ปราสาทพิมายกับทศิ ทางเขา้ : ขอ้ คดิ เห็นอนั หลากหลาย พิทักษ์ชยั จัตุชัย* หากกล่าวถึงงานศิลปกรรมในวัฒนธรรมเขมรทีพ่ บในประเทศไทยที่มคี วามโดดเด่นที่สุด คง จะกล่าวถึง “ปราสาทพิมาย” อนั เนือ่ งมาจากเปน็ ปราสาทในวฒั นธรรมเขมรทม่ี ขี นาดใหญ่ที่สุดในประเทศ ไทย รวมถึงปราสาทหลังนี้ยังอาจเป็นต้นแบบของการสร้างปราสาทนครวัดในประเทศกัมพูชา ทั้งน้ี เนื่องมาจากการสร้างส่วนของเครื่องบนหรือชั้นวิมานของปราสาทพิมายมีลักษณะเป็นทรงพุ่ม ก่อนที่จะ กลายไปเป็นลักษณะทีน่ ยิ มทำเป็นปกติในศลิ ปะนครวดั และศิลปะบายน นอกจากนี้ ปราสาทพิมายอันเป็นศูนย์กลางของเมืองพิมาย ยังกำหนดให้หันหน้าไปยังทาง ทศิ ใต้ ซ่งึ ถอื ว่าเป็นรูปแบบทีม่ ลี ักษณะผดิ แผกแตกต่างออกไปจากการสร้างปราสาทในวัฒนธรรมเขมรแห่ง อนื่ ๆ สง่ ผลให้นกั วชิ าการที่ศึกษาวัฒนธรรมเขมรต่างก็ให้ข้อสันนิษฐานทแ่ี ตกตา่ งกนั ออกไป ทั้งน้ีก็เพ่ือให้ จะให้เห็นถึงความหมายและวัตุประสงค์อันแท้จริงของผู้สร้างเมืองแห่งนี้ให้ได้มากที่สุด ภายใต้หลักฐาน ทางโบราณคดีและงานศลิ ปกรรมท่ปี รากฏอยใู่ นปัจจุบนั เมืองพมิ าย เมืองพิมายเป็นเมืองสำคัญในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน ปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่ยุคก่อน ประวัติศาสตร์ สมัยสำริด ราว ๓,๕๐๐ ปี มาจนถึงยุคประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษท่ี ๑๒-๑๖ และสมัยลพบุรี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ อันเป็นช่วงเวลาที่มีพัฒนาการของชุมชนถึงขีดสุด กลา่ วคอื ปรากฏการสร้างปราสาทในวฒั นธรรมเขมรโบราณขนาดใหญ่ในบริเวณพืน้ ที่แหง่ น้ี เมืองพิมาย เป็นเมืองโบราณที่มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๕๖๕ เมตร ยาว ๑,๐๓๐ เมตร มีคูเมิองและกำแพงล้อมรอบ โดยมีประตูเมืองทั้งสี่ด้าน และมีปราสาทพิมายตั้งเป็น ศนู ยก์ ลางอยู่กลางเมือง ปัจจุบันประตูเมืองยังคงหลงเหลือสภาพเพียงสามด้านเท่านัน้ คอื ประตูชัย (ด้าน ทิศใต้) ประตูผี (ด้านทิศเหนือ) และประตูประตูหิน (ด้านทิศตะวันตก) ส่วนประตูทางด้านทิศตะวันออก * นกั ศึกษาปรญิ ญาเอก สาขาวจิ ยั วฒั นธรรม ศลิ ปกรรมและการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่
หลงเหลือเพียงส่วนฐานศิลาแลงที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีเท่านั้น (กรมศิลปากร, ๒๕๕๘, น. ๒๑๐) ภาพที่ ๑ โบราณสถานประตูชยั ท่มี า : ถา่ ยเม่ือวนั ท่ี ๕ มกราคม ๒๕๖๕ ณ โบราณสถานประตูชัย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสมี า บริเวณภายในเมืองพิมายเป็นที่ตั้งของปราสาทพิมาย ซึ่งเป็นปราสาทที่ถูกสร้างขึ้นรัชสมัย ของพระเจ้าชัยวรมนั ท่ี ๖ แห่งราชวงศม์ หิธรปรุ ะ ซ่งึ เชือ่ กนั ว่าเปน็ ราชวงศท์ ี่มีอำนาจในบริเวณพื้นที่เจนละ บก หรือบริเวณเหนือเทือกเขาพนมดงรัก อันเป็นที่ตั้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศ ไทยในปัจจุบัน ซึ่งปราสาทแห่งนี้มีความโดดเด่นในการสร้างขึ้นให้เป็ นศาสนาสถานเนื่องใน พระพทุ ธศาสนามหายาน ลทั ธวิ ชั รยาน (กรมศลิ ปากร, ๒๕๓๒, น. ๖๖) ดังจะเห็นไดจ้ ากภาพเล่าเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและพระพุทธรูปนาคปรกภายในห้องครรภคฤหะ รวมถึงภาพสลักเรื่องรา มายณะในศาสนาฮินดู ซึ่งเปน็ การผสมผสานกันระหว่างศาสนาทง้ั สองเข้าไวด้ ้วยกัน นอกจากนี้ ยังพบจารึกปราสาทพิมาย ๓ ที่จารึกบนกรอบประตูของโคปุระชั้นในด้านทิศใต้ ยังมีเนื้อหากลา่ วว่า “เมื่อ พ.ศ. ๑๖๕๕ ตรงกับรัชกาลพระเจา้ ธรณินทรวรมนั ท่ี ๑ ได้กล่าวยอ้ นกลับไปใน
พ.ศ. ๑๖๕๑ ว่ากมรเตงอัญศรีวีเรนทราธิบดีวรมะ แห่งเมืองโฉกวะกุล สร้างรูปกมรเตงชคตเสนาบดีไตร โลกยวิชัย ซึ่งเป็นเสนาบดีของกมรเตงชคตวิมายะ ประดิษฐานไว้ ณ ปราสาทหลังนี้ พร้องกันนี้ได้จัดสรร ที่ดินให้คนอยู่อาศัย ขุดสระน้ำ ปักเขตแดนของที่ดินเหล่านั้น หลังจากนั้นใน พ.ศ. ๑๖๕๒ มีการจัดงาน เฉลมิ ฉลองและมอบขา้ พระเพิ่มเตมิ ใหแ้ ก่กมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย” ซ่งึ จากข้อความในจารึกหลัก นี้ ทำใหท้ ราบไดถ้ ึงคำวา่ “วิมาย” อาจเป็นคำเดียวกันกับ “พมิ าย” ซงึ่ เป็นชอื่ เมืองทเี่ รียกในปัจจบุ ัน ทศิ ทางเข้าเมืองพมิ าย นอกจากปราสาทพิมายจะเป็นปราสาทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและมีลักษณะอัน โดดเด่นอย่างมากในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลแล้ว การที่ปราสาทพิมายและเมืองพิมายหนั หน้าไปทางทิศใต้ ยัง เป็นประเด็นที่มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากมีความแตกต่างจากปราสาทในวัฒนธรรมเขมร โดยทั่วไปทมี่ ักจะหันหนา้ ไปทางทิศตะวันออก (กรมศิลปากร, ๒๕๕๘, น. ๒๑๐-๒๑๑, บวรเวท รุง่ รจุ ี และ พาสขุ ดิษยเดช, ๒๕๕๘, น. ๑๓๕) ซึ่งประเด็นการหันหน้าไปยังทิศใต้ของเมืองพิมายและปราสาทพิมายนั้น นับว่ายังเป็นท่ี ถกเถียงของนักวิชาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะอย่างมาก โดยมุ่งให้ข้อคิดเห็นว่า การหัน หนา้ ไปยังทิศใตน้ ั้นมีความหมายอย่างไร หรอื มีนยั ที่สำคญั ใดบา้ ง ดังนั้น บทความน้ีจึงขอนำเสนอข้อคิดเห็นที่ได้จากนักวิชาการสาขาต่าง ๆ ทั้งทางด้าน โบราณคดี ประวัติศาสตรศ์ ลิ ปะ และนกั อักษรศาสตร์ เพ่ือให้เห็นมุมมองทีห่ ลากหลาย ดังนี้ ๑) ความสัมพันธ์กับเส้นทางราชมรรคาและเมืองยโศธระปุระ นับว่าเป็นข้อสันนษิ ฐานท่ี ได้รับความนิยมและเชื่อถือจากนักวิชาการสว่ นใหญ่มาอย่างยาวนาน ซึ่งเชื่อวา่ เมืองพิมายแห่งนี้หันไปรบั กับเส้นทางที่ตัดตรงมาจากเมืองพระนคร หรือเส้นทางราชมรรคา (รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, ๒๕๕๑, น. ๑๓๐) ท่เี ป็นเสน้ ทางเชื่อมการตดิ ต่อของผู้คนระหวา่ งที่ราบลุ่มโตนเลสาบ ในประเทศกมั พูชา กับบริเวณท่ี ราบสูงเหนือเทือกเขาพนมดงรัก ที่เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน (กรมศิลปากร, ๒๕๕๘, น. ๒๑๑) โดยหลักฐานที่สนับสนุนข้อคิดเห็นดังกล่าว คือ ท่านางสระผม อันเป็นพลับพลาท่าน้ำ ทรงจตุรมุข หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผาที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ห่างจากประตูชัยของเมืองพิมาย ราว ๑ กิโลเมตร ซึง่ ถอื วา่ เป็นจุดสิ้นสุดของเสน้ ทางราชมรรคากอ่ นที่จะเข้าสู่เมืองพมิ าย
ทั้งนี้ นอกจากข้อสันนิษฐานที่ว่าเมืองพิมายหันไปทางทิศใต้เพื่อรับเส้นทางราชมรรคา แล้ว ยงั รวมถงึ การหันทิศทางลงไปยังเมืองพระนคร หรือยโศธรปรุ ะ อนั เป็นศูนยก์ ลางของอาณาจักรเขมร โบราณ เพื่อแสดงถงึ ความอ่อนน้อมและจงรักภักดีต่อศูนย์กลางของพระราชอาณาจักรอีกดว้ ย (สำนักงาน วัฒนธรรมจังหวดั นครราชสีมา, ๒๕๖๓, น. ๑๐๖) ๒) ทิศแห่งการมีชีวิตและการหลุดพ้น แม้ว่าซุ้มประตูทางเข้าเมืองพิมายด้านทิศใต้ท่ี เรยี กวา่ ประตชู ยั จะถกู สรา้ งข้นึ ในรชั สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ศลิ ปะแบบบายน ราวพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๘ แต่ปราสาทพิมายอันเปน็ ศูนย์กลางของเมืองพิมายนั้นก็ถูกสร้างขึ้นด้วยคติพระพุทธศาสนามหายาน ลัทธิ วัชรยาน นับต้งั แต่ราวพทุ ธศตวรรษท่ี ๑๖ มาแล้ว การหันหน้าไปยังทิศใต้ของปราสาทพิมาย จึงนำไปสู่การอธิบายการหันไปยังทิศใต้ของ เมืองพิมายเช่นเดียวกัน โดยในมหาปรินิพพานสูตรตามคติพระพุทธศาสนามหายาน เชื่อว่าทิศใต้เป็นทิศ แห่งการมีชีวิต และทิศเหนือเป็นทิศแห่งความตาย (กรมศิลปากร, ๒๕๕๘, น. ๒๑๑, พิเศษ เจียจันทร์ พงษ,์ ๒๕๔๕, น. ๑๑๗-๑๒๑) จากการขุดแต่งทางโบราณคดีบริเวณโบราณสถานประตูชัย พบหลักฐานประติมากรรม เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (กรมศิลปากร, ๒๕๓๒, น. ๒๕) ซึ่งอาจสอดคล้องกับแนวคิดที่เชื่อกันว่า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นธยานิโพธิสัตว์ของพระอมิตาภะ ในคติพระพุทธศาสนามหายาน ผู้ทรง เปี่ยมด้วยความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ ด้วยพระประสงค์จะช่วยเหลือสรรพพสัตว์ให้หลุดพ้นจากความ ทุกข์ทั้งปวง และปกป้องดูแลสัตว์โลกในภัทรกัลป์ในช่วงที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพานไปแล้ว โดยพระองค์ทรงประทับอยู่บนเกาะกลางทะเลอันเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ด้านทิศใต้ของ ประเทศอนิ เดีย ที่เรยี กวา่ ภเู ขาโปตละ (พเิ ศษ เจียจนั ทร์พงษ์, ๒๕๔๕, น. ๗๕-๗๙) ดงั น้นั ขอ้ คิดเห็นนจี้ ึงเป็นการอธิบายว่าปราสาทพิมายและเมืองพมิ ายหันหน้าไปยังทิศใต้ นั้น เป็นการหันไปยังทิศอันเป็นมงคล กล่าวคือ เป็นทิศแห่งการมีชีวิต และที่ประทับของพระโพธิสัตว์อว โลกเิ ตศวร ผู้ทช่ี ่วยเหลอื ปกป้องและดูแลสรรพสตั ว์ให้หลดุ พ้นจากความทุกขท์ งั้ ปวง
ภาพที่ ๑ ประติมากรรมเศียรพระโพธสิ ตั ว์อวโลกเิ ตศวร จากโบราณสถานประตชู ยั ที่มา : ถา่ ยเมื่อวันท่ี ๕ มกราคม ๒๕๖๕ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พมิ าย จังหวัดนครราชสีมา ๓) ทศิ แหง่ การบูชาบรรพบุรุษ พิริยะ ไกรฤกษ์ ไดเ้ สนอข้อคดิ เห็นว่า การท่เี มืองพมิ ายและ ปราสาทพิมายหันหน้าไปทางทิศใต้นั้น เนื่องมาจากเป็นปราสาทที่ถูกสร้างขึ้นโดยราชวงศ์มหิธรปุระ ซึ่ง พระเจา้ ชยั วรมันท่ี ๖ ผสู้ ร้างปราสาทพิมายทรงตอ้ งการอุทศิ ถวายแด่พระราชบรรพบรุ ุษในราชวงศ์มหิธรปุ ระ โดยทิศใต้นั้นอาจจะสอดคล้องกับทิศของพระยม เทพประจำทิศใต้ และเทพเจ้าแห่งความตาย ซึ่ง ขอ้ คิดเห็นนี้ก็สอดคล้อง ศาสตราจารย์ โคลด ฌาคส์ (Claude Jacques) ผู้เชี่ยวชาญด้านจารึกเขมรโบราณ ก็ เปน็ อกี คนหนง่ึ ทไ่ี ดก้ ล่าวถึงข้อคิดเหน็ นี้วา่ พระเจา้ ชัยวรมนั ท่ี ๖ ทรงสร้างปราสาทพิมายเพื่ออุทิศถวายแด่ พระราชบรรพบุรุษของพระองค์ จึงทำให้ปราสาทพิมายหันหน้าไปทางทิศใต้ซึ่งถือว่าเป็นทิศแห่งบรรพ บรุ ุษ (ศศิธร จนั ทร์ใบ, ๒๕๔๕, น. ๓๑) ๔) ทิศแห่งการบรรลุนิพพาน ลักษณะการวางผังของเมืองพิมายและปราสาทพิมายมี ลักษณะที่แตกต่างจากปราสาทหลังอื่น ๆ ที่ส่วนใหญ่จะสร้างในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ในขณะท่ี ปราสาทพมิ ายถกู สร้างขึ้นด้วยคตพิ ระพุทธศาสนามหายาน ลทั ธวิ ชั รยาน
ซึ่งหากพิจารณาจากการวางผังในลักษณะแนวแกนทิศเหนือ-ใต้ ก็อาจจะสอดคล้องกับ คมั ภรี พ์ ฤหทารัณยกะอุปนิษัท ที่อธิบายถึงคติการวางผังแบบใช้แกนทศิ ทสี่ ามารถเทียบเท่ากับแกนด่ิงของ โลก ซึ่งต่างจากการใช้ดวงอาทิศเป็นแนวแกน โดยคัมภีร์ได้ขยายความว่าสุริยทวารซึ่งเป็นประตูแห่งชีวิต และประตแู ห่งความตายในระบบแนวแกนเหนือ-ใต้ (เอเดรียน สนอกราส, ๒๕๔๑, น. ๓๑๕-๓๑๖) ทศิ เหนอื มีความหมายถึง เทวยาน หรือเป็นท่ีต้ังของประตูแห่งทวยเทพที่เขา้ สู้เส้นทางที่ นำทวยเทพไปสู่แดนเหนือโลก ส่วนทิศใต้ มีความหมายถึง ปิตรยาน หรือที่ตั้งของประตูแห่งบรรพบุรุษ หรอื ประตูทผ่ี ่านไปสเู่ สน้ ทางของบรรพบรุ ษุ ทีน่ ำกลับไปส่ภู ายในจักรวาล โดยคตนิ ี้ต้องการส่ือถึง “ผรู้ ู้” จะผ่านเข้ามาทางทางประตบู รรพบุรุษและทะลุออกไปที่สุ ริยทวารโดยไม่กลับมาอีก หากแต่ “ผู้โง่เขลา” จะถอยกลับไปสู่ประตูบรรพบุรุษอีก เพื่อไปเกิดใหม่ในภพ ภูมอิ นื่ ที่สูงกวา่ (ศศิธร จนั ทร์ใบ, ๒๕๔๕, น. ๓๑-๓๒, เอเดรยี น สนอกราส, ๒๕๔๑, น. ๓๑๕-๓๑๗) ดังนั้น การใช้วางผังในลักษณะเช่นนี้ ย่อมสะท้อนถึงสัญลักษณ์ที่สอดคล้องกับวิถีแห่ง การหลุดพ้นหรือการบรรลุนพิ พาน สรุป รูปแบบแผนผังของเมืองพิมายและปราสาทพิมายซึ่งเป็นปราสาทในวัฒนธรรมเขมรที่มี ความสำคัญและมีขนาดใหญ่มากที่สุดในพืน้ ทีป่ ระเทศไทย มีการกำหนดให้มีทิศทางเข้าด้านหน้าหันไปยงั ทิศใต้ ซึง่ ถอื วา่ เปน็ ลักษณะของเมืองและปราสาททม่ี ีแตกต่างออกไปจากปราสาทหลงั อ่ืน ๆ ในวัฒนธรรม เขมร การหันหน้าไปยังทิศใต้ของเมืองพิมายและปราสาทพิมายนั้น นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า เป็นการหันไปรับกับถนนที่ตัดตรงมาจากเมืองพระนครในฐานะของศูนย์กลางของอาณาจักรเขมรโบราณ แต่หากพิจารณาถึงคติความเชื่อแล้ว จะพบว่าเมืองพิมายและปราสาทพิมายถูกสร้างขึ้นในคติ พระพุทธศาสนาหายาน ลัทธิวัชรยาน ซึ่งอาจจะทำให้สามารถอธิบายความหมายของทิศทางการหันหนา้ ไปยังทศิ ใตไ้ ด้มากย่ิงขึ้น การค้นพบประตมิ ากรรมเศยี รพระโพธิสตั ว์อวโลกิเตศวร บริเวณโบราณสถานประตูชัย อาจ สอดคล้องกับมหาปรินิพพานสูตรตามคติพระพุทธศาสนามหายาน ท่ีเชื่อว่าทิศใต้เป็นทิศแห่งการมีชีวิต หรือคติการอุทิศถวายแด่พระราชบรรพบุรุษในราชวงศ์มหิธรปุระ โดยทิศใต้นั้นอาจจะสอดคล้องกับทิศ ของพระยม เทพประจำทิศใต้ รวมถึงการวางผังในลักษณะแนวแกนทิศเหนือ-ใต้ จากคัมภีร์พฤหทารัณย
กะอุปนิษัท ที่เชื่อว่าทิศใตเ้ ปน็ ประตูแห่งบรรพบุรุษ หรือประตูที่ผ่านไปสูเ่ สน้ ทางของบรรพบุรุษท่ีนำกลบั ไปสภู่ ายในจกั รวาล ดังนัน้ การจะอธบิ ายว่าเมืองพิมายและปราสาทพิมายหันหนา้ ไปยังทิศใต้ด้วยกรอบความคิด อย่างใดอย่างหนึ่งนน้ั จงึ เป็นส่งิ ท่ีไมอ่ าจจะทำใหเ้ ห็นถึงมุมมองที่หลากหลายมากนัก หากแตก่ ารตีความใน ประเดน็ ที่เกีย่ วข้องกับศาสนสถาน ควรเป็นการตคี วามทง้ั จากลักษณะทางกายภาพและคติความเชือ่ เข้าไป ประกอบด้วย อันจะเป็นแนวทางให้กับผู้ที่สนใจศึกษาได้พิจารณาเลือกจากความเช่ือและหลักฐานทาง โบราณคดีทปี่ รากฏ บรรณานุกรม กรมศลิ ปากร. (๒๕๓๒). เมอื งพมิ าย. กรุงเทพฯ : สำนกั โบราณคดแี ละพิพิธภณั ฑสถานแห่งชาติ. ________. (๒๕๕๘). ปกณิ กศิลปวฒั นธรรม เล่ม ๒๑ จงั หวัดนครราชสีมา. กรุงเทพฯ : สำนกั วรรณกรรม และประวัติศาสตร์. บวรเวท รุ่งรจุ ี และพาสุข ดษิ ยเดช. (๒๕๕๘). อุทยานประวตั ิศาสตร์ในประเทศไทย. ในสารานกุ รมไทย สำหรับประชาชน เลม่ ๒๙. กรงุ เทพฯ : โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราช ประสงคใ์ นพระบาทสมเด็จพระเจา้ อยหู่ วั . พิเศษ เจยี จันทร์พงษ์. (๒๕๔๕). ทำไมปราสาทพมิ ายจึงหนั หน้าไปทางทิศใต.้ ศลิ ปวฒั นธรรม ปที ่ี ๒๐ ฉบับที่ ๑ (พฤศจกิ ายน ๒๕๔๑). หนา้ ๑๑๗-๑๒๑. รุง่ โรจน์ ธรรมรุง่ เรือง. (๒๕๕๑). ปราสาทขอมในดนิ แดนไทย ความเป็นมาและข้อมลู ดา้ นประวัตศิ าสตร์ ศิลปะ. พมิ พค์ รง้ั ที่ ๒. กรุงเทพฯ : มตชิ น. ศศิธร จันทร์ใบ. (๒๕๔๕). การศกึ ษาคติการออกแบบปราสาทหินพิมาย อำเภอพมิ าย จงั หวัด นครราชสมี า. วทิ ยานิพนธป์ ริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวชิ าประวติศาสตร์ สถาปตั ยกรรม บัณฑติ วิทยาลัย มหาวทิ ยาลัยศิลปากร. เอเดรียน สนอกราส. (๒๕๔๑). สัญลักษณแ์ ห่งพระสถูป. แปลโดย ภัทรพร สริ ิกาญจน และคณะ. พิมพ์ ครั้งท่ี ๒. กรุงเทพฯ : อมรินทร์วิชาการ.
Search
Read the Text Version
- 1 - 7
Pages: