คำภาษาต่างประเทศ ในภาษาไทย ภาษาไทยพื้นฐาน นางสาวณัฏฐณิชา พิมพ์เเก้ว 64040101111
ก คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book) ฉบับนี้ จัดทำขึ้น เพื่อให้ความรู้ภาษาไทยพื้นฐาน ภาษาต่างประเทศใน ภาษาไทย หาข้อเเตกต่างเเละข้อสังเกตของคำต่าง ประเทศรวมบออกความเป็ นมาถึงตัวเนื้ อหา เนื่ องจากภาษาไทยรับภาษาจากต่างประเทศมา จำนวนมาก ผู้จัดทำจึงเล็งเห็นความรู้ในส่วนตรงนี้ ผู้จัด ทำหวังว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book) เล่มเป็น ประโยชน์ผู้สนใจเนื้อหา ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ไม่มากก็น้ อย นางสาวณัฎฐณิชา พิมพ์เเก้ว ผู้จัดทำ ๑๕ ม.ค. ๒๕๖๖
สารบัญ ข เรื่ อง หน้ า คำนำ ก สารบัญ ข ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย 1 คำไทยเเท้ 2 คำยืมจากภาษาบาลี-สันสกฤต 3 คำยืมจากภาษาเขมร 5 คำยืมจากภาษาอังกฤษ 7 คำยืมจากภาษาจีน 9 เเบบฝึกหัดชุดที่ 1 10 เเบบฝึกหัดชุดที่ 2 11 เฉลยเเบบฝึกหัดชุดที่ 1 13 เฉลยเเบบฝึกหัดชุดที่ 2 15 อ้างอิง 16
1 ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ภาษาไทย มีคำใช้มากมายทั้งคำไทยแท้ และคำที่มาจากภาษาอื่น การนำคำจากภาษาอื่น มาใช้ โดยเฉพาะจากภาษาบาลี สันสกฤต เขมร จีน และอังกฤษ เกิดจากการติดต่อทั้งทางการ ค้า การทูต การถ่ายทอดศิลปะวิทยาการ การ เผยแผ่ศาสนา การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การรับคำภาษาต่างประเทศมาใช้นั้น ไทยเรามีวิธีออกเสียงให้เป็นแบบไทย ไม่ว่าจะ เป็น บาลี สันสกฤต เขมร พม่า ลาว จีน ชวา มลายู อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส หรืออาหรับ การยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย ทำให้ภาษามีความเจริญงอกงามและมีคำใช้มาก ขึ้น ลักษณะเช่นนี้เป็นเรื่องธรรมดาของทุก ภาษาในโลก
คำไทยเเท้ 2 คำไทยแท้ เป็นคำที่มีใช้ดั้งเดิมอยู่ในภาษาไทย มีลักษณะสำคัญที่สังเกตได้ดังนี้ 1. คำไทยแท้ส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียว เรียกว่า เป็น ภาษาคำโดด แต่ละคำมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง เช่น ปู่ ย่า แขน ขา 2. คำไทยแท้เป็นคำที่มีตัวสะกดเดียว ไม่มีตัวตาม และสะกดตรงตามมาตรา คือ ปูด เห็น สูบ 3. คำไทยแท้จะไม่ใช้พยัญชนะ ฆ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ศ ษ ฬ ยกเว้นบางคำต่อไปนี้ที่เป็นคำไทย ได้แก่ ฆ่า เฆี่ยน ระฆัง ฆ้อง ตะเฆ่ ใหญ่ หญ้า เฒ่า ณ ธ ธง เธอ สำเภา ภาย เศร้า ศึก ศอก ศอ ศก 4. คำไทยจะใช้ \"ใ\" (ไม้ม้วน) เช่น ใหญ่ ใช่ สะใภ้
คำไทยเเท้ 3 5. ไม่นิยมใช้ตัวการันต์ลักษณะของตัวการันต์ มักเป็น คำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ เพราะในภาษาไทยจะไม่ นิยมใช้ตัวการันต์ เช่น ไล่ เสา อิน 6. มีเสียงวรรณยุกต์เพื่อให้เกิดเสียงต่างกัน ทำให้คำมี ความหมายมากขึ้นด้วย ซึ่งทำให้มีคำใช้มากขึ้น
คำยืมภาษาบาลี-สันสกฤต 4 เมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่เข้ามาในสู่ประเทศไทย และคนไทยได้ยอมรับนับถือศาสนาพุทธเป็ นศาสนาประจำชาติ คนไทยจึงจำเป็นต้องเรียนภาษาบาลีและสันสกฤต เพราะคำสอน ทางศาสนาเป็นภาษาบาลีและสันสกฤต ดังนั้นจึงได้เกิดคำภาษา บาลีและสันสกฤตใช้ในภาษาไทยมากขึ้น นอกจากการรับนับถือ ศาสนาพุทธแล้ว ไทยยังได้รับเอาความเชื่อขนบธรรมเนียม ประเพณี พิธีกรรมต่างๆ รวมทั้งวรรณคดีเข้ามาอีกด้วย 1. มีหลายพยางค์ เช่น ศึกษาศาสตร์ ปฏิทิน 2. ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา เช่น มัจฉา (มัด-ฉา) ปัญญา(ปัน-ยา) เป็นต้น 3. มีการใช้ตัวการันต์ เช่น พยัคฆ์ เจดีย์ จันทร์ 4 บางคำมีตัวสะกด ๒ ตัว แต่ออกเสียงเพียงตัวเดียว เช่น จักร โกรธ เปรต
คำยืมภาษาเขมร 5 ภาษาเขมรเป็นภาษาคำโดด จัดอยู่ในตระกูลมอญ- เขมร คำดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็น คำพยางค์เดียวและเป็น คำโดด ถือเอาการเรียงคำศาสนา เข้าประโยคเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับภาษาไทย ภาษาเขมรมักจะพบเจอบ่อยในคำ ราชาศัพท์เเละวรรณคดี 1. มักจะสะกดด้วย จ ญ ร ล เช่น เผด็จ บำเพ็ญ กำธร ถกล ตรัส 2. มักเป็นคำควบกล้ำ เช่น ไกร ขลัง ปรุง 3. มักใช้ บัง บัน บำ นำหน้ าคำที่มีสองพยางค์ เช่น บัง บังคับ บังคม บังเหียน บังเกิด บังคล บังอาจ บัน บันได บันโดย บันเดิน บันดาล บันลือ บำ บำเพ็ญ บำบัด บำเหน็จ บำวง
คำยืมภาษาเขมร 6 4. นิยมใช้อักษรนำ เช่น สนุก สนาน เสด็จ ถนน เฉลียว เป็นต้น 5. คำเขมรส่วนมากใช้เป็นราชาศัพท์ เช่น ขนง ขนอง เขนย เสวย บรรทม เสด็จ โปรด เป็นต้น 6. มักแผลงคำได้ เช่น - ข แผลงเป็น กระ เช่น ขดาน เป็น กระดาน ขจอก เป็น กระจอก - ผ แผลงเป็น ประ ผสม เป ็น ประสม ผจญ เป็น ประจญ - ประ แผลงเป็น บรร ประทม เป็น บรรทม ประจุ เป็น บรรจุ ประจง เป็น บรรจง
คำยืมภาษาอังกฤษ 7 ภาษาอังกฤษเป็ นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปี ยน มีวิภัตติปัจจัย เช่นเดียวกับภาษาบาลี-สันสกฤต ภาษา อังกฤษได้รับความนิยมใช้เป็ นภาษาเพื่ อการสื่ อสารมาก ที่สุด มีประเทศต่าง ๆ ยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษา ราชการ ภาษาอังกฤษจึงกลาย เป็นภาษาสากลของชาวโลก คนไทยได้ศึกษาภาษาอังกฤษเป็ นภาษาที่สองมาเป็ นเวลา นาน จนภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนไทย มากขึ้น ทั้งในด้านการพูดและการเขียนสื่อสารในชีวิต ประจำวัน โดยเฉพาะในปัจจุบันคนไทยศึกษาความรู้และ วิทยาการต่าง ๆ จากตำราภาษาอังกฤษ และสนใจเรียนรู้ ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น คำยืมจากภาษาอังกฤษจึงหลั่ง ไหลเข้ามาในภาษาไทยมากขึ้น 1. ส่วนมากไม่นิยมใส่รูปวรรณยุกต์ ยกเว้นบางคำ เช่น แท็กซี่ กุ๊ก แต่เมื่ออ่านต้องออกเสียงวรรณยุกต์ให้คล้าย คำเดิม เช่น เว็บไซต์ อ่านว่า เว็บ-ไซ้ 2. บางคำมีการคิดศัพท์บัญญัติขึ้นใช้ แต่ไม่นิยมจึงเรียก คำนั้นทับศัพท์ เช่น ฟรี คอมพิวเตอร์ ลิฟต์
คำยืมภาษาอังกฤษ 8 3.ส่วนใหญ่ใช้เสียงตัวสะกดตรงตามมาตราของไทย เช่น เกม คลินิก 4. มีคำที่ใช้ ค ซ ต ฟ ล ส เป็นตัวสะกด เช่น เทคนิค ก๊าซ ยีราฟ ฟุตบอล แก๊ส
คำยืมภาษาจีน 9 ไทยและจีนเป็ นมิตรประเทศที่ติดต่อเจริญสัมพันธไมตรี และค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าและศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงามมา ช้านาน ชาวจีนที่มาค้าขายได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ใน ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก การยืมคำภาษาจีนมาใช้ในภาษา ไทยนั้น เราได้มาจากภาษาพูดไม่ใช่ภาษาเขียน เพราะระบบ การเขียนภาษาจีนต่างกับภาษาไทยมาก ภาษาจีนเขียนอักษร แทนคำเป็นตัว ๆ ไม่มีการประสมสระ พยัญชนะ คำภาษาจีน ที่มีใช้ในภาษาไทย นำมาเป็นคำเรียกชื่อ เครื่องใช้แบบจีน ยา สมุนไพร สัตว์ อาหาร เครื่องแต่งกาย และอื่น ๆ 1. มักเป็นคำโดด หรือคำพยางค์เดียว เช่น หุ้น ห้าง 2 . ใช้เสียงวรรณยุกต์บอกความหมายที่ต่างกัน เช่น ก๋วยเตี๋ยว เก้าอี้ 3. พบเจอในอาหารเเละของใช้เป็นส่วนมาก เช่น ซาลาเปา กวยจั๊บ
ชื่อ-นามสกุล................................. ชั้น................เลขที่........ เเบบฝึ กหัดชุดที่ 1 10 ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ก.ไทยเเท้ ข.บาลี-สันสกฤต ค.จีน ง. เขมร จ.อังกฤษ ...........1.คุกกี้ ...........6.เจ๊ง ...........2.ตำรวจ ..........7.บรรทม .......... 3.สะใภ้ ..........8.ฟุตบอล .......... 4.ฆ่า ..........9.ศึกษา .......... 5.ปัญญา ...........10.เก้าอี้
ชื่อ-นามสกุล................................. ชั้น................เลขที่........ เเบบฝึ กหัดชุดที่ 2 11 ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย คำสั่ง : ให้นักเรียนกากบาทข้อที่ถูกต้องที่สุด 1.ข้อใดเป็ นคำภาษาจีนทุกคน ก. กงเต๊ก เหล้า ข. บรรทม ก๋วยเตี๋ยว ค.เกาเหลา ข้าวสวย ง. เจ๊ง กวยจั๊บ 2. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่มีคำต่างประเทศ มาปนกับภาษาไทย ก.เผยเเพร่ศาสนา ข. การติดต่อการค้า ค. การเเลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ง. ไม่มีข้อผิด 3. คำว่า “ คลินิก” เป็ นคำที่มาจากภาษาใด ก. อังกฤษ ข. เขมร ค. เปอร์เซีย ง. ลาว
4. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของคำไทยเเท้ 12 ก. เป็นคำโดด ข. ใช้สระ ใ ไม้ม้วน ค. มีหลายพยางค์ ง. นิยมใช้เสียงวรรณยุกต์ 5. คำในข้อใดไม่ใช่คำในภาษาบาลี-สันสกฤต ก. ปัญญา ข. ปัญหา ค. บรรจง ง. ศาสนา 6.คำในข้อใดเป็ นคำเขมร ก.สำรวจ ข.ฟุตบอล ค.อาอีโนะโมโต๊ะ ง.ใหญ่
ชื่อ-นามสกุล................................. ชั้น................เลขที่........ (เฉลย)เเบบฝึ กหัดชุดที่ 1 13 ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ก.ไทยเเท้ ข.บาลี-สันสกฤต ค.จีน ง. เขมร จ.อังกฤษ .....จ.....1.คุกกี้ ....ค.....6.เจ๊ง .....ง.....2.ตำรวจ ....ง...7.บรรทม ....ก.... 3.สะใภ้ ....จ...8.ฟุตบอล ....ก.... 4.ฆ่า ....ข....9.ศึกษา ....ข.... 5.ปัญญา .....ค....10.เก้าอี้
ชื่อ-นามสกุล................................. ชั้น................เลขที่........ (เฉลย)เเบบฝึ กหัดชุดที่ 2 14 ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย คำสั่ง : ให้นักเรียนกากบาทข้อที่ถูกต้องที่สุด 1.ข้อใดเป็ นคำภาษาจีนทุกคน ก. กงเต๊ก เหล้า ข. บรรทม ก๋วยเตี๋ยว ค.เกาเหลา ข้าวสวย ง. เจ๊ง กวยจั๊บ 2. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่มีคำต่างประเทศ มาปนกับภาษาไทย ก.เผยเเพร่ศาสนา ข. การติดต่อการค้า ค. การเเลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ง. ไม่มีข้อผิด 3. คำว่า “ คลินิก” เป็ นคำที่มาจากภาษาใด ก. อังกฤษ ข. เขมร ค. เปอร์เซีย ง. ลาว
4. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของคำไทยเเท้ 15 ก. เป็นคำโดด ข. ใช้สระ ใ ไม้ม้วน ค. มีหลายพยางค์ ง. นิยมใช้เสียงวรรณยุกต์ 5. คำในข้อใดไม่ใช่คำในภาษาบาลี-สันสกฤต ก. ปัญญา ข. ปัญหา ค. บรรจง ง. ศาสนา 6.คำในข้อใดเป็ นคำเขมร ก.หัวใจ ข.ตำรวจ ค.อาอีโนะโมโต๊ะ ง.ใหญ่
16 อ้างอิง TRUE ปลูกปัญญา (2564). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย สืบค้นเมื่อ วันที่ 14 มกราคม 2566. จาก https://www.trueplookpanya.com บ้านจอมยุทธ (2543). คำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทย สืบค้นเมือ วันที่ 15 มกราคม 2566. จาก https://www.baanjomyut.com/library_2/
MY PROFILE ประวัติส่วนตัว About me Contact ชื่อ-นามสกุล : นางสาวณัฎฐณิชา พิมพ์เเก้ว 0844090427 ชื่อเล่น : เจ้า Javaa Jao อายุ : 19 ปี jaa.jaovachip__ วันเกิด : วันพฤหัสบดี ที่ 10 เมษายน พ.ศ.2546 รหัสนักศึกษา : 64040101111 สัญชาติ : ไทย งานอดิเรก : ฟังเพลง อ่านนิยาย คอสเพลย์ skill ดูอนิเมะ เขียนนิยาย เเละ นอน คติประจำใจ : คนเก่งไม่จำเป็นต้องชนะเสมอไป Education พาวเวอร์พ้อยท์ ตัดต่อ ประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ มัธยมต้น โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จังหวัดหนองคาย มัธยมปลาย โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จังหวัดหนองคาย การศึกษาในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย จังหวัดอุดรธานี ศึกษาชั้นปีที่ 2 หมู่ 18
ขอบคุณค่ะ
Search
Read the Text Version
- 1 - 24
Pages: