Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เทพทาโร (Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm.)

เทพทาโร (Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm.)

Published by supanan07015, 2021-10-16 03:43:11

Description: เทพทาโร (Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm.)

Search

Read the Text Version

รายงาน เรอื่ ง เทพทาโร (Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm.) จดั ทำโดย นางสาวสภุ านนั จงจิตร์ รหสั นักศกึ ษา 663406600008-4 สาขา อุตสาหกรรมอาหาร ชน้ั ปที ี่ 2 เสนอ รองศาสตราจารย์ ดร. ชตุ ินุช สจุ รติ รายงานฉบับนเี้ ปน็ ส่วนหนงึ่ ในการเรียนในรายวิชา การอ่านและการเขยี นเชงิ วิชาการ (0101100559) ภาคเรียนที่ 1 ปกี ารศึกษา 2564 มหาวทิ ยาลัยราชมงคลศรีวิชยั วิทยาเขตตรัง

ก คำนำ รายงานวชิ า การอา่ นและการเขียนเชิงวิชาการ เรื่อง เทพทาโร (Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm.) จัดทำขึ้นเพือ่ ใช้ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา การอ่านและการเขียนเชิงวิชาการ (0101100559) ซึ่งผู้จัดทําได้รับมอบหมายจาก อาจารย์ผู้สอนให้ไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากเอกสาร วารสารอินเตอร์เน็ตและ แหลง่ ขอ้ มลู ตา่ งๆ โดยมีจดุ ประสงคเ์ พอื่ ให้ผูจ้ ัดทำได้คน้ ควา้ และนำส่ิงท่ีได้จากการศึกษา มาสร้างเป็นชิ้นงานเก็บไว้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนของตนเองและอาจารย์ ตอ่ ไป ผู้จัดทําได้ไปศึกษาคน้ คว้ารวบรวมและเรียบเรียงออกมาเป็นรายงาน ซึ่งรายงาน เล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อหาของต้นเทพทาโร ประวัติความเป็นมาของต้นเทพทาโร การ ขยายพันธ์ุต้นเทพทาโร สรรพคุณของต้นเทพทาโร การแปรรูปต้นเทพทาโร และการใช้ ประโยชน์จากต้นเทพทาโร ผู้จัดทำได้แนบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการศึกษา และเพื่ออ้างอิงเนื้อหาให้น่าเชื่อถอื ยิ่งขึ้น ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มน้ีะเปน็ ประโยชน์ต่อผู้ท่สี นใจและผู้ท่ีใช้ใหเ้ กิดผลสัมฤทธ์าิ มความคาดหวงั นางสาวสุภานัน จงจิตร์ 10 ตลุ าคม 2564

สารบญั ข เร่ือง หนา้ บทนำ 1 ลักษณะทัว่ ไป 2 สารสำคญั ในเนอื้ ไม้ 4 การกระจายพันธ์ุ 4 การเจริญเติบโต และการปรบั ปรุงพนั ธ์ุ 4 วนวัฒนวธิ ีและการจัดการ 5 การขยายพันธุ์ 5 การปลกู ไม้เทพทาโร 8 โรคและแมลงศตั รพู ืช 9 สรรพคุณ 10 การใชป้ ระโยชน์ 12 14 การใช้ประโยชน์ไมเ้ ทพทาโรในเชงิ เศรษฐกิจ 15 มูลค่าทางเศรษฐกิจของเทพทาโร 16 ผลติ ภัณฑ์แกะสลกั ไม้เทพทาโร 19 21 'วังเทพทาโร' แหล่งรวมงานศิลปะจากรากไม้ จ.ตรัง งานวิจยั ทเี่ กี่ยวขอ้ ง เอกสารอ้างอิง

1 เทพทาโร Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm. บทนำ เทพทาโร เป็นไม้มงคลพระราชทานประจำจงั หวัดพังงา จดั อย่ใู นวงศ์ Lauraceae ม ี ช ื ่ อ ว ิ ท ย า ศ า ส ต ร ์ Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm. ช ื ่ อ พ ้อง Cinnamomum glanduliferum C. Nees, Cinnamomum Parthenoxylon (Jack.) C. Nees และ Cinnamomum sumatranum (Miq.) Meissner ชื่อภาษาอังกฤษคือ Safrol laurel พบทั่วไปทุกภาคของประเทศ ภาคกลางและภาคตะวันออกเรียก เทพทาโร ภาคใตเ้ รียก จวง หรอื จวงหอม ภาษายาวีเรียก มือแดกะมางิง ภาคเหนือเรียก จะไคต้น จะไคหอมหรือพลูต้นขาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียก การบูร เนื่องจาก เปลือกต้นและรากมีกลิ่นคล้ายต้นการบูร หรืออบเชยญวน ( Cinnamomum camphora(L.) J.Presl) ปัจจุบันตน้ เทพทาโรทัง้ ในปา่ ธรรมชาติและในที่ดนิ กรรมสทิ ธ์มิ ีปรมิ าณลดลงอย่าง ต่อเนื่อง ช่วงเวลาที่ผ่านมายางพาราและปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีราคาดี เทพทาโรจึงถูกตัดทิ้งเป็นจำนวนมากเพื่อนำพื้นที่ไปเพาะปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน รวมถึงพชื เศรษฐกิจอื่นๆ นอกจากนั้นกระแสความนิยมวัตถุมงคล เช่น จตุคามรามเทพ ทำให้มีการตัดไม้เทพทาโรเพื่อนำไปทำมวลสารสำคัญของวัตถุมงคล ส่งผลให้ปริมาณ เทพทาโรในธรรมชาติลดลง และยังคงมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นไม้เนื้อหอม เนื้อแข็งปานกลาง นิยมใช้ในงานแกะสลัก เศษไม้ ตอและรากใช้กลั่นน้ำมันหอมระเหย หรือใช้เผาให้เกิดกลิน่ หอมในพธิ ีกรรมทางศาสนา และธุรกจิ สปา ทำให้มีการตัดโค่นต้น เทพทาโรจากป่าธรรมชาติมากขึ้นเพื่อเอาเนื้อไม้ตอและรากไปใช้โดยไม่มีการปลูก ทดแทน เพื่อป้องกันปัญหาเทพทาโรสูญพันธุ์จากธรรมชาติและเพื่อส่งเสริมการใช้ เทพทาโรใหเ้ ป็นไม้เศรษฐกจิ อย่างเปน็ ระบบ

2 ลักษณะทั่วไป เทพทาโร เป็นไมย้ ืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สงู 10-30 เมตร ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบ ระยะสน้ั เรือนยอดโปร่งถึงเป็นพุม่ กลมทึบ สีเขียวเข้ม ลำตน้ เรยี บไม่มพี ูพอน เปลือกต้น สีเทาอมเขียว หรือเทาอมน้ำตาล แตกเปน็ ร่องตามยาวลำต้น เม่ือถากเปลอื กออกเปลือก ชั้นในมีสนี ้ำตาลอมแดง มกี ลิน่ หอม กิ่งมีลกั ษณะออ่ นเรียว เกลี้ยง และมักมีคราบขาว ทีม่ า : http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/images.jpg ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงกนั ขา้ ม เรยี งเวียนสลบั รปู รีแกมรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูป ขอบขนาน เนอ้ื ใบคอ่ นข้างหนา ผวิ ใบเกล้ียง ทอ้ งใบมีนวลขาวอมเทา ใบแก่อายุมากมีสี แดง เสน้ ใบหลัก 1 เส้น เสน้ ใบข้างโคง้ 3-7 คู่ นูนขน้ึ ทง้ั สองด้าน ปลายใบแหลม โคนใบ สอบถึงมน กว้างประมาณ 2.5-6 เซนตเิ มตร ยาวประมาณ 5-20 เซนตเิ มตร กา้ นใบเรยี ว เล็ก สีเขียวอ่อน เขียวอมเหลืองหรือแดง ยาวประมาณ 1.2-3.5 เซนตเิ มตร ที่มา : https://cw.lnwfile.com/_/cw/_raw.jpg

3 ดอก สีขาวหรือเหลืองอ่อน มกี ลิน่ หอม ออกเปน็ ชอ่ ตามปลายก่ิง เปน็ กระจุกยาว ประมาณ 2.5-10.0 เซนติเมตร 1 ช่อ มีประมาณ 13-14 ดอก ก้านช่อดอกเรียวยาว ประมาณ 5.0–6.0 เซนติเมตร และเล็กมาก ทีม่ า : https://www.technologychaoban.com ผล มีขนาดเล็ก เกลี้ยง ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 – 8 มิลลิเมตร มี กลิ่นหอม ผลออ่ นมีสีเขยี ว เมอื่ แกม่ ีสีม่วงดำ กา้ นผลเรยี ว ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ที่ข้วั มกี ลีบเล้ยี งรูปถ้วย ไม่มีซ่ีหยกั ติดอยู่ ก้านผลสว่ นบนพองออก ที่มา : http://shopee.co.th/mongkollife/ เน้อื ไม้ ท้ังจากสว่ นลำตน้ และราก มสี เี ทาแกมนำ้ ตาล เปน็ มนั เลอ่ื ม เส้ียนตรงหรือ เสี้ยนสนเล็กน้อย เนื้อเหนียว แข็งพอประมาณ เลื่อยไสกบตกแต่งง่าย มีกลิ่นหอม เฉพาะตัว เทพทาโรทีพ่ บในภาคใต้ทุกส่วนของลำตน้ มีกลิ่นหอมตัง้ แตใ่ บ เนื้อไม้ เปลือก ต้น ผล ดอก ราก และเปลอื กราก

4 สารสำคัญในเนือ้ ไม้ จะพบ d – camphor ท่ีใชแ้ ทน sassafras ไดด้ ีให้นํา้ มนั ทีม่ ีสารหอม คือ safrol และ cinnamic aldehyde และยังพบ safrol ในเปลอื ก ตน้ และใบ(ลนี า, 2537) การกระจายพนั ธุ์ เทพทาโรเป็นพันธุ์ไมท้ ี่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศชื้นภูมิประเทศเป็นที่ราบ จนถึงภูเขาสงู ตัง้ แต่ 0 - 3,000 เมตร เหนือระดับนำ้ ทะเล มเี ขตการกระจายพนั ธใุ์ นแถบ เอเชยี พบมากในเอเชยี เขตร้อนตง้ั แต่ทิเบต มณฑลยนู านในจีน อินเดยี เทอื กเขาตะนาว ศรใี นพม่า เวยี ดนาม คาบสมุทรอินโดจีน จนถงึ แหลมมลายู ไทย มาเลเซยี สงิ คโปร์ เกาะ สมุ าตรา และเกาะอ่ืนๆ ในอินโดนีเซยี ในประเทศไทยพบท่ัวทกุ ภาคของประเทศ ข้นึ กระจัดกระจายเป็นกลุม่ ตั้งแต่ที่ราบ เชิงเขาจนถึงบนเขาในป่าดิบชื้น สภาพดินร่วนปนทราย น้ำไม่ท่วมขัง พบการกระจาย พนั ธหุ์ นาแน่นในภาคใต้ การเจรญิ เตบิ โต และการปรับปรุงพันธ์ุ ต้นเทพทาโรเป็นไม้หอมที่มีคณุ ค่าทางเศรษฐกจิ จึงสมควรที่จะปลูกสร้างสวนป่า ไม้เทพทาโรขนึ้ ในทท่ี ม่ี คี วามชมุ่ ชื่นเพยี งพอ เพราะเทพทาโรจะชอบขึ้นอยู่บนเขาในป่าดง ดิบ พบมากที่สุดทางภาคใต้ อาจจะปลูกใต้ร่มไม้อืน่ หรือปลูก เป็นไมแ้ ซมสวนป่า น่าจะ เจริญเตบิ โตดกี ว่าปลกู เป็นไม้เบกิ นาํ ในท่โี ลง่ แจ้ง

5 วนวฒั นวิธีและการจดั การ เมื่อได้ต้นกล้าของเทพทาโรมาแล้ว ควรปลูกระยะห่างต้นละ 5 เมตร อาจ ปลูกแซมสวนป่า หรอื ปลูกพืชจาํ พวกกลว้ ยนำ้ วา้ เป็นพชื พีเ่ ลี้ยงแซมลงไปเพอ่ื ให้มีรายได้ ในช่วง 2 – 3 ปีแรก การใสป่ ุ๋ยทําเช่นเดยี วกบั ไมย้ นื ตน้ ทว่ั ไป การขยายพันธ์เุ ทพทาโร เทพทาโรมีการสืบพันธุ์เพื่อการดำรงอยู่ในธรรมชาติทั้งแบบอาศัยเพศและไม่ อาศยั เพศ การสบื พันธุ์โดยอาศยั เพศจะเกิดขนึ้ ได้ต้องมีสภาวะที่เหมาะสมกล่าวคือ มีการ ผสมเกสร ติดผล เกิดเมล็ด เมื่อผลแก่อาจจะมีสัตว์มาช่วยในการกระจายพันธุ์ โดยการ กินผลและนำเมล็ดไปตกในท่ที เ่ี หมาะสมกบั การงอก หรอื ผลแกร่ ่วงหล่นบรเิ วณใตโ้ คนต้น เมื่อมีสภาวะที่เหมาะสมต้นกล้าจึงเจริญเติบโตเป็นไม้ใหญ่ ออกดอก ติดผล สืบพันธุ์ หมุนเวียนเป็นวัฏจักรต่อไป การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของเทพทาโรที่พบมากใน ธรรมชาติ คอื การแตกตน้ ออ่ นจากรากของตน้ เทพทาโร ในการปลูกสรา้ งสวนป่าไม้เทพทาโรเชงิ เศรษฐกิจ จำเปน็ ต้องมกี ารคัดเลือกแม่ไม้ เพ่อื ผลิตกลา้ พนั ธ์ุดี หรือมกี ารปรับปรุงพนั ธ์ุไม้เพ่ือใหไ้ ด้พันธุ์ทมี่ ีลักษณะดีตรงตามความ ต้องการของการใช้ประโยชน์ การขยายพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศจึงมี ความสำคญั จำเปน็ ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เนอ่ื งจากการขยายพันธุ์ทั้ง สองแบบมขี อ้ ดแี ละขอ้ เสียแตกตา่ งกัน การขยายพนั ธุ์โดยอาศยั เพศ เทพทาโรเป็นพืชที่มีดอกสมบูรณ์เพศ (complete flower) คือ มีเกสรตัวผู้และ เกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน ดอกจะเริ่มบานในช่วงเช้าเวลาประมาณ 7.00 – 9.00

6 นาฬิกา เมื่อดอกได้รับการผสมจะพฒั นาเป็นผลส่วนดอกที่ไม่ได้รับการผสมจะหลุดร่วง ไป ผลเทพทาโรที่สุกแก่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเมล็ดประมาณ 1.0 เซนติเมตร มีสี แดงม่วงเข้ม ภายในผลมีเมล็ดเพียง 1 เมล็ด ลักษณะเมล็ดประกอบด้วยส่วนที่สะสม อาหารของเมลด็ และต้นอ่อน โดยปกติแล้วเมล็ดจะงอกได้เพียง 5–10 % ในเวลา 90 วันส่งผลให้กล้าไม้ เทพทาโรในท้องตลาดมีราคาแพงมาก การเพาะเมล็ดให้ได้ผลดีควรจะกำจัดเปลือกและ เน้อื ท่หี ุม้ เมล็ดออกเสียก่อน เนือ่ งจากเป็นแหลง่ อาหารของราและมด แต่ในปัจจุบันการ เพาะเมล็ดได้พัฒนาขึ้นโดยสามารถเพาะให้งอกได้ถึง 70 % ในเวลาเพียง 12 วัน โดย วิธีการนำผลสุกแก่ล้างเอาเนื้อออก นำเมล็ดที่ได้มาผ่าซีก โดยผ่าแบ่งครึ่งตามรอยของ เมล็ด ซึ่งสังเกตได้จากรอยแบง่ ครึ่งบนเปลือกเมล็ด เมล็ดที่ผ่าเสร็จให้แช่น้ำไว้ในขณะท่ี ทำการผ่าเมล็ดอื่นๆ จากนั้นนำเมล็ดผ่าซีกซึ่งมีส่วนของต้นอ่อน ไปเพาะในภาชนะปิด โดยใช้ขุยมะพรา้ วหรอื แกลบเผาทมี่ คี วามช้นื ของวัสดเุ พาะ 50 % ชว่ งการเพาะไมต่ ้องรด น้ำแต่อย่างใด เมล็ดจะเริ่มงอกในวันที่ 9 – 12 ตามความแข็งแรงของเมล็ดและพัฒนา เป็นต้นอ่อนภายในระยะ 6 เดอื น จากวิธีปกตติ อ้ งเวลานานกวา่ 8 เดือน การขยายพันธุ์เทพทาโรด้วยเมล็ดโดยธรรมชาติ แม้ว่าใช้เวลานานและใหร้ อ้ ยละ ของการงอกต่ำ ไม่เหมาะต่อการผลิตกล้าจำนวนมาก แต่ยังมีความจำเป็นต่อการ ปรบั ปรงุ พนั ธ์เุ ทพทาโรเพอื่ ใหค้ ุณลักษณะท่ีดี เช่น ลำตน้ เปลาตรง โตเร็ว ทนทานต่อโรค และแมลง ให้น้ำมนั หอมทุกส่วนของต้น และให้น้ำมนั หอมปริมาณสงู เป็นตน้ การขยายพันธโุ์ ดยไม่อาศัยเพศ เป็นการผลิตกล้าพันธุ์ดีที่มีลักษณะเช่นเดียวกับต้นแม่ คือ คงลักษณะทาง พันธกุ รรมของตน้ แม่ไมไ้ ว้ โดยวธิ ีการปกั ชำ และการตอนกิ่ง ซึง่ จะต่างจากการขยายพันธุ์

7 โดยอาศัยเพศที่อาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่เหมือนต้น แมพ่ ันธไ์ุ ด้ การขยายพันธุ์ไมเ้ ทพทาโรโดยไมอ่ าศยั เพศโดยวิธกี ารปักชำจากส่วนยอดนน้ั ต้อง คัดเลอื กยอดทมี่ ีลักษณะใบแกพ่ อประมาณ กิง่ เริ่มเปลย่ี นเปน็ สนี ้ำตาลอ่อน มีตาตุ่มตาม ซอกใบและปลายยอดพร้อมจะแตกยอดใหม่ ความยาวของกิ่งปักชำประมาณ 10 เซนติเมตร และตัดใบออกให้เหลือใบยอด 2-3 ใบ ตัดปลายใบให้เหลือครึ่งใบ นำกิ่งมา แชใ่ นสารละลายฮอร์โมนเรง่ ราก พี-รทู (มขี ายในท้องตลาด) ใช้อัตราความเขม้ ขน้ 10 % นาน 30 นาทีแล้วนำไปปักชำในกระบะเพาะชำ (ถาดหลุม) โดยใช้วัสดุเพาะชำ ทราย ผสมขุยมะพรา้ วในอัตราส่วน 2:1 วางในเรือนเพาะชำระบบควบคุม ใช้กระโจมพลาสติก ครอบถาดปกั ชำ แลว้ ใช้ทรายทบั ขอบพลาสตกิ โดยรอบเพื่อไม่ให้ความช้ืนระบายออก ให้ น้ำแบบพ่นหมอก อย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง โดยสังเกตจากไอน้ำภายในกระโจมพลาสตกิ ให้มีฝ้าอยู่ตลอดเวลา หากฝ้าเริ่มลดลงก็ควรให้น้ำเพิ่ม ทั้งนี้ไม่ต้องเปิดพลาสติกออก ต้ังแตเ่ รม่ิ ปักชำประมาณ 45 วัน รากจะเรม่ิ งอกและสามารถยา้ ยชำได้ เม่ืออายปุ ระมาณ 60–70 วัน จึงจะเปิดกระโจมพลาสติกออก แล้วย้ายกิ่งปักชำลงถุงเพาะชำขนาด 6X9 นิ้ว โดยใช้ดินผสมแกลบสดและแกลบเผาอัตราส่วน 2:1:1 บำรุงดูแลอีกประมาณ 6 เดือน จะไดก้ ล้าไมท้ สี่ มบรู ณ์แข็งแรงพร้อมลงแปลงปลูกไดต้ อ่ ไป สำหรับการตอนกิ่ง เป็นวิธีการทำให้พืชออกรากในขณะที่กิ่งน้ันติดอยู่กับต้นแม่ หลังจากออกรากแล้วจึงตัดออกจากต้นแม่ได้ต้นใหม่ การตอนกิ่งเป็นวิธีการที่ตัดท่อ อาหารที่ติดอยู่กับต้นแม่ออกเพื่อกระตุ้นการเกิดราก โดยเลือกกิ่งที่ไม่อ่อนหรือแก่ จนเกินไป มีสีน้ำตาลอ่อน ควั่นเปลือกห่างกันประมาณ 1 นิ้ว ลอกเปลือกออกแล้วขูด เบาๆ เอาทอ่ ลำเลยี งอาหารออก ปลอ่ ยท้ิงไว้ประมาณ 5–10 นาที หุ้มด้วยขยุ มะพรา้ วใน ถงุ พลาสติกที่มคี วามชน้ื พอเหมาะ มัดดว้ ยเชอื กฟางให้แนน่ กง่ิ ตอนจะออกรากภายใน 2- 3 เดือน ตดั กง่ิ ตอนทีม่ รี ากสีน้ำตาลชำลงถงุ ขนาด 6X9 น้ิว ใช้วัสดดุ ินผสมแกลบสดและ

8 แกลบเผาอัตราสว่ น 2:1:1 บำรุงดูแลรกั ษาไวใ้ นเรือนเพาะชำประมาณ 3 เดอื น ก่อนย้าย ไปปลกู ในแปลงต่อไป การตอนกิ่งควรทำในชว่ งฤดูฝน ซึ่งมคี วามช้ืนและอุณหภูมิท่ีเหมาะสม ทำให้เกิด การออกรากได้ดีใช้เวลาไม่นานมากนักและสามารถทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากหากต้องการก่งิ พันธุ์ไม่มาก ต่างจากการปักชำกิ่งที่ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ มากกว่าและใช้เวลานาน กว่า แต่สามารถผลติ กง่ิ พนั ธุ์ไดค้ รง้ั ละมากๆ ในธรรมชาติพบว่าตน้ เทพทาโรมีการขยายพนั ธ์แุ บบไม่อาศยั เพศ โดยการแตกต้น อ่อนจากรากได้ด้วย ทำใหม้ คี วามเป็นไปได้ที่จะผลิตกล้าเทพทาโรพันธุ์ดีจากการแยกต้น อ่อนที่แตกจากราก หรือการปักชำราก การทดลองปักชำรากเทพทาโรทำไดโ้ ดยตัดราก จากต้นแม่มาเพาะชำการตัดรากต้องระวังไม่ให้เกิดการกระทบกับต้นแม่ นำรากมาตัด เป็นท่อนยาวประมาณ 15 เซนติเมตร รดน้ำเช้าเย็นประมาณ 20 วัน หน่อจะเริ่มแตก จากส่วนราก ปลอ่ ยให้หน่อแขง็ แรงอกี ประมาณ 30 วนั ทำการกรีดโคนหนอ่ ด้วยมีดให้มี รอยเส้น 3–4 เส้น ทาด้วยฮอร์โมนเร่งราก แล้วหุ้มด้วยขุยมะพร้าวเพื่อให้รากแตก ประมาณ 20 วันรากจะเร่ิมแตก จากนั้นนำไปชำลงถุง บำรุงดูแลจนกล้าไม้เจริญเตบิ โต สามารถนำไปปลูกได้ การปลกู ไม้เทพทาโร ปจั จุบันเทพทาโรจดั เปน็ ไม้หอมท่ีมีคุณคา่ ทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเก็บหา จากป่าธรรมชาติ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการกระจายพันธุ์ในธรรมชาติและอาจเกิดการ สูญพันธ์ุได้ จึงควรสง่ เสริมให้ผ้ปู ระกอบการหรอื เกษตรกรปลูกสร้างสวนป่าเทพทาโรเพื่อ การค้าข้นึ แม้จะพบเทพทาโรในปา่ ดบิ ชน้ื ทุกภาคของประเทศ แต่ในบางพื้นที่ เช่น บนดอยสุ เทพ จงั หวัดเชียงใหม่ และบนไหล่เขาที่สถานีวนวฒั นวิจัยอำเภองาว จังหวัดลำปาง พบ

9 ต้นเทพทาโรขนาดใหญข่ ึ้นกระจายห่างๆ เปน็ กลุ่มเลก็ ๆ 1-2 ตน้ ไม่พบต้นกล้าจากเมล็ด หรือการแตกต้นอ่อนจากราก ทำให้มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จำเป็นต้องหาวิธีการ อนุรักษ์โดยเร่งด่วนก่อนที่จะสายเกินไป ในขณะที่ในภาคใต้ซึ่งมีความชื้นในอากาศ ค่อนข้างสูง พบต้นกล้าขึ้นกระจายใต้ต้นแม่ พร้อมกับต้นอ่อนที่แตกจากราก การปลูก เทพทาโรจึงควรปลูกในพืน้ ทท่ี ม่ี คี วามชื้นสงู ดนิ รว่ น น้ำไม่ท่วมขัง การปลูกต้นกล้าเทพทาโรควรปลูกใต้รม่ ไม้อืน่ จะเจริญเติบโตไดด้ ีกว่าปลกู เป็นไม้ เบกิ นำในทโี่ ลง่ เช่น ปลูกเป็นไมแ้ ซมในสวนปา่ หรอื ปลูกแซมไมผ้ ลท่มี อี ายไุ ม่ยาวมากนัก เช่น กล้วย จะทำให้มีรายได้จากไม้ผลในช่วงแรกที่ยังไม่สามารถสร้างรายได้จาก เทพทาโร เมื่อเทพทาโรโตเต็มท่ี จำเป็นต้องได้รับแสง เตรียมพื้นทีป่ ลูกโดยการขุดหลุม กว้างxยาวxลึก เท่ากับ 50 เซนติเมตร X 50 เซนติเมตร X 50 เซนติเมตร แล้วรองก้น หลุมด้วยปุ๋ยคอกก่อนปลูกเช่นเดียวกับการปลูกไม้ยืนต้นตามปกติ ระยะที่เหมาะสมใน การปลูกเทพทาโรอยู่ที่ประมาณ 4x4 เมตร การดูแลใสป่ ุ๋ยทำเชน่ เดยี วกับไมย้ ืนตน้ ทั่วไป โรคและแมลงศัตรพู ืช ในธรรมชาตศิ ัตรสู ำคัญของต้นเทพทาโรคอื ปลวก เทพทาโรขนาดใหญ่ในป่ามัก เป็นโพรงตรงกลางลำต้น และมีปลวกเข้าไปอาศัยอยู่ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้น เทพทาโรในป่าธรรมชาติยืนต้นตาย หรือล้มตายผุพังไปเหลือเพียงส่วนตอและรากท่ี ชาวบา้ นเข้าไปเกบ็ หามาใช้ในงานแกะสลกั หรอื กลน่ั นำ้ มนั หอม เน่อื งจากยงั ไม่มีการปลูก เป็นแปลงไม้เศรษฐกิจชนิดเดียวขนาดใหญ่ จึงยังไม่ปรากฏรายงานเกี่ยวกับโรคหรือ แมลงศตั รทู ่เี กดิ กับต้นเทพทาโรเชน่ กรณีการปลกู ไมเ้ ศรษฐกจิ อื่นๆ

10 สรรพคณุ ไม้เทพทาโร เรยี กตามภาษาท้องถิน่ วา่ \"ไม้จวงหอม\" เปน็ ไม้ป่าชนดิ หนง่ึ ซึ่งมีอยู่ทั่วไปตาม เชิงควน ในอดีตมีคุณสมบัติพิเศษคือ กลิ่นหอม ปัจจุบันนี้มีเพียงซากไม้ฝังดินอยู่ในบริ เวณสวน ยางพารา ที่พบมากไดแ้ กบ่ ริเวณ ตาํ บลหนองปรอื อ.รษั ฎา จ.ตรัง และบริเวณใกลเ้ คยี ง สรรพคุณ และคณุ ประโยชน์ อดีตชาวบ้านมกั ตดั ไมม้ าแปรรปู สรา้ ง บ้าน สามารถป้องกันตั วเรือด ตัวไร มด มอด ปลวก และแมลงต่างๆ ได้ หรือทําหมอนรถไฟ แกะพระพุทธรูป นอกจากนี้ ยังเป็นพืช สมุนไพร เปลือกและเนื้อไมต้ ้มกินแก้ลม อาเจียนลงท้อง ท้องร่วง อหิวาต์ ไข้ป่า ยอดอ่อนทาํ ผกั จ้มิ ชว่ ยระบายอกี ด้วย เปลอื กหรอื เน้อื ไมเ้ ทพทาโร เปน็ สมุนไพร ใชผ้ สมในตำรบั ยาหอม แกล้ ม จุกเสียด แน่น แกป้ วดท้อง ท้องข้ึน ท้องเฟอ้ ใชข้ ับลม เปน็ ยาบำรุงธาตุ เน้ือไม้ใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้ ท้องร่วง ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้วิงเวียนอาเจียน โรคบิด โรคหอบหืด หวัด ใช้เป็นยาบำรงุ โลหิตสำหรับสุภาพสตรีที่มีรอบเดือนไม่ปกติ ใบ มีกลิ่นหอมใช้เป็นเครื่องเทศแทนใบ กระวานยอดอ่อน รับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก หรือตากแห้งชงเป็นชาดื่มบำรุง ร่างกาย น้ำมันบีบจากผล ใช้ทานวดแก้ปวดเมื่อยเคล็ดขัดยอก แก้ผื่นบวม ทาแผลสด แผลเร้อื รงั แก้อักเสบ แก้แมลงสตั วก์ ดั ตอ่ ย ทาแผลไฟไหมน้ ำ้ ร้อนลวก ทาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในหแู กป้ วดฟนั ราก ใช้ทำยาแก้ไข้และเคร่อื งเทศ น้ำมันเทพทาโรที่กลั่นจากเนื้อไม้ ใบ รากและผล ประกอบด้วยสารแซฟฟรอล (safrol) มากกว่าร้อยละ 80 มีคุณสมบัติและองค์ประกอบทางเคมีใกล้เคียงกับน้ำมัน แซสซาฟรัสที่กลั่นได้จากรากของต้นแซสซาฟรัส (Sassafras albidu M) จึงมักถูก เรียกว่าน้ำมันแซสซาฟรัสจีน (Chinese sassafras oil) ในอดีตใช้น้ำมันแซสซาฟรัสหรือสารแซฟฟรอลแต่งกลิ่นเครื่องดื่มที่เรียกว่า รูท เบียร์แต่งกลิ่นอาหาร และหมากฝรั่ง ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม สบู่ ยารักษาโรค น้ำยา ขัดพื้น สารซักล้าง สารทำความสะอาด ใช้ผสมในน้ำมันนวดอโรม่าและสปา ใช้ทาแก้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง ปวดฟัน แก้เจ็บคอ รักษาโรค คางทูม ใช้รักษาโรคขอ้

11 อักเสบ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และโรคโกโนเรีย ปัจจุบันน้ำมันที่ประกอบด้วยแซฟ ฟรอลปริมาณสูงถูกห้ามใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องดื่ม อาหาร และน้ำมันนวดในหลาย ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย และกลุ่มประเทศในยโุ รป เนื่องจากมี รายงานวิจยั ว่าแซฟฟรอลเปน็ สารกอ่ มะเรง็ ในสัตว์ทดลอง การใช้ประโยชน์แซฟฟรอลใน ด้านอ่ืนๆ ต้องอยู่ในความควบคุมและได้รบั อนุญาตจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น ใช้ เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์เฮลิโอโทรปิน (Heliotropin) ซึ่งใช้แต่งรสแต่งกลิ่น อาหาร และใช้มากในอุตสาหกรรมทำนำ้ หอม ใช้เป็นสารตั้งตน้ ในการสงั เคราะห์ไปเปอโร นิล บิวทอกไซด์ (Piperonyl butoxide) เพื่อเตรียมสารเพิ่มฤทธิ์กำจัดแมลงในยาฆ่า แมลงกลุม่ ไพรีทรอยด์ (Pyretiod) เปน็ ตน้ ในประเทศไทยแซฟฟรอลถกู จัดไว้ในบญั ชสี ารเสพติดให้โทษประเภทท่ี 4 ลำดับท่ี 15 การมีไวใ้ นครอบครองตอ้ งได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข แตน่ ้ำมันเทพทาโร ได้รับการยกเว้นให้มีไว้ในครอบครองได้ โดยต้องขออนุญาตมีไว้ใช้เพื่อกิจการตาม กฏหมายว่าด้วยยา อาหาร เครื่องสำอาง หรือกฏหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย อย่างใด อย่างหนึ่ง มีข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้น้ำมันเทพทาโรคือ ไม่ควรใช้ในปริมาณสูง ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากมีรายงานวิจัยว่าแซฟฟรอลก่อให้เกิดเนื้องอก มะเรง็ ในสัตว์เล้ียงลกู ด้วยน้ำนม จงึ เปน็ สารต้องสงสยั ว่าอาจกอ่ ใหเ้ กดิ มะเรง็ ในคนไดด้ ้วย องคป์ ระกอบทางเคมีของน้ำมนั เทพทาโรทีก่ ลั่นจากใบและผลเทพทาโรในบ้านเรา พบว่า สามารถแบ่งเทพทาโรออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ย่อย (chemotypes) ตาม องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันที่ได้ ได้แก่ กลุ่มที่ใบและผลให้น้ำมันท่ีมีแซฟฟรอลเป็น องค์ประกอบสำคัญมากกว่ารอ้ ยละ 80 มคี ุณสมบัตแิ ละกล่นิ คลา้ ยน้ำมนั แซสซาฟรัส (รูท เบียร์) และกลุ่มที่ใบและผลมีน้ำมันทีใ่ หก้ ลิ่นคลา้ ยตะไคร้ ประกอบด้วยสารสำคัญไดแ้ ก่ ซติ รอล (citral) มิวยูรอลอล (muurolol) และไลโมนีน (limonene) นอกจากน้ียังพบวา่ ผลและเมลด็ ใหป้ รมิ าณน้ำมนั หอมระเหยสงู สุด รองลงไปคอื ราก เน้ือไมแ้ ละใบ

12 เนื่องจากมีรายงานวา่ แซฟฟรอลมฤี ทธแิ์ กป้ วดขอ้ อกั เสบ ปวดข้ออักเสบรูมาตอยด์ และน้ำมันเทพทาโรที่มีแซฟฟรอลเป็นองค์ประกอบสำคัญ ออกฤทธิ์ต้านเชื้อราและ แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์ได้ดี ทำให้น้ำมันเทพทาโรชนิดที่มีแซฟฟรอลเป็น องค์ประกอบหลักมีศักยภาพที่จะนำมาเตรียมเป็นยาทาถูนวดแก้ปวดข้อ แก้ข้ออักเสบ และยารกั ษาโรคทเ่ี กิดจากเช้ือราและแบคทีเรยี บางชนดิ ได้ ส่วนนำ้ มนั ชนิดทีม่ ีกลน่ิ คลา้ ยตะไครพ้ บว่า มีองค์ประกอบสำคัญบางชนิดคลา้ ยกับ นำ้ มนั หอมระเหยจากตะไคร้และผิวสม้ ซ่งึ มีฤทธิ์ฆ่าเชอ้ื แบคทีเรียและเช้อื ราได้ รวมถึงมี ฤทธไ์ิ ลแ่ มลง น่าจะมีศกั ยภาพที่จะพฒั นาใช้ประโยชน์ในทำนองเดียวกับน้ำมันหอมจาก ตะไคร้และน้ำมนั หอมจากผิวสม้ ได้เช่น ใช้แต่งกลิ่นสบู่ ทำสเปรย์กำจัดยุง และไล่แมลง เปน็ ต้น นอกจากนี้ยังมีรายงานการวิจัยว่าเนื้อในเมล็ดเทพทาโรมีโปรตีน 2 ชนิด คือ พอเร็คติน (porrectin) และซินนาโมมิน (cinnamomin) ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์ ออกฤทธิ์ ยับยั้งการทำงานของไรโบโซม (ribosome)ในการสร้างโปรตีนเชน่ เดียวกับไรซนิ (ricin) และอะบริน (abrin) อาจจะพัฒนาไปสู่สารยับยั้งโรคพืช และ/หรือยารักษาโรคมะเร็ง และโรคเอดส์ไดใ้ นอนาคต การใชป้ ระโยชน์ ปรากฏหลักฐานการใช้ประโยชน์ของเทพทาโรหรื อจวงหอมมาต้ังแต่สมัยสุโขทัย ดังปรากฏในไตรภูมิพระร่วง พ.ศ. 1888 กล่าวถึงการบูชาจักรรัตนะ ผู้คนจะแต่งตัว ทา กระแจะจวงจันทน์ น้ำหอมและนําเอา “ ข้าวตอกแลดอกไม้ บปุ ผชาตเิ ทียนแลธปู วาสะ ชวาลาแลกระแจะจวงจันทนน์ ้ำมนั หอม มาไว้มานบคาํ รพวันทนาการบูชาแก่กงจักรแก้ว นั้น”หรอื ในตอนกลา่ วถึงแผน่ ดิน อตุ ตรกรุ ุทวีป มักจะใช้กระแจจวงจนั ทนต์ กแตง่ ศพ ดัง ความว่า “ เขาจิงเอาศพนั้นอาบน้ำแล แต่งแง่ หากระแจะแลจวงจันทน์ น้ำมันอันหอม

13 แลนุ่งผ้าห่มผ้าให้ ” หรือตอนพระญาจักรพรรดิราชสวรรคต ก็จะ“ ชโลม ด้วยกระแจ จวงจนั ทน์ และจิงเอาผา้ ขาวอนั เน้ือละเอียดนน้ั มาตราสงั ศพพระญาจักรพรรดิราชน้ัน” ตอนกล่าวถึงการบูชา พระญาจักรพรรดิราช พระนามพระญาศรีธรรมาโศกราช พรรณนาว่า “นาคราชลางจําพวกเอากระแจะจวงจันทน์คันธรส อันประเสริฐอันดีมา ถวายทุกเมื่อ” หรือพระญาศรีธรรมาโศกราชก็จะ “ บูชาพระสงฆ์เจ้าด้วยธูปแลเทียน ข้าวตอกดอกไม้ แลกระแจะจวงจั นทน์ทัง้ หลาย ” ตอนพรรณนาดาวดึงส์สวรรค์ของพระอนิ ทร์ กลา่ ววา่ “ หอมกระแจะจวงจันทน์ อีกพรรณดอกไม้อันขจรทกุ แหง่ แตง่ พดั เข้าเรา้ เถงิ พระอินทร์หอมฟ้งุ ทุกแหง่ พระอินทร์ จิงไปเหล้นที่สวนนั้นสนุกนิ์นัก” และได้กล่าวถึงเทพยดาคือ คนธัพพเทวบุตรตกแต่ง อาภรณ์ด้วยแก้วแหวนเงนิ ทองและทาตวั ด้วยกระแจะแลจวงจนั ทน์ ดังไดพ้ รรณนาไว้ว่า “ อนั วา่ กระแจะแลจวงจนั ทน์อันเทพยดาทาตัวน้นั ถ้าแลว่าจะขูดออกใส่ตุ่มแลไหได้ 9 ตุ่มแล ” ความนิยมในเครือ่ งหอมกระแจจวงจันทน์ มีสืบเนื่องมาถึ งสมยั อยธุ ยาตอนต้ นดงั ปรากฏในกฎหมายพิสูจน์ดําน้ำ ลุยเพลิง พ.ศ. 1899 สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ ทอง) วา่ “น้ำมนั กระแจะจวงจนั ทน์” และมกี ารกลา่ วถึงต่อมาใน มหาชาตคิ าํ หวง สมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมื่อ พ.ศ. 2025 ดังกล่าวไว้ในกัณฑ์มหาพนว่า “กรักขีพง เทพทารู ก็มี ” ในสมัยอยุธยาตอนกลาง ตําราพระโอสถสมัยพระนารายณ์ พ.ศ. 2202 กล่าวถึงการใช้ ประโยชนข์ องเทพทาโรในทางยาว่า เป็นยาจําเรญิ พระธาตุ ดงั นคี้ อื “จาํ เรญิ พระธาตุ ให้เอาใบรัก แห้ง บอระเพด็ แห้ง แห้วหมู ดอกชรากากี ผลมะตูมอ่อน รากมะตูม โกฐหวั บัว เทพทาโร สมอเทศ เทียนแดง เชือกเขาพรวน ขิงแห้ง ดีปลี กระเทยี มทอก รากชะพลู เกลือสินเธาว์ เสมอภาค ทํา เป็นจุณ บดด้วยน้ำผึ้งรวง น้ำสุรา ระคนกันเป็นลูกกอน เสวยหนักสลึง 1 แก้พระวาตะ เสมหะ โลหิตกําเริบอันทุพล แก้พระเส้นอันทพฤก อันกระด้างตึงแต่พระชงฆ์ขึ้นไป ตราบเท่าถึงบ้ัน

14 พระองค์ ให้พระเส้นนั้นอ่อน ให้เสวยพระกระยาหารเสวยได้ ให้จําเริญพระสกลธาตุเป็นอันยิ่ง ขา้ พระพทุ ธเจา้ ออกขนุ ทพิ จกั ร ประกอบทลู เกลา้ ฯ ถวาย” หนงั สือไมเ้ ทศเมอื งไทย กล่าวถึงประโยชนท์ างยาของเทพทาโรไว้ว่า ตามชนบทต่าง ๆ ใช้ ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมจุกเสียดแน่น แน่นเฟ้อ แก้อาการปวดท้อง ขับผายลมได้ดี ขับลมในลําไส้ และกระเพาะอาหาร ให้เรอ เป็นยาบํารุงธาตุ ในเปลือกมีน้ำมันระเหย 1 ถึง 2% และแทน นิน นอกจากนั้นยังกล่าวถึงประโยชน์อย่างอื่นของเทพทาโร คือ เนื้อไม้สีขาว จะมีกลิ่นหอมฉนุ เหมือนกลิ่นการบูร อาจกลั่นเอาน้ำมันระเหยออกจากเนื้อไม้นี้ได้ และอาจดัดแปลงทางเคมีให้ เป็น การบรู ได้ สว่ นใบมีกลิ่นหอม ใชเ้ ป็นเครอื่ งเทศ ตามรา้ นขายสมุนไพรในประเทศไทย จะใช้ใบ เทพทาโรแทนใบ กระวาน สําหรับใส่เครื่องแกงสะระหมั่น ส่วนใบกระวานจริง ๆ ที่มีลักษณะ เหมือนใบข่า จะไม่นิยมใช้กัน (จากหนังสือ สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด โดยเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา) ตามหนังสือไม้เทศเมอื งไทยยังระบุว่าต้นเทพทาโร มีมากทางภาคเหนือ ชาวพายัพ เรียกว่าปูต้นหรือไม้การบรู แต่อาจมีทางกาญจนบุรีบ้าง (เสงี่ยม, 2519) ส่วนเมล็ดของเทพทาโร จะให้น้ํามัน ใช้เป็นยาทาถูนวด แก้ปวด รูมาติซึ่ม (ลีนา, 2537) เปลือกเป็นยาบํารุงธาตุอย่างดี โดยเฉพาะสําหรับหญิงสาวรุ่น ต้มกินแก้เสียดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ประโยชน์อย่างอื่นของ เทพทาโร คือ ไม้ ใช้ในการแกะสลักบางอย่าง ทําเตียงนอน ทําตู้ และหีบใส่เสื้อผ้าที่กันมอดและ แมลงอืน่ ๆ ได้ ทาํ เคร่อื งเรื อนและไมบ้ ผุ นงั ทสี่ วยงาม ทาํ แจวพาย กรรเชียง กระเบอ้ื งไม้ เป็นต้น (กรมปา่ ไม้, 2486) การใชป้ ระโยชน์ไม้เทพทาโรในเชิงเศรษฐกิจ ปัจจุบัน ต้นเทพทาโรกลับมีจํานวนลดลง ถูกโค่นทิ้งเป็นจํานวนมาก เนื่องจากมีการขยาย พื้นที่เพาะปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพืชเศรษฐกิจอื่นๆ เพิ่มขึ้น เหลือเพียงตอและรากของ ต้นเทพทาโรท่ฝี ังอยู่ในดิน ซึ่งสว่ นทเ่ี หลือเหล่านีอ้ าจจะดูไร้ค่าในสายตาของคนท่วั ไปท่ีพบเห็น แต่ สําหรับชาวบา้ นในตาํ บลเขากอบ อําเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ได้เล็งเห็นคุณค่าของพชื ทอ้ งถ่ิน ชนิดน้ี ด้วยการนํารากไม้เทพทาโรมาแกะสลักเป็นผลิตภัณฑ์สําหรบั ตกแต่งบ้าน และเป็นสินค้าท่ี ระลึก ด้วยฝีมือที่ประณีต สะท้อนเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ทําให้ผลิตภัณฑ์จากไม้เทพทาโรสร้าง ช่อื เสยี งให้กับจังหวัดตรงั เป็นอยา่ งมาก สาํ หรบั กลุ่มหตั ถกรรมการแกะสลักไมเ้ ทพทาโรท่มี ีช่ือเสียง

15 ในจังหวัดตรัง ได้แก่ กลุ่มเยาวชน ต่อต้านยาเสพติด ตําบลเขากอบ อําเภอหว้ ยยอด จังหวัดตรงั และยังได้รับการคัดสรรเป็นสินค้าหนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ประเภทศิลปะประดิษฐ์และของท่ี ระลึก ระดับ 4 ดาวของจังหวัดตรังอีกดว้ ย มลู ค่าทางเศรษฐกจิ ของเทพทาโร จากการสำรวจตลาดเทพทาโรในจังหวัดตรังและพังงา ในปี พ.ศ. 2550 พบว่า ราคาซื้อขายรากหรือตอไม้เทพธาโรที่เก็บจากป่า ขายในราคาเหมาเป็นคันรถกระบะ ประมาณกระบะละ 2,000-3,000 บาทหากเป็นตอขนาดใหญ่จะตกลงราคาต่อช้ิน ประดษิ ฐกรรมจากเนื้อไม้หรอื รากเทพทาโรจะมรี าคาข้ึนกับขนาด รูปร่าง ความยากง่าย ของการทำ ลูกประคำกลึงจากรากไม้เทพธาโรจำหน่ายในราคาเส้นละ 700-900 บาท (108 เม็ด) ผู้ประกอบการมีรายได้จากผลิตภัณฑ์ไม้เทพทาโรแกะสลักเฉลี่ยประมาณ เดอื นละ 4,000-5,000 บาทตอ่ คน เศษรากและไม้เทพทาโร จากการแกะสลัก นำไปกลน่ั เป็นน้ำมนั หอมระเหยจำหน่ายให้ตลาดเครอ่ื งหอมและธรุ กจิ สปาในราคาลิตรละประมาณ 10,000-12,000 บาท โดยรากไม้เทพทาโร 300 กิโลกรัมจะให้น้ำมันประมาณ 400 มิลลิลิตร (ปัจจุบันน้ำมันเทพทาโรมีราคาลดลงเหลือลิตรละ 2,000-10,000 บาท เนอื่ งจากกระแสนิยมเครือ่ งรางของขลงั เชน่ จตคุ ามรามเทพลดลง) เศษขีเ้ ล่ือย หรือเศษ ไม้ที่กลั่นน้ำมันแล้วนำไปทำธูปหอมและกำยานจำหน่ายเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา และธรุ กิจสปา น้ำมันที่บีบได้จากผลสุกของเทพทาโรใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค เช่น ใช้ทาถูนวด แก้ปวดข้อ แก้ข้ออักเสบ รักษาแผลอักเสบ ฯลฯ ราคาของผลเทพทาโรที่มีคุณภาพดี ราคากิโลกรัมละ 45-50 บาท ผลเทพทาโรคุณภาพรองลงมาราคากิโลกรัมละ 30-38 บาท ทำให้ราคาของน้ำมันเทพทาโร แปรผันตามคุณภาพและราคาของผล น้ำมันที่ได้ จากการบีบผลเทพทาโรจำหน่ายในราคาลิตรละประมาณ 4,000 บาท หรอื บรรจุใส่ขวด ลูกกลิ้งขนาด 8 มิลลิลิตร จำหน่ายในราคาขวดละ 50 บาท มูลค่าทางเศรษฐกิจของไม้

16 เทพทาโรในตลาดโลก จากรายงานของ UNEP-WCMC พบว่า ในปี 2535 มาเลเซีย ส่งออกไม้เทพทาโรเป็นมูลคา่ 4.3 ลา้ นเหรยี ญสหรฐั และจากเวป็ ไซตเ์ มล็ดพันธ์ุไม้พบว่า ปัจจุบันเมล็ดเทพทาโรมีราคาขายในตลาดโลกอยู่ที่กิโลกรัมละ 214 เหรียญยูโร หรือ 10,700 บาท (อตั ราแลกเปล่ยี น 50 บาทต่อ 1 เหรียญยโู ร) น้ำมันเทพทาโรทไี่ ด้จากการ กล่นั เนอ้ื ไม้ ราก หรอื เมลด็ มีองค์ประกอบใกล้เคียงน้ำมันแซฟซาฟรัส (มีแซฟฟรอลร้อย ละ 80-95) เป็นที่ต้องการในตลาดต่างประเทศ ประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น อิตาลีและสหรัฐอเมริกา ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 4-6 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 135-202 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 33.69 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐ) ขึ้นกับปริมาณแซฟ ฟรอลที่มีอยู่ในน้ำมัน โดยมีประเทศผู้ส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม อินโดนีเซยี มาเลเซีย และกมั พูชา ผลิตภณั ฑ์แกะสลักไมเ้ ทพทาโร กลุ่มผลติ ภณั ฑไ์ ม้เทพทาโร ถำ้ เลเขากอบ แตเ่ ดมิ ในพน้ื ทต่ี ำบลเขากอบ มีตน้ เทพทาโรถูก โค่นทิ้งไว้เป็นจำนวนมาก ดังนั้น ชาวบ้านจึงคิดกันว่าน่าจะนำไม้เทพทาโรมาใช้ประโยชน์ดีกว่า ปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้น เนื่องจากไม้เทพทาโรมีกลิ่นหอม สามารถป้องกนั การรบกวนของปลวกและ มอดได้ และยังเป็นไม้มงคล พืชสมนุ ไพรอกี ด้วย ดังน้ัน ชาวบ้านจึงรวมกล่มุ กันโดยนำรากและตอ ของไม้เทพทาโรมาแกะสลักเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ไว้ตกแต่งบ้าน และเป็นของที่ระลึกแก่ นักทอ่ งเทีย่ วผูม้ าเยือนจงั หวัดตรัง โดยผลติ ภณั ฑท์ ุกชิ้นจะแกะสลักจากรากไม้ และตอไมท้ ่ีผา่ นการ โคน่ ทิ้งมาเป็นเวลาหลายสิบปีแลว้ ทางกลมุ่ ไม่ได้ตดั ต้นไม้เพือ่ ทีจ่ ะนำมาทำผลิตภัณฑ์หรือส่งเสริม ให้มีการโค่นต้นเทพทาโร เนื่องจากปัจจุบันไม้ชนิดนี้เหลือน้อยลง ถือเป็นไม้ที่มีคุณค่าควรที่จะ อนรุ ักษ์ไวใ้ ห้เยาวชนร่นุ หลงั ได้ใช้ประโยชน์และศกึ ษาต่อไป กลุ่มแกะสลักไม้เทพทาโรถ้ำเลเขากอบ ได้ดำเนนิ จัดตัง้ กลุ่มแกะสลักจากรากไม้เทพทาโร เม่อื วันท่ี 18 พฤศจกิ ายน 2543 โดยดำเนนิ กจิ กรรมจากจำนวน 15 คนในระยะเรมิ่ ต้นนั้นได้นำ รากไม้เทพทาโรซึ่งเป็นรากไม้ที่ตายแล้วแต่มีกลิ่นหอมและถือเป็นไม้มงคลนำมาแกะสลักเป็น รูปพยูนและรูปสัตว์อื่นจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวถ้ำเลเขากอบ ได้รับความสนใจจาก

17 นักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก จากนั้นจึงได้ทำผเมื่อก่อนลิตภัณฑ์อืน่ ๆ ออกมาเพื่อจำหน่ายอยา่ ง ตอ่ เนือ่ ง ท่ีมา : http://www.dooasia.com/wp-content/uploads.jpg ใน ปีพ.ศ.2544 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของอำเภอ หว้ ยยอดเขา้ รว่ มจำหน่ายผลติ ภณั ฑ์ในระดบั ประเทศที่เมอื งทองธานี จึงทำใหไ้ ม้เทพทาโรเร่ิมเป็น ที่รูจ้ ักกันมากขึน้ ทางกลุ่มจึงไดพ้ ฒั นาและออกแบบผลติ ภัณฑใ์ หม่ๆอย่างต่อเนอ่ื ง สง่ ผลให้ทางกลุ่ม ได้รับรางวัลต่างๆ อยา่ งต่อเน่ืองเชน่ รางวลั PM AWARD 2548 ไดร้ ับรางวัลออกแบบสินค้าดีเด่น ดา้ นการสง่ ออกไปตลาดยโุ รปในปี 2548 และทางกลมุ่ ยังได้รบั มาตรฐาน มผช. เลขที่ 365/2547 จากกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อรับรองมาตรฐานสนิ ค้าที่ผลิต และปัจจุบนั ทางกลุ่มได้รับเลอื กให้ เป็นสินคา้ ดีเดน่ คัดสรรระดับ 5 ดาวของจงั หวดั ตรังอกี ดว้ ย ที่มา : http://www.dooasia.com/wp-content/uploads.jpg

18 จุดเดน่ ของผลิตภัณฑ์แกะสลักจากไม้เทพทาโร จะอยทู่ ี่เอกลกั ษณข์ องไมท้ ี่มีกล่ินหอม เป็น ไม้มงคล ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มส่วนใหญ่จะเป็นไม้แกะสลักเป็นรปู ปลาพะยูน สัญลักษณ์ของจงั หวดั ตรงั รปู สตั ว์ตา่ งๆ มหี ลากชนิดและหลายขนาด ส่วนใหญจ่ ะทำตามออรเ์ ดอร์ของลูกค้าว่าต้องการ รปู แบบไหน เพื่อความแน่นอนในการขาย นอกจากนี้ จะมพี วงกญุ แจรูปปลาพะยนู ที่ขายดี เพราะ ราคาไม่แพง ชิ้นละ 20 บาท นักเรียน เยาวชนทั่วไปสามารถหาซื้อได้ ส่วนสินค้าที่กำลังขายดี นอกจากปลาพะยูนแกะสลักก็คืองานเขียนลาย เป็นขัน หม้อ และผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน ตอนนี้ กำลงั ไดร้ บั ความนิยม ท่ีมา : http://www.dooasia.com/wp-content/uploads.jpg ท่มี า : http://www.dooasia.com/wp-content/uploads.jpg บริเวณภายใน กลุ่มผลิตภัณฑไ์ ม้เทพทาโร ก็จะเต็มไปด้วยผลิตภณั ฑ์ที่ถูกแกะสลักด้วยไม้ จวงหอม เปน็ รปู ตา่ งๆ ท่สี ามารถนำเอาไปใช้เปน็ เฟอร์นเิ จอร์ตกแตง่ บ้านได้ หรือเปน็ เปลอื กไมท้ ี่ใส่ ถงุ นำไปติดตู้เสอื้ ผ้าใหก้ ล่นิ หอม นอกจากนย้ี ังแกะสลกั เปน็ รูปปลาพะยนู เอกลักษณ์เมืองตรัง เปน็ ลกั ษณะของพวกกุญแจ กระเป๋า เส้ือผ้า ของชำร่วย เคร่ืองประดับสวยๆ ทท่ี างกลุ่มผลติ ภัณฑ์ ไม้ เทพทาโรไดน้ ำมาไว้ให้นักทอ่ งเทยี่ วได้ซอ้ื หากันอกี มากมาย

19 กลุ่มผลิตภัณฑ์หตั ถกรรมไม้เทพทาโรถ้ำเล เขากอบ ตั้งอยู่ที่: 78/2 หมู่ 1 ตำบลเขากอบ อำเภอหว้ ยยอด จงั หวัดตรงั สามารถสอบถามเส้นทาง และข้อมลู เพมิ่ เติมไดท้ ่เี บอร์ โทรศัพท์ : 0- 7523 3082, 08-9158 3454, 08-4003 5200 ‘วังเทพทาโร’ แหล่งรวมงานศิลปะจากรากไม้ จ.ตรัง วังเทพทาโร หรือ วังมังกร 88 ตัว จังหวัดตรัง คือ งานศิลปะจากเศษไม้และรากไม้ เทพทาโร ท่ถี กู สรา้ งขึน้ มาให้มชี ีวติ ในแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวเขา้ เยยี่ มชมประมาณวนั ละ 500 คน รองรบั อาเซยี น ทำคำสอนพระพุทธเจา้ เป็น ไทย องั กฤษ จนี ที่มา : https://s.isanook.com/0138.jpg วงั เทพทาโร บนเนื้อทกี่ วา่ 25 ไร่ เปน็ ทต่ี ัง้ ของวงั มังกรงานศิลปะทนี่ ายจรูญ แก้วละเอียด เนรมติ นำเอาเศษซากไม้และรากไม้เทพทาโร หรอื ไม้จวง มาสรา้ งเปน็ มงั กรหลายขนาด โดยการ นำซากไมม้ าสร้างมังกรต้ังแต่ตัวแรกจนถงึ ตวั ท่ี 88 โดยมงั กรตัวที่ 87 เป็นมงั กรแม่คือมังกรน้ำให้ น้ำกับโลกมนุษย์ เพื่อไม่ให้เกิดภัยแล้ง ไม่ให้เกิดอุกภัย ส่วนมังกรตัวที่ 88 เป็นมังกรเพศผู้ เป็น มงั กรไม้ท่สี รา้ งท่ขี ึน้ ใหญท่ ่ีสุดในประเทศไทยและใหญ่ท่ีสุดในโลกก็ว่าได้ มังกรตวั น้ี บง่ บอกถึงพลัง อำนาจของแผ่นดิน พ้ืนทแี่ ต่ละส่วน วงั เทพทาโร ถกู แบง่ ออกอย่างเป็นสดั สว่ น เชน่ มีการลอดซุ้มประตูมงั กร 9 ตัว พื้นที่ที่ปลูกต้นเทพทาโรหรือไม้จวง 300 ต้น ที่อยู่ของมังกรคู่ ตัวที่ 87และ 88 ส่วนแสดง สินค้า โอท๊อป OTOP ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากไม้เทพทาโร เช่น น้ำมันหอมระเหย ชาไม้ เทพทาโร ผลติ ภณั ฑ์แกะสลกั ตา่ งๆ มากมายท่วี างจำหน่ายในศนู ยโ์ อท๊อป

20 ทม่ี า : https://s.isanook.com/0136.jpg ไม้จวงหรือไม้เทพทาโรนัน้ ขึ้นในพื้นที่จงั หวัดตรังและภาคใต้หลายจังหวัด ๆ ไม้เทพทาโร หรือไมจ้ วง เป็นไมย้ ืนตน้ เนอ้ื อ่อน โตเต็มท่จี ะสูงจงึ 40 เมตร ใบมีกล่นิ หอมรับประทานได้ รากไม้ จวงหรือไม้จวงจะมีกลิ่นหอม นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ 6 กลิ่น กลิ่นตะไคร้ ตะไคร้หอม รูท เบียร์ เสม็ดขาว ดอกกุหลาบและราชาวดี ไม้และรากไม้จวงหรือเทพทาโรนั้นนำมาสกัดเป็น น้ำมนั หอม มกี ลิ่นหอมกวา่ ไม้ กฤษณา ในแต่ละวันมีนักท่องเท่ียว แวะเวยี นมาเท่ยี ววังเทพทาโร มาดมู งั ท่ีถกู สร้างข้นึ มาจาก เศษ ซากรากไม้ หลายขนาด มที ้ังนกั ท่องเที่ยวคนไทยทม่ี าส่วนตัว เปน็ คณะ จากส่วนราชการมาดงู าน นกั ทอ่ งเที่ยวต่างชาติ เชน่ มาเลเซียเชือ้ สายจนี นักทอ่ งเท่ยี วจากจีน จะใหค้ วามสนมากเป็นพิเศษ เขาชื่นชมที่เราสร้างมังกรจากเศษไม้ไดย้ ิ่งใหญ่ที่สุด หากนักท่องเที่ยวเป็นคณะมีคณะกลองยาว การร้องเพลงไทยที่แปลเปน็ คำร้องภาษาองั กฤษ เพ่ือให้นกั ท่องเทยี่ วได้รับฟงั เพลงไทย ที่ตัง้ วงั เทพทาโร : หมู่ท่ี 5 ต.เขากอบ อ.หว้ ยอด จ.ตรัง

21 งานวิจยั ท่เี กยี่ วขอ้ ง 1.รายงานการวิจัยเรื่องแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาการทำผลิตภัณฑ์การ แกะสลักไเทพทาโร ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง (Cuildlines for Conserve and Restore Folk Wisdom of Truelaurel Carving Products Tambon Khaokob Amphoe Huaiyot Trang) งานวิจัยนม้ี ีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาองค์ความรู้เอกลักษณ์แนวทางการอนรุ กั ษ์และฟื้นฟูการ ทำผลิตภัณฑ์แกะสลักไม้เทพทาโร ซึ่งมีวิธีการดำเนินการวิจัยแบบคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย คือ การวิเคราะห์จากเอกสาร การสังเกต และการสัมภาษณ์โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือตัวแทน สมาชิกผู้ประกอบการกลุ่มผลิตภัณฑ์ไมเ้ทพทาโร ผลการศึกษาพบว่าองค์ความรู้การแกะสลักไม้ เทพทาโรเกิดข้ึนจากบุคคลในชมุ ชนและเกิดการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รนุ่ เอกลักษณ์ของการแกะสลัก ไม้เทพทาโรคือการนำสว่ นรากของต้นเทพทาโรซ่ึงมีคุณลกั ษณะพิเศษ คือ มคี วามหอมและเป็นไม้ เน้ืออ่อน นำมาแกะสลักเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้ 3 ประเภท ได้แก่ ชิ้นงานที่เกี่ยวกับ บุคคลสำคัญ สัตว์มงคล และของใช้โดยท่ัวไป ข้ันตอนเริ่มจากการเลือกชิ้นไม้วาดแบบลงเน้ือไมเ้ ลื่อย สับ ตอก ฉลุนำมาตากแดด ขัดด้วยกระดาษทราย ตกแต่และบรรจุภัณฑ์ ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ประจำ ถิ่น คือรูปพะยูน แนวทางการอนุรักษแ์ละฟื้นฟูมี 5 ประการ 1) ส่งเสริมการปลูกทดแทน 2) ส่งเสริมทางด้านการตลาด 3) ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ 4) จัดต้ังศนู ย์เรียนรู้ 5) พัฒนา แหลง่ ท่องเทีย่ วเชิงวฒั นธรมในชมุ ชน อ้างอิง : เจตนา อินยะรัตน์. 2558. แนวทางการอนุรกั ษ์และฟื้นฟูภมู ิปัญญาการทำผลิตภัณฑ์การ แกะสลักไเทพทาโร ตำบลเขากอบ อำเภอหว้ ยยอด จังหวัดตรงั (Cuildlines for Conserve and Restore Folk Wisdom of Truelaurel Carving Products Tambon Khaokob Amphoe Huaiyot Trang). คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ศรีวิชัย.

22 2.การส่งเสรมิ ผลิตภัณฑช์ ุมชนจากไมเ้ ทพธาโร กรณีศึกษาวังเทพธาโร ตำบลเขากอบ อำเภอ ห้วยยอด จังหวัดตรัง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนจากไม้เทพธาโร ชุมชนวัง เทพธาโร ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง (2) ศึกษาหาแนวทางในการอนุรกั ษพ์ นั ธ์ไุ ม้ เทพธาโร ชุมชนวังเทพธาโร ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง (3) ศึกษากระบวนการ บริหารจัดการภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์จากไม้เทพธาโรของชุมชนตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวดั ตรงั กลมุ่ ตวั อยา่ งที่ใชใ้ นการวจิ ัยในคร้ังนี้ 1) นายเรวัฒน์ ปานทน 2) นายจรูญ แก้วละเอียด 3) นักท่องเที่ยวทีเ่ ข้ามาเยี่ยมชม จำนวน 2 คน 4) ประชาชนบรเิ วณชมุ ชนไมเ้ ทพธาโร ตำบลเขา กอบ จำนวน 2 คน เปน็ การวจิ ยั รปู แบบทใ่ี ช้ในการเก็บขอ้ มูลเก่ยี วกบั การส่งเสรมิ ผลิตภัณฑ์ชุมชน จากไม้เทพธาโร ศึกษากรณชี ุมชนวงั เทพธาโร ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จงั หวดั ตรัง คือ แบบ สมั ภาษณ์เปน็ หลกั ผลการวจิ ยั พบว่า จากการศกึ ษาการส่งเสริม ผลติ ภัณฑ์ชมุ ชนจากไม้เทพธาโร ศึกษากรณี ชมุ ชนวังเทพธาโร ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จงั หวัดตรงั ผู้วจิ ยั มีข้อเสนอแนะดงั น้ี 1. ภมู ิปัญญาผลติ ภณั ฑช์ มุ ชนจากไมเ้ ทพธาโร เป็นปรากฏเอกลกั ษณอ์ ยา่ งโดดเดน่ ซ่ึงยงั คง เอกลักษณ์ สืบเนื่องจนถึงปัจจุบันมีความสวยงาม ละเอียดอ่อนเป็นสนิ คา้ OTOP ที่สร้างชื่อเสยี ง ใหส้ ินคา้ ไทยในระดับโลก 2. ปลูกจิตสำนึกให้เด็กในชมุ ชนเพื่อส่งเสริมทางดา้ นการศึกษา เป็นรากฐานที่สำคัญของ การพฒั นาชมุ ชนในด้านจิตสำนกึ ตระหนักถึงคณุ คา่ ภมู ปิ ญั ญาท้องถน่ิ อ้างอิง : สมฤดี จันด.ี ม.ป.ป. การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชมุ ชนจากไมเ้ ทพธาโร กรณีศกึ ษาวังเทพธาโร ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. การค้นคว้าอิสระ.สาขาวิชาสหวิทยาการเพือ่ การพัฒ นาท้องถิน่ คณะรฐั ศาสตรม์ หาวทิ ยาลัยรามคำแหง.

23 3.เทพทาโร ไม้มงคลพระราชทานประจาํ จังหวดพังงา 1 ตลุ าคม 2549 กรมปา่ ไม้จงึ ไดท้ ําการศกึ ษาวจิ ัยไม้เทพทาโรอย่างครบวงจรภายใต้แผนงานวิจยั และพัฒนา ไมห้ อมเพื่อเศรษฐกิจ โดยทาํ การศึกษาวจิ ยั ในด้านการกระจายพันธ์ตามธรรมชาติ ศึกษาวิจัยด้าน เทคนิคการขยายพันธ์โดยเพาะเมล็ด การตอน การปกั ชํา ศกึ ษาวจิ ยั ด้านการเจริญเติบโตและการ จัดการสวนปา่ เทพทาโร ศึกษาวจิ ัยด้านการสกัดและคุณสมบตั ินาํ้ มันหอมระเหย ตลอดจนการทํา ผลิตภัณฑ์ต่างๆจากน้ำมันหอมระเหยเทพทาโร เพื่อจักไดน้ ําผลงานวิจัยไปส่งเสรมิ การปลูกสร้าง สวนป่าเทพทาโรในเชงิ พาณิชย์ และพฒั นาไมเ้ ทพทาโรให้เปน็ ผลิตภัณฑเ์ พือ่ การคา้ ต่อไป เทพทาโร มีการกระจายพันธ์อยุ่ทั่วไปในทกุ ภาคของประเทศไทย พบมากในภาคใต้ เนื้อไม้ และเนื้อรากเทพทาโรมีกลิน่ หอมนยิ มนาํ มาใช้ในงานก่อสร้าง ปูพื้นบ้าน แกะสลัก ทําเครือ่ งเรือน เครื่องประดบั ตกแตง่ บ้าน ซึ่งปัจจุบันประดิษฐกรรมแกะสลักเป็นสนิ คา้ โอทอปของจงั หวัดตรังและ มีการส่งไปจําหน่ายในต่างประเทศ เศษไม้ที่เหลือจากการแกะสลักยังนํามากลั่นเป็นน้ํามันหอม ระเหยเพื่อใช้ประโยชน์ในธุรกิจสปาและทําเป็นธูปหรือกํายานได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนําผล เทพทาโรมาบีบเอาน้ำมันซึ่งมีกลิน่ หอมมาใช้เป็นยาสมุนไพรทาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ ทาแผลสด แก้ปวดฟนั แกแ้ ผลน้ำร้อนลวก ฯลฯ ซ่ึงเปน็ ภมู ปิ ญั ญาของพระอาจารย์วิชาญ วัดนิโรธรงั สี อําเภอ ท้ายเหมอื ง จงั หวัดพงั งา อ้างอิง : กรมป่าไม้. เทพทาโร ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดพังงา.[ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://forestinfo.forest.go.th/teptaro.pdf คน้ หาเม่ือ 13 ตุลาคม 2564.

เอกสารอ้างองิ จันทร์วภิ า รัตนอานนั ต์.(2563).เทพทาโร มนต์เสนห่ ์ไมเ้ น้อื หอม.ภูมิปญั ญาชาวบา้ น. [ออนไลน์]. แหล่งทมี่ า : https://www.technologychaoban.com (สืบคน้ เมอื่ 13 ตุลาคม 2564). ‘วงั เทพทาโร’ แหลง่ รวมงานศลิ ปะจากรากไม้ จ.ตรงั .(2559). [ออนไลน]์ . แหล่งท่มี า : https://www.sanook.com/travel/ (สบื ค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2564). เทพทาโร.(2563).[ออนไลน์] แหล่งท่ีมา : https://th.m.wikipedia.org/wiki. (สบื ค้นเม่ือ 13 ตุลาคม 2564). สำนกั งานการทอ่ งเท่ียวและกฬี า จงั หวดั ตรงั . (2557).ไม้เทพทาโรของดจี .ตรงั . [ออนไลน]์ . แหลง่ ทมี่ า : https://trang.mots.go.th/news_view. (สบื ค้นเมอื่ 13 ตุลาคม 2564). ไชยวัฒน์ สาดแยม้ .(2558).ไม้เทพทาโรแกะสลัก ไม้มงคลกลน่ิ หอมเจาะตลาดโลก.[ออนไลน์]. แหล่งทีม่ า : https://www.posttoday.com (สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2564).


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook