Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ชุทชนจัดการตนเอง 6440304120

ชุทชนจัดการตนเอง 6440304120

Published by Guset User, 2022-01-02 15:21:29

Description: ชุทชนจัดการตนเอง 6440304120

Search

Read the Text Version

ถอดบทเรียน ชุมชนต้นแบบ เศรษฐกิจพอเพียง จัดทำโดย นางสาวภรณ์นับพรรณ วงษ์ภูธเรศ รหัสนักศึกษา 6440304120 นักศึกษาสาขาพัฒนาสังคม คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ก คำนำ เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเกษตรและพึ่งพาตนเองเป็น ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่9ทรงมีพระราช ดำรัสชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย ตั้งแต่ก่อนวิกฤตทางเศรษฐกิจและเมื่อภายหลังทรงย้ำถึง แนวทางแก้ไขเพื่อให้หลุดพ้น มีความเป็นอยู่พอประมาณ สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยนำทฤษฎีการผลิตการเกษตรกรใน ชนบท การเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และการลดต้นทุนในการผลิต การส่งเสริมการเกษตรในชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐในการ ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรทั่วประเทศให้ประสบความ สำเร็จในการประกอบอาชีพและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้ เกษตรกรและคนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไป ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพและสามารถ พึ่งพาตนเองได้ นักศึกษาสาขาพัฒนาสังคม 29 ธันวาคม 2564

สารบัญ ข เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ข้อมูลทั่วไปของชุมชน 1 ความเป็นมา 2 สภาพภูมิศาสตร์ 3 ประชากร 4 สภาพเศรษฐกิจ 5 ปุ๋ยอินทรีย์ 6-7 ประเพณีและวัฒนธรรม 8 แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ 9 10-11 ผลิตภัณฑ์ชุมชน 12-13 ภูมิปัญญาชุมชน 14 บรรณานุกรม

1 ข้อมูลทั่วไปของชุมชน คำขวัญ ชื่อหมู่บ้าน บ้านเตย ถิ่นอุตสาหกรรม เครื่องหวายงามล้ำค่า ตำบล กระเบื้องใหญ่ กระยาสารทรสเด็ด อำเภอ พิมาย เป็ดย่างรสดี ผัดหมี่พิมาย ยอดมวยไทย จังหวัด นครราชสีมา ยักษ์สุข สนุกพายเรือแข่ง แหล่งแมวสีสวาท ปราสาทหินถิ่น ไทรงาม เรืองนามประเพณี วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์พระพุทธ วิมายะ

2 ความเป็นมา ชาวบ้านเชื่อว่าบรรพบุรุษของพวกเขา ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ โนนสำโรง ซึ่งมีสภาพเป็นพื้นที่เนินสูงอยู่ทางทิศตะวันออก เฉียงใต้ของหมู่บ้านห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๒ กิโลเมตร ปัจจุบันเป็นที่ที่อยู่ในการดูแลของกรมศิลปกร เนื่องจากมีการ ค้นพบถ้วยชามสังคโลก โลหะของใช้โบราณจำนวนมาก และได้ มีการบอกเล่าต่อๆกันมาว่า หลังเหตุการณ์สู้รบกันระหว่าง ทหารของเจ้าอนุวงศ์กับคุณหญิงโมที่บริเวณทุ่งสัมฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๙ ราษฎรก็ได้พากันอพยพจากโนนสำโรงเข้ามาตั้ง บ้านเรือนอยู่บริเวณพื้นที่บ้านเตยในปัจจุบัน

3 สภาพภูมิศาสตร์ จังหวัดนครราชสีมาตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บน ที่ราบสูงโคราช ละติจูด 15 องศาเหนือ ลองติจูด 102 องศา ตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 187 เมตร ตัวจังหวัด อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ 255 กิโลเมตร และโดยทางรถไฟ 264 กิโลเมตร มีพื้นที่ 20,493.964 ตาราง กิโลเมตร หรือ ประมาณ 12,808,728 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 12.12 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

4 ประชากร บ้านเตย มีจำนวนราษฎรที่อาศัย อยู่ทั้งหมด รวมชายหญิงทั้งสิ้น 836 คน ชาย หญิง รวม ทั้งสิ้น 836 คน

5 สภาพเศรษฐกิจ นำปุ๋ยไปขายให้กับหมู่บ้านใกล้เคียง ทำให้ชาว บ้านมีงานทำ และได้รับเงินปันผลจากการขายปุ๋ย แนวคิดในการพัฒนาชุมชน ก่อนอื่นต้องพัฒนาที่ตัว คนก่อน คือ พัฒนาคนให้มีความรู่ในเรื่องต่างๆ มีการ ประชุมประจำเดือน มีกฎกติกาในหมู่บ้าน ให้ชาวบ้าน ทุกคนยอมรับกฎกติกานั้น ให้มีการทำความสะอาด ทุกวันอาทิตย์ เวลามีงานให้ชาวบ้านดื่มน้ำสมุนไพร ไม่ดื่มน้ำอัดลม พัฒนาอาชีพ มีการทำขนมถั่วตัด มี การทำปลาร้าหมู ปลูกและขายข้าวหอมมะลิ105 อินทรีย์ชีวภาพ ข้าวกล้องหอมมะลิ105 ข้าวกล้อง งอกหอมมะลิ105 ข้าวหลายชนิด สมุนไพรต่างๆ

6 กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์และกลุ่มเลี้ยงไส้เดือน บ้านเตยพิมาย ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 บ้าน เตย ตำบลกระเบื้องใหญ่ ด้วยพื้นฐานอาชีพทำนาของคนใน ชุมชน ซึ่งในสมัยก่อนนอกจากจะอาศัยน้ำฝนตามฤดูกาลแล้ว ยัง มีการใช้ปุ๋ยเคมีในพื้นที่เป็นจำนวนมากทำให้มีต้นทุนการผลิตสูง กลุ่มปุ๋ยอินทรีย์บ้านเตยพิมายจึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับ เกษตรกรในหมู่บ้าน โดยฟื้ นฟูการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นมาใหม่อีก ครั้งปัจจุบันนอกจากปุ๋ยอินทรีย์แล้ว ศูนย์ฯ แห่งนี้ยังส่งเสริมให้ ชุมชนทำการเกษตรแบบอินทรีย์ปลอดสารพิษ ตั้งกลุ่มผลิตเมล็ด พันธุ์ข้าวอินทรีย์สำหรับสมาชิกและสำหรับจำหน่าย ตั้งโรงสีข้าว ชุมชน รับซื้อข้าวจากสมาชิก และสีข้าวสารเพื่อจำหน่าย คืนผล กำไรให้กับสมาชิกกลุ่ม แล้วยังตั้งกลุ่มอาชีพเสริมต่างๆ ให้คน ท้องถิ่นมีรายได้ตลอดทั้งปี จัดหาวิทยากรมาอบรมและบรรยาย เพิ่มความรู้ให้กับสมาชิก ภายใต้ความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเข้ม แข็งให้เกิดขึ้นในชุมชนอย่างแท้จริง

7

8 ประเพณีและวัฒนธรรม หากกล่าวถึงอำเภอพิมายคนส่วนใหญ่คงนึกถึงอำเภอ ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งซึ่งมีสถานที่สำคัญคือปราสาทหินพิมายที่ มีความสวยงามและทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์แต่ขณะ เดียวกันอำเภอใหญ่แห่งนี้ยังมีชุมชนหนึ่งซึ่งกำลังสร้างสรรค์ วิถีชีวิตบนพื้นฐานแห่งความพอเพียงเพื่อความสุขอย่าง มั่นคงและยั่งยืนของคนในชุมชนอย่างแท้จริง ชุมชนตำบลกระเบื้องใหญ่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีหมู่บ้านจำนวน 11 หมู่บ้านพื้นฐานการ ใช้ชีวิตของคนที่ตั้งอยู่บนวิถีเกษตรกรรมยังคงปรากฏให้เห็น อยู่ทุกหย่อมหญ้าแต่คุณค่าที่แท้จริงท่ามกลางความเขียว ชอุ่มนั้นอยู่ที่ความตั้งใจในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนโดยยึด หลักเศรษฐกิจพอเพียงรักษาคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติที่ อุดมสมบูรณ์และนำองค์ความรู้และภูมิปัญญาด้าน การเกษตรมาใช้เพิ่มผลผลิตและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มี คุณภาพ อีกทั้งใช้ประเพณีวัฒนธรรมที่สนุกสนานและงดงาม มาสร้างให้เกิดความกลมเกลียวในชุมชน

9 แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ สะพานรักบ้านเตย ตั้งอยู่บริเวณศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ บ้านเตย หมู่ที่ 1 ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นสะพานไม้ไผ่ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจของชาว บ้านเตย มีลักษณะทอดตัวเป็นทางยาวประมาณ 300 เมตร นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่แวะเวียนที่นี่จะสนุกไปกับการถ่ายรูป ท่ามกลางบรรยากาศทุ่งข้าวเขียวขจีอย่างสวยงาม

10 ผลิตภัณฑ์ชุมชน ข้าวจากบ้านโนนกระสัง แต่ละหมู่บ้านในตำบลกระเบื้องใหญ่ล้วนมี ผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อที่แวะเข้าไปเมื่อไรก็น่าซื้อหาไปหมด สำหรับหมู่ที่ 6 บ้านโนนกระสัง ข้าวทุ่งสัมฤทธิ์ ถือว่ามีชื่อ เสียงโด่งดังและรู้กันดีว่าเป็นข้าวคุณภาพเยี่ยมที่ปลูกบน พื้นที่นามีลำห้วยไหลผ่าน ดินในทุ่งสัมฤทธิ์จึงมีความอุดม สมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง แต่นอกจากคุณสมบัติของดินแล้ว ข้าวของบ้านโนนกระสังยังอยู่ภายใต้การผลิตที่ถูกต้อง ตั้งแต่พื้นที่การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการ จัดการหลังเก็บเกี่ยว จนได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ได้ มาตรฐาน และปลอดภัยต่อผู้บริโภคข้าวหอมมะลิหอมกรุ่น ข้าวไรซ์เบอรี่ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ข้าวหอมมะลิแดงที่ ช่วยบำรุงเลือด และข้าวอินทรีย์ไร้สารพิษ ถือเป็น ผลิตภัณฑ์ล้ำค่าที่ปลูกขึ้นจากผืนดินแห่งนี้ แต่คนในชุมชน ยังนำข้าวมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับชีวิตประจำวัน ได้แก่ สบู่ก้อนและสบู่เหลว ได้อย่างน่าสนใจ

11

12 ภูมิปัญญาชุมชน ปุ๋ยอินทรีย์ โรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์แห่งนี้ไม่ได้เน้นรายได้เข้ามาสู่ชุมชน แต่เน้น การแก้ปัญหาเพื่อให้ชุมชนปลอดหนี้ โดยต่อปีสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ 20 ตัน 80% จำหน่ายให้คนในหมู่บ้านบ้านเตย ในราคา 280 บาท/ กระสอบ ส่วนอีก 20% จำหน่ายให้แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง อาทิ อุดรธานี, ร้อยเอ็ด และหมู่บ้านอื่น ๆ ในจังหวัดนครราชสีมาŽ จนทำให้ปุ๋ยอินทรีย์ของหมู่บ้านบ้านเตยได้รับการยอมรับทั้งใน เรื่องของคุณภาพ และราคา จนเกิดการบอกต่อปากต่อปากในวงกว้าง กระทั่งทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ สำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), กรมพัฒนาที่ดิน และสำนักงานเกษตรในพื้นที่ นำดินที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของชุมชนไปตรวจดู ว่าจะช่วยเติมธาตุอาหารให้ถูกต้องตามความต้องการของดินอย่างไรบ้าง เพราะคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ของที่นี่โดดเด่น จนทำให้ เกษตรกรกลุ่มอื่น ๆ ทั้งผู้ปลูกอ้อย, ปลูกมันสำปะหลัง หรือแม้แต่ ข้าวโพด ล้วนใช้ปุ๋ยจากวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ได้ทั้งสิ้น เพราะปุ๋ยที่นี่มีสาร อาหารช่วยปรับปรุงสภาพดิน ไม่ทำให้ดินเค็ม ปัจจุบันปุ๋ยอินทรีย์ของวิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านบ้านเตยมีการจด ทะเบียนสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว และนอกจากจะขายให้แก่ชาวบ้านใน ชุมชนบ้านเตยเป็นหลักยังจำหน่ายไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาวอีกด้วย จนทำให้คนในชุมชนเกิดความภาคภูมิใจ ทั้งยังสร้าง รายได้แก่สมาชิกจากการปันผลในทุก ๆ ปีอีกด้วย

13 จากเดิมเราต้องซื้อทุกอย่างหมด แม้แต่มะละกอสำหรับ ตำส้มตำสักจาน แต่หลังจากที่เรามีความรู้เรื่องการปรับปรุงสภาพ ดิน จนทำให้ปัญหาภาวะดินเค็มหมดไป เราจึงมองหาพืชระยะสั้น พวกพืชที่ปลูกเพื่อคลุมดินต่าง ๆ มาเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน ซึ่ง นอกจากเราจะมีรายได้เพิ่ม ยังช่วยสร้างความชื้นให้แก่ดินอีกด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นวิธีการง่าย ๆ ที่เรามองข้ามมานาน แต่เมื่อนำมา ปรับใช้ ก็ทำให้ปัญหาต่าง ๆ นั้นค่อย ๆ หมดไปŽ

14 บรรณานุกรม https://projects.rdpb.go.th/studyCenter/539 9401090514944 https://กระเบื้องใหญ่.ไทย https://eosgear.com/th/news/55981-ชุมชน จัดการตนเอง https://www2.nakhonratchasima.go.th/conte nt/general


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook