Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เล่มแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ-ฉบับที่-12-พ.ศ.-2560-2564-1-1

เล่มแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ-ฉบับที่-12-พ.ศ.-2560-2564-1-1

Description: เล่มแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ-ฉบับที่-12-พ.ศ.-2560-2564-1-1

Search

Read the Text Version

- ๔๐ - กาลังคนด้านอาชีวศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของการพัฒนาประเทศ ได้ดาเนินโครงการอาชีวศึกษา มาตรฐานสากล โดยศึกษาจุดเด่นของประเทศต่างๆ มาปรับใช้เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนใน สถานศึกษาอาชีวศึกษา จัดการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการในสถาบัน การอาชีวศึกษา จานวน ๙ สถาบัน ๑๖ สาขาวิชา รวม ๔๓ หลักสูตร ผลักดันการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โดยจัดทาคู่มือสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับสถานประกอบการท่ีร่วมจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี จัดทา ความร่วมมือจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ผลิตกาลังคนรองรับภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาค บริการของประเทศ โดยสถาบันการอาชีวศึกษา ๑๘ แห่ง จับคู่กับหอการค้ากลุ่มจังหวัด ๑๘ จังหวัด รวมท้ัง สร้างหลักสูตรใหม่รองรับความต้องการของประเทศพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน พัฒนาการจัดอาชีวศึกษา เพือ่ รองรับการพฒั นาเขตเศรษฐกจิ พิเศษ โดยเฉพาะบริเวณพน้ื ทเี่ ขตชายแดนของประเทศ ๕) การจัดต้ังศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ ในสถาบันอุดมศึกษา (University Business Incubator : UBI) จานวน ๗๒ แห่ง สามารถสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ จานวน ๑๒๐ คน และเตรียมพัฒนา เปน็ บรษิ ัทธุรกิจเต็มรูปในอนาคต จานวน ๖๙ คน ดาเนนิ โครงการพัฒนาและสร้างผู้ประกอบการโดยใชค้ วามรู้ ในสถาบันอุดมศึกษาเป็นฐาน จัดทาหลักสูตรการอบรมทักษะการประกอบอาชีพระยะส้ันเบ้ืองต้นเชิง สร้างสรรคใ์ หก้ ับนกั ศึกษาและประชาชน จานวน ๒,๔๘๐ คน ๖) การพัฒนาและสง่ เสรมิ การใช้ประโยชนจ์ ากวทิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและ พัฒนา และนวัตกรรม โดยส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและการพัฒนามหาวทิ ยาลัยวิจัยแห่งชาติ พัฒนาและ ขยายผลอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สาหรับเยาวชน โดยคัดเลือกนักเรียนเข้าโครงการ อัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จานวน ๔,๔๓๐ คน ร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนากับ หน่วยงานต่างๆ พัฒนางานวิจัยดาเนินงานในรูปแบบ “ภาคีสถาบันอุดมศึกษา” มีสถาบันอุดมศึกษา/วิจัย เข้า ร่วมดาเนินการกับศูนย์ความเป็นเลิศ ๑๑ ศูนย์ จานวน ๒๓ สถาบัน และจัดค่ายวิทยาศาสตร์เยาวชนภูมิภาค เอเชีย (Asian Science Camp 2015) มีนักเรียนนักศึกษา ครูอาจารย์ เข้าร่วมกว่า ๗๐๐ คน จาก ๓๐ ประเทศ ในภูมภิ าคแถบเอเชียแปซิฟกิ ๒.๒ ด้านโอกาสทางการศกึ ษา ๑) การเสริมสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้แก่ผู้ยากจนหรือ ด้อยโอกาส โดยได้ดาเนินงานที่สาคัญ ได้แก่ โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาต้ังแต่ระดับ อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอขอทบทวนอัตราเงินอุดหนุนรายหัวที่เหมาะสม สาหรับนักเรียนระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนทุนการศึกษาต่างๆ เช่น กองทุน เงินกู้ยืมเพ่ือการศึกษา ซึ่งปัจจุบันมีผู้กู้ยืมจานวน ๗๓๙,๐๗๒ ราย และกองทุนเงินกู้ยืมเพ่ือการศึกษาที่ผูกกับ รายได้ในอนาคต (กรอ.) มีผู้กู้ยืมจานวน ๖๗,๐๖๒ ราย ขยายโครงการทุนการศึกษาเฉลิมราชกุมารีระยะที่ ๒ จานวน ๖,๐๐๐ ทุน ท่ีสาคัญได้ขยายผลโครงการพัฒนาคุณภาพการศกึ ษาทางไกลผ่านดาวเทียม เพ่ือแกป้ ัญหา ในโรงเรียนขนาดเล็ก จานวน ๑๕,๓๖๙ โรง และดาเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่าน เทคโนโลยีสารสนเทศ เป้าหมายโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ จานวน ๑๕,๕๕๓ แห่ง เป็นตน้ ๒) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้สูงอายุ สตรี และเด็ก โดยดาเนินการต่างๆ เช่น จัดการศึกษาสายอาชีพเพ่ือการมีงานทาของผู้ท่ีมีความต้องการพิเศษทางการเรียนรู้ (ออทิสติก สมาธิสั้น แอลดี) จัดฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ วิทยาลัยชุมชนจัดการศึกษาและ ให้บริการฝึกอบรมหลักสูตรเก่ียวกับการดูแลผู้สูงอายุ จัดโครงการ ETV เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา นาเทคโนโลยีสารสนเทศและเคร่ืองมือท่ีเหมาะสมมาพฒั นาสอ่ื ชว่ ยสอนสาหรบั ครู และเพ่ือใช้ในการเรียนรู้ด้วย ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๔๑ - ตนเองโดยได้ผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาใน ๓ วิชาท่ีสาคัญ คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ รวม ๕๔ รายการ ขยายช่องทางเลือกในการเรียนรู้ผ่านส่ือรายการทางช่อง ETV ทั่วประเทศ มผี เู้ ขา้ ชม รวม ๑๗๒,๑๗๕ คน พรอ้ มทงั้ จัดทาส่อื DVD ประกอบการรบั ชมรายการ จานวน ๕๔๐,๐๐๐ แผน่ ๓) การจัดระบบฝึกอาชีพเชิงพ้ืนที่เพื่อเพิ่มโอกาสคนพื้นที่ให้เข้าสู่อาชีพพื้นที่ โดยดาเนินการต่างๆ เช่น จัดกระบวนการเรียนการสอนใน กศน.ตาบล ภายใต้โครงการหนึ่งคนหนึ่งอาชีพ จานวน ๗,๔๒๔ แห่ง ในพ้นื ท่ี ๕ ภมู ิภาค จัดโครงการอดุ มศึกษาสร้างความรู้ สร้างอาชีพ สร้างความสุข เพ่ือฝึก อาชีพระยะสั้นในพ้ืนท่ีให้บรกิ ารของวิทยาลัยชุมชน ๒๐ แห่ง จานวน ๗๕ กิจกรรม มีผู้สนใจบริการ ๒,๘๙๒ คน จัดศูนย์ฝึกอบรมอาชีพในสถานศกึ ษาอาชีวศึกษา ๒๘๘ แห่ง โดยมีกลมุ่ เปา้ หมาย จานวน ๑๐,๗๒๕ คน ๔) การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยจัดบริการการศึกษาต่อเนื่องให้กับประชาชน จานวน ๓๖๓,๑๒๘ คน ดาเนินโครงการจัดการความรู้เพ่ือเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน โดยมี กศน.ตาบล ที่ต้ังอยู่ในวัดจานวน ๒,๐๙๓ แห่ง จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสาหรับผู้สูงอายุรวม ท้งั สิ้น จานวน ๓๒๑,๒๖๒ คน ๕) การดาเนินงานโครงการ ๑ อาเภอ ๑ ทุน โดยสนับสนุนทุนการศึกษาต่อในระดับ ปริญญาตรีท้ังในประเทศและต่างประเทศ ปัจจุบันมีผู้รับทุนจานวนทั้งส้ิน ๔,๓๕๐ คน ซึ่งจากการศึกษาวิจัย เพือ่ ติดตามประเมินผลความสาเรจ็ โครงการฯ พบว่าเป็นโครงการท่ีช่วยลดความเหลอื่ มลา้ ของผู้ด้อยโอกาสและ ผทู้ ่มี ฐี านะยากจนใหเ้ ขา้ ถงึ การศกึ ษาท่ีมีคณุ ภาพ ๒.๓ ด้านการบริหารจัดการการศกึ ษา ๑) การแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยปรับโครงสร้าง และระบบการบริหารการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยจัดต้ังศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ หรือ “กระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า” ณ สานักงานศึกษาธิการภาค จังหวัดยะลา เสริมสร้าง ขวัญกาลังใจและช่วยเหลือเยียวยา โดยมอบทุนการศึกษารายปี ปัจจุบันมีทายาทผู้ได้รับผลกระทบที่ขอรับทุน จานวน ๙,๘๒๑ คน จัดตั้งศูนย์ครูใต้ที่จังหวัดยะลาและนราธิวาส เพื่อความปลอดภัยและเป็นการส่งเสริม สวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ติดต้ังกล้อง CCTV ในสถานศึกษาท่ีอยู่ในจังหวัด ชายแดนใต้ ท้ังในโรงเรยี นประถมศึกษาและหนว่ ยงานทางการศกึ ษา จานวน ๑,๐๙๒ แห่ง ดาเนินการปรบั ปรุง ซ่อมแซมรั้วโรงเรียนและซ่อมแซมบ้านพักครู รวม ๓๓๐ หลัง รวมท้ังยกระดับความสามารถและอัจฉริยภาพ ทางด้านกีฬาจัดโครงการ “สานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้” เพ่ือสร้างแรงจูงใจให้เกิดความสามัคคี ซึ่งในระยะยาวจะดาเนินการต่อยอดการรับนักเรียนท่ีจบ การศกึ ษามาเข้าศกึ ษาต่อระดบั อุดมศึกษา และมอบทุนการศกึ ษาทั้งในมหาวิทยาลยั ของรฐั และเอกชน ๒) การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยจัดให้มีโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน เพ่ือต้องการส่งเสริมการกระจายอานาจการบริหารและการจัดการศึกษารองรับนโยบายการปฏิรูปการศึกษา เป็นเวลา ๓ ปีต่อเน่ือง (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๐) ในโรงเรียนนาร่องจานวน ๓๐๐ แห่ง และส่งเสริมภาคเอกชน มสี ่วนร่วมในการจัดการศึกษาทง้ั ในระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานและระดับอาชวี ศึกษา รวมทง้ั ขยายความร่วมมือ ด้านการศึกษา โดยจัดทายุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพ่ือใช้เป็นกรอบแนวทาง ในการดาเนินความร่วมมือกับประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ของมหาวิทยาลัยและ สถาบันอดุ มศกึ ษา ๓) การป้องกันการทุจริตคอรัปช่ัน โดยได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เร่ือง มาตรการควบคุมการจัดทาโครงการท่ีมีวงเงินสูง การเสริมสรา้ งคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศกึ ษาของกระทรวงศกึ ษาธิการ ฉบับท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๔๒ - สถาบันการศึกษา และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เช่น โครงการข้าราชการไทยไร้ทุจริต โครงการ ส่งเสริมค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ โครงการมหาวิทยาลัยโปร่งใส บัณฑิตไทยไม่โกง และโครงการ โรงเรยี นสจุ ริต เป็นตน้ ๔) การจัดตั้งสานักงานศึกษาธิการภาค ๑๘ ภาค และสานักงานศึกษาธิการจังหวัด ท่ัวประเทศ เพื่อเป็นกลไกในการบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในส่วนภูมิภาคให้เกิดประสิทธิภาพ และเป็นเอกภาพ รองรับกับกฎหมายคาส่ังหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ ท่ี ๑๑/๒๕๕๙ และ ๑๑/๒๕๕๙ โดยสามารถประสานเชื่อมโยงและบูรณาการภารกิจในเรื่องการศึกษาของประเทศท่ีเน้นการมีส่วนร่วมของ ทุกภาคส่วนสอดคล้องกับแนวทางการบริหารงานโดยประชารัฐ รวมท้ังออกประกาศและคาสั่งกระทรวงฉบับ ต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกบั การบรหิ ารงานดา้ นบคุ ลากรตามการจดั ตง้ั สานักงานฯ เปน็ ไปด้วยความเรยี บร้อย ๓. แนวโน้มการดาเนินงานของกระทรวงศกึ ษาธกิ ารในอนาคต กระทรวงศึกษาธกิ ารมีภารกิจสาคัญในการปฏริ ปู การศึกษาของประเทศ โดยยกระดับคณุ ภาพ การศึกษาท่ีเกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการลดความเหลื่อมล้าทางการศึกษาแก่ผู้เรียนและ ประชาชนทกุ คน เพื่อให้การศึกษาเปน็ รากฐานในการพฒั นาประเทศให้ม่ันคงและยง่ั ยืนตามนโยบายของรัฐบาล ซ่ึงกลไกการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาให้บรรลุผลตามเป้าหมายในข้างต้น จาเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจาก ทกุ หนว่ ยงานในสงั กดั กระทรวงศึกษาธกิ ารทุกระดับ ทัง้ ในระดับสว่ นกลาง ระดับภมู ิภาค และระดับสถานศกึ ษา ซ่ึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวง ศึกษาธิการได้กาหนดเป็นประเด็นสาคัญ วัตถุประสงค์ และแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาไว้จานวน ๑๐ ประเด็น อันประกอบดว้ ย ๓.๑ การผลิตและพัฒนากาลังคนรองรับการพัฒนาประเทศ เพ่ือให้มีกาลังคนที่เพียงพอ และมีสมรรถนะ มีขีดความสามารถตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน ท้ังในประเทศ ต่างประเทศและ ในระดับสากล รองรบั เขตพัฒนาเศรษฐกิจพเิ ศษและโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล โดยมแี นวทางและวิธี ในการดาเนินโครงการ ได้แก่ การริเร่มิ จัดทาฐานขอ้ มูลความต้องการด้านแรงงาน โดยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน จากน้ันจึงได้จัดลาดับความสาคัญเร่งด่วนในการเลือกผลิตและพัฒนานักศึกษา ครูผู้สอน และ สถานศึกษา ให้ตรงกบั ทศิ ทางความต้องการดา้ นแรงงานตามข้อมูลท่ีมีเนน้ การผลิตนกั ศึกษาตามความถนัดและ ความเป็นเลศิ ของแตล่ ะสถานศึกษา กาหนดบทบาทของสถานศึกษาในการผลิตนักศึกษาให้ชดั เจน ที่สาคญั คือ การเร่งประสานงานกับภาคเอกชนเข้ามาร่วมสนับสนุนการจัดการศึกษา การจัดการเรียนการสอนทวิภาคี การบูรณาการการเรียนรู้ควบคู่กับการทางานร่วมกับสถานประกอบการ นอกจากน้ี ยังได้ดาเนินการฝึกทักษะ อาชีพระยะส้ันเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และการมีงานทาให้แก่ประชาชน รวมท้ังการจัดทาข้อกาหนดกฎระเบียบ เก่ียวกบั การรบั รองมาตรฐานฝมี ือ เพือ่ สร้างแรงจงู ใจในการใชป้ ระกอบการพจิ ารณาค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับ สมรรถนะฝีมือการทางานจริง ๓.๒ การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ เพ่ือให้ผู้เรียน ครู ผู้ปกครองมีความสุข ผเู้ รียนไดร้ ับการพัฒนาครอบคลุมใน ๔ ด้านคือ Head Heart Hand Health ประชาชนได้รับการพัฒนาทักษะ และพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย สามารถแสวงหาองค์ความรู้ได้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน มีความรู้ ความเข้าใจในประวัติศาสตร์ไทย มีค่านิยมที่ถูกต้องตามค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ โดยมีแนวทาง และวิธีในการดาเนินโครงการ ได้แก่ การน้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 9 มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนรู้ ทั้งในระดับ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบบั ท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๔๓ - การศึกษาข้ันพ้ืนฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการศึกษานอกระบบ ให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการการคิด วิเคราะห์ สามารถใช้หลักเหตุและผลในการตัดสินใจ ปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียนในระดับช้ัน ป.๑ - ม.๓ โดยปรับตารางเรียนให้สอดคล้องกับการทากิจกรรมการเรียนรู้ ยกระดับการใช้ภาษาอังกฤษในสถานศึกษาให้ เป็นรูปธรรม ใช้ระบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) เพ่ือยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ รวมทั้งพัฒนานวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระวิชาให้มี ความเหมาะสมกับสภาพท้องถนิ่ ๓.๓ การปรับปรุงระบบงบประมาณและทรัพยากรเพ่ือการศึกษา เพ่ือให้การบริหาร งบประมาณด้านการจัดการศึกษาเป็นไปอยา่ งมีประสิทธภิ าพ สอดคลอ้ งกับทิศทางการผลติ และพัฒนากาลังคน ของประเทศ ซึ่งสถานศึกษาควรจะสามารถได้รับการจัดสรรทรัพยากรอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และมีการ บริหารเบิกจ่ายงบประมาณที่ได้รับอย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ โดยมีแนวทางและวิธีในการดาเนิน โครงการ ได้แก่ การปรับบทบาทหน่วยงานส่วนกลางในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ทาหน้าท่ีเป็นผู้กากับ นโยบาย (Policy Maker) ผู้กากับคุณภาพและมาตรฐาน (Regurator) และผู้ส่งเสริมสนับสนุน (Promoter) จากบทบาทท่ไี ดด้ าเนนิ การอยูเ่ ดิม รวมท้ังเนน้ การกระจายอานาจการบริหารจัดการศกึ ษา (Operator) ลงไปให้ สถานศึกษา ทบทวนหลักเกณฑ์การบริหารกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาและปรับปรุงหลักเกณฑ์เง่ือนไขการจัดสรร ทุนเพ่ือให้เป็นกลไกในการผลิตกาลังคนตามความต้องการของประเทศ การพิจารณาปรับปรุง เงินอุดหนุนเพื่อ การศึกษาให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะและบริบทในปัจจุบัน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมระดมทุนเพ่ือ การศกึ ษา ๓.๔ การพัฒนาระบบตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อให้กระบวนการ ประเมินคุณภาพของสถานศึกษาทั้งภายในและภายนอกมีความสอดคล้องกัน มีกลไกการประเมินฯ ท่ีมี ประสิทธิภาพ โดยไม่เป็นการเพิ่มภาระงานแก่ครูผู้สอน และมุ่งหวังให้สถานศึกษาที่ผ่านการประเมินสามารถ มีคุณภาพเทียบเคียงได้ในระดับสากล ผู้เรียนมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงข้ึน โดยมีแนวทางและวิธีในการ ดาเนินโครงการ ได้แก่ จัดตั้งคณะทางานร่วมกับสานักงานรับรองคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา (องค์การ มหาชน) หรือ สมศ. เพ่ือพัฒนาเครื่องมือการวัดผลร่วมกันให้มีมาตรฐาน มีความครอบคลุม มีความเท่ียงตรง เช่ือถือได้ และมีกระบวนการประเมินฯ ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน รวมท้ังดาเนินการวิเคราะห์ผลการประเมินการ แข่งขันด้านการศึกษาระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่างๆ เพื่อนามาพัฒนาเครื่องมือวัดผลท่ีได้ มาตรฐานสากล ที่สาคัญคือการส่งเสริมความเข้มแข็งของคณะกรรมการสถานศึกษาให้มีบทบาทในการ ตรวจสอบและประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาให้มากข้ึน ปรับปรุงระบบการนิเทศครูและสถานศึกษาข้ัน พนื้ ฐาน และเพิ่มการกากบั ตรวจสอบคุณภาพของสถาบนั อดุ มศึกษาให้เขม้ ข้นและเป็นรูปธรรม ๓.๕ การยกระดับระบบส่ือสารและเทคโนโลยีเพ่ือการศึกษา เพื่อให้สถานศึกษานาระบบ ICT มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ การบริการทางวิชาการ และบริหารจัดการ มีโครงข่ายสัญญาณสาหรับการใช้งาน ที่มีเสถียรภาพ สามารถเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็วและท่ัวถึง รวมท้ังมีระบบฐานข้อมูลที่ ทันสมัยน่าเชื่อถือ สาหรับสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารในทุกระดับ โดยมีแนวทางและวิธีในการดาเนิน โครงการ ได้แก่ การจัดทาแผนแม่บท ICT ด้านการศกึ ษาของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อใช้เป็นกรอบให้หน่วยงาน ในสังกัดสามารถดาเนินการไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างมีเอกภาพ ไม่เกิดความซ้าซ้อนของงบประมาณและ พนื้ ท่ีในการดาเนินงานอย่างทผ่ี ่านมา พิจารณาบูรณาการ Hardware Software Peopleware Network และ งบประมาณด้าน ICT ซ่ึงเป็นทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นระบบ พัฒนาและจัดทาระบบฐานข้อมูลด้านการศึกษา ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๔๔ - ที่เชอื่ มโยงกบั หน่วยงานที่เก่ียวข้อง เชน่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และให้ จัดตั้งกองทนุ ICT เพือ่ การศึกษา สง่ ไปยงั สถานศึกษาโดยตรงเพ่อื เรง่ รดั ยกระดับการจดั การเรียนรู้ของนักเรยี น ๓.๖ การพัฒนาระบบการผลิต การสรรหา และพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เพ่ือให้เกิดกระบวนการเรียนการสอนท่ีดีข้ึน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพและปริมาณตรงตาม เป้าหมายท่ีกาหนดไว้ รวมท้ังได้รับการพัฒนาทางวิชาชีพ มีจรรยาบรรณ มีสวัสดิการและคุณภาพชีวิตท่ีดี ซึ่งจะส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนเพ่ิมข้ึน โดยมีแนวทางและวิธีในการดาเนินโครงการ ได้แก่ การคัดสรรคนเก่งคนดีให้เข้ามาเป็นครู และจัดส่งไปปฏิบัติงานในท้องถ่ินของตนเองเพ่ือให้เกิดแรงจูงใจในการ พัฒนา การจัดทาระบบฐานข้อมูลกลางของครูทุกสังกัดให้เป็นปัจจุบัน ให้สามารถเช่ือมโยงและนามาใช้ ประโยชน์ร่วมกันได้ การลดภาระงานของครูท่ีไม่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียน การให้ สถาบันอุดมศึกษาเข้ามามีส่วนช่วยในการปรับบทบาทของครูให้เป็น Facilitator, Motivation, Inspiration, Coaching การปรับหลักเกณฑ์และระเบียบท่ีเก่ียวข้องกับการสรรหา คัดกรองผู้ประกอบวิชาชีพครูให้มี มาตรฐานและความยืดหยุ่นไปพร้อมๆ กัน การปรับวิธีการประเมินเพ่ือให้มีหรือเล่ือนวิทยฐานะครูให้ สอดคล้องกบั ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน และการแก้ไขปัญหาหนี้สนิ ครูโดยสง่ เสริมให้ครูดารงชีวิตตามหลักปรชั ญา ของเศรษฐกจิ พอเพยี ง ๓.๗ การพัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษา เพื่อให้การบริหารจัดการในกระทรวง ศึกษาธิการเกิดเอกภาพ มีประสิทธิผลตามหลักธรรมาภิบาล สามารถนายุทธศาสตร์และแผนงานท่ีกระทรวง กาหนดไว้ ไปบูรณาการการทางานร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า ปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมายและสนองตอบต่อ นโยบายของรัฐบาลได้เกิดผลผลิตผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม และท้ังให้สามารถกากับติดตามประเมินผลการ ดาเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีแนวทางและวิธีในการดาเนินโครงการ ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างของ กระทรวงศกึ ษาธกิ ารทยี่ ึดประโยชน์ของผูเ้ รียนเปน็ สาคัญ จัดทากลไกการบริหารจัดการการศกึ ษาในระดับพื้นท่ี ท่เี หมาะสม เร่งรัดการกระจายอานาจการบริหารจัดการการศึกษาลงไปในพื้นที่อย่างแท้จริง ท้ังในด้านวิชาการ การบริหารงบประมาณ และการบริหารงานบุคลากร รวมทั้งการเสริมสรา้ งความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่าง ภาครัฐและเอกชน ๓.๘ การสร้างการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา เพื่อลดความเหลื่อมล้าทางการศึกษา นักเรียนทุกระดับช้ันได้รับโอกาสทางการศึกษาข้ันพ้ืนฐานตามสิทธิท่ีกาหนดไว้ ประชาชนทุกกลุ่มทุกวัยได้รับ โอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยมีแนวทางและวิธีในการดาเนินโครงการ ได้แก่ พัฒนาโรงเรียนต้นแบบที่มีคุณภาพสาหรับการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมด้วยระบบ DLTV และ DLIT ไปยังโรงเรียนทั่วประเทศ จัดระบบติดตาม ช่วยเหลือ ดูแลเด็กท่ีออกกลางคันให้ได้กลับมารับการศึกษาจนจบ การศึกษา จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ฝึกอบรมทักษะอาชีพให้กับประชาชนโดยใช้ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (กศน. ตาบล) เป็นฐาน และพัฒนาระบบเทียบโอนผลการเรียน จัดหาทุนและแหล่งเงินทุนทางการศึกษา สนับสนุนให้เด็กพิการได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการจาเป็นของแต่ละบุคคล สง่ เสริมให้เด็กด้อยโอกาสสามารถเข้ารับการศึกษาไดต้ ามบริบทและอตั ลักษณ์ของตน และจัดต้ังศูนย์ครูผู้สูงอายุ ภูมิปญั ญาทอ้ งถ่ิน เพอ่ื เป็นแหลง่ สร้างองค์ความรูข้ องชมุ ชนและท้องถน่ิ ๓.๙ การพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้มีการจัดการศึกษาที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม ขนบธรรมเนียม อัตลักษณ์และความต้องการของพ้ืนท่ี ผู้เรียนในพ้ืนที่ จงั หวัดชายแดนภาคใต้เข้าถึงการศึกษาอย่างเสมอภาคและมีผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี นสงู ข้ึน ประชาชนในจงั หวัด ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพัฒนาการศกึ ษาของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร ฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๔๕ - ชายแดนภาคใต้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีข้ึน โดยมีแนวทางและวิธี ในการดาเนินโครงการ ได้แก่ พัฒนาหลักสูตรท่ีหลากหลายเป็นไปตามบริบทและอัตลักษณ์ของพ้ืนที่ ขยายผล ใช้การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV และส่งเสริมการพัฒนาด้านกิจกรรมการกีฬาเข้ามาช่วย สนับสนุนการเรียนการสอน ปรับปรุงการบริหารจัดการเงนิ อุดหนนุ ทางการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มี ประสิทธิภาพ สร้างขวัญกาลงั ใจและเพิ่มสวสั ดิการให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาท่ีการปฏิบัติงานในพ้ืนท่ี รวมทัง้ สนับสนุนทุนการศกึ ษาให้กบั ทายาทผู้ไดร้ ับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ๓.๑๐ การวิจัยเพ่ิมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อสร้างนวัตกรรม องค์ความรู้ ท่ีนาไปใชเ้ ปน็ แนวทางตอบสนองตอ่ โจทย์ปัญหาความต้องการของประชาชน ทอ้ งถนิ่ ประเทศชาติ และสามารถนางานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงพาณิชย์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและการบริการ เพ่ิม มูลค่าสินค้าส่งออกของประเทศ โดยมีแนวทางและวิธีในการดาเนินโครงการ ได้แก่ การส่งเสริมและพัฒนา คณาจารย์ อาจารย์ และนักวิจัยในสถานศึกษาให้มีศักยภาพทัดเทียมกับนานาชาติ จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ เพ่ือกาหนดเทคโนโลยีสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ สนับสนุนต่อยอดการวิจัยทางการแพทย์ การรักษา พยาบาล และการส่งเสริมสขุ ภาพ สนับสนุนการให้บริการทางวิชาการและการถ่ายทอดเทคโนโลยใี ห้กับชุมชน และพฒั นานวตั กรรมสิ่งประดษิ ฐท์ ่สี ามารถนาไปใช้แขง่ ขนั ในภาคธุรกิจและภาคสงั คมกบั ประเทศอ่นื ๆ นอกจากน้ี รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการยังได้กาหนดแผนงานสาคัญที่จะต้องผลักดัน ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ซ่ึงหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจะต้องดาเนินการให้เกิดผลลัพธ์/ผลผลิต โดยได้วางเปา้ หมายในมิติด้านเวลาไวจ้ านวน ๑๑ แผนงาน ดงั นี้ แผนงานท่ี ๑ ภายใน ๑ ปี ให้เด็กทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาท่ีมีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน โดยเน้นการดาเนินการ Mapping ข้อมูล และวางแผนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย อย่างต่อเน่ือง เพื่อแก้ปัญหา/จัดระบบเด็กไทยที่ไม่เข้าสู่ระบบการศึกษา เด็กที่ตกหล่น เด็กออกกลางคัน เด็กที่มีความสามารถพิเศษ เด็กพิการและเดก็ ด้อยโอกาส ที่สาคัญคอื การใช้ประโยชน์จาก DLTV, DLIT ในการ เข้าถึงการศึกษาสาหรับโรงเรียนในพ้ืนท่ีห่างไกลและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนสาหรับโรงเรียนทั่วไป แผนงานที่ ๒ ภายใน ๕ ปี ส่งเสริมให้ครูใช้ศักยภาพในการสอนอย่างเต็มท่ี โดยเน้นให้ครู ที่ได้รับวิทยฐานะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เครือข่ายอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงช่วยพัฒนา ครใู นสถานศึกษาข้ันพนื้ ฐาน แผนงานที่ ๓ ภายใน ๑ ปี มีอัตรากาลังครูครบตามเกณฑ์ ซ่ึงมีผลต่อการแก้ปัญหาโรงเรยี น ท่ีมีจานวนครูขาดและเกิน และสัดส่วนจานวนครูต่อห้องเรียนท่ีเหมาะสม ภายใน ๒ ปี มีครูประจาชั้นครบ ทกุ ห้อง และภายใน ๕ - ๑๐ ปี มคี รตู รงสาขาในการจัดการเรยี นการสอน แผนงานท่ี ๔ ภายใน ๒ ปี ให้เด็กเรียนทอ่ งจาในส่ิงที่ควรจา และนาสิง่ ที่จาไปฝึกคดิ วิเคราะห์ แก้ปัญหา และนาไปประยกุ ต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้ครบทุกโรงเรียน โดยขยายผลโครงการลดเวลาเรยี น เพิม่ เวลารู้ ท่ีเน้นปรับโครงสร้างเวลาเรียนให้ชั่วโมงเรียนในห้องเรียนลดลง และชั่วโมงทากิจกรรมเพ่ิมขึ้น รวมทั้งการ ปรับปรงุ ขอ้ สอบโดยใช้ขอ้ สอบมาตรฐานกลางในรปู แบบอตั นัยและปรนยั ท่เี น้นการคิดวเิ คราะห์ให้มากขึ้น แผนงานที่ ๕ ภายใน ๕ ปี ให้มีการเรียนการสอน STEM ศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics) ครบทุกโรงเรียน โดยพัฒนาหลักสูตร ขับเคล่ือนการจัดการเรียนการสอน กาหนดเป้าหมายและจัดทาคู่มือกิจกรรม STEM ศึกษาสาหรับครูและนักเรียนช้ัน ป.๑ - ม.๖ รวมท้ังให้มี มหาวทิ ยาลยั เปน็ พ่ีเลีย้ ง แผนงานที่ ๖ ภายใน ๓ ปี ยกระดับภาษาอังกฤษให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๔๖ - การสื่อสารในชีวิตประจาวันได้ โดยสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษา ปรับชั่วโมงการเรียนภาษาให้มากข้ึน เน้น การเรียนการสอนสาหรับนาไปใช้สื่อสารจริงมากกวา่ หลักไวยากรณ์ จัดทาแอพพลิเคชั่น Echo Hybrid, Echo English รวมทัง้ พฒั นาครภู าษาองั กฤษผา่ นกระบวนการ Boot Camp และขยายผลอยา่ งตอ่ เน่อื ง แผนงานท่ี ๗ ภายในปี ๒๕๖๐ ปรับระบบการสอบ O - Net ให้เป็นที่ยอมรับ และสะทอ้ นถึง คณุ ภาพการจัดการศึกษา โดยเน้นการออกข้อสอบ O - Net ให้สอดคล้องกับการเรียนการสอน ให้มีการจัดทา Item card และการจัดทา Test Blueprint รวมทั้งให้มีการเฉลยและวิเคราะห์ผลสอบ O - Net เพ่ือนาไปใช้ วางแผนการปรบั ปรงุ คณุ ภาพการเรยี นการสอนรายวิชาตา่ งๆ ใหส้ งู ขึ้น แผนงานที่ ๘ ภายใน ๑๐ ปี ผลิตกาลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ โดยจัดทา ฐานข้อมูล Demand Side/ Supply Side ให้มีความทันสมัย ให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดสารวจ ความต้องการแรงงานจากสถานประกอบการในแต่ละพ้ืนท่ีของจังหวัด ขณะเดียวกันให้ขยายโครงการทวิภาคี ทวิศกึ ษา โครงการสหกจิ ศกึ ษา หลกั สูตรอาชีพระยะสัน้ ในโรงเรียนสามัญและ กศน. แผนงานท่ี ๙ ผลิตคนดีออกสู่สังคม โดยดาเนินโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการ โรงเรียนคุณธรรม การฟื้นฟูกิจการลูกเสือ เนตรนารีในสถานศึกษา โครงการลดเวลาเรียน เพ่ิมเวลารู้ โครงการโตไปไมโ่ กง กจิ กรรมการรกั ษาทรัพยากรธรรมชาติของทุกสถานศึกษา แผนงานที่ ๑๐ ภายในปี ๒๕๖๐ ซ่อมบ้านพักครูให้แล้วเสรจ็ ทั้งหมด จานวน ๔๔,๓๕๙ หลัง ท่ัวประเทศ เพ่ือเป็นการสร้างขวัญกาลังใจแก่ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่ในพ้ืนที่ท่ีไม่ใช่ภูมิลาเนาของตนเอง สามารถทา การจัดการเรียนการสอนแกเ่ ดก็ นักเรียนไดอ้ ย่างเต็มท่ี แผนงานที่ ๑๑ แก้ปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งในเรื่องของการวิ่งเต้นโยกย้าย ตาแหน่ง การใช้ดุลยพนิ ิจในการลงโทษ การดาเนนิ การทางวินยั และการตง้ั คณะกรรมการสอบสวนข้อเทจ็ จรงิ / การอทุ ธรณ์ ต้องดาเนินการด้วยความโปรง่ ใส เป็นธรรม และไม่ใหเ้ รอื่ งค่ังค้าง ๔. การวเิ คราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT) เพอื่ กาหนดยุทธศาสตร์พัฒนาการศกึ ษาของกระทรวงศึกษาธิการ จากผลการประเมินแผนพฒั นาการศกึ ษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบบั ที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) ท่ีผ่านมา และการสรุปสถานภาพการดาเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการด้านต่างๆ ในปัจจุบัน รวมท้ังแนวโน้มการดาเนินงานตามแนวทางปฏิรูปการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ แผนงานที่สาคัญในอนาคต ตามข้างต้น จึงสามารถนามาใช้สรุปวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ท้ังในส่วนของจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรคท่สี าคัญ (SWOT) เพอ่ื จดั ทายุทธศาสตร์พัฒนาการศกึ ษาของกระทรวงศกึ ษาธิการในอนาคตระยะ ๕ ปี ข้างหนา้ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ได้ดงั น้ี ๔.๑ จุดแขง็ (Strength : S) ๑) ผู้เรียนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาท่ีสอดคล้องกับความต้องการได้อย่าง ต่อเน่อื ง รวมถงึ ผู้ทีม่ คี วามตอ้ งการจาเปน็ พิเศษ ๒) ผู้เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาเพิ่มขึ้นจากโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัด การศกึ ษาตัง้ แต่อนุบาลจนถงึ การศกึ ษาขั้นพืน้ ฐาน ๑๕ ปี โดยไม่เกบ็ คา่ ใช้จ่าย ๓) คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาในทุกพ้ืนท่ี มีโอกาสได้รับการพัฒนาอย่าง ทัว่ ถงึ ดว้ ยวิธแี ละชอ่ งทางทีห่ ลากหลายมากขึน้ เชน่ พฒั นาด้วยระบบ TEPE Online ๔) มีการปรับหลักเกณฑ์เพ่ือจูงใจให้คนดี คนเก่ง และผู้ที่จบการศึกษาในสาขาวิชาท่ี ขาดแคลน สามารถเข้ามาประกอบวชิ าชพี ครไู ด้ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศกึ ษาของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร ฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๔๗ - ๕) มีสถานศึกษาในสังกัดทุกระดับ ทุกประเภท ครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายให้ สามารถเข้าถึงบริการทางการศกึ ษาได้อยา่ งท่วั ถงึ กระจายอยใู่ นทุกพน้ื ท่ที วั่ ประเทศ ๖) มีหน่วยงานกลางในการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสารของ กระทรวงเปน็ การเฉพาะ ๗) มีการพัฒนาระบบการศึกษาทางไกลเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาและยกระดับ คณุ ภาพการศกึ ษา เชน่ ระบบ DLIT, DLTV, ETV ๘) มีหน่วยงานทางการศึกษาระดับภูมิภาคและระดับจังหวัด ในการกากับดูแลการจัด การศึกษาทุกระดับและทุกประเภท เพื่อเป็นกลไกในการประสานงานการจัดการศึกษาให้เกิดความคล่องตัว ยดื หยนุ่ และสอดคลอ้ งกับสภาพบริบทของพื้นท่ี ๙) มีบุคลากรด้านการวิจัยของสถาบันการศึกษา มีความรู้ความเช่ียวชาญ เข้าร่วมกับ ภาคธรุ กิจและอุตสาหกรรมในการผลติ นวัตกรรมทีเ่ พม่ิ มลู คา่ สนิ คา้ และบริการ ๔.๒ จุดอ่อน (Weakness : W) ๑) ผู้เรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน (O-Net) ในเกือบ ทุกวิชา โดยเฉพาะในวิชาหลกั คณติ ศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลีย่ ต่ากวา่ ร้อยละ ๕๐ ๒) ผู้สาเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาเป็นกาลังแรงงานท่ีสาคัญ แต่ส่วนใหญ่จะยังมุ่ง ศกึ ษาต่อในระดับทสี่ ูงข้นึ ทาใหข้ าดแคลนกาลังแรงงานระดบั ฝมี ือ/ก่ึงฝมี ือ ๓) ผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีบางสาขามีทักษะการทางาน ไม่สอดคล้องกับ ความตอ้ งการของตลาดแรงงาน ๔) การบรรจุครูสอนไม่ตรงวุฒิ ครูไม่ครบช้ัน และขาดครูในสาขาวิชาที่ขาดแคลน โดยเฉพาะในโรงเรยี นขนาดเลก็ และในพน้ื ทห่ี า่ งไกล ๕) สถานศึกษาสายวิชาชีพบางแห่งมีภาพลักษณ์ในเชิงลบ ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือก เรียนต่อสายวิชาชพี ของผ้เู รียน ๖) โรงเรยี นขนาดเลก็ จานวนมาก มผี ลสัมฤทธิท์ างการเรียนของเด็กตา่ กว่าเกณฑ์ ๗) วิธีการวัดและประเมินผลท้ังหลกั สูตร และผู้เรยี น ยงั ไม่สามารถสะท้อนผลลัพธ์ท่ีเกิด กับผู้เรยี นในดา้ นคณุ ลักษณะท่พี ึงประสงค์อย่างเปน็ รูปธรรม ๘) ระบบฐานข้อมูลกลางของกระทรวงศึกษาธิการยังไม่สามารถเช่ือมโยงกับหน่วยงาน ภายในและภายนอกได้ท้ังหมด เชน่ ข้อมลู บัตรประชาชนของกรมการปกครอง เป็นตน้ ทาให้เกิดปัญหาในการ ตดิ ตามตัวเดก็ นกั เรียนที่จบการศกึ ษาหรอื ออกจากระบบการศึกษากลางคนั ๙) การกระจายอานาจการจัดการศกึ ษาจากสว่ นกลางไปสู่สถานศกึ ษา ตามทกี่ ฎหมายได้ กาหนดไว้ ยังไมส่ ามารถดาเนนิ การได้อยา่ งแท้จรงิ ๑๐) ผลงานวิจัยเพ่ือสรา้ งองคค์ วามรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของกระทรวงศึกษาธิการ ยงั ไม่สามารถนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์อยา่ งคมุ้ คา่ ๔.๓ โอกาส (Opportunity : O) ๑) นโยบายการขับเคล่ือน ๑๐ อุตสาหกรรมเป้าหมาย นโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจ พิเศษ และนโยบายวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งจะเป็นกลไกใหม่ในขับเคล่ือนภาคเศรษฐกิจ ของประเทศ ส่งผลต่อสถาบันการศึกษาได้มีโอกาสพัฒนาการเรียนการสอน การผลิตงานวิจัยและนวัตกรรม ทาใหผ้ ู้เรียนมโี อกาสในการฝึกประสบการณ์และการประกอบอาชีพ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพัฒนาการศกึ ษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๔๘ - ๒) นโยบายการค้าเสรีในเวทีต่างๆ เช่น ประชาคมอาเซียน องค์การการค้าโลก เปิด โอกาสให้ภาคการศึกษามีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและนักเรียน นักศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้มีการแลกเปล่ียนเรียนรู้ร่วมกับประเทศเพ่ือนบ้าน รวมท้ังโอกาสในการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา (Education Hub) ของภมู ิภาค ๓) ความขาดแคลนแรงงานก่ึงฝีมือและแรงงานฝีมือไทยท่ีรองรับความต้องการในการ พัฒนาประเทศ ทาให้ภาคการศึกษาต้องมีส่วนร่วมเร่งผลิตบุคลากรแรงงานก่ึงฝีมือและแรงงานฝีมือให้มากข้ึน ๔) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุ (ageing society) ผู้สูงอายุ จานวนมากที่มีศักยภาพ มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ สามารถเข้ามามสี ่วนร่วมในการช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในระดับภูมิภาคได้ ๕) การบริหารจัดการภาครัฐเปิดโอกาสให้ภาคส่วนสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัด การศึกษามากข้ึน โดยใช้กลไกประชารัฐ ๖) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสารเป็นประโยชน์ตอ่ การเพ่ิมชอ่ งทางการให้ บรกิ ารทางการศึกษาและการเรียนรตู้ ลอดชีวิต ๗) นโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Economy) ของประเทศ เป็นการส่งเสริม สนบั สนุนการนาเทคโนโลยีมาใชป้ ระโยชน์เพอ่ื การศกึ ษา ๘) นโยบาย Thailand 4.0 ท่ีเน้นการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และ นวัตกรรมให้มีความก้าวหน้าทันต่อการเปล่ียนแปลงในอนาคต ส่งผลให้ภาคการศึกษาต้องเร่งผลิตบุคลากร ในด้านนเ้ี พมิ่ มากขึ้น ๙) กระแสการต่ืนตัวเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อน ภัยธรรมชาติ ทาให้ภาคการศึกษาต้องเร่ง ปลูกฝังจิตสานึกสอดแทรกเร่ืองการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ในการจัดการเรียนการสอน ในทกุ ระดับและประเภทการศึกษามากขนึ้ เพอ่ื ใหส้ ามารถเรียนรคู้ วามเปลย่ี นแปลงและรบั มอื ภยั พบิ ตั ิได้ ๑๐) กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี กาหนดให้มีหลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอน เสริมสร้างความมั่นคงสถาบันหลักของชาติ สร้างจิตสานึกของคนในชาติ การป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่สงบ ในจงั หวดั ชายแดนภาคใต้ ๔.๔ อปุ สรรค (Threat : T) ๑) อัตราการเกิดของประชากรที่ลดลงมีผลกระทบต่อจานวนเด็กนักเรียน ซ่ึงเป็นปัจจัย นาเขา้ สู่ระบบการศกึ ษา ทาใหส้ ถานศึกษาบางแห่งมจี านวนนกั เรียนลดลง/ไม่มผี ู้เรียน ๒) ผู้ปกครองมีทัศนคติค่านิยมให้บุตรหลานเรียนสายสามัญมากกว่าสายอาชีวะ ซ่ึงตรง ข้ามกบั ทิศทางการพัฒนาประเทศ ส่งผลให้การวางแผนผลติ กาลังคนของกระทรวงไมเ่ ปน็ ไปตามเปา้ หมาย ๓) ส่ือ เทคโนโลยีสารสนเทศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเรว็ และปัญหาสังคมมีความอ่อนแอ โดยเฉพาะด้านคุณธรรมจรยิ ธรรม การใช้ความรนุ แรง ทาให้เด็กและเยาวชนที่มที ัศนคติ คา่ นยิ ม และพฤติกรรม เส่ียงมากข้ึน ส่งผลต่อภาคการศึกษาไม่สามารถผลิตเด็กท่ีมีคุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ได้เป็นไปตามเป้าหมาย ๔) การอพยพย้ายถิ่นหรือเคลื่อนย้ายแรงงานของผู้ปกครอง ทาให้เด็กนักเรียนบางส่วน ออกกลางคนั ส่งผลต่อความตอ่ เนือ่ งในระบบการศกึ ษา และเกิดความสญู เปล่าทางการศึกษา ๕) กฎหมายกาหนดแผนและการกระจายอานาจ เป็นผลใหม้ ีการถ่ายโอนทรัพยากรด้าน การศกึ ษาไปยังพนื้ ท่ที ี่ยงั ไมม่ ีความพร้อม ซึง่ สง่ ผลต่อขวญั กาลงั ใจของผ้ปู ฏิบตั งิ านดา้ นการศึกษา ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธกิ าร ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๔๙ - ๖) ภัยพิบัติท่ีมีแนวโน้มความรุนแรงและเกิดบ่อยข้ึน จะส่งผลกระทบต่อการสูญเสีย ทรัพยากรทางการศกึ ษาเป็นอย่างมาก ๗) สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และปัญหาความมั่นคงในพื้นท่ี ชายแดน ชายขอบ พน้ื ท่ีสงู เชน่ ยาเสพตดิ แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาในพื้นที่ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๕๐ - ส่วนท่ี ๔ : ยทุ ธศาสตรก์ ารพัฒนาการศึกษาฯ สาระสาคญั ของแผนพัฒนาการศกึ ษาของกระทรวงศึกษาธกิ าร ฉบับท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) จากบริบทสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ความเปลี่ยนแปลงของภูมิภาค อาเซียนและสังคมโลก อานาจหน้าท่ีของกระทรวงศึกษาธิการภายใต้กฎหมายสาคัญท่ีเก่ียวข้องกับการศึกษา ของประเทศ ความเชื่อมโยงระหวา่ งยทุ ธศาสตร์ชาตริ ะยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๔ กับทิศทางการพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งในมิติด้านความมั่นคง มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้าน สังคม และมิติด้านการบริหารจัดการภาครัฐท่ีมีประสิทธิภาพ ที่สาคัญคือได้ประเมินสถานะของกระทรวง ศกึ ษาธิการโดยการวิเคราะหจ์ ุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT) ตามบริบทในขา้ งต้นแล้ว จึงสามารถ กาหนดเป็นสาระสาคัญของแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ซึ่งได้แก่ เป้าหมายหลักและตัวช้ีวัด วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ผลผลิต/ผลลัพธ์ของยุทธศาสตร์ ตัวช้ีวัด ภายใต้ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ ไดด้ ังนี้ ๑. เปา้ หมายหลกั ของแผนพัฒนาการศกึ ษาฯ ๑. คุณภาพการศึกษาของไทยดีขึ้น คนไทยมีคุณธรรมจริยธรรม มีภูมิคุ้มกันต่อการ เปลีย่ นแปลงและการพัฒนาประเทศในอนาคต ๒. กาลงั คนได้รับการผลติ และพัฒนา เพอ่ื เสรมิ สรา้ งศักยภาพการแขง่ ขันของประเทศ ๓. มอี งคค์ วามรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม สนับสนนุ การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ๔. คนไทยได้รับโอกาสในเรยี นร้อู ยา่ งต่อเนื่องตลอดชีวติ ๕. ระบบบริหารจัดการการศึกษามีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล โดยการมีส่วนร่วม จากทกุ ภาคส่วน ๒. ตวั ช้วี ัดตามเป้าหมายหลกั ๑. ผลคะแนนสอบ PISA ในแตล่ ะวชิ า ** ๒. รอ้ ยละทีเ่ พ่ิมขึ้นของคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาหลักระดับการศึกษาขน้ั พื้นฐาน จากการทดสอบระดับชาติ ๓. รอ้ ยละคะแนนเฉลย่ี ของผู้เรยี นทม่ี คี ุณธรรมจริยธรรม (1) ๔. ร้อยละคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนทุกระดับการศึกษามีความเป็นพลเมืองและพลโลก (2) ๕. สดั ส่วนผูเ้ รียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทอาชวี ศึกษาตอ่ สายสามัญ (3) ๖. รอ้ ยละความพึงพอใจของนายจ้างผู้ประกอบการทมี่ ีตอ่ ผสู้ าเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษา และระดบั อดุ มศกึ ษาท่ีทางานให้ (4) ๗. ร้อยละของผู้สาเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษาได้งานทา หรือ ประกอบอาชพี อิสระภายใน ๑ ปี (5) ๘. ร้อยละของผลงานวิจัย นวัตกรรม งานสรา้ งสรรค์ ส่ิงประดิษฐไ์ ดร้ ับการเผยแพร่/ตพี ิมพ์ (6) ๙. ร้อยละขององคค์ วามรแู้ ละสงิ่ ประดิษฐท์ นี่ าไปใช้ประโยชน์ หรอื แกไ้ ขปัญหาชุมชนท้องถน่ิ (7) ๑๐. จานวนปกี ารศึกษาเฉล่ียของคนไทยอายุ ๑๕ - ๕๙ ปี (8) ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพัฒนาการศกึ ษาของกระทรวงศกึ ษาธิการ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๕๑ - ๑๑. ร้อยละของกาลังแรงงานท่ีสาเร็จการศึกษาระดับมธั ยมศึกษาตอนตน้ ขน้ึ ไป (9) ๑๒. รอ้ ยละของนักเรยี นต่อประชากรวัยเรียนระดับมธั ยมศึกษาตอนปลาย อายุ ๑๕–๑๗ ปี (10) ๑๓. สดั ส่วนผู้เรยี นในสถานศกึ ษาทุกระดับของรัฐต่อเอกชน (11) ๑๔. จานวนภาคเี ครือข่ายท่ีเข้ามามีสว่ นรว่ มในการจัด/พัฒนาและส่งเสริมการศกึ ษา (12) ๓. วสิ ัยทศั น์ “มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในสังคม ” “ผู้เรียน” หมายถึง เด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ท่ีได้รับบริการจาก กระทรวงศึกษาธิการ “มีความรู้คู่คุณธรรม” หมายถึง รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง ซ่ือสัตย์สุจริต ขยันอดทน สติปญั ญา แบง่ ปนั ซ่งึ เป็น ๒ เงื่อนไขตามหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง “มีคุณภาพชีวิตที่ดี” หมายถึง มีอาชีพ มีความมั่นคง มั่งค่ัง และย่ังยืน ในการดารงชีวิต “มีความสุข” หมายถึง ความอยู่ดีมีสุข สามารถอยู่ร่วมกันอย่างเอ้ืออาทร มีความสามัคคี ปรองดอง “สังคม” หมายถงึ สังคมไทย ภมู ิภาคอาเซียน และสงั คมโลก ๔. พนั ธกิจ ๑. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดบั /ประเภทสู่สากล ๒. เสริมสร้างโอกาสการเข้าถึงบรกิ ารทางการศึกษาของประชาชนอย่างทวั่ ถึง เท่าเทยี ม ๓. พฒั นาระบบบริหารจัดการการศึกษาตามหลกั ธรรมาภบิ าล ๕. ยทุ ธศาสตร์ ๑. ยุทธศาสตร์พัฒนาหลกั สตู ร กระบวนการเรยี นการสอน การวดั และประเมนิ ผล ๒. ยุทธศาสตร์ผลิต พฒั นาครู คณาจารย์และบคุ ลากรทางการศึกษา ๓. ยุทธศาสตร์ผลิตและพัฒนากาลังคน รวมท้ังงานวิจัยท่ีสอดคล้องกับความต้องการของ การพัฒนาประเทศ ๔. ยุทธศาสตร์ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษา และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชวี ิต ๕. ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพฒั นาระบบเทคโนโลยดี จิ ทิ ลั เพื่อการศึกษา ๖. ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัด การศกึ ษา ๖. ผลผลติ /ผลลัพธ์ ตัวชว้ี ัด และกลยทุ ธ์ภายใต้ยุทธศาสตร์ ๖.๑ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ผลผลติ /ผลลัพธ์ ผู้เรียนมผี ลสมั ฤทธ์ทิ างการเรียนที่สูงขนึ้ สามารถท่องจาและนาสิ่งที่จาไปฝกึ คิดวเิ คราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดในเชิงสร้างสรรค์ และแก้ไขปัญหาท่ีเกิดขึ้นได้ มีทักษะการทางานร่วมกับผู้อ่ืน สอดคล้องกับ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศึกษาของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๕๒ - ทักษะที่จาเป็นในศตวรรษท่ี ๒๑ มีคุณธรรมจริยธรรม ผู้สาเร็จการศึกษาทุกระดับ/ประเภทได้รับการศึกษาท่ีมี คณุ ภาพมาตรฐาน มจี ิตสานึกประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรยิ ์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งสามารถอยู่ในสังคมได้ อยา่ งมีความสามัคคีปรองดอง ตัวช้ีวดั ภายใตย้ ทุ ธศาสตร์ ๑. ร้อยละของโรงเรียนท่ีผู้เรียนผ่านตามเกณฑ์คุณลักษณะท่ีพึงประสงค์ในการคิด วิเคราะห์ คิดสงั เคราะห์ คดิ แกป้ ญั หา และคิดสร้างสรรค์ ๒. ร้อยละของสถานศึกษาท่ีได้รับการพัฒนากิจกรรมเสริมทักษะและมีผลสัมฤทธ์ิทาง การเรยี นสูงข้นึ ๓. ร้อยละคะแนนเฉลีย่ ของผู้เรียนที่มคี ณุ ธรรมจรยิ ธรรม (1) ๔. รอ้ ยละคะแนนเฉล่ยี ของผเู้ รียนทกุ ระดบั การศึกษามีความเปน็ พลเมืองและพลโลก (2) กลยทุ ธ์ ๑. พัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ และจัดกิจกรรมเสริมทักษะพัฒนา ผเู้ รยี นในรปู แบบที่หลากหลาย สอดคลอ้ งกบั ทักษะท่จี าเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ๒. พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร การวัดและประเมินผลการศึกษาทุกระดับ/ประเภท การศกึ ษาใหท้ ันสมยั สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวทิ ยาการและการเปลี่ยนแปลงของสงั คมโลก ๓. ส่งเสริมการพัฒนาเนื้อหาสาระที่ทันสมัยในทกุ ระดับ/ประเภทการศึกษา เพ่ือการผลิต สื่อการเรยี นการสอน ตาราเรียนทีม่ ีคุณภาพ รวมทง้ั ตาราเรยี นอิเลก็ ทรอนิกส์ ๔. ปรับปรุงระบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติให้สอดคล้องกับหลักสูตรและกระบวนการ จดั การเรียนการสอน ๕. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองและพลโลก ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกจิ พอเพียงในระบบการศกึ ษาอย่างเข้มข้น ๖.๒ ยุทธศาสตรท์ ี่ ๒ ผลติ พฒั นาครู คณาจารย์และบคุ ลากรทางการศึกษา ผลผลติ /ผลลพั ธ์ มีการผลิตครูไดส้ อดคล้องกับความตอ้ งการในการจัดการศึกษาทุกระดับทุกประเภท มคี รู ครบตามเกณฑ์ มีครูประจาชั้นครบทุกห้อง และมีครูที่จบตรงวุฒิตามสาขาวิชาที่สอน ผู้มีใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพครูมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาท่ีมีสมรรถนะตาม มาตรฐานวชิ าชีพ สามารถใชศ้ ักยภาพในการสอนไดอ้ ยา่ งเต็มท่ีและขวญั กาลังใจท่ีดีในการปฏบิ ตั หิ นา้ ที่ ตวั ชว้ี ัดภายใตย้ ุทธศาสตร์ ๑. ร้อยละของครตู ามแผนการผลิต มคี ณุ ภาพตามเกณฑท์ ี่กาหนด ๒. ร้อยละของผู้บริหารสถานศึกษาตามแผนการพัฒนา ได้รับการพัฒนาตามเกณฑ์ ที่กาหนด ๓. ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานวิชาชีพ ในหลักสตู รที่คุรสุ ภาให้การรบั รอง และผ่านการประเมินเพ่ือต่ออายใุ บประกอบวชิ าชพี ๔. จานวนครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับสวัสดิการ สวัสดิภาพ และการพัฒนา คุณภาพชีวติ ท่ีดี ๕. ร้อยละความพึงพอใจของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ท่ีมีต่อการบริหาร งานบุคคลของขา้ ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๕๓ - กลยทุ ธ์ ๑. วางแผนการผลิต และพัฒนาครู คณาจารย์ อย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับ ความต้องการในการจัดการศึกษาทุกระดบั /ประเภทการศกึ ษา ๒. ปรบั ระบบการผลิตครู คณาจารย์ และบคุ ลากรทางการศึกษาให้มปี ระสทิ ธิภาพ ๓. เร่งรัดพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา รวมท้ังครูประจาการท่ีสอนไม่ตรงวุฒิ ครูท่ีสอน คละชัน้ และครใู นสาขาวชิ าที่ขาดแคลน ๔. สรา้ งขวัญกาลงั ใจ สร้างแรงจงู ใจใหก้ บั ครู คณาจารยแ์ ละบคุ ลากรทางการศกึ ษา ๕. พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลของครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้มี ประสิทธภิ าพ ๖.๓ ยทุ ธศาสตรท์ ี่ ๓ ผลติ และพัฒนากาลังคน รวมท้ังงานวิจยั ที่สอดคลอ้ งกับความต้องการ ของการพัฒนาประเทศ ผลผลิต /ผลลพั ธ์ มีการผลิตและพัฒนากาลังคนด้านอาชีวศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีท่ีมี คุณภาพ เพิ่มจานวนบัณฑิตในสาขาวิชาชีพท่ีขาดแคลน มีสมรรถนะ มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานวิชาชีพ และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ประชาชนได้รับการฝึกอาชีพตามความถนัดและ ความสนใจ รวมท้ังมีผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงพาณิชย์ การให้การ รักษาพยาบาล และการพัฒนาความเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาของภมู ิภาค ตัวชีว้ ดั ภายใต้ยทุ ธศาสตร์ ๑. สัดสว่ นผู้เข้าเรียนระดับมธั ยมศึกษาตอนปลาย ประเภทอาชีวศกึ ษาต่อสายสามัญ (3) ๒. ร้อยละความพึงพอใจของนายจ้างผู้ประกอบการที่มีต่อผู้สาเร็จการศึกษาระดับ อาชวี ศึกษาและระดบั อุดมศกึ ษา (4) ๓. ร้อยละของผู้สาเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษาได้งานทา หรือ ประกอบอาชพี อิสระภายใน ๑ ปี (5) ๔. ร้อยละของผลงานวิจัย นวัตกรรม งานสร้างสรรค์ ส่ิงประดิษฐ์ได้รับการเผยแพร่/ ตพี ิมพ์ (6) ๕. ร้อยละขององค์ความรู้และส่ิงประดิษฐ์ท่ีนาไปใช้ประโยชน์ หรือแก้ไขปัญหาชุมชน ท้องถิน่ (7) ๖. จานวนเครือข่ายการผลิตและพัฒนากาลังคนกับองค์กร /หน่วยงานทั้งในและ ต่างประเทศ ๗. รอ้ ยละเฉล่ียของผู้เรียนในระบบทวภิ าคที ี่เพิ่มขึ้นต่อปี** ๘. รอ้ ยละของผู้เรยี นสายวทิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยี ในสถาบันอดุ มศกึ ษาระดับอนุปริญญา ถงึ ปริญญาตรี ๙. รอ้ ยละของผู้มคี วามสามารถพิเศษดา้ นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดา้ นอืน่ ๆ ท่ีได้รับ การพฒั นาเพ่ิมขึ้น ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบบั ท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๕๔ - กลยุทธ์ ๑. เร่งผลิตและพัฒนากาลังคนสาขาที่จาเป็นต่อการพัฒนาประเทศ อาทิ ด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี แพทย์ และพยาบาล ๒. เร่งผลิตและพัฒนาสมรรถนะกาลังคนด้านอาชีวศึกษาให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง ของเทคโนโลยี และรองรบั พ้นื ที่เขตเศรษฐกจิ พิเศษ ๓. ส่งเสริมภาพลักษณ์การอาชีวศึกษา เร่งปรับค่านิยม และวางรากฐานทักษะอาชีพ ใหแ้ กผ่ ู้เรยี นตั้งแต่วยั การศึกษาข้นั พืน้ ฐาน ๔. สง่ เสรมิ สนับสนนุ การพฒั นาผู้มคี วามสามารถพิเศษอย่างตอ่ เน่อื งทกุ ระดบั ๕. เสริมสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการผลติ และพัฒนากาลังคน โดยสร้างเครือข่าย ความร่วมมือตามรูปแบบประชารฐั ทง้ั ระหว่างองค์กรภายในและตา่ งประเทศ ๖. สง่ เสรมิ งานวจิ ัยและนวตั กรรมทสี่ ามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้จริง ๖.๔ ยุทธศาสตร์ท่ี ๔ ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชวี ติ ผลผลติ /ผลลัพธ์ ผู้เรียนทุกคนเข้าถึงการศึกษาท่ีมีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกันในทุกระดับและประเภท การศึกษา ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายต้ังแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาข้ันพื้นฐาน และสามารถเรยี นรู้จาก แหล่งเรียนรู้ได้อย่างต่อเน่ืองตลอดชีวิต สถานศึกษาในภูมิภาค/ชนบท ได้รับการยกระดับคุณภาพในการ ให้บริการ เด็กพิการและด้อยโอกาสได้รับโอกาสทางการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน รวมทัง้ สามารถเทยี บโอนผลการเรียนและทกั ษะประสบการณ์เพ่ือขอรบั วฒุ กิ ารศึกษาเพ่ิมขึ้นได้ ตวั ชีว้ ัดภายใต้ยุทธศาสตร์ ๑. จานวนปีการศึกษาเฉลย่ี ของคนไทยอายุ ๑๕ - ๕๙ ปี (8) ๒. ร้อยละของกาลงั แรงงานทสี่ าเร็จการศกึ ษาระดับมธั ยมศึกษาตอนตน้ ข้ึนไป (9) ๓. ร้อยละของนกั เรยี นต่อประชากรวยั เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อายุ ๑๕- ๑๗ ปี (10) ๔. ร้อยละของผู้เรียนพิการท่ีข้ึนทะเบียนคนพิการได้รับการพัฒนาสมรรถภาพหรือ บริการทางการศึกษา ๕. ร้อยละของผู้ผ่านการฝึกอบรม/พัฒนาทักษะอาชีพระยะสั้น สามารถนาความรู้ไปใช้ ในการประกอบอาชพี หรือพฒั นางานได้ ๖. จานวนผูร้ บั บริการจากแหลง่ เรยี นรูใ้ นชมุ ชน กลยุทธ์ ๑. ประกันโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาระดับการศึกษาขน้ั พื้นฐานให้แก่ผู้เรียน ในทกุ พ้ืนท่ี ครอบคลมุ ถึงคนพิการ ผู้ดอ้ ยโอกาส และผูม้ คี วามตอ้ งการพิเศษ ๒. ส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบ และการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ท่ีสอดคล้องกับ ความสนใจ และวิถชี วี ิตของผู้เรยี นทุกกลุ่มเปา้ หมาย ๓. เร่งสร้างความเข้มแข็งของระบบการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ให้เกิดผล เปน็ รูปธรรมอย่างกว้างขวาง ๔. จดั หาทนุ และแหล่งทุนทางการศึกษา ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธกิ าร ฉบับท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๕๕ - ๕. เร่งพัฒนาแหล่งเรียนรู้ท่ีเอ้ือต่อการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีความหลากหลาย และสามารถให้บริการไดอ้ ยา่ งท่วั ถงึ ๖.๕ ยทุ ธศาสตร์ที่ ๕ ส่งเสริมและพฒั นาระบบเทคโนโลยดี จิ ทิ ัลเพอ่ื การศกึ ษา ผลผลิต /ผลลพั ธ์ ผู้เรียน สถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับทุกประเภทการศึกษาเข้าถึง ทรัพยากร และระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างท่ัวถึงและมีประสิทธิภาพ มีองค์ความรู้เทคโนโลยี เพื่อการศึกษาเพื่อเพ่ิมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น รวมทั้งมีศูนย์กลางในการจัดเก็บรวบรวมส่ือการเรียน การสอนแบบดจิ ทิ ลั ทีท่ ันสมัย และระบบฐานข้อมูลกลางทางการศกึ ษาของประเทศที่ถกู ตอ้ งและเปน็ ปจั จุบัน ตวั ชีว้ ดั ภายใต้ยทุ ธศาสตร์ ๑. ร้อยละของผู้เรียนในสถานศึกษาท่ีมีการจัดการเรียนการสอนทางไกลด้วยระบบ DLIT, DLTV, ETV มีผลสัมฤทธ์ทิ างการเรียนเฉลย่ี สูงขน้ึ ๒. รอ้ ยละของสถานศึกษาทีไ่ ดร้ บั บรกิ ารอนิ เทอรเ์ นต็ ความเรว็ ไม่ตา่ กวา่ ๓๐ Mbps ๓. จานวนระบบฐานข้อมลู กลางด้านการศกึ ษาของประเทศที่ทันสมยั /เป็นปจั จุบนั กลยทุ ธ์ ๑. พัฒนาระบบเครือข่ายเทคโนโลยีดิจิทัลเพ่ือการศึกษาและการบริหารจัดการที่ทันสมัย และไม่ซ้าซอ้ น ให้ผรู้ ับบริการสามารถเขา้ ถึงได้อย่างทว่ั ถึงและมีประสิทธภิ าพ ๒. พัฒนากระบวนการจัดทาระบบฐานข้อมูลกลางทางการศึกษาของประเทศ ระบบ การรายงานผลของฐานข้อมูลโดยเชื่อมโยงข้อมูลการศึกษาทุกระดับ/ประเภทการศึกษา ให้เป็นอกภาพ เปน็ ปจั จบุ นั และมีมาตรฐานเดยี วกนั ๓. ผลิตและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์หรือส่ือการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกสใ์ หผ้ ู้เรียน สถานศึกษา และหนว่ ยงานทางการศกึ ษาทกุ ระดบั /ประเภทการศึกษา นามาใชเ้ พม่ิ คุณภาพการเรียนรอู้ ยา่ งเปน็ ระบบ ๔. จัดหาอปุ กรณ์ /ทรัพยากรพ้ืนฐานดา้ นเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับผู้เรียนอยา่ งเพียงพอ ทัว่ ถงึ และเหมาะสมกบั การแสวงหาความรดู้ ้วยตนเองอยา่ งต่อเนื่อง ๖.๖ ยุทธศาสตร์ท่ี ๖ พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ในการจดั การศกึ ษา ผลผลติ /ผลลัพธ์ ระบบบริหารจดั การมีความคล่องตัวในการบริหารงานการศึกษามากยิ่งข้ึน มีความโปร่งใส และเป็นท่ียอมรับของผรู้ ับบริการ โครงสร้างของกระทรวงได้รับการปรับปรุงใหม้ ีประสิทธภิ าพโดยการกระจาย อานาจลงไปสู่ส่วนภูมิภาคและสถานศึกษา และมีกลไกการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีสนับสนุนทรัพยากรเพ่ือ การศึกษา สถานศึกษาทุกระดับทุกประเภทมีธรรมาภิบาลในการบรหิ าร รวมท้ังผู้เรียนในพ้ืนท่ีจงั หวัดชายแดน ภาคใตม้ ผี ลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนทสี่ งู ขึ้น มีศกั ยภาพเพือ่ ไปประกอบอาชพี ในท้องถ่นิ ได้ ตัวชี้วดั ภายใต้ยทุ ธศาสตร์ ๑. สัดสว่ นผู้เรยี นในสถานศกึ ษาทุกระดบั ของรฐั ต่อเอกชน (11) ๒. ร้อยละของผู้เรียน เยาวชนและประชาชนในพ้ืนที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับการ พัฒนาศกั ยภาพหรอื ทักษะดา้ นอาชีพ สามารถมงี านทา หรอื นาไปประกอบอาชีพในท้องถิน่ ได้ ๓. ร้อยละของคะแนนเฉล่ียผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพ้ืนทีจ่ งั หวดั ชายแดนภาคใตจ้ ากการทดสอบระดับชาติเพ่มิ ขึน้ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศึกษาของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร ฉบับท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๕๖ - ๔. จานวนภาคเี ครอื ข่ายท่ีเขา้ มามีสว่ นร่วมในการจดั /พฒั นาและสง่ เสรมิ การศึกษา (12) ๕. ร้อยละของคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดาเนินงานของ หนว่ ยงาน ๖. จานวนโรงเรียนขนาดเล็กท่ีได้รับการบริหารจัดการเพ่ือเข้าสู่ระบบโรงเรียนเครือข่าย กลยุทธ์ ๑. ปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการการศึกษาให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล โดยเน้น ด้านคณุ ธรรม ความโปร่งใส ทงั้ ในระดบั ส่วนกลาง และในพน้ื ทร่ี ะดบั ภาค/จงั หวัด ๒. พฒั นาระบบบรหิ ารงานงบประมาณ/การเงนิ ให้มีประสิทธิภาพ ๓. ยกระดับคุณภาพการศึกษาตอบสนองการสร้างอาชีพและเพิ่มคุณภาพชีวิต ลดวาม เหล่อื มลา้ สรา้ งความสมานฉนั ท์ และเสริมสรา้ งความมั่นคงในจงั หวดั ชายแดนภาคใต้ ๔. เร่งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมรับผิดรับชอบในการจัดการศึกษา รวมท้ัง สนบั สนุนทรัพยากรเพ่ือการศึกษา ๕. เสริมสร้างภาพลักษณ์หน่วยงานให้เกิดความร่วมมือ และสร้างเครือข่าย/ความเป็น ภาคีหนุ้ ส่วนกับองคก์ รทง้ั ภายในและต่างประเทศ ๖. สง่ เสรมิ และขยายผลให้สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐานที่มีความพร้อม พัฒนา เป็นสถานศึกษานิติบคุ คลในกากบั หมายเหตุ : ๑. (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) (11) (12) หมายถึง ตวั ช้ีวดั ที่ปรากฏทัง้ ในเป้าหมายหลักของแผนฯ และปรากฏในระดบั ยุทธศาสตร์ ๒. ** หมายถึง ตัวช้ีวัดและค่าเป้าหมาย ท่ีนามาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. 2560 – 2564) ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศึกษาของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร ฉบบั ท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๕๗ - สว่ นที่ ๕ : การนาแผนพัฒนาการศกึ ษาฯ ไปสูก่ ารปฏิบัติ ๑. เงื่อนไขและกลไกความสาเร็จของแผนพัฒนาฯ การนาแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสาเร็จตามเป้าหมายนั้น จาเป็นต้องอาศัยส่วนราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ท้ังในแนวระนาบคือองค์กรหลักและหน่วยงานในกากับ และในแนวดิ่งคือสานักงานศึกษาธิการภาค/จังหวัด ท่จี ะร่วมผลักดนั การดาเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ทก่ี าหนดไว้ และจาเป็นอย่างย่งิ ท่ีจะต้องมกี ารสรา้ ง ความตระหนักในการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ และสร้างการสื่อสารถ่ายทอดสาระสาคัญของแผนพัฒนาฯ ระหว่างส่วนราชการท้ังในแนวระนาบและแนวดิ่ง ซ่ึงมีเง่ือนไขทส่ี าคัญคือ การกาหนดเจ้าภาพหลักผ้รู ับผิดชอบ ในแตล่ ะตัวชว้ี ัดภายใตแ้ ผนพฒั นาฯ ท้ังน้ี มีกลไกสาหรับการผลกั ดันแผนพัฒนาฯ ไปสกู่ ารปฏิบตั ดิ งั นี้ ๑.๑ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ควรให้ความสาคัญในการใช้แผนพัฒนา การศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) เป็นกรอบทิศทางในการบริหารงาน และการจัดทาแผนพัฒนาการศึกษาในระดับกรม ที่สาคัญควรมีการกากับติดตามการปฏิบัติงานให้เป็นไปตาม ตัวชวี้ ัดตามเป้าหมายหลกั /ตัวช้วี ัดรายยุทธศาสตร์ภายใตแ้ ผนพัฒนาฯ รวมท้ังควรดาเนนิ การช้ีแจงสร้างความรู้ ความเข้าใจท่ีชัดเจนในสาระสาคัญของแผนพัฒนาฯ ให้ผู้บริหารของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงได้รบั ทราบ และมุ่งเนน้ ให้ความสาคญั ตอ่ การผลกั ดันกลยทุ ธ์ภายใต้แผนพัฒนาฯ ไปสกู่ ารปฏิบตั ิ ๑.๒ จัดทาแผนปฏิบัติราชการประจาปีของกระทรวงศึกษาธิการ โดยยึดสาระสาคัญของ แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) มาใช้วิเคราะห์กาหนด แผนงาน/โครงการที่มีความสาคัญสูง สาหรับการนาไปสู่การขอจัดตั้งงบประมาณของกระทรวงในแต่ละ ปงี บประมาณ เพ่อื รองรบั การดาเนินงานตามยทุ ธศาสตรท์ ่ีไดร้ ะบุไวภ้ ายใตแ้ ผนพฒั นาฯ ๑.๓ หน่วยงานในส่วนกลางระดับกรมจัดทาแผนปฏิบัติราชการ โดยยึดสาระสาคัญของ แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับท่ี ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) มาใช้วิเคราะห์กาหนด แผนงาน /โครงการในแต่ละปี เพื่อนาไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ท่ีสาคัญควรกาหนดตัวชี้วัดภายใต้ แผนปฏิบัตริ าชการประจาปีของหนว่ ยงานในส่วนกลาง ให้สอดคล้องเช่อื มโยงกับตวั ชี้วัดของแผนปฏบิ ัตริ าชการ ประจาปีของกระทรวงฯ ๑.๔ สานักงานศึกษาธิการภาค/จังหวัด จัดทาแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติ ราชการประจาปีระดับภาค/จังหวัด โดยยึดสาระสาคัญของแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบบั ท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) และแผนปฏิบัติราชการประจาปขี องกระทรวงตามขอ้ ๑.๒ มาใช้เปน็ กรอบ ในการวิเคราะห์กาหนดแผนงาน/โครงการท่ีมีความสาคัญสูง เพื่อรองรับการดาเนินงานตามยุทธศาสตร์และ กลยุทธ์ท่ีได้ระบุไวใ้ นแต่ละด้าน รวมทั้งควรกาหนดตัวชี้วดั ภายใต้แผนปฏิบัติราชการประจาปีของภาค/จังหวัด ใหส้ อดคลอ้ งเช่ือมโยงกับตวั ช้ีวัดของแผนพัฒนาการศกึ ษาของภาค/จงั หวัด ๑.๕ กลไกการบรหิ ารจดั การ ซึง่ ประกอบด้วย คณะกรรมการขบั เคลือ่ นการปฏิรูปการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ทมี่ ีอานาจหนา้ ท่กี าหนดทิศทางในการดาเนินงานของกระทรวงศึกษาธกิ าร ในระดับภูมิภาคหรือจังหวดั และพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับ ภูมิภาคหรือจังหวัด และคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ที่มีอานาจหน้าที่กาหนดยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการศึกษา และส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กร ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศกึ ษาของกระทรวงศึกษาธกิ าร ฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๕๘ - เอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ในรูปแบบที่หลากหลาย ในแต่ละจังหวดั โดยพิจารณาใช้แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ตามข้อ ๑.๑ และ ๑.๔ และควรให้ความสาคัญกับการผลักดันแผนงาน/โครงการที่ สามารถรองรับกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ท้ังน้ี ควรจัดทาระบบการรายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อรับทราบปัญหา อปุ สรรค สาหรับทบทวนและกาหนดแนวทางเพื่อปรับปรุงกลยทุ ธ์และกระบวนการปฏิบตั ิงาน รวมทั้งการแกไ้ ข ปัญหาอย่างตอ่ เน่ือง ๒. แนวทางการดาเนนิ งานทส่ี าคัญในการขับเคลอ่ื นยุทธศาสตร์ ในการขับเคลอ่ื นแผนพัฒนาการศกึ ษาของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ไปสู่การปฏิบัติ นอกเหนือจากการนายุทธศาสตร์และกลยุทธ์ไปใช้ในการวิเคราะห์กาหนดแผนงาน/โครงการ ของหน่วยงานในสงั กดั กระทรวงทั้งในแนวระนาบและแนวด่ิงแล้ว กระทรวงและหน่วยงานในสังกดั ยังสามารถ พิจารณานาประเด็นแนวทางท่ีสาคัญภายใต้แต่ละยุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้ มาใช้กาหนดแผนงาน/โครงการ/ กิจกรรม/งาน สาหรับการดาเนนิ การได้ ๒.๑ ยุทธศาสตรพ์ ฒั นาหลักสตู ร กระบวนการจัดการเรยี นการสอน การวัดและประเมินผล - กาหนดมาตรฐานหลักสตู รตามระดับช่วงชัน้ และมาตรฐานสมรรถนะวชิ าชีพที่สอดคลอ้ ง กบั ความตอ้ งการของสถานศกึ ษาและสถานประกอบการ เพ่อื การจัดกระบวนการเรยี นการสอนของสถานศึกษา และการฝกึ ปฏิบัติในสถานประกอบการ - วิจัยและพัฒนาหลักสูตรเพ่ือให้เกิดระบบหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ องค์ความรู้และฐานข้อมูลท่ีเกิดขึ้นจากระบบการศึกษา โดยพัฒนาระบบคิดแก้ปัญหาและความคิดเชิง สรา้ งสรรค์ให้ผเู้ รียน เพ่อื ใหเ้ กดิ คณุ ภาพในองค์ความร้แู ละทักษะต่างๆ สอดคล้องในแนวทางเดียวกับการพัฒนา ของประเทศอืน่ ๆ ท่ีใช้ OECD – PISA กาหนดไวเ้ ปน็ หลกั สูตรสากล - จัดหลักสูตรการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างเข้มข้นตามข้อตกลงของ AEC เพื่อรองรับ การทางานของอาเซียนได้ตามข้อตกลงฯ และสามารถนาไปต่อยอดค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเป็นภาษาทาง คอมพวิ เตอร์และเทคโนโลยี - จัดให้มีหน่วยงานกลางทาหน้าท่ีวิจัย พัฒนา และจัดทาหลักสูตรการศึกษา หนังสือ เรียน หรือตาราเรียนท่ีเป็นแก่นหลักตามหลักสูตรและมาตรฐานกลาง รวมท้ังจัดทาคู่มือการประเมินผลตาม หลกั สตู รการศกึ ษา - จัดทาแผนการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ท้ังระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวอย่างเป็นระบบ และสามารถนาไปปรบั ปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อเหตุการณ์และสถานการณ์ของ สงั คมโลก - ปรับปรุงหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละช่วงวัย ทกั ษะในการดารงชวี ติ และบรบิ ทของสภาพภมู ิประเทศอยา่ งเหมาะสม - ลดวิชาเรียนในช้ันเรียนและบูรณาการวิชาเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีเวลาพัฒนาทักษะการ เรียนรู้นอกห้องเรยี น ใหเ้ หมาะสมกบั ผ้เู รยี นแตล่ ะระดบั ชว่ งช้ัน สง่ เสริมการพัฒนาการดาเนินชีวิตและจิตอาสา ต่อการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ และจัดกิจกรรมเสริมทักษะผู้เรียนให้สอดคล้องกับนโยบาย การปรบั ลดเวลาเรียนในชัน้ เรยี น รวมท้ังจัดการเรียนรูโ้ ดยบูรณาการวชิ าประวัติศาสตร์ หนา้ ท่ีพลเมอื ง ศลี ธรรม ในทกุ กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศกึ ษาของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๕๙ - - นาเทคนิควิธีการแจกรูปสะกดคา มาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนระดับ ประถมศกึ ษาอย่างเข้มข้น เพื่อแกป้ ญั หาเดก็ นกั เรียนอ่านหนงั สอื ไม่ออก เขียนหนังสอื ไมไ่ ด้ - ปรับเปล่ียนวิธีการเรียนการสอนจากการบอกเล่าโดยครู มาเป็นกระบวนการออกแบบ วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมกับศักยภาพผู้เรยี น เพอื่ ให้เกดิ กระบวนการ คิดเป็น ทาเปน็ แกป้ ัญหาเป็น วิพากษว์ ิจารณ์เป็นอยา่ งสรา้ งสรรค์ - นาร่องและขยายผลการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนต้นแบบในพื้นที่ ที่นักเรียน ส่วนใหญ่มีคะแนนทดสอบทางการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน (O-Net) อยู่ในระดับดี ไปยังโรงเรียนท่ีอยู่ในบริเวณ ใกล้เคยี ง - พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งที่ได้จากการเรียนรู้ ในระบบการศึกษา การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งประสบการณ์จากการทางาน เพื่อยกระดบั คุณวฒุ ิของผู้เรยี นภายใต้กรอบคุณวฒุ ิแหง่ ชาติ - พัฒนาระบบคลังข้อสอบเพื่อการทดสอบวัดผลการเรียนรู้ด้านทักษะความรู้ ความสามารถของผู้เรียน - พัฒนาตาราภูมิปัญญาท้องถ่ิน ตาราพหุวัฒนธรรมที่มีมิติการเรียนรู้เชิงบูรณาการ (Blended Based Learning) ท่ีให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะชีวิตของตนเองเช่ือมโยงกับภูมิปัญญาและ ภูมสิ งั คมได้ - สนับสนุนหนังสือเรียนอิเลคทรอนิกส์ (e-Book) และหุ่นจาลองสื่อส่ิงพิมพ์อ่ืนๆ (e-Journal) รวมท้ังเอกสารและส่ืออิเลคทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ (Life Long Learning) เชื่อมโยงกับการศกึ ษาทกุ ระดบั ตั้งแต่ระดบั ปฐมวยั - ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อให้ความรู้ สร้างความตระหนักในเรื่อง ประวตั ิศาสตรข์ องชาติ การอนรุ ักษศ์ ลิ ปะ วฒั นธรรม ประเพณที ่ดี งี ามของไทย ๒.๒ ยทุ ธศาสตรผ์ ลติ พฒั นาครู คณาจารยแ์ ละบคุ ลากรทางการศึกษา - กาหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติของสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อมในการผลิตบัณฑิต สาขาครุศาสตร์ /ศกึ ษาศาสตร์ โดยจาแนกตามสาขาวชิ าท่ีมคี วามตอ้ งการจาเป็น - กาหนดให้มีสถาบันผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษาในสาขาเฉพาะทางให้มีคุณภาพ อย่างเข้มข้นท่ีสอดคล้องกับบริบทการแก้ปัญหานักเรียนแต่ละระดับและบริบทการจัดการศึกษา ทั้งการศึกษา ปฐมวัย การศึกษาพิเศษ การจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศในด้านต่างๆ โดยเน้นการผลิตในระบบจากัด - ทบทวนและปรับปรุงระบบการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ให้เอื้อต่อการแก้ไข ปญั หาความขาดแคลนครใู นสาขาวิชาท่ีขาดแคลน ครใู นพน้ื ทท่ี รุ กันดาร และครูด้านอาชวี ศกึ ษา - ปรับเกณฑ์กาหนดอัตราครูต่อนักเรียน เพ่ือให้มีอัตรากาลังครูกับการพัฒนาผู้เรียน ทีเ่ หมาะสมกบั ระดับและประเภทการศึกษา - คืนครูสู่ห้องเรียนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพ่ือให้ครทู าหน้าท่ีจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามหน้าที่อย่างแท้จริง ส่วนภารกิจของโรงเรียนในด้านอื่นๆ ให้จัดหาบุคลากรฝ่ายสนับสนุนที่มีความรู้เฉพาะ มาดาเนนิ การแทน - ให้ครจู ดั กิจกรรมการเรยี นรู้แกผ่ เู้ รียนตรงตามสาขาวิชาเอกท่ีจบการศึกษา ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพัฒนาการศกึ ษาของกระทรวงศึกษาธกิ าร ฉบับท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๖๐ - - ผ้บู ริหารสถานศึกษาควรปฏบิ ัติหนา้ ทโ่ี ดยยึดการบรหิ ารในดา้ นคณุ ภาพผู้เรียนเป็นสาคัญ มีการพิจารณาประเมินผลงานจากผลสมั ฤทธิ์และคุณภาพผูเ้ รียนตามข้อตกลงท่ีผู้บรหิ ารสถานศึกษาได้ทาไว้กับ หนว่ ยงานต้นสังกดั - พัฒนาครูให้มีศักยภาพในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย เหมาะสมกบั การพัฒนาผเู้ รยี นในบรบิ ททป่ี ระสบอยู่ได้อยา่ งมีคุณภาพ และมีการนาไปใช้อย่างจริงจัง - กาหนดให้สถาบันที่มีหน้าท่พี ัฒนาครู และผบู้ รหิ ารสถานศึกษา ให้มคี วามรู้ความเข้าใจ ในเร่ืองระบบหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และสามารถบรรลุเป้าหมายคุณภาพผู้เรียน ตามหลกั สูตรทกี่ าหนด - กระจายการพัฒนาครูให้แต่ละพื้นที่ได้พิจารณาดาเนินการเอง เพื่อส่งผลให้การพัฒนา ผู้เรียนสามารถเป็นไปตามบริบทท้ังสภาพภูมิศาสตร์ สภาพปัจจุบัน และศักยภาพของผู้เรียนท่ีมีความใกล้เคียงกัน - นิเทศติดตาม กากับ และประเมินผล ภายหลังจากที่มีการพัฒนาครูอย่างเป็นระบบ ตอ่ เนื่อง โดยพจิ ารณาจากผลสมั ฤทธ์แิ ละคุณภาพผู้เรยี น - ปรับเปลี่ยนเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะครูโดยใช้คุณภาพผู้เรียนตามเป้าหมาย ทห่ี ลกั สูตรกาหนด และให้ผู้มีส่วนไดส้ ่วนเสียที่เกย่ี วข้องกบั คณุ ภาพผูเ้ รียนโดยตรง เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน วทิ ยฐานะ - สร้างแรงจูงใจในการปฏบิ ัตงิ านของครูและบคุ ลากรทางการศึกษาด้วยคา่ ตอบแทนและ ความก้าวหนา้ ในวิชาชพี โดยพิจารณาจากคุณภาพผู้เรยี น และตามสภาพบรบิ ทของผเู้ รียนและลักษณะพ้ืนท่ี - แก้ไขปัญหาหนี้สินครูอย่างเป็นระบบ และเน้นปลูกฝังค่านิยมความพอเพียงให้แก่ครู ในการดารงชวี ิต - ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารงานบุคคลของครู ผู้บรหิ าร และ บุคลากรทางการศึกษา ใหท้ นั สมัยสอดคลอ้ งกบั สภาวการณ์ - สร้างบ้านพักครูให้เหมาะสมเพียงพอในพื้นที่ที่มีความขาดแคลนครู เพ่ือเป็นการสร้าง ขวญั กาลงั ใจและลดปัญหาการขอโยกย้ายออกจากพืน้ ที่ ๒.๓ ยุทธศาสตร์ผลิตและพัฒนากาลังคน รวมทั้งงานวิจัยท่ีสอดคล้องกับความต้องการ ของการพัฒนาประเทศ - ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการในทุกภาคที่มีกลุ่ม อุตสาหกรรมตั้งอยู่ จัดการเรียนการสอนในระดับอาชีวศึกษาด้วยระบบทวิภาคี ท่ีเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถ เลือกอาชีพได้ก่อนเลอื กวชิ าเรยี น - สร้างระบบการผลิตและพัฒนากาลังคนท่ีมีการเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษา และอุดมศกึ ษาใหไ้ ด้คุณภาพมาตรฐานระดับสากล สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และภาคธรุ กจิ ด้านการบริการในกลมุ่ ประเทศ AEC รวมทง้ั สอดคลอ้ งกบั ทศิ ทางนโยบาย Thailand 4.0 - จัดทาระบบเทียบโอนความรู้และทักษะปฏิบัติของผู้เรียนจากงานอาชีพของผู้เรียน ในสถานประกอบการและแหล่งเรียนรตู้ ่างๆ - ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กรท่ีเกี่ยวข้องกับการกาหนดมาตรฐานและคุณวุฒิ วชิ าชีพเพ่อื ใหเ้ ป็นมาตรฐานเดยี วกัน และสามารถเทียบโอนวุฒิการศกึ ษาจากประสบการณ์และการทางานจรงิ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพัฒนาการศกึ ษาของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๖๑ - - สร้างความพร้อมกลุ่มเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ในพ้ืนท่ี สูท่ ิศทางการทางานท่ีสอดคลอ้ งกบั การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพเิ ศษ - เพ่ิมขีดความสามารถและทักษะการทางานของประชากรวัยแรงงานร่วมกับผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในแตล่ ะจงั หวัด - วิจัยและพัฒนาระบบข้อมูลด้านการศึกษาท่ีมีความจาเป็นต่อการกาหนดนโยบาย พัฒนากาลังคนของจงั หวัดและกลมุ่ จงั หวัด - สนับสนุนให้สถาบันอาชีวศึกษาสามารถจ้างผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์ จากสถานประกอบการเข้ามาเปน็ อาจารย์ผู้สอนใหม้ ากขนึ้ ๒.๔ ยุทธศาสตร์ขยายโอกาสการเข้าถึงบรกิ ารทางการศึกษา และการเรยี นรู้อย่างตอ่ เนื่อง ตลอดชวี ติ - พัฒนาโรงเรียนที่มีสภาพแวดล้อมและคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับค่อนข้างต่า (โรงเรียน ICU ท่ัวประเทศ) ให้มีห้องเรียนที่เพียงพอ มีครูครบชั้น มีสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่ครบครัน มีโรงอาหารท่ถี กู สุขลกั ษณะ มบี รรยากาศและสิ่งแวดล้อมท่ีเอือ้ ต่อการเรยี นรู้ - ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนจัดแหล่งเรียนรู้ทั้งในพ้ืนท่ีตามภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะด้าน วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี โดยอาศยั ความร่วมมือของภาคสว่ นตา่ งๆ ทัง้ ภาครัฐ เอกชน องคก์ รชุมชน - พัฒนาความสมบูรณ์ในการใช้งานระบบเทียบโอนและการจัดเก็บหน่วยกิตของการเรียนรู้ การประเมนิ จบระดบั การศกึ ษาเพอ่ื สนองการพัฒนาศกั ยภาพของแตล่ ะบคุ คล - พัฒนาระบบจัดสรรทุนการศึกษาให้เพียงพอ และเหมาะสมกับความต้องการของ ผ้เู รียน ทั้งทุนใหเ้ ปล่าและทนุ กู้ยืมเพื่อการศึกษา - สนับสนุนค่าใช้จ่ายและปัจจัยพื้นฐานให้เพียงพอกับความต้องการจาเป็นของ สถานศึกษาทม่ี ีความขาดแคลน - ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีมาตรฐาน สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นท่ี ชุมชน ทอ้ งถิน่ โดยเฉพาะวัยกาลังแรงงานและผูส้ งู อายุ - รณรงค์อย่างต่อเน่ืองให้คนไทยมีนิสัยรักการอ่านหนังสือ และพัฒนาห้องสมุด ประชาชนให้สามารถเข้าถึงง่ายในทุกพ้ืนท่ี - พัฒนาค่ายลูกเสือ เนตรนารี ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และจัดกิจกรรมเสริมสร้างระเบียบ วนิ ัยแก่เดก็ เยาวชน และประชาชนทว่ั ไป - จัดต้ังศูนย์อาเซยี นศึกษาในทุกภมู ภิ าค โดยร่วมกบั ภาคเอกชน องค์กรชมุ ชน - สร้างและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ให้กับเยาวชน ประชาชนในพ้ืนท่ีสูง พื้นที่ตามแนว ตะเขบ็ ชายแดน และพื้นท่ีเกาะแกง่ ชายฝ่ังทะเล ๒.๕ ยทุ ธศาสตร์ส่งเสรมิ และพฒั นาระบบเทคโนโลยีดจิ ิทัลเพื่อการศกึ ษา - พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีเครือข่ายเรียนรู้ทางการศึกษาทั้งระบบ ให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นท่ี โดยการจัดการฐานข้อมูลด้วยระบบ cloud computing ท่ีมีมาตรฐานจัดเก็บ นาเขา้ และแจกจา่ ย content และ courseware เดยี วกัน - ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLIT, DLTV) ที่ส่งออกอากาศในระบบ Satellite TV และ IPTV ท่ีมีประสิทธภิ าพสงู และสนับสนุนทรัพยากร ให้โรงเรียนที่ขาดแคลนได้รับอุปกรณ์เครื่องมือ Hardware และ Software ที่ทันสมัยมารองรับการศึกษา ทางไกล ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพัฒนาการศกึ ษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบบั ท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๖๒ - - ประสานงานหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องเพ่ือพัฒนาระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง Fiber optic และอินเตอร์เน็ตไร้สาย ให้สามารถใช้งานด้านการศึกษาอย่างไม่จากัด สามารถส่งข้อมูลจานวน มากได้อย่างครอบคลมุ ทว่ั ถึงทกุ พน้ื ที่ในระบบ WiFi - จัดระบบการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Virtual Classroom) มีระบบ ฐานข้อมลู การเรียนรู้ของผูเ้ รยี นท่สี ามารถเขา้ ถึงได้ง่ายและสามารถเรยี นรู้ไดต้ ลอดเวลา - พัฒนาห้องสมุดอิเลคทรอนิกส์ (e – Library) ให้ได้มาตรฐาน เพื่อการเรียนรู้อย่าง ต่อเนอ่ื งตลอดชีวติ - พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) อย่างต่อเนื่องให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการฝึกฝนและประเมินความรู้ด้วยตนเอง และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นปกติ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาทักษะ และสร้างนวัตกรรมพัฒนาบทเรียนผ่านส่ือ อเิ ล็กทรอนกิ ส์ (online Tutoring) ดว้ ยตนเองของผู้เรียน ๒.๖ ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการ จดั การศึกษา - ทบทวนปรับปรุงบทบาทอานาจหน้าที่ของหน่วยงานส่วนกลาง โดยเน้นการกากับดูแล การอานวยการ และการให้คาแนะนาแก่หนว่ ยงานสงั กัดกระทรวงในส่วนภูมิภาค /จงั หวัด - ทบทวนปรับปรุงกฎหมาย กฎกระทรวง กฎระเบียบท่ีเก่ียวข้องให้มีความทันสมัย เหมาะสม เอ้อื ต่อการปฏบิ ัติงานทม่ี ปี ระสิทธิภาพของหน่วยงานในสังกดั กระทรวง - ส่งเสริมโรงเรียนขนาดเล็กให้รวมตัวกันเป็นเครือข่ายจัดตั้งเป็นนิติบุคคล รวมท้ัง ส่งเสรมิ การใช้ทรัพยากรรว่ มกันระหว่างสถานศึกษา - พัฒนากลไกการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาไปยังสถานศึกษาตาม ความตอ้ งการจาเป็นและสภาพปญั หาทีแ่ ทจ้ รงิ - วจิ ัยและพัฒนารปู แบบการบริหารจดั การการศกึ ษาทุกระดับ/ประเภทโดยยึดพ้ืนที่เป็น ฐาน (Cluster - based, Area - based) - สร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัย/ สถาบนั การศกึ ษา กบั สถานศึกษาในภูมภิ าค/จังหวดั อยา่ งตอ่ เน่ือง - เยียวยาครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษาท่ีได้รับผลกระทบจาก เหตุการณค์ วามไม่สงบในจงั หวัดชายแดนภาคใต้ตามหลักเกณฑท์ กี่ าหนด - พัฒนาทักษะด้านอาชีพให้เยาวชน ประชาชน สามารถประกอบอาชีพในบริบทพ้ืนท่ี ชมุ ชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ - ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม การขจัดความขัดแย้ง กิจกรรมสง่ เสริมสนั ติศึกษา ปลกู ฝังจติ สานึกด้านความมั่นคงในพ้นื ทช่ี ุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศกึ ษาธิการ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๖๓ - จากการกาหนดเง่ือนไข กลไก และแนวทางท่ีสาคัญในการนาแผนพัฒ นาการศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการ ฉบบั ท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ไปสกู่ ารปฏบิ ัตติ ามข้างต้น ซ่ึงหากหนว่ ยงานในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการท้ังในระดับส่วนกลาง ระดับภูมิภาค และระดับสถานศึกษา ได้นามาพิจารณาใช้วิเคราะห์ เป็นแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม/งาน รวมท้ังมีการกาหนดกรอบเวลาและกาหนดผู้รับผิดชอบการปฏิบัติ ในทุกข้ันตอนของการดาเนินการอย่างจริงจังแล้ว จะสามารถส่งผลต่อการบรรลุความสาเร็จตามเป้าหมายหลัก และเกิดผลผลิต ผลลัพธ์ที่กาหนดไว้ในในระดับยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ท่ีสาคัญคือจะเกิดผลประโยชน์ ต่อเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้รับบริการจากกระทรวงศึกษาธิการได้อย่างเป็นรูปธรรม สอดคลอ้ งกบั ทศิ ทางการพัฒนาประเทศตามกรอบหลกั การฯ ท่ีไดร้ ะบไุ วใ้ นสว่ นท่ี ๒ แผนภาพ 2 : กลไกการขบั เคลอื่ นแผนพฒั นาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ไปส่กู ารปฏบิ ัติ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศกึ ษาของกระทรวงศกึ ษาธิการ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๖๔ - ส่วนที่ ๖ : การประเมนิ แผนพฒั นาการศึกษาฯ ความสาเร็จของการดาเนนิ งานตามแผนพฒั นาการศกึ ษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) จาเป็นอย่างยิ่งท่ีจะต้องมีการติดตามประเมินผลตามตัวชี้วัดท่ีสะท้อนความก้าวหน้า ของผลผลิตและผลลัพธ์ในการดาเนินการ ซ่ึงประกอบด้วยตัวชี้วัดตามเป้าหมายหลัก ๑๔ ตัวช้ีวัด ซ่ึงถือเป็น การประเมินความสาเร็จในภาพรวม และตัวช้ีวัดการประเมินในระดับยุทธศาสตร์รวม ๓๓ ตัวช้ีวัด ทง้ั นี้ กระทรวงศกึ ษาธิการจะต้องให้ความสาคัญกบั การติดตามความก้าวหน้าและผลกระทบของการดาเนินงาน ในภาพรวมของแผนฯ อย่างตอ่ เน่ือง โดยเจ้าภาพหลักผู้รับผิดชอบในแต่ละตัวช้ีวัดภายใตแ้ ผนพฒั นาฯ ควรจะมี การประสานงานกับหน่วยงาน/คณะกรรมการในระดับต่างๆ และสร้างกลไกการเช่ือมโยงเครือข่ายข้อมูล ระหว่างหน่วยงานส่วนกลาง สานักงานศึกษาธิการภาค สานักงานศึกษาธิการจังหวัด สานักงานเขตพ้ืนท่ี การศึกษา และสถานศึกษาให้เป็นระบบ และเกิดความสะดวกต่อการจัดเก็บข้อมูล/สถิติท่ีสะท้อนผลการ ดาเนินงานจริงในแต่ละตัวช้ีวัด จากน้ันจึงนามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายตามตัวชี้วัดที่ระบุไว้ใน เปา้ หมายหลัก และคา่ เป้าหมายตามตัวชีว้ ัดที่ระบุไวใ้ นรายยทุ ธศาสตร์ภายใต้แผนพัฒนาฯ ดงั นี้ ๑. การประเมินความสาเร็จในภาพรวมของแผนพัฒนาฯ เป้าหมายหลกั ตวั ช้วี ัด หน่วยงาน คา่ เป้าหมายตามตัวช้ีวัด เจา้ ภาพฯ ปี ๒๕๖๐ ปี ๒๕๖๑ ปี ๒๕๖๒ ปี ๒๕๖๓ ปี ๒๕๖๔ ๑.คณุ ภาพ ๑.ผลคะแนน สสวท. - ๔๖๐ - - ๕๐๐** การศกึ ษาของ สอบ PISA สทศ. คะแนน คะแนน ไทยดขี ึน้ คนไทย ในแต่ละ (PISA (PISA มีคณุ ธรรม วชิ า** 2018) 2021) จริยธรรม มี ภูมคิ มุ้ กันต่อ - การอา่ น เพิ่มข้นึ เพ่ิมขึน้ เพม่ิ ขน้ึ เพ่ิมขน้ึ เพ่ิมขึ้น การเปลี่ยน - คณิตศาสตร์ รอ้ ยละ ร้อยละ รอ้ ยละ รอ้ ยละ ร้อยละ แปลงและการ - วิทยาศาสตร์ พัฒนาประเทศ ๓ ๓ ๓ ๓ ๓ ในอนาคต ๒.ร้อยละท่ี ของปี ของปี ของปี ของปี ของปี เพ่ิมข้นึ ของ ทผี่ า่ นมา ทผ่ี า่ นมา ทผี่ ่านมา ทีผ่ า่ นมา ทผ่ี ่านมา คะแนนเฉลี่ย ผลสมั ฤทธิ์ ทางการเรยี น วิชาหลกั ระดบั การ ศกึ ษาข้นั พื้นฐานจาก การทดสอบ ระดับชาติ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศกึ ษาของกระทรวงศกึ ษาธิการ ฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๖๕ - เปา้ หมายหลกั ตวั ชี้วัด หน่วยงาน คา่ เปา้ หมายตามตัวชี้วัด ๒.กาลงั คนได้รับ เจ้าภาพฯ ปี ๒๕๖๐ ปี ๒๕๖๑ ปี ๒๕๖๒ ปี ๒๕๖๓ ปี ๒๕๖๔ การผลิตและ x พฒั นาเพื่อเสริม ๓.รอ้ ยละ สป. กาหนดคา่ x - x - สรา้ งศกั ยภาพ - - + รอ้ ยละ การแขง่ ขันของ คะแนน (สรา้ ง + ร้อยละ ๒๐ ของปี ประเทศ เฉลย่ี ของ เครื่องมอื วดั ) ๑๐ ของปี ๒๕๖๐ ๒๕๖๐ ผู้เรยี นที่มี x x คณุ ธรรม + ร้อยละ + ร้อยละ ๒๐ ของปี จริยธรรม(1) ๑๐ ของปี ๒๕๖๐ ๒๕๖๐ ๔.รอ้ ยละ สป. กาหนดคา่ x ๕๐ : ๕๐ (ปวช. ๑ คะแนนเฉลีย่ (สร้าง : ม.๔) ของผเู้ รยี น เคร่ืองมอื วัด) ร้อยละ ๙๕ ทกุ ระดับการ ศึกษามีความ เปน็ พลเมอื ง และพลโลก(2) ๕.สัดสว่ น สป. ๔๐ : ๖๐ ๔๒ : ๕๘ ๔๔ : ๕๖ ๔๗ : ๕๓ ผูเ้ ขา้ เรียน (ปวช. ๑ (ปวช. ๑ (ปวช. ๑ (ปวช. ๑ ระดบั มัธยม : ม.๔) : ม.๔) : ม.๔) : ม.๔) ศกึ ษาตอน ปลาย ประเภท อาชวี ศกึ ษา ต่อสาย สามัญ(3) ๖.รอ้ ยละความ สกอ. รอ้ ยละ รอ้ ยละ รอ้ ยละ ร้อยละ พงึ พอใจของ สอศ. ๘๐ ๘๕ ๙๐ ๙๐ นายจ้าง ประกอบการ ท่ีมีต่อ ผู้สาเร็จการ ศึกษาระดับ อาชวี ศึกษา และระดบั อุดมศกึ ษา ที่ทางาน ให้(4) ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศึกษาของกระทรวงศกึ ษาธิการ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๖๖ - เปา้ หมายหลัก ตวั ชีว้ ดั หน่วยงาน ปี ๒๕๖๐ คา่ เปา้ หมายตามตัวชี้วดั ปี ๒๕๖๔ เจา้ ภาพฯ รอ้ ยละ ปี ๒๕๖๑ ปี ๒๕๖๒ ปี ๒๕๖๓ รอ้ ยละ ๓.มีองค์ความรู้ ๗๖ รอ้ ยละ รอ้ ยละ ร้อยละ ๘๕ เทคโนโลยี ๗.ร้อยละของ สกอ. นวัตกรรม ผูส้ าเรจ็ การ สอศ. รอ้ ยละ ๘๐ ๘๕ ๘๕ ร้อยละ สนับสนุนการ ศกึ ษาระดับ ๖๕ ๘๕ พัฒนาประเทศ รอ้ ยละ๘ รอ้ ยละ รอ้ ยละ อย่างย่งั ยืน อาชวี ศกึ ษา รอ้ ยละ ๗๐ ๗๕ ๘๐ รอ้ ยละ ๖๕ ๘๕ ๔.คนไทยไดร้ ับ และระดับ รอ้ ยละ๘ รอ้ ยละ รอ้ ยละ โอกาสในเรยี นรู้ อุดมศึกษาได้ ๑๐.๒ ปี ๗๐ ๗๕ ๘๐ ๑๒.๐ ปี อย่างตอ่ เน่ือง ตลอดชวี ิต งานทาหรอื ๑๐.๕ ปี ๑๑.๐ ปี ๑๑.๕ ปี ประกอบ อาชีพอสิ ระ ภายใน ๑ ปี(5) ๘. รอ้ ยละของ สกอ. ผลงานวิจัย สอศ. นวัตกรรม งานสร้าง สรรคส์ ิ่ง ประดิษฐ์ ไดร้ บั การ เผยแพร่/ ตีพมิ พ(์ 6) ๙.รอ้ ยละของ สกอ. องคค์ วามรู้ สอศ. และส่ิง ประดิษฐ์ ทน่ี าไปใช้ ประโยชน์ หรือแกไ้ ข ปญั หาชมุ ชน ทอ้ งถ่นิ (7) ๑๐.จานวนปี สกศ. การศึกษา เฉลีย่ ของ คนไทยอายุ ๑๕ – ๕๙ ป(ี 8) ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศกึ ษาของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร ฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๖๗ - เป้าหมายหลัก ตัวช้วี ดั หน่วยงาน คา่ เป้าหมายตามตัวช้ีวดั เจ้าภาพฯ ปี ๒๕๖๐ ปี ๒๕๖๑ ปี ๒๕๖๒ ปี ๒๕๖๓ ปี ๒๕๖๔ ๑๑.ร้อยละ สป. ร้อยละ ร้อยละ รอ้ ยละ ร้อยละ ร้อยละ ของกาลงั ๕๗ ๖๐ ๖๓ ๖๖ ๖๙ แรงงานที่ สาเร็จการ ศกึ ษาระดับ มธั ยมศกึ ษา ตอนต้น ขน้ึ ไป(9) ๑๒.ร้อยละของ สป. รอ้ ยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ นกั เรียนต่อ ๘๓ ๘๖ ๘๙ ๙๒ ๙๕ ประชากร วยั เรยี น ระดับมธั ยม ศึกษาตอน ปลายอายุ ๑๕ - ๑๗ ป(ี 10) ๕.มรี ะบบบริหาร ๑๓.สัดส่วน สป. ๗๔ : ๒๖ ๗๓ : ๒๗ ๗๒ : ๒๘ ๗๑ : ๒๙ ๗๐ : ๓๐ จดั การการศึกษา ผ้เู รยี นใน ทีม่ ปี ระสทิ ธิภาพ สถานศึกษา ตามหลักธรรมา ทกุ ระดับ ภบิ าล โดยการมี ของรฐั ตอ่ สว่ นรว่ มจากทกุ เอกชน(11) ภาคสว่ น ๑๔.จานวน กศน. ๓,๐๔๒ ๓,๒๐๐ ๓,๔๐๐ ๓,๖๐๐ ๓,๘๐๐ องค์กร/ องค์กร/ องค์กร/ องค์กร/ องค์กร/ ภาคเี ครือขา่ ย ท่ีเขา้ มามี หนว่ ยงาน หน่วยงาน หน่วยงาน หนว่ ยงาน หน่วยงาน ส่วนรว่ มใน การจัด/ พัฒนาและ สง่ เสริมการ ศกึ ษา(12) ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพัฒนาการศกึ ษาของกระทรวงศึกษาธกิ าร ฉบบั ท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๖๘ - ๒. การประเมนิ ผลในระดบั ยทุ ธศาสตร์ เปา้ หมายหลกั ตัวช้วี ดั หนว่ ยงาน คา่ เป้าหมายตามตัวช้ีวดั เจ้าภาพฯ ปี ๒๕๖๐ ปี ๒๕๖๑ ปี ๒๕๖๒ ปี ๒๕๖๓ ปี ๒๕๖๔ ร้อยละ ๑.พัฒนาหลักสตู ร ๑.รอ้ ยละของ สพฐ. รอ้ ยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ๙๐ กระบวนการ โรงเรยี นที่ ๗๐ ๗๕ ๘๐ ๘๕ เรยี นการสอน ผูเ้ รียนผ่าน สพฐ. ร้อยละ การวดั และ ตามเกณฑ์ สป. ร้อยละ รอ้ ยละ ๙๐ ประเมินผล คณุ ลักษณะ สป. ๘๐ ๘๕ ทีพ่ งึ ประสงค์ x ในการคดิ ร้อยละ ร้อยละ x - วเิ คราะห์ ๗๐ ๗๕ - + รอ้ ยละ คดิ สังเคราะห์ + รอ้ ยละ ๒๐ ของปี คดิ แก้ปญั หา กาหนดค่า x - ๑๐ ของปี ๒๕๖๐ และคิด ๒๕๖๐ สรา้ งสรรค์ (สรา้ ง x เครื่องมือ x ๒.ร้อยละของ + ร้อยละ สถานศกึ ษา วัด) + รอ้ ยละ ๒๐ ของปี ที่ได้รบั การ ๑๐ ของปี ๒๕๖๐ พัฒนากิจกรรม กาหนดค่า x - ๒๕๖๐ เสริมทักษะ และมีผล (สรา้ ง สัมฤทธิ์ทาง เคร่ืองมอื การเรยี น สูงขึน้ วดั ) ๓.ร้อยละคะแนน เฉล่ียของ ผู้เรยี นที่มี คุณธรรม จริยธรรม(1) ๔.รอ้ ยละ คะแนนเฉลีย่ ของผู้เรียน ทกุ ระดบั การ ศึกษามีความ เป็นพลเมือง และพลโลก(2) ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศึกษาของกระทรวงศกึ ษาธกิ าร ฉบบั ท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๖๙ - ยทุ ธศาสตร์ ตวั ช้วี ดั หน่วยงาน ปี ๒๕๖๐ คา่ เปา้ หมายตามตัวช้ีวดั ปี ๒๕๖๔ เจา้ ภาพฯ - ๒.ยทุ ธศาสตร์ ปี ๒๕๖๑ ปี ๒๕๖๒ ปี ๒๕๖๓ รอ้ ยละ ผลติ พัฒนาครู ๑.รอ้ ยละของ สกอ. รอ้ ยละ ๑๐๐ คณาจารย์ และ ๘๐ - ร้อยละ - บคุ ลากรทาง ครูตามแผน ๘๐ การศึกษา การผลติ มี รอ้ ยละ คุณภาพ ๑๐๐ ตามเกณฑ์ ๘๐๐,๐๐๐ ทกี่ าหนด ราย ๒.ร้อยละของ สพฐ. ร้อยละ รอ้ ยละ รอ้ ยละ ร้อยละ ผู้บรหิ าร ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ สถานศกึ ษา ตามแผนการ พฒั นา ได้รับ การพัฒนา ตามเกณฑ์ ทกี่ าหนด ๓.ร้อยละของ คส. ร้อยละ รอ้ ยละ รอ้ ยละ รอ้ ยละ ครูและ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ บุคลากรทาง การศกึ ษาท่ี ไดร้ ับการ พฒั นาตาม มาตรฐาน วชิ าชีพใน หลักสูตรท่ี คุรุสภาให้ การรับรอง และผ่าน การประเมิน เพ่ือต่ออายุ ใบประกอบ วชิ าชีพ ๔.จานวนครู สกสค. ๘๕๐,๐๐๐ ๙๐๐,๐๐๐ ๙๕๐,๐๐๐ ๑,๐๐๐,๐๐๐ และบุคลากร ทางการ ราย ราย ราย ราย ศึกษาได้รบั ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบบั ท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๗๐ - ยทุ ธศาสตร์ ตัวชว้ี ดั หนว่ ยงาน ปี ๒๕๖๐ คา่ เปา้ หมายตามตัวช้ีวัด ปี ๒๕๖๔ เจา้ ภาพฯ ปี ๒๕๖๑ ปี ๒๕๖๒ ปี ๒๕๖๓ ร้อยละ รอ้ ยละ สวสั ดกิ าร ๘๐ รอ้ ยละ รอ้ ยละ ร้อยละ ๘๐ สวสั ดิภาพ ๘๐ ๘๐ ๘๐ และการ ๔๐ : ๖๐ ๕๐ : ๕๐ (ปวช. ๑ ๔๒ : ๕๘ ๔๔ : ๕๖ ๔๗ : ๕๓ (ปวช. ๑ พฒั นา : ม.๔) (ปวช. ๑ (ปวช. ๑ (ปวช. ๑ : ม.๔) : ม.๔) : ม.๔) : ม.๔) คุณภาพ ร้อยละ รอ้ ยละ ชวี ติ ท่ีดี ๘๐ ร้อยละ ร้อยละ รอ้ ยละ ๙๕ ๘๕ ๙๐ ๙๐ ๕.ร้อยละความ ก.ค.ศ. พึงพอใจของ ข้าราชการครู และบุคลากร ทางการศึกษา ท่มี ีตอ่ การ บริหารงาน บุคคลของ ขา้ ราชการครู และบุคลากร ทางการศึกษา ๓.ยทุ ธศาสตร์ผลิต ๑.สดั ส่วนผู้เข้า สป. และพฒั นากาลัง เรียนระดับ คน รวมทงั้ งาน มธั ยมศกึ ษา วิจัยทีส่ อดคลอ้ ง ตอนปลาย กบั ความตอ้ งการ ประเภทอาชวี ของการพัฒนา ศึกษาตอ่ สาย ประเทศ สามญั (3) ๒.รอ้ ยละความ สกอ. พึงพอใจของ สอศ. นายจ้าง ประกอบการ ที่มีต่อผู้สาเร็จ การศึกษา ระดับอาชวี ศกึ ษาและ ระดบั อุดม ศกึ ษาที่ ทางานให้(4) ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศกึ ษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๗๑ - ยทุ ธศาสตร์ ตวั ชี้วัด หน่วยงาน คา่ เปา้ หมายตามตัวชี้วัด เจา้ ภาพฯ ปี ๒๕๖๐ ปี ๒๕๖๑ ปี ๒๕๖๒ ปี ๒๕๖๓ ปี ๒๕๖๔ ๓.รอ้ ยละของ สกอ. ร้อยละ รอ้ ยละ รอ้ ยละ ร้อยละ รอ้ ยละ ผู้สาเร็จการ สอศ. ๗๖ ๘๐ ๘๕ ๘๕ ๘๕ ศึกษาระดับ อาชีวศึกษา และระดบั อุดมศึกษา ไดง้ านทาหรอื ประกอบ อาชีพอิสระ ภายใน ๑ ป(ี 5) ๔.รอ้ ยละของ สกอ. ร้อยละ ร้อยละ๘ รอ้ ยละ ร้อยละ ร้อยละ ผลงานวจิ ยั สอศ. ๖๕ ๗๐ ๗๕ ๘๐ ๘๕ นวตั กรรม งานสร้าง สรรค์สง่ิ ประดษิ ฐ์ ไดร้ ับการ เผยแพร่/ ตพี ิมพ(์ 6) ๕.ร้อยละของ สกอ. รอ้ ยละ รอ้ ยละ๘ รอ้ ยละ ร้อยละ รอ้ ยละ องคค์ วามรู้ สอศ. ๖๕ ๗๐ ๗๕ ๘๐ ๘๕ และส่ิง ประดษิ ฐ์ ทนี่ าไปใช้ ประโยชน์ หรือแก้ไข ปัญหาชุมชน ทอ้ งถิ่น(7) ๖.จานวนเครอื สอศ. ๑๒๐ ๑๗๐ ๒๒๕ ๒๗๕ ๓๓๐ ข่ายการผลติ สคพ. องค์กร/ องค์กร/ องค์กร/ องค์กร/ องค์กร/ และพฒั นา หน่วยงาน หน่วยงาน หน่วยงาน หน่วยงาน หน่วยงาน กาลังคนกับ องค์กร/หน่วย งานท้งั ในและ ต่างประเทศ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศกึ ษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบบั ท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๗๒ - ยทุ ธศาสตร์ ตวั ช้ีวดั หนว่ ยงาน ปี ๒๕๖๐ ค่าเป้าหมายตามตัวช้ีวดั ปี ๒๕๖๔ เจา้ ภาพฯ ร้อยละ ปี ๒๕๖๑ ปี ๒๕๖๒ ปี ๒๕๖๓ ร้อยละ ๓๐** รอ้ ยละ ร้อยละ ร้อยละ ๓๐** ๗.ร้อยละเฉลย่ี สอศ. จากปีท่ี จากปีที่ ของผเู้ รียน ผา่ นมา ๓๐** ๓๐** ๓๐** ผ่านมา ในระบบทวิ ร้อยละ จากปที ่ี จากปที ่ี จากปที ี่ ร้อยละ ๓๐ ผา่ นมา ผ่านมา ผา่ นมา ๕๐ ภาคีท่เี พ่ิมข้นึ ร้อยละ รอ้ ยละ ร้อยละ เพิม่ ข้ึน เพิ่มขน้ึ ต่อป*ี * ร้อยละ ๓๕ ๔๐ ๔๕ รอ้ ยละ ๑๐ ๑๐ ๖.ร้อยละของ สกอ. เพ่ิมข้ึน เพ่ิมข้ึน เพ่มิ ขน้ึ ๑๐.๒ ปี ร้อยละ รอ้ ยละ รอ้ ยละ ๑๒.๐ ปี ผ้เู รยี นสาย ๑๐ ๑๐ ๑๐ รอ้ ยละ ร้อยละ วทิ ยาศาสตร์ ๕๗ ๑๐.๕ ปี ๑๑.๐ ปี ๑๑.๕ ปี ๖๙ เทคโนโลยี รอ้ ยละ ร้อยละ ร้อยละ ในสถาบนั ๖๐ ๖๓ ๖๖ อดุ มศึกษา ระดับอนุ- ปริญญาถึง ปรญิ ญาตรี ๗.ร้อยละของ สสวท. ผู้มีความ สพฐ. สามารถ พิเศษดา้ น วทิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยี และด้านอื่นๆ ทไ่ี ดร้ บั การ พัฒนาเพิ่มขึ้น ๔.ยทุ ธศาสตร์ขยาย ๑.จานวนปี สกศ. โอกาสการเขา้ ถงึ การศกึ ษา บริการทางการ เฉล่ยี ของคน สป. ศึกษาและการ ไทยอายุ เรียนรู้อยา่ ง ๑๕-๕๙ ปี(8) ตอ่ เนอื่ งตลอด ชีวิต ๒.ร้อยละของ กาลังแรงงาน ทส่ี าเรจ็ การ ศกึ ษาระดับ มธั ยมศึกษา ตอนตน้ ขึ้นไป(9) ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธกิ าร ฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๗๓ - ยทุ ธศาสตร์ ตัวชว้ี ดั หน่วยงาน ปี ๒๕๖๐ คา่ เปา้ หมายตามตัวช้ีวดั ปี ๒๕๖๔ เจา้ ภาพฯ ร้อยละ ปี ๒๕๖๑ ปี ๒๕๖๒ ปี ๒๕๖๓ ร้อยละ ๘๓ รอ้ ยละ รอ้ ยละ ร้อยละ ๙๕ ๓.ร้อยละของ สป. นักเรียนต่อ รอ้ ยละ ๘๖ ๘๙ ๙๒ ร้อยละ ประชากร ๑๐๐ ๑๐๐ รอ้ ยละ ร้อยละ รอ้ ยละ วยั เรยี น ร้อยละ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ รอ้ ยละ ๖๐ ๘๐ ระดบั มัธยม ร้อยละ รอ้ ยละ รอ้ ยละ ศึกษาตอน ๙,๘๐๐,๐๐๐ ๖๕ ๗๐ ๗๕ ๙,๘๐๐,๐๐๐ ปลาย อายุ คน ๙,๘๐๐,๐๐๐ ๙,๘๐๐,๐๐๐ ๙,๘๐๐,๐๐๐ คน ๑๕–๑๗ ป(ี 10) คน คน คน ๔.รอ้ ยละของ สพฐ. ผู้เรียนพกิ าร ทข่ี น้ึ ทะเบียน คนพิการได้ รับการพัฒนา สมรรถภาพ หรือบรกิ าร ทางการศึกษา ๕.ร้อยละของ กศน. ผู้ผ่านการ ฝกึ อบรม/ พัฒนาทักษะ อาชีพระยะ ส้ันสามารถ นาความรู้ ไปใชใ้ นการ ประกอบ อาชพี หรือ พฒั นางานได้ ๖.จานวนผรู้ ับ กศน. บริการจาก แหล่งเรยี นรู้ ในชุมชน ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศกึ ษาของกระทรวงศึกษาธกิ าร ฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๗๔ - ยทุ ธศาสตร์ ตัวชี้วัด หน่วยงาน ปี ๒๕๖๐ ค่าเปา้ หมายตามตัวช้ีวดั ปี ๒๕๖๔ เจ้าภาพฯ รอ้ ยละ ปี ๒๕๖๑ ปี ๒๕๖๒ ปี ๒๕๖๓ ร้อยละ ๕.ยุทธศาสตร์ ๑.ร้อยละของ สพฐ. ๖๐ ๑๐๐ สง่ เสริมและ ผเู้ รยี นใน ร้อยละ รอ้ ยละ รอ้ ยละ พัฒนาระบบ สถานศึกษา ร้อยละ ๗๐ ๘๐ ๙๐ รอ้ ยละ ๕๐ ๙๕ เทคโนโลยดี ิจิทัล ทมี่ กี ารจัด ของ ของ เพ่อื การศกึ ษา การเรยี น สถานศึกษา สถานศกึ ษา การสอน ๔ ๘ ทางไกลด้วย ฐานข้อมูล ฐานข้อมูล ระบบ DLIT, DLTV, ETV ๗๔ : ๒๖ ๗๐ : ๓๐ มีผลสัมฤทธ์ิ ทางการเรียน เฉลีย่ สงู ขนึ้ ๒.รอ้ ยละของ สป. รอ้ ยละ ร้อยละ ร้อยละ ๘๕ ๙๕ สถานศึกษา ๗๕ ของ ของ ท่ไี ดร้ บั ของ สถานศกึ ษา สถานศกึ ษา สถานศึกษ บรกิ าร อนิ เทอรเ์ น็ต า ความเรว็ ไม่ ต่ากว่า ๓๐ Mbps ๓.จานวนระบบ สป. ๕๖๗ ฐานข้อมลู ฐานข้อมูล ฐานข้อมูล ฐานขอ้ มูล กลางดา้ น การศึกษา ของประเทศ ทีท่ ันสมยั / เป็นปัจจบุ นั ๖.ยทุ ธศาสตร์ ๑.สดั ส่วน สป. ๗๓ : ๒๗ ๗๒ : ๒๘ ๗๑ : ๒๙ พัฒนาระบบ ผู้เรยี นใน บรหิ ารจดั การ สถานศกึ ษา และส่งเสริมให้ ทุกระดบั ทกุ ภาคส่วน ของรัฐต่อ มสี ว่ นร่วมในการ เอกชน(11) จดั การศกึ ษา ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศกึ ษาธิการ ฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๗๕ - ยุทธศาสตร์ ตัวชว้ี ดั หน่วยงาน ปี ๒๕๖๐ ค่าเป้าหมายตามตัวชี้วัด ปี ๒๕๖๔ เจ้าภาพฯ รอ้ ยละ ปี ๒๕๖๑ ปี ๒๕๖๒ ปี ๒๕๖๓ รอ้ ยละ ๒.ร้อยละของ สป. ๘๐ ๘๐ ผู้เรยี น รอ้ ยละ ร้อยละ รอ้ ยละ เพม่ิ ขึ้น ๘๐ ๘๐ ๘๐ เพิม่ ขึ้น เยาวชนและ รอ้ ยละ ร้อยละ ประชาชนใน เพมิ่ ขึ้น เพ่มิ ข้นึ เพ่มิ ขน้ึ พนื้ ท่ีจงั หวดั ๓ รอ้ ยละ รอ้ ยละ ร้อยละ ๓ ของปีท่ี ของปีที่ ชายแดน ผ่านมา ๓๓๓ ผ่านมา ภาคใตท้ ี่ได้ ของปีท่ี ของปีท่ี ของปีที่ รับการพัฒนา ๓,๐๔๒ ผ่านมา ผ่านมา ผา่ นมา ๓,๘๐๐ ศักยภาพ องคก์ ร/ ๓,๒๐๐ ๓,๔๐๐ ๓,๖๐๐ องค์กร/ หรือทกั ษะ หน่วยงาน หนว่ ยงาน ดา้ นอาชพี องคก์ ร/ องคก์ ร/ องค์กร/ หนว่ ยงาน หน่วยงาน หน่วยงาน สามารถมี งานทาหรือ นาไปประกอบ อาชพี ใน ท้องถิน่ ได้ ๓.รอ้ ยละของ สทศ. คะแนนเฉล่ยี ผลสัมฤทธ์ิ ทางการเรยี น วชิ าหลกั ระดับการ ศึกษาขน้ั พืน้ ฐานใน พื้นทจี่ ังหวดั ชายแดน ภาคใตจ้ าก การทดสอบ ระดบั ชาติ เพมิ่ ขนึ้ ๔.จานวนภาคี กศน. เครือขา่ ยท่ี เขา้ มามี สว่ นรว่ มใน การจัด/ ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธกิ าร ฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๗๖ - ยทุ ธศาสตร์ ตัวชีว้ ัด หนว่ ยงาน ค่าเปา้ หมายตามตัวช้ีวัด เจา้ ภาพฯ ปี ๒๕๖๐ ปี ๒๕๖๑ ปี ๒๕๖๒ ปี ๒๕๖๓ ปี ๒๕๖๔ พฒั นาและ ส่งเสริมการ ศกึ ษา(12) ๕.ร้อยละของ สป. ไม่น้อยกว่า ไมน่ ้อยกวา่ ไมน่ อ้ ยกว่า ไมน่ ้อยกว่า ไมน่ อ้ ยกวา่ คะแนนการ รอ้ ยละ ร้อยละ รอ้ ยละ รอ้ ยละ รอ้ ยละ ประเมิน ๘๐ ๘๒ ๘๔ ๘๖ ๘๘ คุณธรรมและ ความโปรง่ ใส (องค์กรหลกั (องค์กรหลัก (องค์กรหลกั (องค์กรหลกั (องค์กรหลัก และ และ และ และ ในการ หนว่ ยงาน หน่วยงาน หนว่ ยงาน หนว่ ยงาน และ ในกากบั ในกากับ ในกากับ ในกากับ หนว่ ยงาน ดาเนนิ งาน ในกากับ ของ ศธ.) ศธ.) ศธ.) ศธ.) หน่วยงาน ศธ.) ๖.จานวน สพฐ. ๔๒๑ ๔๐๖ ๔๑๙ ๔๑๙ ๔๑๙ โรงเรียน โรง โรง โรง โรง โรง ขนาดเล็กท่ี ได้รับการ (โรงเรียน (โรงเรียน (โรงเรยี น (โรงเรยี น (โรงเรยี น ทีม่ ีนกั เรยี น ทม่ี นี กั เรียน ทม่ี ีนักเรยี น ทมี่ ีนักเรยี น ทม่ี ีนกั เรยี น บรหิ าร ต่ากว่า ต่ากว่า ต่ากว่า ต่ากว่า ตา่ กว่า จดั การเพ่อื ๒๐ คน) ๒๐ คน) ๔๐ คน) ๔๐ คน) ๔๐ คน) เขา้ สรู่ ะบบ โรงเรยี น เครือข่าย หมายเหตุ : ๑. (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) (11) (12) หมายถงึ ตัวช้วี ดั ที่ปรากฏทั้งในเปา้ หมายหลกั ของแผนฯ และปรากฏในระดบั ยทุ ธศาสตร์ ๒. ** หมายถึง ตัวช้ีวัดและค่าเป้าหมาย ที่นามาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี ๑๒ (พ.ศ. 2560 - 2564) จะเห็นได้ว่า เมื่อมีดาเนินการติดตามและประเมินผลตามตัวช้ีวัดในข้างต้น จะสามารถบ่งช้ี ระดับการพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการได้อย่างชัดเจน โดยเป็นการนาเอาข้อมูลและค่าทางสถิติ ต่างๆ มาวิเคราะห์เพื่อช้ีให้เห็นถึงความสาเร็จของระบบการจัดการศึกษาในภาพกระทรวง ที่ครอบคลุมตั้งแต่ ระดับปัจจัยนาเข้า ระดับกระบวนการ ระดับผลผลิต และระดับผลลัพธ์ รวมท้ังยังครอบคลุมไปถึงระดับ ผลกระทบต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และ ความเช่ือมโยงว่าผลผลิตจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมต่างๆ สามารถสร้างผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับทิศทาง และความต้องการในการพัฒนาของประเทศตามท่ีระบไุ ว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ได้อยา่ งเปน็ รูปธรรม ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศกึ ษาของกระทรวงศกึ ษาธิการ ฉบบั ที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

- ๗๗ - หลังจากที่เจ้าภาพผู้รับผิดชอบได้ข้อมูลสถิติที่สะท้อนผลการดาเนิ นงานจริงในแต่ละตัวช้ีวัด และนามาพิจารณาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายตามตัวชี้วัดท่ีระบุไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการ ฉบับท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ในแต่ละช่วงระยะเวลาแล้ว กระทรวงศึกษาธิการ ควรมีการสรา้ งกลไกการรวบรวมและจัดทารายงานสรุปผลการประเมินฯ และข้อเสนอแนะต่อผบู้ รหิ ารระดับสูง ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นระยะ เพ่ือการพิจารณาทบทวน ปรับปรุงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์/แนวทางการ ดาเนินงานให้มี ความเหมาะสม ท่ีสาคัญคือผลการประเมินฯ ยังเป็นข้อมูลในการใช้วิเคราะห์ปรับปรุง แผนพัฒนาการศึกษาฯ ตามบริบทท่ีอาจจะเกิดการเปล่ียนแปลงในอนาคต เช่น การมีนโยบายของรัฐบาล ชุดใหม่ รวมทั้งการนาไปสู่การวิเคราะห์จัดทาแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๕ - ๒๕๖๙) ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี และ แผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ฉบบั ท่ี ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๕ - ๒๕๖๙) ต่อไป  ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แผนพฒั นาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔)

ภาคผนวก

อกั ษรย่อของส่วนราชการในสงั กัดกระทรวงศึกษาธกิ าร (ศธ.) สป. กศน. องค์กรหลัก ก.ค.ศ. ๑. สำนกั งำนปลดั กระทรวงศึกษำธกิ ำร สช. สกศ. - สำนกั งำนสง่ เสริมกำรศกึ ษำนอกระบบและกำรศึกษำตำมอัธยำศัย สพฐ. - สำนกั งำนคณะกรรมกำรขำ้ รำชกำรครูและบคุ ลำกรทำงกำรศึกษำ สอศ. - สำนักงำนคณะกรรมกำรสง่ เสริมกำรศึกษำเอกชน สกอ. ๒. สำนกั งำนเลขำธิกำรสภำกำรศึกษำ ๓. สำนกั งำนคณะกรรมกำรกำรศึกษำข้นั พ้ืนฐำน คส. 4. สำนักงำนคณะกรรมกำรกำรอำชวี ศกึ ษำ สกสค. 5. สำนกั งำนคณะกรรมกำรกำรอดุ มศกึ ษำ สสวท. หนว่ ยงานในกากบั สลช. ๖. สำนักงำนเลขำธกิ ำรครุ สุ ภำ มวส. ๗. สำนักงำนคณะกรรมกำรส่งเสรมิ สวสั ดิกำรและสวสั ดิภำพ สทศ. สคพ. ครแู ละบุคลำกรทำงกำรศึกษำ ม/ส ๘. สถำบันส่งเสริมกำรสอนวทิ ยำศำสตร์และเทคโนโลยี ๙. สำนักงำนลกู เสอื แห่งชำติ ๑๐. โรงเรยี นมหิดลวิทยำนสุ รณ์ ๑๑. สถำบันทดสอบทำงกำรศึกษำแหง่ ชำติ (องคก์ ำรมหำชน) ๑๒. สถำบันระหวำ่ งประเทศเพื่อกำรคำ้ และกำรพัฒนำ (องคก์ ำรมหำชน) ๑๓. มหำวิทยำลัย/ สถำบนั อดุ มศกึ ษำ

ความเชือ่ มโยงระหวา่ งยทุ ธศาสตร์ชาติระย ฉ ย.1 ความมน่ั คง 1. ความมั่นคง 2. การสรา้ ง 3. ความสามารถ และเสร ยุทธศาสตร์ชาติระยะ ในการแข่งขนั 20 ปี สนับสนุน สนับสนุน 6 ยทุ ธศาสตรแ์ ผนพฒั นา การศกึ ษาของ 1. พฒั นาหลกั สตู ร 3. ผลติ และพัฒนา 1. พัฒนา กระบวนการเรยี น กาลงั คน รวมท้ัง กระบวนก กระทรวงศึกษาธกิ าร การสอน การวัดและ งานวิจัยทสี่ อดคล้อง การวดั แล ฉบับที่ 12 กับความต้องการของ 2. ผลติ พ ประเมินผล การพัฒนาประเทศ และบคุ ลา 6. พัฒนาระบบ 3. ผลติ แล บริหารจดั การและ รวมทัง้ งาน สง่ เสริมใหท้ ุกภาค กบั ความต สว่ นทีม่ ีสว่ นร่วมใน พัฒนาปร การจัดการศึกษา 4. ขยายโ บรกิ ารทา การเรยี นร ตลอดชวี ติ 5. ส่งเสร เทคโนโลย การสอื่ สา 6. พฒั นา จดั การแล ทกุ ภาคสว่ ในการจดั

ยะ 20 ปี กบั 6 ยุทธศาสตร์แผนพฒั นาการศึกษาของกระทรวงศกึ ษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) . การพฒั นา 4. การสรา้ งโอกาส 5. การสรา้ งการเตบิ โต 6. การปรับสมดุล ริมสรา้ งศักยภาพ ความเสมอภาค บนคณุ ภาพชีวิตท่เี ป็น และพัฒนาระบบการ และเท่าเทียมกนั ทาง มติ รต่อสิ่งแวดล้อม บริหารจดั การภาครัฐ คน สังคม หลัก สนบั สนุน สนบั สนุน สนบั สนนุ าหลกั สูตร 4. ขยายโอกาสการ 1. พัฒนาหลักสูตร 6. พัฒนาระบบบรหิ าร การเรียนการสอน เข้าถึงบริการทาง กระบวนการเรยี นการ จัดการและสง่ เสริมให้ ละประเมนิ ผล การศกึ ษาและการเรียนรู้ ทุกภาคสว่ นที่มสี ่วน พฒั นาครู คณาจารย์ อยา่ งต่อเนือ่ ง ตลอดชวี ิต สอน การวดั และ ากรทางการศึกษา 5. ส่งเสรมิ และพัฒนา ประเมนิ ผล ร่วมในการจัด ละพฒั นากาลงั คน ระบบเทคโนโลยี การศึกษา นวิจยั ทสี่ อดคลอ้ ง สารสนเทศและการ ต้องการของการ สอ่ื สารเพื่อการศึกษา ระเทศ โอกาสการเข้าถึง างการศกึ ษาและ รอู้ ยา่ งต่อเนือ่ ง ต รมิ และพฒั นาระบบ ยสี ารสนเทศและ ารเพื่อการศกึ ษา าระบบบรหิ าร ละส่งเสริมให้ วนท่ีมสี ่วนรว่ ม ดการศึกษา















จัดพิมพแ์ ละเผยแพร่โดย สำนักนโยบำยและยุทธศำสตร์ สำนกั งำนปลัดกระทรวงศึกษำธกิ ำร กระทรวงศึกษำธกิ ำร www.bps.sueksa.go.th