Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รัชกาลที่ 3

รัชกาลที่ 3

Published by pawukk.49, 2020-05-25 07:01:22

Description: รัชกาลที่ 3

Search

Read the Text Version

พระราชประวตั ิ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง เปน็ พระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี เป็น พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย และสมเด็จพระศรีสุราลัย ( เจ้าจอมมารดา เรียม ) ประสูติ ณ วันจันทร์ เดือน 4 แรม 10 คํ่า ปี มะแม ตรงกับวันท่ี 31 มีนาคม พุทธศักราช 2330 มี พระนามเดิมว่า \"พระองค์ชายทับ\" พ.ศ. 2365 พระองค์ชายทับ ได้รบั สถาปนา เป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กํากับราชการกรมท่า กรม พระคลังมหาสมบัติ กรมพระตํารวจว่าการฎีกา นอกจากนี้ยังได้ทรงรับพระกรุณาให้แต่งสําเภาหลวง ออกไปค้าขาย ณ เมืองจีน พระองค์ทรงได้รับพระ สามญั ญานามว่า \"เจ้าสัว\"

พระราชประวัติ ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชการที่ 2 ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต โดยมิได้ตรัสมอบราชสมบัติ ให้แก่พระราชโอรสองค์ใด พระบรมวงศานุวงศ์ และบรรดา เสนาบดีผู้เป็นประทานในราชการจึงปรึกษากัน เห็นควรถวาย ราชสมบัติแก่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ อันที่จริง แล้วราชสมบัติควรตกแก่ เจ้าฟ้ามงกุฎ ( พระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) เพราะเจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นราชโอรสที่ประสูติ จากสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 โดยตรง ส่วนกรมหมื่น เจษฎาบดินทร์ เป็นเพียงราชโอรสที่เกิดจากเจ้าจอมเท่านน้ั โดยที่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หวั ตั้งพระราชหฤทัยไว้แล้วว่า เมื่อสิ้นรัชกาลพระองค์แล้วจะคืนราชสมบัติ ให้แก่สมเด็จพระ อนุชา ( เจ้าฟ้ามงกุฎ) ดังน้ันพระองค์จึงไม่ทรงสถาปนาพระบรม ราชินี คงมแี ต่เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม พระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขนึ้ 7 คํ่า เดือน 9 ปวี อกฉ

พระราชกรณียกิจ พระราชกรณียกจิ ทีส่ าํ คัญ พ.ศ. 2317 ขณะที่เพง่ิ มพี ระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้ติดตามไป สงครามเชียงใหม่ อยู่ในเหตุการณ์คร้ังที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมือง นางรอง นครจําปาศักด์ิ และบางแกว้ ราชบรุ ี จนถึงอายุ 11 พรรษา พ.ศ. 2322 พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาค นหุต กต็ ิดตามไป พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษยส์ มเด็จพระ วันรตั (ทองอยู่ ) พ.ศ. 2324 พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหา กษตั ริย์ศึกฯ ไปร่วมปราบปรามเขมรกบั พระบิดา พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น \"สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า กรมหลวงอิศรสนุ ทร\" พ.ศ. 2329 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้โดยเสด็จสมเด็จพระ บรมชนกนาถ ไปสงครามตาํ บลลาดหญ้า และทางหวั เมืองฝ่ายเหนือ พ.ศ. 2330 ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามที่ตําบล ท่าดินแดง และตีเมืองทวาย พ.ศ. 2331 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระอุโบสถวัดพระศรี รัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่อุปสมบทในวัดนี้ เสด็จไปจําพรรษา เมือ่ ครบสามเดือน ณ วัดสมอราย ปจั จุบนั คือวัดราชาธิราช ครั้นทรงลาผนวช

พระราชกรณียกิจ ดา้ นเศรษฐกิจ เมื่อพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้น ครองราชย์สมบัติน้ันประเทศไทยตกอยู่ในภาวะยากจน เป็นอัน มาก เนื่องจากเมื่อตันกรุงรัตนโกสินทร์ประเทศไทยได้ใช้เงิน จํานวนมากมายมหาศาลเพื่อทํานุบํารุงบ้านเมืองขึ้นมาใหม่ ประกอบด้วยกรุงศรีอยุธยาสูญเสียทรัพย์สินจากการพ่ายแพ้ สงครามพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงตั้งระบบการจัดเก็บภาษีขึ้นมา หลายอย่างเพื่อหาเงินเข้าท้องพระคลังหลวง ในรัชกาลของพระ น่ังเกล้าเจ้าอยู่หัวรัฐมีรายได้เข้าประเทศหลายอย่าง คือ จังกอบ อากรฤชา ส่วย ภาษี เงินค่าราชการจากพวกไพร่ เงินค่าผูกปี้ ขอ้ มือจีน เป็นต้น รายได้ของรฐั มีเพม่ิ มากข้ึนกว่ารัชกาลก่อนท้ังนี้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงการเก็บภาษีอากร จากรูปของสินคา้ และแรงงานเป็นชําระด้วยเงินตรา และที่สําคัญ คือ ภาษีที่ตั้งข้ึนมาใหมถ่ งึ 38 อย่าง

พระราชกรณียกิจ ดา้ นการปกครอง ลกั ษณะการปกครองในสมัยรตั นโกสินทร์ตอนต้น ยังคง เป็นแบบอย่างท่ีสืบทอดมาจากสมัยอยุธยาและกรุง ธนบุรี คือ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในตําแหน่งสูงสุดของการปก รองประเทศ ทรงเป็นประมุขผู้พระราชทานความพิทักษ์ รักษาบ้านเมืองให้ปลอดภัยตําแหน่งรองลงมา คือพระ มหาอุปราช ซึ่งดํารงตําแหน่งกรมพระราชวังบวรสถาน มงคล เช่นเดียวกับในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตาํ แหน่งบงั คับบญั ชาในด้านการปกครองแยกต่อมา คือ อัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร คือ พระสมุหพระกลาโหม และฝ่ายพลเรือน คือ สมุหนายก ตําแหน่งรองลงมา เรียก เสนาบดีจตุสดมภ์ คือ เสนาบดีเมืองหรือเวียง กรมวงั กรมพระคลงั และกรมนา

พระราชกรณียกิจ ส่วนการบริหารราชการแผน่ ดิน ยังคงจดั แบ่งออกเปน็ หัวเมอื ง ชน้ั นอก หัวเมืองชน้ั ใน และหวั เมอื งประเทศราช ดงั ที่เคย ปกครองกันมาตั้งแตใ่ นสมัยกรุงศรอี ยธุ ยา ซงึ่ การแบง่ การ ปกครองในลกั ษณะนกี้ อ่ ใหเ้ กดิ ปญั หาในการปกครองหวั เมือง ประเทศราช เชน่ ลาว เขมร และมลายู เพราะหวั เมอื งเหล่านี้ พยายามหาทางเป็นเอกราช หลุดจากอานาจของอาณาจกั ร ไทย

พระราชกรณียกิจ ดา้ นการทานุบารงุ ประเทศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ เน้นหลักไปในด้านการ ก่อสร้างบ้านเมือง ตลอดจนการขุดลอกคูคลอง สร้างป้อม สร้างเมือง ฯลฯ เพราะอยู่ในระยะการสร้างราชธานีใหม่ และพระมหากษัตริย์ในสามรัชกาลแรกทรงยึดถือนโยบาย ร่วมกันในอันท่ีจะสร้างบ้านเมืองให้ใหญ่โตสง่างามเทียบเท่า กับกรุงศรีอยุธยา นับต้ังแต่การสร้างพระบรมมหาราชวัง วดั วาอารามต่าง ๆ เป็นตน้ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอย่หู ัว วัตถุสถานต่าง ๆ ท่ีสร้างมาต้ังแต่รัชกาลที่ 1 ทรุด โทรมลงเป็นอันมาก พระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างและ บูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ อาทิ พระบรม มหาราชวัง และวัด วาอารามต่าง ๆ และยังทรงเป็นพระธุระในการขุดแต่งคลอง เพิ่มเติม คือ คลองสุนัขหอน คลองบางขุนเทียน คลองพระ โขนง และคลองแสนแสบ (คลองบางขนาก)

พระราชกรณียกิจ เมื่อการศึกสงครามเปล่ียนแปลงเช่นนี้ จึงทรงพระกรุณา โปรดเกลา้ ฯใหส้ ร้างเมืองชายพระราชอาณาเขต คือเมืองจันทบุรี สร้าง ป้อมสําหรับหัวเมืองชายทะเล เช่น ป้อมเมืองฉะเชิงเทรา เมืองนคร เขื่อนขันธ์ ต่อกําปั่นเรือรบ กําป่ันลาดตระเวนรักษาพระนครและใช้ ค้าขาย กับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเรือพระทัี่น่ังขึ้นไว้เป็น เกียรติยศสําหรับแผ่นดิน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านขึ้นเป็น เมืองขึ้นมหาดไทย และขึ้นกรมพระกลาโหมขึ้นหลายเมือง ทําให้ บ้านเมืองขยายอาณาเขตกว้างขวางและเจริญรุ่งเรืองขึน้

พระราชกรณียกิจ พระอารามในรัชกาลนี้ ล้วนตกแต่งด้วยฝีมือชางศิลป์ ฝีมือประณีตที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ส่งเสริมฟื้นฟูขึ้น หลายสาขา ซึ่งมีทั้งงานช่างอย่างโบราณ และแบบที่ทรง พระราชดําริขึ้นใหมั่ คือ การนําศิลปะจีนผสมสานกับศิลปะไทย เพื่อความสวยงาม คงทนถาวร รวมท้ังเขียนภาพจิตรกรรม ตกแต่งฝาผนัง และสร้างพระพุทธรูปประดิษฐานประจําพระ อารามไว้ทุกแห่ง

พระราชกรณียกิจ พระอารามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างและปฏิสังขรณ์ เช่น วัดเฉลิมพระเกียรติ ทรงสร้างอุทิศพระราชทานพระชนก พระชนนีของพระราชมารดา ทีน่ นทบรุ ี

พระราชกรณียกิจ วัดจอมทอง ซึง่ ทรงพระกรณุ าโปรดเกล้าฯให้บรู ณปฏสิ ังขรณ์เมื่อ คร้ังยังดํารงพระยศพระเจ้าลูกยาเธอยกกําลังไปขัดตาทัพที่เมือง กาญจนบุรี และเสด็จฯกลับมาโดยสวัสดิภาพ สมเด็จพระบรม ชนกนาถจึงพระราชทานนามว่า “วดั ราชโอรสาราม”

พระราชกรณียกิจ วดั เทพธิดาราม ทรงพระกรณุ าโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชทาน เป็นพระเกียรติยศพระเจ้าลกู ยาเธอกรมหมืน่ อัปสรสุดาเทพ

พระราชกรณียกิจ วดั ราชนดั ดาราม ทรงสร้างพระราชทานเป็นพระเกยี รติยศ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจา้ โสมนัสวฒั นาวดี

พระราชกรณียกิจ เมื่อพระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรใกล้จะเสด็จ สวรรคต ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชดํารัสแสดง ความที่ทรงห่วงใยบ้านเมืองไว้ว่า ...การต่อไปภายหน้า...การศึกสงครามข้าง ญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝร่ังให้ระวังให้ดี อย่าให้ เสยี ทแี กเ่ ขาได้ การงานส่ิงใดของเขาที่ดีควรจะเรียนร่ําเอาไว้ก็เอาอย่างเขาแต่ อย่าให้นับถือเลือ่ มใสไปทีเดียว...


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook