Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทความผักกูด ลวดลายข้างสิม งดงามหน้าปราสาท

บทความผักกูด ลวดลายข้างสิม งดงามหน้าปราสาท

Published by aum-zxx, 2022-12-09 06:43:35

Description: บทความผักกูด ลวดลายข้างสิม งดงามหน้าปราสาท

Keywords: บทความ,ผัก,กูด,ลวด,ลาย,ข้าง,สิม,งด,งาม,หน้า,ปราสาท

Search

Read the Text Version

ผกั กดู ลวดลายขา้ งสิม งดงามหน้าปราสาท ไผทมาศ ประเสรฐิ ศร1ี บทนำ ลวดลายผักกูด หนึ่งในลวดลาย พรรณพฤกษาที่นิยมปรากฎบนศาสนสถาน ทั้งศาสนา พราหมณ์และศาสนาพุทธ ลายพรรณพฤกษา คือลวดลายที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก กิ่ง ก้าน ใบ และดอกของต้นไม้ที่เกี่ยวพันกันและมีการประดิษฐ์ให้เหมาะสมกับการประดับในงานต่างๆ สำหรับโบราณสถานในวัฒนธรรมเขมรนิยมแกะสลักลายพรรณพฤกษาบริเวณหน้าบัน ทับหลัง เสาประดบั กรอบประตแู ละบันแถลง เปน็ ตน้ ลักษณะลายผกั กูดท่ีปรากฏในปราสาทขอม สิมอีสาน ลายกระหนกแบบทวารวดี มีชื่อเรียกกันในหมู่ช่างปัจจุบันว่า \"กระหนกผักกูด\" เพราะมี ลักษณะใกล้เคียงกับใบผักกูด ซึ่งมีแกนกลางเป็นแผ่นโค้ง ขมวดม้วนเข้าม้วนออกอย่างอิสระ แสดงออกถึงความเชย่ี วชาญของชา่ ง ไมไ่ ดม้ ีลักษณะลายพุง่ เปน็ เปลวแหลมเหมอื นลายไทยปจั จบุ นั ลายผักกูด เป็นลวดลายพฤกษาธรรมชาติ ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งรับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดีย ส่ง ต่อให้แก่ศิลปะทวารวดีรวมถึงศิลปะเขมร และได้พัฒนามาสู่ลายกระหนกของไทยในปัจจุบัน ใน ศิลปะอินเดียปรากฏพบลายผักกูดบนแผ่นศิลารูปรัศมีของพระพุทธรูปสมัยคุปตะ ปางปฐมเทศนา จากเมืองสารนาถ ในศิลปะลังกาสามารถพบลายผักกูดที่คล้ายกับอินเดียอยู่ที่ขอบนอกของแผ่น อัฒจันทร์ ณ เมืองอนุราธปุระ และในศิลปะทวารวดีของประเทศไทยพบลายผักกูดบนแผ่นหิน จำหลักลายพรรณพฤกษา ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ ที่พบในจังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นช่วงเวลา ร่วมสมัยกับศิลปะทวารวดีในภาคกลาง ลวดลายแกะสลักที่ประดับตกแต่งอาคาร ปรากฏลาย พรรณพฤกษาหรือลายผักกูด ซึ่งมีความงดงามอ่อนช้อยเป็นเอกลักษณ์แห่งยุคสมัย โดยปรากฏ หลักฐานให้เห็นจากชิ้นส่วนประดับอาคาร ได้แก่ ศิลาสลักเหนือกรอบทับหลัง ลายผักกูดและลาย รูปสัตว์จาก ลายผักกูดที่ปรากฏแทรกอยู่บนทับหลังของโบราณสถาน ลายพวงอุบะห้อยและลาย ผกั กดู สลักบนเสาประดบั กรอบประตูของโบราณสถาน คติความเช่อื ความหมายของรายการขดหรือลายผักกดู บนศาสนสถาน สุรศักดิ์ แสนโหน่ง และเมตตา ศิริสุข. (2561). กล่าวว่าจากการศึกษาแนวคิดและสัญคติชมชนที่ เกี่ยวข้องกับ \"ความอุดมสมบูรณ์\"พบว่าธรรมชาติเป็นเหตุเบื้องต้นที่ก่อให้เกิดความอุดมสมบรู ณ์ซึ่ง ถือได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดของสรรพชีวิตขึ้นบนโลก มนุษย์มีความผูกพันกับธรรมชาติมาตั้งแต่ครั้ง 1นกั ศึกษาปรญิ ญาเอก สาขาวจิ ัยวฒั นธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแก่น

อดีตจนถึงปัจจุบัน มนุษย์ได้รู้จักและเรียนรู้ถึงปรากฎการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติที่ส่งผลต่อวิถีการ ดำเนินชีวิตที่ต้องพึ่งพิงธรรมชาติเป็นหลัก ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่นอกเหนือความสามารถของ มนุษย์ที่จะควบคุมได้ เช่น ความแห้งแล้งขาดแดลน ฝนที่มีปริมาณมากจนเกิดอุทกภัย วาดภัย แผ่นดินไหว เป็นตัน อย่างไรก็ตามแม้ว่ามนุษย์ใด้เรียนรู้ที่จะปรับตัวเพื่อให้สามารถมีชีวิดอยู่รอดได้ ในสถานการณ์ที่ธรรมชาติเกิดวิกฤต แต่มนุษย์เองก็ยังคงมีความดาดหวังที่ต้องการให้ธรรมชาติเกิด ความสมดุลขึ้นเพื่อก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ในธรรมชาติและชีวิตที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าคติความเชื่อของชุมชนส่งผลให้เกิดตัวหมายที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความอุดม สมบูรณ์ ซึ่งอาจมีส่วนคล้ายคลึงสอดคล้องกับชุมชนอื่นหรือแตกด่างกันได้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานทาง ความคิดของแต่ละชุมชน ตัวหมายเหล่านั้นได้กลายเป็นสัญคติของชุมชนที่รับรู้ร่วมกันถึงเรื่อง ความอุดมสมบูรณ์ โดยงานวิจัยได้ข้อสรุปเรื่องการใช้สัญลักษณ์ของชุมชนเพื่อสื่อถึงความอุดม สมบูรณ์และหากสังเกตพื้นที่บริเวณรอบข้างวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประสาทขอมจะ พบว่าศาสนสถานมีที่ตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ ลวดลายผักกูดจึงไม่ได้ถูกสร้างขึ้นตามค่านิยมหรือ ความงามตามยคุ ตามสมัย ภาพท่ี 1 ลวดลายที่ปรากฏบนทับหลังปราสาทเปือยน้อย อ.เปือยนอ้ ย จังหวดั ขอนแก่น ภาพท่ี 2 ภาพทบั หลงั ปราสาทเมืองต่ำ จงั หวดั บรุ รี มั ย์

ภาพที่ 3 ภาพทบั หลังแบบถาลาบริวตั ิ ศลิ ปะร่วมสมยั สมไบร์ไพรกุก อายุราวพทุ ธศตวรรษท่ี12 ถงึ ปลายพุทธศตวรรษที่ 12 จากวดั สุปัฏนาราม จังหวดั อบุ ลราขธานี เช่นเดียวกันกับการกฎเรื่องความอุดมสมบูรณ์ที่สื่อสัญลักษณ์ทางเพศ ติ๊ก แสนบุญ มองว่า เรื่องเพศที่ปรากฎในพิธีกรรมมักถูกอธิบายว่า หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญงอกงาม โดย แสดงออกแบบเปิดเผยตรงไปตรงมาและแบบแฝงนัยยะเชิงสัญลักษณ์ผ่านทำทางการร่วมเพศและ สัญลักษณ์เครื่องเพศ เช่นในลัทธิการบูชาศิวลึงค์ที่ตั้งอยู่บนฐานโยนีที่มีนัยยะสื่อความหมายถึงการ งอกงาม ในบริบทงานบุญประเพณีของชาวอีสานเองก็มีการแสดงออกในเรื่องเพศอย่าง ตรงไปตรงมา เช่น การประดิษฐ์ตุ๊กดาชายหญิงกำลังร่วมเพศกันโดยใช้ในขบวนประเพณีบุญบังไฟ ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ เพื่อขอฝนหรือน้ำอสุจิของชายให้หลั่งลงมา สู่แมธ่ รณที เี่ สมือนเปน็ หญงิ เพอ่ื ใหก้ ำเนดิ ชีวติ และความอดุ มสมบูรณ์ ภาพที่ 4 ลวดลายผักกูด วัดบึง จงั หวัดนครราชสีมา

ภาพท่ี 5 (ซา้ ย) เสากรอบประตู ปราสาทเมอื งตำ่ ภาพที่ 6 (ขวา) เสาของสมิ วัดสนวนวารี อ.บา้ นไผ่ จังหวดั ขอนแกน่ สรุป ลายผักกูด เป็นลายที่คติความเชื่อของกลุ่มคนในวัฒนธรรมไต ที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติ ความอุดม สมบูรณ์นั้น สอดคล้องกับทฤษฎีสัญญวิทยา ของโรล็องด์ บาร์ตส์ (Roland Barthes) ได้สนใจ ศึกษาสัญญะประเภท ความหมายโดยนัย (Connotative Meaning) เนื่องจากมองว่าเป็น ความหมายที่มีความสำคัญอย่างแท้จริงในแง่ของการรับรู้ และความหมายโดยนัยนี้ยังสามารถ อธิบายไปได้อีกหลายแนวคิด ซึ่งการความหมายในขั้นนี้จะเป็นการตีความหมายในระดับที่มีปัจจัย ทางวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องดว้ ยซ่ึง ไมไ่ ด้เกิดจากตวั ของสัญญะเอง เปน็ การอธบิ ายถึงปฏิสัมพันธ์ ที่เกิดขึ้นเมื่อสัญญะกระทบกับความรู้สึกหรืออารมณ์ของผู้ใช้และคุณค่าทางวัฒนธรรมของเขา ซึ่งสัญญะในขั้นนี้จะทำหน้าที่ 2 ประการ คือ ถ่ายทอดความหมายโดยนัยแฝง และถ่ายทอด ความหมายในลักษณะมายาคติ (Myths) ซึ่ง Barthes เรียกกระบวนการในการเปลี่ยนแปลง ลดทอน ปกปิด บิดเบือนฐานะการเป็นสัญญะของสรรพสิ่งในสังคมให้กลายเป็นเรื่องของธรรมชาติ เป็นสิ่งปกติธรรมดา หรือเป็นสิ่งที่มีบทบาท \"ความคุ้นชิน\" ที่แฝงคติความเชื่อเรื่องความอุดม สมบรู ณแ์ ละสญั ญะชมุ ชนไวใ้ นลายผกั กดู ตามองค์ประกอบต่างๆของศาสนสถาน อ้างองิ น. ณ ปรากน้ำ. ววิ ัฒนาการลายไทย. นนทบรุ ี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๐

พพิ ิธภณั ฑสถานแหง่ ชาติ สุรนิ ทร.์ (๒๕๖๕) รัว รืง มืง สะเรน็ เรื่อง ลายผักกดู : ลายพฤกษา โบราณ ณ ปราสาทภูมิโปน องค์ความรู้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ประจำเดือน มกราคม ๒๕๖๕ เรื่อง \"ลายผกั กูด : ลายพฤกษาโบราณ ณ ปราสาทภูมโิ ปน\"[ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://v1.midnightuniv.org/midarticle/newpage12.html เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565. ติ๊ก แสนบุญ. (ม.ป.ป.). เพศวถิ ี...เพศสภาพ ในปริมณฑลแห่งศิลปะงานชา่ งสวุ รรณภูม.ิ รายงาน การวิจยั มหาวิทยาลัยอบุ ลราชธาน.ี สมเกียรติ ตงั้ นะโม. (2546). สญั ศาสตร์ การศกึ ษาเรื่องเคร่ืองหมาย. [ออนไลน์]. สืบคน้ จาก http://v1.midnightuniv.org/midarticle/newpage12.html เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2565. สนั ติ เล็กสขุ มุ . พัฒนาการของลายไทย : กระหนกกบั เอกลกั ษณไ์ ทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๕๓. สรุ ศักดิ์ แสนโหน่ง และเมตตา ศิริสขุ . (2561). ประติมากรรมเครอ่ื งปน้ั ดินเผารว่ มสมยั จากภูมิ ปัญญา ช่างทอ้ งถิ่น แนวเรือ่ งความอดุ มสมบรู ณ์. รายงานการวิจยั ฉบับสมบูรณ.์ กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการวจิ ยั แหง่ ชาต.ิ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook