บทบาทข้าวบูชา “พทุ ธ ผ”ี ที่เมอื งหลวงพระบาง สปป.ลาว นฤมล กางเกตุ* บทนำ เมืองหลวงพระบาง พื้นที่ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม จนถูกยกเป็น “เมืองมรดกโลกทาง วัฒนธรรม” ในปี พ.ศ. 2538 ของสำนักงานมรดกโลกแห่ง UNESCO สหประชาชาติ ตง้ั อยทู่ างภาคเหนือของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว ซึ่งในเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่หลวงพระบาง หยิบ ยกขนึ้ มาจนกลายเป็นอตั ลกั ษณ์ ไมว่ า่ จะเป็นประเพณี พธิ กี รรม และความเช่ือ ทเี่ ชอื่ มโยงระหว่างคนกับผีและ พุทธศาสนา ท่ปี รากฎผ่านงานศลิ ปกรรม ประเพณี และในวถิ ีชีวิตของผคู้ นในเมืองหลวงพระบาง หลวงพระบางมีภูมิประเทศอันพิเศษท่ีก่อให้เกิดสัมพันธภาพแห่งการดำรงอยู่ของผู้คนกับ “พื้นที่ กายภาพ” อันเป็นที่ตั้งของเมืองที่มีลักษณะเฉพาะตัวคือเป็นพื้นราบที่ถูกแวดล้อมดว้ ยภเู ขาสลับซับซ้อน และ ถูกกำกับขอบเขตด้วยเส้นทางการไหลของแม่น้ำโขง สายน้ำคาน และ สายน้ำดง ดงั นัน้ ผังของเมืองหลวงพระ บางจึงถูกตรึงขอบเขตให้ยาวขนาบไปตามขอบฝั่งแม่นำ้ โขงและแนวการไหลของสายทัง้ สองรวมทั้งแนวภูเขาท่ี แวดล้อม และนอกเขตปริมณฑลของพืน้ ราบ ยังมีสายน้ำขนาดกลางท่ีไหลทอดยาวมาจากต่างพ้ืนทีม่ าบรรจบ กบแมน่ ำ้ โขงอีก 2 สาย สง่ ผลให้ “พื้นท่ีราบ” และตำแหน่งท่ีตง้ั ของพน้ื ทีส่ ว่ นนเ้ี หมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐานของ มนุษย์อันเป็นผลมาจากความสมบูรณ์ของปัจจัยที่ตอบสนองเงื่อนไขการดำรงชีวิต และยังกลายเป็นจุด ศูนยก์ ลางของการคมนาคมทางนำ้ พ้ืนราบขนาดเลก็ แหง่ น้ีจึงมีผคู้ นเข้ามาอยูอาศยั ต้ังแต่บรรพกาล “บรรพชน” ทีส่ ง่ ทอดผนื ดนิ อนั เป็นมรดกตกทอด นัน่ หมายรวมถึงการระลึกถงึ วญิ ญาณของผู้ที่ล่วงลับ และทำบุญเพอื่ ใหร้ บั สิง่ ท่ีเปน็ ดอกผลจากการทำงานของผู้เปน็ ลกู หลาน ซง่ึ กิตตสิ ันต์ ศรีรกั ษา (2558) กล่าวถึง พื้นฐานความเชื่อเรื่องนาคมีส่วนเกี่ยวข้องกับชาติพันธุ์ของชาวหลวงพระบาง โดยเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนสืบ เชื้อสายมาจากนาค การสร้างบ้านแปงเมืองมีพญานาคมีส่วนร่วมในการสร้างบ้านเมืองและคุ้มครองให้ บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขความเชื่อดังกล่าวก่อให้เกิดพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพญานาค และความเช่ือ เกี่ยวกับเทพเจ้าแห่งดินและน้ำนั้นสืบเนื่องมาจากสภาพภูมิศาสตร์และภูมิอากาศที่มีอากาศแบบร้อนชื้น รวมทั้งอุดมไปด้วยป่าดงดิบหนาแน่นเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เล้ือยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างชุกชุม สง่ ผลใหช้ าวหลวงพระบางในอดีตเกิดความเช่ือว่างูเปน็ ส่ิงทม่ี ีอำนาจลึกลับเหนือธรรมชาติ ดงั น้นั ชาวหลวงพระ บางโบราณจึงมีการนับถือเคารพงูหรือพญานาคจึงตั้งให้เป็นเทพเจ้าแห่งดินและน้ำ ในความเชื่อทางศาสนางู หรือนาคคือผู้รับใช้ศาสนาจากฐานความเชื่อเรื่องพญานาคมีการผูกโยงเข้ากบพุทธศาสนา ผ่านตํานานและ *นกั ศกึ ษาปริญญาเอก สาขาวจิ ยั วฒั นธรรม ศลิ ปกรรมและการออกแบบ คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแกน่
คัมภีร์ทางศาสนา ซึ่งต่อมาไดพ้ ัฒนากลายเป็นพิธีกรรมและผลงานที่เป็นศิลปกรรมทางพุทธศาสนาอนั เป็นการ เช่ือมโยงความเช่ือนาคเข้ากบั ศูนย์กลางความเชอ่ื คือพุทธศาสนา ความเชื่อเกี่ยวกับแม่โพสพ หรือที่คนหลวงพระบางเรียก “แม่แก้วธรณี” เป็นหนึ่งในความเชื่อของ ชาวนา ซึง่ เป็นวถิ ีชวี ติ ของคนหลวงพระบางต้ังแต่อดีตจนถงึ ปัจจุบนั การบชู าแม่โพสพแสดงถงึ ความเคารพและ ระลึกถึงบุญคุณของแม่โพสพตลอดช่วงเวลาเพาะปลูก โดยเชื่อกันว่าเป็นเทวดาประจำพืชที่หล่อเลี้ยงให้ข้าว เตบิ โต พิธีกรรมในสังคมการเกษตรเหล่านี้ยงั เชื่อมโยงกบั พุทธศาสนา ดังจะปรากฏให้เห็นถึงพระภกิ ษุท่เี ป็น สว่ นหน่ึงของการประกอบพิธีอยู่เน่ือง ๆ ด้งั เดิมแลว้ พิธีกรรมท่ีเกยี่ วกับข้าวอยู่ในเกือบทุกขั้นตอนของการทำนา ตั้งแตก่ ่อนการเพาะปลูกจนถึงการเกบ็ เกีย่ ว แต่ปัจจบุ ันพธิ กี รรมหลายอยา่ งลดความสำคญั ลง หรอื เปลี่ยนแปลง รูปแบบการปฏิบัติ เช่นการลดความซับซ้อนในการเตรียมเครื่องประกอบพิธี ความเป็นทางการของการ ประกอบพิธีด้วยต้องอาศยั งบประมาณจากองค์กรปกครองในพ้ืนท่ี ไปจนถึงการพัฒนาให้พธิ ีกรรมเป็นกิจกรรม ส่งเสริมการท่องเทย่ี วทดี่ งึ ดูดคนจากภายนอกชุมชน ข้าวในพิธีกรรมในอีกลักษณะหนึ่งอาจไม่เกี่ยวโยงกับวิถีทางการเกษตรโดยตรง แต่เป็นเครื่องประกอบ พิธีสำคัญที่แสดงให้เห็นความกตัญญูของลูกหลานต่อสมาชิกในครอบครัว ดังปรากฏในฮีต 12 ที่เป็นประเพณี ปฏิบัติของคนหลวงพระบาง ซึ่งมีความคล้ายกับประเพณีฮีต 12 ของไทยอีสานที่ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมา ตั้งแต่อดีต โดยในฮีต 12 จะมีประเพณีที่มีการนำมาใช้ในพิธีกรรม เช่น เดือนยี่บุญคูณลานหรือบุญกองข้าว เดือนสามบุญข้าวจี่ เดือนสี่บุญผเวสเทศน์มหาชาติ ชาวบ้านจะนำข้าวปลาอาหารไปทำบุญที่วัด และบุญท่ี สัมพันธ์กับข้าวอย่างชัดเจน คือ เดือนเก้าบุญข้าวประดับดิน เดือนสิบบุญข้าวสาก เป็นต้น โดยประเพณีการ ทำบุญต่างๆ รวมทั้งการใส่บาตรตอนเช้าของชาวหลวงพระบาง ก็จะนำข้าวเหนียวมาเป็นใส่บาตรกับพระสงฆ์ ในทุกเชา้ และนำไปถวายแกผ่ บี รรพบุรษุ ในทกุ วนั พระดว้ ยเชน่ กนั พิธีกรรมความเชื่อผีในหลวงพระบาง พบว่า พิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีในหลวงพระบาง ซึ่งยังปฏิบัติใน ปัจจุบันมีอยู่ 2 พิธีกรรม ได้แก่พิธีบุญปีใหม่ เดือนห้าและพิธีบุญห่อข้าวประดับดินและส่วงเฮือเดือนเกา เป็น พิธีกรรมท่ีเก่ียวข้องกบผีบรรพบุรุษ โดยจําแนกองค์ประกอบออกเป็น 1) เครื่องประกอบพิธีกรรม 2) สถานที่ ประกอบพิธีกรรม 3) บุคคลที่ร่วมในพิธีกรรม 4) ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรม ข้อห้าม และเวลา มี ความสัมพนั ธก์ บสภาพภมู ิศาสตร์ ความเช่อื ด้ังเดมิ และคติธรรมในพุทธศาสนา (ลดั ดาวัลย์ ศรพี าชยั , 2561) บทบาทข้าวบูชา “พทุ ธ ผี” ทเ่ี มอื งหลวงพระบาง พระอาจารย์ ดร. ไพวัน มาลาวงศ์ (2565: สัมภาษณ์) ได้ให้ความหมาย “ข้าวบูชา แม่นข้าวที่ถวาย พระพทุ ธรูป เพือ่ ทำความเคารพบุญคุณของขา้ วท่หี ลอ่ เลี้ยงชพี ”
ราชบัณฑิตยสถาน (2554) ได้นิยาม คำว่า บูชา มาจากคำภาษาบาลีว่า ปูชา แปลว่า แสดงความ เคารพ ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือเลื่อมใส. สิ่งที่เราบูชา ได้แก่ บุคคล วัตถุสิ่งของ และสถานที่อัน เกี่ยวเนื่องกับบุคคลที่เรานับถือ เช่น พระพุทธเจ้า พ่อแม่ ครูอาจารย์ อนุสาวรีย์ เจดีย์ การบูชาในทาง พระพทุ ธศาสนาทำได้ 2 แบบ คือ อามิสบูชา หมายถึงการแสดงความเคารพด้วยการให้ ส่งิ ของ เช่น จัดเครอ่ื งสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน บชู าพระพุทธรูป รปู ปน้ั หรืออนสุ าวรีย์ของบุคคลทีม่ ีคุณต่อสังคมและประเทศชาติ ปฏิบัติบูชา หมายถึงการแสดงความเคารพด้วยการแสดง ออกเปน็ อาการต่าง ๆ เช่น กราบ ไหว้ และด้วยการปฏิบัติตาม เช่น ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งทางกาย วาจา ใจ ปฏบิ ตั ิตามคำสอนของพ่อแม่ ครูอาจารย์ จากความหมายนิยามศัพท์ของคำว่า บูชา ในข้างต้น จึง นำมาสู่การนิยามความหมายของคำว่า ข้าวบูชา หมายถึง การ แสดงความเคารพด้วยการมอบสิ่งของให้เป็นการแสดงความสำนึก ภาพท่ี 1 เครื่องบูชาถวายพระเจ้า ในบุญคุณ ซึ่งเป็นการกระทำที่เป็นมงคลต่อผู้กระทำ ข้าวบูชาจึง เปรียบเสมือนอามิสบูชา เป็นการบูชาด้วยเครื่องสักการะ ซึ่งมีข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อน ที่ชาวหลวงพระบาง เรียกวา่ “คำ” นำมาบูชาพระเจ้า ผีบรรพบรุ ษุ ผีสางผู้เป็นอารักษ์คุม้ ครองคนหลวงพระบางตามเชอ่ื การนับถือ ของแต่ละบุคคลแต่ละอาชีพนัน่ เอง จากการลงพื้นที่ภาคสนามของผู้เขียนที่ได้ไปเห็นปรากฎการณ์ของการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเมืองหลวง พระบาง ด้วยการนำข้าวเหนียวปั้นก้อน จำนวน 3 คำ เรียกว่า ข้าวบูชา นำไปถวายร่วมกับขันธ์ฮับโชค (กระทงใบตองประดับดอกดาวเรือง ธูป 3 ดอก เทียน 2 ดอก) ที่ชาวหลวงพระบางใช้ในการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธ์ิ ต่างๆ ที่ตนนับถือบูชา โดยจากการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลในพื้นที่ สามารถจำแนกการการบูชาด้วย “ข้าวบูชา” เป็นกลมุ่ ดังนี้ 1. ขา้ วบูชาพระเจ้า 2. ขา้ วบูชาบรรพบรุ ุษ 3. ขา้ วบชู าผอี ารักษ์ (แมธ่ รณ,ี ผบี า้ นผีเรือน, ผอี ารักษร์ ถจักร, อารักษเ์ รือยนต์ เป็นตน้ ) นางวนั สี เพง็ สวนั อายุ 69 ปี เล่าถึง การบูชาผีบรรพบรุ ษุ สบื ทอดมาต้งั แต่แม่เฒ่ามอน พ่อเฒ่ามอน (ทวด) โดยการบูชาผีบรรพบุรุษ จะบูชาทั้งตอนเช้าและตอนเย็น “ตอนเช้ามาบูชาข้าว ตอนคะแลงบูชา ดอกไม้” ในตอนเช้าของวันศีลจะบูชาคำข้าว 3 คำ ตอนเย็นจะบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน บริเวณประตูทางเข้า
หนา้ บ้านจะบูชาแม่แก้วธรณี โดยจะวางเคร่ืองบูชาบนพื้นดินหนา้ ประตบู ้าน มขี ้าวเหนียว 3 คำ ส่วนในวันศีล ใหญ่ ใสข่ นม ขา้ ว และดอกไม้ ในการบชู าแม่แกว้ ธรณี นอกจากน้ี วิถกี ารทำบญุ ของคนหลวงพระบางการใส่บาตรตอนเช้า “ตกั บาตรเชา้ ” จนนำมาเป็นส่วน หนึ่งของกจิ กรรมการท่องเท่ยี วเมืองหลวงพระบาง หลงั จากใส่บาตรพระแล้วน่นั ชาวบ้านจะเกบ็ คำขา้ วไว้ 1 ถงึ 3 คำ เพื่อนำไปวางตามต้นไม้ ริมรั้วบ้าน หรือวางบนพื้นใช้ใบไม้รอง เชื่อว่าเป็นการบูชาแม่ธรณี และส่ิง ศกั ดิ์สทิ ธ์ทิ ีส่ ถติ ในบริเวณน่ันดว้ ย ซึ่งเปน็ วิถีการทำบญุ ในศาสนาพุทธ ร่วมกบั วิถกี ารทำบญุ ในศาสนาผี ของชาว หลวงพระบางอีกด้วย นางต๋อก พันทะวง (2565:สัมภาษณ์) เล่าว่า หลงั จากใสบ่ าตรเสรจ็ แล้ว ตนจะโยนข้าว 1 คำ เพ่อื เป็นการทำบุญให้ผีสมั พเวสี ผีไม่มญี าติ เชอ่ื ว่าวญิ ญาณเหลา่ นัน้ จะได้บุญกุศลที่เราส่งใหใ้ นครง้ั นี้ ภาพที่ 2 ข้าวบชู าผบี รรพบรุ ษุ ภาพท่ี 3 ขา้ วบูชาแมแ่ กว้ ธรณี และผเี จ้าท่ี ข้าวบชู าหน้ารถตกุ๊ ตุ๊ก รถต๊กุ ตุ๊ก เป็นรถสามล้อเครื่องรับจ้างบรรทุกผโู้ ดยสาร เป็นรถขนส่งสาธารณะ ใชข้ นสง่ สนิ คา้ และผู้คน รวมท้ังนักท่องเท่ยี ว ทเ่ี ข้ามาเยย่ี มชมเมอื งหลวงพระบาง มลี กั ษณะเหมอื นรถสามลอ้ โดยสารในประเทศไทย ท้าวแอ อายุ 39 ปี อาชีพขับรถตุ๊กตุ๊กในเมืองหลวง เล่าถึง การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือบูชาใน รถตุ๊กตุ๊กซึ่งเป็นพาหนะที่ตนใช้ในการประกอบอาชีพมากวา่ 10 ปี โดยจะบชู าสิ่งศักด์สิ ิทธ์ิท่ีหน้ารถตุ๊กตุ๊ก ทุก วันศีล แต่สามารถไหว้บูชาได้ทุกวัน แต่วันศีลวันพระนัน้ ห้ามขาด ท้าวแอ กล่าวว่า สิ่งใดย่อมมีเจ้า รถจักรเฮา ซ่ือมาต้องบูชา บชู ารถจักรทุกวันศลี ปะบไ่ ด่ มีของฮักษา ความเว้าบชู า (คำพดู บูชาของท้าวแอ)
“เออ บูซงบูสาเดอ้ วันดบั วันศลี ไหไ่ ด่โชค ได่ผู้ ได่คน ไหก่ ุม้ ไหค่ อง ขบั รถปลอดภัย บไ่ ห่มแี นวฮ่าย มาบดมาปงั เฮอ่ มตี ะแนวดี ฮักสมฮักสา” เครื่องบูชาประกอบด้วย กระทงใบตอง ประดับด้วย ดอกดาวเรือง เรียกวา่ ขันธฮ์ บั โชค และมีคำข้าว (ขา้ วเหนียว) 3 คำ เรียกว่า ข้าวบูชา นำไปวางบูชาหน้ารถจักร หรือ รถตุ๊กตุ๊ก เชื่อว่าจะนำความโชคดี สิ่งศักดิ์จะคุ้มครองป้องกัน ภัยในการเดินทาง เชื่อว่าจะมีลูกค้าสนใจและเรียกให้บริการ ในวันนั่นๆ ภาพที่ 4 ท้าวแอ สุมาลี คนขับรถตกุ๊ ตุ๊ก จากการสัมภาษณ์ ท้าวซู (อายุ 43 ปี) คนขับรถตุ๊กตุ๊ก เกีย่ วกับ คำขา้ ว 3 คำ วา่ มีความหมาย “คู่หนี คอี่ ย”ู่ จำนวนค่ใู ชส้ ำหรบั ผี วญิ ญาณ สว่ นจำนวนค่ใี ช้สำหรับบคุ คล ทำใหเ้ กิดศิรมิ งคลกับผู้ท่ีบูชา ซึ่งท้าวซูเช่ือ ว่า ถ้าบูชาจำนวนคู่ จะทำให้ลูกค้าหนีหาย ไม่ขึ้นรถของตน หากบูชาจำนวนคี่ ซึ่งอาจจะเป็น 1 คำ หรือ 3 คำ จะทำใหล้ กู คา้ เรียกใช้บริการกับตน ภาพที่ 5 ข้าวบูชา หนา้ รถโดยสาร (Taxi service) ภาพท่ี 6 ขา้ วบชู า หน้ารถตู้โดยสาร จากวถิ ีการบูชาข้าว ทส่ี มั พันธ์กบั พทุ ธศาสนา ผีบรรพบุรุษ และผอี ารกั ษ์สงิ่ ศักดิส์ ิทธ์ิของคนหลวงพระ บาง โดยใช้ “ขา้ ว” เป็นเครอ่ื งประกอบในการบชู าดังกล่าว แสดงให้เห็นถงึ การดำรงอยู่ในลักษณะของการเป็น พื้นที่ของ “ผีกับพุทธ” โดยพื้นฐานทางความเชื่อของหลวงพระบางเชื่อเรื่องผี ดังที่ปรากฏในพงศาวดารล้าน ชา้ งบริเฉทท่ี 2 ความตอนหน่งึ ท่วี า่ “การเมื่อก่อนนั้น ก็เปน็ ดินเปน็ หญ้าเป็นฟ้าเปน็ แถน ผีแลคนเท่ียวไปมาหา
กันบ่ขาด” (ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์, 2551) ข้าวบูชา จึงเปรียบเสมือนระบบสัญญะทางสังคม ตามทฤษฎีสัญญะ (Sign) ของ เดอร์โซซูร์ ซึ่งสัญญะออกเป็น 2 รูปแบบคือ รูปสัญญะ หมายถึง สิ่งที่มีความหมายหรือก่อให้เกดิ ความหมาย และ ความหมายสัญญะ หมายถึง ความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่กล่าวถึงหรือเรียกขานสิ่งน้ัน (สุภางค์ จัน ทวานชิ , 2557) โดย ข้าวบูชา ในรูปสญั ญะ เป็นเคร่ืองบชู าสงิ่ ศกั ดสิ์ ิทธิต์ ามความเชือ่ ของคนหลวงพระบาง และ ความหมายสัญญะ ข้าวบูชา เป็นเครื่องหมายแสดงถึงการแสดงความเคารพ การน้อมรับในสิ่งศักดิ์สิทธิโ์ ดยใช้ สิ่งที่มีคุณค่าในชีวิตของตนเปน็ ตวั แทนในการบูชา ซึ่งจะเห็นไดว้ า่ ข้าวเป็นสิ่งสำคญั ในการดำรงชวี ิต ข้าวเป็น อาชีพ ข้าวเป็นอาหาร ข้าวเป็นเครื่องบูชา เป็นองค์ประกอบในการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บูชาพระเจ้า บูชาผีบรรพ บุรุษ บูชาเทพอารักษ์ทีต่ นนบั ถือ ขา้ วเป็นตวั แทนของความเช่ือทีเ่ ชื่อมโยงระหว่างคนกบั ความเชื่อ พทุ ธ ผี ข้าว เปน็ สัญญะในพิธีกรรมศักดิส์ ทิ ธขิ์ องหลวงหลวงพระบาง เอกสารอา้ งอิง กิตติสันต์ ศรีรักษา. (2557). ศิลปกรรมรปู นาคหลวงพระบาง:รูปแบบ คติสัญลักษณ์และการให้ความหมาย ในฐานเมืองมรดกโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยศิลปะและ วฒั นธรรม บัณฑติ วิทยาลัย มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ . ลัดดาวลั ย์ ศรีพาชยั . (2561). ผหี ลวงพระบาง : ความเชอ่ื พธิ ีกรรมและบทบาททางสงั คมในเมืองมรดกโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัญชาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยั ขอนแก่น. ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2551). หลวงพระบางเมืองมรดกโลก : พื้นที่พิธีกรรมและการต่อรองเชิงอัตลักษณใ์ น กระแสโลกาภิวัฒน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาไทศึกษา คณะศิลปกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลยั มหาสารคาม. สุภางค์ จนั ทวานชิ . (2557). ทฤษฎสี งั คมวทิ ยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลยั . สำนักราชบัณฑิตยสภา. (2554). บูชา. สืบคน้ เมื่อวันท่ี 14 ตลุ าคม 2565. จาก www.legacy.orst.go.th สมั ภาษณ์ ท้าวซู. (10 ตุลาคม 2565). สัมภาษณ์. อายุ 43 ปี. อาชีพ ขับรถตุ๊กตุ๊ก. เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐ ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว. สมั ภาษณ์เมือ่ วันท่.ี ท้าวแอ สุมาลี. (11 ตุลาคม 2565.). สัมภาษณ์. อายุ 39 ปี. อาชีพ ขับรถตุ๊กตุ๊ก. เมืองหลวงพระบาง สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว. นางวันสี เพ็งสวัน. (11 ตุลาคม 2565.). สัมภาษณ์. อายุ 69 ปี. อาชีพ แม่บ้าน. เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนลาว.
นางต๋อก พันทะวง. (11 ตลุ าคม 2565.). สัมภาษณ.์ อายุ 29 ปี. อาชพี พนกั งานขายเครอ่ื งประดบั . เมืองหลวง พระบาง สาธารณรฐั ประชาธปิ ไตยประชาชนลาว. พระอาจารย์ ดร.ไพวัน มาลาวงศ์. (14 ตุลาคม 2565). สัมภาษณ์. อายุ 32 ปี. วัดหนองบัวทองเหนือ เมืองศรี โคตรตะบอง นครหลวงเวยี งจนั ทน์ สาธารณรัฐประชาธปิ ไตยประชาชนลาว.
Search
Read the Text Version
- 1 - 7
Pages: