Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การสร้างสรรค์ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทยสมัยสุโขทัย

การสร้างสรรค์ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทยสมัยสุโขทัย

Published by 25 Woraphat Jittichanon, 2021-10-08 10:11:36

Description: การสร้างสรรค์ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทยสมัยสุโขทัย

Search

Read the Text Version

อาณาจักร สุโขทัย การสร้างสรรค์ภูมิปัญญา และ วัฒนธรรมไทยสมัยสุโขทัย นำ เ ส น อ โ ด ย นายวรภัทร จิตติชานนท์ ม.4/5 เลขที่ 25 ภาคเรี ยนที่ 1 ปี การศึ กษา 2564

ผังสาระการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ภูมิปัญญา และ วัฒนธรรมไทยสมัยสุโขทัย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา ไทยสมัยสุโขทัย ภูมิปัญญาในด้านต่างๆ ผลงานการสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาไทยสมัย สุโขทัย วัฒนธรรมไทยสมัย สุโขทัย

สารบัญ หน้า เรื่อง 1 2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ 5 ภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย 10 20 ภูมิปัญญาในด้านต่างๆ ผลงานการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย สมัยสุโขทัย วัฒนธรรมไทยสมัยสุโขทัย บรรณานุกรม

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาไทยสมัยสุโขทัย 1. ความต้องการปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ เป็ นต้น เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของ คนในสมัยสุโขทัย 2. ความต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ สระน้ำที่ขุดไว้เพื่อกักเก็บน้ำในการ อุปโภค บริโภค เนื่องจาก เมืองสุโขทัยอยู่ที่ราบเชิงเขา จึงทำให้มีปั ญหาในการกักเก็บน้ำ 3. ความต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อนำมาสร้างความสงบสุขให้กับสังคม วัด และ พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นให้ ผู้คนในเมืองสมัยสุโขทัย มากราบไหว้ สักการะ เพื่อให้คนในเมืองรู้สึกถึงบุญบาป 4. ความต้องการให้เกิดความมั่นคงของอาณาจักร 1

ภูมิปัญญาในด้านต่างๆ ภูมิปั ญญาในการดำรงชีวิต พื้นฐานทางเศรษฐกิจของสุโขทัย คือ การเกษตรกรรม แต่สุโขทัยไม่ใช่ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ เพราะตั้งแต่อยู่บริเวณที่ราบเชิงเขาซึ่งเป็นที่ ลาด จึงมีปัญหาในการเก็บกักน้ำไว้ใช้ นอกจากนี้ ศรีสัชนาลัย สุโขทัย อุตรดิตถ์ ซึ่งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน เป็น แหล่งรับน้ำจากภูเขาทำให้มีน้ำท่วมขัง การเพราะปลูกได้ผลไม่ดี ชาวสุโขทัยจึงใช้ระบบชลประทานมาช่วยควบคุมน้ำที่ไหลมาจากภูเขาและน้ำที่ท่วม ตามลำน้ำต่างๆ ด้วยการสร้างคันดินและสร้างทำนบกั้นน้ำ ซึ่งเรียกว่า สรีดภงส์ ส่วนในที่ลุ่มก็สร้างฝายทดน้ำและขุดคลองส่งน้ำเพื่อนำน้ำไปใช้ในพื้นที่รอบเมือง สุโขทัย รวมทั้งขุดสระน้ำที่เรียกว่า ตระพัง ไว้ทั่วเมืองสุโขทัย ปัจจุบันยังมีตระพังจำนวนมากที่ยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่ การพัฒนาระบบชลประทาน เป็นการใช้ภูมิปัญญาของชาวสุโขทัยในการแก้ปัญหาน้ำ ทำให้มีน้ำเพียงพอในการ อุปโภคบริโภค ตระพัง สรีดภงส์ สระน้ำที่ขุดเพื่อกับเก็บในเมือง คันดินที่สร้างขึ้นเพื่อควบคุมน้ำที่ไหลมา จากภูเขาและน้ำที่ท่วมตามลำน้ำต่างๆ 2

ภูมิปั ญญาในด้านศิลปวัฒนธรรม ในสมัยสุโขทัยมีการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมหลายอย่าง ได้แก่ พ่อขุนรามคำแหงคิดประดิษฐ์อักษรไทย หรือ ลายสือไทย ขึ้นเมื่อ พ.ศ.1826 ซึ่งเป็ นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่ายิ่งที่สืบทอดมาจนปั จจุบัน การมีตัวหนังสือใช้ทำให้มีการจารึกเรื่องราวต่างๆ ลงบนศิลาจารึก ซึ่งกลายเป็นหลัก ฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่คนรุ่นหลังได้ใช้ศึกษาค้นคว้า ภาพการสลักลายสือไทยบนศิลา จารึกในสมัยสุโขทัย ชาวสุโขทัยได้สร้างสรรค์งานศิลปะที่มีเอกลักษณ์ของสุโขทัย ศิลปะสมัยสุโขทัยจัดได้ ว่าเป็ นศิลปะไทยที่มีความงดงามที่สุดและมีเอกลักษณ์เฉพาะของไทยมากที่สุด ศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของสมัยสุโขทัย ได้แก่ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอก มะตูม ดังเช่น เจดีย์ที่วัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัยเก่า เจดีย์ที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวที่ ศรีสัชนาลัย พระพุทธรูปปางลีลาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียงที่ศรีสัชนาลัย พระพุทธชินราชที่จังหวัดพิษณุโลก ตัวอย่างเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือ ทรงดอกมะตูมในเมืองเก่าสุโขทัย การผลิตเครื่ องสังคโลกนับเป็ นภูมิปั ญญาอย่างหนึ่ งของชาวสุโขทัยสันนิษฐานว่าชาว สุโขทัยได้เรียนรู้วิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีนและได้นำมาพัฒนาจนมีรูป แบบของตนเอง 3

ภูมิปั ญญาในด้านศาสนา ผู้ปกครองในสุโขทัยได้นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาปรับใช้ในการปกครอง ทำให้ ผู้ปกครองเปรียบเหมือนธรรมราชา ถือเป็นหลักการปกครองของกษัตริย์ไทยทุกยุคทุก สมัย การศึกษาพระพุทธศาสนาทำให้พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ได้ทรงพระราชนิพนธ์ หนังสือไตรภูมิพระร่วง ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ภาพตัวอย่างหนังสือไตรภูมิพระร่วงที่พระ มหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ได้ทรงพระราช นิพนธ์ การมีความศรัทธายึดมั่นในพระพุทธศาสนา ทำให้ชาวสุโขทัยได้สร้างงานศิลปะที่มี ความงดงามเพื่ออุทิศแต่พระพุทธศาสนา เช่น วัด เจดีย์ พระพุทธรูป เป็นต้น วัดมหาธาตุในจังหวัดสุโขทัย พระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่ยอมรับกันว่ามีพุทธลักษณะ งดงามที่สุดองค์หนึ่ ง สันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1900 ในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารด้านตะวันตกในวัด พระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัด พิษณุโลก 4

ผลงานการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย สมัยสุโขทัย การชลประทาน การสร้างที่กักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในหน้ าแล้ง เนื่องจากสภาพของดินในสุโขทัยส่วนใหญ่ เป็นดินปนทรายที่ไม่อุ้มน้ำ ทำให้เกิดปัญหาในการเพาะปลูกในหน้ าแล้ง จึงได้มีการชัก น้ำจากที่สูงทางด้านตะวันตกของสุโขทัยมายังบริเวณแหล่งที่อยู่อาศัย และสร้างคันดิน เพื่อบังคับน้ำให้ไหลจากที่สูงและหุบเขามาเก็บในคู ห้วย สระน้ำ โดยมีท่อดินขนาด ใหญ่ฝั งลึกอยู่ใต้ผิวดินเป็ นท่อลำเลียง ท่อดินที่ใช้ในการลำเลียงน้ำ ขุดพบที่โบราณสถานวัดเชตุพน แนวคันดินสำหรับบังคับน้ำนี้เรียกว่า สรีดภงส์ หรือ ทำนบพระร่วง สรีดภงส์ หรือ ทำนบพระร่วง แนวคันดินสำหรับบังคับน้ำ นอกจากนี้ยังมีการสร้างตระพังเก็บน้ำ หรือสระสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ด้วย ตระพัง สระที่ใช้ในการเก็บน้ำในพื้นที่ 5

การรู้จักใช้ศิลาแลง มาสร้างอาคารสถานที่ ศิลาแลงเป็นหินที่จะกลายสภาพเป็นดินในระยะหลังๆต่อมา แต่ ไม่ได้เป็นดินที่แท้จริง มีสภาพแข็งและมีลักษณะพรุน มีสีแดง สะสมอยู่ในพื้นดิน หินศิลาแลง หินที่ใช้ในการก่อสร้างศาสนสถานใน สมัยสุโขทัย ชาวสุโขทัยนำมาสร้างโบสถ์หรือศาสนาสถานต่างๆโดยการสกัดเป็ นแผ่นๆแล้วนำมา ซ้อนเรียงกันไว้จนมีลักษณะเป็นผนัง ใช้น้ำยาเป็นตัวประสานให้ศิลาแลงแต่ละแผ่น เชื่ อมต่อกันเป็ นศิลาแผ่นใหญ่ ศาสนสถานที่ใช้หินศิลาแลงสร้าง วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย 6

เครื่องสังคโลก การรู้จักเคลือบเครื่องปั้นดินเผาให้มีความสวยงาม คนไทยรู้จักการใช้ดิน เหนียวมาปั้นเป็นภาชนะต่างๆมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่เมื่อมาถึงสมัย สุโขทัย คนไทยได้รู้จักการเคลือบเครื่องปั้นดินเผาให้มีความสวยงาม เครื่องเคลือบดิน เผานี้ เรียกกันว่า เครื่องสังคโลก เครื่องสังคโลก ภูมิปัญญาไทยในการทำเครื่องสังคโลกของชาวสุโขทัยนี้ เริ่มตั้งแต่การนำดินเหนียว และดินขาวคุณภาพดีมาปั้น นำยางไม้บางชนิดมาผลิตเป็นน้ำยาเคลือบ ตลอดจนการ สร้างเตาเผาที่ระบายความร้อนได้ดี ซากเตาทุเรียง ในการเผาเครื่องสังคโลกนั้น มักจะเผากันในฤดูฝนเพราะอากาศในเตาและฝืนที่ใช้จะมี ความชื้นมากขึ้น ทำให้เครื่องเคลือบดินเผาสีเขียวไข่กามีความสวยงามกว่าการเผาใน ฤดูร้อน การจัดเรียงภาชนะ ในเตาทุเรียง 7

การประดิษฐ์โลหกรรมสำริด ชาวสุโขทัยได้ทดลองจนพบว่าการผสมตะกั่วลงในสำริด ทำให้โลหะหลอมได้ง่ายมาก ขึ้น ช่วยลดฟองอากาศในโลหะเหลว วัตถุที่หล่อมีคุณภาพดี เหมาะในการนำมาทำ ภาชนะ เครื่องประดับ แต่เมื่อจะนำมาทำอาวุธ จะไม่นิยมผสมตะกั่วลงไปในสำริด เพราะต้องการให้สำริดมีความแข็งแกร่งและทนทาน เครื่องประดับที่ทำจากสำริด ในสมัยสุโขทัย การใช้วัสดุที่มีส่วนผสมเหมาะสำหรับทำให้ปูนปั้นแข็งตัว ชาวสุโขทัยค้นพบว่าการใช้ปูน ทรายและน้ำอ้อยผสมกัน ทำให้ปูนปั้นแข็งตัวได้ภายใน เวลาไม่นาน เหมาะสำหรับการปั้นพระพุทธรูป และสิ่งประดิษฐ์ตกแต่งศาสนสถาน ต่างๆ เช่น ลวดลายปูนปั้นมณฑป เป็นต้น ลายปูนปั้น วันตระพังทองหลาง 8

พระพุทธศาสนา ใช้คติความเชื่อในเรื่องพระพุทธศาสนาควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม การปลูกฝัง นิสัยของคนไทยสมัยสุโขทัยให้มีแต่ความสงบ มีศีลธรรม เพื่อความร่มเย็นของผู้คน ในสังคม ปลูกฝังให้คนเกรงกลัวต่อบาป เช่น การนำเอานรกสวรรค์ ซึ่งปรากฏใน หนังสือไตรภูมิพระร่วงมาสอนให้คนยึดทำแต่ความดี ละเว้นความชั่ว เป็นต้น ภาพตัวอย่างหนังสือไตรภูมิพระร่วง การประดิษฐ์ตัวอักษรไทย หรือที่เรียกว่า ลายสือไทย ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อ พ.ศ. 1826 ทรง ดัดแปลงมาจากหนังสือขอม มอญ ซึ่งนิยมใช้อยู่ในแถบแม่น้ำเจ้าพระยาแต่เดิม ภูมิปัญญาการประดิษฐ์อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ความพิเศษของตัว อักษรไทยที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์ขึ้นมา ถือว่าเป็นภูมิปัญญาไทย สมัยสุโขทัย ที่กลายเป็นมรดกตกทอดมาจนทุกวันนี้ ตัวอย่างข้อความลายสือไทย 9

วัฒนธรรมไทยสมัยสุโขทัย วัฒนธรรมทางด้านการศึกษา ในสมัยกรุงสุโขทัยการจัดรูปแบบทางการศึกษาในช่วงแรกจะได้รับอิทธิพลจากคติ พราหมณ์เข้ามาต่อจากนั้นจึงรับคติธรรมทางพุทธศาสนาเข้ามาเป็ นหลักเกณฑ์สำคัญ ของการจัดการศึกษาทั้งสิ้น การศึกษาในสุโขทัยน่าจะมีลักษณะต่าง ๆ หลายลักษณะ เช่น 1. การศึกษาทางพุทธศาสนา สุโขทัยเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธ ศาสนา เช่นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือ พระเจ้าลิ ไทย เป็นต้น 2. การศึกษาในวิชาชีพ เป็นการเรียนตามกฎธรรมชาติ เรียนจากครอบครัว หรือสภาพ แวดล้อม เช่น ศิลปหัตถกรรมต่าง ๆ การทำไร่ไถ่นา การปั้นเครื่องปั้นดินเผา งานทาง ด้านจิตรกรรม ประติมากรรมหรือสถาปัตยกรรม เป็นต้น 10

วัฒนธรรมทางด้านตัวอักษรไทย ศิลาจารึกหลักที่ 1 ปรากฎข้อความที่เกี่ยวข้องอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหงตอน หนึ่ งว่า “ …1205ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในแลใส่ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผุ้นั่น ใส่ไว้…” จากศิลาจารึกดังกล่าวจึงเป็ นที่เชื่ อกันว่าอักษรไทยพ่อขุนรามคำแหงซึ่งลงศิลาจารึกปี พ.ศ. 1826 นี้เป็นอักษรไทยเก่าแก่ที่สุดที่ใช้ในประเทศไทย สำหรับความเป็นมาของอักษรพ่อขุนรามคำแหงนั้นนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี นัก อักษรศาสตร์ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะ ยอร์ช เซเดส์ สรุปว่าอักษรพ่อขุนรามคำแหงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด เพราะมีรูปลักษณะ คล้ายคลึงกันมาก แต่จากการศึกษาของ นันทนา ด่านวัฒน์ ทางด้านอักขรวิทยาพบว่า อักษรต้นตระกูลของอักษรพ่อขุนรามคำแหง คืออักษรหราหมี อักษรคฤนห์ อักษรขอม หวัด เพราะปรากฎความคล้ายคลึงทางด้านอักขรวิทยาของอักษรพ่อขุนรามคำแหงและ อักษรในตระกูลทั้งสาม อักษรพ่อขุนรามคำแหงนั้นปรากฎใช้เฉพาะในรัชสมัยของพระองค์เท่านั้น ต่อมาในสมัย พระมหาธรรมราชาลิไทยได้ปรากฎรูปอักษรไทยแบบใหม่ขึ้นอักษรพบใหม่นี้เรียกว่า อักษรพระเจ้าลิไทย เปรียบเทียบอักษรปั จจุบัน อักษรพ่อขุนรามคำแหง และอักษรพระเจ้าลิไทย 11

วัฒนธรรมทางด้านวรรณกรรม วรรณกรรมที่เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัยคงจะมีจำนวนมากและหลายประเภท หากแต่มิได้ ตกทอดมาถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมทางวรรณกรรมที่คนไทยทุกคนในสมัยนี้รู้จัก คือ ศิลา จารึกหลักที่ 1หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งกรมศิลปากรได้จัดไว้เป็นอันดับแรกของ วรรณกรรม ศิลาจารึก วรรณกรรมสมัยสุโขทัยที่รู้จักรองลงมาได้แก่ ไตรภูมิพระร่วง และสุภาษิตพระร่วง ส่วนใหญ่วรรณกรรมสมัยสุโขทัยจะมีลักษณะสุดดีวีรกรรมและ เกี่ยวกับศาสนาหรือปรัชญา ขอแยกกล่าวถึงวรรณกรรมสุโขทัย ดังนี้ 1. ศิลาจารึก ศิลาจารึกมีประโยชน์ทางการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์โบราณคดี ตลอดจนวิชาอักษรศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และอื่น ๆ ศิลาจารึกที่พบในสมัย สุโขทัยมีประมาณ 30 หลัก ที่สำคัญมากได้แก่ ศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งรวมคุณค่าทาง ภาษา ทั้งความรู้ด้านกฎหมาย ความรู้ทางการปกครอง ความรู้ทางด้านวัฒนธรรม ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรม และศิลปกรรม นับว่าวรรณกรรมประเภทนี้เป็นหลักฐาน ยืนยันเรื่ องราวทางวัฒนธรรมสมัยสุโขทัยได้เป็ นอย่างดี ศิลาจารึกหลักที่ 1 2. ไตรภูมิพระร่วง ถือเป็นวรรณกรรมปรัชญาชิ้นแรกของไทย พระมหาธรรมราชาลิ ไทยทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 1888 นับเป็นวรรณกรรมที่ทรงคุณค่าทางปรัชญา คุณค่าทางวรรณคดีโดยเฉพาะการสอนจริยธรรมคือ สอนให้คนรู้จักความดีความชั่ว รู้จักใช้วิจารณญาณและสอนให้คนมีศีลธรรมรักษาความดีและมีความรับผิดชอบ หนังสือไตรภูมิพระร่วง 12

3. สุภาษิตพระร่วง วรรณกรรมชิ้นนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย หรือไม่อย่างไรก็ตามสุภาษิตพระร่วงนับว่าเป็ นวรรณกรรมที่ทรงคุณค่ายิ่งวรรณกรรม หนึ่ง เพราะมีจุดประสงค์ที่จะสั่งสอนคน สาระการสอนนั่นมีทั้งวิชาความรู้ เรื่องมิตร และการผูกมิตร การปฏิบัติตนต่อบุคคลประเภทต่าง ๆ สอนให้รู้จักรักษาตัวให้พ้นภัย สอนให้รอบคอบ เป็นต้น เช่น “ เมื่อน้ อยให้เรียนวิชาให้หาสินเมื่อใหญ่ “ หรือ” ปลูก ไมตรีอย่ารู้ร้าง “ ดังนั้นสุภาษิตพระร่วงจึงมีอิทธิพลต่อความคิดของคนไทยเป็นอันมาก ทั้งยังมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็ นอยู่เพราะได้นำเอาสุภาษิตมาใช้เป็ นคติธรรมในการ ดำรงชีวิตอีกด้วย 4. ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ บางคนเชื่อว่าตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ แต่งในสมัยสุโขทัยเพ ราะมีเนื่อเรื่องและท้องเรื่องอ้างถึงสถานที่ต่าง ๆ ที่เมืองสุโขทัยตอนหนึ่ง อีกตอนหนึ่ง กล่าวถึงพระราชจรรยาของสมเด็จพระร่วงเจ้า แต่บางคนก็เชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่แต่ง ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จุดประสงค์การแต่งเพื่ อเป็ นการแนะนำตัก เตือนข้าราชการสำนักฝ่ ายใสห้มีกริยามารยาทที่เหมาะสมกับศักดิ์ศรีของตนเองและ เพื่อเชิดชูเกียรติยศของพระมหากษัตริย์นอกจากนี้ยังทรงคุณค่าทางด้าน ขนบธรรมเนียมประเพณีของราชสำนักโดยเฉพาะประเพณีพราหมณ์ทั้ง 12 เดือน วรรณกรรมสมัยสุโขทัยนับว่าเป็ นวรรณกรรมที่ทรงคุณค่าและมีอิทธิพลต่อชีวิตความ เป็นอยู่ของคนไทยสมัยสุโขทัยและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้มาก นับว่าสุโขทัยเป็นบ่อ เกิดแห่งวัฒนธรรมทางด้านวรรณกรรมที่สำคัญของประเทศ สุภาษิตพระร่วง กับ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ 13

วัฒนธรรมทางด้านดนตรีและการฟ้ อนรำ ศิลาจารึกหลักต่าง ๆ ได้ระบุข้อความที่เกี่ยวกับดนตรีและการฟ้ อนรำไว้หลายแห่ง เช่น ศิลาจารึกหลักที่ 1 ปรากฎข้อความว่า “…เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียงกันแต่อรัญญิกพู้นเท้าหัวลานดมบงคมกลอง ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพินเสียงเลื่อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น ใครจักมักหัว ใครจักมักเลื่อนเลื่อน…” ศิลาจารึกหลักที่ 8 ปรากฎข้อความว่า “…ดับหนทางแต่เมืองสุโขทัยมาเถิงเขานี้งามหนักหนาแก่กม สองขอก หนทางย่อ มกัลปพฤษ์ใส่ร่มยล ดอกไม้ตามใต้เทียนประทีป เผาธูปหอมตลบทุกแห่งปลูกธงปฎา ทั้งสองปลาก หนทางย่อมเรียงขันหมากขันพลูบูชาพิลม ระบำเต้นเล่นทุกฉัน…ด้วย เสียงอันสาธุการบูชา หยิบดุริยาพาทย์ พิณฆ้องกลองเสียงดัง สิพอดังดินจักหล่มอัน ไซร้…” จากศิลาจาริกดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการนำเครื่องดนตรีและการฟ้ อนรำ การเล่น สนุกสนานของชาวสุโขทัย นายมนตรี ตราโมท ได้กล่าวถึงวัฒนธรรมทางด้านดนตรี ของสุโขทัย โดยแยกพิจารณา 2 ประการคือ 1. เครื่องดนตรี ประกอบด้วยเครื่องดนตรีต่าง ๆ ดังนี้ คือ สังข์ แตร บัณเฑาะว์ มโหระทึก ปี่ฉไนแก้ว ปี่สรไน กลองชนะ ฆ้อง กลอง ตะโพน ฉิ่ง กลับ ระฆัง กังสดาล ซอ 2. เพลงร้องและเพลงดนตรี ในสมัยสุโขทัยมีทั้งการร้องและการขับ แต่ทำนองร้องและ ทำนองขับจะเป็นอย่างไรยากที่จะชี้ให้ชัดเจนได้ มีเพลงที่น่าจะเป็นเพลงสมัยสุโขทัย คือ เพลงเทพทองหรือเพลงสุโขทัย ทำนองเพลงนี้เดิมที่เดียวเป็นเพลงพื้นเมืองใช้ร้อง ว่าแก้กันระหว่างผู้หญิงผู้ชาย ส่วนอีก 2 เพลงน่าจะเป็นสมัยสุโขทัย คือเพลงพระทอง กับเพลงนางนาค 14

วัฒนธรรมการแต่งกาย จากหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรจากการเปรียบเทียบกับเครื่องแต่งกายละคร และ จากการเปรียบเทียบกับเครื่องแต่งกายของคนไทยเผ่าต่าง ๆ ได้สรุปการแต่งกายสมัย สุโขทัยว่า 1. การแต่งกายของผู้หญิง ผู้หญิงในสมัยสุโขทัยจะไว้ผมยาว เกล้ามวย มีเกี้ยวหรือ พวงมาลัยสวมรอบมวย มวยนั้นมีทั้งเกล้าอยู่กลางกระหม่อมและที่ท้ายทอย มีปิ่นปัก สวมเสื้อแขนยาวตัวคับ นุ่งผ้าถุง ผู้หญิงบางคนห่มผ้าสไบเฉียง ผ้าที่ใช้มีทั้งผ้าฝ้ ายและ ผ้าไหม สีของผ้ามีสี แดง ดำ ขาว เหลือง เขียว ผัดหน้ า วาดคิ้ว สวมแหวน เจ้านาย ฝ่ายในมีกรองคอ พาหุรัด และทองพระกรทรงมงกุฎยอดแหลมหรือกรอบพักตร์ 2. การแต่งกายของผู้ชาย ผู้ชายสมัยกรุงสุโขทัยไว้ผมยาว มุ่นมวยไว้ที่กลาง กระหม่อมก็มี ไว้ที่ท้ายทอยก็มี สวมเสื้อผ้าผ่าอกแขนยาว และสวมกางเกงขายาวแบบ ชุดคนเมือง ทหารสวมเสื้อแขนสั้น ถ้าพระยาห้อยผ้าไว้ที่บ่า มีผ้าคาดพุงหรือเข็มขัด ชายบางคนนุ่งกางเกงขาสั้น เจ้านายนุ่งผ้าโจงกระเบนคาดเข็มขัด และมีผ้าประดับทับ โจงกระเบนห้อยลงมา 2 ข้าง ผ้านี้จีบตามแนวเส้นนอน เวลาออกศึกนุ่งกางเกงขายาว มีผ้าโจงกระเบนทับอย่างเครื่องแต่งการละคร หมวกที่ผู้ชายใส่มีมงกุฎยอดแหลม หมวกทรงประพาสและหมวกรูปคล้ายฝาชี ซึ่งบางท่านเรียกว่าหมวกชีโบ การแต่งกาย ในสมัยสุโขทัย 15

วัฒนธรรมด้านสถาปั ตยกรรม วัฒนธรรมด้านสถาปั ตยกรรมสมัยสุโขทัยนับว่าเป็ นความคิดที่แปลกไม่เหมือนศิลปะ อื่น ๆ สถาปัตยกรรมสุโขทัยได้รับอิทธิพลโดยรอบ และได้นำมาดัดแปลงตามความ พอใจจนเกิดเป็นแบบของตัวเองทั้ง ๆ ที่อาณาจักรสุโขทัยก็รับนับถือพุทธศาสนาจาก ลังกา แต่สถาปัตยกรรมแบบมอญและแบบขอมก็ไม่ได้มีอิทธิพลเหนือสุโขทัยเลย สถาปัตยกรรมสุโขทัยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบดังนี้ 1. สถาปัตยกรรมรูปทรงอาคาร สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบใหญ่ คือ รูปทรงอาคาร อาคารที่มีผนัง มีหลังคาซ้อนเป็นชั้น ๆ ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทางด้านหน้ าต่อ เป็นมุขที่ยืน มีบันไดขึ้นสองข้างทางมุข ตัวอย่างรูปทรงอาคาร วัดสวนแก้วอุทยานน้ อย อาคารก่อด้วยแลง หลังคาใช้เรียงด้วยแลงซ้อนเหลี่ยมกันขึ้นไปจนถึงชั้นสูงสุดที่ไปบรรจบกันที่ตอนอกไก่ ตัวอย่างอาคารก่อด้วยแลง วัดกุฏิราย อาคารสี่เหลี่ยม มีหลังคาที่เป็นชั้นแหลมลดหลั่นกันไปถึงยอด หลังคาเป็นชั้นประมาณ 3 ชั้น ที่เรียกว่า “ มณฑป “ มณฑปนี้จะเป็นแบบมณฑปที่มีผนังและมณฑปโถง ตัวอย่างอาคารสี่เหลี่ยม วัดศรีชุม 16

2. สถาปัตยกรรมรูปแบบสถูปหรือเจดีย์ มีทั้งทรงกลมแบบลังกา เจดีย์ทรงกลมฐานสูง เจดีย์ย่อเหลี่ยมแบบมีซุ้มจระนำ เจดีย์แบบห้ายอด เจดีย์ทรงปรางค์ ยอดเป็นเจดีย์ทรง กลมสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย และเจดีย์ทรงดอกบัวตูม จากลักษณะสถาปัตยกรรม เจดีย์ต่าง ๆ เหล่านี้จะเห็นได้ว่าลักษณะเจดีย์ที่สำคัญที่พบมากมี 2 แบบ คือ 2.1 เจดีย์ทรงกลมแบบลังกา เป็นแบบที่สร้างสมัยแรก เช่นที่วัดตะกวน วัดช้างล้อม วัดสระศรี เมืองสุโขทัย ตัวอย่างเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา วัดช้างล้อม 2.2 เจดีย์ทรงดอกบัวตูม สามารถแยกได้เป็น 4 แบบย่อย ๆ คือ เจดีย์ดอกบัวตูมแบบวัดมหาธาตุ ตั้งอยู่บนฐานเขียง ฐานบัวลูกแก้ว เหนือฐานบัวลูกแก้วเป็นแท่นแว่นฟ้ าย่อเหลี่ยมแท่น แว่นฟ้ ารับเรือนธาตุ ต่อจากเรือนธาตุเป็นยอที่เป็นดอกบัวตูม ซึ่งเราจัดเป็นเจดีย์ที่สร้าง โดยทั่ว ๆ ไป เจดีย์ทรงดอกบัวตูมแบบวัดซ่อนข้าว เป็นแบบฐานแว่นฟ้ าบัวลูกแก้วสองชั้นตั้งรับเรือนธาตุ เจดีย์ทรงดอกบัวตูมวัดอ้อมรอบ ประกอบด้วยฐานเขียงบัว ฐานเขียง ฐานย่อเหลี่ยมรับเรือนธาตุ ตอนชั้นเรือนธาตุรับ ยอดบัวมีซุ้ม เจดีย์ทรงดอกบัวตูมแบบวัดสะพานหินและเจดีย์วัดยอดทองเมืองพิษณุโลก ประกอบด้วยฐานเขียงห้าชั้นตั้งรับฐานลูกบัวแก้ว ไม่ย่อมุมรับเรือนธาตุ ที่เรือนธาตุ แต่ละด้านมีซุ้มจระนำ ประดิษฐานพระพุทธรูปสี่ด้าน ตัวอย่างเจดีย์ทรงดอกบัวตูม วัดเจดีย์ยอดทอง 17

วัฒนธรรมทางด้านประติมากรรมและจิตรกรรม วัฒนธรรมทางด้านประติมากรรมและจิตรกรรมเป็นงานประณีตศิลป์ ซึ่งแสดงถึงความ สมารถและความเข้าถึงแก่นของคำสั่งสอนของพุทธศาสนาของช่างศิลป์ 1. ประติมากรรม ประติมากรรมในสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่ ได้แก่การสร้างพระพุทธรูป ซึ่งนิยมสร้างพระพุทธรูปปั้นและหล่อด้วยสัมฤทธิ์ การสร้างพระพุทธรูปเป็นแบบ ลอยตัวและภาพนูนสูงติดฝาผนัง นอกจากนั้นพระพุทธรูปแล้วยังมีการหล่อเทวรูป สัมฤทธิ์ เช่นเทวรูปพระนารายณ์ เทวรูปพระอิศวร เทวรูปพระหริหระ เป็นต้น งานประติมากรรมที่เด่นที่สุดในสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่ คือ พระพุทธรูปจะเห็นได้ว่า พระพุทธรูปที่สวยงามในศิลปะแบบสุโขทัยเป็นรูปที่ตรัสรู้แล้ว ดังนั้น ระบบกล้ามเนื้อ ต่าง ๆ จึงมีการผ่อนคลายและพระองค์ก็จะอยู่ในความสงบแท้จริง พระพักตร์สงบมีรอย ยิ้มเล็กน้ อย 2. จิตรกรรม จิตรกรรมที่เราพบในสมัยสุโขทัยทั้งภาพลายเส้นและลายเขียนฝุ่น ภาพ ลายเส้นในสมัยสุโขทัย โดยเฉพาะภาพจำหลักลายเส้นลงเส้นในแผ่นหินชนวนวัดศรีชุม เมืองสุโขทัยเป็ นภาพชาดกจะเห็นได้ว่าเส้นลายดังกล่าวเป็ นภาพที่อิทธิพลของศิลปะศรี ลังกาอยู่มากมาย เช่นภาพเทวดาต่าง ๆ ใบหน้ าเทวดาก็ดี คอมีรอยหยัก มงกุฎทรง เครื่องแต่งกายเป็นแบบลังกาทั้งสิ้น แต่คนไทยสมัยสุโขทัยน่าจะมีส่วนร่วมในการสลัก ภาพเหล่านี้ด้วย ภาพสลักที่วัดศรีชุมเป็นเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาเป็นชาดกต่าง ๆ ส่วนภาพจิตรกรรมฝาผนังนั้นเป็นวิวัฒนาการหนึ่งที่ไกลออกจากภาพลายสลักเส้น สีที่ ใช้ในโครงงานระบายสีแบบดำ แดง ที่เรียกว่าสีเอกรงค์ แต่มีน้ำหนักอ่อนแก่เล่นจังหวะ อย่างสวยงาม นับเป็นการก้าวหน้ าทางหนึ่งในด้านประติมากรรมที่จิตรกรแสดงออก เช่น พระพุทธรูปได้หลุดกออกจากอิทธิพลของลังกา แม้ภาพวาดเทวดายังคงมีอิทธิพล ของศิลปะลังกาเหลืออยู่ซึ่งภาพเขียนที่สำคัญ คือภาพเขียนที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวเมือง ศรีสัชนาลัย 18

วัฒนธรรมทางด้านประติมากรรมและจิตรกรรม วัฒนธรรมทางด้านประติมากรรมและจิตรกรรมเป็นงานประณีตศิลป์ ซึ่งแสดงถึงความ สมารถและความเข้าถึงแก่นของคำสั่งสอนของพุทธศาสนาของช่างศิลป์ 1. ประติมากรรม ประติมากรรมในสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่ ได้แก่การสร้างพระพุทธรูป ซึ่งนิยมสร้างพระพุทธรูปปั้นและหล่อด้วยสัมฤทธิ์ การสร้างพระพุทธรูปเป็นแบบ ลอยตัวและภาพนูนสูงติดฝาผนัง นอกจากนั้นพระพุทธรูปแล้วยังมีการหล่อเทวรูป สัมฤทธิ์ เช่นเทวรูปพระนารายณ์ เทวรูปพระอิศวร เทวรูปพระหริหระ เป็นต้น งานประติมากรรมที่เด่นที่สุดในสมัยสุโขทัยส่วนใหญ่ คือ พระพุทธรูปจะเห็นได้ว่า พระพุทธรูปที่สวยงามในศิลปะแบบสุโขทัยเป็นรูปที่ตรัสรู้แล้ว ดังนั้น ระบบกล้ามเนื้อ ต่าง ๆ จึงมีการผ่อนคลายและพระองค์ก็จะอยู่ในความสงบแท้จริง พระพักตร์สงบมีรอย ยิ้มเล็กน้ อย 2. จิตรกรรม จิตรกรรมที่เราพบในสมัยสุโขทัยทั้งภาพลายเส้นและลายเขียนฝุ่น ภาพ ลายเส้นในสมัยสุโขทัย โดยเฉพาะภาพจำหลักลายเส้นลงเส้นในแผ่นหินชนวนวัดศรีชุม เมืองสุโขทัยเป็ นภาพชาดกจะเห็นได้ว่าเส้นลายดังกล่าวเป็ นภาพที่อิทธิพลของศิลปะศรี ลังกาอยู่มากมาย เช่นภาพเทวดาต่าง ๆ ใบหน้ าเทวดาก็ดี คอมีรอยหยัก มงกุฎทรง เครื่องแต่งกายเป็นแบบลังกาทั้งสิ้น แต่คนไทยสมัยสุโขทัยน่าจะมีส่วนร่วมในการสลัก ภาพเหล่านี้ด้วย ภาพสลักที่วัดศรีชุมเป็นเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาเป็นชาดกต่าง ๆ ส่วนภาพจิตรกรรมฝาผนังนั้นเป็นวิวัฒนาการหนึ่งที่ไกลออกจากภาพลายสลักเส้น สีที่ ใช้ในโครงงานระบายสีแบบดำ แดง ที่เรียกว่าสีเอกรงค์ แต่มีน้ำหนักอ่อนแก่เล่นจังหวะ อย่างสวยงาม นับเป็นการก้าวหน้ าทางหนึ่งในด้านประติมากรรมที่จิตรกรแสดงออก เช่น พระพุทธรูปได้หลุดกออกจากอิทธิพลของลังกา แม้ภาพวาดเทวดายังคงมีอิทธิพล ของศิลปะลังกาเหลืออยู่ซึ่งภาพเขียนที่สำคัญ คือภาพเขียนที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวเมือง ศรีสัชนาลัย 19

บรรณานุกรม https://bit.ly/3yx9bx3 https://bit.ly/3jy96D5 https://maymeanjulie.wixsite.com/sukhothaihistory/blank-h0za4 https://swis.montfort.ac.th/html_edu/cgi- bin/main_php/print_informed.php?id_count_inform=2261 20