่ 4
13 ราคา เส้นอุปทาน (S) 5 ปริมาณขนมปัง 4 3 2 1 O 5 7 10 12 15 17 20 ภาพที่ 4 เสน้ อุปทานขนมปงั ของสมใจ 3.3 อปุ ทานบุคคลและอุปทานตลาด อุปทานบุคคล (individual supply) หมายถึงปริมาณความต้องการขายสินค้าและบริการชนิด หนึ่งของผู้ผลิตหรือผู้ขายรายหนึ่ง ณ ระดับราคาต่างๆ เม่ือรวมปริมาณความต้องการขายสินค้าและ บริการชนิดนั้นของผู้ผลิตหรือผู้ขายทุกรายในตลาดสินค้านั้น ณ ระดับราคาต่างๆ ก็จะเป็นอุปทาน ตลาด (market supply)ของสินค้านั้น เส้นอุปทานตลาดจะมีลักษณะเหมือนกับเส้นอุปทานบุคคลที่มี ลักษณะทอดขึน้ จากล่างซ้ายไปบนขวา เพียงแต่มีความลาดมากกว่าเส้นอุปทานบุคคล 3.4 ปัจจยั กาหนดอุปทาน ปัจจัยกาหนดอุปทาน หมายถึง ปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตหรือผู้ขาย ต้องการขาย ซึ่งจะมีอทิ ธิพลมากน้อยแตกต่างกนั ปจั จัยที่สาคัญได้แก่ 3.4.1 ราคาสินค้าชนิดน้ัน เม่ือราคาสินค้าชนิดนั้นเพิ่มขึ้น ปริมาณสินค้าและ บริการที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายต้องการขายจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าราคาสินค้าและบริการชนิดนั้นลดลง ปริมาณ สินค้าและบริการที่ผผู้ ลติ หรอื ผขู้ ายต้องการขายจะลดลง 3.4.2 ต้นทุนการผลิตและราคาปัจจัยการผลิต ในกรณีที่ต้นทุนการผลิตเพิ่ม สูงขึ้นและมีผลทาให้กาไรของผู้ผลิตลดลง ปริมาณความต้องการขายจะลดลง ในทางตรงข้าม ถ้า ต้นทนุ การผลิตลดลงและมีผลทาให้กาไรของผผู้ ลิตเพิม่ ขนึ้ ปริมาณความตอ้ งการขายจะเพิม่ ข้นึ 3.4.3 เทคโนโลยีหรือเทคนิคท่ีใช้ในการผลิต ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการ ผลติ สินคา้ ทาให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น ปริมาณความตอ้ งการขายจะมากขึ้น
14 3.4.4 การคาดคะเนราคาสินค้าในอนาคต การคาดคะเนราคาสินค้าในอนาคตมี ผลต่อการผลิตและความต้องการขายได้ เช่น ถ้าผู้ผลิตคาดคะเนว่าความต้องการสินค้าน้ันจะมีมาก ขึ้นและราคาสินค้านั้นจะสูงขึ้น ก็จะชะลอการผลิตในปัจจุบันเพื่อให้มีวัตถุดิบเพียงพอสาหรับการผลิต ในอนาคต จึงทาให้ปริมาณสินค้าทีต่ อ้ งการขายในปัจจุบันลดลง ในทางตรงข้าม ถ้าคาดคะเนว่าความ ต้องการสินค้าในอนาคตลดน้อยลง ราคาสินค้าจะลดลง ผู้ผลิตจะเพิ่มปริมาณการผลิตในปัจจุบันให้ มากขึ้น ความตอ้ งการขายสินค้าในปจั จุบนั จะมากขึ้น 3.4.5 นโยบายของผผู้ ลิต ถ้าผู้ผลิตมุ่งผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและราคาต่าหรือปาน กลางเพื่อขายให้ผู้บริโภคท่ัวไป จะทาการผลิตในปริมาณมากเพื่อขายให้ได้มากขึ้น และในกรณีที่ ผู้ผลิตมุ่งผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงหรือมีลักษณะพิเศษซึ่งมีราคาสูง ผู้ผลิตจะทาการผลิตในปริมาณ น้อย 3.5 การเปลี่ยนแปลงของอุปทาน การเปลี่ยนแปลงของอุปทานแบ่งเปน็ 2 กรณี คอื การเปลีย่ นแปลงปริมาณอปุ ทาน และการ เปลีย่ นแปลงระดบั อปุ ทาน 3.5.1 การเปลี่ยนแปลงปริมาณอุปทาน (change in quantity supply) เป็นการ เปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการขายของผู้ผลิตหรือผู้ขายจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบนเส้นอุปทาน เดียวกัน เนอ่ื งจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสนิ ค้าน้ันเม่อื กาหนดให้ปัจจัยอืน่ ๆ คงที่ ราคา S P2 C P1 A P0 B O Q0 Q1 Q2 ปริมาณ ภาพที่ 5 การเปลีย่ นแปลงปริมาณอปุ ทาน
15 จากภาพที่ 5 จุด A บนเส้นอปุ ทาน S แสดงถึง ราคาสนิ ค้าที่ OP1 ปริมาณความต้องการขาย สินค้าเป็น OQ1 ที่จุด B ราคาลดลงเป็น OP0 ปริมาณความต้องการขายสินค้าลดลงเป็น OQ0 การเปลีย่ นแปลงปริมาณความตอ้ งการขายจากจุด A ไปจุด B บนเส้นอุปทานเดียวกันเรียกว่า การ เปลี่ยนแปลงปริมาณอุปทานที่จุด C บนเส้นอุปทานราคาเพิ่มขึ้นจาก 0P1 เป็น OP2 ปริมาณความ ต้องการขายสินค้าจะเพิม่ ขึน้ จาก OQ1 เป็น OQ2 เปน็ การเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการขายจาก จุด A ไปจดุ C บนเส้นอปุ ทานเดิมเรียกว่า การเปลีย่ นแปลงปริมาณอุปทานเชน่ กนั 3.5.2 การเปลี่ยนแปลงระดับอุปทาน (shift in supply curve) เป็นการเลื่อนของ เส้นอุปทาน ซึง่ เปน็ การเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการขายของผู้ผลิตหรือผู้ขายเน่ืองจากปัจจัยอื่น ที่เป็นตัวกาหนดอุปทานที่ไม่ใช่ราคาสินค้าน้ันเปลี่ยนแปลง เช่น ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ราคาปัจจัย การผลิตลดลง เทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ เป็นต้น โดยที่ราคาสินค้านั้นคงที่ ทาให้อุปทานทั้งเส้น เลื่อนไปจากเส้นเดิม ถ้าผลของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทาให้อุปทานเพิ่มขึ้น เส้นอุปทานจะเลื่อนไป ทางขวาของเส้นเดิม แต่ถ้าผลของการเปลี่ยนแปลงทาให้อุปทานลดลง เส้นอปุ ทานจะเลื่อนไปทางซ้าย ของเส้นเดิม ราคา S0 S1 S2 P1 C A B O Q0 Q1 Q2 ปริมาณ ภาพที่ 6 การเปลีย่ นแปลงระดบั อปุ ทาน จากภาพที่ 6 ที่จุด A บนเส้นอุปทาน S1 ราคาสินค้าเป็น OP1 ปริมาณความต้องการ ขายเป็น OQ1 ถ้าปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่ราคาสินค้านั้นเปลี่ยนแปลง ขณะที่ราคาสินค้าน้ันคงที่ ทาให้ ปริมาณความต้องการขายสินค้าน้ันเพิ่มขึ้น เส้นอุปทาน S1 จะเลื่อนเป็นเส้นอุปทาน S2 ปริมาณ ความต้องการขายสินค้าเพิ่มเป็น OQ2 ในทางตรงข้าม ถ้าปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่ราคาสินค้าเปลี่ยนแปลง
16 ขณะที่ราคาสินค้านั้นคงที่ ทาให้ปริมาณความต้องการขายลดลง เส้นอุปทาน S1 เลื่อนเป็นเส้น อปุ ทาน S0 ปริมาณความตอ้ งการขายสินค้าลดลงเปน็ OQ0 4. ดลุ ยภาพของตลาด เนื่องจากอุปสงค์และอุปทานสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งมีความสัมพันธ์กับราคาสินค้า และบริการนั้นตามกฎของอุปสงค์และอุปทาน ดังนั้นปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ และปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายต้องการขายจะเปลี่ยนแปลงตามระดับราคาสินค้าและ บริการที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะเดียวกันปริมาณความต้องการซื้อและปริมาณความต้องการขายจะ เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงข้ามกัน ทาให้ปริมาณความต้องการซื้อและปริมาณความต้องการขายจะ เท่ากันพอดี ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง นั่นคือ ณ ระดับราคานั้น ปริมาณสินค้าและบริการที่ ผู้บริโภคต้องการซื้อในขณะน้ันจะเท่ากับปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายต้องการขาย ใน ขณะเดียวกันพอดี ระดับราคานี้เรียกว่า ราคาดุลยภาพ และปริมาณความต้องการซื้อและปริมาณ ความตอ้ งการขายทีเ่ ท่ากนั นเี้ รียกว่า ปริมาณดุลยภาพ ตามหลักเศรษฐศาสตร์ ตลาดที่มีการแข่งขันกัน ราคาสินค้าและบริการจะถูกกาหนดโดยอุป สงค์และอุปทานของตลาดสินค้าและบริการชนิดน้ัน ราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพจะอยู่ที่ ปริมาณซื้อเท่ากับปริมาณขายพอดีและเรียกภาวะนี้ว่า ดุลยภาพของตลาด (วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน 2551 : 49 – 50) ดุลยภาพของตลาด (equilibrium) หมายถึงปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ เท่ากับปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายต้องการขาย ณ ระดับที่ไม่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลง หรือ อุปสงค์เท่ากับอุปทาน ดุลยภาพนี้จะคงอยู่ตลอดไปจนกว่าปัจจัยที่กาหนดอุปสงค์และ/หรือ อปุ ทานมกี ารเปลีย่ นแปลงแล้ว ทาให้อุปสงค์และ/หรอื อุปทานเปลีย่ นไป ดงั ภาพที่ 7
17 ราคา อุปทานส่วนเกิน S P1 A B อุปสงคส์ ่วนเกิน PE E P2 C F D O Q1 Q2 QE Q3 Q4 ปริมาณ ภาพที่ 7 ดลุ ยภาพของตลาดสินค้าและบริการชนิดหนึง่ ณ ระดับราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพนี้ ถ้าราคาเปลี่ยนแปลงไปจากราคาดุลยภาพ ด้วยเหตุใดก็ตาม จะทาให้อุปสงค์และอุปทานไม่สมดุล แต่กลไกราคาจะทาให้ราคาที่เปลี่ยนไปจาก ราคาดุลยภาพนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเร่ือยๆ จนเกิดราคาดุลยภาพอีกคร้ังและจะหยุดนิ่งที่จุดดุลย ภาพอีกครั้ง จากภาพที่ 7 เส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานตัดกันที่จุด E ราคาดุลยภาพอยู่ที่ PE และ ปริมาณดุลยภาพอยู่ที่ QE ถ้าสมมติว่าก่อนเข้าสู่ภาวะดุลยภาพ ณ ระดับราคาใดที่สูงราคาดุลยภาพ เชน่ ที่ราคา OP1 ปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อที่จุด A เท่ากับ OQ2 ซึ่งน้อยกว่า ปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายต้องการขายที่จุด B เท่ากับ OQ2 ปริมาณความต้องการ ขายมากกว่าปริมาณความต้องการซื้อหรือสินค้าล้นตลาดเท่ากับ Q2Q3 หรือระยะ AB เรียกว่า อปุ ทานส่วนเกิน (excess supply) แสดงวา่ ระดับราคา OP1 สูงเกินไปกว่าอานาจซื้อของผู้บริโภคส่วน หนึ่ง ทาให้สินค้าที่ผลิตได้ขายไม่หมด กลไกราคา (price mechanism) จะมีการปรับอุปสงค์และ อุปทานให้กลับมาสู่ดุลยภาพอีกคร้ัง โดยผู้ขายจะต้องลดราคาลงเพื่อขายสินค้าและบริการให้ได้มาก ขึ้น ราคาสินค้าและบริการจะปรับตัวลดลงเร่ือยๆ จนกว่าจะเกิดราคาดุลยภาพ ซึ่งปริมาณความ ต้องการขายของผู้ผลิตจะพอดีกับปริมาณความต้องการซื้อของผู้บริโภค สินค้าและบริการจึงขายได้ หมดพอดี ถ้าระดบั ราคาใดๆ ที่ต่ากว่าราคาดุลยภาพ ปริมาณสินค้าและบริการที่ต้องการซื้อจะมากกว่า ปริมาณสินค้าและบริการที่ต้องการขาย เรียกว่า อุปสงค์ส่วนเกิน (excess demand) เช่นระดับราคา OP2 ผบู้ ริโภคตอ้ งการซื้อปริมาณ OQ4 แต่ผู้ผลิตหรือผู้ขายต้องการขายเพียง OQ1 สินค้าและบริการ จึงไม่พอขายหรือสินค้าขาดตลาดเท่ากับ Q1Q4 หรือระยะ CF กลไกราคาจะมีการปรับอุปสงค์และ
18 อุปทานเข้าสู่ดุลยภาพ ดังน้ันผู้ผลิตสามารถปรับราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น เพราะผู้ซื้อแย่งกัน ซือ้ ราคาจะสงู ข้ึนเรอ่ื ยๆ จนกว่าจะถึงราคาดุลยภาพจึงจะหยุดนิ่ง ซึ่งปริมาณความต้องการซื้อเท่ากับ ปริมาณความต้องการขายพอดี สรุปได้ว่า ดุลยภาพของตลาด เม่ือเกิดขึ้นแล้วจะคงอยู่ ณ ระดับนั้นตลอดไปตราบที่เส้นอุป สงค์และเส้นอุปทานคงเดิมไม่เปลีย่ นแปลง แต่ถ้ามีเหตุการณ์ใดๆ ที่ทาให้สภาพการณ์ขณะนั้นห่างไกล จากดุลยภาพ กลไกราคาจะเกิดข้ึนทาให้กลบั ไปสู่ดุลยภาพเสมอ 5. การเปลีย่ นแปลงดลุ ยภาพของตลาด การเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของตลาดเกิดจากการเปลี่ยนแปลงราคาดุลยภาพและปริมาณดุลย ภาพมีหลายกรณีดังน้ี 5.1 การเปลี่ยนแปลงระดับอุปสงคแ์ ตอ่ ปุ ทานคงที่ แบ่งเปน็ 2 กรณีคือ 5.1.1 การเปลี่ยนแปลงระดับอุปสงค์ท่ีเพิ่มขึ้น เส้นอุปสงค์จะเลื่อนไปทางขวา ในขณะที่เส้นอุปทานคงที่ จะทาให้ราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้น เช่นเส้นอุปสงค์ (D)เท่ากับเส้นอปุ ทาน (S) ที่จดุ E ราคาดุลยภาพ OP และปริมาณดุลยภาพ OQ ถ้าปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่ ราคาสินค้าชนิดน้ันทาให้เส้นอุปสงค์เลื่อนไปทางขวาของเส้นเดิมจาก D เป็น D1 ขณะที่ปริมาณ อุปทานคงที่ จะเกิดสินค้าขาดตลาด หรืออุปสงค์ส่วนเกินเท่ากับระยะ AE หรือปริมาณ QQ2 กลไก ราคาจะปรับให้เข้าสู่ดุลยภาพใหม่ที่ E1 ซึ่งอุปสงค์เท่ากับอุปทาน กรณีนี้ราคาดุลยภาพและปริมาณ ดลุ ยภาพเพิม่ ข้นึ ดังภาพที่ 8 ราคา S P1 E1 P EA D1 D ปริมาณ O Q Q1 Q2 ภาพที่ 8 การเปลี่ยนแปลงดุลยภาพเมื่ออุปสงค์เพิม่ ขน้ึ แตอ่ ปุ ทานคงที่
19 5.1.2 การเปลี่ยนแปลงระดับอุปสงค์ท่ีลดลง เส้นอุปสงค์จะเลื่อนไปทางซ้าย ในขณะที่เส้นอุปทานคงที่ ทาให้ราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพลลดลงด้วย เช่น เดิมดุลยภาพ อยู่ที่จุด E เส้นอุปสงค์เลื่อนไปทางซ้ายจาก D เป็น D1 ปริมาณความต้องการขายคงที่ ปริมาณ ความตอ้ งการซื้อลดลงเหลือ OQ2 แต่ปริมาณความต้องการขายเท่าเดิมคือ OQ เกิดสินค้าล้นตลาด หรืออุปทานส่วนเกินเท่ากับระยะ AE หรือปริมาณ Q2Q กลไกราคาจะปรับให้เข้าสู่ดุลยภาพใหม่ที่ E1 ในกรณีน้รี าคาดลุ ยภาพและปริมาณดุลยภาพจะลดลงดงั ภาพที่ 9 ราคา S P AE P1 E1 D O Q2 Q1 Q D1 ปริมาณ ภาพที่ 9 การเปลี่ยนแปลงดลุ ยภาพเมือ่ อุปสงคล์ ดลงแต่อุปทานคงที่ 5.2 การเปลี่ยนแปลงระดบั อปุ ทานแต่อปุ สงคค์ งท่ี แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ 5.2.1 การเปลี่ยนแปลงระดับอุปทานท่ีเพิ่มขึ้น เส้นอุปทานจะเลื่อนไปทางขวาใน ขณะที่เส้นอุปสงค์คงที่ จะทาให้ปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้นแต่ราคาดุลยภาพลดลง เช่น เดิมดุลยภาพ อยู่ที่ E เมื่อปริมาณความตอ้ งการขายเพิ่มข้นึ เส้นอุปทานจะเลือ่ นไปทางขวาจาก S เป็น S1 โดยที่ ปริมาณความต้องการซื้อคงที่ ปริมาณความต้องการขายเพิ่มขึ้นเป็น OQ2 แต่ปริมาณความต้องการ ซือ้ เท่าเดิมคือ OQ เกิดสินค้าล้นตลาดหรืออุปทานส่วนเกิน เท่ากับระยะ AE หรือปริมาณ QQ2 กลไก ราคาจะปรับให้เข้าสู่ดุลยภาพใหม่ที่ E1 ในกรณีนี้จะทาให้ปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้น แต่ราคาดุลยภาพ ลดลง ดงั ภาพที่ 10
20 ราคา S S1 P EA P1 E1 D ปริมาณ O Q Q1 Q2 ภาพที่ 10 การเปลี่ยนแปลงดลุ ยภาพเมือ่ อุปทานเพิม่ ขน้ึ แตอ่ ปุ สงคค์ งที่ 5.2.2 การเปลี่ยนแปลงระดับอุปทานท่ีลดลง เส้นอุปทานจะเลื่อนไปทางซ้าย ในขณะที่เส้นอุปสงค์คงที่ จะทาให้ปริมาณดุลยภาพลดลง แต่ราคาดุลยภาพเพิ่มขึ้น เช่น เดิมดุลย ภาพอยู่ที่ E เม่ือปริมาณความต้องการขายลดลง เส้นอุปทานจะเลื่อนไปทางซ้ายจาก S เป็น S1 โดยที่ปริมาณความต้องการซื้อคงที่ ปริมาณความต้องการขายลดลงเป็น OQ2 แต่ปริมาณความ ต้องการซื้อคงเดิมที่ OQ1 เกิดสินค้าขาดตลาดหรืออุปสงค์ส่วนเกิน เท่ากับระยะ AE หรือปริมาณ Q2Q กลไกราคาจะปรับให้เข้าสู่ดุลยภาพใหม่ที่ E1 ในกรณีนี้จะทาให้ปริมาณดุลยภาพลดลงแต่ราคาดุลย ภาพเพิม่ ข้นึ ดงั ภาพที่ 11
21 ราคา S1 S P1 E1 P AE D O Q2 Q1 Q ปริมาณ ภาพที่ 11 การเปลีย่ นแปลงดุลยภาพเมือ่ อุปทานลดลงแต่อปุ สงคค์ งที่ 5.3 การเปลี่ยนแปลงทั้งระดับอุปสงค์และระดับอุปทาน ในกรณีนี้ระดับอุปสงค์และระดับ อุปทานเปลี่ยนแปลงทั้งคู่ ดลุ ยภาพของตลาดจะอยู่ ณ จดุ ใหม่ที่เป็นจุดตัดกันของเส้นอุปสงค์เส้นใหม่ และเส้นอุปทานเส้นใหม่ ราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพจะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่ กับความมากน้อยของการเปลี่ยนแปลงระดับอุปสงค์และระดับอุปทาน กล่าวคือ ถ้าการเลื่อนของ ระดับอุปสงค์มากกว่าการเลื่อนของระดับอุปทาน ราคาดุลยภาพและปริมาณดุลยภาพจะเป็นไปตาม แรงผลักของระดับอุปสงค์ แต่ถ้าการเลื่อนระดับอุปทานมากกว่าการเลื่อนของระดับอุปสงค์ ราคา และปริมาณดุลยภาพจะเปน็ ไปตามแรงผลกั ของระดับอุปทาน เช่น การเลื่อนของระดับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น มากกว่าการเลื่อนของระดับอุปทานที่เพิ่มขึ้น หรือการเลื่อนของอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการเลื่อนของ ระดับอปุ ทานที่ลดลง เป็นต้น ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปอย่างไร ขอให้ลองเขียนเส้นกราฟ แสดงการเปลีย่ นแปลงดุลยภาพในแตล่ ะกรณีที่มกี ารเปลีย่ นแปลง 6. การประยุกต์ใชเ้ กี่ยวกบั อุปสงคแ์ ละอุปทาน : กรณกี ารควบคุมราคา ลกั ษณะที่สาคัญประการหนึง่ ทีพ่ บได้ในเศรษฐกิจหรอื ระบบตลาดคอื การทีร่ าคาสินค้ากาหนด โดยกลไกตลาด ซึง่ ราคาในโครงสรา้ งตลาดแบบเสรี (free market) นีจ้ ะกาหนดโดยการแขง่ ขันในตลาด แตอ่ ย่างไรก็ตาม ไม่ใชว่ ่าราคาของสินค้าทั้งหมดผ่านการกาหนดโดยกลไกตลาด ในบางกรณี ราคาของ สินค้าและบริการกอ็ าจถูกกาหนดโดยรฐั บาลโดยไม่สนใจแรงผลักดันของตลาดแตอ่ ย่างใด ราคาทีไ่ ม่ได้ เปน็ ไปตามกลไกตลาดจงึ อาจออกมาในรปู แบบของราคาขั้นต่า (floor price) ซึง่ ไม่อนุญาตให้ผขู้ ายราย ใดขายตา่ กว่าราคาทีไ่ ด้ตง้ั ไว้โดยรัฐบาล โดยทว่ั ไปแล้ว เมื่อรฐั เลือกทีจ่ ะแทรกแซงราคาไม่ว่าโดยวิธีใดก็
22 ตาม ก็จะเพื่อสร้างหรอื รักษาผลประโยชน์ใหแ้ ก่กลุ่มใดกลุ่มหนึง่ ในเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก (ชวินทร์ ลนี ะบรรจง 2554 : 50) 6.1 ราคาข้ันต่า (floor price) ราคาขนั้ ต่า หรอื การกาหนดราคาที่ตา่ ที่สดุ ที่สามารถขายได้ของสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง เป็นการ เพิม่ ราคาขายใหก้ ับผทู้ ี่ขายสินค้าน้ันๆ ถ้ามีกลุ่มผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าใดๆ ที่มีระดับรายได้ต่าอย่างเห็น ได้ชัดเม่ือเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ กลุ่มผู้ขายเหล่าน้ันอาจจะรวมตัวกันเพื่อกดดัน หรือ เรียกร้องให้รัฐบาล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กระทรวงพาณิชย์ ทาการประกาศจัดตั้งราคาข้ันต่า ขึ้นมาได้ หรือถ้ากลุ่มผู้ค้าน้ันมีความเข้มแข็งทางการเมืองสูงนอกจากสามารถกดดันและกระจาย แนวคิดเรื่องราคาแล้ว กอ็ าจจะผลักดันให้การตง้ั ราคานน้ั ประสบความสาเร็จสูงได้อีกด้วย การตั้งราคาขั้นต่าบางครั้งอาจไม่ได้มาจากการตั้งโดยรัฐบาลโดยการออกกฎหรือข้อบังคับ ต่างๆ ในบางประเทศ ราคาข้ันต่าอาจเกิดจากผู้ประกอบการหรือผู้ขายสินค้าหรือบริการในธุรกิจ เดียวกันมารวมตวั กนั เพื่อต้ังราคาขนั้ ต่าในตลาด และยึดถือราคานี้ด้วยกัน เม่ือได้ต้ังราคาร่วมกันแล้วก็ เสมือนราคานั้นได้ตั้งผ่านทางระบบกฎหมาย สมาพันธ์แรงงานหรือกลุ่มแรงงาน ก็อาจจะจัดตั้งค่าแรง หรอื ค่าจา้ งขนั้ ตา่ เสมือนกาหนดผา่ นทางขอ้ กาหนดของรฐั ได้เหมอื นกนั (แต่ขนั้ ตอนการต่อรองแบบกลุ่ม ได้รบั การรบั รองผ่านทางรฐั บาล) การกาหนดราคาขั้นต่าหรือการประกันราคาขั้นต่า เป็นวิธีการที่รัฐบาลใช้เพื่อช่วยเหลือ เกษตรกรหรือผู้ผลิตรายเล็กๆ โดยการกาหนดราคาสินค้าขั้นต่าของผู้ขายไว้ในระดับที่สูงกว่าราคา ตลาดหรือราคาดุลยภาพ สินค้าที่รัฐบาลเข้ามากาหนดราคาขั้นต่าน้ันส่วนใหญ่จะเป็นสินค้า เกษตรกรรมทีอ่ ยู่ในขั้นปฐม เชน่ ขา้ วเปลือก ออ้ ย เปน็ ต้น จากการเข้ามากาหนดราคาข้ันต่าของรัฐบาล นั้น จะทาให้ความต้องการขายมีมากขึ้น เนื่องจากได้กาไรมากขึ้นในขณะที่ความต้องการซื้อลดลง เพราะผู้บริโภคจะต้องซื้อสินค้าที่แพงขึ้นกว่าเดิม จึงอาจทาให้เกิดปัญหาสินค้าล้นตลาดได้ (ปิยะศิริ เรืองศรมี ่ัน 2551: 102-103)
23 ราคา (P) S1 S0 P1 A B Pe D1 D0 ปริมาณ (Q) O Qd Qe Qs ภาพที่ 12 การกาหนดราคาขั้นตา่ จากภาพที่ 12 ราคาดุลยภาพเท่ากับ OPe ราคาดังกล่าว ทาให้เกษตรกรขาดทุน ดังน้ัน รัฐบาล จึงกาหนดราคาข้ันต่าที่ระดับราคา OP1 ซึ่งสูงกว่าราคาตลาดหรือราคาดุลยภาพ ณ ระดับราคา OP1 ผู้ขายมีความต้องการขายที่ปริมาณ OQs ขณะที่ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้าลดลงเหลือจานวน OQd จงึ ทาให้เกิดอปุ ทานส่วนเกิน เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด รัฐบาลจึงต้องดาเนินการเพื่อแก้ปัญหา คือ 1) พยายามลดอุปทาน ทาให้เส้นอุปทานเลื่อนไปทางซ้ายมือ จาก S0 ไปเป็น S1 โดยอาจใช้วิธีรับซื้อ อุปทานส่วนเกินในราคาประกัน OP1 จะต้องใช้งบประมาณในการซื้อทั้งหมดเท่ากับพื้นที่ QdABQs ซึ่ง รัฐบาลจะต้องมีเงินงบประมาณเพียงพอที่จะรับซื้อผลิตผลที่เป็นอุปทานส่วนเกินได้ทันที พร้อมกับ จัดเตรียมยุ้งฉางและไซโลตามจุดสาคัญต่างๆ หรือรัฐบาลอาจใช้วิธีจ่ายเงินชดเชยหรือจ่ายเงินอุดหนุน สาหรับส่วนที่ทาให้ผู้ผลิตลดการลิตลง โดยจ่ายเงินชดเชยหรือจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้ผลิตเท่ากับส่วน ต่างของราคาประกันกับราคาดุลยภาพหรือราคาตลาด คือ เท่ากับ P1Pe บาทต่อหน่วย ทาให้สินค้า ลดลงเหลือจานวน OQd 2) พยายามเพื่ออุปสงค์ ทาให้เส้นอุปสงค์เลื่อนไปทางขวามือ จาก D0 ไปเป็น D1 รัฐบาลอาจทาได้โดยต้ังคลังสินค้าเพื่อรับซื้อสินค้าที่ล้นตลาดเข้ามาเก็บไว้หรือหาตลาดใหม่โดย ส่งออกไปขายต่างประเทศ ซึ่งสามารถทาให้อุปสงค์เพิ่มขึ้นไปเป็น OQs ได้ ผู้ผลิตก็จะขายสินค้าได้ตาม ราคาข้ันต่าที่กาหนดขึ้น อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ของตลาดที่เพิ่มขึ้นน้ันเป็นอุปสงค์ที่เรียกว่า “อุปสงค์ เทียม” เพราะการรบั ซือ้ สินค้าดังกล่าวไม่ได้เกิดจากอุปสงค์ตอ่ เนือ่ งจากตลาด สาหรับตัวอย่างในทางปฏิบัติของประเทศไทย ในกรณีของการกาหนดราคาขั้นต่าหรือการ ประกันราคาขน้ั ต่าเป็นมาตรการการพยุงราคาข้าวเปลือก เป็นมาตรการที่รัฐบาลจะติดตามภาวการณ์
24 ซื้อขายข้าวเปลือกในระดับท้องถิ่นหรือระดับไร่นาในช่วงเก็บเกี่ยว หากพบว่าในท้องถิ่นใด พ่อค้าไม่ได้ เข้าไปรับซื้อหรือเข้าไปรับซื้อในราคาต่า ทางหน่วยงานรับซื้อของรัฐบาลก็จะเข้าไปรับซื้อแทน เพื่อดึง ราคาในท้องถิน่ นั้นใหส้ ูงข้ึน มาตรการการพยงุ ราคาขา้ วเปลือกนไี้ ม่สามารถทาได้ทั่วถึง รัฐบาลสามารถ รับซื้อผลิตผลได้เฉพาะในบางพื้นที่ เพราะพื้นที่ทานามีอยู่กว้างขวาง และหน่วยงานของรัฐเองก็ไม่ได้มี ยุ้งฉางสาหรับเก็บผลิตผลมากนัก เม่ือรับซื้อมาแล้ว ก็ต้องจาหน่ายต่อหรือมิฉะน้ันก็จะจ้างโรงสีสีเป็น ข้าวสารเพื่อจาหนา่ ยต่อไปในช่วงเวลาที่ราคาผลิตผลไม่ตกตา่ มากนัก 6.2 เพดานราคา (ceiling price) เพดานราคา หรือราคาสูงสุดหรือราคาขั้นสูง ได้นามาใช้สาหรับวัตถุประสงค์เบื้องต้น 2 ประการ คือ 1) ใช้กับสินค้าในตลาดท้ังหมดเพื่อรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อ และ 2) ใช้กับสินค้าชนิดใด ชนิดหนึ่งเพื่อให้ผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยสามารถซื้อสินค้ามาบริโภคได้ (รวมวัตถุประสงค์ต้นเงินเฟ้ออยู่ ด้วยเช่นกนั ) การกาหนดราคาข้ันสูง (ปิยะศิริ เรืองศรีมั่น 2551 : 101-102) เป็นวิธีการที่รัฐบาลใช้ควบคุม ราคาสินค้าของผู้ผลิตหรือผู้ขายโดยการกาหนดราคาสินค้าไว้ในระดับที่ต่ากว่าราคาตลาดหรือรา คา ดุลยภาพของสินค้า ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนจากการซื้อ สินค้าที่มีราคาตลาดสูงเกินไป ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ที่รัฐบาลเข้ามากาหนดราคาข้ันสูงนั้นจะเป็นสินค้า อุปโภคบริโภคที่จาเป็นต่อการดารงชีวิต เช่น น้ามันรถยนต์ ข้าวสาร แก๊สหุงต้ม เป็นต้น หรือเป็นสินค้า ประเภทสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า นา้ ประปา รถเมล์ เปน็ ต้น จากการเข้ามาควบคุมราคาของรัฐบาลจะ ทาให้ปริมาณความต้องการขายลดลง เพราะผู้ผลิตมีกาไรลดลง ในขณะที่ปริมาณความต้องการซื้อ เพิ่มขนึ้ เพราะผู้บริโภคซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง และถ้ารัฐบาลมีการกาหนดราคาข้ันสูงต่าจนเกินไป ทาให้ผู้ผลิตเดือดรอ้ นจนตอ้ งเลิกผลติ หรอื ผลติ น้อยลง จะส่งผลทาใหเ้ กิดปัญหาสินค้าขาดตลาดได้
ราคา (P) 25 P1 S0 Pe E S1 BA D0 D1 ปริมาณ (Q) O Qs Qe Qd ภาพที่ 13 การกาหนดราคาขั้นสงู จากภาพที่ 13 เดิมราคาดุลยภาพอยู่ที่ OPe ปริมาณดุลยภาพอยู่ที่ OQe ดุลยภาพเกิดขึ้นที่จุด E ราคาและปริมาณดังกล่าวเปน็ ราคาที่สูงเกินไป ทาให้ผู้บริโภคไม่สามารถซือ้ มาบริโภคได้ ถ้ารัฐบาลไม่มี มาตรการกาหนดราคาขนั้ สูง ผบู้ ริโภคจะได้รับความเดือดรอ้ น และเมอ่ื รัฐบาลใช้มาตรการกาหนดราคา ข้ันสูง คือ กาหนดราคาที่ OP1 ซึ่งอยู่ต่ากว่าราคาดุลยภาพ ณ ระดับราคา OP1 ผู้บริโภคต้องการสินค้า จานวน OQd ขณะที่ผู้ผลิตจะนาสินค้าออกมาขายเพียง OQs ทาให้เกิดสินค้าขาดตลาด จานวน QsQd กรณีดังกล่าวผู้ผลิตอาจนาสินค้าไปขายในตลาดมืดที่ราคาสูงกว่า OP1 ถ้ารัฐบาลไม่ต้องการให้เกิด ตลาดมืดขึ้น อาจทาได้โดย 1) รัฐบาลพยายามเพิ่มอุปทาน ทาให้เส้นอุปทานเลื่อนไปทางขวามือ ซึ่ง รัฐบาลอาจดาเนินการโดยสั่งสินค้าจากภายนอกเข้ามาเพิ่มขึ้น ทาให้สินค้ามีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เส้น อุปทานจึงเลื่อนจาก S0 เป็น S1 โดยตัดกับเส้น D0 เดิม ที่จุด A ณ ระดับการผลิต OQd ก็จะทาให้ ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าได้ตามที่ต้องการในราคาที่ควบคุม 2) รัฐบาลอาจใช้วิธีการจากัดปริมาณ การบริโภคหรือลดอุปสงค์ เพื่อให้เส้นอุปสงค์เลื่อนไปทางซ้ายมือจาก D0 ไปเป็น D1 เส้น D1 จะตัดกับ เส้น S0 ทีจ่ ุด B ผบู้ ริโภคก็จะซอื้ สินค้าได้ในราคาควบคุมเชน่ กัน
26 บรรณานุกรม ธนาคารแหง่ ประเทศไทย. (2555). เศรษฐศาสตร์เล่มเดียวอยู่. กรงุ เทพฯ : บริษัท พลัสเพรส จากัด. บณั ฑติ ผังนริ นั ดร์. (2555). หน่วยที่ 2 อปุ สงค์ อุปทานและดลุ ยภาพของตลาด เอกสารการสอนชุดวิชา หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น หน่วยที่ 1-8 (ฉบับปรบั ปรงุ ครง้ั ที่ 2). นนทบรุ ี : สานักพิมพ์ มหาวิทยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช ชวินทร์ ลีนะบรรจง. (2554). เศรษฐศาสตร์ตดิ ดิน. กรงุ เทพฯ : สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปิยะศิริ เรืองศรีมั่น. (2551). หน่วยที่ 2 อุปสงค์ อุปทาน และดุลยภาพของตลาด เอกสารการสอนชุด วิชา เศรษฐศาสตร์เพื่อการบริหารรัฐกิจ หน่วยที่ 1-7. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : สานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2551). หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค. พิมพ์ครั้งที่ 19 กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. Michael Parkin. (2012). Economics. 10th ed. Pearson Education Limited.
Search
Read the Text Version
- 1 - 28
Pages: