Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทความรถไฟลาว - จีน กับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมของเมืองหลวงพระบางในมุมมองของคนท้องถิ่น

บทความรถไฟลาว - จีน กับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมของเมืองหลวงพระบางในมุมมองของคนท้องถิ่น

Published by aum-zxx, 2022-11-30 05:04:47

Description: บทความรถไฟลาว - จีน กับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมของเมืองหลวงพระบางในมุมมองของคนท้องถิ่น

Keywords: บทความ,รถไฟ,ลาว,จีน,กับ,ความ,เปลี่ยนแปลง,ทาง,สังคม,เมือง,หลวงพระบาง,ใน,มุมมอง,คนท้องถิ่น

Search

Read the Text Version

รถไฟลาว - จีน กับความเปลยี่ นแปลงทางสงั คมของเมืองหลวงพระบางในมุมมองของคนท้องถิน่ เกียรติพงศ์ เรืองเกษม1 Kiattiphong Rueangkasem1 1ว่าที่ ร้อยตรเี กยี รติพงศ์ เรืองเกษม นกั ศึกษาปริญญาโท รหสั นกั ศึกษา 655220001 – 7 สาขาวิจัยวฒั นธรรม ศลิ ปกรรมและ การออกแบบ คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ 1Acting Sub lt. Kiattiphong Rueangkasem, Department of Culture, Fine Arts and Design Research, Faculty of Fine and Applied Arts, Khon Kaen University รถไฟเป็นรถซึ่งแลน่ ไปบนรางเกิดขึ้นเป็นคร้ังแรกในประเทศองั กฤษเม่ือประมาณ 300 ปีมาแล้ว (โดย ใช้ม้าลากจูง) และได้นำมาใช้ในกิจการเหมืองแร่ถ่านหิน ในปี พ.ศ. 2320 โดย ริชาร์ด เทรวิธิค (Richard Trevithick) ชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์รถจักรไอน้ำที่สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเองขึ้นได้เป็นครั้งแรก แต่ก็ยังใช้ การไม่ได้ เพราะรถมีน้ำหนักมากเกินไป ทำให้รางไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2355 จอห์น บลิง กินสอพ (John Blinkinsop) ชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์รถจักรไอน้ำขึ้นอีกแบบหนึ่ง โดยมีลูกสูบตั้งตรง 2 สูบ ขบั เคลอื่ นเพลาซึ่งตดิ กบั ลอ้ ท่ีมีฟันเฟืองวิ่งไปบนรางซ่ึงเปน็ พนั เฟอื งเช่นเดียวกนั นำมาใช้ระหวา่ งเหมืองถ่านหิน กับเมืองลีดส์ (ฟันเฟืองของล้อกับรางนี้ช่วยให้รถจักรสามารถลากจูงขบวนรถขึ้นทางลาดชันมาก ๆ ได้) เป็นระยะทางประมาณ 3 ไมล์ครึ่ง ใน พ.ศ. 2356 วิลเลียม เฮดเลย์ (william Hedley) ชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์รถจักรชนิดใหม่ขึ้น โดยอาศัยความฝืดระหว่างล้อกับรางเหล็กแต่อย่างเดียว โดยไม่ใช้รางแบบมี ฟันเฟือง และนำมาใช้ลากจูงรถบรรทุกถ่านหินระหว่างเหมืองถ่านหินรีแลม กับท่าเรือ เลมิงตัน ออน ไทน์ (Lemington-on-Tyne) ระยะทางประมาณ 5 ไมล์ ในปีต่อมา ยอร์จ สตีเฟนสัน (George Stephenson) ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้นำเกี่ยวกับการรถไฟ และการสร้างรถจักร ได้สร้างรถจักรไอน้ำคันแรกชื่อว่า Blucher สำเร็จ แล้วนำมาใช้งานในเหมืองถ่านหิน ที่ คิลลิงสเวอร์ธ (Killingsworth) ใน พ.ศ. 2366 เอ็ดเวิร์ด พีส (Edward Pease) ชาวอังกฤษ ได้เชิญให้ ยอร์จ สตีเฟนสัน มาสร้างทางรถไฟระหว่างเมืองสต็อกตันกับเมือง ดาร์ลิงตัน สามารถสร้างได้สำเร็จ และทำพิธีเปิดในวนั ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2368 นับเป็นรถไฟสาธารณะสาย แรกในโลกที่ลากจูงด้วยรถจักรไอน้ำ และให้บริการรับส่งทั้งสินค้าและผู้โดยสาร สองปีแรกที่เปิดดำเนินงาน ปรากฏว่า รถจักรไอน้ำมีความไม่เหมาะสมในการนำมาให้บริการ ยังมีความไม่แน่นอน และต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการบำรุงรักษาสูง เหมาะที่จะนำไปลากจูงขบวนรถบรรทกุ แรท่ ี่ใช้ความเร็วต่ำมากกว่า ทั้งนี้เน่ืองจาก กำลัง ลากจูงและน้ำหนักถูกจำกัด เพราะความอ่อนแอของทาง จึงต้องหันกลับมาใช้ม้าลากจูงแทนหลายครั้ง จนกระทง่ั พ.ศ. 2370 ทโิ มธี แฮคเวริ ท์ (Timothy Hackworth) ชาวอังกฤษ ไดป้ ระดิษฐ์รถจักรเรยี กว่า Royal George ขึ้น จึงได้เลิกการใช้ม้าลากจูง เพื่อขนสินค้าโดยสิ้นเชิง ใน พ.ศ. ๒๓๗๖ และใน พ.ศ. ๒๓๗๒ บริษัท รถไฟระหว่าง ลเิ วอร์พลู กบั แมนเชสเตอร์ ได้จัดใหม้ กี ารประกวดการใช้กำลังลากจูงขบวนรถ ปรากฏว่า รถจักร ชื่อ Rocket ของ สตีเฟนสัน ชนะการประกวด รถจักรนี้ใช้ท่อไฟเล็ก ๆ หลายท่อในหม้อน้ำแทนการต้มน้ำท้ัง

หม้อ ในระยะเวลาเดียวกัน ความสนใจในการรถไฟได้แพร่ไปยังสหรฐั อเมริกา และประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป (สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. 2521) ประเทศลาวเป็นประเทศหนึ่งที่มีการก่อสร้างทางรถไฟขึ้นหลายต่อหลายครั้ง โดยทางรถไฟสายแรก คือ ทางรถไฟสายดอนเดด-ดอนคอน (Don Det–Don Khon Railway) เป็นทางรถไฟรางแคบระยะสั้น และ เป็นทางรถไฟขนถ่ายสินค้าข้ามฝั่งน้ำ (Portage railway) เพื่อเชื่อมการเดินทางข้ามแม่น้ำโขงจากเกาะดอน เดดกับเกาะดอนคอน ซึ่งสองเกาะนี้เป็นส่วนหนึ่งของสี่พันดอนหรือศรีทันดร ที่มีความหมายว่าสี่พันเกาะ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศลาว ซึ่งปัจจุบันเกาะดอนเดดและดอนคอนนั้นขึ้นกับเมืองโขง แขวงจำปา ศักดิ์ ประเทศลาว เรมิ่ ก่อสรา้ งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2436 ซ่งึ ขณะนนั้ ลาวยงั เป็นส่วนหน่ึงของอินโดจนี ของฝรั่งเศส ถือ เป็นการขนส่งระบบรางแห่งแรกของประเทศลาว การเดินทางข้ามแม่น้ำโขงในบริเวณสี่พันดอนนั้นเป็นสิ่งที่ ยากลำบาก เนื่องจากมีเกาะแก่งใหญ่น้อยกับกระแสน้ำที่ไหลแรง ครั้งช่วงทีล่ าวตกเป็นอาณานคิ มของฝรั่งเศส มีเรือกลไฟจำนวนไม่น้อยอัปปางหรือเสียหายจากการเดินทางผ่านบริเวณดังกล่าว คณะกรรมาธิการสำรวจ แม่น้ำโขง (Mekong Exploration Commission) ชาวฝรั่งเศสจึงได้สร้างเส้นทางรถไฟขึ้นบริเวณเกาะดอน คอนเพื่อบรรทุกผู้โดยสารและสินค้าข้ามไปอีกฝั่งสำหรับต่อเรือเมื่อปี พ.ศ. 2436 หลังมีผู้โดยสารจำนวนมาก ข้ึน จึงขยายเส้นทางออกไปอีก 3 กโิ ลเมตร โดยสรา้ งสะพานข้ามร่องน้ำเพอื่ เช่ือมกับเกาะดอนเดด ใชห้ ัวรถจักร ไอน้ำในการเดินรถ เดิมใช้รางขนาด 600 มิลลิเมตร ก่อนเพิ่มขนาดเป็น 1,000 มิลลิเมตร แต่เมื่อเกิด สงครามโลกครง้ั ที่ 2 ขน้ึ การเดินรถจึงหยดุ ชะงักลง รถไฟเท่ยี วสุดทา้ ยเดินรถในปี พ.ศ. 2483 หลังจากน้ันเป็น ต้นมาทางรถไฟสายนีก้ ถ็ กู ทง้ิ รา้ งมไิ ด้ใช้ประโยชนอ์ ีก เหลอื เพยี งซากสะพาน หวั รถจกั ร และคันทางเปน็ อนุสรณ์ ทางรถไฟสายดอนเดด-ดอนคอนถือเป็นทางรถไฟสายแรกและสายเดียวที่ดำเนินการภายในประเทศลาว จนกระทั่งปี พ.ศ. 2552 ได้มีการเปิดเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย-ท่านาแล้ง บ้านดงโพสี นครหลวง เวียงจนั ทน์ ระยะทาง 3.5 กโิ ลเมตร (วกิ ิพเี ดยี สารานุกรมเสร.ี 2560) ทางรถไฟสายหนองคาย–ท่านาแล้งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการทางรถไฟผ่านทวีปเอเชียขององค์การ สหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2543 รัฐบาลไทยเล็งเห็นถงึ ความสำคัญของกจิ การรถไฟ จงึ สร้างรางรถไฟไว้บริเวณ กลางสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 จากนั้นได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยก่อสร้างทางรถไฟจากกลางสะพาน มิตรภาพเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟหนองคายใหม่ เป็นระยะทาง 2.657 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2540 รัฐบาลลาว ประสบปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่แตก การก่อสร้างจึงหยุดชะงักไป ทางรัฐบาลไทยจึงให้ความช่วยเหลอื โดยการ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยว่าจา้ งบรษิ ัททป่ี รึกษาสำรวจและออกแบบโครงการในปี พ.ศ. 2543 และสำเรจ็ ใน ปี พ.ศ. 2544 โดยเป็นการสร้างเส้นทางรถไฟจากสะพานมิตรภาพไปยังบ้านดงโพสี เมืองหาดทรายฟอง นคร หลวงเวียงจันทน์เป็นระยะทาง 3.5 กิโลเมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 หลังการก่อสร้าง แลว้ เสร็จในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 ได้มกี ารทดลองเดินรถคร้ังแรกเมื่อวนั ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 และได้ มีพิธีเปิดเดินรถปฐมฤกษ์เมื่อวนั ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปัจจุบันประเทศลาวมีโครงการก่อสรา้ งสว่ นต่อขยาย ระยะทสี่ อง ก่อสร้างเส้นทางจากสถานรี ถไฟท่านาแล้งไปยงั สถานีรถไฟคำสะหวาด ระยะทาง 7.5 กิโลเมตร ณ บ้านคำสะหวาด เมืองไชยเชษฐา นครหลวงเวียงจันทน์ ด้วยวงเงิน 994.68 ล้านบาท ซึ่งตั้งอยู่ในย่านใจกลาง เมืองหลวง ห่างจากพระธาตุหลวง อันเป็นจุดหมายตาสำคัญเพียง 4 กิโลเมตร และห่างจากสถานีรถไฟนคร

หลวงเวยี งจนั ทน์ ของทางรถไฟสายเวยี งจันทน์–บ่อเต็น ท่ีบา้ นไซ ประมาณ 10 กิโลเมตร (วิกพิ ีเดยี สารานกุ รม เสรี. 2561) ทางรถไฟสายลาว–จีน เป็นส่วนหนึง่ ของทางรถไฟสายคุนหมงิ –สิงคโปร์ โดยในเส้นทางรถไฟลาว–จนี มีแนวเส้นทางเชื่อมต่อมาจากทางรถไฟสายคุนหมิง–บ่อหาน จุดเริ่มต้นของเส้นทางเริ่มจากชายแดนด่านบ่อ หานของเขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา ประเทศจีน และเชื่อมเข้ากับด่านบ่อเต็น ประเทศ ลาว ผ่านแขวงหลวงน้ำทา แขวงอุดมไซ แขวงหลวงพระบาง แขวงเวียงจันทน์ และส้ินสุดที่นครหลวง เวียงจันทน์ ทางรถไฟสายลาว–จีน มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีภูเขาหินปูนจำนวนมาก และมีที่ตั้งอยู่บริเวณ กระดูกสันหลังอินโดจีน มีปริมาณน้ำฝนทีส่ ูงในแตล่ ะปี รวมทั้งเป็นอาณาบริเวณทีม่ ีระเบิดกระจัดกระจายจงึ มี ประชากรอยู่อาศัยน้อย เส้นทางทั้งหมดเป็นอุโมงค์ร้อยละ 47 และเป็นสะพานรถไฟร้อยละ 15 โดยคิดเป็น อุโมงค์จำนวน 75 แห่งและสะพานรถไฟจำนวน 167 แห่ง บริเวณพรมแดนระหว่างประเทศจีนและลาว มีทาง อโุ มงคค์ วามยาว 9,680 เมตร อยู่ในประเทศลาว 7,170 เมตร และอย่ใู นประเทศจีน 2,510 เมตร โดยรวมแล้ว ทางรถไฟสายนม้ี ีสถานีทัง้ หมด 21 สถานี ประกอบด้วยสถานขี นส่งผู้โดยสารจำนวน 10 สถานี และสถานีขนส่ง สนิ คา้ จำนวน 11 สถานี สถานขี นสง่ ผู้โดยสารจำนวน 10 สถานี ประกอบด้วย สถานนี ครหลวงเวยี งจนั ทร์ โพน โฮง วงั เวยี ง กาสี หลวงพระบาง เมืองงา เมืองไซ นาหมอ้ นาเตย บ่อเตน็ เมืองหลวงพระบาง ในปจจุบันเป็นตัวเมืองหลักของ แขวงหลวงพระบาง ตั้งอยู่ภาคเหนือของ สาธารณรฐั ประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว และมีสถานภาพเป็น “เมอื งมรดกโลกทางวัฒนธรรม” ของสำนักงานมรดกโลกแหงสหประชาชาติ (UNESCO) ต้ังแต่ พ.ศ.2538 เป็นตนมา ทั้งนี้ อัตลักษณของ ท้องถิ่นหลวงพระบาง ที่ได้ถูกยกระดับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ได้เกิดจากสัมพันธภาพแหงการดำรง อยู่ของผู้คนกับพื้นท่ีกายภาพอันเป็นที่ตั้งของเมืองที่มีลักษณะเฉพาะตัว คือ เป็นพ้ืนที่ราบที่ถูกแวดลอมด้วย ภูเขาสลับซับซอน และถูกกำกับขอบเขตด้วยเสนทางการไหลของแม่น้ำโขง สายน้ำคาน และสายน้ำดง ดังนั้น ผงั ของเมืองหลวงพระบาง จงึ ถกู ตรงึ ขอบเขตใหยาวขนาบไปตามขอบฝั่งแม่น้ำโขงและแนวการไหลของสายน้ำ ท้ังสอง รวมทั้งแนวภูเขาท่ีแวดล้อม อย่างไรก็ตาม นอกเขตปริมณฑลของพื้นที่ราบ ยังมีสายน้ำขนาดกลางท่ี ไหลทอดยาวมาจากต่างพื้นท่ี มาบรรจบกับแม่น้ำโขงอีก 2 สาย สงผลใหพื้นท่ีราบ และตําแหนงที่ตั้งของพื้นท่ี ส่วนน้ีเหมาะสมตอการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ อันเป็นผลมาจากความสมบูรณของปัจจัยท่ีตอบสนองเง่ือนไขการ ดำรงชีวิต และยิ่งกลายเป็นจุดศูนย์กลางของการคมนาคมทางน้ำ พื้นที่ราบขนาดเลก็ แห่งนี้ จึงมีผู้คนเขามาอยู่ อาศัยตงั้ แต่บรรพกาล (UNESCO. 2004) หลวงพระบางเป็นเมอื งมรดกทองถ่ิน ทีไ่ ด้รบั การสถาปนาใหเป็นเมอื งมรดกของรฐั ชาติ เมอื งมรดกโลก ทางวัฒนธรรม และเมืองทองเที่ยวทางวฒั นธรรมในระดับโลก ทำใหหลวงพระบาง ตกอยูในบริบทของกระแส โลกาภิวัตน ซึ่งสงผลตอการเปลี่ยนแปลงพ้ืนท่ีทางสังคม พื้นที่พิธีกรรม และการต่อรองเชิงอัตลักษณ์ของคน หลวงพระบาง (ศภุ ชัย สิงห์ยะบศุ ย.์ 2551)

การเข้ามาของรถไฟลาว-จีนในมุมในมุมมองของคนท้องถ่ินจากการสัมภาษณ์ของผู้ศกึ ษา โดยผู้ศึกษา ได้ทำการสัมภาษณ์คนท้องถิ่นจำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย นางแพง ปุบผา ประชาชนชาวหลวงพระบาง มองว่าการที่รถไฟลาว-จีน เข้ามานั้นไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประชาชนชาวหลวงพระบาง ตนเองในฐานะผู้ประกอบการธุรกิจที่พักอาศัยกลับมองว่าส่งผลดีต่อตนเอง อีกทั้งนักท่องเที่ยวที่เข้ามาก็ไม่ได้ สรา้ งความเปลีย่ นแปลงให้กับสังคมของคนหลวงพระบาง ท้งั นี้อาจเปน็ เพราะว่ารถไฟลาว-จนี ยงั เปิดเดินรถได้ ไม่นานมากนักจึงยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อด้านสังคมหรือด้านอื่น ซึ่งตรงตามความคิดเห็นของ ท้าวจันที วิไลคอน ผู้ประกอบการธุรกิจที่พักอาศัย และ MR.Chanthaphone Xaiyvongsan Head of the television subject unit จากการสัมภาษณ์คนท้องถิ่นในหลวงพระบางทั้ง 3 ท่าน สามารถสรุปได้ว่า ในมุมมองของคนหลวง พระบางนั้น มองว่าการเข้ามาของรถไฟลาว-หลวงพระบาง ไม่ได้ส่งผลกระทบกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ของคนหลวงพระบางเท่าใดนัก ทั้งนี้สาเหตุมาจากรถไฟลาว-จีน เปิดวิ่งได้ยังไม่นานนักจึงยังไม่เหน็ ผลกระทบ กบั การเปลี่ยนแปลงทางสงั คมหรอื ดา้ นอ่ืน ๆ อา้ งอิง จนั ที วไิ ลคอน (2565). สัมภาษณ์ เมอื่ 11 ตลุ าคม 2565 แพง ปบุ ผา (2565). สัมภาษณ์ เม่ือ 11 ตุลาคม 2565 วิกิพเี ดยี สารานุกรมเสรี. (2560). ทางรถไฟสายดอนเดด–ดอนคอน. ออนไลน์. สืบคน้ เมื่อ 26 ตุลาคม 2565. ___________. (2561). ทางรถไฟสายหนองคาย-เวียงจนั ทร.์ ออนไลน์. สืบค้นเมอื่ 26 ตลุ าคม 2565. ___________. (2563). ทางรถไฟสายลาว–จนี . ออนไลน.์ สบื ค้นเมอ่ื 26 ตุลาคม 2565. สารานกุ รมไทยสำหรับเยาวชน. (2521). สารานกุ รมไทยสำหรบั เยาวชน โดย พระราชประสงค์ใน พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ ัว เลม่ ท่ี 4. อัมรินทร์พรนิ้ ต้ิงแอนด์พับลิชชิง่ . กรุงเทพมหานคร. ศุภชยั สิงห์ยะบศุ ย.์ (2551). วิทยานพิ นธ์ เรอ่ื งหลวงพระบางเมืองมรดกโลก : พื้นทีพ่ ิธีกรรมและการ ตอ่ รองเชิงอัตลักษณ์ในกระแสโลกาภวิ ัฒน.์ ปรัชญาดุษฎบี ัณฑิต. สาขาวชิ าไทศึกษา. มหาวิทยาลยั มหาสารคาม. Chanthaphone Xaiyvongsan (2565). สมั ภาษณ์ เมือ่ 11 ตลุ าคม 2565 UNESCO. (2004). Tourism and Heritage site Management LUANG PRABANG Lao PDR. P.6.