Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ภาพแทนความทรงจำเมืองลำปางจากมิวเซียมลำปาง-Proceedings โครงการการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 4 สถาบัน

ภาพแทนความทรงจำเมืองลำปางจากมิวเซียมลำปาง-Proceedings โครงการการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 4 สถาบัน

Published by sakulsueb_9, 2021-03-02 13:31:59

Description: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพแทนความทรงจำเมืองลำปางจากมิวเซียมลำปาง โดยใช้แนวคิดความทรงจำศึกษา (Memory Study) และแนวคิดเกี่ยวกับภาพแทน(Representation) มาใช้ในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า มิวเซียมลำปางบอกเล่าความทรงจำเกี่ยวกับเมืองผ่านสื่อแห่งความทรงจำ (media memory) 4 ประเด็น คือ 1. เมืองที่มีผู้คนหลากหลายและมีคนอาศัยอยู่ที่นี่มาอย่างต่อเนื่อง 2. เมืองแห่งพระพุทธศาสนา 3. เมืองสำคัญบนเส้นทางการค้าและการรบ และ 4. เมืองที่ร่ำรวยภูมิปัญญา ภาพแทนเหล่านี้ถูกประกอบสร้างขึ้นเพื่อสร้างจุดขายแก่นักท่องเที่ยว และผลิตซ้ำความเป็นเมืองเก่าอันทรงคุณค่าและน่าสนใจของลำปาง

Keywords: ภาพแทน,ความทรงจำศึกษา,สื่อแห่งความทรงจำ,มิวเซียมลำปาง

Search

Read the Text Version

ISBN (e-book): 978-616-488-172-3

รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการโครงการประชุมวิชาการระดับนานาชาติเครือข่ายความร่วมมือ ทางวิชาการและวัฒนธรรม 4 สถาบันการศึกษา หัวข้อ “ภาษาและวัฒนธรรมไทยในวิถีโลกสมัยใหม่” (Thai in the Modern World) วันท่ี 17-18 ธนั วาคม 2563 ในรปู แบบออนไลน์ โดยความรว่ มมือทางวิชาการของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนษุ ยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแก่น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั รามคำแหง และกระทรวงวฒั นธรรม บรรณาธิการ รองศาสตราจารย์ ดร. นติ ยา แกว้ คัลณา พิมคร้ังท่ี 1 กมุ ภาพนั ธ์ 2564 สงวนลิขสทิ ธิ์ ข้อมูลทางบรรณานุกรม (Cataloging in Publication Data) ผู้เขียนบทความ. (2563). ช่อื บทความ. โครงการประชมุ วิชาการระดับนานาชาติเครอื ข่ายความร่วมมอื ทางวชิ าการและวฒั นธรรม 4 สถาบันการศกึ ษา หัวขอ้ “ภาษาและวฒั นธรรมไทยในวถิ โี ลก สมัยใหม่” (Thai in the Modern World) ในรปู แบบออนไลน.์ 17-18 ธันวาคม 2563. น. xxx-xxx. จดั ทำโดย คณะศลิ ปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Faculty of Liberal Arts, Thammasat University) เลขท่ี 2 อาคารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถนนพระจนั ทร์ แขวงพระบรมมหาราชวงั กรงุ เทพฯ 10200 URL: https://arts.tu.ac.th email: [email protected] ประสานงาน นางสาวรฐั นนั ท์ วจิ ิตรกฤตพงศ์ ออกแบบและจัดรปู เลม่ : นายอริยะ ก้บู ัณฑิต พิสูจน์อกั ษรและจัดรูปแบบอักษร: นางสาวคันธรตั พรหมวงษ์ ISBN (e-book): 978-616-488-172-3 หมายเหตุ: บทความในรายงานสบื เนอื่ งจากการประชุมวิชาการฉบบั นีเ้ ปน็ ของผ้เู ขียน กองบรรณาธิการไมจ่ ำเปน็ ต้องเห็นดว้ ย และหากผเู้ ขยี นไดล้ ะเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของผหู้ นึง่ ผูใ้ ด กองบรรณาธิการไม่รบั ผิดชอบตอ่ การละเมิดดงั กลา่ ว

โครงการประชุมวิชาการระดบั นานาชาติ เครอื ข่ายความรว่ มมือทางวิชาการและวัฒนธรรม 4 สถาบนั การศึกษา รายงานสืบเน่อื งจากการประชมุ วิชาการระดบั นานาชาติเครอื ข่ายความร่วมมอื ทาง วชิ าการและวัฒนธรรม 4 สถาบนั การศกึ ษา หวั ข้อ “ภาษาและวัฒนธรรมไทยในวถิ ีโลกสมัยใหม”่ (Thai in the Modern World) ระหว่างวันที่ 17-18 ธนั วาคม 2563 หลักการและเหตผุ ล ตามที่ได้มีการลงนามแสดงเจตจำนง (MOI) เพื่อความร่วมมือทางวิชาการและวัฒนธรรมกับสถาบัน ภาษาและอารยธรรมตะวันออกแห่งชาติ (INALCO) สาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพิธีเปิดศูนย์ความร่วมมอื ทางวิชาการระหว่างสถาบันภาษาศาสตร์และวฒั นธรรม ศกึ ษาราชนครินทร์ คณะมนษุ ยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันภาษาและอารยธรรมตะวันออก แห่งชาติ (INALCO) เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561 หลังจากการลงนามแสดงเจตจำนง (MOI) ระหว่าง 5 สถาบันการศึกษาดังกล่าวข้างต้น นำไปสู่การลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือเครือข่าย ทางวิชาการและวัฒนธรรม ในวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และการลงนามในบันทึกข้อตกลงฉบับทบทวน ในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563 กับเครือข่าย 4 สถาบันประกอบด้วยเครือข่ายความร่วมมือเดิมยกเว้น คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อให้เกิดการสานต่อและสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและ วัฒนธรรม โดยเฉพาะด้านการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป โดยในปี 2563 ที่ผ่านมาเครือข่ายฯ จึงร่วมกันจัดประชุมวิชาการระดับชาติ ในหัวข้อ “บทบาทภาษาและวัฒนธรรมไทย ในเวทีโลก” ในวันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยมีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเจ้าภาพ ซง่ึ เปน็ กจิ กรรมท่ีประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง มผี สู้ ง่ บทความเข้ารบั การคดั เลือกถงึ 60 บทความ และมีผู้เข้าร่วมการประชุมถึง 500 คน ที่ประชุมเครือข่ายฯ จึงมีแผนงานที่จะยกระดับการจัดประชุม ทางวิชาการให้เป็นการประชุมวิชาการในระดับนานาชาติต่อไป เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิชาการและอาจ ารย์ ผู้สอนภาษาไทยทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและต่างประเทศได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านงานวิจัย ประสบการณ์ และ แนวทางการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ และประเด็นทางวชิ าการอ่ืน ๆ ที่เกย่ี วข้องกบั ไทยศึกษา และวฒั นธรรมไทย ด้วยเหตุนี้ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะตัวแทนเครือข่ายฯ ประจำปี พ.ศ. 2563 จงึ ได้รับมอบหมายให้จดั การประชมุ วิชาการระดบั นานาชาติเครือขา่ ยความรว่ มมือทางวิชาการและ วัฒนธรรม 4 สถาบันการศึกษา หัวข้อ “ภาษาและวัฒนธรรมไทยในวิถีโลกสมัยใหม่” (Thai in the Modern 3

โครงการประชมุ วชิ าการระดบั นานาชาติ เครือข่ายความรว่ มมอื ทางวชิ าการและวัฒนธรรม 4 สถาบันการศกึ ษา World) ซึ่งจะจัดขึ้นในวันท่ี 17-18 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ทงั้ นเ้ี นือ่ งจากสถานการณแ์ พร่ระบาดของ covid-19 เครอื ขา่ ยฯ ได้ลงความเหน็ ใหด้ ำเนนิ การจัดงานประชุมในรูปแบบออนไลน์ เพือ่ ปอ้ งกนั ความเส่ียงต่าง ๆ ที่อาจ เกิดขึ้น และเพื่อเปิดโอกาสให้นักวิชาการจากต่างประเทศสามารถเข้าร่วมการประชุมได้ นอกจากจะมี การนำเสนอผลงานวิชาการที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว ยังมีการบรรยายพิเศษจากองค์ปาฐก และการเสวนา โตะ๊ กลมโดยวิทยากรรบั เชิญที่มีความเชีย่ วชาญในสาขาท่ีเกี่ยวข้องกับหวั ข้อและเป็นท่ียอมรับในระดับชาติและ นานาชาติ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือของเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการและวัฒนธรรม 4 สถาบนั 2. เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งทางวิชาการด้านภาษาและวัฒนธรรมไทยของนักวิชาการทั้งภายในและ ภายนอกเครือข่าย 3. เพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิชาการของนักวิชาการด้านภาษาและวัฒนธรรมไทยในระดับ นานาชาติ 4. เพอื่ เผยแพร่องคค์ วามรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมไทยแกส่ าธารณะ 4

กองบรรณาธิการ โครงการประชุมวิชาการระดบั นานาชาติ เครือขา่ ยความรว่ มมอื ทางวชิ าการและวฒั นธรรม 4 สถาบันการศกึ ษา รองศาสตราจารย์ ดร.นติ ยา แกว้ คัลณา ประธานกรรมการ (มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์) รองศาสตราจารย์ ดร.โกวทิ ย์ พิมพวง กรรมการ (มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารศรี สอทิพย์ กรรมการ (มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น) ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.สหะโรจน์ กิตตมิ หาเจรญิ กรรมการ (มหาวทิ ยาลัยรามคำแหง) Associate Professor Kyung-Eun Park กรรมการ (Hankuk University of Foreign Studies) Assistant Professor Song Fan กรรมการ (Shanghai International Studies University) Associate Professor Su Su Khin กรรมการ (Yangon University of Foreign Language) ผ้ชู ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วชั ราภรณ์ ดษิ ฐปา้ น กรรมการและเลขานกุ าร (มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร)์ ผทู้ รงคณุ วุฒภิ ายใน มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.นนั ทวนั ชูอารยะประทีป มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.นติ ยา แก้วคัลณา มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.สุธาสินี ปยิ พสุนทรา มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ รองศาสตราจารยช์ ศู กั ด์ิ ภทั รกลุ วณิชย์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ รองศาสตราจารย์อรพชั บวรรกั ษา มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจริ า ฉัตรพรรณรงั สี มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.จนั ทมิ า องั คพณิชกจิ ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ มสี นั ฐาน 5

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นาวิน โบษกรนัฏ โครงการประชมุ วิชาการระดบั นานาชาติ เครือข่ายความรว่ มมือทางวชิ าการและวฒั นธรรม 4 สถาบนั การศกึ ษา มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ศศภิ านุเดช มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ รุนรา มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาสพงศ์ ศรพี จิ ารณ์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา ศรีกำเหนิด มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.วชั ราภรณ์ ดษิ ฐปา้ น มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.สทิ ธธิ รรม ออ่ งวฒุ ิวฒั น์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สภุ าพร พลายเลก็ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ ดร.สรุ ยิ นั ติ์ ปานเลห่ ์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.เสาวณติ จุลวงศ์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.อำนาจ ปกั ษาสขุ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารยน์ ำ้ เพชร จินเลศิ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารยส์ ุรตั น์ ศรรี าษฎร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ ผชู้ ่วยศาสตราจารยโ์ อฬาร รตั นภกั ดี มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ อาจารย์ ดร.กรนภา บญุ พสิ ทุ ธิ์ศลิ ป์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ อาจารย์ ดร.ณฏั ฐนจิ แช่มสวุ รรณวงศ์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ อาจารย์ ดร.วันชนะ ทองคำเภา มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ อาจารยณ์ ฐั วดี กอ้ นทอง มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ อาจารยพ์ รพรรณ จันทรน์ มุ่ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ อาจารย์ภาวิน มาลยั วงศ์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์ อาจารยว์ ีรญา กังวานเจิดสขุ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ อาจารย์อาทติ ย์ วงษ์สงา่ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์ 6

ผ้ทู รงคุณวฒุ ภิ ายนอก โครงการประชมุ วิชาการระดบั นานาชาติ เครอื ข่ายความร่วมมอื ทางวชิ าการและวัฒนธรรม 4 สถาบันการศึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.วภิ าวรรณ อย่เู ยน็ รองศาสตราจารย์เจียรนยั ศริ สิ วสั ดิ์ ผูเ้ ชี่ยวชาญพเิ ศษ รองศาสตราจารยน์ วลทิพย์ เพิ่มเกษร ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ผู้ชว่ ยศาสตราจารยร์ ังรอง เจียมวจิ ักษณ์ ผู้เชย่ี วชาญพิเศษ รองศาสตราจารย์ ดร.นัทธนยั ประสานนาม ผู้เชย่ี วชาญพเิ ศษ รองศาสตราจารย์ ดร.กนกพร นุ่มทอง มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ศรณั ย์ นักรบ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์โสมสกาว เพชรานนท์ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.อุมาภรณ์ สังขมาน มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารยว์ ชั ราภรณ์ อาจหาญ มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ อาจารย์ ดร.คเชนทร์ ตญั ศริ ิ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ อาจารย์ ดร.วิภาดา รตั นดิลก ณ ภูเก็ต มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ อาจารยว์ ุฒนิ นั ท์ แก้วจันทรเ์ กตุ มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลมิ ศกั ด์ิ พกิ ุลศรี มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ปรมนิ ท์ จารุวร มหาวิทยาลยั ขอนแก่น รองศาสตราจารย์ ดร.ศริ พิ ร ปญั ญาเมธกี ุล จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวรรณา เพ็ชรกจิ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.นติ ยา วรรณกิตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั อาจารย์ ดร.นรุตม์ คุปตธ์ นโรจน์ มหาวิทยาลยั มหาสารคาม อาจารย์ ดร.ศริ ะวัสฐ์ กาวิละนนั ท์ มหาวิทยาลยั รงั สติ รองศาสตราจารยร์ ุ่งฤดี แผลงศร มหาวทิ ยาลยั พะเยา ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณพุ งศ์ อดุ มศิลป์ มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครินทรวิโรฒ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูวกร ฉัตรบำรุงสขุ มหาวิทยาลยั ศรีนครนิ ทรวิโรฒ มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครนิ ทรวิโรฒ 7

ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์พิมพาภรณ์ บญุ ประเสริฐ โครงการประชมุ วชิ าการระดบั นานาชาติ อาจารย์ ดร.กง่ิ กาญจน์ บรู ณสินวฒั นกลู เครือข่ายความรว่ มมือทางวชิ าการและวฒั นธรรม 4 สถาบันการศึกษา อาจารย์ ดร.ยรรยงค์ สกิ ขะฤทธิ์ อาจารย์ ดร.รัชนียญ์ า กล่ินนำ้ หอม มหาวทิ ยาลยั ศรีนครินทรวิโรฒ รองศาสตราจารย์ ดร.ธรี ะวฒั น์ จนั ทกึ มหาวทิ ยาลยั ศรนี ครินทรวโิ รฒ รองศาสตราจารย์ ดร.ร่งุ โรจน์ ธรรมร่งุ เรอื ง มหาวทิ ยาลยั ศรีนครินทรวิโรฒ รองศาสตราจารย์ ดร.อนริ ุทธ์ สตมิ ่นั มหาวิทยาลยั ศรีนครนิ ทรวิโรฒ รองศาสตราจารย์สุวฒั นา เล่ียมประวัติ มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุษบา บวั สมบรู ณ์ มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ปัทมา ฑฆี ประเสริฐกลุ มหาวิทยาลยั ศิลปากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารยี า หตุ ินทะ มหาวิทยาลยั ศิลปากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์กติ ตชิ ัย พินโน มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร อาจารย์ ดร.โกสนิ ทร์ ปัญญาอธิสนิ มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร อาจารย์ ดร.ชลธชิ า หอมฟุ้ง มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร อาจารย์ ดร.นนั ทวัลย์ สนุ ทรภาระสถติ ย์ มหาวิทยาลยั ศิลปากร อาจารย์ ดร.สนุ ทรี โชติดลิ ก มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร อาจารยว์ รพล พนิ จิ มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร อาจารย์อานันท์ นาคคง มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร ผชู้ ่วยศาสตราจารย์บวั ผนั สพุ รรณยศ มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปากร รองศาสตราจารย์ ดร.พสิ ิทธ์ิ กอบบญุ มหาวิทยาลยั ศิลปากร รองศาสตราจารย์ ดร.เมชฌ สอดสอ่ งกฤษ มหาวทิ ยาลยั ศิลปากร ศาสตราจารย์ ดร.วสิ าขา ภจู่ ินดา มหาวิทยาลยั หอการค้าไทย มหาวิทยาลยั อบุ ลราชธานี Assoc. Prof. Kyung-Eun Park มหาวิทยาลยั อบุ ลราชธานี Asst. Prof. Song Fan สถาบนั บณั ฑติ พัฒนบริหารศาสตร์ Assoc. Prof. Su Su Khin Hankuk University of Foreign Studies Shanghai International Studies University Yangon University of Foreign Languages 8

โครงการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ เครือข่ายความร่วมมอื ทางวิชาการและวฒั นธรรม 4 สถาบันการศึกษา บทบรรณาธิการ ด้วยคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะตัวแทนเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและ วัฒนธรรมจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หัวข้อ “ภาษาและวัฒนธรรมไทยในวิถีโลกสมัยใหม่” ( Thai in the Modern World) ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 17-18 ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยวัตถุประสงค์ของการจัดงานเพื่อส่งเสริม ความร่วมมือระหว่างเครือข่าย 4 สถาบันด้านวิชาการและวัฒนธรรม ส่งเสริมความเข้มแข็งทางวิชาการด้านภาษาและ วัฒนธรรมไทยของนักวิชาการทั้งภายในและภายนอกเครือข่าย สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิชาการของนักวิชาการ ด้านภาษาและวัฒนธรรมไทยในระดบั นานาชาติ และเผยแพร่องคค์ วามรู้ด้านภาษาและวฒั นธรรมไทยแก่สาธารณะ การจัดประชุมระดับนานาชาติดังกล่าว คณะกรรมการจัดประชุมฯประกอบด้วยเครือข่าย 4 สถาบัน ประเทศไทย ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และต่างประเทศประกอบด้วย Yangon University of Foreign Languages ประเทศสาธารณรฐั แหง่ สหภาพเมยี นมา Hankuk University of Foreign Studies ประเทศเกาหลีใต้ และ Shanghai International Studies University ประเทศจีน นับเป็นโอกาสอันดีของการจัดงานประชุมฯ เพื่อสื่อ “สาร”เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมไทยในเวที นานาชาติ โดยมีนักวิชาการทั้งไทยและต่างประเทศ เช่น สิงค์โปร์ ญี่ปุ่น รัสเซีย จีน เมียนมา เกาหลี ร่วมนำเสนอ ผลงาน ในการจัดประชุมระดับนานาชาตินี้มีผู้สนใจส่งบทความเข้าร่วมเพื่อนำเสนอในประเด็นเกี่ยวกับภาษาไทย การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาแมแ่ ละภาษาต่างประเทศ ภาษาศาสตร์ การแปล ไทยศึกษา วรรณกรรม คตชิ นวิทยา อันทำให้เห็นถึงมิติความสนใจของการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมไทยทั้งในสังคมไทยและบริบทของต่างประเทศ และ ยังสื่อแสดงบทบาทของภาษาและวัฒนธรรมไทยในบริบทของนานาชาติด้วย การจัดการประชุมในรูปแบบออนไลน์ ครั้งนี้ยังเป็นการเปิดโอกาสให้นักวิชาการจากต่างประเทศที่สนใจศึกษาภาษาและวัฒนธรรมไทยสามารถเข้าร่วม การประชุมและนำเสนอผลงาน ซึ่งทำให้ความรับรู้เกี่ยวกับภาษาไทยในบริบทโลกสมัยใหม่มิได้จำกัดอยู่ เฉพาะ สงั คมไทยเท่านน้ั หากไดร้ ับความสนใจศึกษาจากสงั คมนานาประเทศดว้ ย รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติเครือข่ายความร่วมมือ ทางวิชาการและวัฒนธรรม 4 สถาบันการศึกษา หัวข้อ “ภาษาและวัฒนธรรมไทยในวิถีโลกสมัยใหม่” (Thai in the Modern World) เล่มนี้ ป ร ะ ก อ บ ด ้ ว ย บ ท ค ว า ม จ า ก น ั ก ว ิ ช า ก า ร ท ั ้ ง ช า ว ไ ท ย แ ล ะ ต ่ า ง ป ร ะ เ ท ศ ท ี ่ ร ่ ว ม น ำ เ ส น อ ใ ห ้ เ ห ็ น ถึ ง ความสนใจเกี่ยวกับภาษาไทยในบริบทของสังคมไทยและนานาชาติ อันทำให้การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภาษาไทยงอกงาม สบื ไป นติ ยา แกว้ คัลณา บรรณาธกิ าร 9

โครงการประชมุ วิชาการระดับนานาชาติ เครือขา่ ยความร่วมมือทางวชิ าการและวฒั นธรรม 4 สถาบนั การศกึ ษา สารบัญ การสื่อสารผา่ นคำศัพท์เฉพาะทางในสาขาวิชาเทคโนโลยคี ลังข้อมลู คติชนวทิ ยา และการเรียนร้ตู ลอด ชีวิตในยคุ ดจิ ทิ ัล .....................................................................................................................................22 สิริศิระ โชคทวกี ิจ และ ดร. เบญจภคั ค์ เจรญิ มหาวิทย์............................................................................................... 22 ภาพแทนความทรงจำเมืองลำปางจากมิวเซียมลำปาง ............................................................................36 Wu Meng Qi ภาณุวัฒน์ สกลุ สบื และ ทัตพิชา สกุลสบื .......................................................................................... 36 กลวิธีทางภาษาที่ใชใ้ นวัจนกรรมการเก้ียวพาราสขี องผญาเกยี้ วอีสาน ....................................................48 พงศธร สรุ นิ ทร และ พรวิภา ไชยสมคุณ.................................................................................................................... 48 อ่านเรอ่ื งสงั ขท์ องใหม่: ลกั ษณะเควียร์และความเปน็ ชายแบบเควียร์ของพระสงั ข์ ..................................66 นริ าวฒุ ิ สกลุ แกว้ ....................................................................................................................................................... 66 ลีลาการเรียนรภู้ าษาไทยและกลวิธกี ารเรยี นรู้วัฒนธรรมไทยของนกั ศึกษาเกาหลใี ต้ ที่เรยี นภาษาไทยใน ฐานะภาษาตา่ งประเทศของมหาวิทยาลัย ในประเทศสาธารณรฐั เกาหลี .................................................79 บุญรอด โชติวชริ า ..................................................................................................................................................... 79 The Reconstruction of Khun <ฃนุ > ‘chief, lord’ through philological sources ............. 125 Shinnakrit Tangsiriwattanakul........................................................................................................................125 ชดุ ความคิดตา้ นวาทกรรมการพัฒนาระบบการศกึ ษาไทยผ่านเพลงลูกทุง่ ............................................ 138 วิภาวี ฝา้ ยเทศ และ สิริวรรณ นนั ทจันทลู ...............................................................................................................138 ปรากฏการณท์ างสังคมและอนาคตภาพวรรณคดไี ทยในยคุ สงั คมดิจิทลั : กระบวนการปลุกวรรณคดี ใหม้ ชี ีวติ ดว้ ยแนวคิดศกึ ษาศาสตร์ ....................................................................................................... 154 สิระ สมนาม และ ชฎาพร สมนาม...........................................................................................................................154 การวิเคราะหค์ วามตอ้ งการในการเรียนรภู้ าษาไทยในฐานะภาษาตา่ งประเทศ ของนักศึกษาในบรบิ ท ของมาเลเซีย ....................................................................................................................................... 165 รุสนนั ท์ เจ๊ะโซ๊ะ .......................................................................................................................................................165 ระบบไตรยางศใ์ นการสร้างแบบเรียนเพื่อการอ่านเสยี งวรรณยกุ ต์ สำหรับผ้เู รยี นชาวต่างประเทศ ระดบั ต้น.............................................................................................................................................. 179 บษุ รา อวนศรี..........................................................................................................................................................179 การศกึ ษาปญั หาการเขียนภาษาไทยของนกั ศึกษาจีน มหาวทิ ยาลัยนอรท์ กรุงเทพ ............................... 189 Miss Mo Fan Miss Rao Weihan Miss Huang Lixieng Miss Zheng Shuangyan และ นพรัตน์ นอ้ ยเจริญ..........................................................................................................................................189 ตำนานและพธิ กี รรมในประเพณีบญุ สจั จากับการส่ือสารความหมายทางวัฒนธรรม ของกลุ่มชาติพันธุ์ ในพื้นทเ่ี ทือกเขาภูเวยี ง อำเภอเวียงเก่า จังหวดั ขอนแก่น1................................................................... 202 อัษฎาวฒุ ิ ศรที น และ อุมารนิ ทร์ ตุลารกั ษ์...............................................................................................................202 19

โครงการประชมุ วชิ าการระดบั นานาชาติ เครอื ข่ายความร่วมมือทางวิชาการและวฒั นธรรม 4 สถาบนั การศึกษา นวนยิ ายชค้ี : ลกู ผู้ชายของชาติ และการจดั ลำดับอำนาจทางการเมอื ง................................................. 220 สุพรรษา ภกั ตรนิกร .................................................................................................................................................220 การเรียนการสอนภาษาจนี ของประเทศไทยภายใตส้ ถานการณ์โควดิ -19.............................................. 237 วรรณรตั ณ์ มหาธาราทอง........................................................................................................................................237 การปรับบทแปลและความไมเ่ ทา่ เทียมดา้ นจนิ ตภาพ กรณศี ึกษา: นวนยิ ายแปล ภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ 2 เรอื่ ง “ประชาธปิ ไตยบนเสน้ ขนาน”และ“ปีกแดง” .................................... 246 วรภพ ไกยเดช .........................................................................................................................................................246 วฒั นธรรมไทยร่วมสมัยและการสอ่ื สารภาวะผ้นู ำเชิงทำลายในองคก์ ารไทย ......................................... 277 จฑุ าพรรธ์ ผดุงชวี ิต.................................................................................................................................................277 การสร้างชุมชนนกั ปฏบิ ัตใิ นกลุม่ ไลน์ผ่านวาทกรรมของการส่อื สาร โดยใชค้ อมพวิ เตอรเ์ ปน็ ส่อื กลาง.... 294 กติ ติพร บุญญานุภาพพงศ์ และ ศรินยา ขตั ิยะ.........................................................................................................294 การเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมในเอกสารโบราณท้องถิ่นจงั หวดั แพร่ .................................................. 317 นลินี กาศแสวง และ ณรงคก์ รรณ รอดทรัพย์ ..........................................................................................................317 การวเิ คราะหป์ ัญหาการเขยี นภาษาไทยของนักศกึ ษาชาวเมยี นมา มหาวทิ ยาลัยภาษาต่างประเทศ ยา่ งกงุ้ ................................................................................................................................................. 330 Su Su Khin และ Thet Su Mon...........................................................................................................................330 ข้อความทา้ ยใบลานกับการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านนากว้าว ตำบลปา่ ตัน อำเภอแม่ทะ จงั หวดั ลำปาง...................................................................................................................................... 344 ตุลาภรณ์ แสนปรน..................................................................................................................................................344 บริบทและสภาพสังคมอีสานที่มีอิทธพิ ลต่อภาพแทนความเป็นหญิงอสี าน ที่ปรากฏในหมอลำกลอน ประยกุ ต์ .............................................................................................................................................. 360 หทยั วรรณ มณีวงษ์ และ มารศรี สอทิพย์ ................................................................................................................360 กลวิธที างภาษาในการโน้มนา้ วใจทพ่ี บในโฆษณาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวประเภท แอลกอฮอล์เจล ในแอปลิเคชัน Shopee เพ่ือป้องกันไวรัสโควิด-19................................................. 373 กนกกาญจน์ วรสหี ะ และ วธุ ยา สืบเทพ..................................................................................................................373 ภาพรวมของวิทยานพิ นธไ์ ทยท่ีศกึ ษาเรอื่ งคำยมื ภาษาต่างประเทศในภาษาไทยระหวา่ ง พ.ศ. 2528-2556 ................................................................................................................................ 386 นยิ า บิลยะแม และ สเุ มตตา ประสาทแกว้ ..............................................................................................................386 บทบาทของอวัจนภาษาในนวนิยายเรื่อง เดอะ รีดเดอร์ ....................................................................... 401 ทัตพชิ า สกุลสืบ นิตยา มูลปนิ ใจ สุประวณี ์ แสงอรณุ เฉลิมสขุ และ สริ ิญญา สขุ สวัสดิ์.........................................401 สภาพปัญหาการจดั การเรียนการสอนของนักศึกษาช้ันปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาไทย................................ 413 วธุ ยา สืบเทพ และ กนกกาญจน์ วระสีหะ................................................................................................................413 20

โครงการประชมุ วิชาการระดับนานาชาติ เครือขา่ ยความรว่ มมือทางวชิ าการและวัฒนธรรม 4 สถาบันการศึกษา โฆษณาตลกในวัฒนธรรมประชานิยมไทย............................................................................................ 428 Daria Borisova.....................................................................................................................................................428 การศกึ ษาประเภทและบทบาทหนา้ ท่ีของคตชิ นวิทยา : บ้านสามหม่ืน เมืองเฟือง แขวงเวยี งจนั ทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว .............................................................................................. 439 กาญจนา คำผา .......................................................................................................................................................439 กลิ่นกาสะลอง : ภาพสะทอ้ นวิถชี ีวิตชาวลา้ นนาภายใต้สงั คมพหุวฒั นธรรม......................................... 455 รุจิเรข บญุ ญราศรี ...................................................................................................................................................455 นกั เรยี นที่ดเี ปน็ อยา่ งไร: กลวธิ ีทางภาษาเพอ่ื ส่ืออดุ มการณ์นักเรียนท่ีดี ในเพลงประจำโรงเรียน ........... 471 รตนมน พรมขอม พรรณรมณ อินทรกูล ฉัตรรพี ภู่โชติ และ นภทั ร อังกูรสนิ ธนา..................................................471 คำใหมด่ ้านการใชส้ ่อื สังคมออนไลนภ์ าษาไทย-เกาหลี : ระดบั ความโปร่งใสของคำ .............................. 488 เกวลิน ศรมี ว่ ง .........................................................................................................................................................488 ประวัตขิ องการเรียนการสอนภาษาไทยเปน็ ภาษาต่างประเทศในสถาบันอดุ มศึกษาของรัสเซีย หลกั สตู รปรญิ ญาตรี (ควบโทแบบโซเวียต).......................................................................................... 503 เวรา อวี าโนวา.........................................................................................................................................................503 การวิเคราะห์และเปรียบเทียบคำเรยี กสแี ละทัศนคติต่อสี ในชดุ สภี าษาไทยและภาษาจนี ของลิปสติก SIVANNA COLORS คอลเลกชัน (HF360) ........................................................................................ 516 วิภาวี ขอสวัสดิ์ และ Meng Zhu (朱蒙)............................................................................................................516 การสอนและการวจิ ยั ด้านภาษาไทยในประเทศจีน ............................................................................... 533 Bo Wenze .............................................................................................................................................................533 การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาตา่ งประเทศในสาธารณรฐั เกาหลี....................................................... 540 ปารค์ คฺยอง อึน.......................................................................................................................................................540 L’ENSEIGNEMENT DU THAI EN FRANCE ..................................................................................... 554 Émilie Testard.....................................................................................................................................................554 LE GRAND VIDE : de la traduction en français des œuvres littéraires classiques siamoises.......................................................................................................................................... 576 Émilie Testard.....................................................................................................................................................576 แนวทางการปรบั สร้างมาตรฐานชดุ คำไทยพน้ื ฐานอิงเกณฑ์ CEFR เพ่อื พัฒนาสอ่ื การสอนภาษาไทย สำหรับผ้เู รียนชาวตา่ งชาตริ ะดบั A1 และ A2...................................................................................... 591 โฆษิต ทพิ ยเ์ ทยี มพงษ์..............................................................................................................................................591 21

โครงการประชุมวชิ าการระดับนานาชาติ เครือข่ายความรว่ มมอื ทางวชิ าการและวฒั นธรรม 4 สถาบันการศกึ ษา ภาพแทนความทรงจำเมอื งลำปางจากมวิ เซยี มลำปาง1 Wu Meng Qi2 ภาณุวฒั น์ สกลุ สบื 3 และ ทตั พิชา สกุลสืบ4 2นกั ศึกษาสาขาวชิ าภาษาไทยเพอ่ื การสอื่ สารสำหรับชาวตา่ งประเทศ คณะมนษุ ยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ ม.ราชภฏั ลำปาง 3อาจารยป์ ระจำสาขาวิชาภาษาไทย (ศศ.บ.) คณะมนษุ ยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภฏั ลำปาง 4อาจารยป์ ระจำสาขาวิชาภาษาไทยเพ่อื การส่อื สารสำหรบั ชาวต่างประเทศ คณะมนษุ ยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์ ม.ราชภฏั ลำปาง บทคดั ย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพือ่ ศึกษาภาพแทนความทรงจำเมืองลำปางจากมิวเซียมลำปาง โดยใช้แนวคิดความทรงจำ ศึกษา (Memory Study) และแนวคิดเก่ียวกับภาพแทน (Representation) มาใชใ้ นการวเิ คราะห์ ผลการศึกษาพบวา่ มิวเซยี ม ลำปางบอกเล่าความทรงจำเกี่ยวกับเมืองผ่านสื่อแห่งความทรงจำ (media memory) 4 ประเด็น คือ 1. เมืองที่มีผู้คน หลากหลายและมีคนอาศัยอยู่ที่นี่มาอย่างต่อเนื่อง 2. เมืองแห่งพระพุทธศาสนา 3. เมืองสำคัญบนเส้นทางการค้าและการรบ และ 4. เมืองที่ร่ำรวยภูมิปัญญา ภาพแทนเหล่านี้ถูกประกอบสร้างขึ้นเพื่อสร้างจุดขายแก่นักท่องเที่ยว และผลิตซ้ำความเปน็ เมืองเก่าอนั ทรงคณุ ค่าและน่าสนใจของลำปาง คำสำคญั : ภาพแทน ความทรงจำศกึ ษา สอื่ แห่งความทรงจำ มิวเซยี มลำปาง 1บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรื่อง ภาพแทนความทรงจำ : การศึกษาเปรียบเทียบพิพิธภัณฑ์ คุนหมิงและมวิ เซยี มลำปาง 36

โครงการประชมุ วชิ าการระดบั นานาชาติ เครอื ขา่ ยความรว่ มมอื ทางวชิ าการและวฒั นธรรม 4 สถาบนั การศกึ ษา Representations of Memory from Museum Lampang1 Wu Meng Qi2, Panuwat Sakulsueb3 and Tatpicha Sakulsueb4 2Student, Department of Communicative Thai for Foreigners, faculty of Humanities and Social Sciences, Lampang Rajabhat University 3Lecturer, Department of Thai Language, Faculty of Humanities and Social Sciences, Lampang Rajabhat University 4Lecturer, Department of Communicative Thai for Foreigners, faculty of Humanities and Social Sciences, Lampang Rajabhat University Abstract The objective of this article aimed at studying the representations of memory of Lampang from Museum Lampang by using concept of memory study and representation for analysis. The result found that Museum Lampang told the memory about city via media memory in 4 dimensions that were 1. City of various people and history 2. City of Buddhism 3. City of trade and war and 4. City of rich wisdom. These representations were constructed for being a visiting point for tourist and reproduced the images of valuable old town and attractive Lampang. Keywords: Representation, Memory Study, Media Memory, Museum Lampang 1บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรื่อง ภาพแทนความทรงจำ : การศึกษาเปรียบเทียบพิพิธภัณฑ์ คนุ หมิงและมวิ เซียมลำปาง 37

โครงการประชมุ วชิ าการระดับนานาชาติ เครอื ขา่ ยความร่วมมือทางวชิ าการและวัฒนธรรม 4 สถาบันการศึกษา 1. บทนำ (Introduction) Museum แปลเป็นภาษาไทยคือ พิพิธภัณฑ์ มีที่มาจากภาษากรีกโบราณว่า Mouseion หมายถึง “สถานที่หรือเทวาลัยที่สร้างขึ้นเพื่อถวายให้กับคณะเทวีแห่งศิลปวิทยาการ (Muses) ทั้ง 9 พระองค์ ทั้งหมด เป็นบุตรีของเทพเจ้าซุส (Zeus) เทพแห่งสายฟ้า และพระแม่เนโมซีเน (Mnemosyne) เทวีแห่งความทรงจำ (Goddess of Memory)” (จิรา จงกล, 2532, อ้างถงึ ใน สดุ แดน วิสทุ ธิลักษณ์, 2559, น. 23) จากความหมาย และเทพปกรณัมขา้ งต้นทำให้เหน็ ความสัมพันธ์ระหว่างความทรงจำและพพิ ธิ ภัณฑไ์ ด้เป็นอย่างดี กลา่ วคือ หาก ความทรงจำคือมารดาแห่งศิลปวิทยา ภายในพิพิธภณั ฑ์ก็ย่อมเต็มไปด้วยงานด้านศลิ ปวัฒนธรรมหรือเรื่องราว ความทรงจำของกลุ่มชนเจ้าของวัฒนธรรมที่เล่าผ่านวัตถุสิ่งของ งานศิลปกรรม ฯลฯ ดังทัศนะของณรงค์ฤทธิ์ สมุ าลี (2550, น. 216) ทก่ี ลา่ วถึงความสำคญั ของส่งิ ต่าง ๆ ทีจ่ ัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ไวอ้ ยา่ งนา่ สนใจวา่ ...พิพิธภัณฑ์และวัตถุที่สะสมจึงทำหน้าที่เรียกคืนความทรงจำเกี่ยวกับประสบการณ์ในอดีต กลับมาตอบสนองความตอ้ งการทางจิตวิทยา ตลอดทั้งยืนยันและให้ความมั่นใจว่าตนเองยังอยูใ่ นโลก เดิมทีค่ ุ้นเคย บำบดั ความไมม่ ่ันคงในการดำรงอยู่อันเกิดจากความกังวลต่อการเปล่ียนแปลงในปัจจุบัน รวมทั้งช่วยทดแทนการเลือนหายไปของสิ่งแวดล้อมของความทรงจำ (environments of memory) ที่คุ้นเคย ซึ่งครั้งหนึ่ง “ความทรงจำ” และ “ภาพตัวแทน” ของความทรงจำและอดีตนั้นเคยเป็นส่วน หนึ่งของประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นพิพิธภัณฑ์จึงเข้ามารับบทบาทในฐานะของพื้นที่แห่ง ความทรงจำ (site of memory) โดยเชื่อว่าจะเป็นช่องทางที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถติดต่อกับอดีต ดัง้ เดมิ (authentic past) ทีค่ ุ้นเคยได”้ ในแวดวงของการศึกษาพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ “ความทรงจำศึกษา (memory study)” นับเป็นศาสตร์ แขนงใหม่ที่ได้รับความสนใจจากวงวิชาการในต่างประเทศ เช่น เยอรมัน อังกฤษ และประเทศในเครือสหราช อาณาจักร ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1980 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ นัทธนัย ประสานนาม (2557, น. 297 -299) กล่าวถึง ความเป็นมาของการศึกษาความทรงจำว่า เกิดจากการหายไปของบุคคลผู้เป็นประจักษ์พยานของเหตุการณ์ สำคญั ในประวตั ิศาสตร์มนุษยชาติ เชน่ เหตกุ ารณฆ์ า่ ล้างเผ่าพันธ์ุชาวยวิ ในสงครามโลกครั้งท่ี 2 เป็นต้น ทำให้ สื่อหรือวัตถุต่าง ๆ ที่กักเก็บความทรงจำ เช่น ประวัติศาสตร์นิพนธ์ อนุสาวรีย์ และภาพยนตร์ กลายเป็นที่พึ่ง สำหรับการถ่ายทอดความทรงจำ และสาเหตุอีกประการหนึ่งคือ แนวคิดของนักวิชาการกลุ่มนี้ที่ไม่ได้ศึกษา อดีตที่เกิดขึ้นจริงหากแต่มองอดีตในฐานะประดิษฐกรรมของมนุษย์ ฉะนั้นหากจะพิจารณาถึงวัตถุโบราณ รูปภาพเกา่ ๆ ข้าวของเครื่องใชใ้ นอดีต ตลอดจนข้อมลู ความรู้ท่ตี ิดตามผนังหรือนำเสนอในสื่อมัลติมีเดียต่าง ๆ ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ว่าเป็นสื่อแห่งความทรงจำ (media memory) พิพิธภัณฑ์เปรียบเสมือนโกดังใน “อาณาจักรแห่งความทรงจำ” ดังที่ปิแอร์ นอร่า (Pierre Nora, 1984, อ้างถึงใน เยาวนุช เวศร์ภาดา, 2545, น. 32-33) ไดก้ ลา่ วไว้วา่ รูปธรรมของ “พื้นที่แห่งความทรงจำ” ครอบคลุมบริบทของพื้นที่และเวลา นับตั้งแต่พื้นท่ี ทางภูมิศาสตร์ ภูมิทัศน์ (landscape) พรมแดนของประเทศ บุคคลในประวัติศาสตร์ อนุสาวรีย์ อาคาร ภาษา วรรณกรรม คำขวัญ อนุสาวรยี ์ พิพธิ ภณั ฑ์ วัตถุทางศลิ ปะ สญั ลักษณ์ จนถึงของที่ระลึก 38

โครงการประชุมวิชาการระดบั นานาชาติ เครือข่ายความร่วมมอื ทางวิชาการและวฒั นธรรม 4 สถาบันการศึกษา องค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้หลอมรวมขึ้นเป็น “อาณาจักรแห่งความทรงจำ” ซึ่งถูกสร้างขึ้นแทนสิ่งท่ี ไม่มีอยู่ในสังคมขณะนี้อีกแล้ว ภาพอดีตที่สร้างขึ้นมา ถือเป็นปฏิบัติการทางความหมาย (hermeneutic practice) ซ่งึ เกดิ จากการจดั วางตรรกะของการสร้าง “พน้ื ทแ่ี ห่งความทรงจำ” ข้นึ มา ใหม่ จากแนวคิดเกี่ยวกับความทรงจำศึกษาและความสัมพันธ์ที่มีต่อพิพิธภัณฑ์ในฐานะที่เป็นพื้นที่แห่ง ความทรงจำ (site of memory) ดังกล่าวแล้วข้างต้นจะนำมาใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ภาพแทนความทรงจำ ของเมอื งลำปางท่ีถูกนำเสนอผ่านส่อื ความทรงจำต่าง ๆ ทจ่ี ดั แสดงผา่ นห้องนทิ รรศการท้งั 16 ห้องของมิวเซียม ลำปาง ซ่งึ เพ่งิ เปดิ ใหบ้ รกิ ารอย่างเปน็ ทางการครัง้ แรกเมื่อ 12 มกราคม พ.ศ. 2562 (ประพนั ธ์ สุขทะใจ, 2562) ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี มิวเซียมลำปางแห่งนี้ได้เริ่มดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2554 โดยความร่วมมือของ เทศบาลนครลำปางกับสถาบันพิพิธภัณฑ์ การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) และเครือข่ายภาคประชาชนจังหวัด ลำปาง ได้รว่ มกันหารือเกย่ี วกับแกน่ ความคดิ ของมวิ เซียมลำปางว่า “ลำปางแต๊ก่ะ” และเพอื่ ให้ผู้เข้าชมได้เห็น ภาพนี้ร่วมกัน จึงได้มีการจัดแสดงนิทรรศการชุด “คน-เมือง-ลำปาง” ขึ้นมา ดังปรากฏข้อมูลในเว็บไซต์ museumthailand.com (มิวเซยี มไทยแลนด์, 2562) ดงั นี้ มวิ เซียมลำปาง จดั แสดงนทิ รรศการชุด “คน-เมือง-ลำปาง” โดยนำเสนอผา่ นหวั ข้อหลกั ๆ ว่า ด้วยเรื่อง “คน” ที่มีบทบาทสำคัญปรากฎอยู่ในเรื่องราวของจังหวัดลำปาง โดยเฉพาะผู้มีส่วนสำคัญ ต่อประวัติศาสตร์ โบราณคดี เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม หัวข้อที่ 2 ว่าด้วยเรื่องของ “เมือง” ลำปาง ที่จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับนครลำปางตั้งแต่อดีตจนถึงลำปางในอนาคต การเปลี่ยน ผ่าน และเหตุการณ์สำคัญในอดีตส่งผลอย่างไรมาถึงภาพของลำปางในยุคปัจจุบัน และสุดท้ายใน หัวข้อ “ลำปาง” มิวเซียมได้สำรวจและเก็บรวบรวมทั้งความเหมือนและแตกต่างทุกๆ ด้าน เพื่อตาม หา ‘ลำปางแต้ๆ’ ทุกซอกทุกมุมจากทั้ง 13 อำเภอ นำมาจัดแสดงด้วยรูปแบบที่ทันสมัยผสมผสาน เทคโนโลยีแบบอนิ เตอร์แอ๊กทฟี โดยแบ่งออกเปน็ 16 ห้องนทิ รรศการ งานวิจัยนี้มีความคาดหวังว่า ผลการศึกษาจะช่วยให้เข้าใจถึงวิธีคิดในการนำเสนอภาพความทรงจำ ของเมืองลำปางผ่านสื่อความทรงจำต่าง ๆ ที่ถูกเลือกมาจัดแสดงได้ในที่สดุ เมื่อผสานเข้ากับแนวคิดภาพแทน จะทำให้การวิเคราะห์ลึกซึ้งถึงวัตถุประสงค์ของการเลือกนำเสนอความทรงจำแต่ละประเภท ซึ่งในเบื้องต้น สันนิษฐานวา่ เป็นไปเพอื่ เน้นย้ำอัตลักษณ์ของจังหวัดลำปางและธำรงรักษาวฒั นธรรมท้องถ่ิน 2. ทฤษฎที เี่ กยี่ วขอ้ ง สจ๊วร์ต ฮอลล์ (Stuart Hall, 1997, อ้างถึงใน สุรเดช โชติอุดมพันธ์, 2548, น. 2-3) ได้เสนอวิธี การศกึ ษา “การนำเสนอภาพแทน” ในเชิงการสร้างความหมายซ่งึ ต้ังอยู่บนความเช่ือพน้ื ฐานท่วี ่า การนำเสนอ ภาพแทนนั้นไมใ่ ช่กระบวนการที่โปร่งใส หากแต่เป็นกระบวนการที่แอบแฝงการผลิตความหมาย กล่าวคือ ผู้ท่ี นำเสนอได้ใส่ “ความหมาย” ลงไปในกระบวนการนำเสนอ จากแนวคดิ ของ ฮอลลแ์ ละแนวคิดเก่ียวกับสื่อแห่ง ความทรงจำ (media memory) ว่าสามารถกักเก็บความทรงจำบางอย่างหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ กักเก็บ 39

โครงการประชุมวชิ าการระดับนานาชาติ เครือขา่ ยความร่วมมอื ทางวิชาการและวฒั นธรรม 4 สถาบันการศึกษา “ความหมาย” ที่ต้องการนำเสนอไว้ ฉะนั้นการที่เทศบาลนครลำปางกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรยี นรู้แห่งชาติ (สพร.) และเครือข่ายภาคประชาชนจังหวัดลำปาง ได้ร่วมกันกำหนดให้มิวเซียมลำปางอยู่ภายใต้แนวคิดที่ว่า “ลำปางแต๊ก่ะ” ก็เปรียบเสมือนการกำหนดภาพแทนของลำปางผ่านการเล่าเรื่องราวโดยใช้สื่อความทรงจำ ต่าง ๆ ที่ได้คัดเลือกและจัดแสดงในนิทรรศการทั้ง 16 ห้องของมิวเซียมลำปางนั่นเอง ดังสรุปเป็นแผนภาพได้ ดังนี้ ภาพท่ี 1 แสดงกรอบความคดิ ในการศกึ ษาภาพแทนความทรงจำเมอื งลำปางจากมิวเซยี มลำปาง ความทรงจาท่ถี กู เลือก สอ่ื ความทรงจำ ภาพแทนความทรงจำ (วัตถสุ ง่ิ ของ, รูปภาพ, เมืองลำปาง ปา้ ยข้อความ ฯลฯ) 3. ขอ้ มลู และวธิ ีการวจิ ยั 3.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล การศึกษาความทรงจำในครั้งนี้ จะรวบรวมข้อมูลความรู้ที่ปรากฏในแผ่นป้าย แผ่นพับ สื่อมัลติมีเดีย รปู ปน้ั รปู หลอ่ และวัตถสุ ิ่งของต่างๆ ทจี่ ดั แสดงในมวิ เซียมลำปางจำนวนท้ังส้ิน 16 หอ้ ง ไดแ้ ก่ 1. ก่อร่างสร้าง ลำปาง 2. เปิดตำนาน 3. ผ่อผาหาอดีต 4. ประตูโขงโยงรากเหง้า 5. สี่สหายฉายประวัติ 6. แง้มป่องส่องเวียง 7. ไก่ขาวเล่าวันวาน 8. จุดเปลี่ยนเมืองลำปาง 9. รางเหล็กข้ามเวลา 10. รถม้าพาม่วน 11. วัดพม่าหน้าตา อินเตอร์ 12. อารามลำปาง 13. คมปัญญา 14. ซับป๊ะเสียงสำเนียงลำปาง 15. ลำปางมีดีเมืองนี้ห้ามพลาด 16. เนี่ยะ...ลำปาง 3.2 การวเิ คราะห์ขอ้ มลู การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิจัยโดยศึกษาจากเอกสาร (Documentary Methodology) และการเกบ็ ขอ้ มลู ภาคสนาม (Fieldwork) และมขี ัน้ ตอนการวิเคราะหว์ จิ ยั ต่อไปนี้ 1. ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกบั ภาพแทนและแนวคิดเก่ียวกับความทรงจำศกึ ษา 2. ศึกษาเอกสารท่เี กี่ยวข้องกับเมืองลำปาง 3. ศกึ ษาเอกสารและงานวิจยั ทเี่ ก่ยี วข้องกบั การศึกษาพิพธิ ภัณฑ์ 4. ลงพื้นทีศ่ ึกษาข้อมูลจากสอื่ ความทรงจำท่ีจัดแสดงในมิวเซยี มลำปาง 5. วิเคราะห์ภาพแทนเมืองลำปางจากวัตถุความทรงจำ เช่น รูปปั้น รูปภาพ สิ่งของ ฯลฯ หรือข้อมูล ความทรงจำทถี่ กู เล่าผ่านนทิ รรศการและสอ่ื มัลติมีเดยี ทีจ่ ัดแสดงในห้องต่าง ๆ ของมิวเซยี มลำปาง 6. นำเสนอผลการศึกษาด้วยวธิ กี ารพรรณนาวเิ คราะห์ 40

โครงการประชุมวชิ าการระดบั นานาชาติ เครอื ขา่ ยความร่วมมอื ทางวิชาการและวฒั นธรรม 4 สถาบนั การศกึ ษา 4. ผลการวิจยั จากการศึกษาวิเคราะหส์ ื่อความทรงจำทจี่ ัดแสดงในห้องตา่ ง ๆ ของมวิ เซยี มลำปางท้ัง 16 ห้อง พบว่า มีการสือ่ ภาพแทนความทรงจำของเมืองลำปางใน 4 ลกั ษณะ ดังนี้ 4.1 เมอื งที่มผี คู้ นหลากหลายเชอ้ื ชาตแิ ละมคี นอาศัยอยทู่ น่ี ม่ี าอย่างต่อเน่ืองยาวนาน การประกอบสรา้ งภาพแทนความทรงจำของลำปางในฐานะเมืองท่ีมีผู้คนหลากหลายเช้ือชาติและมีคน อาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนาน นำเสนอผ่านการประกอบสร้างจากวัตถุความทรงจำเทียม รูปภาพเก่า และ สื่อมัลตมิ เี ดียต่าง ๆ โดยนำเสนอผา่ นนทิ รรศการจำนวน 3 ห้อง คอื ห้องที่ 1 ก่อร่างสร้างลำปาง เล่าเรื่องผ่านสื่อความทรงจำประเภทสื่อมัลติมีเดียภายในห้อง ได้แก่ วิดีโอ ป้ายอธิบายข้อมลู และหุ่นจำลองเรอื งแสงของกลมุ่ คนที่เคยอาศยั อยูใ่ นจงั หวัดลำปางตามช่วงเวลา ที่แตกต่างกัน คือ 1) มนุษย์เกาะคา พบหลักฐานว่าเคยอาศัยอยู่ที่ลำปางเมื่อ 500,000 ปีที่แล้ว 2) มนุษย์ ประตูผา เคยอาศัยอยู่ในเส้นทางการค้าโบราณที่ประตูผาเมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อน 3) คนลัวะ สันนิษฐาน ว่าเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย มีอายุอยู่ในยุคเดียวกับมนุษย์ประตูผาเช่นกัน 4) คนละโว้ นำโดยพระนางจามเทวีจากเมืองหริภญุ ชัยหรือลำพูนมาสรา้ งเมืองลำปางยุคแรกท่ีเรียกว่าเขลางค์ นคร เมื่อ 1,300 ปีก่อน 5) คนเชียงใหม่ มาปกครองลำปางในยุคที่ล้านนาตกอยู่ใต้อิทธิพลของพม่าในช่วง 700 ปีก่อน 6) คนอังกฤษ คนพม่า คนไทยญวน คนจีน และไทยใหญ่ ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในลำปางในช่วง 200 ปีที่แล้ว จากการทำอุตสาหกรรมป่าไม้ การค้าขายผ่านการล่องเรือจากปากน้ำโพขึ้นมายังแม่น้ำวัง และ 7) คนกรุงเทพฯ และคนจีนกลุ่มใหม่ ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในลำปางในช่วงที่ล้านนาได้รวมเป็นหนึ่งเดียวกับ ประเทศสยาม พรอ้ มกับการสร้างทางรถไฟเดินทางมาถงึ ลำปาง ในชว่ ง 100 ปมี านี้ ห้องที่ 3 “ผ่อผาหาอดีต” แสดงข้อมูลบนผนังเกี่ยวกับการขุดค้นพบทางโบราณคดีเกี่ยวกับ มนุษย์เกาะคา และภาพเขียนสีที่ถ้ำประตูผา นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงแผ่นหินจำลองที่มีรูปเขียนสีต่าง ๆ จากผนังถ้ำประตผู าจำนวน 9 แผ่นอกี ด้วย ห้องที่ 14 ซับป๊ะเสียงสำเนียงลำปาง เป็นการนำเสนอภาพของผู้คนที่อาศัยอยู่ในจังหวัด ลำปางในปัจจุบัน ผ่านข้อมูลบนผนัง สื่อมัลติมีเดีย และชุดลำโพงที่ใชส้ ำหรับฟัง “สำเนียง” ของคนลำปางท้งั 13 อำเภอ นอกจากนี้ยังเปิดพื้นที่ให้กับ “ภาษา” ของกลุ่มชนเผ่าหรือกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ม้ง จีน กะเหรี่ยง สะกอ เยา้ มูเซอ ขมุ ลีซอ ลัวะ อาขา่ และไทลื้อ ท่อี าศัยอยู่ในจงั หวัดลำปางอีกด้วย โดยนำเสนอผ่านจอแผนที่ ภาษาเพ่อื ช้ีใหเ้ ห็นว่าภาษาเหลา่ น้ีกระจายตวั อยู่ในพื้นทใ่ี ดบ้างของจังหวดั ลำปาง 41

โครงการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ เครอื ขา่ ยความรว่ มมือทางวชิ าการและวฒั นธรรม 4 สถาบนั การศึกษา รปู ที่ 2 และรูปท่ี 3 แสดงบรรยากาศในหอ้ งนทิ รรศการ “กอ่ รา่ งสรา้ งลำปาง”ท่เี ล่าผา่ นส่อื ความทรงจำ คือ วดี ทิ ัศน์ และหนุ่ จำลองเรืองแสง 4.2 เมืองแห่งพระพุทธศาสนา ภาพแทนความทรงจำของลำปางในฐานะเมืองแห่งพระพุทธศาสนานำเสนอผ่านการประกอบสร้าง จากหนังสอื E-Book สมุดภาพขนาดใหญ่ และวตั ถคุ วามทรงจำเทียม รูปภาพเก่า ฯลฯ จำนวน 4 ห้อง คอื ห้องที่ 2 เปิดตำนานอ่านลำปาง เล่าเรื่องผ่านสื่อความทรงจำประเภท สมุดภาพ และ E-Book ห้องที่ 4 ประตูโขงโยงรากเหง้า เล่าเรื่องผ่านสื่อความทรงจำ เช่น ซุ้มประตูโขงจำลอง และ เกมภาพเลื่อน จิกซอว์ ในสือ่ มลั ตมิ ีเดีย ห้องที่ 12 พอดีพองาม อารามลำปาง เล่าเรื่องผ่านซุ้มประตูโขงจำลอง และสื่อมัลติมีเดีย เกี่ยวกับโครงสร้างของวัดสำคัญในลำปาง จำนวน 3 วัด ได้แก่ 1. วัดไหล่หิน 2.วัดปงยางคก 3.วัดพระธาตุ ลำปางหลวง หอ้ งที่ 15 ลำปางมีดี เมืองนี้หา้ มพลาด เลา่ เร่ืองผา่ นวัตถสุ ่งิ ของทีใ่ ช้ในการสักการะบูชาของ วัดปงสนกุ เหนือ เช่น สัตตภณั ฑ์ ขันดอก หีบธรรม ฯลฯ (เป็นห้องเดียวทจ่ี ดั แสดงวัตถุความทรงจำของจริง) 42

โครงการประชมุ วิชาการระดับนานาชาติ เครอื ขา่ ยความรว่ มมือทางวชิ าการและวฒั นธรรม 4 สถาบันการศกึ ษา รูปท่ี 4 แสดงซุ้มประตโู ขงจำลองและจิกซอวง์ านแสดงพุทธศิลป์ท่มี คี วามโดดเด่นจากวัดต่าง ๆ ของจงั หวัดลำปาง 4.3 เมืองสำคัญบนเส้นทางการคา้ และการรบ ภาพแทนความเป็นเมืองสำคัญของการค้าและการรบนำเสนอผ่านการประกอบสร้างจากวัตถุ ความทรงจำเทียม รปู ภาพเก่า และสอ่ื มัลตมิ ีเดียตา่ ง ๆ จำนวน 4 ห้อง คอื รปู ท่ี 5 แสดงบรรยากาศสถานรี างรถไฟนครลำปางและภาพรางรถไฟท่เี ชอ่ื มเข้าไปในอโุ มงค์ขนุ ตาล ท่ไี ด้ช่ือวา่ เป็นอโุ มงคร์ ถไฟที่ยาวทส่ี ดุ ในประเทศไทย 43

โครงการประชุมวชิ าการระดบั นานาชาติ เครอื ขา่ ยความรว่ มมอื ทางวิชาการและวฒั นธรรม 4 สถาบันการศึกษา ห้องที่ 5 สี่สหายฉายประวัติ เล่าเรือ่ งผ่านสือ่ มัลติมีเดีย 3 มิติ และข้อมูลเกี่ยวกับการสู้รบที่ เกิดข้นึ ท่ลี ำปาง ในยคุ ที่ยงั เรยี กว่าเมอื งเขลางค์นคร และเวียงลคอร ห้องที่ 6 แง้มป่องส่องเวียง เล่าเรื่องผู้คนและชมุ ชนกาดกองต้าของลำปาง ผ่านวอลเปเปอร์ รูปภาพเก่า และประตหู น้าตา่ งจำลอง ห้องที่ 9 รางเหล็กข้ามเวลา เล่าเร่ืองผ่านสถานีรถไฟลำปาง (จำลอง) และข้อมูลการสร้าง เสน้ ทางขนสง่ ทัง้ ถนนและรางรถไฟสายเหนือ ทีอ่ ยู่บนรางรถไฟจำลอง และวอลล์เปเปอร์ ห้องที่ 10 รถม้าพาม่วน เล่าเรื่องเส้นทางการวิ่งรถมา้ ในตัวเมืองลำปางในปัจจบุ ันผ่านรถม้า จำลองและสอ่ื มัลตมิ เี ดีย 4.4 เมืองทีร่ ่ำรวยภมู ปิ ัญญา ภาพแทนความเป็นเมืองที่ร่ำรวยภูมิปัญญานำเสนอผ่านการประกอบสร้างจากวัตถุ ความทรงจำเทียม รูปภาพเก่า และส่อื มัลตมิ เี ดียต่าง ๆ จำนวน 3 หอ้ ง คือ ห้องที่ 12 พอดีพองาม อารามลำปาง เล่าเรื่องผ่านสื่อมัลติมีเดียเกี่ยวกับวิหารของวัดใน ลำปางทอี่ อกแบบมาใหเ้ หมาะสมกบั สภาพอากาศ หอ้ งท่ี 13 เหลีย่ มคดิ คมปญั ญา เล่าเร่ืองภูมิปัญญาของชาวลำปางในการสร้างวดั การถนอม อาหาร ฯลฯ ผ่านสิ่งของเครือ่ งใช้ตา่ ง ๆ ทีพ่ มิ พไ์ วใ้ นโคมลอยจำลอง ห้องที่ 15 ลำปางมีดี เมืองนี้ห้ามพลาด เล่าเรื่องผ่านวัตถุสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวันของ ชาวลำปาง เช่น เครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักสานประเภทกล่องข้าวจากไม้ไผ่ และหมอนขวาน (เป็นห้องเดียว ท่ีจดั แสดงวตั ถคุ วามทรงจำของจรงิ ) รปู ที่ 6 และ รปู ที่ 7 แสดงโคมลอยล้านนนาซ่งึ ภายในมขี อ้ มลู ภูมิปญั ญาดา้ นต่าง ๆ ของชาวลำปางไวใ้ หเ้ ข้าไปอา่ น 44

โครงการประชมุ วิชาการระดับนานาชาติ เครือข่ายความร่วมมือทางวชิ าการและวฒั นธรรม 4 สถาบนั การศกึ ษา 5. สรุปและอภปิ รายผล จากการศึกษาพบวา่ มิวเซยี มลำปางมกี ารนำเสนอภาพแทนความทรงจำของเมืองใน 4 ประเภท ไดแ้ ก่ 1. เมืองที่มีผู้คนหลากหลายและมีคนอาศัยอยู่ที่นี่มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน 2. เมืองแห่งพระพุทธศาสนา 3. เมืองสำคัญบนเส้นทางการค้าและการรบ และ 4. เมืองที่ร่ำรวยภูมิปัญญา โดยภาพแทนเหล่านี้แสดงผ่าน การใชส้ ่ือความทรงจำหลากหลายรูปแบบจึงช่วยให้การเดนิ ชมนิทรรศการในห้องต่าง ๆ น่าสนใจ นักท่องเท่ียว สามารถเข้าไปหยิบจับหรือทำกิจกรรมร่วมกับสื่อสมัยใหม่ที่จัดแสดงในมิวเซียมลำปางได้ด้วย เช่น การหมุน ภาพเพื่อต่อจิกซอว์งานพุทธศิลป์ที่มีความโดดเด่นในจังหวัดลำปาง การใช้มือสัมผัสหน้าจอเพื่อเลื่อนหน้า เอกสาร E-Book ที่เล่าเรื่องตำนานต่าง ๆ ของจังหวัดลำปาง การเอาหูเข้าไปแนบลำโพงเพื่อฟังสำเนียงถ่ิน อันหลากหลายของชาวลำปางและกลุ่มชาติพันธ์ุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัดลำปาง ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ เมื่อวิเคราะห์ร่วมกับทฤษฎีภาพแทนพบว่า เป็นการประกอบสร้างความทรงจำเพื่อเสนอภาพแทนของเมือง ลำปางในลักษณะของพหุวัฒนธรรม (multiculturalism) ที่ช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของ ชมุ ชนหรือจงั หวดั ภายใตอ้ ดุ มการณ์ทนุ นิยมท่ีเป็นกระแสหลักของการดำเนนิ นโยบายตา่ ง ๆ ของรฐั มากกวา่ จะ เป็นการมุ่งให้ข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน นิทรรศการแต่ละห้องนำเสนอแต่ภาพแทนของความกลมกลืน ผสมผสานของผู้คนและการเปลย่ี นผา่ นของยคุ สมัยราวกับว่าไม่มีความขัดแย้งใด ๆ เกดิ ข้นึ เลย แต่ละห้องที่จัด แสดงจึงเต็มไปด้วยของดี ของเสมือนจริง และเรื่องราวดี ๆ ที่จะช่วยจุดประกายความอยากรู้อยากเห็นของ นักทอ่ งเทย่ี วให้ออกไปชมสถานทีจ่ ริงหรือไปดขู องจรงิ ยังพน้ื ท่ีจริงนน่ั เอง ผลการศึกษาภาพแทนความทรงจำใน ครั้งนี้จึงเป็นไปในลักษณะเดียวกับผลการศึกษาของณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี (2550) ที่ศึกษาวิจัยเรื่อง วาทกรรม พิพิธภณั ฑท์ ้องถ่นิ ในสงั คมไทย : ศกึ ษากรณพี ิพิธภณั ฑ์ในภาคอีสาน โดยมีวตั ถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1. เพ่ือ ทบทวนและวิพากษ์การก่อรูปและแปรรูป“พิพิธภัณฑ์” ที่ส่งอิทธิพลผลต่อการสร้างความหมายและตวั ตนของ “วาทกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น” ในสังคมไทย โดยพิจารณาในลักษณะการปฏิสัมพันธ์เชิงวิภาษวิธีกับเงื่อนไข ของบริบทแวดล้อมของแต่ละช่วงเวลา และ 2. เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจกระบวนการสร้าง “วาทกรรม” และ “ตัวตน” ผ่าน “ภาพตัวแทน” ที่สะสมและจัดแสดงในพพิ ิธภัณฑ์ ตลอดทั้งวธิ ีการรับรู้และการแสดงออก ต่อมโนทัศน์ที่สัมพันธ์กับพิพิธภณั ฑ์ของผู้คนในพื้นที่กรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า“พิพิธภัณฑ์กับชาติ” และ “พิพิธภัณฑ์กับท้องถิ่น” มีมโนทัศน์พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกันคือ “พิพิธภัณฑ์” “ชาติ” “มรดก” “ความทรงจำ” และ “ความรู้/อำนาจ” สำหรับกรณีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นอีกหนึ่งของ “เทคโนโลยี อำนาจ” ที่ถูกใช้เพื่อผลิตและผลิตซ้ำอุดมการณ์และวาทกรรม “ชาติ” ทั้งนี้ผ่านการชี้นำของญาณทัศน์ (episteme) หรืออภิเรื่องเล่าที่เป็นตัวกำหนดกรอบการมอง “ความดี ความงาม ความจริง” ของสังคมไทย ส่วนผลการศกึ ษา “วาทกรรมพิพิธภัณฑท์ ้องถนิ่ ” ซึง่ ถอื วา่ เปน็ การเคล่ือนไหวทางสังคมรูปแบบหนึ่งท่ีเข้ามารับ บทบาทในการตอบโต้กับปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมในสังคม ไม่ว่าจะเป็นความพยายามที่จะ ช่วงชิง ตอบโต้และร่วมตีความหมายของ “ชาติ” จากมุมมองที่หลากหลายหรือเสริมพลังเพื่อสร้างพื้นที่ของ ท้องถิ่นและคนธรรมดาให้มีตัวตนขึ้นมา อย่างไรก็ตาม “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น” ที่เป็นอยู่และ “วาทกรรม พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น” อันเป็นตัวแบบอุดมคติที่ อยากเป็นนั้น ก็ดูจะลักลั่นและห่างไกลกัน 45

โครงการประชุมวิชาการระดบั นานาชาติ เครือข่ายความรว่ มมือทางวชิ าการและวัฒนธรรม 4 สถาบนั การศกึ ษา อยู่นัก ดังนั้น การดำรงอยู่ของ “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรณีศึกษา” จึงเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่สะท้อนอารมณ์ โหยหาอดตี และสนุ ทรียภาพรวมหม่ขู องผู้จดั ทำเท่านั้น 6. ขอ้ เสนอแนะสำหรับการนำงานวิจยั ไปใช้ประโยชน์ เทศบาลนครลำปางซึ่งเป็นผู้ดำเนินการและรับผิดชอบงานต่าง ๆ ของมิวเซียมลำปาง สามารถนำ ผลการศึกษาในครั้งนี้ไปปรับปรุงการจัดทำข้อมูลอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง เช่น การล่มสลายของระบบ เจ้าหลวง การเสียสิทธิ์การเก็บค่าตอไม้ของผู้ครองนครลำปางและเจ้านายฝ่ายเหนือ การรื้อหอคำมาสร้างเปน็ ศาลากลาง ฯลฯ ท้งั นเี้ พอ่ื ให้ผเู้ ขา้ มาเยย่ี มชมไดเ้ ขา้ ใจเรื่องราวต่าง ๆ อย่างรอบด้าน รูปท่ี 8 แสดงจำนวนลูกปิงปองท่ีนกั ทอ่ งเท่ยี วเลอื กให้เป็น “ลำปาง” ในห้องนิทรรศการหอ้ งท่ี 16 “เนย่ี ะ...ลำปาง” นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตสำหรับการปรับปรุงข้อมูลในส่วนนิทรรศการของห้องที่ 16 ซึ่งใช้ชื่อว่า “เนี่ยะ...ลำปาง” ท่ีเปน็ การถามนักท่องเท่ียวว่า “คุณชอบอะไรในลำปาง” หลังจากเดินชมห้องตา่ ง ๆ จนครบ แลว้ กลบั มีบางข้อมูลท่ีเป็นการสรุปภาพแทนความทรงจำของเมืองลำปางท่ีไม่สอดคล้องกับการประกอบสร้าง เรื่องราวต่าง ๆ ที่เล่าผ่านสื่อความทรงจำทั้ง 15 ห้อง ดังปรากฏว่ามีข้อความบนหลอดแก้วแท่งที่ 6 ว่า “ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดี ๆ” สำหรับให้นักท่องเที่ยวเลือกให้คะแนน ทั้ง ๆ ที่ภาพแทน ความทรงจำของมิวเซยี มไม่ไดใ้ ห้รายละเอยี ดหรือกลา่ วถึงมากไปกว่าวา่ เคยเป็นเมืองทบี่ ริษทั ต่างชาติเคยเข้ามา ทำสัมปทานปา่ ไม้ 46

โครงการประชมุ วิชาการระดับนานาชาติ เครือขา่ ยความร่วมมอื ทางวิชาการและวฒั นธรรม 4 สถาบันการศึกษา เอกสารอา้ งองิ ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี. (2550). วาทกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในสังคมไทย : ศึกษากรณีพิพิธภัณฑ์ในภาคอีสาน. วิทยานิพนธ์มานุษยวทิ ยามหาบณั ฑิต. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั . นัทธนัย ประสานนาม. (2557). Memory in Culture. วารสารมนุษยศาสตร์. ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม- ธนั วาคม. หน้า 297-307. ประพันธ์ สขุ ทะใจ, (2019). ‘มวิ เซยี มลำปาง’เปิดให้บริการแลว้ เตรียมจดั กจิ กรรมทุกเดือน, [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.naewna.com/likesara/387421, เขา้ ดเู ม่ือวนั ท่ี 05/09/2562. มิวเซียมไทยแลนด์, (2562). มิวเซียมลำปาง, [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.museumthailand .com/th/museum/Museumlampang, เขา้ ดเู ม่อื วนั ที่ 05/09/2562. เยาวนุช เวศร์ภาดา. (2545). วาทกรรมความรู้ในการฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่น : กรณีศึกษาอุทยานการศึกษา- หมู่บ้านวัฒนธรรมเขาขุนศรี ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (มานุษยวิทยา). คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร์. สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. (2559). ปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์ : บทเรียนจากคนอื่น. กรุงเทพฯ: สถาบันพิพิธภัณฑ์ การเรยี นรแู้ ห่งชาติ. สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2548). วาทกรรม ภาพแทน และอัตลักษณ์. เอกสารประกอบการบรรยายวรรณคดี ศึกษาในบริบทสังคมและวัฒนธรรม 2, [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www. phd- lit.arts.chula.ac.th/Download/discourse.pdf?fbclid=IwARqrKLJjpUulSebM7 mJxJQRhzE1 VFDMrSkGeDKVkPYo9cPkvdz8ypAWZ0, เขา้ ดูเม่อื วันท่ี 07/09/2562. 47