Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 01

ทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 01

Published by ปนัดดา มั่นคง, 2021-04-27 04:53:52

Description: ทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ 01

Search

Read the Text Version

บทที่ ความรูเ้ บ้อื งต้นเก่ียวกับ ภาษาและการส่ือสาร 1

สาระการเรยี นรู้ 1. ความหมายของภาษา 2. ความสาํ คัญของภาษาเพื่อสื่อสาร 3. องค์ประกอบของการสอ่ื สาร 4. ประเภทของภาษาเพ่อื สอื่ สาร 5. ระดับของภาษา 6. ขอ้ ควรระวังในการใช้ภาษา เพ่ือการสือ่ สาร

1. ความหมายของภาษา คําว่า ภาษา มาจากคําว่า “ภาษ” แปลว่า พูด บอก กล่าว มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของ ภาษาไวห้ ลายความหมาย ซึ่งอาจสรุปได้ว่า ภาษา คือ ถ้อยคําที่มนุษย์ใช้ พูดหรือเขียนเพื่อส่ือสารความหมาย ทุกภาษาจะมี ภาษาพูดก่อนภาษาเขียน หรอื บางภาษาไม่มีภาษาเขียน นักภาษาศาสตรพ์ บว่ามนุษยม์ ภี าษาพูด ประมาณ 3,000 ภาษา ในขณะที่มีภาษาเขียนเพียง 400 ภาษาเท่าน้ัน

2. ความสาํ คัญของภาษาเพือ่ สอื่ สาร 1. ภาษาเปน็ เครอ่ื งมือในการถ่ายทอด วัฒนธรรม และปลูกฝังคณุ ธรรม 2. ภาษาเปน็ เครอ่ื งมือในการส่ือสาร ใหค้ นในสังคมเดียวกันเข้าใจกัน 3. ภาษาเปน็ เครอ่ื งมือในการประกอบอาชพี 4. ภาษาเป็นเครอ่ื งมือในการปกครอง 5. ภาษาเป็นเครอ่ื งมือในการศึกาเล่าเรยี น

3. องค์ประกอบของการสอื่ สาร ผู้ส่งสาร สาร ผู้ท่ีทําหน้าที่ส่ง สาระหรอื เรอ่ื งราว เรอื่ งราวต่าง ๆ ผ่าน ต่าง ๆ ท่ีต้องการสื่อ สอื่ ไปยังผรู้ บั สาร ส่ือ ผู้รบั สาร ชอ่ งทางท่ีนําสารจาก บุคคลเป้าหมายที่ ผสู้ ง่ สารไปยังผู้รบั สาร ทําหน้าท่ีรบั สาร

3. องค์ประกอบของการสอ่ื สาร กาลเทศะและสภาพแวดล้อมทางสงั คม ผู้สง่ สาร สาร สอ่ื (ชอ่ งทาง) ผ้รู บั สาร “ปฏิกิรยิ าตอบกลับ ” กาลเทศะและสภาพแวดล้อมทางสงั คม

4. ประเภทของภาษาเพ่ือการสอื่ สาร 1. วัจนภาษา (Verbal Language) ภาษาที่ใช้ตัวอักษรเป็นสัญลักษณ์ หรือภาษา พู ด ท่ี อ อ ก เ สี ยง เป็น ถ้ อย คํ า ห รือ เป็น ป ร ะ โ ยค ท่ี มี ความหมายสามารถเข้าใจได้

4. ประเภทของภาษาเพอ่ื การสอื่ สาร 2. อวัจนภาษา (Non - verbal Language) ภาษาท่ีใช้ท่าทาง หรอื ภาษาที่ไม่ออกเสียงเป็น ถ้อยคํา แต่มีความหมายแฝงที่สามารถส่ือสารได้ เช่น น้าเสียง การเน้นเสียง จังหวะของการพูดและ การหยุดพูด และยังหมายความถึง กิริยาท่าทาง การเคล่ือนไหว การใช้สีหน้าหรือสายตา และยัง รวมถึงส่ืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแปลความหมาย ของมนุษย์

4. ประเภทของภาษาเพื่อการสอ่ื สาร 2. อวัจนภาษา (Non - verbal Language) ในความหมายของอวจั นภาษา อาจสรุปรวมถึงความหมาย ของภาษาต่าง ๆ ดังน้ี ภาษาสัญลักษณ์ หรอื ภาษาสัญญาณ (Sign Language) ภาษาการกระทาํ (Action Language) ภาษาวัตถุ (Object Language) ภาษากาลเทศะ (Time and Space Language) ภาษาน้าเสียง (Tone Language) ภาษาสัมผสั (Body Language)

5. ระดับของภาษา 1. ภาษาระดับทางการ เปน็ ภาษาท่ีมีลักษณะเป็นแบบแผนและมีมาตรฐานในการใช้ ดังน้ี คําที่ใชใ้ นวงราชการ เชน่ เนื่องด้วย เน่ืองจาก ตามที่ เสนอ คําทใ่ี ชใ้ นวงการศึกษา เชน่ แนวคิด บูรณาการ สาระสําคัญ คําราชาศัพท์ เชน่ บรรทม ประสตู ิ ประชวร หมายกําหนดการ คําสภุ าพ เชน่ รบั ประทาน ทราบ ศีรษะ ขา้ พเจ้า บดิ า มารดา การใช้ภาษาระดับทางการ ใช้ในการเขียนตํารา แบบเรยี น หนังสือราชการ คําส่ัง สารคดี บทความทางวิชาการ หรอื ใช้ใน การเขยี นตอบข้อสอบ

5. ระดับของภาษา 2. ภาษาระดับกึ่งทางการ เปน็ ภาษาที่ใชอ้ ย่างไม่เป็นแบบแผนหรอื ไม่เปน็ พิธีรตี อง ดังน้ี คําที่ใช้ในภาษาโฆษณา เช่น ชีวิตดีไซน์ได้ อาณาจักรใหญใ่ จ กลางเมอื ง คําทใี่ ช้ในภาษาสื่อมวลชน เชน่ นักหวดลูกขนไก่ เทกระจาด คําเฉพาะกลุ่ม เช่น วงการกีฬา กลุ่มวยั รุน่ ทหาร แพทย์ ชา่ ง การใช้ภาษาระดับกึ่งทางการ ใช้ในการสนทนากับบุคคลท่ี ไม่คุ้นเคยมาก่อน การแนะนําบุคคลหรอื การสัมภาษณ์อย่างไม่ เป็นทางการ การอภิปราย

5. ระดับของภาษา 3. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ เปน็ ภาษาท่ไี ม่ได้มาตรฐาน ไมค่ ํานึงถึงความถูกต้องเหมาะสม คําตลาดหรอื ภาษาปาก เชน่ ผัว เมยี รถมอไซค์ กินข้าว คําภาษาถ่ิน เชน่ มว่ นซน่ื แซบอีหลี หัน (หมนุ ) กระแป๋ง คําสแลงหรอื คําคะนอง เช่น เรดิ่ กิ๊ก ฟิน ลั้ลลา วดื มโน เงิบ คําหยาบหรอื คําต่า เช่น คําด่า คําสบถ คําหยาบคาย คําโบราณที่ปจั จุบนั เลิกใช้แล้ว เช่น เผอื เขือ ศรี ษะแหวน การใช้ภาษาระดับไม่เป็นทางการ ใช้ในการพูดจาในหมู่คน คุ้นเคย สนิทสนม เป็นการล้อเลียน เสียดสี ประชดประชัน หรอื ตลกขบขัน

6. ข้อควรระวงั ในการใช้ภาษาเพ่ือการสื่อสาร 6.1 ใช้คําให้ถกู ต้องตามความหมาย ในการส่ือสารไม่ควรใช้คําผิดความหมาย ก่อน เลือกใช้คําควรศึกษาความหมายของคําให้เข้าใจถ่องแท้ แ ล ะ พิ จ า ร ณ า ใ ห้ ร อ บ ค อ บ ว่ า เ ม่ื อ ใ ด ค ว ร จ ะ ใ ช้ คํ า ใ ด คําน้ัน ๆ ให้ความหมายไว้อย่างไร ถ้าไม่แน่ใจก็ควรเปิด พจนานุ กรมดู เมื่อเข้าใจความหมายของคํ าแล ะ 6.1 ระมัดระวังการใช้คํา ก็จะทําให้สามารถสื่อสารได้ ตามท่ีต้องการ

6. ขอ้ ควรระวังในการใช้ภาษาเพ่ือการสื่อสาร 6.2 6.2 การใช้ศัพท์สาํ นวนใหเ้ หมาะสมกับกาลเทศะหรอื โอกาส การติดต่อส่ือสารกับหน่วยงานราชการหรอื ส่ือสารกับ สาธารณชนโดยผ่านส่ือมวลชน ควรใช้สํานวนภาษาระดับ ทางการ ซ่ึงได้แก่ ภาษาราชการหรอื ภาษาแบบแผน การ ติดต่อส่ือสารธุรกิจท่ีเป็นกิจจะลักษณะท้ังบุคคลในวงการ และนอกวงการธุรกิจควรใช้สํานวนภาษาระดับก่ึงทางการ ซึ่งได้แก่ ภาษาสุภาพหรือภาษากึ่งแบบแผน ส่วนการ ติดต่อสอ่ื สารเรอื่ งท่วั ไป ทั้งเรอ่ื งท่ีเก่ียวข้องกับหน้าท่ีการงาน หรอื เรอื่ งส่วนตัวควรใช้สํานวนภาษาระดับไม่เป็นทางการ หรอื เป็นกันเอง ซงึ่ ได้แก่ ภาษาปาก น่ันเอง

6. ขอ้ ควรระวงั ในการใชภ้ าษาเพื่อการส่ือสาร 6.3 6.3 การใช้ศัพท์สํานวนให้เหมาะสมกับระดับฐานะบุคคล ในการติดต่อสื่อสารด้านธุรกิจกับบุคคลต่าง ๆ ทั้ง ในและนอกองค์การ ผู้ส่งสารควรใช้ศัพท์สํานวนห้ ถูกต้องเหมาะสมกับระดับฐานะของผู้รบั สาร โดยอาจ พิจารณาจากชาติวุฒิ คุณวุฒิ ฐานะ ตําแหน่งทางสังคม หน้าที่การงาน เพศ อาชีพ และสัมพันธภาพระหว่าง บุคคลน้ัน ๆ เพ่ือเป็นการยกยอ่ ง ให้เกียรติแก่กัน อีกท้ังจะ ได้ ช่ว ยอนุ รักษ์ มรด กวัฒ นธรรมทา งภา ษาที่ ดี งา มขอ ง ชาติเราไวส้ ืบไป

6. ขอ้ ควรระวังในการใชภ้ าษาเพ่ือการสื่อสาร 6.4 6.4 การใช้คําสาํ นวนภาษาต่างประเทศโดยไม่จําเปน็ ใน ปั จ จุ บั น ก า ร ใช้ คํ า สํ า น ว น ภ า ษ า ต่ า ง ป ร ะ เท ศ กลายเป็นค่านิยมของคนไทยจํานวนไม่น้อย ท้ัง ๆ ที่คํา เหล่ าน้ั นสามารถใช้ภาษาไทยแทนได้ ดั งน้ั นจึ งควร หลีกเล่ียงการใชค้ ําสาํ นวนภาษาต่างประเทศ เชน่ นักพูดหลายคนมี gift ในการพูด ควรใช้คําไทยแทน ว่า นักพูดหลายคนมีพรสวรรค์ในการพดู

6. ข้อควรระวงั ในการใช้ภาษาเพื่อการส่ือสาร 6.5 6.5 การใช้ศัพท์สแลง การใช้คําศัพท์สแลงทําให้การสื่อความหมายไม่ ชัดเจน เพราะคําสแลงจะมีความหมายแฝง ไม่ตรงตาม ตัวอักษร ต้องอาศัยบรบิ ทในการตีความ เชน่ แฟนลูกหนัง หมายถึง ผู้ชอบชมกีฬาฟุตบอล นักสอยคิว หมายถึง นักกีฬาสนุกเกอร์ ม้าเหล็ก หมายถึง รถไฟ เรอื เหาะ หมายถึง เครอ่ื งบิน

6. ข้อควรระวังในการใช้ภาษาเพื่อการส่ือสาร 6.6 6.6 การใช้คําต่างระดับ การใช้คําต่างระดับทําให้ภาษาไม่ชัดเจน ไม่สละสลวยและ บางกรณียงั ทําใหเ้ กิดความหมายขดั แย้งกันในประโยค เช่น ผชู้ ายใจง่ายกว่าสตรี ควรใช้คําวา่ ผู้หญงิ พอ่ แมร่ อบุตร ควรใชค้ ําวา่ ลูก สุภาพสตรดี ูเข้มแขง็ ไมแ่ พ้ผชู้ าย ควรใช้คําวา่ สุภาพบุรุษ

6. ข้อควรระวังในการใชภ้ าษาเพื่อการส่ือสาร 6.7 6.7 การใช้คําฟุม่ เฟอื ยหรอื ซ้าซาก ผู้ใช้ภา ษา ในกา รสื่ อส า รควรหลี กเลี่ ยง กา รใช้คํ า ฟมุ่ เฟอื ยหรอื ซ้าซากโดยไมจ่ ําเปน็ เชน่ พายุคร่าชีวิตชาวประมงตาย ควรใช้คําว่า พายุคร่า ชีวิตชาวประมง ซ่ึงความหมายชัดเจนอยู่แล้วว่าชาวประมง ตาย ฉะนั้นไม่ควรมสี ่วนขยาย ตาย ซา้ ซอ้ นกันอีก

6. ข้อควรระวังในการใช้ภาษาเพื่อการส่ือสาร 6.8 6.8 การเว้นวรรคตอนทถ่ี ูกต้อง ในการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นการพูดหรอื การเขียนก็ตาม ผู้ส่งสารควรเอาใจใส่กับการเว้นวรรคตอนให้มาก เพราะถ้า เวน้ วรรคผดิ ความหมายก็จะผิดไปด้วย เช่น วันนี้คณุ แม่แกงจืดใส่เหด็ หอมน่ารบั ประทานจัง วนั นี้คณุ แม่แกงจืดใส่เหด็ หอม น่ารบั ประทานจัง

6. ขอ้ ควรระวังในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร 6.9 6.9 การวางคําขยายใหถ้ ูกที่ การวางคําขยายให้ถูกท่ี จะช่วยให้เป็นประโยคมี ความชดั เจน ส่ือความหมายได้ถูกต้องและรวดเรว็ เชน่ นักเรยี นที่ประพฤติดีย่อมเป็นท่ีรกั ของครูทุกคน ควรแก้ไขเปน็ นักเรยี นยอ่ มเปน็ ที่รกั ของครูท่ีประพฤติ ดีทุกคน

6. ข้อควรระวังในการใชภ้ าษาเพื่อการสื่อสาร 6.10 6.10 การใช้ประโยคทก่ี ะทัดรดั ผูใ้ ช้ภาษาในการสอ่ื สารควรหลีกเลี่ยงประโยคยาว ๆ โดยไม่จําเป็น เช่น คนทุกคนในโลกน้ีทุกคนต้องการ ความสุขความสําเรจ็ ในชีวิตด้วยกันทุกคน และทุกคนก็ สามารถสมหวงั ดังท่ีคิดได้ด้วยความเพียรพยายามของ ทุกคนเอง ควรแก้ไขเป็น ทุกคนต้องการความสุข ความสําเรจ็ ในชีวิตจะสามารถสมหวังดังที่คิดได้ด้วย ความเพียร

6. ขอ้ ควรระวงั ในการใช้ภาษาเพ่ือการส่ือสาร 6.11 6.11 การใช้ประโยคที่สละสลวย ในการสื่อสารถ้าผู้ส่งสารรูจ้ ักเลือกเฟ้นถ้อยคําก็จะทํา ให้ผู้รบั สารเข้าใจและเกิดจินตภาพตามข้อความน้ัน ๆ ได้ ก า ร ผู ก ป ร ะ โ ย ค ท่ี ส ล ะ ส ล ว ย อ า จ ต้ อ ง ใช้ วิ ธี ขั ด ค ว า ม ห รือ ขนานความมาชว่ ย การขัดความ คือ การยกข้อความสองข้อความข้ึน เทียบกัน โดยให้มีใจความถ่วงกัน คือ มีชั่งน้าหนักของ ข้อความทงั้ สองข้างเทา่ ๆ กัน การขนานความ คือ การผูกประโยคให้มีข้อความ คล้อยตามกัน

6. ขอ้ ควรระวังในการใชภ้ าษาเพ่ือการส่ือสาร 6.12 6.12 การใช้คํากํากวม ถ้าผสู้ ่งสารใชค้ ํากํากวมจะทําให้ผู้รบั สารเข้าใจไม่ ตรงกัน เพราะผู้รับสารสามารถตีความได้หลายแง่ หลายมมุ เช่น ขอหอมหน่อย อาจตีความได้ว่า ขอหอมแก้ม หน่อย ขอต้นหอมหน่อย หรอื ขอหัวหอมหน่อยก็ได้

สรุปทา้ ยบท ก า ร ใช้ ภ า ษ า ไ ท ย เพ่ื อ สื่ อ ส า ร ใ น ง า น อาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้ภาษา จํ า เป็ น ต้ อ ง เ ลื อ ก ใ ช้ ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง ภ า ษ า ระดับภาษา การใช้คําและสํานวนภาษาให้ ถูกต้อง เหมาะสมกับสถานการณ์ และ โอกาสท่ีใช้


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook