Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Storyboard Brainstorm Presentation

Storyboard Brainstorm Presentation

Published by เกตุมณี แก้วลอย, 2021-12-19 03:23:04

Description: Storyboard Brainstorm Presentation

Search

Read the Text Version

ทฤษฎีการเชื่อมโยง (Connectionism Theory)

สมาชิก นางสาวลลิตวดี เทียมทัน รหัสนักศึกษา 6180107112 นางสาวสุพัตรา ขอเสริมกลาง รหัสนักศึกษา 6180107114 นางสาวเกตุมณี แก้วลอย รหัสนักศึกษา 6180107124 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 หมู่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

เอ็ดเวิร์ด ธอร์นไดค์ Edward Thorndike เกิด -สนใจเกี่ยวกับการศึกษา โดย วันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1814 เฉพาะการเรียนรู้ การถ่ายโอน เมืองวิลเลี่ยมเบอรี่ รัฐแมซซาชูเสท ความแตกต่างระหว่างบุคคล เสียชีวิต และสติปั ญญา วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1949 ที่เมืองมอนท์โร รัฐนิวยอร์ค -การก่อตั้งรางวัลธอร์นไดค์ (Thorndike Award) บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา ของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Phychology Association : APA)

ประเด็นสำคัญทฤษฏีการเชื่ อมโยงของธอร์นไดค์ 1 หลักการเรียนรู้เบื้องต้น 2 การลองผิดลองถูก (Trial and Error) 3 กฎการเรียนรู้ 4 การย้ายการเชื่อมโยง (Associative Shifting) 5 การถ่ายโอนการเรียนรู้ (Transfer) 6 การปรับปรุงทฤษฎีของธอร์นไดค์ (Revisions to Thorndike’s Theory) 7 การนำทฤษฎีของธอร์นไดค์ไปใช้ (Instructional Applications) 8 ตัวอย่างการนำทฤษฎีของธอร์นไดค์ไปใช้

หลักการเรียนรู้เบื้องต้น ทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connection) ระหว่าง สิ่งเร้า (Stimulus : S) กับ การตอบสนอง (Responses : R) ธอร์นไดค์เชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ด้วยการที่มนุษย์หรือสัตว์ได้เลือกเอา ปฏิกิริยาตอบสนองเชื่อมต่อ (Connect) เข้ากับสิ่งเร้าอย่างเหมาะสมหรือการสร้าง สิ่งเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองนั่นเอง จึงเรียกทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีการเชื่อมโยง (Connectionism Theory)

การลองผิดลองถูก (Trial and Error) การลองผิดลองถูก ก็คือ การเลือกและเชื่อมโยง ทฤษฎีการเชื่อมโยง กล่าวถึง การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับ การตอบสนองนั้น ซึ่งมักจะแสดงพฤติกรรมออกมาในรูปแบบต่าง ๆ หลายรูปแบบ แล้วเลือกวิธีการที่บรรลุเป้ าหมายหรือที่ดีที่สุด ดังการทดลองต่อไปนี้

จับแมวที่กำลังหิวขังไว้ใน แมวสามารถออกมากินอาหารได้ กรงและนำจานอาหารวาง ไว้นอกกรง แมวเดินไปเดินมาในกรง พยายาม หาทางออกและแสดงพฤติกรรม ต่าง ๆ เพื่อออกไปกินอาหาร ขณะ นั้นแมวตะปปโดนโซ่โดยบังเอิญ ทำให้ประตูกรงเปิ ดออก

โมเดลการแสดงพฤติกรรมของแมว

จากการทดลองดังกล่าว Company name แมวพยายามเปิดประตูด้วยวิธีการลองผิดลองถูกหลาย ๆ ครั้ง จนสามารถ พบวิธีการที่ดีและเหมาะสมที่สุด ส่วนพฤติกรรมที่ไม่ช่วยให้บรรลุเป้ าหมายก็จะ ค่อย ๆ ถูกตัดออกไป แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ของแมวที่เกิดจากการ ลองผิดลองถูกนั่นเอง

กฎการเรียนรู้ กฎของความพร้อม (Law of Readiness) การได้แสดงพฤติกรรมออกมาถือเป็ นผลกรรมในทางบวก ไม่ได้แสดงพฤติกรรมบุคคลก็จะรับรู้ว่าผลกรรมนั้นเป็ นเช่นการลงโทษ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ถ้ามีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีการเตรียม พร้อมและมีความพร้อมที่จะแสดงพฤติกรรม

กฎการเรียนรู้ กฎการฝึ กหัด (Law of Exercise) แบ่งออกเป็น 2 ส่วน กฎการใช้ การตอบสนองต่อสิ่งเร้าจะทำให้การเชื่อมโยงเข้มแข็งขึ้น กล่าวคือ เมื่อได้ทำและทำบ่อย ๆ จะทำได้ กฎการไม่ใช้ เมื่อไม่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าความแข็งแรงของการเชื่อม โยงก็จะอ่อนแอและถูกลืมในที่สุด กล่าวคือ เมื่อไม่ได้กระทำอย่างต่อเนื่องมีการขาดตอนหรือไม่ได้ทำ บ่อย ๆ จะถูกลืมในที่สุด

กฎการเรียนรู้ กฎของผลที่ได้รับ (Law of Effect) เป็ นกฎที่สำคัญและได้รับความสนใจมากที่สุด ตัวเชื่ อมจะเข้มแข็งหรืออ่อนกำลังลงขึ้ นอยู่กับผลต่อเนื่ องหลังจากที่ได้ตอบ สนองไปแล้ว ได้รางวัล = เข้มแข็ง ถูกลงโทษ = อ่อนกำลัง

การย้ายการเชื่ อมโยง (Associative Shifting) สถานการณ์ที่การตอบสนองต่อสิ่งเร้าบางอย่าง ในท้ายที่สุดสามารถใช้ตอบ สนองต่อสิ่งเร้าอื่น ๆ ได้อย่างกว้างขวางออกไป เมื่อพยายามแสดงพฤติกรรมนั้น หลาย ๆ ครั้ง และมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้ อยของคุณลักษณะของสิ่งเร้า โดย อาจเป็นการเพิ่มองค์ประกอบบางอย่างเข้าไป หรือนำองค์ประกอบบางอย่างออกมา วิธีการนี้เอื้อให้เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้

การถ่ายโอนการเรียนรู้ (Transfer) การแผ่ขยายการเรียนรู้ซึ่งเกิดจากการที่ความเข้มแข็งหรือความอ่อนแอที่เกิด ขึ้นกับการเชื่อมโยงในสถานการณ์หนึ่ง ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่คล้ายคลึงกัน ในการเชื่อมโยงอื่น ซึ่งเป็นการนำความรู้ที่ได้สร้างขึ้นมาไปใช้สถานการณ์ใหม่ การถ่ายโอนนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์ มีองค์ประกอบที่เหมือนกัน และ ต้องการการตอบสนองที่คล้ายคลึงกัน

การปรับปรุงทฤษฎีของธอร์นไดค์ (Revisions to Thorndike’s Theory) ธอร์นไดค์ได้ยกเลิกกฎของการฝึกหัดและกฎของผลที่ได้รับ ดังนี้ กฎของการฝึ กหัด การกระทำซ้ำ ๆ ในสถานการณ์หนึ่ง ไม่ได้ทำให้ เกิดการเรียนรู้ บางครั้งการไม่ได้ทำบ่อย ๆ เรายังคงจำสิ่งนั้นได้อย่าง แม่นยำโดยไม่ลืมเลือนไปแม้แต่น้ อย กฎของผลที่ได้รับ การลงโทษไม่ได้ทำให้การเชื่อมโยงอ่อนแอลง เสมอไปเป็นแค่เพียงการยับยั้งการตอบสนอง ไม่ได้ถูกลืม

การนำทฤษฎีของธอร์นไดค์ไปใช้ (Instructional Applications) 1. สร้างนิสัยให้แก่นักเรียน ไม่ควรคาดหวังให้นักเรียนสร้างนิสัยขึ้นมาเอง 2. ควรระวังการสร้างนิสัยที่อาจจะถูกเปลี่ยนแปลงในภายหลัง 3. ไม่ต้องสร้างนิสัยที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เมื่อรู้ว่านิสัยเพียงหนึ่งอย่างก็เพียง พอแล้ว 4. สร้างนิสัยในลักษณะหรือทิศทางที่สอดคล้องกับการนำไปใช้ ซึ่งหมายถึง การนำไปใช้ การประยุกต์ใช้ความรู้หรือทักษะ ควรถูกสอนควบคู่ไปกับ การสอนเนื้ อหา

ตัวอย่างการนำทฤษฎีของธอร์นไดค์ไปใช้ ตัวอย่างสถานการณ์ : ครูให้นักเรียนเลือกและไปฝึกการอ่านทำนองเสนาะที่ได้เรียนมา แล้ว โดยกำหนดคะแนนเต็ม 15 คะแนน ดังนี้ -ครูให้นักเรียนแต่ละคนเลือกและไปฝึกซ้อมทำนองเสนาะที่ตนเองถนัด คนละ 1 ทำนอง (การลองผิดลองถูก และการฝึกหัด) -ให้นักเรียนแต่ละคนเลือกวันที่พร้อมกับคุณครู แต่ต้องไม่เกินสองอาทิตย์หลังจาก สั่งงานไปแล้ว (กฎของความพร้อม) -เมื่ิอนักเรียนสอบเสร็จ ให้ครูเป็นผู้แนะนำ และแก้ไขข้อบกพร่อง แล้วแจ้งคะแนน ให้นักเรียนทราบทันที (กฎของผลที่ได้รับ)

อ้างอิง สาขาจิตวิทยาการศึกษาและแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา. (2561). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา จิตวิทยาการศึกษา (105302) บ้านจอมยุทธ. (2021). ประวัติธอร์นไดค์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.baanjomyut.com/library_3/behaviorism/04.html? fbclid=IwAR2beJMPOSKPMoqLQ9MPeQ_-HDR- nCANEauGUP69HqAvdsJVu5RwZKIUnic [สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2564]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.(2021).ทฤษฎีการเรียนรู้สัมพันธ์เชื่อมโยง. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: pws.npru.ac.th. [สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2564]

จบการนำเสนอ