Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Ebookเอกเทศสัญญา อจ.มาตา

Ebookเอกเทศสัญญา อจ.มาตา

Published by suweerayaamp, 2021-10-21 10:54:14

Description: Ebookเอกเทศสัญญา อจ.มาตา

Search

Read the Text Version

อย่างไรก็ดี คู่ สัญญาจะต้อง… ต้องพิจารณาถึงความหมายของคำว่า \"ลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์\" ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ด้วย เนื่องจากสัญญาซื้อขาย เป็นธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์อย่างหนึ่งซึ่งกฎหมายให้ เอาลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ บังคับได้ ทั้งนี้ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง อักษร อักขระ ตัวเลข เสียง หรือสัญลักษณ์ อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุดคลผู้เป็นเจ้าของ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าว ยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น

ข้อสังเกต หากหลักฐานการฟ้องร้องบังคับคดีซึ่ง ได้ทำกันขึ้นนั้นถูกทำลายโดย เหตุสุดวิสัย สูญหาย ไป หรือไม่สามารถนำมาได้โดยประการ อื่น ตู่พิพาทสามารถนำเอาพยาน บุคคลเข้าสืบได้ตาม ประมลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93

2.วางประจำ

วางประจำ ประจำ (Earnest) หมายถึง การวางมัดจำ ไม่ว่าจะเป็นเงิน หรือทรัพ อันเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญา ซื้อขายขึ้นจริงและจะต้องมีการส่งมอบกัน จะเอามัดจำนี้ป็นการชำระหนี้หรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้วางมัดจำก็สามารถฟ้อง ร้องบังคับคได้ทั้งสองฝ้าย อนึง การวาง ประจำหรือวางมัดจำนั้นจะต้องนำเอา มาตรา377เเละ มาตรา 378 มาใช้บังคับแก่กรณี

ตัวอย่าง นาย ก. ทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านกับนาย ข. ราดา 3,000,000 บาท โดยนาย ก. ได้ วางเงินมัดจำเอาไว้เป็นจำนวน 20,000 บาท ดังนี้ ถือว่าเงินจำนวน 20,000 บาทนั้นคือ เงินอัน เป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญาซื้อขายขึ้น จริง เป็นการประกันว่าจะปฏิบัติดามสัญญา และสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 102/2535 แม้สัญญาจะซื้อขายจะใช้บังดับไม่ได้ เพราะจำเลยพิมพ์ ลายนิ้วมือไว้ในสัญญาโดยไม่มีพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมีอก็ ตาม แต่ก็ใด้มีการวางประจำไว้แล้ว โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยได้ เนื่องจากการวาง ประจำ คือ การวางมัดจำไม่ว่าจะเป็นเงิน หรือทรัพย์สินมีค่าอันเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญา ซื้อขายจริง

สัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อ คำพิพากษาโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยในราคา 500,000 บาท โดยรับเงิน มัดจำไปแล้ว 10,000 บาท จึง ฎีกาที่ ฟ้องร้องบังดับคดีแก่จำเลยได้ตามมาตรา 456 วรรคสอง โดยดำ ว่า \"มัดจำ\" ตามมาตรา 377 มี 7726/2540ความหมายว่าจะต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ให้ไว้แก่กันเมื่อเข้าทำ สัญญา ซึ่งอาจจะเป็นเงินหรือสิ่ง มีด่าอื่นซึ่งมีค่าในตัวเอง อนึ่ง สัญญาจะซื้อจะขาย หากมีการวาง มัดจำไว้แล้ว แม้ไม่มีหลักฐาน เป็นหนังสือก็สามารถฟ้องร้องให้บังดับคดีกันได้ (คำพิพากษา ฎีกาที่ 2927/2547 ได้วินิจฉัย ในทำนองเดียวกัน)

ดังนั้น การวางประจำก็คือการวางมัดจำ ซึ่งหมายความถึงเงินหรือทรัพย์สินอื่น อันมีค่า อันเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญาซื้อขายขึ้นจริง เป็นการประกัน ว่าจะปฏิบัติตามสัญญา ทั้งนี้ การวางมัดจำนั้นอาจเป็นไปตามที่ดูสัญญากำหนดหรือตามที่ กฎหมายกำหนดเอาไว้ก็ได้ หากเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ก็จะต้องนำเอาบทมาตรา 37 และมาตรา 378 มาใช้บังดับ แก่กรณี ซึ่งอาจมีการให้ส่งคืนหรือเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนในเมื่อชำระ หนี้หรือให้ริบมัดจำหาก ไม่มีการชำระหนี้หรือการชำระหนี้นั้นตกเป็นพันวิสัยหรือมีการเลิกสัญญา เพราะเหตุความผิดของฝ่ายนั้น

HE L L O 3.การชำระหนี้บางส่วน

การชำระหนี้บางส่วน (Part performance) หมายถึง การที่คู่ สัญญาได้มีการชำระราดา หรือส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายกัน แล้ว ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ก็ตาม' ทั้งนี้ ไม่ว่าฝ่ายใดจะเป็น ผู้ชำระหนี้บางส่วนก็สามารถฟ้อง ร้องบังดับคดีได้ทั้งสองฝ่าย'

ตัวอย่าง นาย ก. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน 50 ไร่กับนาย ข. ราคา 10,000,000 บาท โดยนาย ก. ได้ชำระเงินจำนวน 1,000,000 บาทให้ นาย ข. ดังนี้ ถือว่าเงินจำนวน 1,000,000 บาท คือ การชำระ หนี้บางส่วนและไม่ว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ ชำระหนี้บางส่วนก็สามารถฟ้องร้อง บังคับคดีได้ทั้งสองฝ่าย

คำพิ พากษาฎีกาที่ 220/2509 ค ผู้จะซื้อได้ชำระเงินค่าที่ดินที่จะซื้อขายกันให้ผู้จะขาย แล้วบางส่วน เป็นสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทกันโดย สมบูรณ์ในแบบที่ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว สัญญาแบบนี้ไม่จำต้องมีเอกสารป็นหนังสือมาแสดงก็ สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้

คำพิ พากษาฎีกาที่ 1070/2509 การที่จำเลยได้ส่งมอบนาให้โจทก็ครอบครอง ตั้งแต่วัน ตกลงซื้อขายนากันนั้นเป็นข้ออ้างว่าได้ชำระหนี้ บางส่วนตามมาตรา 456 วรรคสองแล้ว ซึ่งเป็น มูลให้โจทก์บังดับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาต่อ ไป

คำพิ พากษาฎีกาที่ 1075/2533 จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินพิพาทจาก โจทก์โดยการส่งหินทรายให้โจทก์ ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้ ชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและ ที่ดินพิพาทนั้นให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยจึงมีอำนาจฟ้อง บังคับให้โจทก็จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท ให้จำเลยได้

คำพิ พากษาฎีกาที่ 5466/2539 สัญญาจะซื้อจะขายโคที่อายุยังไม่ถึงทำตั๋ว พิมพ์รูป พรรณ เมื่อมีการส่งมอบโคให้ผู้ซื้อไปแล้ว เป็นการชำระหนี้บางส่วนตามมาตรา 456 วรรคสอง

คำพิ พากษาฎีกาที่ 7735/2555 ในการซื้อขายตันอ้อย โจทก์ได้ส่งมอบกรรมสิทธิ์ดัน อ้อยให้แก่จำเลยและจำเลยเข้าไปตัดต้นอ้อยของโจทก์ ไปขาย อันถือได้ว่าโจทก์ชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย คือ ส่งมอบตันอ้อยให้จำเลยแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะ ฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระราคาอ้อยได้

3.สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ด ขาดซึ่งสังหาริมทรัพย์ที่มี ราคาสองหมื่น บาทหรือกว่านั้นขึ้นไป

มาตรา456 วรรค ท้าย บัญญัติว่า.\"...บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรดก่อน นี้ ให้ใช้บังดับถึง สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็น ราคาสองหมื่นบาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย\"

ตัวอย่าง นาย ก. ทำสัญญาซื้อขายนกแก้วแอฟริกา 1 ตัว ราคา 50,000 บาท โดยได้มีการส่ง มอบและมัดจำกันแล้วจำนวน 1,000 บาท ดังนี้ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ซึ่งสังหาริมทรัพย์ที่มีราคา 20,000 บาทหรือกว่า นั้นขึ้นไป สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน (นกแก้วแอฟริกา) โอนไป ยังอีกฝ่ายแล้ว ไม่จำต้องไปทำเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี.. แม้สัญญาซื้อขายดังกล่าวข้างต้นจะ ได้แก่ 1. หลักฐานเป็น เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย หนังสืออย่าง แล้วนั้น หนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อ เนื่องจากไม่มีเรื่อง \"แบบ\" เข้ามา ฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็น เกี่ยวข้อง แต่หากเกิดข้อพิพาทและ สำคัญ 2. การวางประจำ 3. จะฟ้องร้องบังคับคดีกันก็ การชำระหนี้บางส่วน จะต้องมีหลักฐานตามที่กฎหมาย มิเช่นนั้นจะไม่สามารถฟ้อง กำหนดไว้มาแสดงต่อศาล ร้องบังคับคดีกันได้

1. หลักฐานเป็นหนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือ หมายถึง หนังสือฉบับเดียวหรือ อย่างหนึ่งอย่างใดลง หลายฉบับที่ทำกันเป็นลายลักษณ์ ลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้อง อักษร นอกจากนั้น จะต้องมีการลงลายมือชื่อของฝ่ายที่ ต้องรับผิดเป็นสำคัญก็ใช้ได้แล้ว โดยฝ่าย รับผิดเป็นสำคัญ ที่ต้องรับผิดนั้นคือฝ่ายที่จะถูกฟ้องร้องบังดับคดีให้ต้อง ปฏิบัติตามสัญญา จะเป็นฝ่ายผู้ซื้อหรือฝ่าย ผู้ขายก็ได้ แต่หากไม่ลงชื่อฝ่ายใดเอาไว้ ฝ่ายนั้นไม่จำต้อง รับผิด

2.การวางประจำ การวางประจำ หมายถึง การ วางมัดจำไม่ว่าจะเป็นเงินหรือ ทรัพย์สินมีค่าอันเป็นพยาน หลักฐานว่าได้มีการทำสัญญา ซื้อขายกันจริงและจะต้องมีการ ส่งมอบกันแล้ว และไม่ว่าฝ่ายใด จะ เป็นผู้วางประจำก็สามารถฟ้อง ร้องบังคับคดีได้ทั้งสองฝ่าย

ทั้งนี้ การวางมัดจำนั้นอาจเป็นไปตามที่คู่สัญญากำหนด หรือตามที่กฎหมายกำหนดเอา ไว้ก็ได้ หากเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ก็จะต้องนำ เอาบทมาตรา 377 และมาตรา 378 มา ใช้บังคับแก่กรณี ซึ่งอาจมีการให้ส่งคืนหรือเอา เป็นการใช้เงินบางส่วนในเมื่อมีการชำระหนี้ หรือ ให้ริบมัดจำหากไม่มีการชำระหนี้หรือการชำระหนี้นั้น ตกเป็นพันวิสัยหรือมีการเลิกสัญญาเพราะ เหตุดวามผิดของฝ่ายนั้น ดังนั้น หากมีการปฏิบัติ การชำระหนี้แล้ว เจ้าหนีไม่มีสิทธิไปริบมัดจำ ตามมาตรา 378 (2) แต่จะต้องส่งมัดจำนั้นคืนหรือ อาจหักมัดจำนั้นเป็นการชำระหนี้ตามมาตรา 378 (1) ก็ได้

3.การชำระ หนี้บางส่วน

การชำระหนี้บางส่วน หมายถึง การ ที่ดูสัญญาได้มีการชำระราคาหรือส่ง มอบทรัพย์สิน ที่ซื้อขายกันแล้ว ไม่ว่าทั้งหมดหรือ บางส่วนก็ตาม และไม่ว่าฝ่ายใดจะ เป็นผู้ชำระหนี้บางส่วนก็ สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ทั้งสอง ฝ่าย อนึ่ง การหักหนี้ในการชำระ ราคาส่วนหนึ่งก็ถือเป็นการ ชำระหนี้บางส่วนได้

บทสรุป

การทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินโดยทั่วไปนั้น ตู่สัญญาต้องการ ความคล่องตัวและอิสระ หากไปกำหนดกฎเกณฑ์หรือระเบียบต่างๆ อันส่งผลให้เกิดข้อยุ่ง ยากก็จะเป็นอุปสรรคในการ ซื้อขายระหว่างคู่สัญญา โดยเฉพาะการซื้อขายทรัพย์สินที่มีหลาย ช่องทางในปัจจุบัน ดังนั้น ใน การทำสัญญาซื้อขายโดยทั่วไปนั้น กฎหมายไม่ได้ไปกำหนด \"แบบ\" ของสัญญาเอาไว้ เมื่อฝ่าย หนึ่งเสนอซื้อ อีกฝ่ายสนองขาย สัญญาซื้อขายก็เกิดขึ้น กรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินที่ซื้อขายก็โอนไป ยังอีกฝ่ายทันที

แต่อย่างไรก็ดี การทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินบางอย่างบางประเภทนั้น กฎหมาย จะต้องเข้ามาคุ้มครองคู่สัญญาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โดยเฉพาะการทำ สัญญาซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์พิเศษ ซึ่งกฎหมายได้กำหนดเรื่องของ \"แบบ\" เอาไว้ หาก ไม่ทำตามแบบ สัญญาซื้อขายดังกล่าวก็จะตกเป็นโมฆะ ซึ่ง \"แบบ\" ของนิดิกรรม นั้น กฎหมาย กำหนดเพื่อความสมบูรณ์ของนิติกรรม โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้เข้ากับระเบียบ ของสังคม แบบ ของนิติกรรมเป็นกรอบพิธีภายนอกของนิติกรรม แบบของนิติกรรมสัญญาจึง เป็นสิ่งซึ่งคู่สัญญา จะต้องไปกระทำหรือปฏิบัติกันในภายหลังเมื่อมีนิติกรรมสัญญาเกิดขึ้นแล้ว

สำหรับ แบบ ของสัญญาซื้อขายนั้น กฎหมายได้บัญญัติเอาไว้ในมาตรา 456 ซึ่งเมื่อ พิจารณาแล้วนั้นจะเห็นได้ว่ากฎหมายได้กำหนดเรื่องของ \"แบบ\" ในการทำสัญญาซื้อขายเอาไว้ ม่ว่าจะเป็นแบบในการซื้อขายองหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์พิเศษ โดยจะต้องทำ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนการซื้อขายบางประเภทหรือทรัพย์สินบางอย่าง เช่น สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือดำมั่นในการซื้อขายเรือมี ระวางตั้งแด่ห้าตันขึ้นไป ซื้อขายแพและสัตว์พาหนะ กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบเอาไว้ เพียงแต่ ฟ้องร้องบังคับคดีกัน ต้องมีหลักฐนเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือซื่อฝ่า ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว

อ้างอิง คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่ งและพาณิชย์ ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ธีรยุทธ ปักษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook