Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การดูแลผู้สูงอายุภาวะซึมเศร้า

การดูแลผู้สูงอายุภาวะซึมเศร้า

Published by tunshanog.yaikang, 2021-06-25 02:36:18

Description: การดูแลผู้สูงอายุภาวะซึมเศร้า

Search

Read the Text Version

คู่มอื การดูแลผู้สูงวยั : สูตรคลายซมึ เศร้า พิมพค์ ร้ังที่ 1 กรกฎาคม 2559 จำ�นวนพิมพ์ 1,000 เลม่ • ผู้เขยี น ทป่ี รกึ ษา ศ. พญ. ณหทยั วงศป์ การนั ย์ นพ. บรรลุ ศริ ิพานชิ ศ. นพ. ทินกร วงศ์ปการันย์ พญ. วชั รา ริว้ ไพบูลย์ รศ. นพ. เธยี รชยั งามทพิ ยว์ ฒั นา พญ. ลดั ดา ดำ�ริการเลศิ ผูจ้ ัดการการส่ือสารสาธารณะ ยุพาพรรณ ศริ ิอา้ ย เนาวรัตน์ ชมุ ยวง คนึงนจิ ไชยลังการณ์ ประสานงานวิชาการ รศ. ดร. ภก. วิรัตน์ นิวัฒนนันท์ อัปสร จินดาพงษ์ ภญ. เรวดี วงศ์ปการนั ย์ แพรว เอีย่ มนอ้ ย ผศ. พญ. ภาพันธ์ ไทยพิสทุ ธิกลุ บุศรินทร์ นนั ทานุรกั ษส์ กลุ พญ. ปณุ ยจ์ ารี วิรยิ โกศล บงกช จฑู ะเตมีย์ บรรณาธิการจดั การ จฑุ ารัตน์ แสงทอง ณฏั ฐพรรณ เรืองศิรนิ สุ รณ์ บรรณาธกิ าร ณัฏฐพรรณ เรืองศริ ินสุ รณ์ กิตตพิ งศ์ สนธสิ ัมพันธ์ • ออกแบบปก wrongdesign ภาพปก กฤตนิ ธรี วทิ ยาอาจ ศิลปกรรม พรชนติ ว์ วิศิษฐชยั ชาญ

ข้อมูลทางบรรณานกุ รมของสำ�นกั หอสมุดแหง่ ชาติ คมู่ ือการดูแลผูส้ งู วัย : สูตรคลายซึมเศรา้ .-- นนทบุรี : สถาบันวจิ ยั ระบบสาธารณสขุ (สวรส.), 2559. 96 หนา้ . -- (ค่มู อื การดูแลผู้สูงวัย). 1. ผ้สู ูงอาย-ุ -การดูแลและสขุ วทิ ยา. 2. ความซมึ เศรา้ ในผูส้ งู อาย.ุ 3. ผูส้ ูงอาย-ุ -สขุ ภาพจิต. I. ณหทยั วงศป์ การันย.์ II. ชอ่ื เรอื่ ง. 618.97 ISBN 978-974-299-245-3 ดำ�เนนิ การโดย สถาบนั วจิ ัยระบบสาธารณสขุ (สวรส.) รว่ มกบั มลู นิธิสถาบนั วิจยั และพฒั นา ผสู้ ูงอายุไทย (มส.ผส.) สนบั สนนุ โดย สำ�นักงานกองทุนสนับสนนุ การสร้างเสรมิ สขุ ภาพ (สสส.) จัดพมิ พ์โดย บริษทั โอเพ่นเวิลดส์ พบั ลชิ ชงิ่ เฮาส์ จ�ำ กัด สถาบันวิจยั ระบบสาธารณสุข 88/39 อาคารสุขภาพแหง่ ชาติ ชนั้ 4 กระทรวงสาธารณสุข ซ.6 ถ.ตวิ านนท์ 14 ต.ตลาดขวญั อ.เมอื ง จ.นนทบรุ ี 11000 โทรศพั ท/์ โทรสาร 02-832-9200, 02-832-9201 http://www.hsri.or.th, http://www.healthyability.com, http://www.bluerollingdot.org ดาวนโ์ หลดหนงั สือเล่มน้ีและงานวจิ ัยอนื่ ๆ ของ สวรส. และเครือขา่ ยไดท้ ี่ คลังขอ้ มูลและความรูร้ ะบบสุขภาพของ สวรส. และองคก์ รเครอื ข่าย http://kb.hsri.or.th

สารบญั 6 ค�ำน�ำ 10 ภาวะซมึ เศรา้ ในผู้สูงอายุ 20 โรคซมึ เศรา้ : ประตูสู่โรคภยั อื่น 30 หากผู้สูงอายุ เป็น “โรคซึมเศร้า” ควรท�ำอย่างไร 44 อาหารสรา้ งสุข

50 กจิ กรรมบำ� บดั เพื่อสร้างสุข 66 การจัดการเวลา ส�ำหรับผสู้ งู อายุ 74 การจัดบา้ น 78 แนวทางการสรา้ งสขุ ให้แก่ผ้ดู แู ล 84 หนว่ ยงานทใี่ หข้ อ้ มูล และความช่วยเหลือ 93 เอกสารอ้างองิ

6 คู่มือการดูแลผูส้ งู วัย คำ� น�ำ 4 ภาวะซึมเศร้า (depression) เป็นภาวะท่ีพบบ่อย ในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างย่ิงผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงหรือพิการ ซึ่งประสบความยากล�ำบากในการเข้ารับบริการสาธารณสุข บุคคลกลุ่มนี้จะมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าได้สูงกว่าผู้สูงอายุ ทั่วไป ภาวะซึมเศร้านั้นมีโอกาสพัฒนาไปเป็น “โรคซึมเศร้า” ไดใ้ นอนาคต นอกจากนี้ยังมีความเสีย่ งท่จี ะน�ำไปสูก่ ารท�ำรา้ ย ตนเอง ซ่ึงผ้ดู แู ลจ�ำต้องตระหนักถงึ ภาวะอนั ตรายดังกลา่ ว ดว้ ยเหตนุ ี้ ผใู้ กลช้ ดิ หรอื ผดู้ แู ลผสู้ งู อายจุ งึ ควรมที กั ษะ และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง อันได้แก่ การประเมินลักษณะ อาการ การค้นหาและคัดกรอง การดูแลเบ้ืองต้นหรือการ ดูแลควบคู่กับแผนการรักษาของแพทย์ การประเมินภาวะ แทรกซ้อน และการป้องกันไมใ่ หก้ ลับมาเป็นซำ้� คมู่ อื “สตู รคลายซมึ เศรา้ ” เลม่ นป้ี ระกอบดว้ ยตวั อยา่ ง กิจกรรมซ่ึงคัดเลือกมาแล้วว่าเหมาะสมท่ีผู้ดูแลผู้สูงอายุจะน�ำ ไปใชด้ แู ลผสู้ งู อายุ ไมว่ า่ จะมภี าวะพง่ึ พงิ หรอื พกิ าร โดยประมวล

สูตรคลายซึมเศร้า 7 ความรู้และถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของผู้ดูแล รวมถึง บคุ ลากรจากหนว่ ยงานตา่ งๆ ซงึ่ มหี นา้ ทด่ี แู ลผสู้ งู อายทุ ม่ี ภี าวะ พ่ึงพิงหรือพิการทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ จิตแพทย์ พยาบาลนกั กจิ กรรมบ�ำบดั นกั จติ วทิ ยานกั พฤฒาวทิ ยาเภสชั กร ผู้บริบาลชุมชนและญาติของผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่ในชุมชน เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานสาธารณสุข และผู้เชี่ยวชาญด้าน สขุ ภาพจติ อน่ื ๆ รวมถงึ ตวั แทนจากองคก์ รเอกชนทไ่ี มแ่ สวงหา ผลก�ำไร และนักวชิ าการอาวโุ สดา้ นสุขภาพจติ ผสู้ ูงอายุ โดยมี การจัดประชุมแลกเปล่ียนเรียนรู้ไม่ต�่ำกว่า 12 คร้ัง ท้ังยังจัด ประชุมให้ผู้ดูแลและญาติพิจารณาเน้ือหาในคู่มืออีกไม่ต�่ำกว่า 5 ครง้ั คณะผู้จัดท�ำขอขอบคุณมูลนิธิสถาบันวิจัยและ พัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ท่ีมอบหมายภารกิจและให้ทุน เพื่อด�ำเนินโครงการนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือนี้จะเป็น ประโยชนส์ �ำหรับผดู้ แู ลผูส้ งู อายุตอ่ ไป ศ. พญ. ณหทยั วงศป์ การันย์ หัวหน้าคณะผู้จัดท�ำ เมษายน 2559



สตู รคลายซึมเศรา้ คู่มือการดูแลผูส้ งู วัย

1 ภาวะซมึ เศรา้ ในผู้สูงอายุ

สตู รคลายซึมเศร้า 11 ภาวะซมึ เศรา้ คอื อะไร ภาวะซึมเศร้าคือการเปล่ียนแปลงทางอารมณ์ชนิด หนง่ึ อาการหลกั ๆ คอื ผสู้ งู อายจุ ะรสู้ กึ เบอื่ หนา่ ยหรอื เศรา้ หรอื ทง้ั สองอยา่ ง โดยอาจมกี ารเปลย่ี นแปลงของพฤตกิ รรมการกนิ การนอน เร่ียวแรง สมาธิ รวมถึงความรู้สึกที่มีต่อตัวเอง รว่ มด้วย การเปลยี่ นแปลงเชน่ นี้ ถา้ เปน็ ไมม่ ากนกั อาจเขา้ ขา่ ย “ภาวะซึมเศร้า” แต่หากมีอาการมากและกินระยะเวลานาน กอ็ าจพัฒนากลายเปน็ “โรคซึมเศรา้ ” ซึ่งจะท�ำใหไ้ มม่ ีความสขุ ในชีวิต ท�ำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจ�ำวันได้ไม่ดีเหมือนเดิม และบางรายท่รี ้สู กึ ท้อแทห้ รอื หมดหวงั อาจสง่ ผลรนุ แรงถึงข้ัน ไมอ่ ยากมีชวี ิตอยู่ต่อไป ภาวะซมึ เศรา้ ในผู้สูงอายุไทยพบมากเพยี งใด จากการคดั กรองสขุ ภาพผสู้ งู อายแุ ละผพู้ กิ ารในปี พ.ศ. 2556 พบว่ามีผู้สูงอายุท่ีเข้าข่ายมีภาวะซึมเศร้าถึงร้อยละ 33

1 2 คมู่ ือการดูแลผ้สู ูงวัย แต่ผู้สูงอายุในชุมชนท่ีมีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้า จริงๆ มปี ระมาณร้อยละ 6 รายงานของ ศ. พญ. ณหทยั วงศ์ปการนั ย์ และคณะ ท่ีเสนอต่อสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2559 พบว่ามีผู้สูงอายุท่ี เปน็ โรคซึมเศร้าจำ�นวนรอ้ ยละ 23 ของผสู้ ูงอายทุ ีร่ บั การรกั ษา ในโรงพยาบาล 4 แห่งซง่ึ มีแผนกจติ เวช และรายงานวจิ ัยของ ศ. พญ. ณหทัย วงศ์ปการันย์ และคณะ ท่ีเผยแพร่ในวารสาร การแพทย์ พบว่ามีผู้สูงอายุไทยในบ้านพักคนชราที่เป็นโรค ซึมเศร้ามากถงึ รอ้ ยละ 23 ผ้สู ูงอายุทไี่ มม่ ีภาวะซมึ เศรา้ ผสู้ งู อายทุ ่มี ภี าวะซมึ เศร้า

สูตรคลายซึมเศร้า 13 จะแยกภาวะซมึ เศรา้ ออกจากความเศรา้ ปกตไิ ดอ้ ย่างไร ตารางแสดงความแตกต่างระหว่าง ภาวะซมึ เศรา้ และความเศรา้ ปกติ หัวขอ้ ความเศรา้ ปกติ ภาวะซมึ เศร้า ระยะเวลา เศรา้ หรอื เบ่อื เศรา้ หรือเบ่ือ ความถี่ ไม่นาน เชน่ นานกว่าปกติ ไมก่ ่ชี ั่วโมง เชน่ หลายๆ วัน ความรุนแรง หรอื นอ้ ยกวา่ น้ัน หรือเป็นสปั ดาห์ อาการทีผ่ ู้ดแู ล สงั เกตเห็น มชี ว่ งทีด่ ีมากกวา่ ชว่ งเวลาสว่ นใหญ่ ความร้สู ึกวา่ ชว่ งทเ่ี ศร้าหรือ รู้สึกเศร้า ตนผดิ ปกติ เบ่อื ไม่ต่างจากทเ่ี คย เศรา้ หรือเบือ่ มากกว่าที่เคย ดคู ลา้ ยๆ เดิม ผดู้ ูแลดอู อกวา่ ไมเ่ หมอื นเดมิ รู้สกึ ว่าตน รู้วา่ ตนไม่เคยรู้สึก ไมเ่ ปลี่ยนแปลง แยอ่ ยา่ งนม้ี ากอ่ น ไปจากเดมิ

1 4 ค่มู อื การดแู ลผสู้ งู วัย อาการของภาวะซึมเศร้าเปน็ อยา่ งไร รสู้ กึ เบอ่ื หนา่ ย:ผสู้ งู อายจุ ะรสู้ กึ เบอ่ื หนา่ ยสนใจสงิ่ ตา่ งๆนอ้ ยลง หรอื หมดความสนใจ หมดอาลยั ตายอยากในชีวติ ไมเ่ บิกบาน ห่อเห่ียว หดหู่ หรอื เซง็ ภาษาถ่ินเรียกวา่ ก้าย (เหนือ), เปน็ ตะหน่ายแท่ อุกองั่ (อสี าน), เอือน (ใต้) รู้สกึ เศร้า: ผู้สูงอายจุ ะเศร้าโศกเสยี ใจงา่ ย น้อยใจงา่ ย รอ้ งไห้ งา่ ย รวมถึงมักร้สู ึกทอ้ ใจ

สูตรคลายซึมเศรา้ 15 พฤติกรรมการนอนเปลี่ยนแปลง: ผู้สูงอายุจะนอนไม่หลับ หลบั ๆ ต่นื ๆ ต่ืนเชา้ กวา่ ปกติ หรอื อาจนอนมากขน้ึ หลบั ทั้งวนั ทั้งคนื นอนขเี้ ซา พฤตกิ รรมการกนิ เปลย่ี นแปลง: เบอื่ อาหาร ไมค่ อ่ ยหวิ หรอื อาจกินจุข้ึน ของท่ีเคยชอบกินกลับไม่อยากกิน หรือบางราย อาจอยากกินของทป่ี กตไิ ม่กนิ เช่น ของหวานๆ

1 6 คมู่ ือการดูแลผ้สู งู วัย การเคล่ือนไหวของร่างกายเปลี่ยนแปลง: ผู้สูงอายุอาจ เคล่ือนไหวเช่ืองช้าลงหรือเคล่ือนไหวมากขึ้น กระวนกระวาย ภาษาอสี านเรยี กวา่ หนหวย หรือ บ่เปน็ ตะอยู่ ก�ำลังกายเปล่ียนแปลง: อ่อนเพลียง่าย ก�ำลังวังชาลดน้อย ถอยลง รู้สกึ ไมค่ ่อยแข็งแรงเหมือนเดิม ไม่ค่อยมีแรง บางราย อาจบ่นเก่ียวกับอาการทางร่างกายหลายอย่างที่ตรวจไม่พบ สาเหตุ หรอื มอี าการมากกวา่ อาการปกตขิ องโรคนั้นๆ

สตู รคลายซมึ เศรา้ 17 ความรู้สกึ ต่อตนเองเปลยี่ นแปลง: รสู้ ึกไรค้ ่า รู้สึกผิด หรอื รู้สึกแย่กับตัวเอง คิดว่าตนเป็นภาระของลูกหลาน ไม่มีความ สามารถเหมือนที่เคยเป็น ความภาคภูมิใจในตนเองลดลง อับจนหนหาง หมดหวงั ในชีวติ สมาธแิ ละความจ�ำบกพรอ่ ง: หลงลมื บอ่ ย โดยเฉพาะลมื เรอ่ื ง ใหมๆ่ ใจลอย คิดไมค่ ่อยออก มักลงั เลหรือตดั สนิ ใจผิดพลาด

1 8 ค่มู ือการดแู ลผสู้ งู วัย ท�ำร้ายตัวเอง: ผู้สูงอายุบางรายที่มีอาการมากๆ อาจรู้สึก ไม่อยากมีชีวิตอย่อู ีกตอ่ ไป บางรายจะคดิ หรอื พูดถึงความตาย บ่อยๆ นึกอยากตาย และอาจวางแผนท�ำร้ายร่างกาย เช่น เตรยี มสะสมยาจ�ำนวนมากๆ เตรยี มวสั ดุอุปกรณ์ จากน้นั อาจ ลงมือท�ำรา้ ยตวั เองด้วยวิธีต่างๆ เช่น กินยาเกินขนาด กนิ ยา ฆ่าแมลงหรือยาฆา่ หญ้า แขวนคอ หรอื ใชอ้ าวุธท�ำร้ายตนเอง ผู้สูงอายุบางรายอาจไม่ยอมกินยาประจ�ำตัว เพ่ือปล่อยให้ อาการทรดุ ลงจนเสยี ชวี ติ



2 โรคซมึ เศรา้ : ประตูสู่โรคภัยอน่ื

สตู รคลายซมึ เศร้า 21 โรคสมองเสือ่ มตามหลังภาวะซมึ เศร้า ผู้สูงอายุรายใดท่ีอย่ใู นภาวะซมึ เศร้านานๆ โดยไมไ่ ด้ รับการรักษาจะกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ และหลังจากผ่านไป เพยี ง 1-2 ปี บางรายกเ็ รมิ่ มอี าการของโรคสมาธคิ วามจ�ำเสอื่ ม ในระยะเริ่มแรก และต่อมาอาจย่ิงรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นโรค สมองเส่อื มหรืออัลไซเมอร์ อาการโรคจติ เขา้ แทรกซอ้ น รอ้ ยละ 25 ของผู้สงู อายทุ เ่ี ปน็ โรคซมึ เศร้ามากๆ อาจ มอี าการของโรคจติ เขา้ แทรกซ้อน เช่น หวาดระแวงวา่ ภรรยา หรือสามีนอกใจ กลัวคนมาท�ำร้ายหรือขโมยของ หูแว่ว เห็น ภาพหลอน โทษตวั เองเกินความจรงิ หรอื รสู้ กึ ผิดมากๆ ผสู้ ูงอายคุ นใดบ้างทมี่ โี อกาสเกดิ ภาวะซึมเศรา้ ผดู้ แู ลควรสงั เกตและตดิ ตามลกั ษณะทเ่ี ปลย่ี นไปของ ผสู้ ูงอายุ โดยเฉพาะหากผูส้ งู อายุดูเศร้าหรือเบ่อื มากหรือนาน

2 2 คูม่ ือการดแู ลผสู้ ูงวยั กว่าปกติ เช่น นานหลายวันติดต่อกันหรือนานหลายสัปดาห์ เพราะอาจมแี นวโนม้ วา่ ผสู้ งู อายจุ ะมภี าวะซมึ เศรา้ หรอื เปน็ โรค ซมึ เศรา้ โดยควรท�ำแบบทดสอบวดั ความเศรา้ ซงึ่ จะชว่ ยยนื ยนั ว่าผปู้ ่วยควรพบแพทย์เพอ่ื รับการรกั ษาหรือไม่ ถ้าท่านทราบว่าผู้สูงอายุที่ท่านดูแลมีลักษณะหลาย ข้อตรงตามตารางด้านล่าง แสดงว่าย่ิงมีโอกาสที่จะเกิดภาวะ ซมึ เศร้า จงึ ควรเอาใจใสม่ ากเป็นพิเศษ ค�ำส่ัง โปรดท�ำเครื่องหมาย √ หน้าข้อที่ตรงกับค�ำตอบของ ทา่ นเพ่อื ตรวจสอบ โปรดทำ� ปัจจยั ทีเ่ พมิ่ โอกาสในการเกิด เคร่ืองหมาย ภาวะซึมเศรา้ √ เปน็ เพศหญิง เปน็ หมา้ ยหรือหยา่ ร้าง เปน็ โรคสมองเส่อื ม มีปญั หาด้านการเงิน เช่น เงินไมพ่ อใช้ มภี าระหนี้สนิ หรือปัญหามรดก ต้องใชช้ ีวติ โดยพง่ึ พาผอู้ ื่น ความสมั พนั ธ์ในครอบครวั ไมด่ ี ชอบปลกี ตัวหรือไมร่ ว่ มกจิ กรรมในชุมชน

สตู รคลายซมึ เศร้า 23 บทบาทหน้าท่ตี ่างๆ ลดลงจากเดิม มีเหตกุ ารณท์ ่ีท�ำ ใหส้ ะเทือนใจคอยรบกวน จติ ใจอยตู่ ลอด สิง่ ของหาย แม้จะเปน็ ของทไ่ี มม่ รี าคา ค่างวด มีสมาชิกในครอบครัวเปน็ โรคซมึ เศรา้ หรือ โรคทางจิตเวช มนี ิสัยเครียดง่าย กงั วลงา่ ย อารมณ์ แปรปรวน มโี รคเร้อื รัง เช่น ความดันโลหติ สูง เบาหวาน ไขมันในเลอื ดสูง โรคหัวใจขาด เลือด ไตวาย หรอื มโี รครา้ ยแรงหรือโรคท่ี รกั ษาไม่หาย เช่น มะเร็ง เอดส์ มคี วามพิการทางรา่ งกาย ตดิ เหลา้ บหุ ร่ี ฝิ่น กระท่อม ยาชูก�ำ ลัง ยานอนหลบั ยาแกป้ วด หากผู้สูงอายุท่ีท่านดูแลมีลักษณะข้างต้น โปรดท�ำ แบบวดั ทจี ดี เี อส-15 (TGDS-15) ตอ่ โดยใหผ้ สู้ งู อายทุ �ำแบบวดั ดว้ ยตัวเอง หรือใหผ้ ้ดู ูแลอ่านใหฟ้ ัง

2 4 คูม่ ือการดแู ลผูส้ ูงวัย ยาหรอื สารทเี่ พมิ่ ความเส่ียงต่อการเกดิ ภาวะซมึ เศรา้ ยากันชกั ยาต้านอักเสบกลมุ่ สเตียรอยด์ - โทพริ าเมท - เพรดนิโซโลน (prednisolone) (topiramate) - ลีวีไทราซแิ ทม (levetiracetam) ยาลดอาการวิงเวียน ยารักษาโรคในกลุ่มหัวใจและ - ฟลูนารซิ นี หลอดเลือด และความดันโลหิตสูง (flunarizine) - เมทลิ โดปา (methyldopa) - ซินนาริซนี - โพรพราโนลอล (propranolol) (cinnarizine) - โคลนิดีน (clonidine) - รเี ซอรพ์ ีน (reserpine) ยารกั ษาตบั อักเสบ ยาแก้ปวดหัวไมเกรนกลุ่มทริบแทน - อินเตอร์เฟอรอน - ซูมาทริปแทน (sumatriptan) (interferon) ยารกั ษามะเร็ง ยาชว่ ยเลิกบุหร่ี - ทาม็อกซเิ ฟน  - วาเรนนคิ ลิน (varenicline) (tamoxifen)

สูตรคลายซึมเศร้า 25 แบบวัดความเศร้าในผสู้ ูงอายุ (ทจี ีดีเอส-15, TGDS-15) แบบวัดนี้ส�ำหรับให้ผู้สูงอายุตอบด้วยตัวเอง เป็น แบบวัดมาตรฐานซึ่งใช้ได้กับผู้สูงอายุท้ังในและต่างประเทศ โดยใหผ้ สู้ งู อายุเลือกค�ำตอบของค�ำถามแตล่ ะขอ้ หากไมแ่ นใ่ จ ใหต้ ดั สนิ ใจเลอื กโดยอิงจากความรสู้ กึ ส่วนใหญ่ ค�ำส่ัง โปรดท�ำเครื่องหมาย Ö ในช่องที่ตรงกับความรู้สึก ของคุณใน 1 สัปดาห์ทผี่ ่านมา ค�ำ ถาม ค�ำ ตอบ 1. โดยทัว่ ไป คุณพึงพอใจกับชวี ิต q ใช่ q ไมใ่ ช่ ตัวเองหรอื ไม่ 2. คุณทำ�กจิ กรรมน้อยลงหรือสนใจ q ใช่ q ไม่ใช่ ส่งิ ตา่ งๆ น้อยลงหรือไม่ 3. คณุ รสู้ ึกวา่ ชวี ติ คณุ ว่างเปลา่ q ใช่ q ไม่ใช่ หรือไม่ 4. คุณรู้สึกเบอ่ื อยบู่ ่อยๆ หรือไม่ q ใช่ q ไม่ใช่ q ใช่ q ไม่ใช่ 5. ส่วนใหญ่แลว้ คุณอารมณ์ดีหรอื ไม่ q ใช่ q ไมใ่ ช่ 6. คุณกลัววา่ เรือ่ งราวร้ายๆ q ใช่ q ไมใ่ ช่ จะเกดิ ขึ้นกบั คุณหรือไม่ 7. สว่ นใหญแ่ ลว้ คุณร้สู ึกมีความสุข หรือไม่

2 6 คู่มอื การดูแลผ้สู งู วยั ค�ำ ถาม ค�ำ ตอบ 8. บ่อยครง้ั ทค่ี ุณร้สู ึกหมดหนทาง q ใช่ q ไม่ใช่ ใชห่ รอื ไม่ 9. คุณชอบอยบู่ า้ นมากกว่าออกไปหา q ใช่ q ไมใ่ ช่ อะไรท�ำ นอกบา้ นหรอื ไม่ 10. คุณรู้สกึ ว่าตนเองมปี ญั หา q ใช่ q ไม่ใช่ ความจ�ำ มากกว่าคนอืน่ ๆ หรือไม่ 11. คณุ คดิ ว่าการทม่ี ชี ีวิตอยูม่ าได้ q ใช่ q ไม่ใช่ จนถงึ ทุกวนั นชี้ า่ งแสนวเิ ศษใช่หรือไม่ 12. คุณรู้สึกหรือไม่ว่าชีวิตท่กี �ำ ลัง q ใช่ q ไมใ่ ช่ เป็นอยู่ตอนน้ีช่างไร้ค่าเหลือเกนิ 13. คุณรสู้ ึกมีกำ�ลังเต็มทหี่ รอื ไม่ q ใช่ q ไม่ใช่ 14. คุณร้สู ึกหมดหวังกับส่ิงทก่ี �ำ ลัง q ใช่ q ไม่ใช่ เผชญิ หรอื ไม่ 15. คุณคิดว่าคนอน่ื ๆ ดกี ว่าคณุ q ใช่ q ไม่ใช่ หรือไม่ __ /15 รวม

สูตรคลายซึมเศรา้ 27 ค�ำแนะน�ำในการท�ำแบบวัดอยา่ งมีประสทิ ธิภาพ 1. ผู้ท�ำแบบวัดควรเป็นผู้สูงอายุไทยที่เข้าใจภาษาไทยและ อา่ นออกเขยี นได้ ไมม่ คี วามบกพรอ่ งทางการรคู้ ดิ สามารถ ตอบค�ำถามไดเ้ องโดยไมต่ อ้ งการค�ำอธบิ ายเพมิ่ เตมิ กรณี ทไ่ี ม่เขา้ ใจค�ำถาม อาจเป็นไปไดว้ า่ ผู้สูงอายุเป็นโรคสมอง เสอ่ื ม 2. ไม่ควรท�ำบ่อยกวา่ 1 ครงั้ ตอ่ สัปดาห์ 3. หากสายตาไม่ดีหรืออ่านไม่คล่อง ผู้ดูแลสามารถอ่าน ค�ำถามใหฟ้ งั ได้ โดยอา่ นใหค้ รบทกุ ค�ำ ไมข่ าดไมเ่ กนิ และ ไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติม เพราะความหมายอาจผิดเพ้ียน ซงึ่ จะท�ำใหก้ ารแปลผลแบบวัดผิดพลาด 4. มีค�ำอธบิ ายเพ่มิ เติมส�ำหรับค�ำถามบางข้อในหน้าถัดไป

2 8 คมู่ อื การดแู ลผสู้ งู วยั คำ�ถาม คำ�อธิบายเพิม่ เติม ขอ้ 3. ความรู้สึกวา่ ในทน่ี ีไ้ ม่ได้หมายถงึ วา่ งเพราะไม่มี ชีวติ วา่ งเปล่า อะไรท�ำ แต่เปน็ ความรสู้ ึกวา่ งเปล่า ขอ้ 10. ความรสู้ กึ รสู้ กึ ว่าตนเองมปี ญั หาความจ�ำ วา่ มีปญั หาความจ�ำ มากกว่าคนอน่ื ๆ โดยเฉพาะคนที่ มากกว่าคนอื่นๆ อยู่ในวัยใกลๆ้  กันหรือในละแวก เดียวกัน ข้อ 11. ความรสู้ ึก รสู้ กึ วา่ ชีวติ ของตนยอดเย่ยี มดีแลว้ ว่าชา่ งแสนวเิ ศษ ขอ้ 13. ความรสู้ ึก ร้สู กึ มีก�ำ ลังวงั ชาหรอื มีเรี่ยวแรง มีก�ำ ลัง ซึง่ อาจไม่เกย่ี วขอ้ งกบั ความพกิ าร การคดิ คะแนน ให้ 1 คะแนน หากตอบวา่ ใช่ ในขอ้ ต่อไปนี้ 2, 3, 4, 6, 8, 9, 10, 12, 14, 15 ให้ 1 คะแนน หากตอบวา่ ไม่ใช่ ในข้อตอ่ ไปนี้ 1, 5, 7, 11, 13 จากนั้นรวมคะแนน

สตู รคลายซึมเศร้า 29 การแปลผล คะแนน 0-4 ไมม่ ีภาวะซึมเศรา้ คะแนน 5-10 เรม่ิ มีภาวะซมึ เศร้า ควรไดร้ ับค�ำแนะน�ำเบ้อื งต้น คะแนน 11-15 เปน็ โรคซมึ เศร้า ควรพบแพทยเ์ พอ่ื รบั การรกั ษา * แบบวัดพัฒนาโดย ณหทัย วงศ์ปการันย์ พ.ศ. 2550 อ้างอิง จาก Wongpakaran N, Wongpakaran T. Prevalence of major depressive disorders and suicide in long-term care facilities: a report from Northern Thailand. Psychogeriatrics. 2012; 12(1):11-17. และ Shiekh J, Yesavage J. Geriatric Depression Scale; recent findings and development of a short version. In: Brink T, editor. Clinical gerontology: a guide to assessment and intervention. New York: Haworth Press; 1986.

3 หากผสู้ งู อายุ เปน็ “โรคซึมเศรา้ ” ควรทำ�อยา่ งไร

สตู รคลายซึมเศร้า 31 ถา้ ทา่ นพบวา่ ผสู้ งู อายเุ ปน็ “โรคซมึ เศรา้ ” ควรพาไปพบ แพทย์ โดยแพทยจ์ ะใหย้ ารกั ษาโรคซมึ เศรา้ บางรายอาจไดร้ บั ยาอนื่ ๆ ร่วมดว้ ย เชน่ ถา้ มอี าการประสาทหลอนหรือความคิด หลงผิด แพทย์จะให้ยารักษาโรคจิตด้วย รายที่นอนไม่หลับ อย่างรุนแรง แพทย์จะให้ยาช่วยหลับ บางรายอาจต้องรักษา ด้วยการพูดคุยกบั จิตแพทยห์ รอื นกั จติ วทิ ยา ซงึ่ บางคร้ังท�ำได้ ล�ำบาก เพราะผสู้ งู อายอุ าจมอี ปุ สรรคเรอื่ งการเดนิ ทาง บางราย อาจจ�ำเปน็ ตอ้ งนอนโรงพยาบาล

3 2 คู่มอื การดูแลผ้สู ูงวัย ถ้าท่านพบว่าผู้สูงอายุมี “ภาวะซึมเศร้า” ท่านควรท�ำ อยา่ งไร เมอื่ ผสู้ งู อายมุ อี าการดงั ตอ่ ไปนี้ ผดู้ แู ลควรปฏบิ ตั เิ ชน่ ไร 1. กนิ อาหารไดน้ ้อยมาก หรือแทบไมก่ นิ เลย น�้ำหนักลดลง ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้ดูแล • ผู้สงู อายุท่ีกินอาหารได้น้อยลงหรือนำ้� หนกั ลดลง มีโอกาส ทจ่ี ะขาดสารอาหาร ควรดแู ลใหไ้ ดร้ บั อาหารอยา่ งเพยี งพอ ให้กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย และต้องไม่มีผลกระทบต่อ โรคประจ�ำตัว ถ้าเบ่ืออาหารมากจนไม่อยากกินเลย ควร กระตุ้นให้กินมากขึ้น เช่น กระตุ้นหรือชักชวนให้กินทีละ นอ้ ย แตบ่ อ่ ยขึน้ 2. เบอ่ื หนา่ ยมาก อะไรทเ่ี คยชอบทำ� กไ็ มอ่ ยากทำ� /ไมค่ อ่ ยสนใจ หรือไม่สนใจท่ีจะดูแลตวั เอง จากทเ่ี คยเป็นคนใส่ใจดแู ลตนเอง มาก แตต่ อนนก้ี ลบั ไมส่ นใจการแตง่ ตวั เลย/ชว่ ยเหลอื ตวั เองได้ น้อยลง แมแ้ ตเ่ รื่องง่ายๆ เชน่ การแตง่ ตัว ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้ดแู ล • พยายามกระตุ้นให้ผู้สูงอายุท�ำกิจกรรมต่างๆ เอง โดย เฉพาะกจิ กรรมงา่ ยๆ เชน่ การแต่งตัว โดยอาจชวนไปดู เส้ือผ้าในตู้แล้วช่วยกันเลือกว่าวันน้ีอยากใส่ชุดไหน ช่วย ให้ผู้สูงอายแุ ตง่ ตวั หวีผม แปรงฟนั กนิ ข้าว ดม่ื น�ำ้ เมอื่ ท�ำสง่ิ งา่ ยๆ ได้ ผสู้ งู อายจุ ะเรม่ิ รสู้ กึ วา่ ตนไมไ่ ดส้ รา้ งภาระให้

สูตรคลายซมึ เศร้า 33 กบั ผดู้ แู ลเทา่ ไรนกั และเรม่ิ รสู้ กึ ภาคภมู ใิ จในตวั เองมากขนึ้ • ควรกระตุ้นให้ผู้สูงอายุท�ำความสะอาดช่องปาก เช่น ใช้ แปรงสฟี ันน่มุ ๆ ใช้ยาสฟี ันท่ไี มเ่ ผด็ หรือใช้ยาสฟี ันเดก็ ใช้ น้�ำยาบ้วนปากท่ีไม่เผ็ดหรือน้�ำยาบ้วนปากส�ำหรับเด็ก ควบคไู่ ปดว้ ย และพบหมอฟนั ทกุ 6 เดอื น หรอื บอ่ ยกวา่ นน้ั • ควรกระตุ้นการเคลื่อนไหวของร่างกาย เพ่ือให้ร่างกาย แขง็ แรง จติ ใจจะไดส้ บายขน้ึ แตค่ วรค�ำนงึ ดว้ ยวา่ ผสู้ งู อายุ มโี รคประจ�ำตวั อะไรท่ีตอ้ งระวังหรอื ไม่ • หากผู้สงู อายมุ ปี ัญหาทางการไดย้ นิ ควรพบแพทยเ์ พ่ือใส่ เครอ่ื งชว่ ยฟงั หรอื หากผสู้ งู อายมุ ปี ญั หาดา้ นการมองเหน็ ควรให้ตรวจสายตาและใสแ่ วน่ ตา 3. ชวนไปทไ่ี หนก็ไม่ค่อยอยากไป ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผ้ดู แู ล • กรณีผู้สูงอายุปลีกตัวจากผู้อ่ืน ใครชวนไปไหนก็ไม่อยาก ไป ถา้ ปลอ่ ยทง้ิ ไวเ้ ชน่ นจี้ ะท�ำใหผ้ สู้ งู อายยุ ง่ิ ปลกี ตวั มากขนึ้ อารมณจ์ ะยง่ิ เลวรา้ ยลง หงดุ หงดิ งา่ ยขน้ึ ควรหากจิ กรรมท�ำ โดยเรมิ่ จากกจิ กรรมเลก็ ๆ ในครอบครวั เชน่ ชวนลกู หลาน มาปลกู ตน้ ไม้ รดน้ำ� ตน้ ไม้ หรือเลยี้ งสัตว์

3 4 คมู่ ือการดูแลผสู้ ูงวัย 4. ตอนกลางคืนนอนไมค่ ่อยหลบั ค�ำแนะน�ำส�ำหรบั ผ้ดู แู ล • ห้ามผู้สูงอายุนอนกลางวัน แต่ถ้าง่วงมาก ให้นอนได้ ระหว่าง 12.00-14.00 น. แล้วปลุก เพราะถา้ นอนกลางวัน มากเกินไป ตอนกลางคืนยอ่ มมปี ัญหาการนอน เชน่ อาจ จะหลับยากขึ้น หากตอนกลางคืนนอนไม่หลับ อาจชวน ท�ำกิจกรรมเบาๆ เชน่ ฟังเพลง อา่ นหนังสอื ธรรมะ หรือ ฟังธรรมะ แตถ่ ้านอนไมห่ ลบั ติดตอ่ กนั 3-4 วันขึ้นไป ควร พบแพทย์ 5. พดู คยุ นอ้ ย ผดู้ ูแลไม่ทราบวา่ จะพดู อย่างไรให้ถกู ใจ ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้ดูแล • ควรให้ความรกั แกผ่ สู้ งู อายุ ใสใ่ จความร้สู ึก อารมณ์ และ ความคิดของผ้สู งู อายอุ ย่างสมำ่� เสมอ • ให้โอกาสผู้สูงอายุพูดส่ิงที่ต้องการ ผู้สูงอายุที่มีภาวะ ซึมเศรา้ ความคดิ และการเคลอ่ื นไหวจะชา้ ลง ท�ำให้บางที แมอ้ ยากจะพดู แตก่ พ็ ดู ไมท่ นั จงึ ควรคอ่ ยๆ เปดิ โอกาสให้ พดู ไมค่ วรขดั จงั หวะ ควรรบั ฟงั อยา่ งตงั้ ใจดว้ ยทา่ ทที สี่ งบ ไมแ่ สดงความร�ำคาญ • ควรเปน็ ฝ่ายตัง้ ค�ำถามกอ่ น โดยใชค้ �ำพูดง่ายๆ เชน่ วันนี้ หนา้ ตาคณุ แมไ่ มค่ อ่ ยสดชน่ื เลย มอี ะไรอยากจะบอกกบั ลกู ไหม เพื่อให้ผ้สู งู อายุกลา้ ท่จี ะพูดคยุ • ไม่ควรพูดตัดบท ควรฝึกใช้เทคนิคการพูดโดยปรึกษา

สตู รคลายซึมเศรา้ 35 ผู้เช่ียวชาญ และไม่ควรพูดแทนผู้สูงอายุ ควรเปิดโอกาส ใหผ้ สู้ ูงอายุพูดเอง ยกเวน้ มีความจ�ำเป็นทจี่ ะตอ้ งพดู แทน เช่น เป็นการชว่ ยเหลือในกรณผี ู้สงู อายนุ ึกค�ำพูดไม่ออก • พดู คยุ เรื่องทผ่ี ูส้ งู อายสุ นใจ เช่น ศาสนาท่นี บั ถือ • ในกรณีที่ผู้สูงอายุปฏิเสธไม่ยอมท�ำกิจกรรมหรือปฏิเสธ ค�ำชักชวนต่างๆ ควรรับฟังอย่างต้ังใจ ไม่ควรต่อว่าหรือ คะยั้นคะยอ อาจพูดวา่ ไมเ่ ป็นไรและพดู ให้ก�ำลังใจ • ควรกระตุ้นให้ผู้สูงอายุเร่ิมพูดคุยกับคนรอบข้าง ท�ำให้ ผสู้ ูงอายรุ ู้สกึ ผ่อนคลาย สบายใจขน้ึ หาเวลาชวนสมาชกิ ครอบครัวไปกินข้าวด้วยกัน เพื่อให้เกิดความผูกพัน มีที่ ยดึ เหนย่ี วจิตใจ และรู้สกึ สุขใจ • พดู ถงึ เรอื่ งราวในอดตี ทม่ี คี วามสขุ เชน่ (หากผดู้ แู ลเปน็ ลกู ) บอกว่าถา้ ท่าน (ผู้ดูแล) ไม่ไดม้ าเปน็ ลกู ของคุณพ่อคุณแม่ ท่านคงไม่มีโอกาสมาอยู่ตรงนี้ และคงไม่มีครอบครัวดีๆ อย่างน้ี เพื่อแสดงว่าคุณพ่อคุณแม่เป็นคนส�ำคัญส�ำหรับ ท่าน ค�ำพูดเหล่าน้ีเปน็ เสมอื นน้�ำหล่อเล้ียงจติ ใจให้คุณพ่อ คุณแม่มีก�ำลงั ใจมากขนึ้ 6. มอี ารมณ์หงดุ หงิด ฉุนเฉยี ว ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผดู้ ูแล • ไมค่ วรโวยวายหรอื โตเ้ ถยี ง ถา้ โตเ้ ถยี งจะเกดิ อารมณข์ นุ่ มวั ขึ้นได้ทั้งสองฝ่าย เป็นอุปสรรคท่ีขวางก้ันความสัมพันธ์ ต้องรับฟงั อยา่ งเข้าใจ ปลอ่ ยให้ผสู้ ูงอายรุ ะบายความรสู้ ึก

3 6 คูม่ ือการดูแลผู้สูงวัย ออกมาก่อน จากนน้ั ลดสาเหตทุ ่ที �ำให้หงุดหงิด เบนความ สนใจไปยงั เร่ืองท่มี คี วามสุข • จัดใหพ้ ักผ่อนในสถานทสี่ งบ รบั ฟังอย่างตั้งใจ อาจจับมอื ผสู้ งู อายรุ ะหวา่ งพดู คยุ จะท�ำใหส้ งบไดม้ ากขน้ึ การจบั และ นวดเบาๆ ที่หลังมือจะช่วยลดอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียว การนวดและกดฝา่ มือจะชว่ ยลดความกา้ วร้าวรุนแรง 7. บน่ วา่ ไมส่ บาย ปวดนน่ั ปวดนีอ่ ยู่ตลอดเวลา ทัง้ ทต่ี รวจแลว้ ไมพ่ บอะไรผดิ ปกติ ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผู้ดแู ล • การบ่นว่าปวดตลอดเวลาเป็นสัญญาณหนึ่งที่แสดงว่า ผู้สูงอายุต้องการความรักและความเอาใจใส่มากขึ้น และ เป็นวิธีแสดงออกของผู้สูงอายุบางรายเพื่อขอความ ชว่ ยเหลือจากผดู้ ูแล หรือเพื่อเรยี กร้องให้ดแู ลใกลช้ ดิ ข้นึ • ผู้ดูแลไม่ควรพูดตอกย�้ำว่าผู้สูงอายุไม่ได้เป็นอะไร แม้ แพทยจ์ ะตรวจแลว้ กต็ าม ในทางตรงขา้ ม ผดู้ แู ลควรพดู ถงึ อาการทผ่ี สู้ งู อายบุ น่ เพอื่ ใหเ้ ขารสู้ กึ วา่ ไดร้ บั ความเอาใจใส่ จากผดู้ แู ล รสู้ กึ วา่ ผดู้ แู ลรบั ฟงั และใหค้ วามส�ำคญั กบั ปญั หา ของเขา เช่น เมื่อผ้สู ูงอายุบน่ ปวดหัว แตต่ รวจแลว้ ไมพ่ บ ปญั หาสขุ ภาพทน่ี า่ หนกั ใจ ผดู้ แู ลอาจพดู วา่ คณุ แมป่ วดหวั หรือคะ ปวดมากไหม หนูนวดให้ไหม เพราะการจับมือ หรือบีบมือเปรียบเหมือนการสัมผัสทางใจ และเมื่อนวด เสรจ็ แลว้ อยา่ ลมื ถามดว้ ยวา่ หลงั จากทห่ี นนู วดแลว้ คณุ แม่

สตู รคลายซึมเศรา้ 37 รู้สกึ อยา่ งไรบา้ งคะ ดีข้นึ ใชไ่ หมคะ สบายใจข้ึนไหมคะ • การส่ือสารด้วยความรัก คอยสัมผัสและดูแลด้วยความ ใส่ใจเช่นน้ี เปรียบเหมือนการทดแทนหรือเติมเต็มส่ิงที่ ผู้สูงอายอุ ยากไดร้ บั 8. บน่ วา่ ตนเองเป็นภาระของลกู หลาน เบอ่ื ตวั เองมาก ร้สู กึ วา่ ตนไร้ค่า มคี วามคดิ อยากตายหรอื อยากท�ำรา้ ยตวั เอง ค�ำแนะน�ำส�ำหรบั ผ้ดู ูแล ปญั หาเรอื่ งผสู้ งู อายคุ ดิ อยากท�ำรา้ ยตวั เองเปน็ เรอ่ื งที่ ส�ำคญั มาก ผู้ดูแลต้องใส่ใจป้องกัน สัญญาณเตอื น • บน่ ว่าไม่ไหวแล้ว ไม่อยากอยูแ่ ลว้ เบ่ือแลว้ เบื่อโลก เบอ่ื ชวี ิต • พูดฝากฝังลูกและครอบครัวไว้กับคนใกล้ชิดว่าถ้าตนเอง เป็นอะไรไป ฝากดูแลลกู เมยี ให้ดว้ ย • จดั การสมบตั ิ ท�ำพนิ ัยกรรม ทั้งทย่ี งั ไม่ถึงเวลาอนั ควร • รู้สึกสงสัยว่าตัวเองเกิดมาท�ำไม ในเมื่อเกิดมาแล้วก็เป็น ภาระให้คนอ่นื • ผู้สูงอายุหลายคนท่ีมีท่าทีเศร้าสร้อย อยู่ดีๆ ก็รู้สึกสดชื่น ขน้ึ มากะทันหันเหมือนพบทางออก เห็นแสงสวา่ งที่ปลาย อุโมงค์ เหมือนตัดสินใจได้ว่า “ฉันจะไม่อยู่อีกต่อไปแล้ว ฉนั จะไปแล้ว”

3 8 คูม่ ือการดแู ลผ้สู ูงวัย การสังเกตและเฝา้ ระวงั • ควรสงั เกตความผดิ ปกติเลก็ ๆ นอ้ ยๆ ซ่งึ อาจบ่งบอกวา่ มี ความคดิ ที่จะท�ำรา้ ยตนเอง และตอ้ งเฝา้ ดูแลอยา่ งใกลช้ ิด พยายามไมใ่ ห้คลาดสายตา • ระวงั ส่ิงของท่ีใช้เปน็ อาวุธได้ เชน่ เชือก มีด กรรไกร ปนื ยาฆ่าแมลง หรือยารักษาโรค ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุจะมียา หลายชนิดอยู่กับตัว บางทีเกิดความคิดอยากจะหลับไป เลย ไมอ่ ยากตน่ื ขึ้นมา กจ็ ะกินยาท้ังหมดที่มี • พยายามหาคุณค่าในตัวผู้สูงอายุ แล้วบอกให้ผู้สูงอายุ รบั ทราบ การสอบถามความคดิ ทีอ่ ยากจะท�ำรา้ ยตนเองของผ้สู งู อายุ • อย่ากลัวท่ีจะถามผู้สูงอายุว่ามีความรู้สึกหรือมีความคิด ทอ่ี ยากจะท�ำรา้ ยตนเองหรอื ไม่ การถามค�ำถามน้เี ป็นการ เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุท่ีมีภาวะซึมเศร้าได้ระบายความ ทุกข์ใจหรือบอกเล่าปัญหา ซ่ึงจะท�ำให้ผู้ดูแลเริ่มเข้าใจ สามารถวางแผนการดูแล แก้ไข และป้องกันการท�ำร้าย ตนเองของผู้สูงอายุได้ ท่ีส�ำคัญคือค�ำถามเก่ียวกับความ คดิ ทจี่ ะท�ำรา้ ยตวั เองไมไ่ ดก้ ระตนุ้ ใหผ้ สู้ งู อายเุ รมิ่ มคี วามคดิ อยากท�ำรา้ ยตวั เอง โดยผดู้ แู ลควรเลอื กใชค้ �ำพดู ใหเ้ หมอื น กับมาจากความรสู้ ึกของตนเอง

สตู รคลายซึมเศรา้ 39 ตัวอย่างการเลอื กอาการของภาวะซึมเศร้าเปน็ ตวั น�ำค�ำถาม ลกู : หนรู สู้ ึกวา่ คุณแมด่ เู บ่อื และดูเศร้าจัง คุณแม่ร้สู ึกอย่างนน้ั หรอื เปลา่ คะ คุณแม:่ ก็เบือ่ ชวี ติ เหมอื นกนั ลูก: คุณแม่เคยรู้สึกอย่างนี้จนบางทีถึงขั้นทนไม่ไหวหรือรับ ไมไ่ หวอีกตอ่ ไปแลว้ บา้ งไหมคะ (ท้ิงช่วง สงั เกตสีหนา้ ขณะฟงั ค�ำตอบ) คุณแม:่ อือ...บางทีกอ็ ยา่ งน้ันแหละ ลกู : เคยแอบแวบคดิ ขนึ้ มาวา่ ไมอ่ ยากมชี วี ติ อยบู่ า้ งไหมคะ (ทงิ้ ช่วง สงั เกตสหี น้าขณะฟงั ค�ำตอบ) คุณแม:่ ออื ...บางทีกอ็ ย่างน้ันแหละ ลกู : เหรอคะ (พยายามควบคมุ อารมณต์ วั เองดว้ ย อยา่ ตกใจเมอ่ื ได้ยิน) แล้วคุณแม่เคยคิดอยากท�ำร้ายตัวเองไหมคะ บางคน เวลาไมอ่ ยากมชี ีวิตอยู่มากๆ เขาอาจจะถงึ ขั้นอยากท�ำร้ายตวั เอง คณุ แมเ่ คยคดิ อยา่ งน้ันไหมคะ (ท้ิงช่วง สังเกตสีหนา้ ขณะ ฟังค�ำตอบ) คุณแม่: อือ...บางทีก็อยา่ งน้นั แหละ ลกู : คณุ แมเ่ คยวางแผนหรอื คดิ วธิ ไี วไ้ หมวา่ จะท�ำอยา่ งไร (ลอง ฟงั คำ� ตอบ) ขอบคณุ นะคะคณุ แมท่ เ่ี ลา่ ใหห้ นฟู งั หนไู มเ่ คยรมู้ า กอ่ นเลย หนเู ปน็ หว่ งคณุ แมน่ ะคะ และยงั อยากใหค้ ณุ แมอ่ ยกู่ บั หนนู านๆ ใหห้ นไู ดด้ ูแล หนูวา่ บางทกี ารที่คุณแมเ่ กิดความคิด ว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่ อาจจะเป็นเพราะคุณแม่มีภาวะซึมเศร้า หนอู ยากใหค้ ณุ แม่ลองพบหมอ คุณแมค่ ดิ ว่าอยา่ งไรคะ (แล้ว

4 0 ค่มู อื การดูแลผ้สู งู วยั พยายามจูงใจเพื่อเปิดโอกาสให้ได้รับความช่วยเหลือจากทีม สุขภาพในชมุ ชนต่อไป) • ถา้ ผสู้ งู อายบุ อกวา่ “เฮอ้ ...เบอื่ ชวี ติ ไมอ่ ยากอย”ู่ หรอื “เคย คิดเหมือนกันนะว่าอยากจะหลับๆ ไปเลย ไม่ต้องต่ืนอีก” หรือ “อยากเดินไปกลางถนนแล้วปล่อยให้รถชน” ท่าน ตอ้ งวางแผนการดแู ลใหใ้ กลช้ ดิ ยงิ่ ขน้ึ และควรแสดงความ เปน็ หว่ งโดยไมม่ ที า่ ทตี นื่ ตระหนก เชน่ “หนเู ปน็ หว่ งคณุ แม่ นะคะ หนคู งตอ้ งดแู ลคณุ แมใ่ หใ้ กลช้ ดิ มากยง่ิ ขนึ้ หนคู ดิ วา่ อาจจะต้องพาคุณแม่ไปพบแพทย์เพ่ือให้แพทย์ช่วยเหลือ บางทีคุณแมอ่ าจจะเป็นโรคซมึ เศร้าแล้วก็ไดน้ ะคะ” • ถ้าท่านทราบอยู่แล้วว่าผู้สูงอายุเคยท�ำร้ายตัวเองมาก่อน ท่านอาจจะถามว่าเขาเคยท�ำร้ายตัวเองด้วยวิธีการใด คอ่ ยๆ ไลร่ ะดบั ถามเร่อื งความรนุ แรงไปเรอื่ ยๆ เพื่อจะได้ ประเมินความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุแต่ละ คน อยา่ ลมื ถามความรสู้ กึ เมอื่ เขาผา่ นสถานการณเ์ ชน่ นน้ั มาได้ เช่น “คณุ แมร่ สู้ กึ อย่างไรท่ผี า่ นความรู้สึกช่วงนน้ั มา ได้” “อะไรท�ำใหค้ ุณแม่ยบั ยั้งชั่งใจได”้ หรอื “มอี ะไรทที่ �ำให้ คุณแม่เปล่ยี นใจไมล่ งมอื ท�ำหรอื ไม่คดิ ที่จะท�ำแบบน้นั คะ” • ถ้าผู้สูงอายุตอบว่าแค่รู้สึกเบื่อชีวิตเฉยๆ ไม่ได้คิดที่จะ ท�ำร้ายตัวเอง ก็อาจจะพอวางใจได้ ผู้ดูแลควรให้ก�ำลังใจ และอาจจะบอกว่า “ดีแล้วค่ะ แต่ถ้าเม่ือไรท่ีคุณแม่คิดไป ถึงข้ันไม่อยากมีชีวิตอยู่หรืออยากท�ำร้ายตัวเอง คุณแม่ รบี บอกนะคะ”

สูตรคลายซมึ เศร้า 41 • หาส่ิงยึดเหน่ียวจิตใจ เช่น เม่ือผู้สูงอายุหลายท่านเห็น หลานเลก็ ๆ วัยก�ำลังนา่ รกั กจ็ ะอยากเหน็ หลานเตบิ โต จึง ไม่เกดิ ความคดิ อยากท�ำรา้ ยตัวเอง โปรดระลกึ ไวเ้ สมอวา่ ความคดิ อยากตายอยากท�ำรา้ ย ตัวเอง หรืออยากฆ่าตัวตาย ถือเป็นสญั ญาณเตือนที่ ส�ำคญั หากผู้สูงอายุที่ท่านดแู ลมคี วามคดิ เช่นน้ี โปรดรบี แจง้ ทมี ผชู้ ว่ ยเหลอื ในชมุ ชนของทา่ น เชน่ อสม. ผใู้ หญบ่ า้ น อปพร. หรือทมี พยาบาลเย่ยี มบา้ น เทคนคิ ทีผ่ ดู้ แู ล “ควรม”ี หรือ “ควรปรบั ปรงุ ” เทคนิคท่ี “ควรม”ี 1. ค�ำนึงถึงอุปสรรคทางสุขภาพของผู้สูงอายุ ท้ังด้านความ เจ็บปวดและการรับรู้ เช่น ตาไมด่ ี ได้ยนิ ไมช่ ดั เหตผุ ล: เนอื่ งจากปญั หาเหลา่ นอี้ าจสง่ ผลใหผ้ ดู้ แู ลรสู้ กึ ร�ำคาญใจ เครียด หงดุ หงดิ และมุ่งมั่นน้อยลง 2. ทัศนคตทิ ่ีถกู ต้องเก่ียวกับภาวะซึมเศร้า เหตผุ ล: ภาวะซมึ เศรา้ เกดิ จากหลายปจั จยั ทง้ั ทางกาย ความคดิ จิตใจ และสังคม แม้ว่าอาจมีด้านใดด้านหนึ่งเด่นเป็นพิเศษ แตอ่ ยา่ งไรเสียกจ็ �ำต้องแก้ไขใหค้ รบทกุ ดา้ น

4 2 คู่มอื การดูแลผู้สูงวยั 3. คน้ หาสิ่งท่บี ่ันทอนจิตใจของผสู้ ูงอายุ เหตุผล: ผู้ดูแลควรมองหาว่าผู้สูงอายุมีส่ิงใดที่รบกวนจิตใจ หรอื มีเรอ่ื งใดทย่ี งั ค้างคาใจ เชน่ มรดก ความทุกขท์ รมานจาก สุขภาพ ความร้สู กึ กลัว โดยเฉพาะกลัวความตาย กลัวการอยู่ ห่างลูกหลาน ไม่ควรตัดบทว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเร่ืองธรรมดาของ คนแก่ แต่ควรมีทัศนคติว่าทุกอย่างย่อมมีหนทางแก้ไขหรือ บรรเทาได้เสมอ มีวิธีใดบ้างที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุจัดการเรื่อง ตา่ งๆ เหลา่ นไ้ี ดด้ ที สี่ ดุ โดยบางครง้ั อาจตอ้ งปรกึ ษาผเู้ ชย่ี วชาญ ในสาขาท่ีเก่ียวข้อง เสมือนกับการขยายเครือข่ายผู้ดูแลให้ กวา้ งข้นึ จะไดร้ ู้สึกวางใจและม่นั ใจมากข้นึ 4. คน้ หาส่งิ ชว่ ยชูใจผู้สูงอายุ เหตผุ ล: ในแต่ละวนั ควรมองหาปจั จยั ทางบวก หรือสิ่งที่ท�ำให้ ผู้สูงอายุรื่นเริงบันเทิงใจ พิจารณาว่าส่ิงท่ีเข้ามากระทบจิตใจ ของผู้สูงอายุมีปัจจัยทางบวกเท่าไร ทางลบเท่าไร และควร ส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกเป็นสุขเท่าท่ีจะเป็นไปได้ในวัยของ ผสู้ งู อายุ โดยอาจสอบถามความส�ำเรจ็ ทผ่ี า่ นมา ความสามารถ ความชอบ ความสนใจ เช่น บางท่านชอบฟังเพลงเก่าๆ สอบถามความต้องการ เช่น บางท่านอยากไปเยี่ยมญาติ ลูกหลาน อยากพูดคุยส่ือสารกับญาติพี่น้อง หรืออยากฟัง ธรรมะ

สูตรคลายซึมเศรา้ 43 เทคนิคที่ “ควรปรบั ปรุง” 1. มองว่าภาวะซมึ เศรา้ เป็นเรือ่ งธรรมดาของผสู้ งู อายุ ซึง่ ไมม่ ี หนทางแก้ไข เหตุผล: ผู้สูงอายุปกติจะมีอารมณ์ปกติ แม้ว่าจะไม่ได้สดใส รา่ เรงิ อยูเ่ สมอ แตก่ ไ็ ม่เศร้าซมึ 2. บอกให้ท�ำใจยอมรับการสญู เสีย และปล่อยวาง เหตุผล: ผสู้ ูงอายุไม่ใช่พระอรหนั ต์หรืออรยิ บุคคล ยอ่ มท�ำเชน่ นัน้ ไดย้ าก 3. บอกว่าผ้สู ูงอายไุ มจ่ �ำเป็นตอ้ งหาอะไรท�ำ ไม่ต้องเรียนรูห้ รือ ศึกษาหาความร้เู พิ่มเติม เหตผุ ล: แมผ้ สู้ งู อายสุ ว่ นใหญจ่ ะตอ้ งการความสงบ แตก่ จ็ �ำเปน็ ตอ้ งเรียนร้เู พอื่ กระตุ้นจติ ใจและกระตุ้นสมอง

4 อาหาร สร้างสขุ

สูตรคลายซึมเศร้า 45 อาหารทเ่ี รารบั ประทานกนั อยทู่ กุ วนั น้ี นอกจากจะชว่ ย เสริมสร้างสุขภาพและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอแล้ว ยังมีผลต่อ อารมณ์ของเราอีกดว้ ย โดยเฉพาะอาหารกลมุ่ แป้งและน้�ำตาล ซึ่งเป็นปัจจัยหลักท่ีมีอิทธิพลต่ออารมณ์ เวลารับประทาน อาหารจ�ำพวกแป้งเข้าไป ร่างกายจะย่อยแป้งเพื่อเปล่ียนเป็น น�้ำตาลกลูโคส ซ่งึ สามารถดูดซมึ เข้าสู่กระแสเลือด และอวยั วะ ตา่ งๆ สามารถน�ำไปใชป้ ระโยชนไ์ ด้ ระดบั นำ�้ ตาลทพ่ี อเหมาะจะ ท�ำใหผ้ สู้ งู อายรุ สู้ กึ สดชน่ื และกระปรก้ี ระเปรา่ หากระดบั นำ้� ตาล ต�่ำลง รา่ งกายจะเหนือ่ ยล้าและออ่ นเพลียไดง้ ่าย เม่ือร้สู ึกขาด อารมณ์ขัน จิตใจไม่เบิกบาน ของหวานจะท�ำให้อารมณ์ดีข้ึน จงึ ควรมีขนมหวานหรอื นำ้� ผงึ้ ติดบ้านไว้ ผู้ดูแลควรให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารครบ 3 ม้ือ ต่อวัน พลังงานเฉล่ียม้ือละประมาณ 600-750 กิโลแคลอรี หรือเท่ากับข้าวสวย 1 จาน พร้อมกบั ขา้ ว 2-3 อย่างในปรมิ าณ ที่เหมาะสม หรือก๋วยเตี๋ยวน้�ำ/แห้งไม่เกิน 2 ชาม หรือข้าว เหนยี วนง่ึ ประมาณ 2 ทพั พี พรอ้ มกบั ขา้ ว 2-3 อยา่ งในปรมิ าณ ท่เี หมาะสม โดยรวมแลว้ ได้รับพลังงานตอ่ วนั ประมาณ 1,800- 2,250 กิโลแคลอรี

อาหารทีแ่ นะน�ำใหผ้ สู้ งู อายรุ บั ประทาน 4 6 ค่มู ือการดูแลผ้สู ูงวยั ชอ่ื สาร พบในอาหาร ประโยชน์ สารเซโรโทนินและ อาหารทีม่ ีคารโ์ บไฮเดรตสูง เชน่ ข้าวเหนยี ว อาหารเหล่านี้ช่วยเพิ่มการหลั่งสารเซโรโทนิน กรดอะมิโนทริปโต- ข้าวโพด กลอย เผือก มนั ทำ�ให้อารมณ์ดี เพราะถ้าสมองมีระดับสาร แฟน เซโรโทนนิ ต่ํา หรอื มกี รดอะมิโนทริปโตแฟนต่าํ จะท�ำ ใหร้ สู้ ึกเศรา้ สารเซเลเนยี ม กระเทียม หวั หอม มะเขอื เทศ อาหารทะเล เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ การรับประทาน กระเทียมสดอย่างน้อยวันละ 2 กลีบ จะช่วย ท�ำ ให้อารมณด์ ขี ้นึ กรดไขมันโอเมกา-3 พบในปลานํ้าจืดและปลาทะเลนํ้าลึก ช่วยเพ่ิมการหล่ังสารเซโรโทนิน ทำ�ให้รู้สึก สำ�หรับปลานํ้าจืด ได้แก่ ปลาช่อน ปลากะพง ผอ่ นคลายและอารมณด์ ขี ้ึน ปลาอินทรี ปลาทู ปลาสวาย สำ�หรับปลาทะเลนํ้าลึก ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาแมกเคอเรล ปลาทูน่า

กรดโฟลกิ หรือ ผกั ใบเขยี วและเหลอื ง เชน่ บรอกโคลี อาหารเหล่านีท้ ำ�ให้อารมณ์ดี ลดภาวะซมึ เศรา้ สูตรคลายซมึ เศรา้ โฟเลท ผักคะน้า ผักโขม ผักกาดเขียว ดอกกะหล่ํา เพราะเม่ือขาดกรดโฟลิก ระดบั สารเซโรโทนนิ ถั่วลิสง ขา้ วกลอ้ ง ในสมองจะลดลง อาจทำ�ให้รู้สึกซึมเศร้า ไม่ กระตอื รอื ร้น วติ ามินบี 1 ปลา สัตว์ปีก ลดภาวะซึมเศร้า ช่วยให้สดชื่นแจ่มใสมากขึ้น เพราะหากขาดวติ ามนิ บี 1 จะท�ำ ใหร้ สู้ กึ ซมึ เศรา้ อ่อนเพลีย เนื่องจากการเผาผลาญกลูโคสให้ เป็นพลังงานลดลง ท�ำ ใหส้ มองขาดกลูโคส คลอโรฟิลล์ ผักใบเขียว เช่น ผกั โขม คะนา้ มผี ลต่อสมอง ท�ำ ใหร้ ู้สกึ สดช่ืน วิตามนิ ซแี ละ ส้ม ฝร่งั มะขามปอ้ ม ล้นิ จ่ี มะละกอสกุ ช่วยชะลอความแก่ ยับย้ังโรคมะเร็งและโรค สารต้านอนมุ ูลอิสระ สตรอว์เบอรร์ ี ความจ�ำ เสือ่ ม 47

ชอ่ื สาร พบในอาหาร ประโยชน์ 4 8 ค่มู ือการดูแลผ้สู ูงวยั สารแคปไซซิน ช่วยให้สมองหล่ังสารสื่อประสาท ทำ�ให้รู้สึก พรกิ สดชื่นขึ้น ทั้งยังช่วยให้นอนหลับสบายใน เวลากลางคืน และเพ่มิ ความต่ืนตัว จึงไมห่ ดหู่ น้ําสะอาด ด่ืมนํา้ ปรมิ าณ 6-8 แกว้ ตอ่ วนั ในเวลากลางวัน ท�ำ ใหร้ า่ งกายสดชนื่ สมองปลอดโปรง่ อารมณด์ ี


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook