จิตวิทยา จัดทำโดย นางสาวฟารีดา ท่าศร รหัสนักศึกษา 6406910092 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E- Book) นี้ จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียน การสอนรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครูผู้จัดทำได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความ หมายจิตวิทยา ขอบข่ายจิตวิทยา ทฤษฎีจิตวิทยา ศาสตร์ทางจิตวิทยา ครบ ถ้วนทั้งด้านเนื้อหาสาระ เป็นขั้นตอน เพื่อให้ได้มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหา มากยิ่งขึ้นนำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจมีภาพประกอบให้เห็นภาพจริง ประกอบการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book)รายวิชา จิตวิทยาสำหรับครูเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน ตลอด จนนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงาน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป ได้ ผู้จัดทำ นางสาวฟารีดา ท่าศร รหัสนักศึกษา 6406910092
สารบัญ เรื่อง หน้า ความหมายจิตวิทยาสำหรับครู…………………………………………………………….1 ขอบข่ายจิตวิทยา……………………………………………………………………………...2 วัตถุประสงค์/จุดมุ่งหมาย………………………………………………….……………….4 พัฒนาการของมนุษย์………………………………………………………………………...5 พฤติกรรมของมนุษย์………………………………………………………………………...8 การเรียนรู้………………………………………………………………………………………..12 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม………………………………………………………………….14 ความจำมนุษย์………………………………………………………………………………….16 ความคิดและเชาวน์ปัญญา………………………………………………………………..18 การรับรู้…………………………………………………………………………………………...22 จิตวิทยาการจัดการเรียนรู้………………………………………………………………....23 การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปกติ……………………………………………………....24 การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ……………………………………………………..27 แรงจูงใจ………………………………………………………………………………………....30 การแนะแนว………………………………………………………………………………….…33 การให้คำปรึกษา……………………………………………………………………………...34 การสร้างแรงบันดาลใจใฝ่เรียน………………………………………………………..…37 บรรณานุกรม……………………………………………………………………………….....38
1 ความหมายจิตวิทยาสำหรับครู ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ(กระบวนการคิดของจิต) กระบวนการคิดและพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยา เช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูล ของมนุษย์) อารมณ์ บุคลิกภาพ พฤติกรรม และรูปแบบความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล จิตวิทยาสำหรับครู เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเพื่อให้ผู้สอนมีความ รู้ ความเข้าใจ ความแตกต่างและความต้องการของผู้เรียนในอันที่จะ สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปสู่แนวทางอันพึงประสงค์ได้ โดยผู้สอนควรมีความรู้ ความเข้าใจของผู้เรียน จิตวิทยาสำหรับครูเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเพื่อให้ผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจความแตกต่างและความต้องการของผู้เรียนในอันที่จะสามารถ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปสู่แนวทางอันพึงประสงค์ได้โดยผู้ สอนควรมีความรู้ ความเข้าใจความพร้อมของผู้เรียน
2 ขอบข่ายจิตวิทยา 1.จิตวิทยาทั่วไป (General Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทั่วไปของมนุษย์การรับรู้ การเรียนรู้ อารมณ์ ความรู้สึก สติ ปัญญา ประสาทสัมผัส เป็นต้น จิตวิทยาสาขาพื้นฐานของ การเรียนจิตวิทยาสาขาอื่นต่อไป 2.จิตวิทยาพัฒนาการ (Deve lopmental Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของพัฒนาการเจริญเติบโตในแต่ละวัยต่างๆ ของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา 3.จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์และพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่ม สังคม ปฏิกิริยาตอบสนองของบุคคลที่อยู่ร่วมกัน เจตคติและความคิดเห็น ของกลุ่มชน 4.จิตวิทยาการทดลอง (Ezperimenta Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทและพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ในห้อง ทดลอง 5.จิตวิทยาการแนะแนว (Guidance Psychology) นักจิตวิทยาแนะแนวทำหน้าที่ให้คำแนะนำให้แนวทางและให้คำปรึกษา สถานศึกษากับนักเรียนนักศึกษาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้มีปัญหาด้านการ ปรับตัว ปัญหาการเรียน และปัญหาส่วนตัว 6.จิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychology) นักจิตวิทยาคลินิกทำงานในโรงพยาบาลที่มีคนไข้โรคจิต สถาบันเลี้ยงเด็ก ปัญญาอ่อนหรืออาจเปิดเป็นคลินิกส่วนตัวก็ได้ 7.จิตวิทยาประยุกต์ (Applied Psychology) เป็นการนำหลักการทางจิตวิทยามาใช้ประโยชน์ในสาขาวิชาชีพต่างๆเช่น ธุรกิจ อุตสาหกรรม การแพทย์ การทหาร เป็นต้น
3 8.จิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงาน ผลกระทบของสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อการทำงานแรงจูงใจในการทำงานการคัดเลือกคนงาน การ ประเมินผลงาน 9.จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology) ศึกษาสิ่งที่เกี่ยวกับงานด้านการเรียนการสอนการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นวิชาที่สำคัญสำหรับครูและนักการศึกษา ่ 10.จิตวิทยาการทดลอง (Experimental Psychology) มีการศึกษาโดยการทดลองกับมนุษย์และสัตว์ทั้งในสภาพแวดล้อม ทั่วไปและในห้องปฏิบัติการวิทีการศึกษาส่วนใหญ่ใช้การสังเกต
4 วัตถุประสงค์/จุดมุ่งหมาย จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมภายนอกและ พฤติกรรมภายใน โดยมีจุดมั่งหมายดังต่อไปนี้ 1. เพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมภายนอก หรือพฤติกรรม–ภายในที่เรียกว่า กระบวนการทางจิต จะทำให้เข้าใจตนเอง และผู้อื่นได้ดีขึ้น 2 .เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถอธิบายพฤติกรรม ทั้งหลายที่เกิดขึ้นได้ว่ามีปัจจัยใด บ้างที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดพฤติกรรมต่างๆ โดยนักจิตวิทยาทั้งหลาย จะใช้วิทีการทางวิทยาศาสตร์ในการค้นหาคำตอบเพื่ออธิบายพฤติกรรมทั้ง หลายเหล่านี้ 3. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถทำนายพฤติกรรม หมายถึงการคาดคะแนนผลที่จะ เกิดขึ้นจากสาเหตุต่างๆได้อย่างถูกต้อง 4. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถควบคุมพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ให้ลดลงหรือ หมดไป และขณะเดียวกันให้สามารถเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงปรารถนาให้ เกิดขึ้นใหม่ได้ด้วย 5. เพื่อให้ผู้ศึกษานำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับ การเกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5 พัฒนาการของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ เช่น ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติ ปัญญาของบุคคลอย่างมีขั้นตอนและเป็นระเบียบแบบแผนโดยจะเป็นการ เปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพเพื่อให้บุคคลนั้นพร้อมจะแสดงความสามารถใน การกระทำกิจกรรมใหม่ที่เหมาะสมกับวัย หลักของการพัฒนาและวิธีการศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ 1.พัฒนาการต้องอาศัยวุฒิภาวะ และการเรียนรู้ประกอบกัน 2.พัฒนาการจะเริ่มจากส่วนใหญ่ไปส่วนย่อย ส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง ส่วนกลาง ไปสู่ส่วนปลาย 3. พัฒนาการจะไปตามแบบฉบับของพัฒนาการ 4.พัฒนาการจะต่อเนื่องกันไปตามลำดับตลอดเวลา 5.อัตราการพัฒนาในแต่ละส่วนของร่างกายจะแตกต่างกัน 6.พัฒนาการทุก ๆ ด้านจะมีความสำคัญควบคู่กันไป 7.อัตราการพัฒนาของแต่ละคน จะแตกต่างกันทำให้เกิดลักษณะเฉพาะแต่ละ บุคคล 8.พัฒนาการในแต่ละวัยจะมีลักษณะเฉพาะตัวของมัน 9.พัฒนาการเป็นสิ่งที่อาจทำนายหรือคาดคะเนได้ 10.พัฒนาการจะดำเนินควบคู่ไปกับความเสื่อม 11.การพัฒนาทุกด้านทุกขั้นไปอย่างสะดวก
6 พัฒนาการของบุคคลในวัยต่างๆ 1.วัยทารก เป็นวัยที่อยู่ระหว่างแรกเกิดจนถึง2ปี พัฒนาการด้านต่างๆ ในวัยนี้ ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของพัฒนาการในวัยต่อๆ ไป 2.วัยเด็ก วัยนี้อยู่ในช่วงอายุประมาณ 2-12 ปี เป็นระยะที่ร่างกายจะเจริญ เติบโตช้าลงกว่าในวัยทารกโดยเฉพาะในระยะเริ่มต้นของวัยแต่จะเกิดการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วชัดเจนอีกครั้งเมื่อเข้าสู่ช่วงปลายของวัย วัยเด็ก ตอนต้น อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 3-5 ปี เป็นวัยที่แสดงความก้าวหน้าทาง ด้านพัฒนาการในทุกด้าน วัยเด็กตอนกลาง อยู่ในช่วงอายุ 6-9 ปี พัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กในวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมไม่ มากนัก วัยเด็กตอนปลาย อยู่ในช่วงอายุ 10-12 ปี ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ สำคัญของวัยเด็ก ทั้งนี้เนื่องจากเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในทุก ด้านหลายประการ 3.วัยรุ่น วัยนี้จะอยู่ในช่วงอายุ 12-20 ปี นับว่าเป็นวัยที่มีความสำคัญมากอีก วัยหนึ่ง อาจกล่าวได่ว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต เนื่องจากเป็นวัยที่ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งกลุ่มเพื่อนจะมีบทบาทสำคัญต่อ พัฒนาการทางสังคมของวัยรุ่นในการที่จะค้นพบตัวเอง
7 4.วัยกลางคน วัยผู้ใหญ่ วัยนี้เริ่มต้นตั้งแต่อายุ 21 ปีขึ้นไปจนตลอดชีวิต ผู้ใหญ่ เป็นอีกวัยที่มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ คือ นอกจากจะเป็นวัยแห่งความ สมบูรณ์สูงสุดของพัฒนาการในด้านต่างๆ ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และ สติปัญญา ยังเป็นวัยเริ่มต้นแห่งความแห่งเสื่อมของพัฒนาการทุกด้านอีก ด้วย วัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 20-40 ปี เป็นวัยแห่งการทำงาน มีครอบครัว และความมั่งคงให้กับตนเอง วัยกลางคน อายุ 40-60 ปี เป็นวัยแห่งการเริ่ม ต้นความเสื่อมของร่างกาย 5.วัยชรา วัยชรา วัยนี้เริ่มต้นตั้งเเต่อายุ 60 ปีขึ้นไป ในวัยนี้จะมีการ เปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย ทางสมอง ทางอารมณ์และทาง สังคม จึงเป็นวัยที่คนส่วนมากกลัว ดังนั้นการได้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง ต่างๆ ดังกล่าวก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้ปรับตัวได้ดียิ่งขึ้นรวมทั้งบุตรหลาน หรือผู้ใกล้ชิดมีส่วนสำคัญมากในการช่วยให้ท่านปรับตัวได้ เป็นวัยที่จะต้อง ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนในครอบครัวเป็นพิเศษทั้งด้านร่ากายและ จิตใจ
8 พฤติกรรมของมนุษย์ การกระทำต่างๆของมนุษย์ทั้งทางด้านจิตใจซึ่งไม่สามารถสังเกตได้ และด้านการแสดงออกซึ่งสามารถสังเกตได้ซึ่งการกระทำทั้งสองชนิดเกิดจาก การควบคุมหรือสั่งการของ ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมองและไขสันหลัง พฤติกรรมของมนุษย์ แบ่งเป็น 2 ประเภท 1.พฤติกรรมภายนอกหรือการแสดงออกของมนุษย์ การกระทำ หรือการแสดงออกด้านกิริยาท่าทางต่างๆ ของมนุษย์ เช่น การเดิน การพูด การเล่น การแสดงสีหน้าและ กิจกรรมอื่นๆ ซึ่งบุคคลสามารถใช้เป็น สื่อหรือสัญญาณในการสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจได้ 2.พฤติกรรมภายในหรือจิตใจของมนุษย์ ความคิด ความรู้สึก จินตนาการ และคำศัพท์อื่นๆ ทางด้านจิตวิทยา เช่น การ รับรู้ เจตคติ อารมณ์ ความจำ หรือประสบการณ์ เป็น ต้น พฤติกรรมภายในมี ลักษณะเป็นนามธรรม ซึ่งไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าหรือเครื่องมือทาง วิทยาศาสตร์ พฤติกรรมของมนุษย์มี 2 แบบ 1.พฤติกรรมภายใน พฤติกรรมที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้เช่น ความรู้สึก ความคิด เป็นต้น 2.พฤติกรรมภายนอก พฤติกรรมที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้เช่นการไหลเวียนโลหิตของ ร่างกาย เราสามารถใช้เครื่องทางวิทยาศาสตร์ตรวจวัดได้
9 พฤติกรรมของมนุษย์ซึ่งสามารถรวบรวมทัศนะต่างๆ เป็นหมวดหมู่ได้ 3 ประเภท 1.พฤติกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นจากแรงผลักดันภายในตัวของมนุษย์ 2.พฤติกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นจากแรงผลักดันของสิ่งแวดล้อม 3.พฤติกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นจากทั้งแรงผลักดันภายในตัวมนุษย์และสิ่ง แวดล้อม พฤติกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นจากแรงผลักดันภายในตัวของมนุษย์ แรงผลักดันที่ทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมาก็คือ ความ ต้องการ ซึ่งความต้องการนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ 1.ความต้องการทางด้านร่างกาย เป็นแรงผลักดันที่อยู่ในระดับพื้นฐานที่สุดแต่มีพลังอำนาจสูงสุด เพราะเป็นแรงผลักดันที่จะทำให้ชีวิตอยู่รอด มนุษย์จะต่อสู้ดิ้นรนทุกวิถีทาง เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่จะมาบำบัดความต้องการทางร่างกายทำให้มนุษย์แสดง พฤติกรรมต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นทั้งทางที่ดีที่ถูกต้องหรือทางที่ไม่ถูกต้องก็ได้ ความต้องการทางร่างกายที่จะทำให้ชีวิตอยู่รอด ได้แก่ ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ อุณหภูมิที่พอเหมาะ การพักผ่อน การขับถ่าย การสืบพันธุ์ ความ ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆการตอบสนองความต้องการทางร่างกาย อัน ทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมออกมานั้น สามารถกระทำได้ 2 ระดับ คือ 1.กิริยาสะท้อน เป็นการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ที่เป็นไปได้โดย ธรรมชาติ เช่น เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ร่างกายก็จะขับเหงื่อออก มาเป็นการลดอุณหภูมิให้อยู่ในระดับพอเหมาะ 2.พฤติกรรมเจตนา เป็นการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ต่อสิ่งเร้าโดยความ ตั้งใจหรือความพอใจของตนเอง เช่น เมื่อรู้สึกตัวว่าร้อนก็จะไปอาบน้ำ หรือ เปิดพัดลม เป็นต้น
10 2.ความต้องการทางจิตใจ เป็นแรงผลักดันที่อยู่ในระดับสูงขึ้นกว่าความต้องการทางร่างกาย แต่มี พลังอำนาจน้อยกว่า เพราะความต้องการทางจิตใจนี้ ไม่ใช่ความต้องการที่เป็น ความตายของชีวิต จะเป็นความต้องการที่มาช่วยสร้างเสริมให้ชีวิตมีความสุข ความสบายยิ่งขึ้นเท่านั้นมีนักจิตวิทยาหลายคนได้อธิบายถึงแรงผลักดันภายใน ร่างกาย อันมีผลทำให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่างๆ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากแรงผลักดันของสิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ของมนุษย์เป็นสิ่งที่ทำให้คนเราเกิดการเรียนรู้ที่จะกระทำ พฤติกรรมเมื่อเกิดมานั้น มนุษย์มิได้มีความรู้ติดตัวมาแต่อย่างใด ล้วนแล้วแต่ ต้องเรียนรู้ภายหลัง จากเกิดมาแล้วทั้งสิ้น ต่อเมื่อมีประสบการณ์แล้วจึงจะ เรียนรู้และจดจำประสบการณ์นั้นเอาไว้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการแสดง พฤติกรรมในอนาคตต่อไปผลการกระทำของคนเรามีอยู่ 2 ประการคือ ผลการกระทำของคนเรา 1.ผลการกระทำที่ทำให้พอใจ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นแรงเสริมให้แก่การกระทำนี้มีต่อไป(เงื่อนไขแห่งการ เสริมแรง) เช่น พฤติกรรมที่ทำแล้วได้รับคำชมเชย ได้ตำแหน่ง ได้เงิน ได้รับ การยกย่อง ฯลฯ ก็จะมีโอกาสสูงมากที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต 2.ผลการกระทำที่ทำให้ไม่พอใจ ซึ่งจะเป็นตัวการที่ทำให้คนเราหยุดพฤติกรรมหรือการกระทำอันจะนำ มาซึ่งผลการกระทำเช่นนี้ในอนาคต (เงื่อนไขแห่งการลงโทษ) เช่น ทำแล้วถูก ตำหนิ เสียตำแหน่ง เสียเงิน ถูกทำร้าย ถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม ฯลฯ ก็จะหยุดไป
11 ลักษณะความแตกต่างของพฤติกรรมมนุษย์ 1.ความแตกต่างทางอารมณ์ (EMOTION) 2.ความแตกต่างทางความถนัด (APTITUDE) 3.ความแตกต่างของความประพฤติ (BEHAVIOUR) ลักษณะความแตกต่างของพฤติกรรมมนุษย์ 4.ความแตกต่างของความสามารถ (ABILITY) 5.ความแตกต่างของทัศนคติ (ATTITUDE) 6.ความแตกต่างของความต้องการ (NEEDS) 7.ความแตกต่างของรสนิยม (TESTS) 8.ความแตกต่างทางสังคม (SOCAIL) 9.ความแตกต่างของลักษณะนิสัย (HABIT)
12 การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์เดิม ทำให้คนเผชิญกับสถานการณ์เดิมต่างไปจากเดิม เป็นการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมทั้งภายนอกและภายในรวมลักษณะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม กระบวนการที่บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การพัฒนาความคิดและ ความสามารถ โดยอาศัยประสบการณ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน และสิ่ง แวดล้อม การเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท 1.การเรียนรู้สังกัป การเรียนรู้สังกัปเป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะจัดประเภทของสิ่งเร้าโดย พิจารณาจากคุณสมบัติต่าง 2.การเรียนรู้ทักษะ การเรียนรู้ทักษะช่วยให้เกิดความคล่องแคล่วทางกลไกและทำให้ผล การกระทำมีประสิทธิภาพ 3.การเรียนรู้เจตคติ การเรียนรู้เจตคติและความซาบซึ้งจะมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกและ แรงจูงใจนับเป็นรากฐานของการที่จะพัฒนาคนให้มีความฝักใฝ่ค้นคว้าหรือที่ จะทำให้เกิดทักษะและสังกัป 4.การเรียนรู้การแก้ปัญหาและการคิด การเรียนรู้การแก้ปัญหาและการคิดจะเป็นรากฐานที่จะพัฒนาบุคคล ให้สามารถแก้ปัญหาการปรับตัวและปรุงแต่งให้เป็นบุคคลประเภทสร้างสรรค์ ที่สังคมปรารถนา การเรียนรู้พฤติกรรม แบ่งได้ 4 ลักษณะ 1.การทำพฤติกรรมใหม่ 2.การเพิ่มพฤติกรรมที่เคยทำ 3.การเลิก/ลดพฤติกรรมที่เคยทำ 4.พฤติกรรมใดที่ไม่เปลี่ยนแปลงจึงไม่เรียกว่า เกิดการเรียนรู้
13 ผลของการเรียนรู้จะก่อให้เกิด 3 อย่าง 1.ความรู้ คือ มวลของประสบการณ์ที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ การ ปฏิบัติงาน มีการนําประสบการณ์ แบ่งได้ 3 องค์ประกอบ - ความรู้เชิงกระบวนการ : อธิบายกระบวนการที่เกี่ยวข้องได้ - ความรู้เชิงประจัก : วิเคราะห์ถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ - ความรู้เชิงเนื้อหา : อธิบายสาระสำคัญ ของเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้ 2.ทักษะความชำนาญ / ความเชี่ยวชาญ คือ ความชำนาญหรือความ สามารถในการกระทำหรือการปฏิบัติอย่างใดอย่าง แบ่งได้ 6 องค์ประกอบ - ทักษะพื้นฐาน : ทักษะทางด้านวัฒนธรรม - ทักษะการคิด : ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีระบบ - ทักษะการสื่อสาร : ภาษาต่างๆ - ทักษะส่วนบุคคล : สุขภาพและบุคลิกภาพดี - ทักษะการจัดการ : จัดการตัวเอง - ทักษะในงานอาชีพ : ทักษะความสามารถเฉพาะด้าน 3.เจตคติ คือ ภาพความรู้สึกทางด้านจิตใจที่เกิดจากประสบการณ์และการ เรียนรู้ของบุคคล แบ่งได้ 3 องค์ประกอบ - คุณธรรม : ยึดมั่น ความจริง ความดี และความงาม - จริยธรรม : มีความรับผิดชอบในหน้าที่และปฏิบัติตามสัญญา - ค่านิยม : กระแสความนิยมของบุคคล หรือกลุ่มคนในสังคมต่อเรื่องใด เรื่องหนึ่ง
14 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม ปัจจัยพื้นฐานของพฤติกรรมปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อพฤติกรรม ของมนุษย์ ประกอบด้วย ปัจจัยทางด้านชีววิทยา ปัจจัยทางด้าน สังคมวิทยา ปัจจัยทางด้านจริยธรรมจรรยา และปัจจัยทางด้านจิตวิทยา ซึ่งมีสาระโดย สังเขป ดังนี้ 1. ปัจจัยทางด้านชีววิทยา จิตวิทยามีความสัมพันธ์กับสรีรวิทยาอย่างใกล้ชิดทั้งนี้เพราะ พฤติกรรมภายในทั้งหลายที่นักจิตวิทยาสนใจศึกษาล้วนเป็นกระบวนการ ทำงานของระบบร่างกายทั้งสิ้นโดยเฉพาะกระบวนการทำงานของระบบ ประสาทซึ่งมีสมองเป็นศูนย์กลางดังนั้นการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์จึงจำเป็น ต้องศึกษาสรีรวิทยาของระบบประสาทและระบบอื่นๆของร่างกายจิตวิทยา แขนงที่ศึกษากระบวนการทางร่างกายนี้การที่เรารู้สึกว่าในขณะนี้อะไรเกิด ขึ้นในสิ่งแวดล้อมทั้งที่อยู่ภายนอก และภายในร่างกาย เช่น ได้ยินเสียง ได้ กลิ่น มองเห็น เป็นต้น คนเราจะต้องมีระบบอวัยวะรับเสียง ได้กลิ่น มองเห็น เป็นต้น คนเราจะต้องมีระบบอวัยวะทำหน้าที่คอยจับการเปลี่ยนแปลงของสิ่ง แวดล้อมนี้อยู่ตลอดเวลา แล้วส่งข่าวสารต่อไปยังสมองเพื่อให้เกิดความรู้สึก รับรู้ คิด และตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อตอบสนองการ เปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม 2. ปัจจัยทางด้านสังคมวิทยาสังคม มนุษย์ที่รวมกันอยู่เป็นหมู่คณะมีทั้งหญิงและชายตั้งภูมิลำเนาเป็น หลักแหล่ง ณ ที่ใดที่หนึ่ง การอยู่รวมกับผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใหญ่หรือกลุ่ม เล็กก็ตามจะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกัน มีสมาชิก ประกอบด้วยคนทุกเพศทุก วัยซึ่งมีการติดต่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยมีวัฒนธรรมหรือระเบียบ แบบแผนใน การดำเนินชีวิตเป็นของตนเอง การเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ จะต้องเข้าใจในวัฒนธรรม การศึกษา เศรษฐกิจ หรือการเมือง เพราะมนุษย์ เป็นสัตว์สังคม อยู่คนเดียวไม่ได้จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นและต้องมีการ ติดต่อ สังสรรค์คบหาสมาคมกับผู้อื่น นอกจากนี้พฤติกรรมของมนุษย์ก็เป็น ผลมาจากการหล่อหลอมโดยวัฒนธรรมของสังคมที่บุคคลนั้นอาศัยอยู่เช่นคน ไทยจะมีลักษณะบุคลิกภาพแตกต่างไปจากคนในประเทศอเมริกาหรือ ประเท ศอื่นๆ
3. ปัจจัยพื้นฐานทางจริยธรรมจรรยา 15 พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนจริยธรรมเป็นเสมือนบทบัญญัติของ ความดีและความงามของจิตใจที่ส่งผลให้บุคคลประพฤติดีประพฤติชอบ ปัจจัยพื้นฐานทางจริยธรรมจึงเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อการ ประกอบการในวิชาชีพของบุคคลในทุกสาขาอาชีพการทำความเข้าใจกับ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมจะทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพมี ความตระหนักถึงคุณประโยชน์และโทษที่เป็นผลสืบเนื่องจากการมีคุณธรรม จริยธรรมและการขาดคุณธรรมและจริยธรรม มีผู้ให้ความหมายของคำว่า จริยธรรมไว้ 4. ปัจจัยพื้นฐานทางจิตวิทยา ปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ ปัจจัยทาง จิตวิทยา ซึ่งมี ปัจจัยย่อยอยู่หลายปัจจัย ปัจจัยทางจิตวิทยาเป็นกระบวนการ ท างานของจิตเป็นพฤติกรรมทางความคิดและความรู้สึกแล้วส่งผลให้เกิด พฤติกรรม ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวอาจเป็นทั้งพฤติกรรมที่พึงประสงค์และไม่ พึง ประสงค์ ประกอบด้วยแรงจูงใจ และความต้องการของมนุษย์ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ไว้ 8ประการ ดังนี้ 1.พฤติกรรมมนุษย์เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานทางด้านชีวภาพและ ระบบประสาท 2. พฤติกรรมของมนุษย์มีความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งเกิดจากอิทธิพล ของพันธุกรรมและ ประสบการณ์ของแต่ละบุคคล 3.พฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ทั้งการเรียนรู้จาก อิทธิพลของปัจจัยทาง สังคมวัฒนธรรม การสืบทอดทางเผ่าพันธุ์ และความ แตกต่างด้านเพศ 4.พฤติกรรมของมนุษย์มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างเป็น ระบบและเป็น กระบวนการต่อเนื่องนับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยชรา 5.พฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความ ต้องการส่วนตัวและความ ต้องการทางสังคม 6. พฤติกรรมของมนุษย์มักจะเกิดจากสาเหตุหลายประการในเวลาเดียวกัน 7.พฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมทางสังคมหมายถึงมนุษย์มีความ สามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและมนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องการความรัก ความเข้าใจจากผู้อื่น 8.พฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นจากประสบการณ์ของ ตนเอง
16 ความจำมนุษย์ ความจำ ของมนุษย์เกิดจากการทำ งานร่วมกันของความจำ 3 ส่วน เริ่มตั้งแต่ข้อมูล ถูกส่งจากหน่วยความจำที่เกี่ยวกับความรู้สึก ไปยังหน่วย ความจำระยะสั้นโดยเลือกเฉพาะตัวกระตุ้นที่มนุษย์กำลังให้ความสนใจ เท่านั้น และข้อมูลที่จะถูกส่งต่อไปยังหน่วยความจำ ระยะยาวจะเป็นข้อมูลที่ เกิดจากการถูกกระตุ้นมายังหน่วยความจำ ระยะสั้นอย่างบ่อยครั้ง หน่วยความจำ ของมนุษย์ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1.หน่วยความจำเกี่ยวกับความรู้สึก คือ การรับรู้ด้วยความรู้สึกผ่านการมอง เห็น การได้ยิน เป็นต้น 2.หน่วยความจำ ระยะสั้น คือ ความจำ ซึ่งเราตั้ง ตั้งใจจดจำ ไว้ชั่วคราวไม่กี่ นาที และถ้าไม่มีการทบทวนความทรงจำ ก็จะลืมไปได้เช่นกัน 3.หน่วยความจำ ระยะยาว คือ ความจำ ที่เราทบทวนอยู่เสมอ ทำ ให้เปลี่ยน จากความจำ ระยะสั้นมาเป็นความจำ ระยะยาว ซึ่งอาจอยู่ได้นานเป็นปี หรือ ตลอดชีวิตก็ได้ การจดจำ คือการจัดเก็บหรือการจำได้จะต้องมีข้อมูลจากหน่วยความจำระยะ สั้นย้ายไปเก็บในหน่วยความจำระยะยาวซึ่งอาจเกิดจากการท่องจำข้อมูลการ จำได้นั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณการเรียนรู้เป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณเวลาที่ ใช้ในการเรียนและเวลาที่ใช้เรียนจะได้ผลที่สุดถ้ามีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการจำยากกว่าถ้าจากกลุ่มของคำที่แทนแนวคิดแต่จะง่ายกว่าถ้าจำจาก กลุ่มของแทนที่จำแทนโดยวัตถุ
17 การลืม คือการลืมข้อมูลเกิดจากข้อมูลในหน่วยความจำค่อยค่อยสลาย ไปอย่างช้าๆ ซึ่งมี 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีที่ 1 ข้อมูลเก่าจะถูกทับด้วยข้อมูลใหม่เช่นเมื่อเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ ใหม่ก็ยากที่จะจำเบอร์โทรศัพท์เก่าได้ ทฤษฎีที่ 2 ข้อมูลเก่าอาจถูกขวางไว้ด้วยข้อมูลใหม่เช่นเวลาขับรถมักจะขับ กลับไปที่เดิมสถานที่ไม่คุ้นชิน การดึงข้อมูลกลับมา การดึงข้อมูลกลับมาแบ่งได้เป็นการหวนละลึกและการจำแนกได้ การหวนละลึกได้ คือ ตัวข้อมูลสามารถถูกสร้างขึ้นอีกครั้งจากหน่วยความ จำ จากการแนะนำการไหม้หรือการบอกเป็นนัยยะ การจำแนกได้ คือ ตัวข้อมูลได้ให้ข้อมูลที่ถูกพบเห็นมาก่อนข้อมูล มักจะมี ความซับซ้อนน้อยกว่าการหวนละลึกได้ที่สำคัญคือตัวข้อมูลนั้นคือคำใบ้
18 ความคิดและเชาวน์ปัญญา การคิด การคิดเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสมองอันเนื่องมาจากการใช้ สัญลักษณ์ แทนสิ่งของ เหตุการณ์หรือ สถานการณ์ ต่าง ๆ การคิดเป็นกระ บวนการทางสมองที่ใช้สัญลักษณ์จินตภาพ ความคิดเห็นและความคิดรวบ ยอด แทนประสบการณ์ในอดีต ความเป็นไปได้ในอนาคต และความเป็นจริง ที่ปรากฏการคิดจึงทำให้คนเรามีกระบวนการทางสมองในระดับสูง กระบวนการเหล่านี้ได้แก่ ตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา จินตนาการ ความ ใส่ใจ เชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และอื่นๆ โครงสร้างทางสมองกับการคิด สมองเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกายที่เป็นศูนย์รวมของระบบ ประสาทเป็นศูนย์กลางในการควบคุม และจัดระเบียบ การทำงานทุกชนิด ของร่างกาย สมองของมนุษย์ ประกอบด้วยเซลล์ สมอง ประมาณ ร้อยล้าน ล้านเซลล์ ซึ่งเป็นจำนวนที่แตกต่างกัน ระหว่าง ทารกแรกเกิดกับผู้ใหญ่ แต่ใน ผู้ใหญ่เซลล์สมอง จะมีขนาดใหญ่และยาวกว่า และจะมีจำนวน เดนไดรท์ (dendrite) ของเซลล์สมองมากขึ้น ทำให้การเชื่อมโยงระหว่าง เซลล์สมอง มากขึ้น โดยเซลล์สมองเซลล์หนึ่งๆ จะเชื่อมโยงไปยังเซลล์สมองเซลล์อื่น ๆ อีกสองหมื่นห้าพันเซลล์ เพื่อส่งข่าวสารกันโดยกระแสประสาทจะเกิด ปฏิกิริยาแล้วแต่ว่าจะเป็นด้านรับ-ส่งสัมผัสต่างๆเช่นปฏิกิริยาการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อ ความรู้สึก ความจำ อารมณ์ทั้งหลาย ฯลฯ จึงผสมผสานกันขึ้น กลายเป็นการเรียนรู้นำ ไปสู่การปรับตัว อย่างเฉลียวฉลาดของมนุษย์แต่ละ คน
สมองของคนเรา 19 สมอง ที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะของเรานี้ มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม คว่ำ ส่วนโค้งอยู่ทางด้านบน ส่วนแบนอยู่ทางด้านล่าง มีแกนตรงกลางยาวยื่น ออกมาจากครึ่งทรงกลมนี้ทางด้านล่างเรียกว่า ก้านสมอง(brainstem) ก้าน สมองนี้มีส่วนต่อยาวเลยท้ายทอยลงไปส่วนที่ยาวมาจากท้ายทอยเมื่อพ้น กะโหลกศีรษะไปแล้วจะทอดตัวเป็นลำยาวภายในช่องตลอดแนวกระดูกสันหลัง เรียกว่า ไขสันหลัง แบ่งออกเป็น 2 ซีก 1.สมองซีกซ้าย จะควบคุมดูแลพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผลการคิด วิเคราะห์ซึ่งเป็นลักษณะการทำงานในสายของวิชาทางวิทยาศาสตร์( Sciences ) เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้สมองซีกซ้ายยังเป็น ตัวควบคุม การกระทำ การฟัง การเห็น และ การสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกายทางซีกขวา สมองซีกซ้ายจะควบคุม ดูแลพฤติกรรมของมนุษย์ใน เรื่องต่างๆ ต่อไปนี้ สมองซีกซ้าย 1.การคิดในทางเดียว (คิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง) 2.การคิดวิเคราะห์ (แยกแยะ) 3.การใช้ตรรกศาสตร์และการใช้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ 4.การใช้ภาษา มีทั้งการอ่านและการเขียน 2.สมองซีกขวา สมองซีกขวาจะควบคุมดูแลพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับความคิด สร้างสรรค์ จริยธรรมอารมณ์ ซึ่งเป็นลักษณะการทำงาน ในสายของวิชาการ ทางศิลปศาสตร์ ( Arts ) เป็นส่วนใหญ่ และยังเป็นตัวควบคุม การทำงานของ ร่างกายทางซีกซ้ายด้วย สมองซีกขวาจะควบคุมดูแลพฤติกรรมของมนุษย์ใน เรื่องต่างๆ ต่อไปนี้ สมองซีกขวา 1.การคิดสร้างสรรค์ 2.การคิดแบบเส้นขนาน ( คิดหลายเรื่อง ) 3.การคิดสังเคราะห์ ( สร้างสิ่งใหม่ ) 4.การเคลื่อนไหวของร่างกาย ความรัก ความเมตตา
20 ความสำคัญของการคิด การคิดเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่สำคัญที่สุดที่จะมีผลและรากฐาน ของการเปลี่ยนแปลงในชีวิต แต่ละบุคคลในการดำเนินงาน ของสังคม ถ้า คนแต่ละคนคิดดี คิดถูกต้อง คิดเหมาะสม การดำเนินชีวิตของคน และความ เป็นไปของสังคม ก็จะดำเนินไปอย่างมีคุณค่าสูง การคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ ของมนุษย์ การคิดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่ซับซ้อน สังคมจะก้าวหน้าต่อไปได้ก็เมื่อบุคคลในสังคมมีความคิด รู้จักคิดป้องกัน หรือคิดแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน และพัฒนาปรับปรุงภาวะต่างๆ ให้ดีขึ้น กระบวนการคิด มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ การคิดไม่มีขอบเขตจำกัด กระบวนการคิดของมนุษย์เป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนที่เริ่มจากสิ่งเร้ามาก ระตุ้นทำให้จิตใส่ใจกับสิ่งเร้า และสมองนำข้อมูล หรือความรู้ที่มีอยู่มา ประมวล เพื่อให้ได้ผลของการคิดออกมาเหตุของการคิดต้นเหตุของการคิด คือสิ่งเร้าที่เป็นปัญหาหรือสิ่งเร้าที่เป็นความต้องการหรือสิ่งเร้าที่ชวนสงสัย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ สิ่งเร้าที่เป็นปัญหา เป็นสิ่งเร้าประเภทสถานการณ์เหตุการณ์หรือสภาวะที่มากระทบ แล้ว จำเป็นต้องคิด เพื่อกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จะทำให้ปัญหานั้นลดไปหรือ หมดไป สิ่งเร้าที่เป็นความต้องการ เป็นความต้องการสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิมในแง่ต่างๆเช่นต้องการลด ต้นทุนในการผลิตสินค้า ต้องการทำงานโดยใช้เวลาน้อยลง ต้องการความ ปลอดภัยมากขึ้น จึงต้องการการคิด มาเพื่อทำให้ความต้องการหมด สิ่งเร้าที่ชวนสงสัย เป็นสิ่งเร้าแปลกใหม่ กระตุ้นให้สงสัย อยากรู้ ซึ่งในสภาพเดียวกัน สิ่งเร้าเดียวกัน อาจไม่อยากรู้ก็ไม่เกิดการคิด แต่ก็อยากรู้ซึ่งอาจเกิดจาก บุคลิกภาพประจำตัวที่เป็นคนช่างคิด ช่างสงสัย ทำให้ต้องการคำตอบเพื่อ ตอบข้อสงสัย ประเภทของการคิด 1.แบ่งตามตามขอบเขต 2.แบ่งตามความแตกต่างของเพศ 3.แบ่งตามความสนใจนักจิตวิทยา 4.แบ่งตามลักษณะทั่วไป
21 เชาวน์ปัญญา ความสามารถของบุคคลในการเรียนรู้การปรับตัวต่อปัญหาอย่างเหมาะ สมและความสามารถในอันที่จะทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างมีจุดมุ่งหมายและมี คุณค่าทางสังคม สามารถคิดอย่างมีเหตุผลสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม และสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาการของเชาวน์ปัญญา เชาวน์ปัญญาเป็นสิ่งที่บุคคลแต่ละคนมีติดตัวมาแต่กำเนิดและพัฒนา สมบูรณ์ยิ่งขึ้นตามระดับอายุและสิ่งแวดล้อมเชาวน์ปัญญาของแต่ละคนจะมี ลักษณะที่สูงต่ำไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ หลายอย่าง เช่น องค์ประกอบ 1.พันธุกรรม 2.ความสมบูรณ์ของสมองและระบบประสาท 3.สิ่งแวดล้อม 4.อายุ 5.เพศ 6.เชื้อชาติ 7.ความผิดปกติทางสมอง ระดับเชาวน์ปัญญา การจัดระดับเชาวน์ปัญญาเป็นเพียงการแสดงการเปรียบเทียบให้ ทราบว่าบุคคลหนึ่งมีความสามารถอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยสูงกว่าหรือต่ำกว่าระดับ อายุเมื่อเทียบกับบุคคลที่อยู่ในระดับอายุเดียวกันระดับเชาวน์ปัญญาได้จาก คะแนนที่มาจากการทดสอบเชาวน์ปัญญาด้วยแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาซึ่งมี อยู่หลายชนิดเพื่อให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับผู้รับการทดสอบ มีทั้งแบบ ทดสอบเพื่อดูความสามารถพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งและความสามารถทั่วไป หลายๆด้านรวมกัน ผลการทดสอบอาจให้คะแนนเป็นตัวเลข เช่น ไอคิวหรือคะแนนที่มี ความหมายบอกระดับความสามารถ เช่น เกรด และอายุสมอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ วิธีคำนวณหาค่าที่แสดงถึงระดับเชาวน์ปัญญาซึ่งแตกต่างกันไปในทางทดสอบ แต่ละแบบ
22 การรับรู้ หมายถึง การที่มนุษย์นำข้อมูลที่ได้จากความรู้สึกสัมผัส (Sensation) ซึ่งเป็นข้อมูลดิบ (Raw Data) จากประสาทสัมผัสทั้ง5 อันประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น และกาย สัมผัสมาจำแนก แยกแยะ คัดเลือก วิเคราะห์ด้วยกระบวนการท า งานของสมอง แล้วแปลสิ่งที่ได้ออกเป็น สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีความหมายเพื่อนำไปใช้ใน การเรียนรู้ต่อไป ลักษณะสำคัญของการรับรู้ ลักษณะที่สำคัญของการรับรู้มี6ประการ คือ 1. ต้องมีพื้นฐานข้อมูลหรือความรู้ในเรื่องนั้นมาก่อน (Knowledge Based) หรือ ถ้าไม่มีความรู้ อย่างน้อยก็ต้องมีประสบการณ์เดิมในเรื่องนั้นอยู่บ้าง 2. จะต้องประกอบด้วยข้อวินิจฉัย (Inferential) ในขั้นตอนของกระบวนการรับรู้ ทั้งนี้เพราะใน การรับรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง มนุษย์ไม่สามารถรับข้อมูลทุกชนิดในเรื่อง นั้นพร้อมกันได้ ดังนั้นจึงต้องอาศัย วิธีการวินิจฉัย โดยการตั้งสมมติฐานหรือปะติด ปะต่อเรื่องต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้การรับรู้ในสิ่งนั้นเกิด ความสมบูรณ์มากที่สุด 3. จะต้องมีความสามารถในการแยกแยะ (Categorical) ลักษณะหรือคุณสมบัติที่ สำคัญของ ข้อมูลนั้นได้อย่างถูกต้อง ซึ้งในลักษณะนี้จะต้องอาศัยความจำจาก ประสบการณ์เดิมมาใช้ 4. ลักษณะของการรับรู้จะต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยง (Relational) ของข้อมูล ต่าง ๆ หลาย ประเภท 5. กระบวนการของการรับรู้จะต้องอาศัยของการดัดแปลง (Adaptive) ข้อมูลจาก ประสบการณ์ เดิมมาใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละเรื่องที่กำลังรับรู้อยู่ในขณะนั้น 6. กระบวนการของการรับรู้มักจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการท างานของ สมองในการรับรู้ ข้อมูลต่างๆ มีการแปลความหมายจากสิ่งที่ได้สัมผัส และเกิดการ รับรู้สิ่งเร้านั้นในลักษณะของส่วนรวมที่มีความหมายกระบวนการของการรับรู้
23 กระบวนการของการรับรู้จะต้องประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้ 1. มีสิ่งเร้าที่จะรับเข้าสู่ร่างกายทางประสาทสัมผัสโดยผ่านอวัยวะรับสัมผัสทั้ง 5 2. ประสาทรับสัมผัส รับสิ่งเร้าเข้ามา ซึ่งประสาทสัมผัสและความรู้สึกสัมผัส เช่น หู ตา จมูก ลิ้น ผิวหนัง จะต้องสมบูรณ์พอที่จะสัมผัสสิ่งเร้านั้น และส่งต่อ ไปยังสมองเพื่อแปลความหมาย 3. การแปลความหมายเกิดจากประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิมเกี่ยวกับสิ่งเร้า ที่ได้สัมผัสนั้น เกิดการตอบสนองต่อสิ่งเร้า จิตวิทยาการจัดการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวรอันเป็นผล มาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่มาจากว่า เกิดการเรียนรู้ได้แก่พฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวและการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ ลักษณะของบุคคลที่เกิดการเรียนรู้ -พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวรจึงจะถือว่าเกิด การเรียนรู้ขึ้นหากเป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ จุดมุ่งหมาย พุทธนิยม : การเรียนรู้ในด้านความรู้ความเข้าใจ จิตพิสัย : การเรียนรู้ด้านทัศนคติค่านิยมความซาบซึ้งการปรับตัว ทักษะพิสัย : พฤติกรรมการเรียนรู้ที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้ อย่างคล่องแคล่ว ชำนาญนาน
24 การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปกติ การเรียนรู้ คือ การได้รับ ความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือ ความ พึงใจที่เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่และอาจเกี่ยวข้องกับการ สังเคราะห์ สารสนเทศ ชนิดต่าง ๆ ผู้ประมวลทักษะของการเรียนรู้เป็นได้ทั้ง มนุษย์ สัตว์ และ เครื่องจักร บางชนิด ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เมื่อเทียบกับ เวลามีแนวโน้มเป็น เส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ เด็กปกติ เด็กที่มีความปกติทางด้านร่างกาย สติปัญญา ไม่มีความ บกพร่อง พร้อมที่จะรับการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น เป็นเด็กที่มีการ พัฒนาไปตามช่วงวัย ที่ไม่เร็วและช้าเกินไป การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปกติ การรับเด็กเข้ารับการศึกษาทั่วไปในชั้นเรียนแต่จะใช้การบริหาร จัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับและเด็กปกติ คือ จะต้องถือหลักการดังนี้ 1.เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน 2.เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน 3.โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอน เด็กได้ทุกคน 4.โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน 5.โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้ มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
25 การจัดการเรียนรู้แบบเรียนรวม การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปกติที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุดเมื่อเปรียบ เทียบกับการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ การศึกษาแบบเรียนรวมจะมี บรรยากาศที่เป็นจริงตามสภาพของสังคมในปัจจุบัน ซึ่งทุกคนในโรงเรียนจะมี ความตระหนักเกี่ยวกับสิทธิความเสมอภาคในด้านการศึกษา มีความแตกต่าง กันตามศักยภาพในการเรียนรู้ มีความร่วมมือช่วยเหลือกันและกันเพื่อให้บรรลุ เป้าหมายของการเรียนรู้ ฝึกทักษะความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคม อย่างเป็นสุข มีความยืดหยุ่นและปฏิบัติตนตามสภาพจริงได้อย่างเหมาะสม ปรัชญาของการเรียนรู้แบบเรียนรวม การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ ว่า การศึกษาเพื่อทุกคน (Education for All) เพราะเด็กแต่ละคนจะมีความ แตกต่างทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ดังนั้นความต้องการ ของเด็กๆ ทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันแม้อยู่ในชั้นเรียนเดียวกัน โรงเรียน และครูจึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้เด็กทุกคนเรียนรวมกันและได้รับการพัฒนา เต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล องค์ประกอบการเรียนรู้ของเด็กปกติแบ่งได้ 3 ประการ 1.องค์ประกอบด้านสรีรวิทยา สาเหตุที่สืบเนื่องมาจากการทำงานผิดปกติของระบบการทำงานร่างกายเป็น เรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางร่างกายของเด็กเอง 2.องค์ประกอบด้านจิตวิทยา สติปัญญา อัตราเร็วของการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง การปรับตัว ทางอารมณ์และสังคม ความสัมพันธ์ระหว่าง ครอบครัวและเพื่อนๆ 3.องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม เด็กที่มีความปกติย่อมได้รับผลกระทบต่อการเรียนรู้ในด้านต่างๆ น้อยๆ และ หากเป็นแต่ก็อาจจะมีบ้างทางด้านด่างๆซึ่งจะมีผลกระทบต่อการเรียนรู้มากขึ้น
26 สิ่งที่ต้องเตรียมในการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปกติ SEAT S เตรียมผู้เรียน E เตรียมสภาพแวดล้อม A เตรียมกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน Tเตรียมสื่อสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการทางด้านการศึกษา หลักการการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กปกติ 1.เริ่มต้นจาการปรับทัศนคติของครู โดยต้องมีความเชื่อที่ว่าเด็กทุกคนแม้จะ แตกต่างกัน แต่ทุกคนนั้นสามารถพัฒนาได้ 2.ปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับการพัฒนาเด็กโดยเริ่มจากเรื่องที่เด็กมี ประสบการณ์เดิม เรื่องที่ง่ายและเรื่องที่ใกล้ตัวเด็กก่อน 3.ปรับสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับเด็กทุกกลุ่ม อย่างเหมาะสม 4.ใช้การเสริมแรงเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมโดยจะต้องให้อย่างเป็นระบบ คือให้ทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรมควรให้เป็นครั้งคราวเพื่อให้พฤติกรรมนั้น คงทน 5.ให้เด็กที่เข้าใจในเนื้อหาการเรียนรู้ แล้วช่วยสอนแนะนำเพื่อนที่ยังไม่เข้าใจ การที่เด็กช่วยแนะนำกันจะช่วยให้เด็กที่ไม่เข้าใจพัฒนาตามเด็กที่เข้าใจใน เนื้อหาได้ 6.เปิดโอกาสให้เด็กๆ มีสิทธิเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจก่อนและหลัง ซึ่ง เป็นเด็กที่ชอบและช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้น 7.ไม่ควรว่ากล่าวติเตียนในข้อผิดพลาดของเด็กที่เกิดขึ้น และพยายามกระตุ้น ให้เขาทำมันใหม่อีกครั้ง 8.สังเกตพฤติกรรมของเด็กในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างใกล้ชิด เพื่อหา สาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไขเท่าที่เป็นไปได้ 9.ใช้กิจกรรมที่ครูสามารถประเมินผลให้เด็กทราบได้อย่างรวดเร็ว และช่วย ให้เด็กมีความกระตือรือร้นในการเรียน
การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ 27 การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีความต้องการพิเศษต่างไปจากเด็กปกติการให้การ ศึกษาสำหรับเด็กเหล่านี้จึงควรมีลักษณะแตกต่างไปจากเด็กปกติในด้าน เนื้อหาวิธีการและการประเมินผล บุคคลที่มีความต้องการพิเศษหมายถึงใคร ก็ตามที่ไม่สามารถปฏิบัติเหมือนคนปกติหรือชีวิตสังคมทั่วไปต้องทำเพียงส่วน ใดส่วนหนึ่งหรือไม่สามารถทำทั้งหมดได้ด้วยตนเองซึ่งเป็นผลมาจากความ บกพร่องทางร่างกายหรือสมองโดยเป็นมาแต่กำเนิดหรือไม่ก็ได้ การพัฒนาศักยภาพเด็กพิเศษ พ่อแม่ - สังเกตพฤติกรรมของลูก ให้ข้อมูลที่เป็นจริงแก่ทีมสหวิชาชีพ-มีส่วน ร่วมในการพัฒนาศักยภาพ หมอ - ประเมิน วินิจฉัย ให้คำแนะนำโปรแกรมการช่วยเหลือ-ปรับสภาพ แวดล้อมและให้ความช่วยเหลือ ครู – วิเคราะห์ผู้เรียน จัดสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้-สนับสนุนสื่อ สิ่ง อำนวยความสะดวก ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กล่าวถึงลักษณะ ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือผิดปกติทางร่างกายสติปัญญาและทาง จิตใจแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ 9 ประเภทคือ 1.เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 2.เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 3.เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น 4.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 5.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา 6.เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ 7.เด็กที่มีพฤติกรรมทางการเรียนรู้ 8.เด็กพิการซ้ำซ้อน 9.เด็กออทิสติก
28 เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา คือ สภาวะที่การพัฒนาของสมองหยุดชะงักหรือพัฒนาไม่สมบูรณ์ซึ่ง มีลักษณะเฉพาะคือความต้องการความบกพร่องของทักษะต่างๆในช่วงระยะ วัยพัฒนาการทักษะต่างๆเหล่านี้ได้แก่ -ทักษะในด้านการรู้คิด -ภาษา -การเคลื่อนไหว -ความสามารถทางสังคม ซึ่งทักษะทั้งหมดเหล่านี้เป็นสิ่งเคลื่อนหนุนต่อระดับเชาว์ปัญญา การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับก่อนวัยเรียน เน้นความพร้อมของเด็กทั้งในด้านความคิดความจำร่างกายอารมณ์ และสังคมของเด็กความพร้อมของเด็กเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนระดับ ประถมศึกษาการพัฒนาทักษะของเด็กในระดับนี้ควรเน้นทักษะที่จะจำเป็นที่ จะช่วยให้เด็กมีความพร้อมในการเรียน เช่นการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กกล้าม เนื้อมัดใหญ่การฝึกให้นักเรียนมีความสนใจในบทเรียนนั้นขึ้นการฝึกความคิด ความจำฝึกภาษาฝึกพูดเป็นต้น
29 การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับประถมศึกษา เน้นเกี่ยวกับการอ่านคณิตศาสตร์ภาษาส่วนวิชาวิทยาศาสตร์และ สังคมศึกษานั้นมีความสำคัญรองลงไปในหลักสูตรติดตามไปจากหลักสูตร สำหรับเด็กปกติตลอดจนเอกสารการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความ สนใจและความสามารถของเด็กส่วนเนื้อหาวิชาดนตรีและศิลปะควรจัดให้ เหมาะสมกับเด็ก การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับมัธยมศึกษา เน้นความต้องการและความสามารถของเด็กเป็นสำคัญหากมีความ สนใจในการเรียนเด็กควรได้รับความส่งเสริมในเรียนวิชาต่างๆที่เหมาะสม หากเด็กไม่มีความพร้อมควรให้เด็กเรียนในด้านอาชีพและฝึกทักษะที่จำเป็น ในการดำรงชีวิตเพื่อเตรียมเด็กให้สามารถดำรงชีพในสังคมได้ควรฝึกให้เด็กมี ทักษะในด้านต่างๆเช่นทักษะด้านการงานและอาชีพการครองเรือน นันทนาการการดูแลสุขภาพและการดำรงชีพในชุมชน ครูผู้สอนต้องมีความอดทนและความพยายามอย่างมากเนื่องจากเด็ก ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญามีระดับสติปัญญาต่ำมีความสามารถในการ เรียนรู้น้อยเล่นมักจะมีความพิการอื่นร่วมด้วยคือความบกพร่องทางร่างกาย ทางการพูดและปัญหาพฤติกรรมต่างๆที่กลุ่มผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจและ แก้ไขปัญหาดังกล่าว
30 แรงจูงใจ สิ่งซึ่งควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์อันเกิดจากความต้องการพลัง กดดันหรือความปรารถนาที่จะไปยามดิ้นรนเพื่อให้มันรุผลสำเร็จตาม วัตถุประสงค์ซึ่งอาจเกิดความตามธรรมชาติหรือจากการเรียนรู้ก็ได้การจูงใจ เกิดจากสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอกตัวบุคคลนั้นนั้นเอง ประเภทของแรงจูงใจ นักจิตวิทยาได้แบ่งลักษณะของแรงจูงใจออกเป็นประเภทใหญ่ใหญ่ได้ดังนี้ แรงจูงใจฉับพลัน คือ แรงจูงใจที่กระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมออกมา ทันทีทันใดเช่นการที่ร่างกายรู้สึกร้อนปากก็บ่นออกมาว่าร้อน แรงจูงใจสะสม คือ แรงจูงใจที่มีอยู่แต่ไม่ได้แสดงออกทันทีจากค่อยค่อยเก็บ สะสมไว้โลการแสดงออกในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อมา แรงจูงใจภายใน คือแรงจูงใจที่ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งเร้าภายในตัวของ บุคคลผู้นั้น แรงจูงใจภายนอก คือ แรงจูงใจที่ได้รับอิทธิพลมาจากภายนอกเช่นเห็นเพื่อน กินก็อยากกินด้วย แรงจูงใจปฐมภูมิ คือ แรงจูงใจอันเนื่องมาจากความต้องการที่เห็นพื้นฐาน ทางร่างกายเช่นความหิวโหยความกระหาย
31 องค์ประกอบของแรงจูงใจ นักจิตวิทยาปัจจุบันได้ศึกษาได้สรุปว่าองค์ประกอบของแรงจูงใจมี 3 ด้าน คือ -องค์ประกอบทางด้านกายภาพในองค์ประกอบนี้จะพิจารณาถึงความ ต้องการทางกายภาพของมนุษย์ความต้องการปัจจัยสี่เพื่อจะดำรงชีวิตอยู่ได้ - องค์ประกอบทางด้านการเรียนรู้ องค์ประกอบด้านนี้เป็นผลสืบเนื่องต่อ จากองค์ประกอบข้อหนึ่งทั้งนี้เพราะมนุษย์ทุกคนไม่สามารถได้รับความตอบ สนองความต้องการในปริมาณชนิดและคุณภาพตามที่ตนเองต้องการและใน หลายหลายครั้งสิ่งแวดล้อมเป็นตัวหวังเงื่อนไขในการสร้างแรงจูงใจของ มนุษย์ - องค์ประกอบทางด้านความคิด ทฤษฎีแรงจูงใจ 1.ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม 2.ทฤษฎีพุทธินิยม 3.ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม 4.ทฤษฎีมนุษย์นิยม
32 รูปแบบของแรงจูงใจ บุคคลแต่ละคนมีรูปแบบแรงจูงใจที่แตกต่างกัน ซึ่งนะจิตวิทยาได้แบ่ง รูปแบบแรงจูงใจของมนุษย์ออกเป็นหลายรูปแบบที่สำคัญ มีดังนี้ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ หมายถึง แรงจูงใจที่เป็นแรงขับให้บุคคลพยายามที่จะ ประกอบพฤติกรรมที่จะประสบสัมฤทธิ์ผลตามมาตรฐานความเป็นเลิศที่ตน ตั้งไว้บุคคลที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์จะไม่ทำงานเพราะหวังรางวัล แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ หมายถึง ผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์มักจะเป็นผู้ที่โอบ อ้อมอารีเป็นที่รักของเพื่อนมีลักษณะเห็นใจผู้อื่นซึ่งเมื่อศึกษาจากสภาพ ครอบครัวและผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์มักจะเป็นครอบครัวที่อบอุ่น บรรยากาศในบ้านปราศจากการแข่งขันพ่อแม่ไม่มีลักษณะข่มขู่พี่น้องมีความ รักความสามัคคีกันดีผู้มีแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์จะมีลักษณะสำคัญ แรงจูงใจใฝ่อำนาจ หมายถึง สำหรับผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่อำนาจพบว่าผู้ที่มีแรง จูงใจแบบนี้ส่วนมากมาจากพัฒนามาจากความรู้สึกตนเองขาดในบางสิ่งบาง อย่างที่ต้องการอาจจะเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นผมด้อย เมื่อมีปุ่มด้วยจึงพยามสร้างปมเด่นขึ้นมาเพื่อชดเชยกับสิ่งที่ตัวเองขาดผู้ที่มี แรงจูงใจใฝ่อำนาจจะมีลักษณะสำคัญ แรงจูงใจใฝ่ก้าวร้าว หมายถึง พูดที่มีลักษณะแรงจูงใจแบบนี้มาเป็นผู้ที่ได้รับ การเลี้ยงดูแบบเข้มงวดมากเกินไปบางครั้งพ่อแม่อาจใช้วิธีการลงโทษที่ รุนแรงเกินไปดังนั้นเด็กจึงหาทางระบายออกกับผู้อื่นหรืออาจจะเนื่องมาจาก การSiri เรียนแบบบุคคลหรือการสื่อต่างๆผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่ก้าวร้าว แรงจูงใจใฝ่พึ่งพาสาเหตุ หมายถึง ของแรงจูงใจแบบนี้ก็เพราะการเลี้ยงดูที่ พ่อแม่ทะนุถนอมมากเกินไปไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเองผู้ที่มีแรง จูงใจใฝ่พึ่งพา
33 การแนะแนว กระบวนการทางการศึกษาที่ช่วยให้บุคคลรู้จัก และเข้าใจตนเองและ สิ่งแวดล้อม สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองและพัฒนาตนเองได้ตาม ศักยภาพ ปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีต่อสังคม การแนะแนวไม่ใช่การแนะ นำ อาจกล่าวได้ว่าการแนะแนวเป็นการช่วยเหลือให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ ความสำคัญของการแนะแนว จุดหมายของการแนะแนว คือการป้องกันปัญหาแก้ไขพฤติกรรมทุก อย่างที่ผิดปกติและการพัฒนาให้ทุกคนไปสู่จุดมุ่งหมายของชีวิตที่ต้องการ หน้าที่และหลักการแนะแนว ปรัชญาของการแนะแนว 1.บุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่าง 2.มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุด 3.บุคคลย่อมมีศักดิ์ศรีและศักยภาพประจำตัว 4.บุคคลแต่ละคนย่อมต้องการความช่วยเหลือ 5.บุคคลจะมีความสุขเมื่อได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ในด้านต่างๆ 6.พฤติกรรมทุกอย่างย่อมมีสาเหตุ หลักการสำคัญของการแนะแนว การจัดกิจกรรมแนะแนวจะต้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ กำหนดไว้ การที่จะให้งานบริการแนะแนวบรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้น จำเป็นจะ ต้องคำนึกถึงหลักการแนะแนวที่มีการวางแผนการดำเนินงานให้เหมาะสม ดั้งนั้นอาจารย์แนะแนวจึงควรยึดถือหลักการสำคัญของการจัดกิจกรรม แนะแนว เพื่อเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
34 หลักของการให้คำปรึกษา จะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ผู้ให้คำปรึกษามีส่วนสำคัญ เกี่ยวกับความรับผิด ชอบต่อปัญหาของเด็กโดยตรง การให้คำปรึกษาแบบนำทาง เป็นวิธีการที่ผู้ ให้คำปรึกษาทำหน้าที่วางแนวทางชี้แนะแนวทางรวมทั้งปฏิบัติตนเกี่ยวกับ การแก้ไขปัญหาให้จบสิ้นลงด้วยดี การให้คำปรึกษา กระบวนการให้ความช่วยเหลือ ติดต่อสื่อสารกันด้วยวาจาและกิริยา ท่าทาง ที่เกิดจากสัมพันธภาพทางวิชาชีพของบุคคลอย่างน้อย2คน คือ ผู้ให้ และผู้รับคำปรึกษา ผู้รับคำปรึกษา ผู้ให้คำปรึกษาในที่นี้หมายถึง ครูหรือผู้ที่มีคุณลักษณะที่เอื้อต่อการ ให้คำปรึกษา มีความรู้และทักษะในการให้คำปรึกษา ทำหน้าที่ให้ความช่วย เหลือแก่ผู้รับคำปรึกษาหรือนักเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่ที่มีเรื่องไม่สบายใจหรือมี ความทุกข์ ต้องการความช่วยเหลือให้เข้าใจตนเอง เข้าใจสิ่งแวดล้อม ให้มี ทักษะในการตัดสินใจต่างๆ และหาทางออกเพื่อลดความทุกข์และแนวทางที่ ทำให้เกิดระโยชน์ในการตัดสินใจทำอะไรสักอย่างและความยุ่งยากใจด้วย ตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ได้ ประเภทของการให้คำปรึกษา การให้คำปรึกษาสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท 1.การให้คำปรึกษารายบุคคล คือ การให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนที่มี พฤติกรรมเสี่ยงครั้งละ1คน 2.การให้คำปรึกษากลุ่ม คือ การให้การช่วยเหลือแก่นักเรียนจำนวนตั้งแต่คน ขึ้นไป ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องคล้ายคลึงกัน หรือมีความต้องการที่จะ พัฒนาตนในเรื่องเดียวกันโดยใช้ความสัมพันธ์และอิทธิพลของกลุ่มในการ ช่วยเหลือสมาชิกในด้านกำลังจำและความเห็นอกเห็นใจ การให้ข้อมูลย้อน กลับ เพื่อให้สมาชิกเข้าใจ เข้าใจปัญหาได้แนวทางการแก้ปัญหา
35 วัตถุประสงค์ของการให้คำปรึกษา การให้คำปรึกษาเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้รับการปรึกษาสามารถ รับผิดชอบต่อตนเองได้ในด้านต่างๆดังนี้ 1.เข้าใจตนเองและปัญหาของตนซึ่งจะก่อให้เกิดความตระหนักและมีแรง จูงใจในการแก้ปัญหา 2.มีความรู้และทักษะในการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจได้ด้วยตัวเองอย่าง เหมาะสมกับตน 3.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่เหมาะสม โดยใช้ศักยภาพของตนในการ เลือกและค้นหาวิธีที่เหมาะสม 4.สำรวจตนเอง และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจ คุณลักษณะของครูผู้ให้คำปรึกษา ครูหรือนักเรียนที่จะทำหน้าที่ให้คำปรึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีลักษณะส่วนตัว ดังต่อไปนี้ 1.รู้จักและยอมรับตนเอง 2.อดทนและใจเย็น 3.จริงใจและตั้งใจช่วยเหลือผู้อื่น 4.มีท่าที่ที่เป็นเป็นมิตร และมองโลกในแง่ดี 5.ไวต่อความรู้สึกของผู้อื่น และช่างสังเกต 6.ใช้คำพูดได้เหมาะสม 7.เป็นผู้รับฟังที่ดี
36 กระบวนการให้คำปรึกษา กระบวนการให้คำปรึกษาเป็นกระบวนการ การให้ความช่วยเหลือที่ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆที่ผู้ให้การปรึกษาเอื้ออำนวยให้ผู้ได้รับการศึกษา ได้เข้าใจถึงปัญหาและศักยภาพในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง นอกจากนั้นยังได้ รวมทั้งการเอื้ออำนวยให้ผู้รับการปรึกษาได้เรียนรู้ที่จะดำเนินชีวิตได้อย่างมี ประสิทธิภาพ แม้ว่า ปัญหาหรือสิ่งที่รบกวนจิตใจยังมิได้รับการแก้ปัญหา กระบวนการให้คำปรึกษา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1.การสร้างสัมพันธภาพเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเนื่องจาก สัมพันธภาพที่ดี ระหว่างผู้ให้การปรึกษา และผู้รับการปรึกษาเพื่อให้การช่วย เหลือง่ายดาย 2.การสำรวจปัญหา เป็นขั้นตอนที่ผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับการปรึกษา ทำความตกลงเพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันในเรื่องที่มาปรึกษากันมากขึ้น 3.การเข้าใจในปัญหา เป็นขั้นตอนที่่ให้ผู้ได้รับการปรึกษาได้สำรวจ อารมณ์ ความคิด และปัญหาของตนโดยใช้ทักษะในการฟัง การถาม การ เงียบ การทวนซ้ำ การเข้าใจกันในปัญหา 4.การวางแผนแก้ปัญหา เป็นขั้นตอนที่ผู้รับการปรึกษาได้เริ่มที่จะแก้ ปัญหาด้วยตนเองก่อนเพื่อที่จะให้ผู้รับการปรึกษาได้ใช้ความสามารถอย่าง เต็มที่และหาวิธีที่ผู้รับคำปรึกษานั้นไม่ได้ผล ก็จะช่วยแนะหาทางเลือกอีกวิธี นึงเพื่อให้ได้ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม 5.การยุติปัญหา เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการให้คำปรึกษาวิธีการ ปฏิบัติในขั้นตอนผู้ที่ให้คำปรึกษาสรุปประเด็นที่มาปรึกษาเองและแนวทางวิธี ที่จะนำไปปฏิบัติตามแผนที่วางไว้อาจมีการให้คำปรึกษาต่อผู้รับคำปรึกษา เห็นว่าปัญหาของตนแก้ปัญหาได้แล้ว และผู้ได้รับคำปรึกษามีความพึงพอใจ จึงจะยุติการให้คำปรึกษา
37 การสร้างแรงบันดาลใจใฝ่เรียน การที่คนเราจะประสบความสำเร็จในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นั้น ต้อง อาศัยความพยายามเป็นอย่างมาก เพราะเราจะต้องผ่านอุปสรรคมากมาย เพื่อให้เราก้าวเดินไปสู่จุดหมายได้และการสร้างแรงบันดาลใจจึงเป็นตัวช่วย อีกหนึ่งทางที่ทำ ให้เราได้ลุกขึ้นสู้และสามารถก้าวข้ามปัญหาและอุปสรรค นั้นไปได้ วันนี้ เราจึงมี 8 เทคนิคการสร้างแรงบันดาลใจดีๆ ที่เราสามารถให้ กำ ลังใจตัวเองแบบง่ายๆ แต่สามารถเปลี่ยนให้เรากลายเป็นคนที่ประสบ ความสำเร็จได้ในทุกๆ เรื่อง การสร้างแรงจูงใจ 1. มีความเชื่อมั่น ก่อนอื่นนั้น เราควรมีความเชื่อมั่นในตัวเองก่อนค่ะ โดยการสร้างทัศนคติ ดีๆ เช่น เชื่อมั่นว่า ตนเองทำ ได้และสามารถผ่านปัญหาที่กำ ลังเจออยู่ตอนนี้ ไปได้ ซึ่งหากเรามีความเชื่อมั่นในตัวเองแล้ว เราก็จะเกิดความมั่นใจและ สามารถเอาชนะปัญหาได้ในที่สุด 2.มีเป้าหมายที่ชัดเจน การจะทำ อะไรให้ประสบความสำเร็จนั้น นอกจากจะต้องมั่นใจในสิ่งที่ ทำ แล้ว การ วางแผนและตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนก็เป็นอีกทางที่ช่วยให้เรา ประสบความสำเร็จได้ ง่ายขึ้น เพราะจะช่วยให้เราไม่ไขว้เขวทำ ให้เรามีแรง จูงใจที่จะไปให้ถึงเป้าหมายได้ 3.หาแบบอย่างหรือบุคคลตัวอย่าง ลองหาแบบอย่างหรือบุคคลตัวอย่างที่เราชื่นชอบมาเป็นแรงบันดาลใจ ของเรา โดยเราอาจ ชื่นชมบุคคลเหล่านั้นจากการกระทำ แนวคิด หรือ ประสบการณ์ต่างๆ ที่บุคคลเหล่านั้นได้ ถ่ายทอดออกมาเราสามารถเลือก บุคคลเหล่านั้นมาเป็นแรงบัลดาลใจของเราได้ ถือเป็นการ ให้กำ ลังใจตัวเอง อีกทาง
38 4.เรียนรู้จากความผิดพลาด \"ไม่มีใครไม่เคยทำ พลาด\" คนทุกคนย่อมเคยผ่านความผิดพลาดมาแล้ว ทั้งนั้นค่ะ เพียงแต่เราควรนำ ความผิดพลาดนั้นมาเป็นประสบการณ์และ เตือนตัวเองว่าไม่ควรทำ ผิดซ้ำ แล้วซ้ำ เล่าในเรื่องเดิม ๆ รวมถึงเรายังไม่ ควร จมปลักอยู่กับความผิดพลาดนั้นๆ เราควรปล่อยวางแล้วก้าวต่อไป เพื่อ ความสำเร็จในวันข้างหน้า 5.รู้จักบริหารเวลา ในบางครั้งเราก็จำ เป็นต้องทำ อะไรหลายๆ อย่างในเวลาจำ กัด ซึ่งเรา จะไม่สามารถทำ ให้ สำเร็จได้เลย หากเราไม่รู้จักบริหารจัดการเวลาที่ดีค่ะ การเรียงลำ ดับว่าสิ่งใดควรทำ ก่อนและ สิ่งใดควรทำ ทีหลังเป็นนิสัยหนึ่ง ของคนที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งหากเราอยากจะประสบความ สำเร็จก็ควร ฝึกตนเองให้มีนิสัยแบบนี้ด้วย 6.เปิดใจ ลองทำ สิ่งที่ไม่เคยทำ การติดอยู่กับความเคยชินเก่าๆ ทำ ให้เราไม่มีประสบการณ์ที่หลาก หลาย ซึ่งหากเราอยากเป็นคนที่เรียนรู้อะไรหลายๆ ด้าน ก็ควรจะเปิด ใจ ทดลองทำ อะไรใหม่ๆ หรือเรียนรู้อะไรใหม่ๆด้วยเช่นกัน เพราะ ประสบการณ์ที่หลากหลายจะช่วยเราให้รับมือกับอุปสรรคในรูปแบบ ต่างๆ 7.มองโลกในแง่ดี ลองยิ้มรับกับปัญหาและมองว่านั่นคือประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ทำ ให้เรา เข้าใกล้ความสำเร็จมากขึ้น ซึ่งการจะยิ้มรับปัญหาได้นั้น เราก็ควรเปลี่ยน ตัว เองให้เป็นคนที่มองโลกในแง่ดีเสียก่อน เพราะเมื่อมองทุกอย่างเป็นไปใน ด้านบวกแล้ว จะช่วยทำ ให้เรามีจิตใจโปร่งใสและเกิดแรงบันดาลใจที่ดีเกิด ขึ้นมาได้ 8.อย่าเสียเวลากับเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง เรื่องบางเรื่องหรือแม้แต่คนบางคนก็ไม่ควรที่เราจะไปเสียเวลาด้วย เพราะนอกจากจะไม่ได้ประโยชน์อะไร กลับมีแต่เสียกับเสีย ซึ่งหากเรารู้ อย่างนี้แล้ว เราก็ควร จะเอาเวลาที่มีไปทำ สิ่งที่มีประโยชน์
บรรณานุกรม ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่องของเอกสาร.//ค้นเมื่อ/เดือน/วัน,/ปี,/ จาก/URLของเว็บไซต์ที่สืบค้น สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2545). จรรยาบรรณนักวิจัย. ค้น เมื่อ พฤษภาคม 3, 2548, จาก http://www.nrct.go.th~research/ethies.html
Search
Read the Text Version
- 1 - 43
Pages: