ศวิ ลึงค์สู่ปลดั ขิก แนวคดิ การบูชาปราสาทหนิ พนมรุง้ นฤมล กางเกต*ุ บทนำ ปราสาทพนมรงุ้ เปน็ ศาสนาสถานในวฒั นธรรมเขมรโบราณทส่ี ำคญั แห่งหน่งึ ในประเทศไทย สร้างข้ึน ในช่วงพุทธศตวรรษท่ี 15 - 18 เป็นศาสนสถานบูชาพระศิวะ เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนกิ าย การ สร้างปราสาทพนมรงุ้ บนยอดภเู ขาเปน็ การจำลองวิมานที่ประทับของศวิ ะบนเขาไกรลาส โดยมพี ิธีการบูชาพระ ศิวะ คือ การสรงน้ำศิวลึงค์ซึ่งเป็นรูปเคารพแทนองค์พระศิวะในห้องครรภคฤหะของปราสาทประธาน ใน ปัจจุบันปราสาทหินพนมรุ้งกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม ศึกษาเรียนรู้ประวตั ิศาสตร์ ศิลปกรรม และทิวทัศน์รอบโบราณสถาน รวมทั้งเขา้ มาชมปรากฎการณ์สำคัญ ใน ประเพณีขน้ึ เขาพนมรุ้ง ในวนั ขนึ้ 15 ค่ำ เดือน 5 ของทกุ ปี คตคิ วามเชื่อ การบูชาศวิ ลึงค์ทีป่ ราสาทหนิ พนมรงุ้ ศิวลึงค์ เป็นรูปเคารพแทนองค์พระศิวะมีตำนานเล่าเรื่องการกำเนิดศิวลึงค์ปรากฎในคัมภีร์ปุราณะ หลายฉบับเรียกว่า “ลิงโคทฺภฺวฺมูรติ” (Lingodbhava) คัมภีร์ที่เก่าทีส่ ุดมีอายุประมาณพุทธศตวรรษท่ี 12 แต่ง โดยนักบวชไศวนิกาย (วิกิพีเดีย,) ศิวลึงค์ ลึงค์ หรือ ลิงค์ (Shiva Lingam) มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง เครอ่ื งหมาย สญั ลกั ษณ์ เพศ องคชาต การอนุมาน คัพภะทก่ี อ่ เกิดลูกหลานชั่วนิรันดร์ เปน็ สญั ลกั ษณะของพระ ศิวะเทพเจา้ ในศาสนาฮินดู ใชใ้ นการบูชาสกั การะในโบสถ์วิหารฮินดูในศาสนาฮินดู ประเทศอินเดียนั้นเป็นสาวกของพระศิวะที่มีความเลื่อมใสศรัทธาในเทพองค์นี้อย่างสูงยิ่งและโยคี เหลา่ น้เี ช่อื ว่าคร้ังหน่งึ พระศิวะเคยบำเพญ็ พรตเปน็ ฤาษี และเช่ือว่าศิวลึงค์น้ันเกิดจากอำนาจของพระศวิ ะ ผูใ้ ด มีศิวลึงค์หรือเคารพบูชาศิวลึงค์อยู่เป็นประจำ พระองค์จะทรงคุ้มครองป้องกันภยันตรายทั้งปวงและจะดล บนั ดาล ใหม้ ีโชค ลาภวาสนาแก่ผนู้ ัน้ ตลอดไปศิวลึงคม์ ีอำนาจท่จี ะบนั ดาลทุกส่ิงอย่างนานัปการใหแ้ ก่ผู้บูชาและ มพี ลงั เหนอื ธรรมชาติ (สมมาตร์ ผลเกิด, 2561) คติความเชื่อเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ ซึ่งทำเป็นรูปอวัยเพศชาย สืบเนื่องมาจากความเชื่อ ดัง้ เดิมตั้งแต่สมยั อารยธรรมอินเดยี แถบลมุ่ น้ำสินธุ แสดงสญั ลกั ษณค์ วามอุดมสมบรู ณ์ และบ่อเกิดของสิ่งมีชีวิต *นักศกึ ษาปริญญาเอก สาขาวจิ ยั วฒั นธรรม ศลิ ปกรรมและการออกแบบ คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น
ทงั้ ปวงในโลก ทีป่ ระดิษฐานบนแท่นโยนโิ ทรณะ (โยนี) อันเป็นเคร่ืองหมายเครื่องเพศหญงิ ซ่ึงก็คือพระนางอุมา ชายาของพระองค์ (อรุณศักด์ิ ก่งิ มณ,ี 2562) ปราสาทพนมรุ้ง เป็นศาสนสถานที่สร้างถวายแด่เทพเจ้าในวัฒนธรรมเขมรโบราณ ผู้สร้างจะอุทิศ ทรัพย์สิน และสิ่งของต่าง ๆ เป็นเครื่องบูชาแด่เทวสถานนั้น ๆ ในส่วนของปราสาทพนมรุ้ง “นเรนทราทิตย์” เจ้านายเชื้อสายราชวงศ์มหธิ รปุระองค์สำคญั ผู้สรา้ งปราสาทแห่งน้ี (พงศธร ดาวกระจาย:2563) ได้ทำนุบำรุง ศาสนาฮินดู โดยปฏิบัติตามความเชื่อของลัทธิไศวนิกายแบบปาศุปตะ ท่านได้อุปถัมภ์ พราหมณ์ ดาบส โยคี ถวายทรัพยส์ ิน ที่ดิน ขา้ ทาส รวมถึงสงิ่ ของมคี ่าเป็นเคร่ืองบชู าแดป่ ราสาทพนมรุ้งจำนวนมาก เรื่องราวในจารกึ พบที่ปราสาทพนมรุ้ง กล่าวถึงสิ่งของที่กลุ่มชนช้ันสูงได้อุทิศถวายแด่เทวาลัยพนมรุ้ง เป็นจำนวนมาก สำหรับเลี้ยงข้าวพระประจำเทวาลัยซ่ึงทำหน้าทีด่ ูแลความเรียบร้อยต่าง ๆ เช่น จารึกพนมรงุ้ ๓ กล่าวถึงการถวายน้ำนม จารึกพนมรุ้ง ๔ กล่าวถึงการถวายข้าวสุก จารึกพนมรุ้ง ๘ กล่าวถึงสิ่งของสำหรับ บริโภค เช่น กองข้าว ข้าวเปลือก น้ำผึ้ง วัว (ให้น้ำนม) เครื่องเทศ เช่น จันทร์แดง กานพลู ของหอมสำหรับ พิธีกรรม เช่น การบูร ไม้จันทร์ จารึกพนมรุ้ง ๙ กล่าวถึงการถวายราชยานขนาดใหญ่แด่เทพเจ้า (พระศิวะ) แหง่ ภเู ขาใหญ่ (พนมร้งุ หมายถึง ภูเขาใหญ่) นอกจากสิ่งของแล้วยังปรากฏการกัลปนาถวายที่ดินด้วย โดยบริเวณรอบเขาพนมรุ้งพบหลักหิน กระจายเป็นจำนวนมากอยู่ทุกทิศ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นขอบเขตที่ดินที่ถูกถวายแด่ศาสนสถาน ซึ่งที่กล่าวมา เหล่านี้ล้วนถวายแด่ “พระกมรเตงชคตวนมั รุง” หรือ “เทพแหง่ ปราสาทพนมรุ้ง” น่นั เอง การบูชา หรือ ปูชา คือพิธีกรรมสวดภาวนาของศาสนาฮินดู เพื่อถวายการบูชาแด่เทพฮินดู รับขวัญ และใหก้ ารต้อนรับแขกผู้มาเยือน หรือ เพือ่ เฉลมิ ฉลองในเชิงศาสนาเก่ียวกบั เหตุการณ์ในชวี ติ บูชา เป็นภาษา สันสกฤต แปลวา่ \"ให้เกยี รติ\" หรอื \"แสดงความเคารพ\" บชู าเป็นพิธีกรรมจำเปน็ ในฮนิ ดู ประกอบดว้ ยการถวาย บุปผชาติ (ดอกไม้) น้ำสะอาด และอาหาร ต่อผู้ทีจ่ ะรับการบูชา ท้ังองค์เทพ บคุ คล หรือวญิ ญาณผลู้ ว่ งลับ การ มีปฏิสมั พันธ์ระหว่างมนษุ ย์กับองค์เทพ (James Lochtefeld : 2009)
ศวิ ลึงค์ ปราสาทหินพนมรงุ้ การบูชาศิวลึงค์ในประเทศอินเดีย ดร. พรหมศักดิ์ เจิมสวัสด์ิ (2565) กล่าวว่า เป็นพิธีกรรมทั้งใน รปู แบบการบูชาประจําวันบ้าง หรอื บชู าในกรณวี ันสาํ คญั เทศกาลนักขตั ฤกษ์ทางศาสนา เช่น เทศกาลมหาศิวา ราตรี ส่วนพิธกี รรมบูชาศวิ ลึงคโ์ บราณของอินเดียอื่น ๆ กม็ พี ิธีหนงึ่ ชื่อ Saturnalia หรือพธิ พี ืชมงคล เพื่อความ อดุ มสมบูรณ์ของแผ่นดินท่ใี ช้ในการเพาะปลกู พิธีน้ีเรมิ่ ต้นดว้ ยการบูชาศิวลึงค์เพ่ือความเป็นศริ ิมงคล และโชคดี นน่ั เอง พธิ กี รรมการบชู า คอื การเอาน้ำหรือน้ำนมราดรดส่วนบนของหินทรงกระบอกให้น้ำไหลไปสู่ท่ีฐานหิน กลม ซง่ึ มีร่องน้ำอย่นู ำ้ จะไหลลงเบื้องล่าง และเอาขา้ วตอกใบมะตูม ดอกไม้ ขนม โปรยลงบนหนิ แทง่ นน้ั พลาง กม้ ลงกราบ หรือเอาศีรษะโขกหินเปน็ การแสดงคารวะสงู สุด มอี กี พธิ ีหน่ึงของอนิ เดยี บูชาศิวลึงค์เช่นกัน เรียกว่าพิธี Kartikai เขาทํากันในโบสถ์บนยอดเขาในเมือง Arunachala ซึ่งโบสถ์นี้สร้างขึ้นเพื่อรําลึกถึงเหตุการณ์การเกิดขึ้นของพระศิวะในรูปของอวัยวะเพศชายเป็น ครัง้ แรก พิธีนท้ี าํ กันทกุ ปรี ะหว่างปลายเดอื นพฤศจิกายน หรือตน้ เดอื นธันวาคม จากจารกึ ปราสาทพนมรุง้ ได้กล่าวถึงการถวายสง่ิ ของต่อเทพเจ้า ณ ปราสาทพนมรงุ้ วา่ มีน้ำนม น้ำผ้ึง ข้าวสุก ข้าวสาร ข้าวเปลือก ถั่ว งา ข้าวสาร เครื่องเทศ การบูร เครื่องนุง่ ห่ม สิ่งของอื่น ๆ อันได้แก่ ชิงช้าทอง ราชยาน ขันเงิน ภาชนะต่าง ๆ และยังมีที่ดิน ข้าทาสด้วย นอกจากนี้ยังพบภาพสลักบุคคลชายหญิงถือถาด เครื่องบูชา และถือดอกบัวในกำมือด้วย ซึ่งดอกบัวก็เป็นดอกไม้ที่นิยมบูชาพระศิวะมหาเทพ ยังหมายถึงความ เป็นมงคลและอุดมสมบูรณ์ ดังมีเรื่องกล่าวในปุราณะวา่ ครั้งหนึ่งพระวษิ ณุได้บูชาพระศิวะลึงค์ดว้ ยดอกบัวพนั ดอก นอกจากนี้คงมีการบูชาด้วยดอกไม้ชนิดอื่น ๆ อีกซึ่งอาจเป็นดอกไม้ป่าที่หาได้ในบริเวณนี้ เช่นเดียวกับ ผลไม้พืชพันธุ์ธัญญาหารที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น กล้วย อ้อย มะพร้าวอ่อน ที่จะต้องนำมาถวายเป็นกระยาหาร บชู าเทพเจ้าเปน็ ประจำ และยังพบหลกั ฐานเป็นโบราณวตั ถุที่ปราสาทพนมรุ้ง เช่น ศิวลงึ คข์ นาดเลก็ หม้อกุณฑี แท่นหนิ จุนเจมิ ภาชนะทรงตา่ ง ๆ ซ่งึ เป็นสิ่งท่จี ะต้องใชใ้ นการประกอบพิธกี รรม
ปัจจุบัน พิธีกรรมการบูชาศิวลึงค์ที่ปราสาทพนมรุ้ง จัดขึ้นในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 3 ตามปฏิทิน อนิ เดีย หรอื ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มนี าคม น่นั คอื “วนั มหาศวิ ะราตรี” เปน็ คืนศักด์สิทธิ์ท่ีเหล่าศาสนิกชน จะ รวมตัวกนั ท่เี ทวาลยั เพื่อทำพธิ ีบชู าพระศิวลึงค์ เปน็ สัญลกั ษณ์แทนองค์พระศวิ ะ ซ่ึงพิธีจะมีขึ้นตลอดทั้งคืน โดย พราหมณ์จะเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมสรงสนานศิวลึงค์ด้วยนมโค น้ำผึ้ง น้ำอ้อย นมเปรี้ยว เนยเหลว น้ำคงคา ถวายผา้ สวยงามมาลัยดอกไม้ กระยาหาร ใบมะตูม และกำยานหอม โดยทอ่ งมนต์ 5 พยางค์ คอื “โอม นมัส ศิ วายะ โดยเชื่อว่าผู้กระทำบูชาพระศิวะในค่ำคืนนี้จะพ้นจากบาปและได้รับพรอันประเสริฐ ถือเป็นเทศกาล สำคัญของประจำจังหวดั บุรรี ัมย์ ปลัดขิก เป็นวัตถุมงคลหรือเครื่องรางของขลังนี้เป็นของที่เกิดขึ้นมานานคู่มนุษย์เพราะมนุษย์มี สัญชาตญาณของความกลัว จึงพยายามแสวงหาที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวให้กับตนเองเมื่อตนมีความเชื่อต่อสิ่งใดก็ ให้ การนับถือบชู าต่อส่ิงนัน้ ๆ ต่อมาจงึ ไดว้ ิวฒั นาการความเช่ือถือไปตามความเจรญิ ของมนุษยชาติ จึงคิดดัดแปลง สิ่งเหล่านั้นให้เป็นเครื่องรางของขลังหรือวัตถมุ งคลที่เหมาะสมเพื่อการคุ้มครองปูองกันหรือนํามาซึ่งส่ิงท่ีดีงาม สําหรับตน พระธรรมธรชัยสิทธิ์ (2560) ได้แบ่งประเภทวัตถุมงคลเป็น 2 ประเภท คือ วัตถุมงคลที่เกิดขึ้นเอง โดยธรรมชาติและวัตถมุ งคลที่มนุษยป์ รุงแตง่ สร้างขึ้น ความรุ่งเรอื งของปราสาทหินพนมรุ้ง ในช่วงปลายราวพทุ ศตวรรษท่ี 16 และถกู ทิ้งร้างไปเปน็ เวลานาน ต่อมามีผู้นำพระพุทธบาทจำลองไปประดิษฐานไว้ที่ปรางค์น้อยบนเขา ในคติความเชื่อทางพุทธศาสนา จน กลายเปน็ ประเพณีของชาวบ้านรอบ ๆ บริเวณน้นั พากนั ขน้ึ ไปนมัสการปิดทองรอย พระพทุ ธบาทน้ีรวมทั้งไหว้ พระทำบญุ ในวันขึน้ 15 ค่ำ เดือน 5 ของทกุ ปี เนอื่ งจากปราสาทหนิ พนมรงุ้ เปน็ โบราณสถานทย่ี ิ่งใหญ่สวยงาม และเป็นประเพณีแต่ดั้งเดิม จังหวัดจึงได้ส่งเสริมให้มีงานประเพณีในวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนเมษายน โดยจัดกิจกรรมต่างๆ อนั เป็นการอนุรักษว์ ัฒนธรรมโบราณ ได้แก่ ขบวนแห่ราชประเพณีขอมโบราณ การแสดง แสง-เสยี ง ย้อนรอยอดีตพนมรุง้ และการแสดงระเบดิ ภเู ขาไฟจำลอง เป็นตน้ สรุป ศิวลึงค์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ ความเชื่อและศรัทธาในช่วงเวลาของวัฒนธรรมอินเดียท่ี แพร่เข้ามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในคติความเชื่อศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ที่เชื่อว่าบุคคลที่นับถือบูชา พระศิวะ หรือศิวลึงค์ จะทำให้พระองค์ปกป้อง คุ้มครอง ความเชื่อเหล่านี้มาควบคูก่ ับการแพรว่ ัฒนธรรมเขมร โบราณที่ปรากฎในดินแดนประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พบร่องรอยหลักฐาน การสร้างปราสาทหิน ในวัฒนธรรมขอมโบราณ กระจายอยทู่ วั่ พ้นื ท่ี และยงั พบคตกิ ารสร้างรูปเคารพ ในศาสนา ฮนิ ดู ลทั ธิไศวนกิ าย ทปี่ ราสาทพนมร้งุ เป็นเทวาลัยถวายแด่พระศิวะ ในยคุ ทวี่ ฒั นธรรมขอมโบราณรุ่งเรืองพบ หลักฐานจารึกการบูชาเทพเจ้า ด้วย ปราสาทพนมรุ้งถือเป็นศูนย์กลางทางความเชื่อ ศรัทธา และเป็นสถานท่ี แสดงถึงอำนาจทางวัฒนธรรมขอมโบราณทีแ่ พร่ขยายนอกอาณาจักรกมั พุชในอดีต ซึ่งสอดคล้องกับกับทฤษฎี
ปฏสิ ัมพันธเ์ ชิงสัญลักษณ์ของเออร์วิ่ง ก้อฟมัน่ (สุภางค์ จันทวานิช, 2557) ท่ีได้อธบิ ายถึงปรากฎการณ์สังคม ด้วยมุมมองที่ให้ความสำคัญกับตัวแสดง ที่ต้องแสดง (character) ตามบทบาท (role) ในฐานะเงื่อนไขที่มี อิทธิพลกำหนด โดยตัวแสดงนั้นอาจมี ตัวตนที่ซ่อนเอาไว้ (hidden self) ในหลังฉาก ลักษณะประการสำคัญ ของทฤษฎีนี้คือสัญลักษณ์ หมายความว่า ทฤษฎีนี้เชื่อว่าสังคมหรือโครงสร้างสังคมเกิดจากการที่มนุษย์มี ปฏิสัมพันธ์กัน ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นทำให้มนุษย์ร่วมกันสร้างสัญลักษณ์ขึ้นมา ซึ่งจะเห็นได้ว่า ศิวลึงค์ เป็นตัว แสดงที่ทำหน้าที่แทนพระศิวะ ในคติศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย โดยมีบทบาทมี่สวมอยู่ภายใต้รูปลักษณ์ของ สญั ลกั ษณ์ทางเพศชายนี้ คือ บทบาทของการเป็นผคู้ ุม้ ครองป้องกันภัย บทบาทของการอำนวยอวยพรแก่ผู้บูชา ตัวตนที่ซ่อนเอาไวภ้ ายในรูปเคารพ ศวิ ลึงค์ คือ การแสดงถึงเครอ่ื งหมายของเทพเจ้า คตคิ วามเชือ่ ทถี่ ูกสร้างใน สถานที่ที่เรียกว่า เทวาลัย ซึ่งในช่วงของความรุ่งเรืองในวัฒนธรรมเขมรโบราณ ปราสาทพนมรุ้งแห่งนี้คือ ศูนย์กลางของความเช่ือความศรทั ธาแห่งพระศวิ ะเทพเจา้ สูงสุดในศาสนาพราหมณ์ฮินดู เมื่อผ่านกาลเวลา ปราสาทพนมรุ้งยังคงเป็นศูนย์ที่สำคัญอีกเช่นกัน แต่บทบาทของการเข้าบูชาพระ ศิวะ ทีปราสาทพนมรุ้งเปลี่ยนไป ด้วยบริบททางสังคม ประเพณี คติความเชื่อที่เปล่ียนไป จะเห็นได้ว่า ความ เชื่อ และการบูชาศิวลึงค์ที่ปราสาทพนมรุ้ง มีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปตามสังคมและวัฒนธรรมในยุคนั้นๆ สามารถสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชุมชนโบราณรอบเขาพนมรุ้ง ซึ่งมีลักษณะเป็นสังคมเกษตรกรรมเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ มีระบบการจัดการบริหารคนสำหรับดูแลศาสนสถาน มีหลักเขตบอกอาณาเขตที่ดิน รวมไปถึงมีการ แลกเปล่ยี นทรัพยากรกบั ชุมชนโบราณอนื่ ๆ สิง่ เคารพบูชาของผู้คนในพ้ืนที่ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นวัตถุมงคล หรือเครื่องราง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากปราสาทพนมรุ้ง คือ กลุ่มพ่อค้า แม่ค้า จะมี ความเชื่อนับการบูชาเครือ่ งรางของคลัง ที่นำมาซึ่งความโชคดี ค้าขายร่ำรวย คือ ปลัดขิก ซึ่งอาจจะมีลักษณะ ทางกายภาพเหมือนกับ ศิวลึงค์ ที่ประดิษฐานบนปราสาทหินพนมรุ้ง แต่รูปแบบความเชื่อ และการบูชาที่ ต่างกนั ออกไป จากความตอ้ งการทางสังคมและเศรษฐกิจทแ่ี ตกต่างกันในแต่ละชว่ งเวลา ดังนน้ั ศิวลึงค์ท่ีถกู บชู าบนยอดเขาพนมรุ้ง ในคตคิ วามเช่ือการบชู าเทพเจ้าในศาสนาฮินดู อาจมีบริบท ทางสงั คมที่ถูกเปล่ียนไปอยูบ่ นกลุ่มที่เบื้องล่าง พัฒนาการจนกลายเปน็ เคร่ืองรางของขลัง “ปลดั ขิก” หรือ บัก แบ้น\" ในอีสานหรือ \"ขุนเพ็ด\"ในภาคกลาง เพื่อให้มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น จึงอาจจะเป็นไปได้ว่าปัจจุบัน สังคมนำ ความเชอ่ื เหลือเพยี งร่องรอยของความศรทั ธา “ศวิ ลงึ คส์ ู่ปลิดขกิ แนวคดิ การบชู าท่ีปราสาทหนิ พนมรุ้ง”
อา้ งอิง James Lochtefeld. (2009) The Illustrated Encyclopedia of Hinduism. New York : The Rosen Publishing Group, Inc. พระธรรมธรชยั สทิ ธ์ิ (2560) การบูชาวตั ถุมงคลเพื่อสง่ เสริมพฤติกรรมดีในทางพทุ ธศาสนาของประชาชน อำเภอนางรอง จังหวดั บุรรี ัมย.์ วิทยานิพนธ์หลักสตู รปริญญาพุทธศาสตรมหาบณั ฑติ มหาวทิ ยาลัย มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย. เบญจวรรณ นาราสจั จ.์ (2558). “ประวตั ศิ าสตร์ทางการของปราสาทพนมรุ้งทคี่ นท้องถิ่นไมร่ บั รู้” วารสาร สังคมลุ่มน้ำโขง. ปที ี 11 (1) (ม.ค.- เม.ย.) ; 105-128. พงศธร ดาวกระจาย. (2563). เรื่องราวการอุทิศสิ่งของถวายแด่เทวาลัยพนมรุ้ง . สืบค้นจาก https://www.finearts.go.th. เมอื่ วนั ท่ี 15 ตุลาคม 2565. พรหมศักดิ์ เจิมสวสั ด์ิ. (2565) “ศิวลึงค์ เป็นวัตถุเคารพทยี่ ิ่งใหญ่สุดของมนุษย์ได้อย่างไร เผยรากตำนานตั้งแต่ โบราณ” วารสารศิลปวัฒนธรรม กุมภาพันธ์ 2526 สืบค้นจาก https://www.silpa-mag.com วนั ที่ 20 กนั ยายน 2565. วกิ ิพีเดยี . (2556) Lingodbhava https://en.wikipedia.org/wiki/Lingodbhava สภุ างค์ จนั ทวานิช. (2557). ทฤษฎสี ังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : สำนกั พมิ พจ์ ุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั . สมมาตร์ ผลเกิด. (2561). “ศิวลึงค์: ศาสนศักดิ์สิทธ์ขิ องศาสนาพราหมณ์”. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธ ศาสตรปริทรรศน์. ปีท่ี 5 (1) (มกราคม –มถิ นุ ายน), 53-63. สำนักงานจงั หวัดบุรรี ัมย์ : 2558 งานประเพณีขน้ึ เขาพนมรุ้ง https://www.m-culture.go.th/buriram. อรณุ ศกั ด์ิ กิ่งมณ.ี (2562). ทิพยนยิ ายจากปราสาทหิน, พิมพ์ครง้ั ที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพมิ พเ์ มอื งโบราณ.
Search
Read the Text Version
- 1 - 6
Pages: