Samet ngam AR E-BooK
คำนำ E-BOOKเสม็ดงามจัดทำชึ้นเพื่อนำเสมอเสม็ดงามว่าเสม็ดงามมี อะไรน่าสนใจ แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเสม็ดงามและป่าชายเลน เสม็ดงามและภูมิปัญญาพื้นบ้านของเสม็ดงามและโครงการราชการ ที่9ซึ่งจุดประสงค์ของE-BOOKเสม็ดงามต้องการให้ผู้อ่าน ได้รู้จักเสม็ดงามมากขึ้นและรู้จักแหล่งท่องเที่ยวต่างๆเสม็ดงามและ มารู้จักภูมิปัญญาพิ้นของเสม็ดงามซึ่งสามารถนำไปประกอบวิชาชีพ ได้และได้รู้จักโครงการของราชการที่ 9 ที่ท่านได้สร้างความเจริญไว้ ให้เสม็ดงามและอยากให้ผู้อ่านมาท่องเที่ยวเสม็ดงาม ผู้เรียงเรียบ E-BOOK มีความตระหนักและเห็นคุณค่าของเสม็ด งามว่าน่าท่องเที่ยวอย่างไรและน่ารู้จักอย่างไรจึงมีจุดมุ่งหมายให้ผู้ อ่านรู้จักเสม็ดงามเพื่อนำไปศึกษาต่อยอดและนำไปใช้ในการท่อง เที่ยวเสม็ดงาม ผู้เรียบเรียงมั่นใจว่าอย่างยิ่งว่ากิจกรรมท่องเที่ยวเทคนิคการนำ เสนอเนื้อหาสาระและสื่อประกอบของ E-BOOK เสม็ดงามนั้นจะ นำมาซึ่งให้ผู้อ่านรู้จักเสม็ดงามมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ น่าสนใจในเสม็ดงามและป่าชายเลนเสม็ดงามและภูมิปัญญาพื้นบ้าน ของเสม็ดงามและโครงการราชการที่ 9
สารบัญ (CONTENT) หน้า 1 : แหล่งท่อง หน้า 2 : อนุสรณ์สถาน เ ที่ ย ว ที่ น่ า ส น ใ จ ใ น เ ส ม็ ด ง า ม ส ม เ ด็ จ พ ร ะ เ จ้ า ต า ก สิ น มหาราช หน้า 3 : อู่ต่อเรือ หน้า 4 : ป่าชายเลน หน้า 5-6 : เ ส ม็ ด ง า ม ภูมิปัญญาพื้ นบ้านของ เ ส ม็ ด ง า ม หน้า 7 : การปลูกป่า ชายเลน หน้า 8 : พืชและ สมุ นไพร หน้า 9-10 : สวน พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร์ป่ า ช า ย เ ล น หน้า 11 : การอนุรักษ์ นานาชาติ ร.9 และฟื้ นฟู ป่าชายเลน หน้า 12 : บทสรุป หน้า 13 : อ้างอิง หน้า 14 : คณะผู้จัดทำ
แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ในเสม็ดงาม อู่ต่อเรือบ้านเสม็ดงาม อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก หรือ อู่ต่อเรือเสม็ดงาม สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่ซึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ใช้เป็นอู่ต่อเรือ เมื่อครั้งเตรียมยกทัพไปตีพม่าเพื่อกู้เอกราช ชาติไทยเมื่อ พ.ศ.2310 หน่วยโบราณคดีใต้น้ำ กอง โบราณคดี กรมศิลปากรได้ขุดค้นซากเรือและตรวจสอบ ชั้นดินทางโบราณคดีตามริมฝั่ งอ่าว
อนุสรณ์สถาน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบรมราชานุสาวรีย์ สร้างขึ้นโดย ข้าราชการและ ประชาชนจังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2515 เพื่อเทอดพระเกียรติ และรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรง มีพระวิริยอุตสาหะ ปราบปรามอริยศัตรู นำความสงบสู่อาณา ประชาราฎร์ และเป็นเครื่องเตือนใจชาวจันทบุรีว่า เป็นดินแดน ที่พระองค์ได้ทรงรวบรวมชาวไทยผู้รักชาติ ขึ้นไปขับไล่ข้าศึก เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับการเชิงชู พระเจ้าตากสินมหาราชและเราจะได้รู้จักสิ่งที่ชาวบ้านเคารพ นับถือ
อู่ต่อเรือ พบแอ่งน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าลักษณะคล้ายอู่เรือ อยู่หลายแห่ง พร้อมทั้งส่วนประกอบต่างๆ ของเรือ โบราณ และสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นเรือสำเภาจีนแบบฟู เจียนขนาดเล็กใช้สำหรับบรรทุกสินค้า มีใบสามเถาใช้ หางเรือเสือ ขนาดเรือยาว 24 เมตร กว้าง 5 เมตร บริเวณใกล้เคียงมีโรงเก็บเรือจำลองและเรือของชาว บ้านที่เคยใช้กันในอดีต เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในการไปศึกษา ประวัติศาสตร์ของพระเจ้าตากสินหมาราชและเราจะได้ รู้จักเกี่ยวกับอู่ต่อเรือในอดีตที่น่าสนใจ
ป่าชายเลนเสม็ดงาม ที่มาและความสำคัญของป่าชายเลน ช่วยรักษาความสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่ ง ทำให้เลี้ยงกุ้ง ทะเลได้อย่างยั่งยืน เป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำ แหล่งอาหารตาม ธรรมชาติ แหล่งสมุนไพรชุมชน ป่าชายเลนมีบทบาทสำคัญที่เป็นส่วนเชื่อมรบบนิเวศบนบก และระบบนิเวศทางทะเล โดยที่ป่าชายเลนทำหน้าที่หลักสองประการ ป่าชายเลนทำหน้าที่ในการดักตะกอน ที่ถูกพัดมากับน้ำจีด ไม่ให้ถูก พัดพาออกทะเลมากเกินไป ลดผลกระทบ ป่าชายเลนยังลดผลกระทบ การสังเคราะห์แสง และผลผลิตทางการเกษตร ป่าชายเลนทำหน้าที่ ในการส่งถ่ายธาตุอาหาร และอินทรีย์สารจากบริเวณป่าชายเลนออก ทะเล ชายฝั่ งบริเวณใกล้เคียง เป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ให้แก่น้ำบริเวณชายฝั่ งป่าชายเลนขึ้นอยู่ตามชายฝั่ งทะเล และปากแม่น้ำต่างๆ ช่วยลดความแรงของกระแสน้ำทำให้ มีตะกอนทับถมในลักษณะของแผ่นดินงอกป่าชายเลน ช่วยเพิ่มพื้นที่
ภูมิปัญญาพื้นบ้านของเสม็ดงาม หมู่บ้านทอเสื่อบางสระเก้า เป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งที่นำกกมาประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ อีกเช่นกระเป๋ากล่องใส่กระดาษเช็ดมือ ที่รองจาน ที่ใส่ จดหมาย และรองเท้าแตะ อีกหนึ่งสถานที่ที่คุณจะได้ทำความ รู้จักกับเสื่อกกจันทบูรที่นำมาแปรเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย และได้มีการจัดตั้งศูนย์ศิลป์เสื่อบางสระเก้า เมื่อปี พ.ศ. 2543
โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุน เรื่องการลงทุนทาง สังคม (SIF) ภายใต้แนวคิดหลักในการพัฒนาชุมชนแบบพึ่ง ตนเอง เน้นกระบวนการเสริมสร้างการเรียนรู้และการมีส่วน ร่วมของชุมชน องค์กรชาวบ้านและวัฒนธรรมชุมชนที่เข้ม แข็ง โดยหน้าที่หลักของศูนย์นี้คือ ส่งเสริมการปลูกกก ปลูก ปอ จุดมุ่งหมายต้องการให้ลดต้นทุนการผลิต มีวัตถุดิบใน พื้นที่เพียงพอ ส่งเสริมด้านเงินทุนเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูก และจัดเตรียม มีการคืนทุนสังคมของสมาชิก และรับซื้อและ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน
การปลูกป่าชายเลน หมู่ 10 ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ลุกขึ้นมา ร่วม กันดูแลปกป้องผืนป่าชายเลน วันนี้ป่า ชายเลนบ้านเสม็ดงามในได้ฟื้ นคืนกลับ มาอุดมสมบูรณ์ด้วยพรรณไม้ป่าชาย เลนและสัตว์น้ำนานาชนิด เป็นทั้ง แหล่งอาหารแหล่งยาสมุนไพร แหล่ง ไม้ใช้สอย และแหล่งรายได้ให้กับชุมชน ได้พึ่งพิงใช้ประโยชน์อย่างสมดุล และยั่งยืน กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่า ชายเลนบ้านเสม็ดงามในจึงเป็นดั่ง ต้นไม้ใหญ่ที่ให้การดูแลเด็กและ เยาวชนในชุมชนด้วยหวังว่าลูกไม้เหล่า นี้จะได้เติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ทดแทน พวกเขาต่อไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
พืชและสมุนไพร สำหรับเรื่องสมุนไพรป่าชายเลน ที่นำมาใช้ปรุง เป็นยานั้น มีทั้งชนิดที่ใช้ใบ ดอก ผล ยาง ราก หรือแม้ กระทั่งแก่น มาปรุงเป็นยา แต่การนำสมุนไพรมาทำยา นั้น มิได้ใช้เพียงสมุนไพรจากป่าชายเลนเท่านั้น แต่นำ สมุนไพรจากป่าบกมาผสม เพื่อปรุงเป็นยาด้วย การหา สมุนไพรจากป่าบกนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก จะต้องมี เครือข่าย คือแต่ละที่ แต่ละจังหวัดจะมีพืชที่แตกต่าง กัน บางอย่างต้องเข้าไปหาจากป่าลึก หรือบางอย่าง อาจต้องใช้เวลานานในการหา เมื่อมีเครือข่ายแล้วก็ สามารถทำการแลกเปลี่ยนเครื่องยากันได้แต่ปัญหาที่ สำคัญคือ ป่าหมด มีการแผ้วถางป่าเพื่อทำเป็นพื้นที่ สวน พืชสมุนไพรก็หมดไปด้วย บางอย่างที่สามารถนำ มาปลูกได้ก็ควรจะปลูกไว้เพื่อไม่ให้สูญหายไป
สวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนนานาชาติ ร.9 สวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนนานาชาติ ร.9 ตั้งอยู่บริเวณบ้านเสม็ดงาม หมู่ 10 ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ปัจจุบันมีเนื้อที่ป่าชายเลนประมาณ 518 ไร่ เกิดขึ้นตาม เจตนารมณ์เพื่อขยายผลของโครงการ พลิกฟื้ นคืนป่าชายเลนสู่ ธรรมชาติ โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ งเพื่อน้อมรำลึกถึงพระ มหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรสวน
พฤกษศาสตร์ป่าชายเลนนานาชาติ ร.9 เริ่มเปิดดำเนิน การอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เพื่อเป็น แหล่งรวบรวม จัดแสดงพรรณไม้ป่าชายเลนจากพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของโลก และเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มี ชีวิต เป็นแหล่งเรียนรู้ และ แหล่งศึกษาวิจัย สร้างองค์ความรู้ในทางพฤกษศาสตร์ ทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อเป็นสถาบันแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ ด้านพฤกษศาสตร์ และการใช้ประโยชน์จากพรรณไม้ป่าชายเลน ที่เหมาะสม และเป็นการส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาที่ยั่งยืน ของสหประชาชาตินอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจทางธรรมชาติของประชาชน เป็น แหล่สร้างกิจกรรมที่หลากหลายของนักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และร่วมทำงานกับสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อ เป็นศูนย์เครือข่ายในการอนุรักษ์พรรณพืชป่าชายเลน ร่วมกับ สมาคมป่าชายเลนนานาชาติ ซึ่งมีสมาชิกอยู่ 93 ประเทศ ที่มี ป่าชายเลนทั่วโลก
การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน นำเทคโนโลยีมาเป็นตัวขับเคลื่อนในการอนุรักษ์และฟื้ นฟูป่าชายเลน โดยเฉพาะศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (NATIONAL OMICS CENTER) และธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ ซึ่งมีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้ามาช่วยการวิจัยแนวหน้าในระดับจีโนมและพันธุกรรม โปรตีนและการ แสดงออกของยีน วิธีการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมและชีววัสดุในระยะยาว โดย จะร่วมกันศึกษาวิจัยพันธุ์ไม้ป่าชายเลน โดยเฉพาะชนิดที่มีการแพร่กระจายน้อย หายาก ใกล้สูญพันธุ์ผลงานวิจัยมุ่งเป้าให้เกิดฐานข้อมูลจีโนมอ้างอิงของพืชป่า ชายเลนเป็นครั้งแรกของประเทศไทย วิธีการอนุรักษ์พันธุกรรมในสภาพปลอด เชื้อระยะยาว ใช้สำหรับคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ป่าชายเลน เกิดการปรับปรุงพันธุ์ ในอนาคต สร้างความมั่นคงทางอาหารและทางระบบนิเวศให้กับป่าชายเลนใน ประเทศไทยคงความอุดมสมบูรณ์ ชุมชนมีรายได้ และเกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน สำหรับการบริหารจัดการและการนำความรู้ไปใช้ในการอนุรักษ์และฟื้ นฟูชุมชน
บทสรุป เราจะพาท่านนักท่องเที่ยวไปรู้จักกับเกี่ยวกับเสม็ด งามไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องที่น่าสนใจในเสม็ดงามและจะได้ รู้จักป่าชายเลนเสม็ดงามและจะได้รู้จักภูมิปัญญาพื้นบ้าน ของเสม็ดงามซึ่งเราสามารถนำไปประยุทรใช้และต่อยอดได้ และเราจะได้รู้โครงการราชการที่9พวกเรานั้นได้สรุปเนื้อที่ สามารถใช้ได้จริงและสามารถนำไปใช้ในการทำความรู้จัก เสม็ดงามมากขึ้น ในหลายๆมุมมองที่เราได้สารผ่านE-book พวกเรามีความปรารถนาว่าผู้ที่ได้อ่านจะรู้จักเสม็ดงามและ สนุกสนานกับแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจนี้
อ้างอิง https://www.recoftc.org/th/publications/0000256
Search
Read the Text Version
- 1 - 17
Pages: