Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทความอสุภกรรมฐานภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดหน้าพระธาตุพิจารณาเพื่อการปล่อยวาง

บทความอสุภกรรมฐานภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดหน้าพระธาตุพิจารณาเพื่อการปล่อยวาง

Published by aum-zxx, 2022-12-08 02:19:19

Description: บทความอสุภกรรมฐานภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดหน้าพระธาตุพิจารณาเพื่อการปล่อยวาง

Keywords: บทความ,อสุภ,กรรม,ฐาน,จิตรกรรม,ฝา,ผนัง,วัด,หน้า,พระ,ธาตุ,พิจารณา,เพื่อ,การ,ปล่อย,วาง

Search

Read the Text Version

บทความ อสภุ กรรมฐาน: ภาพจติ รกรรมฝาผนังวัดหน้าพระธาตพุ จิ ารณาเพ่ือการปลอ่ ยวาง A subha karm than : baseMural paintings of Wat Na Phra That Consider for the release. นายพันศักดิ์ พนั ธ์เลิศ รหสั นักศึกษา 655220013-0 สาขาวจิ ยั วัฒนธรรม ศลิ ปกรรม และการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

1 อสุภกรรมฐาน: ภาพจติ รกรรมฝาผนังวัดหน้าพระธาตุพจิ ารณาเพอื่ การปลอ่ ยวาง A subha karm than : baseMural paintings of Wat Na Phra That Consider for the release. นายพันศกั ดิ์ พนั ธเ์ ลศิ วัดหน้าพระธาตุ หรือชาวบ้านเรียกวัดแห่งน้ีอีกชื่อหน่ึงว่าวัดตะคุ เป็นวัดเก่าแก่ของ ชาวปักธงชัย สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2330 หรือในช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 ตำบลตะคุ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ห่างจากเทศบาลเมืองเมืองปัก ประมาณ 4 กม. สิ่งท่ีน่าสนใจ 1. โบสถ์หลังเก่า ตั้งอยู่ข้างโบสถ์ใหม่ เป็นหลังดั้งเดิมมีมาแต่คร้ังสร้าง วัด ฐานโบสถ์มีลักษณะแอ่นโค้ง ท่ีศัพท์ทางช่างเรียกว่า ตกท้องสำเภา หรือท้องช้าง หรือท้องเชือก ซ่ึง เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมท่ีช่างนิยมทำกันในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ น่าสนใจคือส่วนของหลังคาซ่ึงไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์เช่นโบสถ์ที่พบเห็นท่ัวไป ซึ่งคล้าย \"ศิลปะ พระราชนิยม\" ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในโบสถ์มีภาพเขียนซ่ึงอยู่ในสภาพ สมบูรณ์น่าชม เป็นภาพแสดงเร่ืองราวต่าง ๆ เช่น ภาพชาดกตอนต่าง ๆ ภาพพระบฏ (พระพุทธเจ้า ทรงยืน) ภาพการนมัสการรอยพระพุทธบาท ภาพพิธีศพหรืออสุภกรรมฐาน พระมาลัย นอกจากนี้ยัง สอดแทรกวิถชี ีวติ ชาวบ้านด้วย (thai.tourismthailand.org/Attraction/วดั หน้าพระธาต)ุ ภาพประกอบ 1 พระสงฆ์กำลงั ชกั ผา้ บังสกุลจากศพ

2 จากการลงพ้ืนที่สำรวจวัดหน้าพระธาตุ ผู้เขียนได้พบภาพจิตรกรรมในพระอุโบสถที่ น่าสนใจคือ ภาพเก่ียวกับการพิจารณาอสุภกรรมฐาน และภาพพระสงฆ์พิจารณาซากศพ ในเบ้ืองแรก จะขอกล่าวถึงความหมายของอสุภกรรมฐาน ดังน้ี พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมาย อสุภกรรมฐาน ว่า กรรมฐานที่ยึดเอาซากศพเป็นอารมณ์ เพ่ือพิจารณาให้เห็นความ ไม่งามความไม่เท่ียงแท้ของสังขารและพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย พระพุทธองค์ได้ตรัสเกี่ยวกับอสุภะ ไว้ว่า ภิกษุในศาสนาของพระองค์ควรท่ีจะพิจารณาเห็นร่างกายน้ี เบื้องต่ำตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบ้ืองบน ตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด เป็นที่สะสมของส่ิงสกปรก ได้แก่ ผม ขน เจ็บฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันขน น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร พระองค์ให้พิจารณาให้เห็นเป็นของไม่งาม (องฺ.ทุก. (ไทย) ๒๔/๖๐/๑๒๙.) ในวัฒนธรรมไทย การมอง ว่าความตายเป็นเร่ืองที่ควรเรียนรู้จะมาจากแง่มุมคำสอนพุทธศาสนาผ่านการเจริญมรณานุสติเพื่อ ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ สำหรับภิกษุผู้ระลึกถึงความตายอย่างเข้มข้นจะมีคำสอน “อสุภ กรรมฐาน” เป็นการเพ่งพิจารณาศพท่ีค่อยๆเส่ือมสลายไปความตายเป็นเรื่องปกติ ความตายเป็นส่ิงที่ เรียนรู้ได้ เพราะถึงท่ีสุดแล้วความเข้าใจเร่ืองความตายก็คือการเข้าใจสัจธรรมของชีวิตและการตายดีก็ เป็นเร่ืองเดียวกันกับการมีชีวิตที่ดี และการใช้มิติสุนทรียะเป็นเคร่ืองมือดูท่าจะเป็นมิตรท่ีสุดแล้วใน การส่ือสารสัจธรรมท่ีเที่ยงตรงและแหลมคมนี้ (ศุภโชค ชมุ สาย ณ อยธุ ยา,2563) ภาพประกอบ 2 พระสงฆก์ ำลงั พจิ ารณาอสุภกรรมฐาน

3 ความตายในฐานะเป็นสภาวะสุดท้ายของชีวิตมนุษย์ท่ีมีความสำคัญ ได้ส่งผลกระทบ ท้ังในระดับปัจเจกบุคคลและระดับสังคมท่ีต้องมีการปรับเปล่ียนเพื่อรองรับกับการสูญเสีย ถึงแม้ มนุษย์ยอมรับว่าหลีกเลี่ยงความตายไม่ได้ กลัวความตายและบางคร้ังปฏิเสธที่จะยอมรับ กระน้ัน มนุษย์ก็มีความเชื่อในโลกหน้าที่แสดงออกในพิธีการฝังศพ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพิธีกรรมแรกสุด ของมนุษย์ท่ีเริ่มด้วยการเซ่นไหว้หรือการนำอาหารข้าวของเครื่องใช้มาให้ผู้ที่ตายแล้วได้กินได้ใช้ เหมือนเมื่อยังมีชีวิตอยู่ขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธีศพจะสะท้อนให้เห็นถึงความเช่ือท่ีว่า ความตายมิใช่เป็น เพียงจุดสิ้นสุดของชีวิตเท่านั้น แต่เป็นการเปล่ียนสภาพจากโลกที่อาศัยอยู่หรือจากส่ิงที่มีชีวิตอยู่ไปสู่ อีกโลกหนึ่งหรืออีกภาวะหนึ่ง ซ่ึงประกอบด้วยพิธีกรรมเก่ียวกับการแยกตัวหรือแยกคนตายออกจาก คนเป็น พิธีเก่ียวกับการแปลงสภาพ เช่น การปล่อยให้เน่าเปื่อยหรือการเผา และพิธีการรวมตัวของ ผู้ตายในโลกใหม่หรือในสภาพใหม่ กับบทบาทใหม่ที่ต่างไปจากโลกของคนเป็น (ปรานี วงษ์เทศ, 2534) จิตรกรรมทั้ง 3 ภาพน้ี อยู่แยกกันคนละส่วนที่ปรากฏอยู่ในฝาผนัง แต่ผู้เขียนต้ังใจท่ีจะ บันทึกภาพให้เห็นในลักษณะท่ีหมุนเวียนเป็นไปของธรรมชาติ ความไม่เที่ยงของสังขาร ซ่ึงเป็นของ ธรรมดา โดยเริ่มจากการตาย เมื่อตายลงก็จะห่อด้วยผ้าขาว เมื่อถูกท้ิงไว้ไปนาน ๆ เข้า ซากศพก็จะ เร่ิมอึด พุพอง เกิดหนอนซอนไซบนซากศพจนในที่สุดก็เหลือเพียงแต่กระดูกที่กลายเป็นเถ้าถ่าน เท่านั้น เมื่อพิจารณาอย่างน้ันแล้วก็จะเกิดอสุภกรรมฐานพิจารณาเพื่อการปล่อยวาง เมื่อเราแพ่งจิตไป ที่ภาพจิตรกรรมอสุภกรรมฐาน ดังกล่าวแล้วก็จะเห็นความไม่เที่ยงในร่างกาย บุคคลผู้ท่ีต้องการเจริญ อสุภกัมมัฏฐานน้ันก็เพื่อมองให้เห็นความเป็นจริงของร่างกายว่า สังขารน้ีเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ของ ตน เมื่อเจริญแล้วจะทำให้มองเห็นร่างกายว่าเป็นอนิจจาสัญญา คือการมองเห็นร่างกายว่าไม่เที่ยง เพราะมีความเกิดขึ้น ต้ังอยู่และก็คับสูญสลายไปเป็น เม่ือได้พิจารณาอสุภกัมมัฏฐานจนเกิดเป็นนิมิต

4 แม้จะไม่ได้ยืนดูซากอสุภะโดยตรง ๆ ก็สามารถนึกถึงภาพน้ันติดตาได้ เพราะว่าได้นิมิตดังน้ันในการ เห็นรูปไม่ว่าจะสวยหรือไม่สวยก็เกิดเป็นอนิจจัง คือไม่วัตถุภายนอกคือรูปมากระทบให้หลงใหลหรือ ยินดี ยึดม่ันถือมั่นกับรูปท่ีเห็น เพราะมันไม่ใช่ของเราสุดท้ายก็ต้องแตกสลายไปในที่สุด ชีวิตเราก็จะ เป็นสุข เมื่อได้มองเห็นความเป็นจริงของส่ิงทั้งพลายว่าไม่มีอะไรที่อยู่คงทน ทุกส่ิงทุกอย่าง ทุกชีวิตบน โลกนี้ย่อมต้องมีความเส่ือมสลาย เราไม่สามารถท่ีจะบังดับได้มันเป็นไปตามธรรมชาติ เมื่อมองเห็น ความจริงข้อนี้ชีวิตก็เป็นสุข เพราะไม่ได้ขนขวายใบสิ่งท่ีฟุ่มเฟือยเกินตัว (ณัฐวุฒิ สิริจนฺโท,2555) และ ส่ิงสุดท้ายของพุทธศาสนิกชนทุกคนก็คือ การเข้าถึง พระนิพพาน เมื่อได้พิจารณาอสุภกัมมัฏฐานแล้ว จิตใจก็ไม่ยึดติดกับรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กล่ินท่ีได้คม รสท่ีได้ล้ิม กายท่ีได้สัมผัส ปล่อยวางในเร่ืองของ รูปนาม ทำจิตใจสงบเป็นสมาธิ ไม่วอกแวกไปกับอารมณ์ภายนอกท่ีมากระทบมีจิต อยู่กับปัจจุบัน แม้ จะไม่ได้สำเร็จอรหัตผลในชาตินี้ ก็จะเป็นผู้ที่เข้าสู่กระแสของพระนิพพาน เพราะได้ปฏิบัติถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้องตามพระวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฝึกทำอยู่บ่อย ๆ จนเกิดเป็นเร่ืองของธรรมดา มี อารมณ์เป็นธรรมดา ก็จะสามารถฝกึ จิตให้บริสุทธ์ไิ ด้ อ้างองิ พจนานุกรมฉบับราชบณั ฑิตยสถาน. (2554). กรงุ เทพฯ : ราชบณั ฑติ ยสถาน. ออนไลน์จาก.(thai.tourismthailand.org/Attraction/วดั หน้าพระธาต)ุ . มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลยั . (2539). พระไตรปฎิ กภาษาไทย ฉบบั มหาจฬุ าลงกรณราชวทิ ยาลัย. กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พม์ หาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลยั . ศุภโชค ชมุ สาย ณ อยธุ ยา. (2563). สนุ ทรียะกบั ความตาย. ออนไลน์จาก https://peacefuldeath.co/aesthetic-and-death-2/. ปรานี วงษ์เทศ. (2534). พธิ กี รรมเกย่ี วกับการตายในประเทศไทย. กรงุ เทพฯ: บริษัทอัมรินทรพ์ รนิ้ ติ้งกรุ๊พ จำกัด ณฐั วฒุ ิ สิริจนฺโท. (2555). ศกึ ษาการพิจารณาอสภุ กมั มฏั ฐานเพ่ือการแกป้ ญั หากามราคะใน พระพทุ ธศาสนาถรวาท. วทิ ยานิพนธน์ ้เี ป็นส่วนหนงึ่ ของการศกึ ษาตามหลกั สูตรปรญิ ญาพุทธ ศาสตรมหาบณั ฑติ สาขาวิชาพระพทุ ธศาสนาบณั ฑิตวทิ ยาลยั มหาวิทยาลัยมหาจฬุ าลงกรณ ราชวทิ ยาลัย