Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา

บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา

Published by Sasikan Nooket, 2022-08-01 16:58:38

Description: ดีไซน์ที่ไม่มีชื่อ

Search

Read the Text Version

บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา - ตำนานดอกกุหลาบ - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ นางสาวศศิกานต์ หนูเกตุ รหัสฯ 034 สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.)

ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พระราชนิพนธ์จากจินตนาการ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖

ผลงานพระราชนิพนธ์ เช่น ศกุนตลา รามเกียรติ์ และอื่น ๆ กว่า ๒๐๐ เรื่อง ทรงใช้นามปากกาต่าง ๆ ตามแนว เรื่องที่ทรงพระราชนิพนธ์ อาทิ \"อัศวพาหุ\" \"รามจิตติิ\" \"พันแหลม\" \"ศรีอยุธยา \"นายแก้วนายขวัญ\"

ชื่ อเรื่อง กุพฺชก อ่านว่า กุบ-ชะ-กะ แปลว่า กุหลาบ กุพฺชกา อ่านว่า กุบ-ชะ-กา แปลว่า นางค่อม

ชื่ อเรื่อง มทน = ความลุ่มหลง พาธา = ความเดือดร้อน \"มัทนะพาธา\" = ความลุ่มหลง ความเจ็บปวด เดือดร้อนเพราะความรัก

บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา ประกอบด้วย ๕ องก์ แต่งด้วยฉันท์และกาพย์ แบ่งเป็นภาคสวรรค์และภาคพื้นดิน ฉันท์ส\"ลเคัรบำียฉกกันาพท์ย\"์ สมมติว่าเกิดเรื่องในอินเดียโบราณ

จุดประสงค์ของการแต่ง บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา รัชกาลที่ ๖ ตั้งพระทัยให้เป็นหนังสืออ่าน กวีนิพนธ์ เพื่อความสนุกสนานในด้านเนื้อหา และสอนในโดยให้เห็นถึงพลังอานุภาพ แห่งความรัก ซึ่งไม่ได้มีเพียงแต่ความสุขสมหวังเท่านั้น แต่ความรักความสามารถ สร้างความทุกข์ ความเจ็บปวด เหมือนที่เราชอบพูดกันว่า \"ที่ใดมีรักที่นั่นที่ทุกข์\" ถ้ารักในทางที่ดี ก็จะมีสุข ทางรักในทางที่ผิดไม่ฟังคำตักเตือนก็อาจทำให้มีทุกข์ได้ ดังคำต่อไปนี้

จุดประสงค์ของการแต่ง คำว่า \"ความรักทำให้คนตาบอด\" ดังคำพระกาละทรรศิน กล่าวว่า ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน ไม่ยินและไม่ยล อุปสัคคะใดใด ความรักเหมือนโคถึก กำลังคึกผิขังไว้ ก็โลดจากคอกไป บ่ยอมอยู่ ณ ที่ขัง ถึงหากจะผูกไว้ ก็ดึงไปด้วยกำลัง ยิ่งห้ามก็ยิ่งคลั่ง บ่หวนคิดถึงเจ็บกาย

ลักษณะคำประพันธ์ บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา ประกอบด้วย กาพย์ ๓ ชนิด ได้แก่ กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ฉันท์ ๒๑ ชนิด เช่น วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ อิทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ อุปชาติฉันท์ ๑๑ ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ อินทวงศ์ฉันทร์ ๑๒ วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ เป็นต้น

ภาคสวรรค์ เนื้อเรื่องโดยสั งเขป สุเทษณ์รักมัทนา มายาวินสะกดจิตเชิญมัทนา มัทนาพูดจาวกวน สุเทษณ์สงสัยจึงถามมายาวิน มายาวินคลายมนตร์ สุเทษณ์สารภาพรักมัทนา มัทนาปฏิเสธรัก สุเทษณ์โกรธสาปนางมัทนา

เนื้อเรื่องโดยสั งเขป ภาคสวรรค์ สุเทษณ์รักมัทนา มายาวินสะกดจิตเชิญมัทนา มัทนาพูดจาวกวน สุเทษณ์ ความรักละเหี่ยอุระระทด เพราะมิอาจจะคลอเคลีย มัทนา ความรักระทดอุระละเหี่ย ฤจะหายเพราะเคลียคลอ สุเทษณ์ โอ้โอ๋กระไรนะมะทะนา บมิตอบพะจีพอ มัทนา โอ้โอ๋กระไรอะมระง้อ มะทะนามิพอดี

เนื้อเรื่องโดยสั งเขป ภาคสวรรค์ สุเทษณ์สงสัยจึงถามมายาวิน สุเทษณ์ แน่ะมายาวิน เหตุใดยุพิน จึงเป็นเช่นนี้ ดูราวละเมอ เผลอเผลอ ฤดี ประดุจไม่มี ชีวิตจิตใจ มายาวิน เทวะที่นาง อาการเป็นอย่างนี้เพราะฤทธิ์มนตร์ โยคะอันขลัง บังคับได้จน ให้ตอบยุบล ได้ตามต้องการ แต่จะบังคับ ใครใครให้กลับ มโนวิญญาณ ให้ชอบให้ชัง ยืนยังอยู่นาน ย่อมจะเป็นการ สุดพ้นวิสัย

ภาคสวรรค์ เนื้อเรื่องโดยสั งเขป มายาวินคลายมนตร์ มายาวิน อันเวทอาถรรพ์ ที่พันธ์ผูกจิต แห่งนางมิ่งมิตร์ อยู่บัดนี้นา, จงเคลื่อนคลายฤทธิ์ จากจิตกัญญา คลายคลายอย่าช้า สวัสดีสวาหาย !

ภาคสวรรค์ เนื้อเรื่องโดยสั งเขป สุเทษณ์สารภาพรักมัทนา มัทนาปฏิเสธรัก สุเทษณ์ พี่นี้นะรักเจ้า และจะเฝ้าประคับประคอง คู่ชิดสนิธน้อง บ่มิให้ระคางระคาย พี่รักวะธูนวล บ่มิควรระอาละอาย, อันนาริกับชาย ฤก็ควรจะร่วมจะรัก มัทนา หม่อมฉันนี้เป็นผู้ถือ สัจจาหนึ่งคือ ว่าแม้มิรักจริงใจ ถึงแม้จะเป็นชายใด ขอสมพาศไซร้ ก็จะมิยอมพร้อมจิต

ภาคสวรรค์ เนื้อเรื่องโดยสั งเขป สุเทษณ์โกรธสาปนางมัทนา สุเทษณ์ กูสาปมัทนานงคราญ ให้จุติผ่าน ไปจากสุราลัยเลิด สู่แดนมนุษย์และเกิด เป็นมาลีเลิด อันเรียกว่ากุพฺชะกะ ให้เป็นเช่นนั้นกว่าจะ รู้สึกอุระ ระอุเพราะรักรึงเข็ญ เพียงหนึ่งทิวาราตรี แต่หากนางมี ความรักบุรุษเมื่อใด เมื่อนั้นแหละให้ทรามวัย คงรูปอยู่ไซร้ บคืนกลับเป็นบุปผา

ภาคมนุษย์ เนื้อเรื่องโดยสั งเขป ฤาษีกาละทรรศินมาพบต้นกุหลาบ จึงขุดไปปลูกที่อาศรม มัทนากลายเป็นมนุษย์ ท้าวชัยเสนได้มาพบมัทนา มัทนาถูกใส่ร้าย ท้าวชัยเสนรู้ความจริง มัทนาโดนสาปให้เป็นดอกกุหลาบตลอดไป

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๑. การใช้คำ การเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะ คือ การใช้พยัญชนะตัวเดียวกันหลายพยางค์ติด ๆ กัน คำประพันธ์ร้อยกรองโดยทั่วไปไม่สัมผัสพยัญชนะ แต่กวีนิยมใช้สัมผัสพยัญชนะเพื่อให้ มีความไพเราะปกติจะเป็นเสี่ยงสัมผัส ๒-๓ เสียง ดังบทประพันธ์ ขอจงเสวยสุข นิราศทุกข์ไร้โรคัน- ตะรายแลภยัน ตะรายาอย่ายายี (บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖ หน้า ๔๖) จากบทประพันธ์ข้างต้น มีเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะ ย เช่น ยาอย่ายายี

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ (ต่อ) การเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะ (ต่อ) อ้าอรเอกองค์อุไร พี่จะบอกให้ เจ้าทราบคดีดังจินต์ (บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖ หน้า ๕๙) จากบทประพันธ์ข้างต้น มีเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะ อ เช่น อ้าอรเอกองค์อุ กลับทรงดำรัสเฉลย ชวนชักเชยชม และชิดสนิทเสน่หา (บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖ หน้า ๖๒) จากบทประพันธ์ข้างต้น มีเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะ ช เช่น ชวนชักเชยชม

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ (ต่อ) การเล่นเสียงสัมผัสสระ คือ การใช้สำผัสสระหลายพยางค์ติด ๆ กัน สัมผัสใน เป็น การเล่นคำที่เป็นลีลา เป็นส่วนที่ทำให้เกิดเสียงพิเศษที่ไพเราะ และสะเทือนอารมณ์ ซึ่งเป็นส่วนที่กวีใช้อวดฝีมือตนเอง ดังบทประพันธ์ ดีแล้วทั้งการรำ และลำนำขับร้องหวาน ทั้งดนตรีประสาน ก็ฟังเพราะเสนาะดี (บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖ หน้า ๔๘) จากบทประพันธ์ข้างต้น มีการใช้คำว่า ลำ-นำ, เพราะ-เสนาะ เล่นเสียงสัมผัสในให้ดูไพเราะขึ้น

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ (ต่อ) การเล่นเสียงสัมผัสสระ สัมผัสใน (ต่อ) ปวงรูปเจ้าวาดมานี้ เป็นรูปนารี ที่ล้วนประเสริฐเลิศงาม แต่กูดูทุกนงราม ก็ยังเห็นทราม กว่านารีรัตน์มัทนา (บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖ หน้า ๕๑) จากบทประพันธ์ข้างต้น มีการใช้คำว่า ประเสริฐ-เลิศ, กู-ดู, รัตน์-มัท เล่นเสียงสัมผัสในให้ดูไพเราะขึ้น

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ (ต่อ) ซ้ำคำ หมายถึง การใช้คำที่มีความหมายเหมือนกัน ซึ่งเพื่อให้ความหมายของคำนั้น ๆ ชัดเจน ยิ่งขึ้น ดังบทประพันธ์ งามผิวประไพผ่อง กลทาบศุภาสุพรรณ งามแก้มแฉล้มฉัน พระอรุณแอร่มละลาน งามเกศะดำขำ กลน้ำ ณ ท้องละหาน งามเนตรพินิจปาน สุมณีมะโนหะรา (บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖ หน้า ๔๘) จากบทประพันธ์ข้างต้น มีการใช้คำว่า \"งาม\" ซึ่งเน้นให้รู้สึกว่างามจริง ๆ งามไม่มีที่ติ ทุกอย่างนางล้วนงามไปหมดทั้งผิวพรรณ ดวงตา ผมแก้ม งามที่สุด

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ (ต่อ) คำอัมภาส คือ คำเดิมเป็นคำซ้ำที่กร่อนเสียงคำหน้าเป็นสระ อะ ดังบทประพันธ์ อันพระเมตตาเนืองนอง ประดุจละออง วะรุณระรื่นรวยเย็น (บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖ หน้า ๔๗) จากบทประพันธ์ข้างต้น มีการใช้คำว่า \"ระรื่น\" มาจากคำว่า \"รื่นรื่น\" สุดแท้แต่จอมสรวง จะประสิทธิ์ประสามพันธ์ ขอเพียงให้คัน ธะระรื่นระรวยหอม (บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖ หน้า ๖๓) จากบทประพันธ์ข้างต้น มีการใช้คำว่า \"ระรื่น\" มาจากคำว่า \"รื่นรื่น\", \"ระรวย\" มาจากคำว่า \"รวยรวย\"

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ (ต่อ) ๒. การใช้ภาพพจน์ อุปมา คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่ง ในการเปรียบเทียบมีคำที่แสดงว่า เหมือนเป็นเครื่องเชื่อม เช่นคำว่า ดัง ดุจ กล ประหนึ่ง เล่ห์ เป็นต้น ดังบทประพันธ์ ขอโปรดทดลองดูเวท เผื่อพระทรงเดช จะได้ดังพระจินตนา (บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖ หน้า ๕๒) จากบทประพันธ์ข้างต้น มีการใช้คำว่า ดัง ในการเปรียบเทียบตอนที่จิตระรถบอกสุเทษณ์ว่า ให้มายาวินลองเวทมนตร์ให้ดู เผื่อสุเทษณ์จะได้สมหวังกับสิ่งที่คิดไว้

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ (ต่อ) อุปมา (ต่อ) แน่ะมายาวิน เหตุใดยุพิน จึงเป็นเช่นนี้ ชีวิตจิตใจ ดูราวมะเมอ เผลอเผลอฤดี ประดุจไม่มี พูดกับหุ่นยนตร์ คราใดเราถาม หล่อนก็ย้อนความ เหมือนเช่นถามไป ดังนี้จะยวน ชวนเชยฉันใด ก็เปรียงเหมือนไป (บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖ หน้า ๕๘) จากบทประพันธ์ข้างต้น มีการใช้คำว่า ประดุจ, เหมือน ในการเปรียบเทียบว่ามัทนาที่กำลังโดน มนตร์สะกดอยู่ พูดคุยกับสุเทษณ์เหมือนกับคนไม่มีชีวิต ถามอะไรไปก็ตอบกลับมาแบบย้อนความ เหมือนว่ากำลังพูดกับหุ้นยนตร์ ที่เราสามารถสั่งความได้

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ (ต่อ) อุปลักษณ์ คือ การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง มักมีคำว่า เป็น คือ ดังบทประพันธ์ ถ้าจริงเขาก็เป็นแก้ว (บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖ หน้า ๕๒) จากบทประพันธ์ข้างต้น มีการใช้คำว่า เป็น ในการเปรียบเทียบวิทยาธรมายาวินเป็นแก้ว เพราะมีความเก่งกาจ แข็งแกร่งมาก และมีความสสามารถน่านับถือ เพราะมีเวทมนตร์ที่สามารถ สั่งใครให้มาหาก็ได้

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ (ต่อ) สัญลักษณ์ คือ สิ่งที่กำหนดขึ้นใช้เพื่อให้ความหมายแทนอีกหนึ่งสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นรูปภาพ เครื่องหมายหรือสิ่งของ เป็นต้น ดังบทประพันธ์ แพ้ยอดฤดิข้า ดุจะกากะเปรียบหงส์ (บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖ หน้า ๖๐) จากบทประพันธ์ข้างต้น มีการใช้คำว่า กาและหงส์ ซึ่งสองคำนี้มีความหมายตรงข้ามกัน กา คือ อาจจะหมายถึงคนชั่วร้ายหรือคนที่ฐานะต้อยต่ำ ส่วนหงส์ คือ คนดีที่บริสุทธิ์หรือบุคคลที่สูงศักดิ์

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ (ต่อ) สัญลักษณ์ (ต่อ) อระงาม ณ แดปวง ข้าวาดวิเลขา และก็สุดจะโปรดปราน ถวายพระปิ่ นสรวง (บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖ หน้า ๕๑) จากบมประพันธ์ข้างต้น มีการใช้คำว่า พระปิ่ น แทนพระมหากษัตริย์ หมายถึง สุเทษณ์เทพบุตร

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ (ต่อ) ปฏิพากย์ คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงข้ามกัน ดังบทประพันธ์ ดีละ เรียกเขาเข้ามา ชั่วดีก็น่า จะลองให้เห็นประจักษ์ (บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖ หน้า ๕๒) จากบทประพันธ์ข้างต้น มีการใช้คำว่า ชั่วดี ตอนที่สุเทษณ์บอกให้มายาวินมาลองเวทมนตร์ ซึ่งสองคำนี้มีความหมายตรงข้ามกัน เพราะชั่ว คือ เลว ทราม ส่วนดี คือ การกระทำในทางที่ดี น่าพอใจ

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ (ต่อ) ๓. กวีโวหาร เสาวรจนี (บทชมโฉม, ชมความงาม) คือ การเล่าชมความงามของตัวละครในเรื่อง ซึ่งอาจจะ เป็นตัวละครที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ หรือสัตว์ ก็ได้ ดังบทประพันธ์ งามผิวประไพผ่อง กลทาบศุภาสุพรรณ งามแก้มแฉล้มฉัน พระอรุณแอร่มละลาน งามเกศะดำขำ กลน้ำ ณ ท้องละหาน งามเนตรพินิจปาน สุมณีมะโนหะรา (บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖ หน้า ๔๘) จากบทประพันธ์ข้างต้น เป็นตอนที่สุเทษณ์ได้ชมความงามของมัทนาว่าสวยไม่มีใครเปรียบนางได้ เลย สวยทั้งหน้าตา ผิวพรรณ ผมดำงาม ทั้งแก้มและดวงตา ล้วนงามยิ่ง

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ (ต่อ) พิโรธวาทัง (บทเกรี้ยวโกรธ) คือ การกล่าวข้อความแสดงอารมณ์ไม่พอใจ ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย ไปจนถึงเรื่องใหญ่ ตั้งแต่่ ไม่พอใจ โกรธ ตัดพ้อ ประชดประชัน กระทบกระเทียบ เปรียบเปรย เสียดสี และด่าว่าอย่างรุนแรง ดังบทประพันธ์ อุเหม่! มะทะนาชะเจ้าเล่ห์ ชิชิช่างจำนรรจา ตลคำอุวาทา ฤกระบิดกระบวนความ ดนุถามเจ้าก็ไซร้ บ มิตอบ ณ คำถาม วนิดาพยายาม กะละเล่นสำนวนหวน ก็และเจ้ามิเต็มจิต จะสดับดนูชวน ผิวะให้อนงค์นวล ชนะหล่อนทะนงใจ (บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา : รัชกาลที่ ๖ หน้า ๖๒) จากบทประพันธ์ข้างต้น เป็นตอนที่สุเทษณ์โกรธนางมัทนาที่ถามอะไรไปนางก็ตอบอย่างนั้นเหมือน ทวนคำที่ตนพูดไป

สรุป บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา ให้ความรู้ความเพลิดเพลินและชวนติดตาม ไปกับการใช้ภาษาอันไพเราะ น่าสนใจ และให้ข้อคิดสอนใจเกี่ยวกับเรื่องของความรักได้เป็นอย่างดี โดยมีการใช้ดอกกุหลาบแทนตัวผู้หญิง ซึ่งมีความสวยงามผู้ชายหลายคนย่อมหมายปอง และมีหนามคมเป็นเกราะป้องกันตนเองจากภัยอันตรายของผู้ที่จะมาเด็ดกิ่ง ก้าน ใบ หรือดอกไปเชยชม ซึ่งนั่นหมายความว่าหนามคมเปรียบเสมือนสติปัญญาของผู้หญิง ถ้าหญิงสาวที่มีความงาม มีความเฉลียวฉลาด รู้ทันเล่ห์เหลี่ยมย่อมสามารถเอาตัวรอด จากชายที่จงใจจะหยามเกียรติหรือจะดูหมิ่นศักดิ์ศรีของเราได้

บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๖๔). พิมพ์ครั้งที่ ๗. หนังสือเรียน รายวิชาภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว ภาสกร เกิดอ่อน และคณะ. (๒๕๕๑). พิมพ์ครั้งที่ ๖. ภาษาไทย วรรณคดีและวรรณกรรม ม.๕. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด. มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (๒๕๕๔). มัทนะพาธา. กรุงเทพฯ: ศิลปากรบรรณาคาร.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook